วันเวลาปัจจุบัน 05 พ.ค. 2025, 19:02  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 15 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ม.ค. 2010, 19:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อาจมีผู้สงสัยว่า

ในเมื่อฉันทะอยากทำดี หรือ อยากให้มีภาวะที่ดีแล้ว ฉันทะจะอยากทำชั่วหรืออยากให้มีภาวะที่ชั่วบ้างไมได้

หรือ

พึงพิจารณาว่า เหตุที่คนทำชั่วก็เพราะเห็นแก่การจะได้เสพเสวยเวทนาอันอร่อย (สุขเวทนา) หรือไม่ก็

ต้องการจะเสริมหนุนความมั่งคงถาวรยิ่งใหญ่ของตัวตนที่ยึดถือไว้ หรือไม่ก็เพราะต้องการให้ตัวตนพรากพ้นไป

จากสิ่งหรือภาวะที่ไม่ปรารถนา หรือเพราะมีลักษณะการดำเนินชีวิตโดยทั่วไป อย่างที่เรียกว่า

เป็นอยู่แค่ปลายเส้นประสาท กล่าวคือ ได้รับรู้อารมณ์ที่ถูกใจ ก็ชอบใจ อยากได้ จะเอา ได้รับรู้อารมณ์

ไม่ถูกใจ ก็ขัดใจ ชัง อยากทำลาย ประพฤติตัวและกระทำการต่างๆ ไปตามอำนาจของความชอบใจ

ขัดใจ หรือ ความชอบความชังเท่านั้น

รวมความก็คือ ที่ทำชั่วก็เพราะเป็นไปตามกระบวนธรรมของอวิชชา-ตัณหา หรือเรียกให้เต็มว่า

อวิชชา-ตัณหา-อุปาทาน

เป็นอันว่า อวิชชา-ตัณหานั่นเอง เป็นเหตุของการทำความชั่ว ความอยากทำชั่วจึงต้องมาจากอวิชชา-ตัณหา

(ตามหลักความเป็นเงื่อนไขที่กล่าวแล้ว)

ส่วนฉันทะ เกิดสืบเนื่องจากการใช้ความรู้ความเข้าใจหรือความสำนึกในเหตุผล ได้พิจารณาแล้วโดยอิสระ

จากเวทนา ที่ถูกใจไม่ถูกใจ และความชอบใจไม่ชอบใจที่รออยู่ต่อหน้า จนรู้เห็นว่า อะไรเป็นสิ่งมีคุณค่า

เป็นคุณประโยชน์แท้จริง จึงโน้มน้อมใจไปหาสิ่งนั้น

เมื่อจิตโน้มน้อมไปสู่สิ่งหรือภาวะที่ดีนั้นแล้ว ก็จึงเป็นอันพ้นไปเองโดยอัตโนมัติจากการที่จะกระทำความชั่ว

ตามอิทธิพลครอบงำของความชอบใจไม่ชอบใจที่เกิดจากตัณหา

โดยนัยนี้ ฉันทะจึงไม่อาจเป็นความอยากทำชั่วหรือความอยากให้มีภาวะที่ชั่ว

อย่างไรก็ตาม การกระทำโดยฉันทะก็อาจมีการผิดพลาดได้ เนื่องจาการคิดพิจาณาไม่สมบูรณ์ หรือความรู้

ความเข้าใจไม่เพียงพอ เป็นต้น ผลดีที่ต้องการอาจไม่เกิดขึ้น หรือผลร้ายกลับเกิดขึ้น

แต่ในเมื่ออวิชชา-ตัณหา ที่เป็นตัวการที่แท้ของการทำชั่ว ถูกตัดออกไปแล้ว

การที่จะพูดถึงความผิดพลาดเหล่านั้นและวิธีแก้ไขต่างๆ ก็เป็นเรื่องคนละขั้นตอนที่ควรจะแยกไปพิจารณา

ต่างหากจากที่นี้

:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:

ในทางตรงข้าม ก็อาจมีผู้ถามว่า

ตัณหาอยากในทางที่ดี คืออยากทำดี อยากในสิ่งดีงาม และภาวะที่ดีบ้างไมได้หรือ

ซึ่งก็ตอบได้ทันทีว่าได้ และเป็นอย่างนี้บ่อยครั้งด้วย แต่ความอยากในทางดีของตัณหาจะเป็นไป

ในลักษณะของความเป็นเงื่อนไข โดยมุ่งหวังว่าจะอาศัยภาวะดีงามนั้นเสพเสวยเวทนาอันอร่อยได้มากขึ้น

หรือภาวะนั้นจะช่วยเสริมขยายความมั่นคงถาวรยิ่งใหญ่แก่อัตตาของตน

ความอยากดีอย่างนี้ ตามปกติเป็นบทบาทของภวตัณหา-ดู วิสุทธิ.3/118)เช่นอยากเกิดเป็นเทวดา

(จะได้มีนางฟ้ามากมายเป็นบริวาร จะได้เป็นผู้ยิ่งใหญ่ อายุยืนนาน เสวยของทิพย์) อยากเป็นวีรบุรุษ

วีรสตรี (ตัวตนจะได้ขยายใหญ่ขึ้นด้วยคำยกย่องสรรเสริญ) อยากเป็นพระโสดาบัน (จะได้เป็นผู้สูงสุดเลิศ

กว่ามนุษย์สามัญ) หรืออย่างง่ายๆ อยากเป็นคนดี (จะได้มีเกียรติคนยกย่องนับถือ เพิ่มความมั่นคงยิ่ง

ใหญ่แก่ตัวตน) ดังนี้ เป็นต้น

พูดอย่างรวบรัดว่า จะดีหรือชั่วก็แล้วแต่ ขอให้เป็นเงื่อนไขเพื่อจะได้เสพสุขเวทนาหรือปกป้องรักษาเสริม

ขยายอัตตาก็แล้วกัน * ตัณหาอยากได้ทั้งนั้น และเพราะตัณหาอยากดีบ่อยๆนี่แหละ จึงทำให้เกิด

ความสับสนปนเปกับฉันทะ เป็นปัญหาในการทำความเข้าใจและแยกออกจากกัน


:b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55:

(อธิบายเพิ่มข้อความข้างบนที่มี *)


* อยากทำลายอัตตาหรืออยากให้อัตตาดับสูญ ซึ่งเป็นวิภวตัณหา ก็ดูคล้ายเป็นอยากดีได้เหมือนกัน เช่น

อยากเป็นพระอรหันต์ จะได้ดับสูญเลิกเกิดเสียที (แต่ถ้าอยากเป็นพระอรหันต์เพื่อจะได้เป็นบุคคลสูงสุด

ในพระพุทธศาสนา ก็กลายเป็นภวตัณหา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ม.ค. 2010, 19:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ความสับสนปะปนกันระหว่างฉันทะกับตัณหา เกิดจากการที่ธรรมสองอย่างนี้เกิดแทรกหรือซ้อนหรือสลับกันได้

และเป็นปัจจัยแก่กันและกันได้

เป็นธรรมดาของมนุษย์ปุถุชนที่ยังมีตัณหาเป็นเจ้าเรือน ไม่ว่าฉันทะจะเกิดขึ้นหรือไม่ ตัณหาก็ย่อมมียืนพื้นคอย

รอโอกาสอยู่

ถ้าฉันทะไม่เกิด ตัณหาก็ทำหน้าที่ของมันเรื่อยไป

ถ้าฉันทะเกิดขึ้นมา ตัณหาก็คอยหาช่องที่จะแทรกซ้อนแอบแฝงหรือเข้าแทนที่

อนึ่ง มนุษย์เป็นสัตว์ที่เจริญสามารถมีปัญญาและคุณธรรมได้มาก เมื่อมนุษย์พัฒนาสูงขึ้นไปในด้านจิตและปัญญา

ตัณหาก็พลอยมีอาการละเอียดอ่อนตามไปด้วย และแสดงตัวออกในลักษณะที่ประณีตซับซ้อนยิ่งขึ้น

ดังนั้น พอฉันทะเกิดขึ้น คือ มองเห็นว่าอะไรเป็นภาวะดีงามมีคุณค่าแท้จริง พาใจโน้มน้อมเข้าไปหาสิ่งนั้น

แล้วตัณหาก็อาจเข้าแทรกซ้อนได้ทัน โดยการวางท่าทีของการเข้าครอบครอง การยึดถือเป็นของตน

การเอาตัวตนเข้าผูกพัน การเป็นเจ้าของหรือออกรับแทน การแบ่งแยกหรือกันออกว่าเป็นส่วนของเรา

ส่วนของคนอื่น

เมื่อตัณหาเกิดขึ้นแล้ว ก็เท่ากับว่าได้เพาะเชื้อสำหรับการก่อตัวของความทุกข์และปัญหาต่างๆพร้อมด้วยแล้ว

ตัวอย่างเช่น เมื่อทำงานอะไรสักอย่างหนึ่งที่เริ่มต้นด้วยฉันทะ

ถ้าผู้นั้นดำรงอยู่ในฉันทะต่อเนื่องเรื่อยไป เขาจะมีความพึงพอใจซาบซึ้งในคุณค่าในภาวะดีงามหรืออุดมสภาวะ

ของสิ่งนั้นที่การทำงานกำลังพาไปให้เข้าถึง * จิตใจของเขาจึงน้อมดิ่งดื่มด่ำแน่วแน่ในอุดมสภาวะ

และในงานที่ทำ

เขาจึงทำงานโดยมีปีติปราโมทย์และสมาธิ แต่ถ้าเมื่อฉันทะได้เริ่มต้นขึ้นให้ลงมือทำการได้แล้ว

ตัณหาแทรกสอดเข้ามาตัดตอนและเข้าแทนที่เสีย ก็เกิดความรู้สึกกำชับเข้ามาว่างานของเรา ผลงานของเรา

เราจะได้นั่นได้นี่ ตัณหาก็อาจจะช่วยให้ทำงานด้วยความตื่นเต้นเร่าร้อนกระวนกระวาย และอาจตามมาด้วย

ความหวาดระแวงเช่นว่า คนโน้นคนนี้เขาว่าเราเป็นอย่างไร ว่างานของเราเป็นอย่างไร กลัวว่างานของเรา

จะสู้ของคนโน้นคนนี้ไม่ได้

เกิดการแข่งขันตลอดไปจนกระทั่งความอิจฉาริษยา ความหวงแหน ความข้องขัดกระทบใจ เขาจะไม่ได้ปีติ

ปราโมทย์ในงาน แต่อาจจะได้ความภาคภูมิใจแบบตัณหามานะ ซึ่งเป็นความรู้สึกแบบที่มีคู่ลบฝ่ายตรงข้าม

เช่น เขาอาจจะมีความหวังว่าเมื่อทำสำเร็จ เขาจะได้รับความยกย่อสรรเสริญ คนอื่นทั้งหลายจะพากันแสดง

ความชื่นชม (เสริมขยายความมั่นคงของอัตตา) ครั้นสำเร็จถ้าคนทั้งหลายไม่แสดงความชื่นชมยกย่อง

หรือชื่นชมยกย่องไม่มากไม่นานเท่าที่เขาหวัง เขาก็จะผิดหวังเกิดความทุกข์ความข้องคับใจ


บางทีแม้แต่เมื่อได้รับความยกย่องชื่นชมสมหวังแล้ว แต่เมื่อกาลเวลาแห่งเหตุการณ์นั้นผ่านพ้นไปตามธรรมดา

แห่งความไม่คงที่ยังยืน

ถ้าเขาวางใจไม่ถูก ก็กลับหวนละห้วยรำพึงเสียดายวันชื่นชั่วโมงฉ่ำที่อัตตาเคยได้รับการพะเน้าพะนอครั้งนั้น

ทำให้เกิดความเศร้าซึมหรือเฉาใจได้อีกยิ่งกว่านั้นบางคนพอประสบความสำเร็จ ได้รับความยกย่องเชิดชูแล้ว

เกิดลืมตัวไม่ได้ใช้ปัญญาชำระล้างจิตใจให้เรียบร้อย อัตตาที่พองขยายเบ่งบานออกไปแล้วไม่กลับคืนสภาพ

เดิม (คือได้เกิดความยึดมั่นในตัวตนที่ได้รับความยกย่องอย่างนั้น เป็นมานะอย่างเหนี่ยวแน่นแล้ว)

ก็เลยต้องการความพะเน้าพะนอและ การยอมรับความยิ่งใหญ่ของตัวตนนั้นจากผู้อื่นอย่างโดดเด่นเกินไป


อนึ่ง ขอย้ำคำที่กล่าวข้างต้นว่า ตัณหาอาจเกิดแทรกซ้อนเข้ามาในตอนใดก็ได้ เช่น ในกรณีนี้ บุคคลผู้นั้น

อาจทำงานด้วยแรงฉันทะมาด้วยดีโดยตลอด จนกระทั่งสำเร็จแล้วจึงเกิดตัณหาเข้ามาถือครองว่านี่ผลงาน

ของเราก็ได้ หรือ ตัณหาอาจเข้าแทรกสลับกับฉันทะมาเรื่อยๆก็ได้

ข้อสำคัญอยู่ที่ว่าไม่ว่า ตัณหาจะเกิดที่ไหนในช่วงจังหวะใด ก็จะเข้าผูกปมปัญหาเตรียมไว้ในที่นั่น

ถ้าไม่รุนแรงพอที่จะลุกลามไปเป็นอันตรายแก่ผู้อื่นหรือทำให้สังคมยุ่งยากเดือดร้อน อย่างน้อยก็เป็นปัญหา

ก่อทุกข์อยู่ในใจหรือเป็นอิทธิพลแฝงเร้นอยู่ในบุคลิกภาพของตน

:b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42:

* ภาวะปราศจากโทษ (อนวัชชภาวะ) ซึ่งไม่มีความรู้สึกกระทบเข้ามาว่า จะเกิดข้อเสียหายหรือผลร้าย

ใดๆ แก่อะไรๆหรือใครๆ

พึงพิจารณามติของอรรถกถาแห่งหนึ่งด้วยท่านว่า “ศรัทธาอันมีความเลื่อมใสยิ่งในอารมณ์ เป็นลักษณะเป็น

ปัจจัยพิเศษแก่ฉันทะอันมีความใคร่จะทำเป็นสภาวะ” (อรรถกถาเนตติปกรณ์ ฉบับอักษณพม่า หน้า 70 ฉบับ

ไทยยังไม่ได้พิมพ์)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ม.ค. 2010, 19:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อเข้าใจความแตกต่างระหว่างตัณหากับฉันทะในเรื่องราวหรือในกิจทั่วๆไปแล้ว

ก็จะเข้าใจด้วยว่า ความยินดี พอใจ ความต้องการ หรือ อยากนิพพาน ในกรณีใดเป็นตัณหา

ในกรณีใดเป็นฉันทะ

เมื่อบุคคลฟังธรรม เกิดความเข้าใจ มองเห็นโทษของกิเลสว่า โลภะ โทสะ โมหะ ทำให้จิตใจขุ่นมัว

เศร้าหมองเป็นเหตุให้ทำกรรมชั่วต่างๆ ก่อความเดือดร้อนทั้งแก่ตนและผู้อื่น

ถ้ากำจัดกิเลสเหล่านั้นได้แล้ว จิตใจจะสงบผ่องใส มีความสุข ไม่มีความเร่าร้อนกระวนกระวายดังนี้

เป็นต้นแล้ว เขามองเห็นคุณค่าของความปราศจากกิเลส ความมีจิตปลอดโปร่ง สงบ ผ่องใสนั้นว่า

เป็นภาวะดีงาม จิตใจของเขาก็ยินดี โน้มน้อมโอนไปหาภาวะนั้น อาการอย่างนี้คือสิ่งที่เรียกได้ว่าฉันทะ

ในบาลีท่านใช้ว่า ยินดี (อภิรม หรือ อภิรัต) ในนิพพานบ้าง

ปรารถนา (อภิปัตถนา) นิพพานบทบ้าง ปรารถนาโยคเกษมธรรมบ้าง *

จัดเป็นภาวะจิตที่เป็นกุศล และเป็นคุณสมบัติของผู้ปฏิบัติธรรมเพื่อบรรลุนิพพาน


แต่ถ้าคิดอยากได้นิพพาน อยากบรรลุนิพพาน หรือ อยากเป็นผู้บรรลุนิพพาน

โดยนึกขึ้นมาทำนองว่า นิพพานเป็นภาวะอย่างหนึ่ง สิ่งๆหนึ่ง หรือ สถานที่แห่งหนึ่ง อันน่าปรารถนา

ซึ่งตนจะได้เข้าไปครอบครองเข้าถึงหรือเข้าไปอยู่ ในความคิดนั้น จะมีความรู้สึก หรือ ความเห็นซ่อนแฝง

อยู่ด้วยว่า นิพพานนั้นจะอำนวยสุขเวทนาให้ตนได้เสพเสวย หรือว่าเป็นภาวะนิรันดร ที่ตนจะได้คงอยู่

ยั่งยืน ตลอดจนกระทั่งว่าเป็นที่ขาดสูญ ซึ่งตัวตนจะได้หมดสิ้นไปเสียที

ความยินดี ปรารถนาหรือต้องการนิพพานในกรณีเช่นนี้ จัดว่าเป็นตัณหา และจะเป็นอุปสรรคขัดขวาง

การบรรลุนิพพาน

แม้ความอยากเป็นอรหันต์ก็มีคติอย่างเดียวกัน

อนึ่ง ความตอนนี้ ชวนให้สังเกตเห็นอาการหรือลักษณะอีกอย่างหนึ่งที่แตกต่างกันระหว่างฉันทะกับตัณหา

กล่าวคือ ฉันทะต่อเนื่องกับการกระทำโดยตรง เป็นความพร้อมหรือเตรียมตัว

ที่จะทำการ หรือ จะเข้าไปหาสิ่งต้องการซึ่งมองเห็นประจักษ์อยู่ในเวลานั้น

อาจพูดได้ว่า ฉันทะเป็นส่วนหนึ่งหรือเป็นขั้นตอนหนึ่งของการกระทำนั้นทีเดียว โดยเป็นจุดเริ่มต้น

ของการกระทำหรือเป็นการเริ่มที่จะลงมือทำ

ส่วนตัณหา เป็นความปรารถนาในสิ่งที่เป็นเสมือนว่า ตั้งอยู่ห่างออกไปในที่ของมันเองแห่งหนึ่งต่างหาก

จากตัวผู้ปรารถนาขาดตอนจากกัน

ตัณหามีความเข้าใจเพียงมัวๆ มองเห็นสิ่งนั้นไม่ชัดเจน เพียงแต่หวังที่จะได้รับผลที่ต้องการจากสิ่งนั้น

แล้วก็หาทางที่จะให้ได้สิ่งนั้นมา หรือ เข้าครอบครองเสพเสวยสิ่งนั้น *

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 24 ม.ค. 2010, 19:33, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ม.ค. 2010, 19:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(ขยายความ คห.บนที่มี * ตามลำดับ)


*เรียกพระพุทธเจ้าว่า เป็นนิพพานาภิรัต คือ ผู้ยินดีในนิพพาน - (ขุ.สุ.25/302/344)

ว่าคนผู้ยินดีในนิพพาน ย่อมหลุดพ้นจากสรรพทุกข์ - (สํ.ส.15/175/52)

ว่าภิกษุผู้ไม่มัวเพลินงาน ไม่มัวเพลินการคุย การนอน การคลุกคลี การคิดฟุ้งผันพิสดาร ชื่อว่าเป็นผู้ยินดี

ในนิพพาน ละสักกายะเพื่อทำความจบสิ้นทุกข์ได้- (องฺ.ฉกฺก.22/285-6/328-9)

ว่าภิกษุผู้รู้จักข่มจิตในเวลาควรข่ม รู้จักประคองจิต ทำจิตให้ร่าเริง และเพ่งดูเฉยในเวลาที่ควรทำเช่นนั้นๆ

ชื่อว่าเป็นผู้ยินดีในนิพพาน สามารถบรรลุนิพพานได้- (องฺ.ฉกฺก.22/356/486)

พระเถรีกล่าวถึงตนเองยินดีในนิพพาน - (ขุ.เถรี.26/432/449; 474/499)

ว่าผู้ปรารถนานิพพานจึงจะดำเนินชีวิตได้ด้วยดีในโลก (อยู่ไหนไปไหนก็เป็นไปด้วยดี

ขุ.สุ.25/331/396)

ทรงสอนภิกษุผู้ปรารถนาโยคเกษมธรรม - (ม.มู.12/3/6)

ทรงสอนให้ภิกษุทั้งหลาย เป็นผู้มากด้วยปราโมทย์ ปรารถนาเกษมธรรม คือนิพพาน -

(ม.มู.12/391/421)


* บางมติของอรรถกถาและฎีกาว่า ตัณหาเป็นความปรารถนาอารมณ์ที่ยังไม่มาถึง เสมือนการที่โจรเหยียดมือ

ออกไปในที่มืด-

(วิสุทธิ.3/182 สงฺคห.ฎีกา 235)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ม.ค. 2010, 19:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ในทางปฏิบัติ มีข้อสรุปที่พึงยอมรับกันไว้ก่อนว่า

ประการที่หนึ่ง เป็นธรรมดาของปุถุชนที่ย่อมมีตัณหาครองใจเป็นพื้นอยู่ และตัณหานั้นจะเกิดขึ้นได้เสมอ

ไม่ว่าในขั้นตอน หรือ เวลาใดที่เผลอปล่อยให้โอกาสแก่มัน

ประการที่สอง ตัณหาเกิดขึ้นมาเมื่อใด ก็จะชักนำเอาปัญหาหรือความทุกข์เข้ามาให้ด้วย จึงควรหรือกำจัด

เสีย

ประการที่สาม ในเมื่อตัณหาที่เป็นตัวก่อโทษนั้นพร้อมที่จะเกิดอยู่เสมอ การที่ปุถุชนจะหลีกเลี่ยงมันโดย

สิ้นเชิงย่อมจะเป็นไปไม่ได้

ดังนั้น ในกรณีที่สมควรหรือจำเป็น น่าจะมีวิธีปฏิบัติในทางที่จะทำให้ตัณหาก่อประโยชน์หรือเอาตัณหาไปใช้

ประโยชน์ได้ นี้เป็นฝ่ายอกุศล

ส่วนในฝ่ายกุศลหรือฝ่ายดี ก็เป็นอันยอมรับในทางตรงข้ามว่า ฉันทะเป็นประโยชน์เกื้อกูล

ช่วยให้ชีวิตเข้าถึงภาวะดีงามทุกอย่างที่มีคุณค่าแท้จริง จึงควรใช้และปลูกฝังในเกิดมีมากขึ้นโดยลำดับ

เมื่อฉันทะเกิดขึ้น ก็ย่อมเป็นการปิดกั้นหรือป้องกันและกำจัดตัณหาไปด้วยในตัว

ท่านแสดงหลักการทั่วไปไว้ว่า ตัณหาเป็นสิ่งที่พึงละ-(1)

ส่วนฉันทะเป็นกรณียะ คือสิ่งที่พึงกระทำ*

(* สํ.นิ.16/310/161 ฯลฯ)

อย่างไรก็ตาม อาจจะพูดอีกแนวหนึ่งก็ได้ว่า ตัณหาและฉันทะเป็นสิ่งที่พึงละเสียทั้งสองอย่าง

แต่การละนั้นต่างกัน

ดังที่ท่านขยายความไว้จับสาระได้ว่า ตัณหาเกิดที่ไหน ควรละเสียที่นั่น-

(เช่น ที.ม. 10/297-8 /343-8 ฯลฯ) ควรละหรือกำจัดเสีย ณ จุดที่มันเกิดขึ้น


ส่วนฉันทะ ท่านให้ละด้วยการทำให้สำเร็จตามฉันทะนั้น คือ ละด้วยการทำตามฉันทะนั้นจนสำเร็จผล

ทำให้ฉันทะนั้นหมดไปเอง หรือไม่ต้องมีฉันทะนั้นอีกต่อไป

พูดอีกอย่างหนึ่งว่า ตัณหาเป็นความต้องการชนิดที่ควรดับหรือละทิ้งไปเสียโดยทันทีและถ่ายเดียว

ไม่ต้องเก็บเอาไว้ใช้อะไรต่อไป

ส่วนฉันทะ เป็นความต้องการชนิดที่ควรทำตามจนสำเร็จหมดความต้องการนั้นไปเอง

พูดสั้นๆว่า ตัณหาละด้วยการสลัดทิ้ง

ฉันทะ ละด้วยการทำให้สำเร็จ

การละฉันทะด้วยการทำให้สำเร็จ ซึ่งจะเรียกว่า การละฉันทะด้วยฉันทะ คือ เอาฉันทะละฉันทะ

หรือทำให้ฉันทะละตัวมันเองนี้ มีเรื่องมาในบาลี ขอนำมาลงไว้เพื่อให้พิจารณาเห็นชัดเจนด้วยตนเอง

เรื่องนี้เป็นคำสนทนาถามตอบปัญหาระหว่างพราหมณ์คนหนึ่งกับพระอานนท์


พราหมณ์: ท่านพระอานนท์ผู้เจริญ บุคคลอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระสมณโคดม เพื่อประโยชน์อะไร ?

พระอานนท์: เพื่อละฉันทะ- (2)

พราหมณ์: มีมรรคา มีปฏิปทานั้นไหม ?

พระอานนท์: มีสิท่าน

พราหมณ์: มรรคา ปฏิปทาเพื่อละฉันทะนั้นเป็นไฉน ?

พระอานนท์: ภิกษุผู้เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิและปธานสังขาร เจริญอิทธิบาทประกอบด้วย

วิริยสมาธิ จิตตสมาธิ วิมังสาสมาธิ และปธานสังขาร นี้และพราหมณ์ คือ มรรคา ปฏิปทาเพื่อละฉันทะนั้น

พราหมณ์: เมื่อเป็นอย่างนั้น ฉันทะที่มีอยู่ ก็ยังมีอยู่นะสิ มิใช่ไม่มี และข้อที่บุคคลจักละฉันทะด้วยฉันทะ

นั่นเอง ย่อมมิใช่ฐานะที่จะเป็นไปได้

พระอานนท์: ถ้าอย่างนั้น เราจักย้อนถามท่านในเรื่องนี้ ท่านเห็นควรอย่างไร ก็พึงตอบอย่างนั้น

นี่แน่ะพราหมณ์ ท่านเข้าใจว่าอย่างไร ก่อนนี้ ทานได้มีฉันทะ ในเรื่องนี้ว่า เราจักไปวัด(อาราม) เมื่อท่าน

ไปถึงวัดแล้ว ฉันทะเพื่อการนั้น ก็สงบระงับไป ใช่ไหม ?

พราหมณ์: ใช่อย่างนั้น ท่าน

พระอานนท์: ก่อนนี้ ท่านได้มีความเพียร...ได้มีความคิดจดจ่อ (จิตตะ) ...

ได้มีปัญญาไตร่ตรอง (วิมังสา) ในเรื่องว่า เราจักไปวัด เมื่อท่านไปถึงวัดแล้ว ความเพียร ...

ความคิดจดจ่อ...ปัญญา ไตร่ตรอง (วิริยะ จิตตะ วิมังสา) เพื่อการนั้น ก็สงบระงับไป ใช่ไหม ?

พราหมณ์: ใช่อย่างนั้น ท่าน

พระอานนท์: ฉันนั้นเหมือนกันแล ท่านพราหมณ์ ภิกษุใดเป็นพระอรหันตขีณาสพ...ฉันทะเพื่อการ

บรรลุอรหัต ที่ภิกษุนั้น เคยมีในกาลก่อน เมื่อเธอบรรลุอรหัตแล้ว ฉันทะเพื่อการนั้นก็สงบระงับไป

วิริยะ เพื่อการบรรลุอรหัต ...

จิตตะ เพื่อการบรรลุอรหัต ...

วิมังสา เพื่อการบรรลุอรหัต ที่ภิกษุนั้นเคยมีในกาลก่อน เมื่อเธอบรรลุอรหัตแล้ว วิริยะ...จิตตะ...วิมังสา

เพื่อการนั้น ก็สงบระงับไป *

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 25 ม.ค. 2010, 20:04, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ม.ค. 2010, 20:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(ขยายความ คห. บนที่มี (1) * ตามลำดับ)


(1) เป็นปหาตัพพะ หรือ ปหาตัพพธรรม ในฐานะสมุทัยอริยสัจ = วินย. 4/15/20

ขุ.ม.19/1667/529

ในฐานะตัณหา ๖ กอง = ที.ปา.11/425/303

ขุ.ปฏิ.31/64/38 ในฐานะภวตัณหา = องฺ.จตุกฺก.21/254/333 ฯลฯ




(2)ฉันทะ ในข้อความว่าเพื่อละฉันทะนี้ อรรถกถา สํ.อ.3/365 ว่าหมายถึงตัณหาฉันทะ คือตัวตัณหา

นั่นเอง

ถ้าถือตามนี้ ก็ต้องหมายความว่า พระอานนท์ตอบว่าประพฤติพรหมจรรย์เพื่อละตัณหา และที่ท่าน

อธิบายต่อไปว่า ใช้ฉันทะละฉันทะ ก็ต้องหมายความว่าใช้กุศลฉันทะ (ในอิทธิบาท) มาละตัณหาฉันทะ

แต่คำตอบของพระอานนท์ปรากฏอยู่ชัดแจ้งว่า ทั้งฉันทะที่ให้ทำการและฉันทะที่สงบระงับไป ก็คือฉันทะใน

อิทธิบาทอย่างเดียวกัน และฉันทะในอิทธิบาทนั้นก็เป็นที่ยอมรับเป็นเสียงเดียวกันว่า เป็นกัตตุกัมยตาฉันทะ

ตามคำอธิบายของพระอานนท์จึงได้ความหมายว่าละกุศลฉันทะเสียด้วยการทำให้สำเร็จผลตามกุศลฉันทะนั่นเอง

แต่ถ้ายังยืนยันความหมายของฉันทะคำแรกว่าเป็นตัณหาตามอรรถกถา ก็ต้องให้เรื่องยุติลงว่า เป็นการยักเยื้อง

เล่นคำพูด คือ เริ่มคำตอบด้วยฉันทะที่เป็นตัณหา แต่อธิบายด้วยฉันทะที่เป็นกุศล เป็นกัตตุกัมยตา

แต่ไม่ว่าจะถือความหมายของฉันทะในคำตอบประโยคแรกนั้นว่าอย่างไรก็ตาม ก็ปล่อยผ่านไปได้ เพราะข้อ

ความในท่อนอธิบายต่อไป ก็เพียงพออยู่แล้วสำหรับอ้างเพื่อยืนยันหลักการที่เขียนไว้ข้างต้น

ถ้ารังเกียจคำว่า “ละ” สำหรับฉันทะ ก็อาจพูดว่า ฉันทะควรระงับเสียด้วยการทำให้สำเร็จ


* สํ.ม.19/1163-8/349 (คำแปลตัดข้อความซ้ำๆออก คำว่า วัด บาลีว่าอาราม จะแปลว่าสวนก็ได้

ในที่นี้ แปลอย่างที่ให้ฟังกันง่ายๆ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ม.ค. 2010, 20:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ส่วนตัณหา ที่ท่านว่าให้ละเสีย ณ ที่มันเกิดหรือถอนทิ้งเสียทีเดียวนั้น เป็นหลักการทั่วไป แต่ในทาง

ปฏิบัติ ท่านก็ยอมรับความอ่อนแอความเคยชินและความไม่พร้อมต่างๆของปุถุชนเหมือนกัน ดังนั้นจึงเกิดมี

วิธีปฏิบัติตามข้อสรุปประกาศที่สามซึ่งได้กล่าวไว้ข้างต้น คือ เอาตัณหาไปใช้ประโยชน์ ทำให้เกิดผลในทาง

ที่ดีงาม ซึ่งตามตัวอย่างที่ท่านแสดงไว้ในบาลีสามารถใช้แม้แต่เพื่อประโยชน์สูงสุด คือเพื่อบรรลุนิพพาน

โดยเกิดเป็นหลักการย่อยลงมาว่า พึงอาศัยตัณหาละตัณหา

ดังข้อความที่พระอานนท์กล่าวกะภิกษุณีรูปหนึ่งที่หลงรักท่านว่า

“แน่ะน้องหญิง ข้อที่เรากล่าวว่า กายนี้เกิดจากตัณหา พึงอาศัยตัณหาละเสียซึ่งตัณหาดังนี้ เราอาศัย

เหตุผลอะไรกล่าว ในข้อนี้ ภิกษุได้สดับข่าวว่า ภิกษุมีชื่อย่างนี้ ได้ประจักษ์แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง

ในปัจจุบันทีเดียว ซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย

เข้าถึงอยู่ ดังนี้ เธอจึงมีความคิดอย่างนี้ว่า เมื่อไรเล่าหนอแม้เราก็จักประจักษ์แจ้งเจโตวิมุตติ

ปัญญาวิมุตติ ...เข้าถึงอยู่บ้าง ดังนี้ กาลต่อมา ภิกษุนั้นอาศัยตัณหา ละตัณหาได้” *


:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:


* องฺ.จตุกฺก.21/159/195, อรรถกถาอธิบายว่าตัณหาของภิกษุนั้นในกรณีนี้ เป็นกุศลฉันทะ

(องฺ.อ.2/44)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ม.ค. 2010, 20:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สาระของข้อความนี้ (คาถาบน) มีเพียงว่า ภิกษุได้ยินข่าวว่าภิกษุอื่นบรรลุอรหัตผล ก็อยากบรรลุอรหัตผล

บ้าง หรือได้ยินว่า ภิกษุอื่นได้เป็นพระอรหันต์ ก็อยากเป็นพระอรหันต์บ้าง

ความอยากของเธอมีลักษณะที่เห็นได้ชัดว่าเป็นตัณหา คือ ภาวะอรหัตผลหรือความเป็นพระอรหันต์นั้น

เป็นเหมือนสิ่งหนึ่งที่ตั้งอยูในที่ต่างหากจากเธอ และมีตัวเธอที่อยากจะเข้าครอบครองเป็นเจ้าของ

หรือเข้าไปอยู่ในภาวะนั้น

การเอาตัณหามาใช้ในกรณีอย่างนี้ จัดว่าเป็นอุบาย คือ วิธียักเยื้องนำเข้าไปให้ถึงจุดหมาย เป็นวิธีเร้าล่อให้

กระทำการที่เป็นเงื่อนไข

เมื่อบุคคลที่ถูกเร้าล่อเริ่มกระทำการที่เป็นเงื่อนไขแล้ว ก็จะต้องใช้โอกาสในระหว่างนั้นค่อยๆสร้างความรู้

ความเข้าใจให้เขาเกิดความรักความซาบซึ้งในภาวะดีงามที่เป็นผลของการกระทำน้ำโดยตรงจนเขาเกิดฉันทะขึ้น

เองอีกชั้นหนึ่ง แล้วเขาก็จะเปลี่ยนแรงจูงใจและพฤติกรรมของเขาเอง

ถ้าทำได้อย่างนี้ ก็นับว่าเป็นความสำเร็จและจัดเป็นการศึกษาอบรมได้อย่างหนึ่ง

แต่ถ้าเปลี่ยนจากตัณหาให้เกิดเป็นฉันทะไม่ได้ ก็กลายเป็นความล้มเหลว

บางครั้งผลที่เอามาเร้าล่ออาจเป็นสิ่งอื่นที่ไม่ใช่ผลของการกระทำนั้นโดยตรง เช่น เมื่อพระนันทะพุทธอนุชา

ผนวชแล้ว เกิดความคิดถึงคู่รัก เบื่อหน่ายพรหมจรรย์คิดจะสึก พระพุทธเจ้าทรงทราบจึงทรงพาไปเที่ยวชม

นางฟ้า จนพระนันทะหายคิดถึงคู่รัก เกิดความอยากได้นางฟ้าแทน

พระพุทธเจ้าจึงตรัสรับรองเอาพระองค์เองเป็นประกันว่าจะให้พระนันทะได้นางฟ้า โดยมีเงื่อนไขว่าพระนันทะ

ต้องตั้งใจประพฤติพรหมจรรย์ และเมื่อพระนันทะตั้งใจประพฤติพรหมจรรย์ตามเงื่อนไขแล้ว

ก็เป็นจุดเริ่มต้นของโอกาสในการนำพระนันทะก้าวหน้าต่อไป ซึ่งในที่สุดเธอก็ได้บรรลุอรหัตผล*



วิธีการอย่างนี้ เรียกอย่างสามัญก็คือการล่อด้วยรางวัล แต่ไม่ปรากฏว่าท่านใช้วิธีนี้บ่อย ท่านคงจะใช้เมื่อ

จำเป็นในเมื่อปัจจัยแวดล้อมต่างๆ กำหนดลงว่าเป็นวิธีที่ดีที่สุด และคงใช้อย่างระมัดระวังโดยคำนึงถึงผล

ติดตาม

ตัวอย่างวิธีอย่างนี้ ในชีวิตประจำวัน เช่น บอกให้เด็กกวาดถูเรือนแล้วจะให้รางวัล หรือบอกลูกว่า อ่านหนังสือ

เล่มนั้นเล่มนี้จบแล้วจะซื้อของนั้นนี้ให้

การกระทำอย่างนี้ เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาอบรม ผู้ทำจะต้องทำอย่างมีความรับผิดชอบ โดยคิดเตรียมไว้

แล้วว่าจะชักจูงเด็กเข้าสู่ความมีฉันทะได้อย่างไร ไม่ใช่สักว่าทำพอผ่านๆ อย่างน้อยเริ่มแรกผู้มีความรับผิดชอบ

ย่อมทำเช่นนั้น โดยมีความหวังว่า เมื่อล่อให้เด็กเริ่มกวาดถูหรืออ่านหนังสือแล้ว เด็กอาจจะค่อยๆเกิดความรู้สึก

รักความสะอาดหรือรักความรู้ขึ้นมาได้เองจากการได้เห็นผลดีที่เกิดจากการกระทำนั้น

แต่ทางที่ดี ผู้ล่อเร้าควรใช้โอกาสระหว่างนั้นช่วยทำอย่างใดอย่างหนึ่งที่จะให้เด็กใช้โยนิโสมนสิการ ในทางที่จะ

เข้าใจคุณค่าของความสะอาดและความรู้จนเกิดความรักความซาบซึ้งชอบความสะอาดหรือใฝ่ความรู้ เกิดมีฉันทะ

ที่จะกวาดถูหรืออ่านหนังสือได้เองโดยไม่ต้องเป็นเงื่อนไขเพื่อรางวัลอีกต่อไป



วิธีใช้ตัณหามาชักจูงหรือเป็นปัจจัยแก่ฉันทะอย่างนี้ ถ้าฉันทะเกิดจริงก็ดีไป แต่ถ้าฉันทะไม่เกิดก็กลายเป็น

ความล้มเหลว และกลับเกิดผลเสียมากยิ่งขึ้น เพราะเท่ากับไปเร้าตัณหาให้ขยายตัวเข้มข้นยิ่งกว่าเดิม

เป็นการสร้างนิสัยที่ไม่ดี และเท่ากับเอาเชื้อแห่งปัญหาและความทุกข์ไปใส่ไว้ในชีวิตของเด็ก

ผู้ใช้วิธีการเช่นนี้ จึงต้องระมัดระวังคิดเตรียมการเพื่อผลที่ประสงค์ไว้โดยรอบคอบจนมั่นใจว่าจะต้องสำเร็จ

และเอาใจใส่คอยช่วยอยู่ตลอดการะบวนการจนกว่าผลสำเร็จคือความเกิดขึ้นแห่งฉันทะจะปรากฏ

:b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55:

* ดูเรื่องใน ขุ.อุ.25/67/103 ขุ.เถร.26/276/293 ฯลฯ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ม.ค. 2010, 20:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อีกตัวอย่างหนึ่ง เพื่อเสริมความเข้าใจเกี่ยวกับความซับซ้อนแห่งบทบาทของตัณหาและฉันทะ

นักศึกษาคนหนึ่งเลือกเรียนวิชาแพทย์ เพราะเห็นว่าเป็นอาชีพที่ทำเงินได้ดี รวยเร็ว

ถ้าเขานึกเพียงในแนวของกามตัณหาเท่านั้น

เขาอาจจะเรียนพอสักว่าได้สำเร็จตามเงื่อนไขได้ใบสำคัญออกไปประกอบอาชีพหรือเพราะเหตุที่เขา

ไม่ตั้งใจเรียน เขาอาจทนความอยากไม่ได้ รอไม่ไหว ออกไปเสียในระหว่าง

แต่ถ้าเขาเป็นคนฉลาด เขามองเห็นเหตุผลต่างๆ ว่าเมื่อจะไปเป็นแพทย์ ก็ควรจะเป็นแพทย์ที่ดี

ความรู้ความเชียวชาญความสามารถมาก

เขาอยากเป็นหมอดีที่มีชื่อเสียงประสบความสำเร็จด้วย ความคิดแนวภวตัณหานี้เป็นเงื่อนไขให้เขาต้องตั้งใจ

เรียนจริงจัง ความเป็นหมอดีในแง่ของความมีชื่อเสียงได้รับยกย่องของภวตัณหานั้น ไปสัมพันธ์เข้ากับ

ความเป็นหมอดีที่เป็นภาวะดีงาม และที่เป็นอุดมสภาวะของความเป็นหมอ ซึ่งเป็นที่ชื่นของฉันทะ

ฉันทะอาจเกิดขึ้น และช่วยส่งหนุนให้เขาตั้งใจศึกษาหาความรู้ความชำนาญในวิชาแพทย์อย่างจริง

หรือในขณะที่ตั้งใจเรียนตามเงื่อนไขของภวตัณหานั่นแหละ เขาเกิดความรู้ความเข้าใจซาบซึ้งในคุณค่า

ของความรู้และงานแพทย์

เขาเกิดฉันทะ กลายเป็นผู้รักการเรียนและการฝึกฝนในวิชาแพทย์อย่างจริงจัง เขาเรียนสำเร็จ ได้ปริญญา

แพทย์ศาสตร์พร้อมด้วยความรู้ความชำนาญที่จะให้เป็นหมอที่ดีมีความสามารถ

แต่เขายังมุ่งไปหางานหรือแสวงแต่ตำแหน่งหน้าที่ ซึ่งจะทำให้ได้รายได้มากที่สุด หรือจะให้เด่นดัง

ได้ง่าย

นักศึกษาอีกผู้หนึ่งเห็นเพื่อนมนุษย์หรือเพื่อนร่วมชาติจำนวนมากยังได้รับทุกข์ทรมานจากโรคภัยไข้เจ็บ

มากมาย มีสภาพความเป็นอยู่หรือสิ่งแวดล้อมไม่เกื้อกูลแก่สุขภาพ

เขาอยากจะรู้วิธีแก้ไขและทำการแก้ไขสภาพเช่นนี้ และช่วยเหลือคนเหล่านี้

เขาอยากเห็นคนทั้งหลายมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงหน้าตาเอิบอิ่มแจ่มใส อยากเห็นบ้านเมืองร่มเย็นเรียบร้อย

ดำรงอยู่ในสภาพที่ดีที่สุด เขาจึงเลือกเรียนวิชาแพทย์ ด้วยความคิดเริ่มต้นเช่นนี้

เขาจึงมีฉันทะตั้งใจเล่าเรียนฝึกฝน ให้รู้และชำนาญตรงจุดที่จะนำไปใช่ประโยชน์ในการแก้ไข และช่วยเหลือ

อย่างที่คิดไว้

หากเขาสามารถดำรงรักษาฉันทะให้สืบเนื่องอยู่ได้ตลอด ครั้นสำเร็จแล้วเขาก็เลือกงานหรือตำแหน่งหน้าที่

ที่จะทำให้เขาทำงานแก้ไขสภาพขาดอนามัยและช่วยเหลือคนให้พ้นจากโรคภัยได้ดีที่สุด โดยไม่คำนึงถึง

รายได้หรือชื่อเสียง หรือไม่คำนึงมากนัก

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ม.ค. 2010, 21:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


บทสรุป


ถึงตอนนี้ ความจะลงข้อสรุปเสียทีหนึ่ง มีสภาพความจริงที่เป็นจุดเริ่มต้นของการพิจารณาอยู่ว่า เป็นธรรมดา

ของมนุษย์ปุถุชนย่อมยังมีตัณหา การที่จะให้มนุษย์ปุถุชนเหล่านี้

ทำการใดโดยไม่มีตัณหาเข้ามาเกี่ยวข้องชักจูงด้วยเลยนั้น เป็นอันแทบไม่ต้องหวัง

ดังนั้นจึงไม่ต้องกลัวว่าคนจะไม่มีตัณหา

ข้อควรคำนึงอยู่ที่ว่า ตัณหาเป็นสิ่งมีโทษ เป็นตัวการก่อทุกข์ หรือ ปัญหาทั้งหลาย

ทั้งแก่บุคคลและสังคม จึงต้องหาทางแก้ไขไม่ให้มีโทษภัยเหล่านั้น

วิธีแรกคือ ละหรือไม่ให้เกิดขึ้นอย่างสิ้นเชิง ซึ่งทำได้โดยการดับอวิชชาด้วยปัญญาแล้วดำเนินชีวิตด้วยปัญญา

อย่างเดียว

แต่สำหรับปุถุชนผู้ดำเนินชีวิตอยู่ท่ามกลางสิ่งล่อเร้าเย้ายวนและเรื่องราวกระทบกระทั่งต่างๆ

โดยยังมีอวิชชา ตัณหา อุปาทาน พรั่งพร้อมอยู่ภายในคอยรอขานรับสิ่งล่อเร้า เป็นต้นนั้น

อยู่ตลอดเวลา ถึงจะระมัดระวังนึกอยากจะใช้ปัญญาเพียงไร ก็อดไม่ได้ที่จะเผลอปล่อยให้ตัณหาได้โอกาส

แสดงบทบาทเบาบ้างโจ่งแจ้ง หรือ ไม่ก็แอบแฝงไม่ที่จุด หรือ ขั้นตอนแห่งใด

ก็แห่งหนึ่ง หนทางแก้ไขที่พึงเน้นก็คือการพยายามใช้และปลูกฝังฉันทะที่เป็นความต้องการ

สิ่งดีงามขึ้นมาให้เป็นตัวชักนำการกระทำให้มากที่สุด

มนุษย์เป็นสัตว์ที่มีสมองเจริญมากแล้ว จะอยู่ด้วยอวิชชา-ตัณหาอย่างสัตว์ทั้งหลายอื่นไม่ได้ จะต้องมีความ

ต้องการภาวะดีงาม หรือ ความใฝ่ดีเป็นแรงควบคุมหรือถ่วงคานไว้บ้าง

มิฉะนั้น ก็จะสามารถทำความชั่วร้ายก่ออันตรายได้อย่างร้ายแรงที่สุด เพียงเพื่อได้สิ่ง

เสพเสวยสุขเวทนา หรือ ปกป้องเสริมรักษาความมั่นคงถาวรแห่งอัตตาของคน

แม้แต่เมื่อรู้จักฉันทะบ้างแล้ว แต่ตัณหายังแรงกล้าเกินไป ก็ยังทนทำการโดยทางดีตามที่สำนึกแห่งความดี

หรือสังคมกำหนดไว้ให้ตลอดไปไม่ไหว คอยแต่จะหลีกไปหาทางลัดเพื่อให้ได้สิ่งที่ตัณหาต้องการ

เรื่องของปุถุชนทั่วไป จึงยังอยู่ในขั้นของการเลือกเอาระหว่างการดำรงอยู่เพียงด้วยแรงตัณหาอย่างเดียว

หรือปล่อยให้ตัณหาเป็นตัวนำครอบงำพฤติกรรมส่วนใหญ่ กับการที่สามารถ

เชิดชูฉันทะให้เป็นตัวเด่นขึ้นมา และนำชีวิตให้หลุดพ้นจากอำนาจบงการของอวิชชาตัณหาอุปาทานมากขึ้น

โดยลำดับ

ข้อควรปฏิบัติก็คือ

ถ้าเป็นไปได้ควรให้มีแต่ฉันทะล้วนๆ

แต่ถ้าทำไม่ได้ ยอมให้ตัณหาออกโรง ก็ควรหันเหให้เป็นตัณหาที่หนุนฉันทะคือเป็นปัจจัย

แก่ฉันทะ

เมื่อสามารถสร้างเสริมฉันทะขึ้นมานำพฤติกรรมของตนได้ ตัณหาก็ถูกควบคุมและขัดเกลาไปเองในตัว

นี่แหละ คือ วิธีการละและควบคุมตัณหาตามหลักพุทธธรรม

ไม่ใช่ไปคุมไปกักไปละกันทื่อๆ อย่างไม่รู้เรื่องรู้ราวไม่รู้ที่ไปที่มา ซึ่งเป็นการเพิ่มอวิชชา ก่อให้เกิดผลร้าย

มากกว่าผลดี

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 26 ม.ค. 2010, 13:44, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ม.ค. 2010, 16:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มีข้อความสำคัญที่ขอนำมาย้ำไว้เป็นข้อควรสังเกตและช่วยทบทวน ๓ ประการ คือ

๑. เด็กชายสองคน คือ ด.ช. ตัณหา กับ ด.ช. ฉันทะ ไปเห็นเครื่องรับวิทยุเครื่องหนึ่ง ซึ่งเป็นสิ่ง

ที่ไม่เคยรู้จักมาก่อน และได้ฟังเสียงจากวิทยุนั้นด้วยกัน

ด.ช. ตัณหา ได้ฟังเสียงจากวิทยุแล้วชอบใจเสียงไพเราะ และเสียงแปลกๆ เขาคิดว่า

ถ้าเขามีวิทยุไว้สักเครื่อง คงจะสนุกสนานเพลิดเพลินมาก

เขาจะเปิดฟังทั้งวันทีเดียว และเขาทราบมาว่า คนที่มีวิทยุมีไม่มาก ใครมีก็โก้เก๋

เขาคิดว่าถ้าเขามีวิทยุแล้ว เขาจะเด่นมาก เพื่อนๆจะพากันมารุมดูเขา

เขาจะถือวิทยุเดินอย่างภาคภูมิใจ ไปไหนก็จะเอาไปด้วย จะเอาไปอวดคนโน้นคนนี้

คิดอย่างนี้แล้ว ด.ช. ตัณหา ก็อยากได้วิทยุเป็นกำลัง กลับถึงบ้านก็ไปรบเร้าคุณพ่อคุณแม่ให้ไปซื้อ

มาให้เขาเครื่องหนึ่งให้จงได้

เขาถึงกับคิดว่า ถ้าคุณพ่อคุณแม่ไม่ซื้อให้ เขาจะไปด้อมๆที่ร้าน ถ้าได้ช่องก็จะขโมยมาสักเครื่อง



ส่วน ด.ช. ฉันทะ ได้ฟังเสียงจากวิทยุแล้วก็แปลกประหลาดใจ

เขาเริ่มคิดสงสัยว่า เสียงนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร เครื่องที่ให้เกิดเสียงนั้นคืออะไร

มันทำให้เกิดเสียงได้อย่างไร เขาทำมันอย่างไร มันมีประโยชน์อย่างไร จะเอาไปใช้ทำอะไรได้บ้าง

เขาคิดดังนั้นแล้ว ก็เกิดความอยากรู้เป็นอันมาก จึงคอยสังเกตหรือไปเที่ยวสอบถามว่า ใครจะบอกเรื่องนี้แก่

เขาได้

ครั้นรู้จักช่างแล้ว ก็หาโอกาสเข้าไปซักถาม ได้ความรู้หลายอย่างตลอดจนรู้ว่ามันมีประโยชนอย่างไรบ้าง

ด.ช. ฉันทะ ครั้นเห็นว่ามันเป็นสิ่งมีประโยชน์

ใจเขาซาบซึ้งในคุณค่าของมัน บอกตัวเองว่าดีแน่ แล้วก็เกิดความอยากจะทำวิทยุขึ้นมาบ้าง


ขอให้ลองพิจารณาว่า กระแสความคิดของเด็กสองคนนี้ จะมีผลต่อพฤติกรรมและวิถีชีวิตของเขาอย่างไร

และผลที่กว้างไกลออกไปถึงคนที่เกี่ยวข้องตลอดจนสังคมและประเทศชาติจะเป็นอย่างไร

ในกระบวนธรรมแห่งความคิดและพฤติกรรมของเด็กทั้งสองนี้

องค์ธรรมในตอนเริ่มต้นเหมือนกัน คือ อายตนะภายใน (หู)+ อารมณ์ (เสียง)=> ได้ยิน

(โสตวิญญาณ) = การรับรู้เสียง (ผัสสะ) => เวทนา (หมายถึงสุขเวทนา คือ สบายหู)

แต่ต่อจากเวทนาแล้วกระบวนธรรมก็แยกไปคนละอย่าง

ด.ช. ตัณหา เมื่อได้เวทนาเป็นสุขสบายหูแล้วก็ชอบใจติดใจอยากฟังต่อๆไป คือเกิดตัณหาขึ้น

เขาคิดเพ้อไปตามความอยากนั้น ซึ่งล้วนเป็นอโยนิโสมนสิการ เพราะไม่ได้คิดตามสภาวะและตามเหตุผล

เกี่ยวกับเรื่องวิทยุและเสียงวิทยุนั้นเลย

มีแต่คิดสืบทอดจากตัณหา คิดเกี่ยวกับการเสพเสวยเวทนาและการเสริมขยายตัวตน

เมื่อคิดอย่างนั้น เป็นการหล่อเลี้ยงอวิชชาเอาไว้ ทำให้ตัณหาเพิ่มพลังแข็งแรงและขยายตัวขึ้นอีก

พฤติกรรมของเขาก็จึงเป็นไปตามความบงการของตัณหา


ส่วน ด.ช. ฉันทะ เมื่อกระบวนธรรมสืบต่อมาถึงเวทนาแล้ว เขาไม่ไหลเรื่อยต่อไปยังตัณหา

แต่เกิดมีความคิดที่เป็นโยนิโสมนสิการขึ้นมาตัดหน้าตัณหาเสีย ทำให้ตัณหาชะงักดับไป

โยนิโสมนสิการนั้น คือ การคิดตามสภาวะและเหตุผล ว่าอารมณ์หรือสิ่งที่ประสบนั้นคืออะไร เป็นอย่างไร

เป็นมาอย่างไร เป็นเพราะอะไร มีคุณโทษอย่างไร เป็นต้น

ความคิดนี้ นำไปสู่การรู้ เข้าใจคุณค่าของสิ่งที่ดีงามเกิดความซาบซึ้ง มีจิตใจโน้มน้อมไปหา

จึงเกิดเป็นฉันทะขึ้น และนำ เด็กชาย ฉันทะไปสู่การเรียนรู้และการกระทำต่อไป*

:b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39:

* ข้อนี้มุ่งเน้นในระดับทิฏฐธัมมิกัตถะ คือประโยชน์ปัจจุบันหรือระดับศีลธรรมสำหรับชีวิตประจำวัน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ม.ค. 2010, 16:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๒. ฉันทะ เป็นองค์ธรรมฝ่ายกุศล ดีงาม ไร้โทษ เป็นคุณประโยชน์ เกื้อกูลแก่ชีวิตจิตใจ

แต่ฉันทะ จะเป็นคุณประโยชน์ก่อให้เกิดผลดีเพียงใด

ย่อมขึ้นอยู่กับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความจริงและคุณค่าของสิ่งที่มันเกี่ยวข้อง เพราะฉันทะอาศัย

โยนิโสมนสิการซึ่งเป็นบุพภาคของปัญญา

ถ้าความรู้ความเข้าใจไม่ลึกซึ้งชัดเจนแน่แท้ ฉันทะก็อาจทำให้เกิดความผิดพลาดได้เหมือนกัน

ดังนั้น เพื่อให้ฉันทะเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยชักนำชีวิตไปสู่จุดหมายที่ถูกต้องได้อย่างมั่นใจ

การฝึกอบรมเจริญปัญญา หรือการให้การศึกษาระดับปัญญาจึงถือเป็นหลักการใหญ่ของพระพุทธศาสนา

จุดเริ่มต้นที่สำคัญ คือ จะต้องฝึกโยนิโสมนสิการ รู้จักติดตามสภาวะและสืบค้นเหตุปัจจัย ให้ก้าวหน้า

ไปในความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องว่า ความจริงแท้เป็นอย่างไร อะไรมีคุณค่าแท้จริงแก่ชีวิต


อะไรเป็นอัตถะคือตัวประโยชน์แท้ที่ควรเป็นจุดหมาย และก้าวหน้าไปในกุศลธรรม

โดยเกิดความใฝ่รู้ ใฝ่ธรรม รักความจริง รักความดีงาม รักที่จะดำรงส่งเสริมคุณภาพ

ของชีวิต พร้อมกับทำกุศลธรรมเหล่านั้นให้เกิดให้มีเพิ่มพูนขึ้น จนถึงขั้นมีปัญญาที่ทำชีวิตจิตใจให้หลุดพ้น

เป็นอิสระได้ *

:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:

* ข้อนี้เกี่ยวข้องประโยชน์ทั้ง ๓ ขั้น คือ ทิฏฐธัมมิกัตถะ สัมปรายิกัตถะ และปรมัตถ์

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ม.ค. 2010, 16:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๓. ในกรณีที่ฉันทะเป็นปัจจัยแก่ตัณหา มันย่อมให้เกิดโทษได้แม้แก่คนดี

แม้ว่าคนดี อาจจะไม่เอาตัวตนเข้าไปยึดถือครอบครองความดีที่สร้างขึ้นด้วยฉันทะจนถึงกับเกิดความเย่อหยิ่ง

ลำพอง ยกตนข่มผู้อื่นหรือลุ่มหลง มัวเมา ประมาท

แต่บางทีความยึดถืออย่างอ่อนๆ เช่นว่า ทำไมบ้านเรา วัดเรา โรงเรียนเรา ตำบล บ้านเมืองของเรา

จึงไม่สะอาดเรียบร้อยเหมือนของเขา

หรือว่าเด็กนี้ นักเรียนนี้ ลูกศิษย์นี้ เราพยายามสั่งสอนอบรมนัก หาทางช่วยแนะนำแก้ไขช่วยเหลือ

ทุกอย่าง ทำไมเขาไม่ดีขึ้นมาเลย

หรือว่า คนหมู่นี้ เราพยามช่วยให้พัฒนาตัวเองทุกอย่างทุกประการ ทำไมเขาไม่กระตือรือร้น

ไม่ดีขึ้นมาทันอกทันใจเอาบ้างเลย ดังนี้เป็นต้น ก็ทำให้คนดีเป็นทุกข์เดือดร้อนได้ไม่น้อย

และบางครั้ง เมื่อเหตุปัจจัยของเรื่องนั้นๆ อยู่นอกเหนืออำนาจบังคับบัญชาของคนดี

ก็ยิ่งเป็นเรื่องบีบคั้นใจให้คนดีเป็นทุกข์มากขึ้น

ทุกข์ชนิดนี้ดูเหมือนจะเป็นความทุกข์พิเศษของคนดีที่คนชั่วจะไม่รู้สึกเป็นทุกข์เดือดร้อนด้วยเลย

จะเรียกว่า คนดีก็มีทุกข์แบบของคนดีก็ได้ (1) และเมื่อทุกข์แล้วก็เป็นโอกาสให้วงจรกิเลสเริ่มหมุนได้อีก

โดยอาจเกิดความขุ่นมัว หม่นหมอง น้อยใจ ขัดเคือง ฟุ้งซ่าน หุนหันเป็นต้น อาจให้ทำการ

บางอย่างผิดพลาด หรือ ขาดความสุขุมรอบคอบเกิดผลเสียได้

โดยนัยนี้ ความเป็นคนดีจึงยังไม่เพียงพอ

คนดียังต้องการสิ่งที่จะช่วยให้ทำความโดยไม่มีทุกข์ และเป็นคนดีผู้ไม่เป็นที่แอบแฝงของความชั่ว

หรือไม่อาจกลับกลายเปลี่ยนไปเป็นคนไม่มีได้อีก



พูดง่ายๆว่า ต้องการเครื่องป้องกันไม่ให้ตัณหาย้อนกลับเข้ามา ได้แก่ต้องการปัญญาที่จะทำจิตใจให้หลุดพ้น

เป็นอิสระ นี่คือจุดที่คนต้องการโลกุตรธรรม และควรให้ฉันทะทำหน้าที่นำชีวิตไปถึงจุดหมายขั้นนี้ด้วย *


:b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42:


* ข้อนี้มุ่งเน้นจุดผ่านจากสัมปรายิกัตถะ หรือ ประโยชน์เบื้องหน้าสำหรับชีวิตด้านในมาสู่ ปรมัตถ์ หรือ

ประโยชน์ที่เป็นจุดหมายสูงสุด

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ม.ค. 2010, 16:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขยายความ คห.บทที่มี (1)


(1) คนที่มีฉันทะมากขึ้น ถ้าตัณหา (รวมทั้งมานะ และทิฏฐิ) เข้ามาแทรกซ้อนรับช่วงจากฉันทะ

เข้าครอบงำจิตใจได้ ก็อาจทำให้เกิดทุกข์หรือผลเสียหายที่ร้ายแรงได้มากเหมือนกัน


ขอเสนอไว้พิจารณาบ้างบางอย่าง เช่น

-เพราะความรักในความดีงามความบริสุทธิ์แห่งชีวิต ตัณหาอาจเอามาผูกเข้าเป็นความรักความยึดมั่นในความดี

ของตน

หวั่นกลัวต่อเหตุมัวหมองต่างๆ กลัวถูกคนเข้าใจผิด เป็นทุกข์ในเรื่องเช่นนี้มากมายกว่าคนทั่วไป

ข้อนี้น่าจะมาพิจารณาด้วยในการศึกษาสาเหตุของสิ่งที่จิตวิทยาตะวันตกเรียกว่า guilt-feeling


-บางคนมีความต้องอย่างแรงกล้าที่จะสร้างสรรค์สังคมให้ดีงาม หรือสถาปนาความดีงามขึ้นในสังคม

แต่ทำไม่ได้อย่างที่ปรารถนา

หรือประสบเหตุขัดขวางมาก ก็เกิดความขัดใจ ยึดมั่นในความเห็นของตนมากขึ้น หรือ เกิดความปรารถนาให้ตน

ได้ชื่อว่าเป็นผู้สร้างผู้สถาปนาสังคมใหม่ที่ดีงามนั้น จึงมุ่งที่จะทำให้ได้อย่างเดียว อาจหันไปใช้วิธีรุนแรงกำจัด

กวาดล้างผู้ที่ตนเห็นว่าขัดขวางด้วยโทสะโดยไม่มีความรักหรือปรารถนาความดีงามแก่ชีวิตของคนเหล่านั้นเลย

ฉันทะที่ครอบด้วยตัณหา ทิฏฐิ จึงอาจนำไปสู่สิ่งที่เรียกว่า violence ได้เหมือนกัน



-ระบบงาน ระบบสังคม หรือระบบการดำเนินชีวิตที่มีการแข่งขันกันมาก ย่อมทำให้คนเกิดความรู้สึกนึกถึง

ตัวตนเด่นชัดมากขึ้น จึงเป็นระบบที่ส่งเสริมความยึดถือตัวตน และเป็นเหตุให้คนต้องพยายามทำการในทาง

ที่จะสนองภวตัณหามากยิ่งขึ้น

ระบบเช่นนี้ถ้าใช้ในสังคมที่คนมีพื้นในทางฉันทะมาก ก็จะทำให้เกิดความเจริญก้าวหน้าในด้านต่างๆ

อย่างรวดเร็ว แต่พร้อมกันนั้นก็จะทำให้เกิดปัญหาในทางจิตใจมีความกดดันและสิ่งที่เรียกว่า anxiety

คนมีความทุกข์และเป็นโรคจิตกันมาก

แต่ถ้านำระบบเช่นนี้มาใช้ในสังคมที่คนทั่วไปขาดฉันทะ ก็น่าจะทำให้สังคมนั้นมีความทุจริต ความสับสน

ฟอนเฟะยิ่งขึ้น (ที่ว่าน่าจะก็เพราะจะต้องพิจารณาปัจจัยด้านอื่นๆประกอบด้วย)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ม.ค. 2010, 16:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


link สุดท้ายต่อที่


viewtopic.php?f=2&t=26554

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 15 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร