วันเวลาปัจจุบัน 05 พ.ค. 2025, 19:00  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 13 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ม.ค. 2010, 12:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




girljump.gif
girljump.gif [ 128.49 KiB | เปิดดู 5603 ครั้ง ]
ส่วนบุคคลผู้มีฉันทะเป็นแรงจูงใจ ต้องการภาวะที่เป็นผลของการกระทำโดยตรง อันเป็นเหตุให้เขามีความ

ต้องการทำ ดังได้กล่าวแล้ว

ดังนั้น ผลที่ติดตามมาจึงปรากฏในทางตรงข้ามกับตัณหา ซึ่งจะเห็นได้โดยพิจารณาเทียบเอาจากเหตุผล

ที่แสดงไว้แล้วในตอนว่าด้วยตัณหาข้างต้น

ในที่นี้ จะกล่าวไว้เพียงโดยย่อ กล่าวคือ

-ไม่ทำให้เกิดการทุจริต แต่ทำให้เกิดความสุจริต ความขยัน อดทน ความซื่อตรงต่องาน และแม้แต่ความ

ซื่อตรงต่อเหตุผลที่เป็นไปตามกฎธรรมชาติ

-ทำให้ตั้งใจทำงาน นำไปสู่ความประณีต ความดีเลิศของงาน เพาะนิสัยใฝ่สัมฤทธิ์ ทำจริงจัง เอางาน

และสู้งาน

-ตรงข้ามกับความสับสนซับซ้อนในระบบ และการคอยจ้องจับผิดกัน จะมีความร่วมมือร่วมใจ การประสาน

งาน และการมีส่วนร่วม เพราะต่างมุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน มิใช่มุ่งสิ่งเสพเสวยเพื่อตน ที่จะต้องคอยฉกฉวย

เกี่ยงแย่งชิงกัน

-เนื่องด้วยการกระทำเป็นไปเพื่อผลของมันเอง ผลจึงเป็นตัวกำหนดหรือชี้บ่งปริมาณและคุณภาพของงานที่เป็น

เหตุของมัน

ดังนั้น จึงย่อมเกิดความพอเหมาะพอดีระหว่างการกระทำกับผลที่พึงประสงค์ คือทำเท่าที่ภาวะซึ่งเป็นผลดี

จะเกิดมีขึ้น เช่น กินอาหารพอดี ที่จะสนองความต้องการของร่างกายให้มีสุขภาพดี โดยไม่ตกเป็นทาส

ของการเสพรส

-เนื่องด้วยผู้ทำด้วยฉันทะ ต้องการผลของการกระทำโดยตรง และต้องการทำให้ผลนั้นเกิดขึ้น อีกทั้งเขา

ย่อมได้ประจักษ์ผลที่เกิดต่อเนื่องไปกับการกระทำ เพราะการกระทำคือการก่อผลซึ่งเขาต้องการ

ความต้องการทำดี

การประจักษ์ผลต่อเนื่องไปกับการกระทำทุกขั้นตอนก็ดี ทำให้เขาได้รับความพึงพอใจ ความอิ่มใจ ปีติ

ปราโมทย์ ความสุข และความสงบตั้งมั่นของจิตใจ- (1)

ด้วยเหตุนี้ ในทางธรรมจึงจัดฉันทะเข้าเป็นอิทธิบาทอย่างหนึ่ง

อิทธิบาท เป็นหลักสำคัญในการสร้างสมาธิ ฉันทะจึงทำให้เกิดสมาธิ ซึ่งท่านให้ชื่อเฉพาะว่า

ฉันทสมาธิ -(2) และจึงเป็นเครื่องส่งเสริมสุขภาพจิต

ตรงข้ามกับตัณหาที่ทำให้เกิดโรคจิต

แม้ในกรณีที่ทำไม่สำเร็จ คือไม่สามารถทำให้ผลของการกระทำนั้นเกิดมีจนลุล่วงถึงที่สุด ฉันทะก็ไม่ก่อ

ให้เกิดทุกข์ ไม่ทำให้เกิดปมปัญหาในใจ

ทั้งนี้ เพราะการกระทำที่สำเร็จผล หรือ ไม่เป็นความเป็นไปตามเหตุผล เหตุเท่าใด ผลก็เท่านั้น

หรือเหตุเท่านี้ ปัจจัยขัดขวางเท่านั้น ผลก็มีเท่านี้ เป็นต้น

ผู้ทำการด้วยฉันทะ ได้เริ่มต้นการกระทำมาจากความคิด หรือ ความเข้าใจเหตุผล และได้ประจักษ์ผล

ควบมากับการกระทำที่เป็นเหตุ จึงไม่เกิดทุกข์ หรือปมในใจเพราะฉันทะ

ถ้าทุกข์หรือปมนั้นจะเกิดขึ้น ก็เป็นเพราะเปิดช่องให้ตัณหาสอดแทรกเข้ามา (เช่น เกิดความห่วงกังวลเกี่ยว

กับตัวตนขึ้นว่า คนนั้น คนนี้จะว่าเราทำไม่สำเร็จ หรือว่า ทำไมเขาทำได้ เราทำไม่ได้ ดังนี้เป็นต้น *)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ม.ค. 2010, 12:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขยายความ คห.บน ที่มี (1) * ตามลำดับ

(1) ความตอนนี้ อาจยกเอาคำบรรยายการเจริญอานาปานสติใน ขุ.ปฏิ.31/390/265 เป็นตัวอย่าง

ประกอบ ณ ที่นั้น ท่านกล่าวถึงว่า เมื่อผู้เจริญอานาปานสติ กำหนดลมหายใจเข้าออกอยู่ ฉันทะก็เกิดขึ้น

เมื่อฉันทะเกิดขึ้น ลมหายใจก็ละเอียดขึ้น กำหนดลมหายใจนั้นต่อไป ปราโมทย์ก็เกิด ดังนี้เป็นต้น

(ดูประกอบ วินย.ฎีกา.2/291)

(2) “ถ้าภิกษุอาศัยฉันทะ ได้สมาธิ ได้ภาวะจิตมีอารมณ์เดียว นี้เรียกว่า ฉันทสมาธิ”

(สํ.ม.19/1150/344)

* ความคิดลักษณะนี้ เป็นขั้นมานะ แต่ต้องมีตัณหายืนพื้นอยู่ คือ ความอยากความมั่นคงถาวรของตน

ซึ่งโยงต่อไปจนถึงมานะในตอนที่เป็นความอยากให้เราได้ชื่อว่า เป็นผู้ทำสำเร็จ

(พึงอ้าง อภิ.ป.42/418/241 แต่บาลีตอนนี้ คงตกข้อความสำคัญไป ดังปรากฏข้อความเต็ม

ที่นำไปอ้างใน วิสุทธิ.ฎีกา.3/117 เฉพาะส่วนที่ประสงค์ในที่นี้ได้แก่ข้อความว่า มานสังโยชน์

อาศัยภวราคสังโยชน์ เกิดขึ้นได้โดยเหตุปัจจัย;

ตามหลักฝ่ายอภิธรรมถือว่า มานะมีโลภะเป็นปทัฏฐานและเกิดเฉพาะในจิตที่เป็นโลภมูล หรือโลภสหรคต

(ประกอบด้วยโลภะ)

พูดอย่างง่ายๆ มานะก็สืบทอดมาจากตัณหานั่นเอง ดู อภิ.สํ.34/919/358 ; สงฺคห.9;

สงฺคห.ฎีกา.109; วิสุทธิ.44

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 22 ม.ค. 2010, 12:49, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ม.ค. 2010, 12:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เพื่อความเข้าใจหลักการต่อไปอีก พึงพิจารณาตัวอย่าง ต่อไปนี้


เมื่อร่างกายขาดอาหาร ย่อมต้องการอาหารมาบำรุงเลี้ยงร่างกายเพื่อให้ชีวิตดำรงอยู่ได้ต่อไป

ความต้องการอาหารนี้ แสดงออกเป็นอาการอย่างหนึ่ง เรียกว่าความหิว คือต้องการกิน เมื่อกระบวนธรรม

ดำเนินมาถึงตอนนี้ ถือว่าตัดตอนออกไปได้เป็นช่วงที่หนึ่งของพฤติกรรมในการกิน

ช่วงนี้ ทางธรรมถือว่า เป็นกระบวนการทำงานของร่างกาย ซึ่งเป็นส่วนวิบาก เป็นกลางในทางจริยธรรม

คือไม่ดี ไม่ชั่ว ไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล แม้แต่พระอรหันต์ก็มีความหิว



ความหิวเป็นแรงเร้า ทำให้เกิดการกระทำคือการกิน และเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมในการกิน เช่น

หิวมากทำให้กินมาก หิวน้อยทำให้กินน้อย

แต่ความหิวไม่ใช่สิ่งเดียวที่กำหนด หรือ บ่งชี้พฤติกรรมในการกิน

พูดอีกอย่างหนึ่งว่า ความหิวอย่างเดียวไม่อาจอธิบายพฤติกรรมทั้งหมดของการกิน หรือว่า คนไม่ใช่กินเพราะ

หิวอย่างเดียว

ดังนั้น จึงได้กล่าวว่า เมื่อความหิวเกิดขึ้นแล้ว หรือเมื่อความต้องการกินเกิดขึ้นแล้ว ถือเป็นจบช่วงที่หนึ่ง

ของพฤติกรรมในการกิน

ทีนี้ พอเข้าสู่ช่วงที่สอง ตามปกติสำหรับมนุษย์ปุถุชน ก็จะมีแรงเร้าหรือแรงจูงใจอีกอย่างหนึ่ง เข้ามากำหนด

พฤติกรรมในการกินร่วมกับความหิวด้วย ตัวควบคุมนี้ก็คือ ตัณหา

ตัณหา ที่เข้ามาในตอนนี้มีได้ทั้งสองอย่าง อย่างแรกคือ ความรนในการปกป้องความมั่นคงถาวรของตัวตน

หรือภวตัณหา ซึ่งจะเห็นได้ชัดในกรณีที่หิวมาก คือร่างกายขาดอาหารมากและตกอยู่ในภาวะที่อยากจะได้

อาหารมากิน

ตัณหานี้จะก่อให้เกิดความรู้สึกกลัวตาย ความวิตกกังวล ความกระวนกระวาย ความทุรนทุราย

เพิ่มเติมเข้ามาผนวกกับความทุกข์ตามปกติจากการอดอาหาร ยิ่งตัณหาแรงเท่าอาการก็ยิ่งเป็นไปมาก

ตามอัตรา จากนั้นก็จะมีการแสวงหาอาหาร

พฤติกรรมในการแสวงหาที่ตัณหาเป็นผู้บัญชานั้น ย่อมดำเนินไปได้อย่างรุนแรงและไม่ต้องคำนึงถึงความชอบ

ธรรม*

อย่างไรก็ตาม พฤติกรรมขั้นแสวงหานี้จะขอข้ามไปก่อน เพื่อจะได้เน้นเรื่องซึ่งกำลังพิจารณาคือขั้นการกิน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ม.ค. 2010, 13:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อธิบายคห.บนที่มี *

* อาจมีผู้สงสัยว่า ในเมื่อการแสวงหาเป็นพฤติกรรมที่เกิดจากตัณหา ผู้ไม่ใช้ตัณหาก็เป็นอันไม่ต้องแสวงหา

อาหารหรืออย่างไร

พึงเข้าใจว่า คำว่า ปริเยสนา หรือ การแสวงหาที่กล่าวข้างต้น เป็นคำที่ใช้อย่างศัพท์เฉพาะเพื่อแยก

ความหมายให้ต่างจากคำว่า กระทำ โดยให้หมายถึงวิธีการต่างๆที่จะให้ได้สิ่งที่ต้องการมา อันเป็นความหมาย

ที่กว้าง จะมีการกระทำหรือไม่ก็ได้

แต่ในกรณีใด การแสวงหาเป็นเหตุโดยตรงของผลที่จะเกิดขึ้น

ในกรณีนั้น การแสวงหาก็เป็นเพียงการกระทำอย่างหนึ่งในความหมายอย่างปกติธรรมดา เหมือนอย่างใน

กรณีร่างกายต้องการอาหาร จะต้องกินอาหารจึงจะดำรงชีวิตอยู่หรือมีสุขภาพดีได้

การแสวงหา เป็นเหตุโดยตรงแห่งการเกิดมีของอาหารที่จะต้องกินนั้น

การแสวงหาจึงเป็นการกระทำเพื่อผลของมันเอง จุดที่จะตัดสินความแตกต่างว่าเป็นอะไรแน่ อยู่ที่กิน

เพื่ออะไร

ถ้ากินเพื่อเสพรส คือการกินเป็นเงื่อนไขสำหรับการได้เสพรสอร่อย ระบบแห่งความเป็นเหตุเป็นผลก็คลาด

เคลื่อนเสียไป

แต่ถ้ากินเพื่อสนองความต้องการของร่างกาย ความเป็นเหตุเป็นผลก็ต่อเนื่องกันไปตลอดระบบ


ผู้ที่ไม่ปฏิบัติการด้วยตัณหา เริ่มต้นพฤติกรรมในกรณีอย่างนี้ ด้วยความคิด ความรู้เข้าใจ หรือความสำนึก

เหตุผลว่า อาหารเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับชีวิต -(ที่จะดำรงอยู่ด้วยดี สามารถทำกิจหน้าที่บำเพ็ญคุณ

ประโยชน์ต่างๆได้) จึงจะต้องหาอาหารมากินเพื่อสนองความต้องการของร่างกาย

ถ้าความเป็นเหตุเป็นผลดำเนินไปโดยมีความคิด หรือ ความสำนึกอย่างนี้เป็นฐาน ทางธรรม ถึงกับกำหนด

ให้การแสวงหาอาหารโดยทางชอบธรรม เป็นหน้าที่อย่างหนึ่งที่จะต้องทำทีเดียว และให้เพียรพยายาม

ในการแสวงหานั้นด้วย

แม้แต่พระภิกษุ ซึ่งควรมีชีวิตที่ขึ้นต่ออาหารน้อยที่สุด ท่านก็ให้มีอุตสาหะในการแสวงหาตามวิธีที่เป็นแบบ

แผนของตน -

(ดู วินย.4/87/106;143/193 เรื่องในที่มานี้ อาจช่วยให้เห็นความต่างอีกแง่หนึ่ง ระหว่างการแสวง

หาที่เป็นการกระทำและเป็นหน้าที่ กับการแสวงหาที่เป็นเพียงการหาทางให้ได้มาเสพเสวยโดยไม่ต้องทำ)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ม.ค. 2010, 13:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตัณหาอย่างที่สองที่จะเข้ามาก็คือ กามตัณหา หรือความกระหายอยากในการเสพเวทนาอันอร่อย

กามตัณหา จะเข้ามาร่วมกับความหิวในการกำหนดพฤติกรรมการกิน

การร่วมกำหนดนี้ อาจเป็นไปในทางเสริมกันก็ได้ บั่นทอนกันก็ได้ เหมือนกับผู้ได้รับผลประโยชน์สองฝ่าย

เข้ามาชิงผลประโยชน์กัน ถ้าต่างได้ผลประโยชน์ก็ช่วยกัน

ถ้าฝ่ายหนึ่งได้ อีกฝ่ายหนึ่งไม่ได้ ก็ขัดกัน

ถ้าความหิวกำหนดฝ่ายเดียว พฤติกรรมก็จะเป็นไปในรูปที่ว่าหิวมาก ก็กินมาก หิวน้อยก็กินน้อย

ถ้าตัณหากำหนดฝ่ายเดียว พฤติกรรมก็จะเป็นไปในรูปว่า อร่อยมากก็กินมาก อร่อยน้อยก็กินน้อย


แต่นั่นเป็นเพียงข้อสมมุติ ตามปกติตัณหาไม่เคยยอมปล่อยให้ความหิวกำหนดพฤติกรรมฝ่ายเดียว

ตัณหาจะต้องแทรกเข้ามาเสมอ และเมื่อความหิวกับตัณหาเข้ามาร่วมกันกำหนด ความหิวจะเอาอกเอาใจ

ตัณหา โดยช่วยเหลือว่า ถ้าหิวมากก็ช่วยให้อร่อยมากขึ้น แต่ก็ช่วยได้เพียงบางส่วนเท่านั้น ไม่อาจให้

หิวกับอร่อยเท่ากันได้เสมอไป

ผลในทางพฤติกรรมจึงปรากฏว่า บางทีหิวมากแต่ไม่อร่อย กินน้อยเกินไป

บางทีหิวไม่มาก แต่อร่อย กินมากเกินไปจนท้องแน่นอืด

บางทีหิวน้อยไม่อร่อย ไม่ยอมกินเสียเลย ดังนี้เป็นต้น

จุดที่เป็นปัญหาก็คือ ตามปกติ ความหิวเป็นสัญญาณบอกความต้องการของร่างกาย เมื่อกินพอดีกับความหิว

ก็พอดีกับความต้องการของร่างกาย

แต่เมื่อกินด้วยตัณหาตามความอร่อย บางคราวก็น้อยไป บางคราวก็มากเกินไป เกิดเป็นโทษแก่ร่างกาย

ที่เป็นเช่นนี้ ก็เพราะว่าการกินเป็นการกระทำ และการได้สนองความต้องการของร่างกาย เป็นผลโดยตรง

ของการกระทำคือการกินนั้น

ส่วนในกรณีของตัณหา การกินเป็นการกระทำ การได้เสพรสอร่อยต้องอาศัยการกินแต่ไม่ใช่ผลโดยตรง

ของการกินนั้น

พูดตามหลักข้างต้นว่า การกินเป็นเหตุให้ร่างกายได้รับอาหารสนองความต้องการ แต่เป็นเงื่อนไขให้ตัณหา

ได้เสพรสอร่อยสนองความต้องการ

โดยนัยนี้ ตัณหามิได้ต้องการกระทำ คือ การกิน และตัณหาก็มิได้ต้องการภาวะที่ร่างกายได้รับอาหารซึ่งเป็นผล

ของการกระทำนั้น

ตัณหาต้องการเสพรสอร่อยอย่างเดียว แต่การกินเป็นเงื่อนไขอันจำเป็นที่จะให้ตัณหาได้เสพรสอร่อย ไม่มีทาง

เลือกอย่างอื่นจึงต้องกิน

ถ้ายิ่งอร่อยก็ยิ่งกิน ไม่คำนึงว่าจะเกินความต้องการของร่างกายหรือไม่

แต่ถ้าไม่อร่อยก็จะไม่ยอมกิน ไม่คำนึงว่าร่างกายจะได้รับอาหารน้อยไปหรือไม่ ซ้ำยังรู้สึกว่าการเคี้ยวการกลืน

กินล้วนเป็นการกระทำที่ยากลำบากฝืนน่าเหน็ดเหนื่อยไปหมด

ร่างกายจึงเป็นเพียงผู้พลอยได้รับผลโดยเขาไม่ได้ตั้งใจให้เลย

ถ้าจะพูดเป็นภาพพจน์ก็เหมือนดังว่า กายที่ต้องการอาหารเป็นฝ่ายหนึ่ง

คนที่กินด้วยตัณหาเป็นอีกฝ่ายหนึ่ง เมื่อกายขาดอาหาร ก็ต้องการเอาอาหารเข้ามาเพิ่มเติมซึ่งทำได้โดย

การกิน

กายต้องการกิน แต่กายกินเองไม่ได้ ต้องอาศัยคนช่วยกินให้

ภาวะเช่นนี้ ทำให้กายลำบากมาก เพราะคนไม่ค่อยเอาใจใส่ที่จะช่วยและช่วยอย่างเสียมิได้ กายจึงหาวิธี

หลอกล่อให้คนชอบกิน โดยให้รางวัลว่าในเวลากินให้คนได้รสอร่อย

ปรากฏว่าคราวนี้ได้ผล พอกายส่งสัญญาณนิดเดียว คนก็ขมีขมันขวนขวายกิน

บางทีกายไม่หิว เลยไม่ส่งสัญญาณสักนิด คนเจออร่อยเข้าก็กินเสียมากมายจนเกินที่กายต้องการ เป็นอันว่า

คราวนี้การกินมีความหมายสำหรับทั้งสองฝ่าย คือสำหรับกาย การกินหมายถึงการได้อาหารมาเพิ่มเติมเสริม

ซ่อมส่วนขาดแคลนสำหรับคน การกินหมายถึงการได้เสพรสอร่อย

คราวนี้ ไม่แต่กายเท่านั้นที่อยากกิน คนก็อยากกินด้วย - (ความจริงคนไม่ใช่อยากกิน เขาไม่ได้ต้องการเอา

อาหารใส่ผ่านลงไปหรอก

เขาอยากเสพรสอร่อยเท่านั้นเอง ขอให้ลองนึกสมมุติดูว่า ถ้าคนต้องการกินอาหารสัก ๒ จาน โดยไม่มีรสชาด

ใดเลย การเคี้ยวและการกล้ำกลืนจะกลายเป็นสิ่งที่ต้องฝืนทน ยากลำบากหรือทุกข์ทรมานเพียงใด

แต่ถ้าอร่อยอาจรู้สึกแต่เพียงรสไม่ได้นึกถึงการเคี้ยวกลืน จนแม้แต่จานที่ ๓ ก็แทบจะมาไม่ทัน)

เมื่อทำให้คนอยากกินได้แล้ว กายก็พลอยได้รับอาหารที่ต้องการไปด้วย

อย่างไรก็ตาม วิธีสร้างเงื่อนไขหลอกคนอย่างนี้ มิใช่จะได้ผลดีมากมายนัก

บางครั้งก็กลับทำให้กายประสบผลร้ายอย่างหนัก

ถ้าคนนั้นเป็นคนชนิดไม่มีสำนึก ไม่รู้จักคิดคำนึงถึงอะไรๆเสียเลย ถูกหลอกเสียเต็มที่ จะเอาแต่เสพรส

อย่างเดียว ความเดือดร้อนก็หวนกลับมาตกแก่กาย

บางคราวกินไม่พอที่กายต้องการเพราะไม่อร่อย

บางคราวอร่อย กินไม่ใช่แค่เกินต้องการเท่านั้น แต่กินถึงขนาดที่กายรับไม่ไหวป่วยไข้ไปเลย

เป็นอันว่า การกระทำที่เป็นเหตุคือการกิน ไม่พอเหมาะพอดีที่จะให้เกิดผล คือการแก้ไขความขาดแคลน

ที่ร่างกายต้องการ

ยิ่งกว่านั้น ยังมีบ่อยครั้งที่คนผู้ถูกหลอกนั้นไปเที่ยวก่อเรื่องวุ่นวายต่างๆข้างนอก พาคนอื่นตลอดจนสังคม

เดือดร้อนกันไปหมด

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ม.ค. 2010, 13:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เรื่องทำนองนี้ อีกสักเรื่องหนึ่งอาจจะชัดยิ่งขึ้นไปอีก น่าจะได้แก่เรื่องการสืบพันธุ์ของมนุษย์

มองอย่างภาพพจน์เสมือนดังว่า ชีวิตที่ต้องการสืบพันธุ์เป็นฝ่ายหนึ่ง

คนที่เสพเวทนาเป็นอีกฝ่ายหนึ่ง ชีวิตต้องการผลคือพันธุ์ไว้สืบต่อคน

แต่ชีวิตไม่สามารถทำกิจเพื่อให้เกิดผลนั้นเองได้ จำต้องอาศัยคนช่วยทำให้ และเพื่อให้ได้ผลเป็นอย่างดี

ชีวิตจึงล่อคนด้วยรางวัล คือ สุขเวทนา เฉพาะอย่างยิ่งทางด้านกายสัมผัสเนื่องด้วยการทำกิจนั้นแก่คน

จนทำให้การทำกิจนั้นมีความหมายแก่ทั้งสองฝ่าย กล่าวคือ สำหรับชีวิตกิจกรรมเพศสัมพันธ์หมายถึง

การได้พันธุ์ไว้สืบต่อตน

สำหรับคน กิจกรรมเพศสัมพันธ์หมายถึงการได้เสพสุขเวทนา เมื่อเรื่องเป็นไปถึงขั้นนี้แล้ว ชีวิตก็ไม่ต้องยาก

ลำบาก เพียงแต่รอคอยอยู่เฉยๆ

เมื่อคนกระทำตามความต้องการของเขา ชีวิตก็พลอยได้รับผลที่ตนต้องการไปด้วย


อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ก็เหมือนกับในกรณีของการกินอาหาร กล่าวคือ ในเมื่อคนกระทำมิใช่เพื่อได้พันธุ์

ซึ่งเป็นผลของการกระทำนั้นโดยตรง แต่กระทำเพราะมันเป็นเงื่อนไขให้เขาได้รับสุขเวทนา

การกระทำ ก็จึงไม่เป็นไปอย่างพอเหมาะพอดี เพียงเท่าที่จะได้เกิดผลของมัน คือ การได้พันธุ์ที่ชีวิต

ต้องการ

แต่การอยากเสพสุขเวทนาในด้านนี้ ได้ทำให้คนกระทำการซึ่งถือกันว่าเกินพอดี และรุนแรงได้มากมาย

จนเกิดเป็นโรคภัยไข้เจ็บ และอาชญากรรมทั้งโดยตรงและโดยอ้อม ทั้งขนาดย่อยและขนาดใหญ่

ซึ่งเป็นผลร้ายทั้งแก่คนผู้นั้นเองและแก่ผู้อื่น ตลอดจนสังคมทั่วไปทั้งหมด


เรื่องการสืบพันธุ์นี้ ยังมีความเป็นไปที่ซับซ้อนยิ่งกว่าการกินอาหารอีก กล่าวคือ ความไม่สมดุล มิใช่มีเพียงแต่

ความไม่พอเหมาะพอดีระหว่างการกระทำกับผลที่ต้องการเท่านั้น

คนผู้ถูกล่อให้กระทำ ยังหันกลับมาย้อนหักหลังชีวิตผู้เป็นเจ้าของความมุ่งหมายในการกระทำอีกด้วย

คือ มีบ่อยครั้ง ที่คนต้องการเสพแต่สุขเวทนาอย่างเดียว ไม่ต้องการให้ชีวิตได้ผลคือพันธุ์ที่มันต้องการ

คนจึงกระทำการที่เป็นเงื่อนไขให้เขาได้เสพเวทนาอันอร่อยสนองความต้องการของเขาฝ่ายเดียว

พร้อมกับใช้วิธีการต่างๆ ขัดขวางกีดกันไม่ให้ชีวิตพลอยได้รับผลที่มันต้องการแต่อย่างใดทั้งสิ้น

เพียงเท่านั้นก็ยังพอทำเนา เมื่อคนเจริญด้วยตัณหามากขึ้น

เขายิ่งทำสกปรกเอากับชีวิต หรือ เอาเปรียบชีวิตมากขึ้นอีก จะว่าเขาซ้อนกลชีวิตเข้าบ้างก็ได้

คราวนี้ เขาพุ่งความสนใจมายังสุขเวทนาที่ชีวิตใช้เป็นรางวัลล่อเขา แล้วก็ครุ่นคิดหาทางที่จะทำให้สุขเวทนา

นั้นเข้มข้นแหลมคมหนักหน่วงท่วมท้นยิ่งขึ้น

เขาคิดค้นอุปกรณ์และวิธีการต่างๆ ขึ้นมายั่วยุเร่งเร้าโหมกระพือไฟแห่งตัณหาให้มีความรนร่านที่จะเสพเวทนา

อย่างแรงกล้ายิ่งขึ้น และจัดสรรปรุงแต่งวัสดุอุปกรณ์พร้อมทั้งวิธีการสำหรับเสพเสวยให้วิจิตรผาดแผลงพิสดาร

ที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ดังที่เกิดมีสถานอบายมุขและแหล่งบำเรอต่างๆ

ในการนี้ เขามิได้แยแส หรือ ให้โอกาสแก่ความต้องการของชีวิตอย่างใดเลย และเขายังได้นำเอาวิธีการ

อย่างนี้ไปใช้ปฏิบัติกับกิจกรรมในการกินอีกด้วย จึงปรากฏเป็นการเสพติดในแบบต่างๆแพร่หลายทั่วไป*


:b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42:

* แง่ที่การสืบพันธุ์เทียบกับการกิน ยุติเพียงแค่ในด้านตัณหาเท่านี้

ส่วนในด้านฉันทะ ไม่มีแง่ที่จะเทียบได้ เพราะการสืบพันธุ์ไม่มีเหตุผลเกี่ยวการให้ชีวิตเข้าถึงภาวะที่ดีงาม

ใดๆ มีแต่อำนาจของภวตัณหาที่จะรักษาความมั่นคงถาวรของอัตตาอย่างเดียว

พูดอีกอย่างหนึ่งว่า การปฏิบัติธรรมต้องการอาศัยการกิน แต่ไม่ไม่ต้องอาศัยการสืบพันธุ์ หรือว่า การกินจำเป็น

สำหรับการปฏิบัติ แต่การสืบพันธุ์ไม่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติธรรม หรือว่าชีวิตที่มีอยู่แล้วนี้จะเป็นอยู่ได้ต้อง

อาศัยการกิน แต่ไม่ต้องอาศัยการสืบพันธุ์ ดังนั้น จึงไม่มีเหตุผลสำหรับให้ฉันทะเกิดขึ้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ม.ค. 2010, 14:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หันกลับมาพูดเรื่องการกินต่อไปอีก เท่าที่กล่าวมา ได้พูดถึงแรงเร้าที่กำหนดพฤติกรรมในการกินแล้ว ๒

อย่างคือ ความหิว และตัณหา

แต่ความจริง ยังมีแรงเร้าอีกอย่างหนึ่ง ที่สามารถเข้ามาร่วมกำหนดพฤติกรรมนี้ด้วย แรงเร้านั้น คือ

ฉันทะ ความใฝ่ธรรม หรือ ความใฝ่ดี

ในกรณีการหิวนั้น ฉันทะ หมายถึงความต้องการภาวะดีงามที่มีคุณค่าเป็นคุณประโยชน์แก่ชีวิตอย่างแท้จริง

กล่าวคือ ความดำรงอยู่ด้วยดีของชีวิต หรือความเป็นอยู่อย่างดีงามของชีวิต

หรือภาวะดีงามที่ชีวิตควรจะเป็น คือเมื่อชีวิตจะเป็นอยู่ ก็พึงเป็นอยู่ด้วยดีอย่างเกื้อกูล อย่างมีคุณประโยชน์

ได้แก่สุขภาพ ความอยู่สบาย ความไม่มีโรค ความไม่มีปัญหา ความไม่เป็นภาระ

(เกินกว่าที่ควรจะเป็น) ความคล่องแคล่วเกื้อกูลแก่การทำกิจ

กระบวนธรรมที่ฉันทะจะเกิดขึ้น ไม่เหมือนกับตัณหา

กระบวนธรรมของตัณหานั้น ก่อตัวขึ้นภายในความห่อหุ้มของอวิชชา พออร่อย พอถูกใจ ก็ชอบ

พอไม่อร่อย ไม่ถูกใจ ก็ไม่ชอบ

พอได้เวทนา ตัณหาก็เกิดต่อเนื่องกันไปได้อย่างเป็นไปเอง โดยไม่ต้องใช้ความคิด ไม่ต้องใช้ความสำนึก

หรือ ความเข้าใจใดๆ ทั้งนั้น *

(* ความคิดความเข้าใจที่ว่านี้ เป็นชนิดที่แทรกเข้ามาตัดหน้าตัณหา จึงไม่พึงสับสนกับความนึกคิดที่เกิด

ตามเพื่อรับใช้สนองตัณหา คือคิดหาทางแสวงหามาปรนปรือมัน)


:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41:


ส่วนกระบวนธรรมของฉันทะ เป็นกระบวนธรรมแบบดับอวิชชา หรือจะเรียกว่า กระบวนธรรมแห่งปัญญาก็ได้

คือ ต้องใช้ความคิด ความเข้าใจ หรือมีความสำนึกรู้ กล่าวคือ เมื่อจะกินอาหาร เกิดความสำนึกรู้

หรือ ความรู้คิดเข้ามาแทรก ไม่ปล่อยกระแสความรู้สึกไหลเรื่อยจากเวทนาสู่ตัณหาเตลิดไป

กระบวนธรรมฝ่ายอวิชชาตัณหาก็ดับ กลายเป็นกระบวนธรรมดับอวิชชาขึ้นมาแทน


ตัวเริ่มที่เข้ามาดับอวิชชาและตัดหน้าตัณหา ก็คือโยนิโสมนสิการ * ซึ่งแปลกันมาว่าการพิจาณา

โดยแยบคาย

แปลง่ายๆ ว่าความคิดแยบคาย คิดถูกทาง หรือคิดเป็น คือคิดตรงสภาวะ หรือ คิดตรงตามเหตุตามผล

ในกรณีนี้ โยนิโสมนสิการคิดว่า การกินเป็นการกระทำเพื่อผลอะไร อะไรเป็นผลของการกระทำคือการกิน

หรือ พูดง่ายๆว่ากินเพื่ออะไร และสำนึกรู้ว่าการกินเป็นการกระทำเพื่อผลคือการที่ร่างกายได้อาหารไปซ่อม

เสริมตัวมัน หรือ กินเพื่อสนองความต้องการของร่างกายให้ร่างกายมีสุขภาพ ไร้โรคอยู่สบาย แคล่วคล่อง

เหมาะแก่การทำกิจ ซึ่งเป็นภาวะดีงามที่ควรจะมีจะเป็นสำหรับชีวิต เพื่อให้กายเป็นกายที่ดี เพื่อให้ชีวิตเป็นชีวิต

ที่ดี ตามสภาวะของมัน ไม่ใช่กินเพื่อมุ่งเอร็ดอร่อย เพื่อสนุกสนานมัวเมา เพื่อโก้เก๋หรูหรา เป็นต้น *

จนเป็นผลร้ายต่อสุขภาพบ้าง เป็นเหตุเบียดเบียนกันบ้าง ก่อให้เกิดกิเลสอื่นๆเพิ่มขึ้นบ้าง ไม่เป็นไปเพื่อผลที่

พึงประสงค์ของการกินอาหาร

การคิดตามเหตุผลตรงตามสภาวะ คือ โยนิโสมนสิการนี้ ไม่ใช่แรงจูงใจโดยตัวของมันเอง แต่มันเป็นปัจจัย

ให้เกิดแรงจูงใจฝ่ายกุศล ที่เรียกว่า ฉันทะ คือนำไปสู่ความพอใจ ความปรารถนา ความต้องการ

ในภาวะดีงาม ภาวะอยู่ดี หรือภาวะที่ควรจะเป็นของชีวิต อันได้แก่ความมีสุขภาพ ความคล่องสบาย

ของกายนั้น

เมื่อฉันทะเกิดขึ้นแล้ว ก็เข้ามาร่วมกำหนดพฤติกรรมในการกินเป็นแรงเร้าที่สาม เป็นตัวควบกับความหิว

และเป็นตัวคานกับ ตัณหา โดยเกิดแทรกซ้อนสลับกับตัณหานั้น

ถ้ามีกำลังมากพอ ก็จะตัดโอกาสของตัณหาไปเสียทีเดียว

ฉันทะ ที่เกิดขึ้นในกรณีของการกินนี้ ก็จะช่วยนำไปสู่คุณธรรมที่เรียกว่า โภชเนมัตตัญญุตา แปลว่า

ความรู้จักประมาณ หรือ รู้จักพอดีในการกิน หรือกินพอดี

เท่าที่กล่าวมาในเรื่องการกินนี้ จะเห็นว่ามีแรงเร้าหรือแรงจูงใจอยู่ ๓ ประเภทคือ ความหิว ซึ่งเป็นแรงจูง

ใจเฉพาะกิจ เป็นกลางๆ ในทางจริยธรรม คือไม่ดี ไม่ชั่ว โดยตัวของมันเอง และมีตัณหา กับ ฉันทะ

ซึ่งเป็นแรงจูงใจทั่วไปที่เข้ามาประกอบร่วม โดยเป็นภาวะตรงข้ามของกันและกัน

ตัณหาเป็นฝ่ายเสีย หรือ อกุศล

ฉันทะเป็นฝ่ายกุศล หรือฝ่ายดี

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ม.ค. 2010, 14:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




butterfly01.gif
butterfly01.gif [ 31.19 KiB | เปิดดู 5574 ครั้ง ]
ขยายความคห.บนที่มี * อีกสองข้อความ


* พึงเทียบกระบวนธรรม “โยนิโสมนสิการ เป็นอาหารของสติสัมปชัญญะ สติสัมปชัญญะเป็นอาหารของ

อินทรียสังวร.... โยนิโสมนสิการบริบูรณ์ ย่อมทำให้สติสัมปชัญญะบริบูรณ์ สติสัมปชัญญะบริบูรณ์

ย่อมทำให้อินทรียสังวรบริบูรณ์”

(องฺ.ทสก.24/62/127)


* พึงระลึกถึงคำสอนให้พิจารณาในการบริโภคใช้สอยปัจจัยสี่ ที่ท่านใช้คำว่า “โยนิโสปฏิสังขา”

(ไวพจน์คำหนึ่งของโยนิโสมนสิการ บทพิจารณานี้ในสมัยหลังเรียกกันเป็นแบบว่า

ตังขณิกปัจจเวกขณ์ แต่เรียกกันอย่างชาวบ้านว่า ปฏิสังขาโย) ซึ่งพระพุทธเจ้าตรัสบ่อยๆ

เฉพาะการบริโภคอาหารโดยการพิจารณาอย่างนี้ ท่านจัดเป็นโภชเนมัตตัญญุตา

เช่น ม.ม.13/29/27 ม.อุ.14/96/83 ฯลฯ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ม.ค. 2010, 20:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


ฉันทะ มีความหมาย ตามพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับพระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต) ดังนี้

1.ความพอใจ, ความชอบใจ, ความยินดี, ความต้องการ, ความรักใคร่สิ่งนั้นๆ, ความรักงาน (เป็นกลางๆ เป็นอกุศลก็มี เป็นกุศลก็มี, เป็นอัญญสมานาเจตสิกข้อ ๑๓, ที่เป็นอกุศล เช่นในกามฉันทะ ที่เป็นกุศลเช่น ข้อ ๑ ในอิทธิบาท ๔)

2.ความยินยอม, ความยอมให้ที่ประชุมทำกิจนั้นๆ ในเมื่อตนมิได้ร่วมอยู่ด้วย, เป็นธรรมเนียมของภิกษุ ที่อยู่ในวัดซึ่งมีสีมารวมกัน มีสิทธิที่จะเข้าประชุมทำกิจของสงฆ์ เว้นแต่ภิกษุนั้นอาพาธจะเข้าร่วมประชุมด้วยไม่ได้ ก็มอบฉันทะคือแสดงความยินยอมให้สงฆ์ทำกิจนั้นๆ ได้

ตัณหา หรือ ความอยาก ก็คือ ฉันทะ ฝ่าย อกุศล คือ เป็น ฉันทะ ฝ่ายไม่ดี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ม.ค. 2010, 20:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


ฉันทะ มีความหมาย ตามพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับพระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต) ดังนี้

1.ความพอใจ, ความชอบใจ, ความยินดี, ความต้องการ, ความรักใคร่สิ่งนั้นๆ, ความรักงาน (เป็นกลางๆ เป็นอกุศลก็มี เป็นกุศลก็มี, เป็นอัญญสมานาเจตสิกข้อ ๑๓, ที่เป็นอกุศล เช่นในกามฉันทะ ที่เป็นกุศลเช่น ข้อ ๑ ในอิทธิบาท ๔)

2.ความยินยอม, ความยอมให้ที่ประชุมทำกิจนั้นๆ ในเมื่อตนมิได้ร่วมอยู่ด้วย, เป็นธรรมเนียมของภิกษุ ที่อยู่ในวัดซึ่งมีสีมารวมกัน มีสิทธิที่จะเข้าประชุมทำกิจของสงฆ์ เว้นแต่ภิกษุนั้นอาพาธจะเข้าร่วมประชุมด้วยไม่ได้ ก็มอบฉันทะคือแสดงความยินยอมให้สงฆ์ทำกิจนั้นๆ ได้

ตัณหา หรือ ความอยาก ก็คือ ฉันทะ ฝ่าย อกุศล คือ เป็น ฉันทะ ฝ่ายไม่ดี


อัญญสมานาเจตสิก มีความหมายตามพจนานุกรมพุทธศาสน ฉบ้บพระธรรมปิฎกฯ ดังนี้
เจตสิกที่มีเสมอกันแก่จิตพวกอื่น คือ ประกอบเข้าได้รับกับจิตทุกฝ่ายทั้งกุศลและอกุศล มิใช่เข้าได้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายเดียว มี ๑๓ แยกเป็น ก) สัพพจิตตสาธารณเจตสิก (เจตสิกที่เกิดทั่วไปกับจิตทุกดวง) ๗ คือ ผัสสะ (ความกระทบอารมณ์) เวทนา สัญญา เจตนา เอกัคคตา ชีวิตินทรีย์ มนสิการ (ความกระทำอารมณ์ไว้ในใจ, ใส่ใจ) ข) ปกิณณกเจตสิก (เจตสิกที่เรี่ยราย คือ เกิดกับจิตได้ทั้งฝ่ายกุศลและอกุศล แต่ไม่แน่นอนเสมอไปทุกดวง) ๖ คือ วิตก (ความตรึกอารมณ์) วิจาร (ความตรองอารมณ์) อธิโมกข์ (ความปักใจในอารมณ์) วิริยะ ปีติ ฉันทะ (ความพอใจในอารมณ์)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ม.ค. 2010, 17:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




avatar2089_30.gif
avatar2089_30.gif [ 16.26 KiB | เปิดดู 5519 ครั้ง ]
ต่อ link นี้

viewtopic.php?f=2&t=28904&p=171335#p171335

ความคิดจิตใจ เป็นสิ่งละเอียด ยากเข้าใจนี่คือลักษณะของพุทธศาสตร์

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 23 ม.ค. 2010, 17:43, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ม.ค. 2010, 12:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 09:34
โพสต์: 1478

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b17: :b8: :b17: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ม.ค. 2010, 13:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ธ.ค. 2009, 14:59
โพสต์: 31

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตัณหา อยากไม่มีที่สิ้นสุด
ฉันทะ อยากมีที่สิ้นสุด


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 13 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร