วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 04:20  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 31 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ธ.ค. 2009, 06:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


ขันธสังยุตต์ - มูลปัณณาสก์ - อัตตทีปวรรค - ๓. อนิจจสูตรที่ ๑

[๙๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ถ้าจิตของภิกษุคลายกำหนัดแล้วจากรูปธาตุ หลุดพ้นแล้ว
จากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น.
ถ้าจิตของภิกษุคลายกำหนัดแล้วจากเวทนาธาตุ ... จากสัญญาธาตุ ... จากสังขารธาตุ ... จากวิญญาณธาตุ หลุดพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือ
มั่น.

เพราะหลุดพ้นแล้ว จิตจึงดำรงอยู่
เพราะดำรงอยู่ จึงยินดีพร้อม
เพราะยินดีพร้อม จึงไม่สะดุ้ง
เมื่อไม่สะดุ้ง ย่อมดับรอบเฉพาะตนเท่านั้น

ภิกษุนั้น ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้วพรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.







จิตที่ดำรงอยู่ เพราะหลุดพ้น .....


ในพระบาลี มีคำว่า ฐีตํ

ฐิติ หมายถึง การดำรงอยู่

ฐีติจิต จิตที่ดำรงอยู่
ฐีติธรรม ธรรมที่ดำรงอยู่

เคยอ่านพบ ใน มุตโตทัย กล่าวถึง สองคำนี้


จิตที่ดำรงอยู่ คืออะไร?...

จะมีความหมายเดียวกันกับ จิตประภัสสรที่พ้นวิเศษแล้วจากอุปกิเลสที่จรมา ไหม?
จะมีความหมายเดียวกันกับ จิตพระอรหันต์ ไหม?
จะมีความหมายเดียวกับ จิตที่พ้นเกิด-ตาย ไหม?

และ จิตที่พ้นเกิด-ตาย ยังคงถือว่า มีการ เกิด-ดับ อยู่ไหม?




ปล...

ผมไม่ได้สรุปว่า จิตที่ดำรงอยู่เพราะหลุดพ้นนี้ คือ "อย่างเดียวกันกับ"พระนิพพาน น่ะครับ...เดี๋ยวจะมีการเข้าใจผิด

เพราะ ถ้าถือตามหลัก คือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน เป็นคำที่มีความหมายจำเพาะแต่ล่ะคำๆไป.... จิตก็ต้องเป็นจิต และ นิพพานก็ต้องเป็นนิพพาน

ทีนี้...จิตพระอรหันต์ จะจัด สงเคราะห์ลงในจิต หรือ สงเคราะห์ลงในนิพพาน?...

หรือ สงเคราะห์ลงในจิต แต่"เป็นหนึ่งเดียวกับ"นิพพาน?.....


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ธ.ค. 2009, 06:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


มีประเด็นที่น่าสนใจ

สืบเนื่องจาก คห.ข้างต้น ของ หลายๆท่าน




ในเรื่อง จิตประภัสสร VS จิตพระอรหันต์

1.จิตพระอรหันต์นั้น ประภัสสร ไหม?

และ

2.จิตที่ประภัสสร จะปรากฏเมื่อบรรลุอรหัตตผลเท่านั้นแล้ว หรือไม่?



1. จิตพระอรหันต์นั้น ประภัสสร ไหม?

คห.ส่วนตัว; (ถูกผิด เว้นไว้ก่อน)

จากพระสูตร ผมเห็นว่า

เนื้อแท้ดั้งเดิมของจิตนั้น ไม่ว่าจะเป็น จิตปุถุชน จิตพระเสขะ หรือ จิตพระอรหันต์ ล้วนแต่ประภัสสรด้วยกันทั้งนั้น....

เพียงแต่ มีเงื่อนไข มีเหตุปัจจัยที่แตกต่างกัน จึงยังให้ จิตปุถุชน จิตพระเสขะ เศร้าหมองได้อยู่ ซึ่งเหตุปัจจัยนั้นก็คือ อุปกิเลสที่จรมา(และ จรไป และจรมา และจรไป ๆลๆ)

ส่วน จิตพระอรหันต์นั้น ท่านสิ้นอวิชชา(วิชชาปรากฏ) และ ปราศจากอุปกิเลสที่จรมาแล้ว แบบถอนรากเด็ดขาด(ไม่กลับไปอีก) จิตพระอรหันต์จึงประภัสสรแบบไม่กลับไปเศร้าหมองอีก

ดังนั้น จิตพระอรหันต์จึงประภัสสรแบบชนิดที่ไม่กลับไปเศร้าหมองอีกเลย





2.จิตที่ประภัสสร จะปรากฏเมื่อบรรลุอรหัตตผลเท่านั้นแล้ว หรือไม่?


คห.ส่วนตัว; (ถูกผิด เว้นไว้ก่อน)


จากพระสูตร ผมเห็นว่า

เนื้อแท้ดั้งเดิมของจิตนั้น ไม่ว่าจะเป็น จิตปุถุชน จิตพระเสขะ หรือ จิตพระอรหันต์ ล้วนแต่ประภัสสรด้วยกันทั้งนั้น....

หาใช่ว่า จิตนั้นจะมาประภัสสรเอาเมื่อตอนที่บรรลุอรหัตตผลแล้วเท่านั้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ธ.ค. 2009, 07:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


พระไตรปิฎกเล่มที่ 24

อวิชชาสูตร

[๖๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เงื่อนต้นแห่งอวิชชาย่อมไม่ปรากฏ

ในกาลก่อนแต่นี้ อวิชชาไม่มี แต่ภายหลังจึงมี

เพราะเหตุนั้น เราจึงกล่าวคำนี้อย่างนี้ว่า ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น อวิชชามีข้อนี้เป็นปัจจัยจึงปรากฏ





คุณ ปล่อยรู้ แสดงความเห็นที่น่าสนใจเอาไว้ ในประเด็นนี้ ดังนี้ครับ


อ้างคำพูด:
พี่หมอครับ บังเอิญผมมีโอกาสได้อ่านเจอพุทธพจน์ บทนี้ครับ

ภิกษุทั้งหลาย ที่สุดในเบื้องต้นของอวิชชา ย่อมไม่ปรากฏ
ก่อนแต่นี้อวิชชามิได้มี แต่อวิชชาเพิ่งมีต่อภายหลัง

ภิษุทั้งหลาย คำกล่าวอย่างนี้แหละ เป็นคำกล่าวที่ใครๆสมควรกล่าว
และควรกล่าวด้วยว่า "อวิชชาย่อมปรากฏเพราะมีสิ่งนี้สิ่งนี้เป็นปัจจัย " ดังนี้


ผมจึงมีความเข้าใจว่า แท้จริงแล้ว จิตหรือใจนั้น เป็นธรรมชาติที่บริสุทธิอยู่เดิมแล้ว
อาสวะกิเลสประการต่างๆทั้งหลายนั้นเป็นของปรากฏมีขึ้นในภายหลัง.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ธ.ค. 2009, 22:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.พ. 2009, 20:42
โพสต์: 699


 ข้อมูลส่วนตัว


คุยอะไรกันเอ่ย... อิอิ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ธ.ค. 2009, 14:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


มีโอวาทธรรม หลวงปู่ ชา สุภัทโท :b8:

เกี่ยวกับ ใจเดิม มาเสนอครับ




ใจไม่สบาย.... ความเป็นจริงไม่ใช่อย่างนั้น โยมเข้าใจผิด
ใจไม่เป็นอะไร กิเลสมันเป็น

“ใจฉันไม่สบาย” ไม่ถูก สิ่งที่สบายที่สุดคือใจ
ไอ้ที่ๆ ไม่สบายไม่ใช่ใจ สี่งที่สกปรกไม่ใช่ใจ สิ่งที่มันยุ่งยากไม่ใช่ใจ มันกิเลสตัณหา

ให้เราเข้าใจอย่างนี้ แบ่งมันออกเสีย
โยมไปโทษแต่ใจกันทุกคนๆ ใจมันจะมีอะไร ? ใจมันสบายอยู่แล้ว

เหมือนกันกับใบไม้ในป่านั่นแหนะ ธรรมดาใบไม้ปรกติมันอยู่นิ่งๆ ไม่มีอะไร ที่มันกวัดแกว่งไปมาเพราะอะไร ? เพราะลมมันโกรกนี่ เข้าใจไหม ? นี่ให้เข้าใจเสียอย่างนี้ เราจะไปให้โทษแต่ใจก็ไม่ใช่ ที่ใบไม้มันจะกวัดแกว่งไปมานั่นเพราะอะไร เพราะลมมันโกรกมัน ถ้าลมไม่โกรกมันใบไม้ก็นิ่งเป็นปกติ

ใจเราก็เหมือนกัน เป็นของสงบอยู่แล้ว เป็นของสะอาดอยู่แล้ว ใจเดิมของเรามันเป็นอย่างนั้น ที่มันกวัดแกว่งไปมานี่ คือมันใจใหม่ ใจปลอม มันถูกตัณหาชักจูงไปมาตลอดเวลา เดี๋ยวก็มีสุขบ้าง เดี๋ยวก็มีทุกข์บ้าง เดี๋ยวก็อย่างโน้นเดี๋ยวก็อย่างนี้บ้าง ทำให้เราวุ่นวาย ....อันนี้ไม่ใช่ใจจำไว้

ถ้ามันวุ่นขึ้นมาเมื่อไรก็ให้เข้าใจที่หลวงพ่อว่า....
อันนี้ไม่ใช่ใจ ถ้าใจไม่มีอะไร เป็นของบริสุทธิ์เป็นของสะอาดเป็นปรกติ .......อันนี้ใจปลอม ใจไม่ได้ฝึก

อันนี้ให้เอาไปคิด เราจึงจะรู้จักสัดส่วนของการปฏิบัติ เราอย่าไปคุมแต่อย่างอื่น ไปคุมที่ใจของเรา ใจนี้มันไม่มีอะไร มันเป็นปรกติ

ถ้าเราปฏิบัตินั้นก็ค้นหาเรื่องปรกติ คือ ใจเดิมของเรา นั่นแหละ

ถ้าเห็นจิตเดิมใจเดิมเราแล้วเป็นต้น ไม่มีอะไรวุ่นวาย เหมือนใบไม้ในป่า ค้นไปถึงปรกติมันแล้วเรียกว่าไม่มีอะไรจะตบแต่ง เพราะลมไม่ได้โกรกมัน นี้มันเป็นเพราะอารมณ์ ไม่สบาย ไม่ใช่ใจ มันทุกข์ ไม่ใช่ใจ กิเลสอย่างอื่น มันเปลี่ยนหน้าเข้ามาซะ โยมก็วิ่งตามมันอยู่นั่น บางคนก็น่าสงสาร จนคิดว่าไม่มีโอกาสที่จะปฏิบัติเพราะใจมันยุ่ง บางคนจะเข้าใจเสียอย่างนี้

ไม่ใช่ ใจเรามันไม่ยุ่ง ถ้าใจจริงๆ ไม่ยุ่ง
ที่มันยุ่งก็เพราะกิเลสทั้งหลาย เท่านั้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ม.ค. 2010, 06:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


คุณตรงประเด็นครับ อย่าได้นำ ลัทธินอกศาสนา และ อัตตโนมติของอาจารย์ มาปลอมปนพระสัทธรรมเลยครับ

28195.การยกหลักฐานอ้างพระไตรปิฎก ถ้าไม่ดูอรรถกถา มีโอกาสผิดพลาด
viewtopic.php?f=2&t=28195&st=0&sk=t&sd=a



ขอยกตัวอย่าง การใช้ อัตตโนมติ(ความเห็นส่วนตัว) ไปอธิบาย ตีความหมายพระบาลีเอง เช่น

ในเรื่อง จิตปภัสสร ของ เกจิอาจารย์บางท่าน กลายมาเป็นเรื่อง จิตว่าง, จิตเดิม, จิตเดิมแท้บริสุทธิ์

จนท่านผู้รู้ ที่ทรงพระไตรปิฏก ได้นำอรรถกถา มาอธิบายชี้แจงเพิ่มเติมดังนี้


วิจัยเกี่ยวกับเรื่อง "จิตเดิม" ( จิตว่าง )

http://thaimisc.pukpik.com/freewebboard ... opic=10128


"ปภสฺสรมิทํ ภิกฺขเว จิตฺตํ ตญฺจ โข อาคนฺตุเกหิ อุปกฺกิเลเสหิ วิปฺปมุตฺติ" ความว่า "ภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ประภัสสร ก็จิตนั้นแล หลุดพ้นแล้วจากอุปกิเลสทั้งหลายที่จรมา"


ในเอกนิบาตอังคุตตรนิกาย อรรถกถา ภาค ๑ หน้า ๔๕ ข้อ ๕๐ ท่านแก้ว่า จิตก็คือ ภวังคจิตนั่นเอง


พระดำรัสที่ว่า "หลุดพ้นแล้ว" หมายถึง เป็นจิตที่หลุดพ้นจากอุปกิเลสทั้งหลายที่จรมา ซึ่งเกิดขึ้นด้วยอำนาจของกุศลที่สัมปยุตด้วยญาณมีเหตุ ๓ เป็นต้น ได้รับการสรรเสริญ มีชื่อเสียง สืบเนื่องมาจากบุตรเป็นต้น ซึ่งเป็นผู้มีศีลสมบูรณ์ด้วยอาจาระ ก็เพราะเหตุที่บุตรเป็นต้นของตนเหล่านั้นั่นแหละ เป็นคนดีงาม ด้วยเหตุที่ได้รับการศึกษาได้รับโอวาทและคำพร่ำสอน ฉันใด


ภวังคจิตดวงนี้ที่พระมหามุนีตรัสว่า "หลุดพ้นแล้วจากอุปกิเลสที่จรมา" ก็ด้วยอำนาจแห่งกุศลจิต ซึ่งเกิดขึ้นในขณะของชวนะฉันนั้นฯ

ตามที่ได้ยกข่อความจากอาคตสถานมาแสดงเทียบเคียงให้เห็นดังนี้แล้ว ผู้อ่านก็พอจะทราบได้ว่าอะไรเป็นอะไร


แต่ขอให้ทัศนะไว้นิดหนึ่งว่า ในฐานะที่เราเป็นชาวพุทธ บางครั้งถึงกับอุทิศเพศบวชมาเป็นเวลานานก็มี ขอร้องให้พากันเชื่อพระบาลีและอรรถกถาอันเป็นหลักปริยัติฝ่ายเถรวาทเถิด เพราะจะเป็นปัจจัยให้เกิดทิฐิวิสุทธิ คือความเห็นที่ถูกต้องในส่วนของพระปริยัติศาสนาขึ้นได้


แม้จะเกิดศรัทธาให้ลงมือปฏิบัติ ก็เชื่อเหลือเกินว่าต้องไม่ผิดแน่ เพราะเมื่อปริติถูกก็เป็นเหตุให้เกิดปฏิบัติถูก อันเป็นเสมือนเงาตามตัวอยู่แล้ว แต่ถ้าไม่ยอมเชื่อโดยยกตัวเสมอกับอรรถกถาเสียแล้วก็เป็นเรื่องที่ช่วยไม่ได้

-------------------------------------------------------



ฝากถึงทุกท่าน ด้วยนะครับ การวินิจฉัย วิจัยธรรม อธิบายธรรมต่าง ๆ ควรระมัดระวังด้วย

ควรจะอ้างหลักฐาน จากพระไตรปิฏก อรรถกถา คัมภีร์ ของเถรวาท ให้มาก

ไม่เช่นนั้น อาจจะผิดพลาดได้ ( ดังข้อคิดจากพระครูศรีโชติญาณ )


คุณตรงประเด็น เป็นผู้หนึ่ง ที่มักอธิบายพระไตรปิฏกเอง โดยนำ อัตตโนมติของอาจารย์ตนมาเป็นหลัก โดยไม่เชื่อถือใน อรรถกถา

ในบางเรื่องถึงกับหัวเราะเยาะ เช่น เรื่อง หทยวัตถุ ที่เป็นที่อาศัยของจิต เป็นต้น

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ม.ค. 2010, 19:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


เฉลิมศักดิ์

ที่ท่านตรงประเด็นกล่าวมาทั้งหมดมีหลักฐานจากพระไตรปิฎกอ้างอิง

มีแต่เฉลิมศักดิ์ที่อ้างแต่อัตโนมัติของอาจารย์เช่น

พระครูศรีโชติญาณ

ส่วนท่านอาจารย์พุทธทาสเฉลิมศักดิ์กลับโจมตีอยู่บ่อยๆว่าเป็นอาจาริยวาทบ้าง เป็นสัทธรรมนอก

ศาสนาบ้าง

ที่ลานธรรมเสวนา เฉลิมศักดิ์ทำมาตลอด

เฉลิมศักดิ์นั้นมีแต่เอกปิฎก(ขอยืมมาจากท่านกรัชกาย)

ยึดแต่อรรถกถาเหนือพระไตรปิฎก

ยกอัตโนมัติของอาจารยเหนือกว่าคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า

ถือเอามานะตนสำคัญว่าเหนือกว่าผู้อื่น

จึงแสดงอหังการ์มาตลอด

เยี่ยงนี้มิใช่การแสดงธรรมแน่นอน

ที่ลานธรรมจักร์แห่งนี้เคารพความคิดเห็นของปัญญาชน

มิดูหมิ่นกล่าวร้ายใคร

เพราะที่นี่มีธรรม

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ม.ค. 2010, 19:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


เฉลิมศักดิ์

การแสดงความคิดเห็นเป็นเอกสิทธิส่วนบุคคล

ทำไมเฉลิมศักดิ์จึงเดือดร้อนมากนักกับความรู้ความคิดเห็นของผู้อื่นที่มีเหนือกว่าตย

เฉลิมศักดิ์ไม่เห็นด้วยก็แสดงในอีกแง่มุมหนึ่งออกมาได้

อย่าทำตัวเป็นพระเทวทัตจะดีกว่า

อย่ายุแหย่ให้เกิดความเกลียดชังกันจะดีกว่า

ผมท้าให้เฉลิมศักดิ์ออกมาแสดงความรู้แข่งกับท่านตรงประเด็น ท่านกรัชกาย เฉลิมศักดิ์กล้ารับคำ

ท้าไหม

เอากระทู้เก่ามาเล่าใหม่นั่นแหละที่เฉลิมศักดิ์วิ่งหนีโกยอาวมาแล้วนั่นแหละ

หรือเอากระทู้ใหม่ก็ได้


ก่อนหน้านี้ไม่เคยปฏิบัติธรรมจริงๆจังๆเลย
จนกระทั่งไม่นานมานี้ วาสนาพาให้ได้พบกับพระสงฆ์ไทยรูปหนึ่ง...ทราบว่าท่านน่าจะมาโปรดสัตว์
ผมได้ถามท่านว่า ทำอย่างไรจึงจะพ้นทุกข์
ท่านก็ไม่ตอบอะไร ยื่นหนังสือของท่านให้สามเล่ม เป็นหนังสือเกี่ยวกับการปฏิบัติตามแนวทางในอานาปานสติสูตร
แล้วผมก็กราบลาท่าน ผมก็อ่านแค่เล่มแรกก่อน ใจความในเล่มแรก คือ ให้กำหนดรู้ลมหายใจให้ตลอด ในชีวิตประจำวัน จะทำกิจกรรมอะไรก็ให้กำหนดรู้ลมหายใจไปด้วย ยกเว้นเวลาขับรถ หรือเวลาอ่านหนังสือ แต่ก็ให้มีสติรู้อยู่ว่าเราทำอะไรอยู่
ท่านว่าให้กำหนดรู้ลมหายใจเสมือนว่าลมหายใจเป็นกัลยาณมิตร ให้เรายึดกัลยาณมิตรนี้ไว้ หลังจากนั้นผมก็พยายามกำหนดรู้ลมหายใจในชีวิตประจำวัน เวลาเดิน ก็รู้สึกดีครับ รู้สึกเพลินกับการยึดลมหายใจ
หลังจากนั้นมีวันหนึ่ง ผมเกิดนึกอยากนั่งสมาธิขึ้นมา ผมก็เลยนั่งสมาธิกำหนดลมหายใจ

(ก่อนหน้านี้ตอนเด็กๆ เวลาคุณครูที่รร.สั่งให้นั่งสมาธิในห้องเรียน ให้พยายามตามดูลมหายใจจะรู้สึกว่ามันเป็นเรื่องที่น่าเบื่อ น่าปวดหัวมาก แต่คาดว่าคงเป็นเพราะจากที่ได้ฝึกในชีวิตประจำวัน ทำให้ตั้งแต่นั่งครั้งนี้ก็ไม่รู้สึกเช่นนั้นอีก)

ในการนั่งสมาธิครั้งนี้ สามารถรับรู้ลมหายใจได้ตลอดสายเป็นเวลานาน แต่ผมก็คิดว่าเวลาจิตเราสงบมากแล้ว แต่ยังไม่มีอะไรเกิดขึ้น ถ้ายังไงเราลองเปลี่ยนวิธีกำหนดดูดีกว่าผมเลยเปลี่ยนวิธีกำหนดในใจเป็นสมถแบบอัปปมัญญา ๔

(ที่ผมเปลี่ยนเป็นวิธีนี้เพราะก่อนหน้านี้เคยอ่านหนังสือเรื่องสมถ ๔o วิธีแล้วรู้สึกว่าเราน่าจะเหมาะกับวิธีนี้ คือเกิดความรู้สึกนี้ขึ้นเอง)
แล้วกำหนดคำบริกรรมในใจแผ่เมตตาให้สัตว์ทั้งหลายไม่มีประมาณในทิศเบื้องหน้า จากนั้นก็เบื้องหลัง ฯลฯ พอครบทุกทิศแล้ว ก็กำหนดแผ่ไปในทุกทิศพร้อมกันไม่มีประมาณ
กำหนดแค่ครั้งเดียวเท่านั้น จากนั้นผมก็รู้สึกเหมือนกายผมขยายตามที่กำหนดแผ่เมตตาไปด้วย รู้สึกว่ากายขยายไปทุกทิศ ความรู้สึกนี้มันเกิดในเวลาแค่แปปเดียว กายขยายไปทุกทิศ จนรู้สึกว่ากายหายไป คือ ไม่มีกาย
เวลานี้ รู้สึกว่าความรู้สึกเราเหมือนจุ่มอยู่ในปิติ มีแต่ความสุขไปหมด

จากนั้นผมก็คิดขึ้นมาว่า "มีความสุขขนาดนี้ในโลกด้วย หรือ ความสุขนี้ดีกว่าความสุขในโลกที่เราเคยพบมาทั้งหมด โอ ความสุขนี้แค่นั่งก็ได้แล้ว คนทั้งโลก (ส่วนใหญ่)มัวแต่วุ่นวายทำอะไรกันอยู่ บางคนทำทุจริตต่างๆเพื่อหาเงินมาสนองความสุขตน ทำไปทำไมนะ มันเทียบกับความสุขที่เกิดจากความสงบนี้ไม่ได้เลย ความสุขนี้ไม่ต้องไขว่คว้ามาก อยู่กับตัวเองแท้ๆ คน (ส่วนใหญ่) ในโลกกลับไม่รู้"

จากนั้นผมก็สังเกตลมหายใจ ก็รู้สึกว่าลมหายใจตอนนี้มันละเอียดมาก ถึงค่อยเข้าใจคำว่า ลมหายใจหยาบลมหายใจละเอียดว่าเป็นยังไง ก่อนหน้านี้เข้าใจว่าคือลมหายใจแรงๆเบาๆซะอีก
ความรู้สึกจากการเกิดสมาธิครั้งแรกนี้ มันเหมือนจุ่มค้างอยู่ปิติ คือ ปิติเกิดค้างอยู่ แต่ไม่เห็นนิมิตอะไรทั้งสิ้น แต่รู้สึกจิตเวลานี้ไม่มีนิวรณ์เลย คือ มีความรู้พร้อมอยู่

จากนั้นผมก็รู้สึกยินดีกับสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วคิดไปเรื่อยว่า
"นี่คือปฐมฌาณหรือเปล่านี่ ปฐมฌาณเกิดกับเราหรือ" จนจิตเริ่มไม่เป็นสมาธิ เริ่มปั่นป่วน
หลังจากนั้นก็ได้ยินเสียงห้องข้างๆตะโกนเสียงดัง (คาดว่าน่าจะดูบอล) ผมก็เลยหลุดออกมาจากสภาวะนั้น
แต่หลังจากนั้นมาผมก็ไม่สามารถเข้าถึงสภาวะดังกล่าวได้อีกเลย คือ ทำได้มากสุดก็แค่ทำปิติให้เกิดขึ้นแวบหนึ่งเท่านั้น (แต่ก็สามารถทำให้เกิดได้ตลอดเวลา ตามที่ต้องการทันที) แต่ไม่สามารถทำให้เกิดค้างไว้ จนรู้สึกเหมือนจุ่มลงในปิติ แล้วมีลมหายใจละเอียดแบบครั้งแรกได้

http://fws.cc/whatisnippana/index.php?topic=86.msg352#msg352

เฉลิมศักดิ์ลองแสดงกิ๋นดู

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ม.ค. 2010, 01:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ม.ค. 2010, 16:32
โพสต์: 323

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


.smiley.

หลวงจีนงมงาย คันหัวใจ ยากจะเกา
งมงายว่า มันไม่ซับซ้อนปานนั้น
อ่านแล้วสมองพองโต หัวโตเป็นกระบุง ศัพท์แสงมากมาย ลูกหลานงงงวย
ขอพูดแบบชาวบ้าน ตามประสาหลวงจีนงมงาย


ในโลกนี้ มีสภาวะอยู่เพียง ๒ อย่าง คือรูป กับ นาม
เป็นอิสระแก่กัน แต่อาจเกิดพร้อมกัน หรือแยกกันเกิดก็ได้



สภาวะอันหนึ่งที่เป็นนาม จะเรียก จิต มโน วิญญาณ มนัส ใจ ฯลฯ อะไร ก็ได้

สภาวะนี้ มีการเกิดดับต่อเนื่องไปตลอด

บางครั้งมีคุณลักษณะดี บางครั้งไม่ดี บางครั้งกลาง ๆ

เปลี่ยนแปรไปตามสิ่งที่ปรุงแต่ง ตามองค์ประกอบ ที่เรียก เจตสิก

เหมือนน้ำที่มีสีหลากหลายตามสีที่ปรุงแต่ง

ก่อให้เกิดพฤติ แรงผลักดัน ทำไปต่าง ๆ นานา จนสร้างสมลักษณะเฉพาะเอาไว้

เก็บพันธุกรรม คือ ผลวิบากไว้ เหมือนเมล็ดมะม่วงแต่ละสายพันธุ์

มีเชื้อที่ทำให้เกิดต่อเนื่องไปคือตัณหา (โลภะ) เหมือนยางเหนียวของเมล็ดพืช

สภาวะอันนี้ เกิด ดับ ต่อเนื่องไป หาเบื้องต้นและที่สุดมิได้

สภาวะนี้ มีมากมาย ในวัฏฏะสงสารอันยาวนาน



สภาวะนี้ สามารถพัฒนาได้ให้ดียิ่งขึ้นอีก

มีผู้เบื่อหน่ายความสุขทางประสาทสัมผัสทั้ง ๕ แสวงหาความสุขแต่ทางใจ

ฝึกฝนให้เกิดแต่สิ่งที่ปรุงแต่งที่ดี ๆ (โสภณเจตสิก)สะกดข่มสภาวะไม่ดี คือตัณหาให้นิ่งเงียบไป

เหมือนเมล็ดมะม่วงที่ถูกแช่แข็งไว้

ยางเหนียวในเมล็ดพันธ์ไม่อยู่ในภาวะที่จะงอกงามได้ พันธุกรรมก็ชะงักไปชั่วคราว

มีความผ่องใส คล้ายแก้วน้ำที่ใสเพราะตะกอนนอนก้น

ตราบนานแสนนาน จนผู้ที่ถึงสภาวะนี้ จะรู้สึกว่าเป็นอมตะ

ลักษณะนี้ มีมาก่อนพระพุทธเจ้าตรัสรู้

มีอยู่แบบนี้ เป็นมาอย่างนี้ นานแสนนาน จนคิดว่า สภาวะนี้ ถึงที่สุดแล้ว




แต่ ในที่สุด

เมื่อพระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้

สภาวะนี้สามารถพัฒนาได้อีก

ตัณหา คือ ยางเหนียวสามารถถอนทิ้งได้โดยสิ้นเชิง โดยไม่ต้องแช่แข็ง

พันธุกรรมต่าง ๆ ที่เก็บไว้นานแสนนาน ก็พลอยขาดหายไปด้วย

ไม่มีโอกาสเพาะให้เกิดต่อได้อีก

การเกิดดับต่อเนื่องที่นานแสนนาน ก็หยุดเท่านี้

มอดดับไปคล้ายไฟที่ดับ

รู้ไม่ได้ว่าอยู่ที่ไหน

ไม่มีอะไรให้เรียกขานอีก

............จบ.................



:b53:

โอมฺ มณีปทฺเม หุมฺ


หลวงจีนงมงาย

:b51: :b51: :b51:


แก้ไขล่าสุดโดย หลวงจีนงมงาย เมื่อ 13 ม.ค. 2010, 01:27, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ม.ค. 2010, 06:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
หลวงจีนงมงาย คันหัวใจ ยากจะเกา
งมงายว่า มันไม่ซับซ้อนปานนั้น
อ่านแล้วสมองพองโต หัวโตเป็นกระบุง ศัพท์แสงมากมาย ลูกหลานงงงวย
ขอพูดแบบชาวบ้าน ตามประสาหลวงจีนงมงาย


หลวงจีนครับ การจะรักษาพระสัทธรรมไว้ได้ ต้องอาศัย พระไตรปิฏก อรรถกถา

การมานั่ง อธิบาย บาลีเอง แบบคุณตรงประเด็น หรือ อาจาริยวาท อัตตโนมติ ที่นำแสดงนั้น ล้วนเป็นการกล่าวบิดเบือนพระธรรมวินัย

หลวงจีนครับ นิกายมหายาน ล้วน ล่มสลายมานานแล้ว ใน จีน เกาหลี ญี่ปุ่น

ที่รักษา พระสัทธรรม ไว้มากที่สุดก็คือ นิกายเถรวาท นี้แหละครับ

และอีกไม่นาน พระพุทธศาสนา นิกายเถรวาท ก็เสื่อมสูญไปเป็นธรรมดา



28195.การยกหลักฐานอ้างพระไตรปิฎก ถ้าไม่ดูอรรถกถา มีโอกาสผิดพลาด
viewtopic.php?f=2&t=28195&start=30

อ้างคำพูด:
สัตว์ที่ได้ฟังธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศไว้ มีเป็นส่วนน้อย
สัตว์ที่ไม่ได้ฟังธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศไว้ มากกว่าโดยแท้
สัตว์ที่ได้ฟังธรรมแล้วทรงจำไว้ได้ มีเป็นส่วนน้อย สัตว์ที่ได้ฟังธรรมแล้วทรงจำไว้ไม่ได้ มากกว่าโดยแท้ สัตว์ที่ไตร่ตรองอรรถแห่งธรรมที่ตนทรงจำไว้ได้ มีเป็น
ส่วนน้อย สัตว์ที่ไม่ไตร่ตรองอรรถแห่งธรรมที่ตนทรงจำไว้ได้ มากกว่าโดยแท้
สัตว์ที่รู้ทั่วถึงอรรถ รู้ทั่วถึงธรรมแล้ว ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม มีเป็นส่วนน้อย
สัตว์ที่ไม่รู้ทั่วถึงอรรถ ไม่รู้ทั่วถึงธรรมแล้ว ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม มากกว่าโดยแท้
สัตว์ที่สลดใจในฐานะเป็นที่ตั้งแห่งความสลดใจ มีเป็นส่วนน้อย
สัตว์ที่ไม่สลดใจในฐานะเป็นที่ตั้งแห่งความสลดใจ มากกว่าโดยแท้
สัตว์ที่สลดใจเริ่มตั้งความเพียรโดยแยบคาย มีเป็นส่วนน้อย
สัตว์ที่สลดใจไม่เริ่มตั้งความเพียรโดยแยบคาย มากกว่าโดยแท้

สัตว์ที่กระทำนิพพานให้เป็นอารมณ์แล้วได้สมาธิได้เอกัคคตาจิต มีเป็นส่วนน้อย
สัตว์ที่กระทำนิพพานให้เป็นอารมณ์แล้ว ไม่ได้สมาธิ ไม่ได้เอกัคคตาจิตมากกว่าโดยแท้

----------------------------------------------------

๑๓. สัทธรรมปฏิรูปกสูตร
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v ... agebreak=0




[๕๓๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรกัสสป ข้อนั้นเป็นอย่างนี้คือ
เมื่อหมู่สัตว์เลวลง พระสัทธรรมกำลังเลือนหายไป สิกขาบทจึงมีมากขึ้น ภิกษุที่
ตั้งอยู่ในพระอรหัตผลจึงน้อยเข้า สัทธรรมปฏิรูปยังไม่เกิดขึ้นในโลกตราบใด
ตราบนั้นพระสัทธรรมก็ยังไม่เลือนหายไป และสัทธรรมปฏิรูปเกิดขึ้นในโลกเมื่อ
ใด เมื่อนั้นพระสัทธรรมจึงเลือนหายไป ทองเทียมยังไม่เกิดขึ้นในโลก ตราบใด
ตราบนั้นทองคำธรรมชาติก็ยังไม่หายไป และเมื่อทองเทียมเกิดขึ้น ทองคำธรรม-
*ชาติจึงหายไป ฉันใด พระสัทธรรมก็ฉันนั้น สัทธรรมปฏิรูปยังไม่เกิดขึ้นในโลก
ตราบใด ตราบนั้นพระสัทธรรมก็ยังไม่เลือนหายไป เมื่อสัทธรรมปฏิรูปเกิดขึ้น
เมื่อใด เมื่อนั้นพระสัทธรรมจึงเลือนหายไป ฯ

---------------------------------------------------------------
๗. อาณิสูตร
[๖๗๒] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่าน
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ... พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ตะโพนชื่ออานกะของพวกกษัตริย์ผู้มีพระนามว่า
ทสารหะได้มีแล้ว เมื่อตะโพนแตก พวกทสารหะได้ตอกลิ่มอื่นลงไป สมัยต่อมา
โครงเก่าของตะโพนชื่ออานกะก็หายไป ยังเหลือแต่โครงลิ่ม แม้ฉันใด ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย พวกภิกษุในอนาคตกาล เมื่อเขากล่าวพระสูตรที่ตถาคตกล่าวแล้ว อันลึก
มีอรรถอันลึก เป็นโลกุตตระ ประกอบด้วยสุญญตธรรม อยู่ จักไม่ปรารถนาฟัง
จักไม่เข้าไปตั้งจิตเพื่อรู้ และจักไม่สำคัญธรรมเหล่านั้น ว่าควรเล่าเรียน ควรศึกษา
แต่ว่าเมื่อเขากล่าวพระสูตรอันนักปราชญ์รจนาไว้ อันนักปราชญ์ร้อยกรองไว้ มี
อักษรอันวิจิตร มีพยัญชนะอันวิจิตร เป็นของภายนอก เป็นสาวกภาษิต อยู่ จัก
ปรารถนาฟังด้วยดี จักเงี่ยโสตลงสดับ จักเข้าไปตั้งไว้ซึ่งจิตเพื่อรู้ และจักสำคัญ
ธรรมเหล่านั้น ว่าควรเรียน ควรศึกษา ฯ
[๖๗๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระสูตรเหล่านั้น ที่ตถาคตกล่าวแล้ว
อันลึก มีอรรถอันลึก เป็นโลกุตตระ ประกอบด้วยสุญญตธรรม จักอันตรธาน
ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะเหตุดังนี้นั้น เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เมื่อเขา
กล่าวพระสูตรที่ตถาคตกล่าวแล้ว อันลึก มีอรรถอันลึก เป็นโลกุตตระ ประกอบ
ด้วยสุญญตธรรม อยู่ พวกเราจักฟังด้วยดี จักเงี่ยโสตลงสดับ จักเข้าไปตั้งไว้ซึ่ง
จิตเพื่อรู้ และจักสำคัญธรรมเหล่านั้นว่า ควรเรียน ควรศึกษา ดังนี้ ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แหละ ฯ
จบสูตรที่ ๗

เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ บรรทัดที่ ๗๐๔๖ - ๗๐๖๖. หน้าที่ ๓๐๒.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v ... agebreak=0


-------------------------------------------------------------------
ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก ฉบับสำหรับประชาชน
http://www.larnbuddhism.com/tripitaka/interest/


ผู้กล่าวตู่พระตถาคต


"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๒ ประเภทเหล่านี้ ย่อมกล่าวตู่ (หาความ) ตถาคต คือบุคคลผู้คิดประทุษร้าย มีโทสะในภายใน ๑ ผู้มีศรัทธา กล่าวตู่ ด้วยถือเอาความหมายผิด (๑๐) ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๒ ประเภทเหล่านี้แล ย่อมกล่าวตู่ตถาคต."

ทุกนิบาต อังคุตตรนิกาย ๒๐/๗๖
------------------------------------------------------

อย่าโกรธเมื่อใครติเตียนพระพุทธเจ้า

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายพึงชี้แจง (คลี่คลาย) เรื่องที่ไม่เป็นจริง ให้เห็นว่าไม่เป็นจริง ในข้อที่คนเหล่าอื่นกล่าวติเตียนเรา ติเตียนพระธรรม หรือติเตียนพระสงฆ์ ให้เขาเห็นว่าข้อนั้นไม่จริง ข้อนั้นไม่แท้ ข้อนั้นไม่มีในพวกเรา ข้อนั้นไม่ปรากฏในพวกเรา ดังนี้."
--------------------------------------------


พระพุทธศาสนาอันตรธาน
http://larndham.net/index.php?act=ST&f=2&t=24207

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ม.ค. 2010, 08:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ม.ค. 2010, 16:32
โพสต์: 323

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


tongue

สาธุ สาธุ สาธุ
งมงาย ไม่เถียง ถูกต้อง ถูกต้อง ถูกต้อง
เพราะงมงาย ยังงมงายอยู่ จึงเขียนแบบงมงาย


แต่ งมงายอยากจะเสริมนิดนึงว่า
การที่จะเป็นหมอยาที่ดีนั้น
ต้องศึกษาจากตำรา ครูบาอาจารย์ให้ครบถ้วนทุกแขนง
รู้ชื่อยา องค์ประกอบยาทุกอย่าง การเข้ายาให้ได้ทุกอย่างก่อน


แต่เวลาให้ยา ไม่ได้ประกอบทุกอย่างที่รู้
ขอให้ประกอบที่พอเหมาะกับโรคนั้น ๆ
คนไข้ เขาไม่อยากรู้ว่ายานั้นประกอบด้วยอะไร
ขอรู้เพียงว่า รักษาโรคเขาได้หรือไม่แค่นั้นเอง



งมงายไม่เคยคิดค้านตำรา
งมงายอ่านตำรา เพียงหาสภาวะที่ท่านสื่อเอาไว้ให้เรา
เอาเนื้อหาที่ถูกอักษรห่อหุ้มไว้ ด้วยภาษาและอักษร


เพียงแค่อยากเอาสิ่งที่เรียกว่า บัญญัติ ออกไปให้มาก เพื่อให้ดูง่าย
บางครั้ง ชื่อที่มากมาย ทำให้คนไม่เข้าใจสภาวะ


เพราะงมงายเข้าใจเพียงว่า สภาวะ คือ สภาวะ
ตำราเป็นวิธีการที่ดีที่สุดอย่างหนึ่ง ที่ท่านผู้รู้สภาวะพยายามสื่อไว้ให้เราอย่างเป็นแบบแผน
เมื่อมีการสื่อกันมากมาย สื่อกันหลายภาษา ว่ากันหลายตำรา
มากเข้า ก็สับสนสำหรับบางคน
แต่เป็นอาหารสมองสำหรับบางกลุ่ม


การยกวาทะอธิบายพุทธธรรมทำให้เกิดนิกายต่าง ๆ มากมาย
มีมานานแล้ว กำลังมี และจะมีอีกมากมาย
ศึกษาดูแล้ว แตกต่างไม่มากมาย อยู่ที่บางเรื่อง บางสภาวะ
ต้องหาจุดตรง จุดแตกต่างให้เจอ
ที่สำคัญเทียบเคียงตามหลักพุทธธรรมให้ดี
เอามาปรุงใช้ให้เป็น


งมงายดีใจกับคุณเฉลิม
การศึกษาตำราเป็นสิ่งที่ดี
ศึกษาให้ถึงที่สุด เป็นประโยชน์มหาศาล
แต่บางครั้ง คิดว่า ศึกษาแล้ววางตำรา เป็นสิ่งที่ดีกว่า


หมอยาที่เรียนจบทุกแขนง คือหมอยาที่เก่ง
แต่ หมอยาที่รักษาคนป่วยได้ คือหมอยาที่เก่งกว่า จ้า



:b53:

โอมฺ มณีปทฺเม หุมฺ


หลวงจีนงมงาย

:b51: :b51: :b51: :b51:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ม.ค. 2010, 09:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 09:55
โพสต์: 405


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณท่านตรงประเด็นที่ตั้งกระทู้นี้ และนำเนื้อหาที่มีประโยชน์มาให้อ่านครับ

เรื่องดังกล่าวนี้ ขออนุญาตร่วมแสดงความคิดเห็นเำพิ่มเติมจากประสบการณ์อย่างกว้างๆ ดังนี้ครับ

คำว่า "จิตเดิมประภัสสร" นี้ แต่หม่นหมองเพราะอุปกิเลสจรมา ตรงนี้ ต้องเ้ข้าใจก่อนว่า "จิต" ในความหมายโดยเฉพาะแล้ว จัดลงขันธ์ห้าจะเป็น "วิญญาณขันธ์" เพียงแต่เมื่อกล่าวโดยทั่วไปจิตจะครอบคลุมถึงหมวดขันธ์อื่่นๆ ด้วย ได้แก่ เวทนา, สัญญา, สังขาร

ทั้งนี้เนื่องจากว่า เวทนา, สัญญา, สังขาร เวลาเกิดก็เกิดมาจากจิต ไม่ว่าจะเป็นจากจิตที่เป็น จักขุวิญญาณ, โสตวิญญาณ, ฆานวิญญาณ, ชิวหาวิญญาณ, กายวิญญาณ, มโนวิญญาณก็ตาม เกิดมาพร้อมกันและดับไปพร้อมกัน...

คำว่ "จิต" อยู่ทุกที่ อยู่ทั่วไปหมดนั้น ตรงนี้ผมเห็นตรงกันกับคำสอนหลวงปู่เทส หมายถึงว่า...

- เมื่อตาเห็นรูป เกิดจักขุวิญญาณ(เห็น) ตรงนั้นเรียกว่าเกิด "จิต" แล้ว จิตเกิดที่ตาแล้ว มีตาเป็นแหล่งเกิด, เป็นที่อาศัย

- เมื่อหูได้ยินเสีย เกิดโสตวิญญาณ(ได้ยิน) ตรงนั้นเรียกว่าเกิด "จิต" แล้ว จิตเกิดที่หูแล้ว มีหูเป็นแหล่งเกิดเป็นที่อาศัย

- เมื่อจมูกได้กลิ่น เกิดฆานวิญญาณ(ได้กลิ่น) ตรงนั้นเรียกว่าเกิด "จิต" แล้ว จิตเกิดที่จมูกแล้ว มีจมูกเป็นแหล่งเกิดเป็นที่อาศัย

- เมื่อลิ้นได้ลิ้มรส เกิดชิวหาวิญญาณ(รู้รส) ตรงนั้นเรียกว่าเกิด "จิต" แล้ว จิตเกิดที่ลิ้นแล้ว มีลิ้นเป็นแหล่งเกิดเป็นที่อาศัย

- เมื่อกายได้โผฏฐัพพะ เกิดกายวิญญาณ(รู้สิ่งต้องกาย) ตรงนั้นเรียกว่าเกิด "จิต" แล้ว จิตเกิดที่กายตรงจุดนั้นที่มีโผฏฐัพพะแล้ว มีกายตรงจุดนั้นที่มีโผฏฐัพพะเป็นแหล่งเกิดเป็นที่อาศัย

- เมื่อเกิดปัญจวิญญาณใดๆ ขึ้นแล้ว หลังจากนั้น จะเกิดผัสสะคือการรับรู้ขึ้น แล้วเกิด เวทนา, สัญญา, สังขารขึ้นตามมา เรียกว่าเกิด "ธรรมารมณ์" เมื่อเกิดธรรมารมณ์ใดๆ ขึ้นแล้ว จะส่งมาที่ใจ(หทัยวัตถุ) ใจจะถูกกระตุ้นให้ทำงาน เมื่อใจทำงาน จะเกิดการกระทบกัน จึงเกิดมโนวิญญาณ(รู้อารมณ์ทางใจ)ขึ้น ตรงนั้นเรียกว่าเกิด "จิต" แล้ว จิตเกิดที่ใจแล้ว มีใจเป็นแหล่งเกิดเป็นที่อาศัย

ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ จึงทำให้เห็นว่าชีวิตทั้งหมดนี้ มีจิตอยู่ทั่วไปหมด เพราะเหตุนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.พ. 2010, 05:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


ได้เสวนา กับ คุณน้องบู ที่ ลานธรรมเสวนา ในประเด็นนี้


จึงขออนุญาตนำมาเสนอเพิ่มในเว็บนี้น่ะครับ



อ้างคำพูด:
1…“ ถ้าจิตเดิมประภัสสรจริง ทำไมอุปกิเลสจึงจรมาล่ะครับ”



ที่ อุปกิเลสจรมา ได้อยู่นั้น เพราะ จิตนั้นยังมีอวิชชาอยู่....

กล่าวคือ วิชชาที่ชื่อว่า อาสวขยักญาณ ยังไม่ปรากฏขึ้น ต่อจิตนั้นๆ...

จิตยังไม่รู้ตามจริงอย่างถึงที่สุด อุปกิเลส จึงยังคงสามารถจรเข้ามาสู่จิตได้อยู่


จุดสำคัญ ที่เคยได้รับทราบมา คือ

ต้อง ไม่แปล คำว่า”ประภัสสร” ซึ่งเป็นสภาพพื้นฐานของจิตเดิม(ไม่ว่าจะจิตของ ปุถุชน เสขะบุคคล) ไปเท่ากันทุกประการ กับคำว่า “บริสุทธิ์ ด้วยสิ้นกิเลสแล้ว”....


เพราะ จิตของปุถุชน และ เสขะบุคคล ถึงแม้นจะมีพื้นฐานของจิตที่ประภัสสรเช่นกันกับจิตพระอรหันต์ แต่ หาใช่ว่า จะปราศจากอวิชชาเหมือนจิตของพระอรหันต์


ด้วยเหตุนี้

จิตของปุถุชน และ เสขะบุคคล จึงเศร้าหมองได้
แต่ จิตพระอรหันต์นั้น ไม่กลับไปเศร้าหมองอีกเลย เพราะเหตุที่จะทำให้จิตเศร้าหมองนั้น ขาดสิ้นไปแล้ว ดุจตาลยอดด้วน



อ้างคำพูด:
2....”การที่อุปกิเลสจรมาได้ ผมคิดว่าจิตไมได้ประภัสสรหรอก แต่จิตต้องมีอวิชสวะอยู่ในจิต เพราะมีอวิชชา อุปกิลสจึงจรมาได้

เมื่อจิตมีอวิชชาจะบอกว่าแต่เดิมจิตประภัสสรได้อย่างไรครับ

ถ้าประภัสสรจริง ก็ต้องไม่มีอวิชชาสวะ นี่นา



น้องบู กำลังแปล คำว่า “ประภัสสร” ไป เท่ากันทุกประการกับคำว่า “บริสุทธิ์ ด้วยสิ้นกิเลสแล้ว(ปราศจากอวิชชาอย่างสิ้นเชิง)”อยู่ครับ...
น้องบูจึงเข้าใจเช่นนั้น



เสนออ่าน ที่ หลวงพ่อ พุธ ฐานิโย ท่านกล่าวไว้ตรงจุดนี้ ดีกว่า น่ะครับ


“ ปภัสสรมิทัง ภิกขเว จิตตัง

โดยธรรมชาติของจิตดั้งเดิม เป็น ธรรมชาติประภัสสร

แต่ อย่าไปเข้าใจว่า จิตประภัสสร คือ จิตหมดกิเลสถึงพระนิพพาน ...ไม่ใช่อย่างนั้น

มันเป็นจิตสะอาด.... เพียงแค่สะอาด ไม่ถึงความบริสุทธิ์โดยสิ้นเชิง

เหมือนกับผ้าสีขาว เรามองดูแล้วมันเป็นผ้าสะอาดเพราะมันเป็นสีขาว ไม่ถูกต้องด้วยฝุ่นละอองหรือสี มันก็ยังทรงเป็นผ้าสีขาวของมันอยู่อย่างนั้น จิตของคนเราก็เหมือนกัน ดั้งเดิมก็เป็นจิตที่เป็นสีขาว แต่ในบางครั้งจะมัวหมองขุ่นมัวเพราะอารมณ์ที่ผ่านเข้ามาทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ไปปรุงแต่งจิต ให้มีความยินดี ยินร้าย จึงเกิดความมัวหมอง เกิดความเศร้า เกิดความไม่สะอาด แล้วก็แสดงปฏิกิริยาออกไป ยินดีบ้าง ยินร้ายบ้าง แล้วก็เป็นทุกข์....”


http://www.thaniyo.c...-09-16-10-04-05



>>>>>>>>>






ขออนุญาต

สรุป สาระการสนทนา ในลักษณะ คห.ส่วนตัวน่ะครับ


จิตของปุถุชน และ เสขะบุึคคล โดยพื้นฐานนั้น ประภัสสร ก็จริง .... แต่ เศร้าหมองได้อยู่ เพราะ จิตนั้นๆยังคงมีอวิชชาเหนี่ยวนำให้อุปกิเลสจรมา ได้อยู่

จิตของพระอรหันต์ ประภัสสรแบบสิ้นเชิง ไม่มีการกลับไปเศร้าหมองได้อีกเลย เพราะ จิตนั้นๆปราศจากอวิชชาอย่างเด็ดขาด แบบตาลยอดด้วน ที่ไม่สามารถกลับมากำเริบได้อีก




ยินดีที่ได้สนทนาครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.พ. 2010, 07:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


วิจัยเกี่ยวกับเรื่อง "จิตเดิม" ( จิตว่าง )
http://thaimisc.pukpik.com/freewebboard ... opic=10128



"ปภสฺสรมิทํ ภิกฺขเว จิตฺตํ ตญฺจ โข อาคนฺตุเกหิ อุปกฺกิเลเสหิ วิปฺปมุตฺติ" ความว่า "ภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ประภัสสร ก็จิตนั้นแล หลุดพ้นแล้วจากอุปกิเลสทั้งหลายที่จรมา"


ในเอกนิบาตอังคุตตรนิกาย อรรถกถา ภาค ๑ หน้า ๔๕ ข้อ ๕๐ ท่านแก้ว่า จิตก็คือ ภวังคจิตนั่นเอง


พระดำรัสที่ว่า "หลุดพ้นแล้ว" หมายถึง เป็นจิตที่หลุดพ้นจากอุปกิเลสทั้งหลายที่จรมา ซึ่งเกิดขึ้นด้วยอำนาจของกุศลที่สัมปยุตด้วยญาณมีเหตุ ๓ เป็นต้น ได้รับการสรรเสริญ มีชื่อเสียง สืบเนื่องมาจากบุตรเป็นต้น ซึ่งเป็นผู้มีศีลสมบูรณ์ด้วยอาจาระ ก็เพราะเหตุที่บุตรเป็นต้นของตนเหล่านั้นั่นแหละ เป็นคนดีงาม ด้วยเหตุที่ได้รับการศึกษาได้รับโอวาทและคำพร่ำสอน ฉันใด


ภวังคจิตดวงนี้ที่พระมหามุนีตรัสว่า "หลุดพ้นแล้วจากอุปกิเลสที่จรมา" ก็ด้วยอำนาจแห่งกุศลจิต ซึ่งเกิดขึ้นในขณะของชวนะฉันนั้นฯ

ตามที่ได้ยกข่อความจากอาคตสถานมาแสดงเทียบเคียงให้เห็นดังนี้แล้ว ผู้อ่านก็พอจะทราบได้ว่าอะไรเป็นอะไร


แต่ขอให้ทัศนะไว้นิดหนึ่งว่า ในฐานะที่เราเป็นชาวพุทธ บางครั้งถึงกับอุทิศเพศบวชมาเป็นเวลานานก็มี ขอร้องให้พากันเชื่อพระบาลีและอรรถกถาอันเป็นหลักปริยัติฝ่ายเถรวาทเถิด เพราะจะเป็นปัจจัยให้เกิดทิฐิวิสุทธิ คือความเห็นที่ถูกต้องในส่วนของพระปริยัติศาสนาขึ้นได้


แม้จะเกิดศรัทธาให้ลงมือปฏิบัติ ก็เชื่อเหลือเกินว่าต้องไม่ผิดแน่ เพราะเมื่อปริติถูกก็เป็นเหตุให้เกิดปฏิบัติถูก อันเป็นเสมือนเงาตามตัวอยู่แล้ว แต่ถ้าไม่ยอมเชื่อโดยยกตัวเสมอกับอรรถกถาเสียแล้วก็เป็นเรื่องที่ช่วยไม่ได้

-------------------------------------------------------



ฝากถึงทุกท่าน ด้วยนะครับ การวินิจฉัย วิจัยธรรม อธิบายธรรมต่าง ๆ ควรระมัดระวังด้วย

ควรจะอ้างหลักฐาน จากพระไตรปิฏก อรรถกถา คัมภีร์ ของเถรวาท ให้มาก

ไม่เช่นนั้น อาจจะผิดพลาดได้ ( ดังข้อคิดจากพระครูศรีโชติญาณ )


คุณตรงประเด็น เป็นผู้หนึ่ง ที่มักอธิบายพระไตรปิฏกเอง โดยนำ อัตตโนมติของอาจารย์ตนมาเป็นหลัก โดยไม่เชื่อถือใน อรรถกถา

ในบางเรื่องถึงกับหัวเราะเยาะ เช่น เรื่อง หทยวัตถุ ที่เป็นที่อาศัยของจิต เป็นต้น

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.พ. 2010, 09:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ฝากถึงทุกท่าน ด้วยนะครับ การวินิจฉัย วิจัยธรรม อธิบายธรรมต่าง ๆ ควรระมัดระวังด้วย

ควรจะอ้างหลักฐาน จากพระไตรปิฏก อรรถกถา คัมภีร์ ของเถรวาท ให้มาก

ไม่เช่นนั้น อาจจะผิดพลาดได้ (ดังข้อคิดจากพระครูศรีโชติญาณ )

คุณตรงประเด็น เป็นผู้หนึ่ง ที่มักอธิบายพระไตรปิฏกเอง โดยนำ อัตตโนมติของอาจารย์ตนมาเป็นหลัก

โดยไม่เชื่อถือใน อรรถกถา

ในบางเรื่องถึงกับหัวเราะเยาะ เช่น เรื่อง หทยวัตถุ ที่เป็นที่อาศัยของจิต เป็นต้น


แล้วพระครูศรีโชติญาณอยู่วัดไหนครับคุณเฉลิมศักดิ์

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 31 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร