วันเวลาปัจจุบัน 05 พ.ค. 2025, 19:18  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 20 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ม.ค. 2010, 17:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ม.ค. 2010, 11:43
โพสต์: 523

แนวปฏิบัติ: ดูปัจจุบันอารมณ์ เจริญมรรค ๘
งานอดิเรก: ปฏิบัติธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ประทีปแห่งเอเซีย
ชื่อเล่น: อโศกะ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www




.jpg
.jpg [ 103.99 KiB | เปิดดู 10866 ครั้ง ]
tongue
เชิญศึกษาแผนที่การเดินทางไปสู่พระนิพพาน ลองพยายามทำความเข้าใจกันดูก่อนนะครับ ในแผนที่จะมีข้อธรรมสำคัญแทรกอยู่ เช่น อริยสัจ 4 มรรค 8 สติปัฏฐาน 4 ปฏิจจสมุปบาท 12 ญาณ 16 บางส่วน ลองสังเกต พิจารณาดูนะครับ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ม.ค. 2010, 18:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


cool

กรุณาช่วยอธิบายเป็นรูปธรรม แบบเรียกว่า คนที่ไม่ได้ศึกษาปริยัติเลยน่ะค่ะ
เพื่อเขาจะได้เข้าใจรูปแบบที่พี่สร้างขึ้นมาตรงนี้
พอจะอธิบายที่ละขั้นๆจะได้มั๊ยคะ?

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 20 ม.ค. 2010, 18:26, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ม.ค. 2010, 11:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ม.ค. 2010, 11:43
โพสต์: 523

แนวปฏิบัติ: ดูปัจจุบันอารมณ์ เจริญมรรค ๘
งานอดิเรก: ปฏิบัติธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ประทีปแห่งเอเซีย
ชื่อเล่น: อโศกะ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www




.jpg
.jpg [ 103.99 KiB | เปิดดู 10651 ครั้ง ]
:b27:
วลัยพร เขียน

กรุณาช่วยอธิบายเป็นรูปธรรม แบบเรียกว่า คนที่ไม่ได้ศึกษาปริยัติเลยน่ะค่ะ
เพื่อเขาจะได้เข้าใจรูปแบบที่พี่สร้างขึ้นมาตรงนี้
พอจะอธิบายที่ละขั้นๆจะได้มั๊ยคะ?


อนัตตาธรรม ตอบ

วันนี้ได้นำเอาคำอธิบายแผนที่หรือแผนภูมิโดยสมบูรณ์มาแสดงให้ลองอ่านดูก่อน ถ้ายังไม่เข้าใจ ก็ค่อยซักถามกันอีกเป็นตอนๆไปนะครับ


อธิบายแผนภูมิแสดงทางหมุนเวียนอยู่ในทุกข์ และทางพ้นจากทุกข์

เพราะ ความที่มีศีลห้า อันรักษาไว้ดีในอดีตชาติ จึงได้โอกาสมาเกิดเป็นคน

ความได้เกิดเป็นคนนั้นเป็นโอกาสอันวิเศษยิ่งที่มาได้สิทธิและโอกาสที่จะเข้า ถึงพระนิพพานได้ ทุกๆคน คล้ายดังได้พาสปอร์ต หรือบัตรผ่านประตูเพื่อจะเข้าสู่พระนิพพานติดตัวมาด้วย แต่มนุษย์หรือคนผู้นั้นจะใช้สิทธิของตนเองหรือไม่ เท่านั้น

เกิดมาเป็นคนแล้ว ได้พบกัลยาณมิตร คือ เพื่อน ดี สหายดี หรือครูอาจารย์ที่ดี นำข่าวสาร พุทธะ มาบอกกล่าวให้ได้ทราบ ข่าวสารพุทธะเหมือนข่าวของสถานที่ที่คนส่วนใหญ่ยังไม่เคยไปถึง แต่มีคนบางกลุ่มได้ไปถึงมาแล้ว ได้รับความสุข สงบเย็น เป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นสถานที่ที่หมดทุกข์โดยสิ้นเชิงไม่ต้องเหนื่อย หมุนวนอยู่ในห้วงแห่งทุกข์ (วัฏฏะสงสาร)อีก จึงนำมาบอกเล่าสืบต่อกันมาและชักชวนเพื่อนฝูง มิตรสหายเดินทางไปสู่สถานที่แห่งนั้น โดยได้บอกแผนที่และวิธีการเดินทางไปสู่สถานที่นั้นให้ทราบโดยละเอียด

เมื่อได้ฟังข่าวแล้วเกิดความสนใจ จึงศึกษาหาความรู้ในข่าวสารนั้น ด้วยการ ฟัง ถาม คิด พิจารณาซักไซ้ไล่เลียง ศึกษา จนเข้าใจถ่องแท้ในทางเดินไปสู่พระนิพพานแล้ว

เกิดศรัทธา จึงลงมือปฏิบัติ คือเริ่มการเดินทาง



ชีวิต คือการเดินทางอันยาวนานอย่างไม่รู้จบหากยังไม่มีปัญญาค้นพบเส้นทางออกไปเสีย จากความหมุนวน (วิวัฏฏะ) บัดนี้ได้พบกัลยาณมิตร มาชี้ทาง นำแสงสว่าง มาส่องให้แล้ว เกิดศรัทธาแล้ว จงมุ่งหน้าเดินทางไปตามแผนที่ที่ศึกษามาดีแล้วนั้นเถิด


การเดินทาง หรือการปฏิบัตินั้น เรียกว่า “ภาวนา” แปลว่า “ทำให้เจริญ” หรือทำให้ก้าวหน้าไปอยู่เรื่อย ๆ อย่างมุ่งมั่นและมีเป้าหมายนั่นเอง

การภาวนา มีอยู่ 2 วิธีการใหญ่ ๆ คือ สมถะภาวนา และ วิปัสสนาภาวนา “สมถะ” แปลว่าความสงบของจิตจากสิ่งรบกวน คือนิวรณ์ทั้งห้า เป็นวิธีภาวนาที่มีมาแต่ดึกดำบรรพ์ก่อนที่เจ้าชายสิทธัตถะจะมาประสูติ เป็นการเอาความสงบมาสยบทุกข์ไว้ เพื่อให้เกิดความสุข แต่ไม่อาจดับต้นเหตุแห่งทุกข์ ได้ วิธีปฏิบัติสมถะภาวนาก็ด้วยการ บัญญัติ องค์กรรมฐาน คือกำหนดสิ่งที่จะเป็นที่เพ่งรู้และรวมจิตใจให้เข้ามาเป็นหนึ่งเดียว จนสงบ นิ่งอยู่ กับที่ เช่นเพ่งรูปหรือบริกรรมคาถาต่าง ๆ มีกรรมฐาน 40 เป็นต้น ผลที่จะได้รับคือ

“บริกรรมนิมิต” แปลว่า จิตนิ่งอยู่กับรูปที่เพ่ง หรือคาถา คำบริกรรมที่ท่องบ่น

“อุคหนิมิต”เกิดนิมิตเห็นสิ่งต่าง ๆ

“ปฏิภาคนิมิต” ความสามารถ เห็นรูปนิมิตต่าง ๆ ได้ดังใจ เพ่ง และย่อ ขยาย ใหญ่ เล็กได้ตามประสงค์

“อัปปนาฌาน” ความสงบนิ่งเป็นหนึ่งเดียวอยู่กับที่ของจิต คือฌาน 4และฌาน 8 (ซึ่งต้องแยกศึกษาไปต่างหาก ถ้าสนใจ)

ที่สุดแห่ง สมถะ คือ ตายแล้วไปเกิดในพรหมโลก เป็นที่อันสงบเย็น แต่ทุกข์ยังไม่ดับ เพราะหมดกำลังแห่งฌานแล้วยังต้องมาเวียนว่ายตายเกิดอีก



หากมีปัญญาประสงค์จะให้เข้าถึงความดับทุกข์ได้โดยสิ้นเชิง ณ จุดที่ จิตสงบจนเกิดนิมิต แล้ว ทำความเห็นเสียใหม่ให้ถูกต้อง (สัมมาทิฐิ) วางนิมิต แล้วเปลี่ยนไปเจริญ ปัญญา ทำวิปัสสนาภาวนา จึงจักพ้นทุกข์ได้

วิปัสสนา วิ = สิ่งที่พ้นตาธรรมดาจะเห็น คือสัจจธรรม ปรมัตถธรรม ธรรมทั้งหลายที่แสดงอยู่ ในกาย ใจ

ปัสสนา = เฝ้าดู (ดู เห็น รู้ ) (สัมมาทิฐิ)

ภาวนา = เจริญ เมื่อตามหลังวิปัสสนาจะหมายถึงการเจริญการ สังเกต พิจารณา (สัมมาสังกัปปะ)

วิปัสสนาภาวนา จึงมีความหมายว่าเอาสติ ปัญญา ไปเฝ้าดู เฝ้าสังเกต พิจารณา จนเห็นความจริง คือ อัตตา และอนัตตา



มี ปัญญา มรรค คือ สัมมาสังกัปปะ และสัมมาทิฐิ เป็นองค์ธรรมนำหน้ามรรคอีก 6 ข้อ ดำเนินไป สัมมาสังกัปปะ แปลว่าความดำริชอบ หมายถึง การค้นหาทางออกจาก ความยินดี (กามฉันทะ) ความยินร้าย (พยาบาท) และ ดำริในความ ไม่เบียดเบียน (อุเบกขา)

ในทางปฏิบัตินั้น สัมมาสังกัปปะ หมายถึง ปัญญาค้นหาเหตุ แห่งทุกข์ การค้นหาเหตุแห่งทุกข์มี “สัมปะชัญญะ(ความรู้ตัวละเหตุทุกข์ เจริญเหตุสุข เป็นกองหนุน)

เมื่อพบปัจจุบันธรรม ปัจจุบันอารมณ์แล้วจึงค้นเจาะลึกเข้าไปในสิ่งที่เกิดขึ้น ณ ปัจจุบันขณะ นั้น เรียก ว่า “สัมมาสังกัปปะ” (ค้นลึก) ตัวความที่ไม่ลืมการพิจารณา และรู้ทันปัจจุบันอารมณ์ ระลึกได้ ไม่ลืม เรียกว่า “สัมมาสติ” เป็นกำลังหนุนสัมมาสังกัปปะ

การค้นหาเหตุแห่งทุกข์ (สมุทัย) ต้องค้นลงไปในตัว ทุกขสัจจะ

ที่ที่ทุกขสัจจะแสดงตัวชัดคือ ความรู้สึก (เวทนา ) อันเกิดจากการกระทบ(ผัสสะ)ของประสาทรับรู้ทั้ง 6 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ


ความรู้สึกเกิดขึ้นได้สองทางคือ กาย กับ จิต เวทนาทางกาย มี สุข กับ ทุกข์

เวทนาทางจิต มี โสมนัส (ชอบใจ) กับ โทมนัส (ไม่ชอบใจ)

แปลให้ง่ายว่า ความรู้สึกที่เกิดขึ้นกับกายและจิต จะมี ความยินดี และ ความยินร้าย สองอย่างนี้ ซึ่งทำให้เกิด “ตัณหา”อันเป็นต้นกำเนิดแห่งทุกข์และความเวียนว่ายตายเกิด

แต่ยังไม่ใช่ตัวต้นเหตุจริง ๆ เพราะถ้าค้นหา หรือถามต่อไปว่า ใคร คือผู้ที่รับรู้ความยินดี ยินร้าย ก็จะพบต้นเหตุแห่งทุกข์ คือ “อัตตา” ความเห็นผิด

ถ้าเห็นถูกต้อง เป็น อนัตตา ก็จะละยินดียินร้ายได้ จนเกิดความวางเฉย (อุเบกขา) อันเป็นต้นทางไปสู่ความพ้นทุกข์ (วิวัฏฏะ)

ถ้าละไม่ได้ก็จะเกิด ความอยาก (ตัณหา) อันเป็นต้นทางหมุนไปสู่ความเวียนว่ายตายเกิดในทุกข์(วัฏฏะสงสาร)

การเอาสติ ปัญญามาเฝ้าดู และสังเกต พิจารณารู้ความรู้สึกทั้งทางกายและทางจิต จนเห็นเป็นอนัตตา จิตก็จะปล่อยวางความยินดี ยินร้าย ในโลก ออกเสียได้ นี้คือเส้นทางออกจากทุกข์ เป็นงานสำคัญของผู้ปฏิบัติธรรมทุกคน

เพราะเมื่อฝึกปล่อยวางไปในทุกผัสสะและเวทนา ไม่ช้าก็จะถึงสภาวะที่เรียกว่า “สังขารุเปกขาญาณ” คือสังขารความปรุงแต่ง อันเป็นผลจากเวทนาทางจิต และ เวทนาทางกายทั้งหมดจะสงบรำงับ เข้าถึงภาวะอันนิ่งสนิทแต่มีปัญญารู้อยู่ เรียกว่านิ่งรู้

ก็จะได้ เห็น ความจริง ของชีวิต(สัมมาทิฐิ) คือ

ความเกิด-ดับ ๆ เป็นอนิจจัง

ความทนอยู่ไม่ได้ต้องดับ ต้องเปลี่ยน เป็นทุกขัง

ทั้งอนิจจัง ทุกขัง บังคับบัญชาไม่ได้ เป็น อนัตตา

มีเพียง สามสิ่งนี้เท่านั้น (มีสัมมาสมาธิเป็นตัวหนุนให้เห็นความจริงนี้ตลอดเวลา) ผู้ปฏิบัติ จะทำความรู้ชัดเฉพาะ ธรรมอันใดอันหนึ่งในสามอย่างนี้เริ่มจากหยาบเข้าไปหาละเอียด จนถึงที่สุดคือรู้ชัด อนัตตา

ดังพุทธบิดาตรัสสรุปไว้ว่า “สัพเพธัมมาอนัตตา”


ธรรมทั้ง 84,000 โพธิปัขิยธรรม 37 และมรรคทั้ง 8 จะรวมเป็นหนึ่งเดียวเรียกว่าอนุโลมญาณ คือความพร้อมแก้เหตุ

แล้วก็เกิดมรรคญาณ การดับเหตุ คือดับอัตตา ความเห็นผิดว่าเป็นตัวตน(สักกายทิฐิ)

เข้าสู่ผลญาณ คือเข้าไปรู้จักและเสวยนิพพาน

ทั้งหมดนี้จะเกิดขึ้นในชั่วเวลาลัดนิ้วมือเดียวแล้วจบลง ประตูอบายก็จะปิดสนิทพร้อมกับเปิดประตูพระนิพพานไว้ให้แก่ผู้ปฏิบัติ

ทุกข์ก็สิ้นสุดเป็นนิโรโธ ด้วยเหตุนี้ แล



(ส่วนที่จะวนไปสู่ความเวียนว่ายตายเกิด ตามวงปฏิจจะสมุปบาท

ส่วนที่เป็นธาตุ 4 ขันธ์ห้า อายตนะ 12

และมรรคผลอีก 3 ชั้นที่เหลือ ขอให้ท่านไปศึกษาเพิ่มเติมด้วยตนเอง

ส่วนที่เป็นมรรคทั้ง 8 และสติปัฏฐานทั้งสี่ก็ได้แสดงมาโดยคร่าว ๆ ดังแสดงไว้ในแผนภูมิข้างต้นนี้แล้ว)



พบคนถูกต้อง ก็จะได้รู้สิ่งที่ถูกต้อง เกิดความเห็นถูกต้อง คิดถูกต้อง ทำถูกต้อง ได้สิ่งที่ถูกต้อง เป็นคนถูกต้อง และพูด ถ่ายทอดแต่สิ่งที่ถูกต้อง ในที่สุด
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ม.ค. 2010, 11:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ม.ค. 2010, 11:43
โพสต์: 523

แนวปฏิบัติ: ดูปัจจุบันอารมณ์ เจริญมรรค ๘
งานอดิเรก: ปฏิบัติธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ประทีปแห่งเอเซีย
ชื่อเล่น: อโศกะ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www




.jpg
.jpg [ 83.37 KiB | เปิดดู 10647 ครั้ง ]
อ้างคำพูด:
เพราะเมื่อฝึกปล่อยวางไปในทุกผัสสะและ เวทนา ไม่ช้าก็จะถึงสภาวะที่เรียกว่า “สังขารุเปกขาญาณ” คือสังขารความปรุงแต่ง อันเป็นผลจากเวทนาทางจิต และ เวทนาทางกายทั้งหมดจะสงบรำงับ เข้าถึงภาวะอันนิ่งสนิทแต่มีปัญญารู้อยู่ เรียกว่านิ่งรู้

ก็จะได้ เห็น ความจริง ของชีวิต(สัมมาทิฐิ) คือ

ความเกิด-ดับ ๆ เป็นอนิจจัง

ความทนอยู่ไม่ได้ต้องดับ ต้องเปลี่ยน เป็นทุกขัง

ทั้งอนิจจัง ทุกขัง บังคับบัญชาไม่ได้ เป็น อนัตตา

มี เพียง สามสิ่งนี้เท่านั้น (มีสัมมาสมาธิเป็นตัวหนุนให้เห็นความจริงนี้ตลอดเวลา) ผู้ปฏิบัติ จะทำความรู้ชัดเฉพาะ ธรรมอันใดอันหนึ่งในสามอย่างนี้เริ่มจากหยาบเข้าไปหาละเอียด จนถึงที่สุดคือรู้ชัด อนัตตา

ดังพุทธบิดาตรัสสรุปไว้ว่า “สัพเพธัมมาอนัตตา”


จากข้อความท่อนนี้ มีภาพประกอบ ที่ขอยืมมาจากท่านอโศกะ ดังแสดงข้างบนครับ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ม.ค. 2010, 18:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


พี่คะ cool

ขอแบบ " ทำ " ไม่ใช่ " ธรรม " ค่ะ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ม.ค. 2010, 15:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ความโศกทั้งหลาย

ย่อมไม่มีแก่ผู้มีจิตมั่นคง ไม่ประมาท

เป็นมุนีผู้ศึกษาในทางแห่งมโนปฏิบัติ ผู้คงที่

สงบระงับแล้วมีสติในการทุกเมื่อ





เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ม.ค. 2010, 15:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ม.ค. 2010, 11:43
โพสต์: 523

แนวปฏิบัติ: ดูปัจจุบันอารมณ์ เจริญมรรค ๘
งานอดิเรก: ปฏิบัติธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ประทีปแห่งเอเซีย
ชื่อเล่น: อโศกะ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www




caliz09.jpg
caliz09.jpg [ 15.24 KiB | เปิดดู 10599 ครั้ง ]
bug02-1024.jpg
bug02-1024.jpg [ 124.8 KiB | เปิดดู 10599 ครั้ง ]
Walaiporn เขียน

พี่คะ cool

ขอแบบ " ทำ " ไม่ใช่ " ธรรม " ค่ะ


อนัตตาธรรม เขียน

เชิญน้องน้ำติดตามอ่านกระทู้ "ปัจจุบันอารมณ์ เป็นที่รวมของโพธิปักขิยธรรม 37 ประการ นะครับ

viewtopic.php?f=2&t=28782



ขอบคุณท่านมหาราชันย์ที่ยังเฝ้าสังเกตการณ์อยู่
กรุณาปล่อยและเปิดโอกาสให้ เด็กน้อย ผู้ใหม่ทางธรรมทั้งหลายตั้งวงคุยกัน สนทนาธรรมกันแบบนอกตำราผสมในตำรา ไปเรื่อยๆก่อนนะครับ สติปัญญา บารมีแก่กล้าขึ้น คงจะได้ไปอ่านธรรมมะชั้นสูงอันละเอียดอ่อน ใกล้อรหัตมรรค อรหัตผลอย่างที่ท่านมหาราชันย์แสดงอยู่ได้รู้เรื่องในเวลาอันไม่ช้านี้นะครับ ขอบพระคุณมากครับ
:b8: :b8: :b8:
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ม.ค. 2010, 18:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


cool
ขอจบการสนทนาแค่นี้นะคะ ขอบคุณที่สนทนาด้วยค่ะ :b8:

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ม.ค. 2010, 18:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ม.ค. 2010, 11:43
โพสต์: 523

แนวปฏิบัติ: ดูปัจจุบันอารมณ์ เจริญมรรค ๘
งานอดิเรก: ปฏิบัติธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ประทีปแห่งเอเซีย
ชื่อเล่น: อโศกะ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www




2.jpg
2.jpg [ 103.42 KiB | เปิดดู 10547 ครั้ง ]
ท่านพระมหาเปรียญ 9 ประโยคท่านหนึ่งได้เมตตา ทำภาพอธิบายทางออกสู่นิพพาน แทนแผนที่หรือแผนภูมิการเดินทางสู่นิพพานให้ดูอีกแบบหนึ่ง เชิญพิจารณานะครับ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ม.ค. 2010, 23:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มัจจุผู้ทำซึ่งที่สุด
กระทำนระผู้มีใจข้องในอารมณ์ต่าง ๆ
เลือกเก็บดอกไม้อยู่เทียว
ผู้ไม่อิ่มในกามทั้งหลายนั่นแล
ให้อยู่ในอำนาจ.


มุนีพึงเที่ยวไปในบ้าน
เหมือนแมลงภู่ไม่ยังดอก สี และกลิ่นให้ชอกช้ำ
ถือเอาแต่รสแล้วบินไปฉะนั้น.

บุคคลผู้ไม่ควรทำคำแสยงขนของคนเหล่าอื่นไว้ในใจ
ไม่ควรแลดูกิจที่ทำแล้วและยังมิได้ทำของคนเหล่าอื่น
พึงพิจารณากิจที่ทำแล้ว
และยังมิได้ทำของตนเท่านั้น.


ดอกไม้งามมีสี ไม่มีกลิ่นแม้ฉันใด
วาจาสุภาษิตก็ฉันนั้น
ย่อมไม่มีผลแก่ผู้ไม่ลงมือทำอยู่
ดอกไม้งามมีสี พร้อมด้วยกลิ่นแม้ฉันใด
วาจาสุภาษิตก็ฉันนั้น ย่อมมีผลแก่ผู้ลงมือทำความดีอยู่.



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ม.ค. 2010, 16:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ม.ค. 2010, 11:43
โพสต์: 523

แนวปฏิบัติ: ดูปัจจุบันอารมณ์ เจริญมรรค ๘
งานอดิเรก: ปฏิบัติธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ประทีปแห่งเอเซีย
ชื่อเล่น: อโศกะ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www




chalermchai13_bigpi.jpg
chalermchai13_bigpi.jpg [ 33.4 KiB | เปิดดู 10468 ครั้ง ]
พี่คะ

ขอแบบ " ทำ " ไม่ใช่ " ธรรม " ค่ะ


อนัตตาธรรม เขียน

คำขอนี้ยังมีประโยชน์แม้เจ้าของคำขอจะจากไปแล้ว


การจะ ทำ ได้ดีและถูกต้อง ถูกทาง นั้น จำเป็นจะต้องมี "ความรู้ถูกต้อง" ก่อน เป็นสำคัญ

ความรู้ถูกต้องในวิธีปฏิบัติธรรมตามคำสอนของพระพุทธเจ้านั้น มีบัณฑิตจำนวนมากท่าน ได้คัดลอกจากพระไตรปิฎกนำมาแสดงไว้ในลานธรรมจักรแห่งนี้เยอะแยะเลย หาอ่านดูได้

แต่ที่จะได้อ่านได้ฟังต่อไปในกระทู้นี้ จะเป็นลักษณะ ธรรมประยุกต์ คือ จากข้อธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงสอนแล้วมีท่านผู้รู้ ครูบาอาจารย์ ได้ลงมือปฏิบัติ ทดลองพิสูจน์ จนได้ผลการทดลองปฏิบัติมาเล่าสู่กันฟัง เป็นภาษาง่ายๆ พื้นๆ ธรรมดาๆ แบบชาวบ้านบ้าง อิงข้อธรรมบ้างในบางตอน

เรื่องที่ 1.หาให้พบกัลยาณมิตร (คือคนถูกต้องที่ พูดได้ สอนได้ ทำเป็น และเสวยผลของการกระทำนั้นอยู่ตามลำดับชั้น)

กลุ่มคำกลุ่มแรก ที่พึงจำไว้พิจารณาก่อนที่จะ ทำ ได้จริงๆ คือ

พบคนถูกต้อง (กัลยาณมิตร) ก็จะเป็นเหตุให้ รู้ สิ่งที่ถูกต้อง

รู้ ถูกต้อง ก็จะเป็นเหตุให้ เห็น (ทิฐิ) ถูกต้อง

เห็น ถูกต้อง ก็จะเป็นเหตุให้ คิด ถูกต้อง

คิดถูกต้อง ก็จะเป็นเหตุให้ ทำ ถูกต้อง

ทำถูกต้อง ก็จะเป็นเหตุให้ ได้รับ สิ่งที่ถูกต้อง

ได้รับสิ่งที่ถูกต้อง ก็จะเป็นเหตุให้ เป็นคนถูกต้อง

เป็นคนถูกต้อง ก็จะเป็นเหตุให้ พูดและถ่ายทอดแต่สิ่งที่ถูกต้องไปสู่ผู้อื่นต่อๆไป


เรื่องที่ 2.ต้องยึดหลักการสอนธรรมหรือการศึกษาธรรมของพระพุทธเจ้าคือ

ปริยัติ (ศึกษาปริยัติเพื่อการปฏิบัติ ได้แก่ประเด็นธรรม เทคนิค เคล็ดลับ วิธีการปฏิบัติธรรมให้ประสบความสำเร็จ)

ปฏิบัติ (ลงมือปฏิบัติโดยพิสูจน์ปริยัติที่ได้รับการแนะนำสั่งสอนมาจากกัลยาณมิตร)

ปฏิเวท (รับผล วิเคราห์ ประเมินผล ความก้าวหน้าและผลลัพธ์ที่เกิดจากการปฏิบัติ เป็นระยะๆ เพื่อพัฒนาการปฏิบัติให้มีประสิทธิภาพสูงสุด จนกว่าจะพาตนเองถึงหลักชัย )

ปริยัติที่จำเป็นต่อการปฏิบัติ สำหรับบุคคลทั่วๆไป

1.ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับพระพุทธเจ้าและพระพุทธศาสนา (พุทธประวัติบางส่วน ยาก 5 อย่าง ทาง 5 เส้น บุคคล 5 จำพวก ฯ ลฯ )

2.สาระสำคัญหรือหัวใจของการค้นพบของพระพุทธเจ้า คือ อริยสัจ 4 มรรค 8 อนัตตา โอวาทปาติโมกข์ พร้อมรายละเอียดที่แยกย่อยโดยครบถ้วน

3.โพธิปักขิยธรรม 37 ประการ พร้อมรายละเอียดที่แยกย่อยโดยครบถ้วน

4.ความสัมพันธ์ของ สมถะกับวิปัสสนา

5.ปัจจุบันธรรม ปัจจุบันอารมณ์

6.เทคนิคการเจริญวิปัสสนาภาวนา หรือการเจริญมรรค 8

7.อุปสรรค ปัญหา และวิธีป้องกัน แก้ไขปัญหาต่างๆที่มักจะเกิดกับผู้ปฏิบัติ (นิวรณ์ 5 อุปกิเลส 10 อันตราย 5 สังโยชน์ 10 ปลิโพธ 10 ฯ ลฯ)

8.วิปัสสนาปัญญา 3 (ประตูทางออกสู่นิพพาน)

9.การบันลุถึง มรรค ผล นิพพาน และเส้นทางเดิน (แผนที่การเดินทางสู่นิพพาน ญาณ 16 โลกุตรธรรม 9)


ผู้สนใจจะลงมือ ทำ จริงๆแล้ว ต้องตรวจสอบตนเองก่อนว่า มีปริยัติในข้อไหนที่ตนเองยังบกพร่อง รู้ไม่ครบถ้วน ก็ไปเติมเต็มส่วนนั้นมาให้เต็ม ให้ครบ เสียก่อน

จากหัวข้อใหญ่ที่ตั้งมานี้ถ้า รู้โดยปริยัติและเข้าใจ ถูกต้องดี ก็น่าจะเพียงพอสำหรับการเดินทางสู่นิพพาน

หากมีผู้สนใจ ก็จะได้นำมาบอกกล่าว ขยายความ เล่าสู่กันฟัง ต่อไปตามลำดับ จะเป็นการมาทบทวนใหม่ด้วยกันทั้งหมด หรือมาเติมเต็มเฉพาะข้อที่ขาด ก็ตามแต่อัธยาศัยครับ

:b8:
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.พ. 2010, 14:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ม.ค. 2010, 11:43
โพสต์: 523

แนวปฏิบัติ: ดูปัจจุบันอารมณ์ เจริญมรรค ๘
งานอดิเรก: ปฏิบัติธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ประทีปแห่งเอเซีย
ชื่อเล่น: อโศกะ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www




BUDDHA01.JPG
BUDDHA01.JPG [ 30.83 KiB | เปิดดู 10450 ครั้ง ]
tongue
ก่อนที่จะได้ลงลึกไปในรายละเอียดของภาคทฤษฎี หรือปริยัติศาสนา เพื่อให้ท่านที่มีพื้นฐานความรู้ด้านปริยัติมามากพอแล้วอยากจะลงมือปฏิบัติ หรือ ทำ ไปด้วยเลยทันที ผมจึงได้ขอยกเอาสรุปเทคนิควิธีปฏิบัติ วิปัสสนาภาวนาของท่านอโศกะมาให้พิจารณาและนำไปทดลองปฏิบัติดูก่อนนะครับ

วิธีเริ่มต้นปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา

หาที่อันสงัด ปูลาดอาสนะ ขัดสมาธินั่ง ตั้งกายให้ตรง หลังตรง คอตรง หัวตั้งตรง มนสิการ ตั้งใจ โยนิโส ตั้ง สติ ปัญญา เฝ้าดู เฝ้าสังเกตพิจารณา เข้าไปในกายและจิต ณ ปัจจุบันขณะ ปัจจุบันอารมณ์ ด้วยวิริยะ อุตสาหะ ตบะ ขันติ สมาธิ ต่อเนื่องกันไปไม่ขาดสาย ที่สุดจะได้ รู้ ได้เห็น กระบวนการทำงานของกายและจิต ว่า

เมื่อมีผัสสะ การกระทบของทวารทั้ง ๖ กับสิ่งที่มากระทบ จะเกิดเวทนา ความรู้สึก ตัณหาความอยากขึ้นมาทุกครั้งไป เป็นอารมณ์ธรรม ๑ สัมผัส ๑ อารมณ์ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไปเป็นอดีต แล้วก็เกิดผัสสะและอารมณ์ใหม่เกิดขึ้นมาเป็นปัจจุบันอารมณ์ ให้ได้ ดู ได้เห็น ได้รู้ ได้สังเกต พิจารณา สืบต่อหนุนเนื่อง หมุนเวียนเปลี่ยนแปลงกันไปไม่หยุดยั้ง ตลอดเวลา จนกว่าจะถึงเวลานอนหลับในตอนค่ำจิตเข้าภวังค์หมดความรับรู้สัมผัส พอตื่นเช้าขึ้นมา มีสติ สัมปชัญญะรู้ตัว มีการรับรู้สัมผัสของทวารทั้ง ๖ ขึ้นมาอีก กระบวนการทำงานโดยธรรมชาติของจิตก็จะดำเนินการต่อไปเหมือนเช่นเคย

ถ้ารู้ทันปัจจุบันอารมณ์อยู่ตลอดเวลา ความสังเกต พิจารณามีกำลัง คม ละเอียด เฉียบแหลม ก็จะได้เห็นถึงความจริงอันสำคัญว่า วันทั้งวันจะมีแต่ การเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ของอารมณ์ เป็นทุกข์ ทนอยู่ไม่ได้ เปลี่ยนแปลงไปมา และบังคับบัญชาไม่ได้ เป็นทุกขัง อนิจจัง อนัตตา ตลอดเวลา นี่คือปกติธรรมดาของชีวิตทุกชีวิต

แต่สิ่งที่จะเป็นประโยชน์ เป็นงานของวิปัสสนาภาวนาคือผู้ปฏิบัติทุกคนจะได้พบเห็นว่ามีสิ่งแปลกปลอมเกิดขึ้นมายุ่งกับทุกการกระทบสัมผัสทุกครั้งไป คือมีอุปาทาน
ความเห็นผิดว่าเป็น อัตตา ตัวกู ของกู โผล่ ผุดขึ้นมารับรู้เวทนา ตอบโต้กับเวทนา จนเกิดเป็นตัณหา ความอยากทั้ง ๓ อย่าง คือ กามตัณหา ความยินดีพอใจในสัมผัสทั้ง ๖
ภวตัณหา ความอยากได้ อยากเป็น อยากมี อยากเอา เมื่อพบกับอารมณ์ที่ชอบใจ เกิดเป็นโลภะ วิภวตัณหา ความยินร้าย ไม่ชอบใจเกิดขึ้นเมื่อพบกับอารมณ์ที่ไม่น่าชอบใจ เกิดเป็นโทสะ ความขุ่นมัวและโกรธ หรือเกิดความไม่ยินดีไม่ยินร้ายต่ออารมณ์ เกิดความวางเฉย เป็น อุเบกขา แล้วก็จะเกิดความปรุงแต่งไปด้วยอำนาจแห่งความยินดี ยินร้าย หรือเฉยๆ เป็นมโนกรรม เป็นวจีกรรม เป็นกายกรรมไปตามลำดับ เมื่อกรรมครบองค์ ๓ ก็จะเกิดผล เป็นวิบากให้ผู้กระทำกรรมต้องได้รับผล เสวยผล เป็นบาป เป็นบุญ สุข ทุกข์ ไปตามกำลังแห่งกรรมที่ตนกระทำ หมุนเวียน สืบต่อกันไปทั้งวัน

เมื่อผู้ปฏิบัติมีญาณ คือปัญญา รู้ เห็นสิ่งแปลกปลอมคือ อุปาทานความเห็นผิดว่า เป็นอัตตา ตัวกู ของกู โผล่ ผุด ขึ้นมาในจิตอย่างนี้จนชัดเจนดีแล้ว ก็จงทำตามหัวใจการภาวนาดังที่สรุปไว้ที่ปกหลังของหนังสือเล่มนี้ ไม่ช้าไม่นานก็จะได้พบเห็นว่า สัมมาทิฐิ ความเห็นถูกต้องว่าเป็นอนัตตา บังคับบัญชาไม่ได้ ไม่ใช่ตัวกู ของกู จะเกิดขึ้นมาแทนที่ มิจฉาทิฐิ ความเห็นผิดว่าเป็นอัตตา ตัวกู ของกู มากขึ้น ๆ ความเห็นผิดเป็นอัตตา ตัวกู ของกูจะผอมลง เบาบาง จางลง ลดลง ๆ ไปเรื่อยๆ จนหมดสิ้นไป ดับหาย ตายขาดไปจากจิตใจในที่สุด แล้วผลอันยิ่งใหญ่ คือนิพพานธาตุก็จะเกิดปรากฏขึ้นมาในจิตในใจของผู้ปฏิบัติให้รู้แจ้งด้วยตนเอง


งานและหน้าที่ของชาวพุทธ
ละความเห็นผิดว่าเป็นอัตตาตัวกู ของกู
พอกพูนความเห็นถูกต้อง ว่าเป็นอนัตตา บังคับบัญชาไม่ได้ ไม่ใช่ตัวกู ของกู
ทุกวัน เวลา นาฑี วินาฑี ที่ระลึกได้
และมีโอกาส


หัวใจวิปัสสนาภาวนา
ใจปัญญาอย่ายอมใจเป็นกู นิ่งดู นิ่งสังเกต พิจารณา
ด้วยวิริยะ อุตสาหะ ตบะ ขันติ มิยอมถอย ถ้าสู้ได้
ทนได้ ไม่ตะบอย กู จะถอยหรือตายดับ ไปจากใจ


:b8: :b8: :b8: :b27:
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 มี.ค. 2010, 18:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ม.ค. 2010, 11:43
โพสต์: 523

แนวปฏิบัติ: ดูปัจจุบันอารมณ์ เจริญมรรค ๘
งานอดิเรก: ปฏิบัติธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ประทีปแห่งเอเซีย
ชื่อเล่น: อโศกะ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www




phukao-137F.jpg
phukao-137F.jpg [ 41.83 KiB | เปิดดู 10358 ครั้ง ]
:b8: :b8: :b8: :b8:

วิธีเริ่มต้นปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา

หา ที่อันสงัด ปูลาดอาสนะ ขัดสมาธินั่ง ตั้งกายให้ตรง หลังตรง คอตรง หัวตั้งตรง มนสิการ ตั้งใจ โยนิโส ตั้ง สติ ปัญญา เฝ้าดู เฝ้าสังเกตพิจารณา เข้าไปในกายและจิต ณ ปัจจุบันขณะ ปัจจุบันอารมณ์ ด้วยวิริยะ อุตสาหะ ตบะ ขันติ สมาธิ ต่อเนื่องกันไปไม่ขาดสาย ที่สุดจะได้ รู้ ได้เห็น กระบวนการทำงานของกายและจิต

การทำงานของกายและจิต มีที่สุดคือ ไม้พ้นจากสามัญลักษณะ 3 คือ

1.อนิจจัง ไม่เที่ยง เปลี่ยนแปลง ปรวนแปรอยู่ตลอดเวลา

2.ทุกขัง ทนอยู่ไม่ได้ ต้องเปลี่ยนแปลง

3.อนัตตา บังคับบัญชาไม่ได้ ไร้แก่นสาร ตัวตน

เชิญชวนให้ทุกๆท่านลองพากันพิสูจน์ ด้วยการเอาสติ เอาปัญญา มาเฝ้าดู เฝ้าสังเกต พิจารณา รูป นาม กาย ใจ ขันธ์ 5 อายตนะ 12 ก้อนทุกข์ กองทุกข์ก้อนใหญ่ ของใครของตนกันทุกคนทุกท่าน ดูว่าจะเห็นความจริงเหมือนกันไหมว่า มันเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
สาธุ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มี.ค. 2010, 15:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 มี.ค. 2010, 21:53
โพสต์: 126

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สาธุ อนุโมทนากับกุศลธรรมเทศนามัยของคุณอนัตตาธรรมครับ ยินดีที่ได้สนทนาด้วย ถึงจะมีเหตุให้ติดขัดบ้างก็ขอให้แสดงต่อเถอะครับ ผมคิดว่าคงมีหลายคนคอยฟังอยู่ :b8: :b8: :b8:

ขอให้เจริญในธรรมยิ่งๆครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มี.ค. 2010, 15:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ม.ค. 2010, 11:43
โพสต์: 523

แนวปฏิบัติ: ดูปัจจุบันอารมณ์ เจริญมรรค ๘
งานอดิเรก: ปฏิบัติธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ประทีปแห่งเอเซีย
ชื่อเล่น: อโศกะ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www




ff033.jpg
ff033.jpg [ 53.24 KiB | เปิดดู 10307 ครั้ง ]
tongue
อนุโมทนาสาธุกับคุณ ภัทรพงศ์

ขอให้เจริญศีล เจริญสติ สมาธิ ปัญญา และเจริญธรรม ไปบนเส้นทางแห่งมรรค 8 จนถึงหลักชัยแรก คือโสดาปัตติมรรค เร็ววัน ทันในปัจจุบันชาตินี้เทอญ


แก้ไขล่าสุดโดย อนัตตาธรรม เมื่อ 10 มี.ค. 2010, 15:41, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 20 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร