วันเวลาปัจจุบัน 05 พ.ค. 2025, 17:28  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 33 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ม.ค. 2010, 22:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีครับ


ฌาน

ฌานเป็นขันธ์อย่างหนึ่ง
ฌานเป็นกุศลจิต หรือ กุศลวิบากจิตที่สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย
ฌานเป็นชื่อเรียกระดับชั้นของสมาธิ

สมาธิเป็นชื่อรวม
ฌานเป็นชื่อชั้นหรือระดับขั้นของสมาธิ
เหมือนนักเรียนเป็นชื่อรวม
อนุบาล 1-2-3 ประถม 1-2-3-4-5-6 มัธยม 1-2-3-4-5-6 เป็นชื่อชั้น

สมาธิจึงเป็นชื่อรวมเหมือนคำว่านักเรียน
ฌานเป็นชื่อชั้นเหมือนคำว่า นักเรียนชั้น อนุบาล 1,..ฯลฯ...,มัธยม 6



ฌานได้แก่โลกียะฌาน และโลกุตตระฌาน
ฌานได้แก่อารัมณูปณิชฌาน และลักขณูปณิชฌาน
อารัมณูปณิชฌาน ได้แก่ฌานสมาบัติ 8 หรือ รูปฌาน 4 อรูปฌาน 4

ลักขณูปณิชฌาน คือที่ชื่อว่า สมาธิ ได้แก่ สุญญตสมาธิ อนิมิตตสมาธิ อัปปณิตสมาธิ
ที่ชื่อว่า ฌาน ได้แก่ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน และจตุตถฌาน ในวิปัสสนาจิต มัคคจิต และผลจิต

...ฯลฯ...



ขณิกสมาธิ ไม่มีในพระพุทธศาสนาครับ เพราะไม่มีปรากฏในพระไตรปิฎกว่าเป็นจิตชนิดใด ถ้าไม่ใช่สมาธิระดับฌาน เป็นจิตที่มีนิวรณ์ 5 ครอบงำ ไม่เรียกว่าสมาธิครับ เรียกว่ากามาวจรจิตครับ



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ม.ค. 2010, 22:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีครับ



ญาณ


ญาณได้แก่ญาณทัสสนะและวิมุติญาณทัสสนะ
ญาณได้แก่ สัมมาสัมพุทโธญาณ ปัจเจกโพธิญาณ สาวกญาณ...ปฏิสัมภิทาญาณ อภิญญา 6 วิชชา 3 อาสวักขยญาณ และอภิญญา 5


ดวงตา ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ความหมายเดียวกันครับ




เจริญในธรรมครับ


แก้ไขล่าสุดโดย มหาราชันย์ เมื่อ 03 ม.ค. 2010, 09:15, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ม.ค. 2010, 23:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีครับ



สมถะ คือความตั้งอยู่แห่งจิต หรือความดำรงอยู่แห่งจิต หรือสมาธินั่นเองครับ
วิปัสสนา คือปัญญาเครื่องทำลายกิเลสครับ

หรือสรุปง่าย ๆ สั้น ๆ สมถะคือสมาธิ วิปัสสนาคือปัญญาเครื่องทำลายกิเลสครับ
สมถะและวิปัสสนาเป็นองค์ธรรมปที่เกิดร่วมเกิดพร้อมกับองค์ธรรมอื่น ๆ ในจิต


สมถะนั้นมีในจิตทุกชนิดครับ ซึ่งสมถะมีความแตกต่างกันแบ่งได้เป็น 5 สภาวะธรรมครับ
1.สมถะในอกุศลจิต คือสมถะชนิดมิจฉาสมาธิครับ เป็นสมถะที่ประกอบด้วยราคะหรือโลภะ หรือโทสะ หรือโมหะครับ
2.สมถะในกามาวจรกุศลจิต คือสมถะชนิดสัมมาสมาธิ ที่ประกอบด้วยกามสัญญา ละโลภะ ละโทสะ ละโมหะอย่างหยาบได้
3.สมถะในรูปาวจรกุศลจิต คือสมถะชนิดสัมมาสมาธิ ที่ประกอบด้วยรูปสัญญา
4.สมถะในอรูปาวจรกุศลจิต คือสมถะชนิดสัมมาสมาธิ ที่ประกอบไปด้วยอรูปสัญญา
5.สมถะในโลกุตตระกุศลจิต คือสมถะชนิดสัมมาสมาธิ ที่เป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ของโลกุตตระกุศลจิต


ส่วนวิปัสสนามีเฉพาะในกุศลจิตเท่านั้นครับ องค์ธรรมที่ชื่อวิปัสสนาไม่มีในอกุศลจิตครับ องค์ธรรมที่ชื่อวิปัสสนา จึงมี 4 สภาวะธรรมครับ
1.วิปัสสนาในกามาวจรกุศลจิต คือปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ที่ประกอบด้วยกามสัญญา ทำหน้าที่ละโลภะ ละโทสะ ละโมหะอย่างหยาบได้

2.วิปัสสนาในรูปาวจรกุศลจิต คือปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ที่ประกอบด้วยรูปสัญญา วิปัสสนาทำหน้าที่ละกามสัญญา และนิวรณ์ 5 ได้
2.1.วิปัสสนาในรูปาวจรกุศลจิต คือปัญญาเครื่องทำลายกิเลสในปฐมฌาน ที่ประกอบด้วยรูปสัญญา วิปัสสนาทำหน้าที่ละกามสัญญา และนิวรณ์ 5 ได้
2.2.วิปัสสนาในรูปาวจรกุศลจิต คือปัญญาเครื่องทำลายกิเลสในทุติยฌาน ที่ประกอบด้วยรูปสัญญา วิปัสสนาทำหน้าที่ละกามสัญญา ละนิวรณ์ 5 และละวิตก ละวิจารได้
2.3.วิปัสสนาในรูปาวจรกุศลจิต คือปัญญาเครื่องทำลายกิเลสในตติยฌาน ที่ประกอบด้วยรูปสัญญา วิปัสสนาทำหน้าที่ละกามสัญญา ละนิวรณ์ 5 ละวิตก ละวิจาร และละปีติได้
2.4.วิปัสสนาในรูปาวจรกุศลจิต คือปัญญาเครื่องทำลายกิเลสในจตุตถฌาน ที่ประกอบด้วยรูปสัญญา วิปัสสนาทำหน้าที่ละกามสัญญา ละนิวรณ์ 5 ละวิตก ละวิจาร ละปีติ และละสุขละทุกข์เสียได้

3.วิปัสสนาใน อรูปาวจรกุศลจิต คือปัญญาเครื่องทำลายกิเลสในจตุตถฌาน (ที่ใช้คำว่าจตุตถฌานเพราะมีอุเบกขาและเอกคตารมณ์เหมือนในจตุตถฌานครับ) ที่ประกอบด้วย อรูปสัญญา วิปัสสนาทำหน้าที่ละกามสัญญา ละรูปสัญญา ละนิวรณ์ 5 ละวิตก ละวิจาร ละปีติ และละสุขละทุกข์เสียได้
3.1.วิปัสสนาใน อรูปาวจรกุศลจิต คือปัญญาเครื่องทำลายกิเลสในจตุตถฌาน ที่ประกอบด้วย อากาสานัญจายตนสัญญา วิปัสสนาทำหน้าที่ละกามสัญญา ละรูปสัญญา ละปฏิฆะสัญญา ละนานัตตสัญญา ละนิวรณ์ 5 ละวิตก ละวิจาร ละปีติ และละสุขละทุกข์เสียได้

3.2.วิปัสสนาใน อรูปาวจรกุศลจิต คือปัญญาเครื่องทำลายกิเลสในจตุตถฌาน ที่ประกอบด้วย วิญญานัญจายตนสัญญา วิปัสสนาทำหน้าที่ละกามสัญญา ละรูปสัญญา ละปฏิฆะสัญญา ละนานัตตสัญญา ละอากาสานัญจายตนสัญญา ละนิวรณ์ 5 ละวิตก ละวิจาร ละปีติ และละสุขละทุกข์เสียได้

3.3.วิปัสสนาใน อรูปาวจรกุศลจิต คือปัญญาเครื่องทำลายกิเลสในจตุตถฌาน ที่ประกอบด้วย อากิญจัญญายตนสัญญา วิปัสสนาทำหน้าที่ละกามสัญญา ละรูปสัญญา ละปฏิฆะสัญญา ละนานัตตสัญญา ละอากาสานัญจายตนสัญญา ละวิญญานัญจายตนสัญญา ละนิวรณ์ 5 ละวิตก ละวิจาร ละปีติ และละสุขละทุกข์เสียได้

3.4.วิปัสสนาใน อรูปาวจรกุศลจิต คือปัญญาเครื่องทำลายกิเลสในจตุตถฌาน ที่ประกอบด้วย เนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา วิปัสสนาทำหน้าที่ละกามสัญญา ละรูปสัญญา ละปฏิฆะสัญญา ละนานัตตสัญญา ละอากาสานัญจายตนสัญญา ละวิญญานัญจายตนสัญญา ละอากิญจัญญายตนสัญญา ละนิวรณ์ 5 ละวิตก ละวิจาร ละปีติ และละสุขละทุกข์เสียได้

4.วิปัสสนาใน โลกุตตระกุศลจิตหรืออริยมัคคจิต 4 คือปัญญาเครื่องทำลายกิเลสในโสดาปัตติมัคค สกทาคามีมัคค อนาคามีมัคค และในอรหัตตมัคค ที่ประกอบด้วย ปัญญาเครื่องทำลายกิเลสสังโยชน์ต่าง ๆ วิปัสสนาทำหน้าที่ละกามสัญญา ละรูปสัญญา ละอรูปสัญญา ละปฏิฆะสัญญา ละนานัตตสัญญา ละนิวรณ์ 5 และละกิเลสสังโยชน์ต่าง ๆ ได้

4.1.วิปัสสนาใน โสดาปัตติมัคคจิต คือปัญญาเครื่องทำลายกิเลสในโสดาปัตติมัคค ที่ประกอบด้วย ปัญญาเครื่องทำลายกิเลสสังโยชน์ต่าง ๆ วิปัสสนาทำหน้าที่ละกามสัญญา ละรูปสัญญา ละอรูปสัญญา ละนานัตตสัญญา ละนิวรณ์ 5 ละสักกายะทิฏฐิ ละวิจิกิจฉา และละสีลพตปรามาสได้

4.2.วิปัสสนาใน สกทาคามีมัคคจิต คือปัญญาเครื่องทำลายกิเลสในโลกุตตระกุศลจิต ที่ประกอบด้วย ปัญญาเครื่องทำลายกิเลสสังโยชน์ต่าง ๆ วิปัสสนาทำหน้าที่ละกามสัญญา ละรูปสัญญา ละอรูปสัญญา ละนานัตตสัญญา ละนิวรณ์ 5 ละสักกายะทิฏฐิ ละวิจิกิจฉา ละสีลพตปรามาส และทำลายกามราคะและพยาบาทให้บางเบาได้

4.3.วิปัสสนาใน อนาคามีมัคคจิต คือปัญญาเครื่องทำลายกิเลสในโลกุตตระกุศลจิต ที่ประกอบด้วย ปัญญาเครื่องทำลายกิเลสสังโยชน์ต่าง ๆ วิปัสสนาทำหน้าที่ละกามสัญญา ละรูปสัญญา ละอรูปสัญญา ละปฏิฆะสัญญา ละนานัตตสัญญา ละนิวรณ์ 5 ละสักกายะทิฏฐิ ละวิจิกิจฉา ละสีลพตปรามาส ละกามราคะและพยาบาทได้หมดสิ้น

4.4.วิปัสสนาใน อรหัตตมัคคมัคคจิต คือปัญญาเครื่องทำลายกิเลสในโลกุตตระกุศลจิต ที่ประกอบด้วยปัญญาเครื่องทำลายกิเลสสังโยชน์ต่าง ๆ วิปัสสนาทำหน้าที่ละกามสัญญา ละรูปสัญญา ละอรูปสัญญา ละปฏิฆะสัญญา ละนานัตตสัญญา ละนิวรณ์ 5 ละสักกายะทิฏฐิ ละวิจิกิจฉา ละสีลพตปรามาส ละกามราคะละพยาบาท ละรูปราคะ ละอรูปราคะ ละมานะ ละอุทธัจจะ และละอวิชชาได้หมดสิ้น


องค์ธรรมที่ชื่อสมถะและวิปัสสนาในกุศลจิต คือกามาวจรกุศลจิต รูปาวจรกุศลจิต อรูปาวจรกุศลจิต และโลกุตตระกุศลจิต เหล่านี้ เกิดร่วมเกิดพร้อมไปด้วยกันเสมอไม่แยกจากกันครับ



ความรู้เรื่องสมถะและวิปัสสนาพอจะสรุปได้โดยย่ออย่างนี้ครับ



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ม.ค. 2010, 23:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 31 ธ.ค. 2009, 00:05
โพสต์: 51

ชื่อเล่น:
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




คำอธิบาย: อนุโมทนา
59884516_270e78760c.jpg
59884516_270e78760c.jpg [ 105.08 KiB | เปิดดู 4880 ครั้ง ]
:b8: :b8: :b8: :b8: :b8: [attachment=0]59884516_270e78760c.jpg[/attachment]
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 14:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ธ.ค. 2009, 22:46
โพสต์: 167

แนวปฏิบัติ: buddhism
อายุ: 0
ที่อยู่: nontaburi

 ข้อมูลส่วนตัว


cool

ขออนุญาติเพิ่มเติมเรื่อง ขณิกสมาธิ

ให้ดูอาการจิต สภาวจิต
ศัพท์เพียงแค่เป็นบัญญัติให้เรียกง่ายต่อการจำได้หมายรู้ตรงกัน


ขณิก แปละว่า ชั่วขณะ ไม่ยาว สั้น ๆ

ขณิกสมาธิ คือ สมาธิ ที่ไม่ตั่งมั่นมากนัก
เมื่อโยคี เริ่มปฏิบัติ เริ่มบริกรรมภาวนา
เมื่อบริกรรมภาวนาไปเรื่อย
จิตเริ่มสงบติดต่อ ยาวบ้าง สั้นบ้าง เหมือนเอาไม้ขีดลงไปในดิน
เป็นรอยยาวบ้าง รอยสั้นบ้าง ขาดบ้าง ต่อ กันบ้าง
อาการในขณะนี้เรียกว่า สมาธิชั่วขณะ (ขณิกสมาธิ)
นิมิตที่เกิดตอนนี้ เรียก บริกรรมนิมิต


อาการอย่างนี้ ท่านให้เรียกว่า ขณิกสมาธิ
ใครจะเรียกยังไงก็ได้


คนที่แรกเริ่มทุกคน ต้องผ่านอาการแบบนี้ก่อนครับ
จิต ที่เกิดตอนนี้ เป็นมหากุศลจิต ที่เกิดติดต่อกันเป็นช่วง ๆ
ถ้าของพระอริยะเจ้า เป็นมหากิริยากุศล

(ตามอภิธรรมนัย คือ มหากุศลญาณสัมปยุตจิต ๔ มหากิริยาญาณสัมปยุตจิต ๔)

อุปจารสมาธิ

(อุปจาร แปลว่า เฉียด เช่น อุปจารคาม ชายบ้าน, อุปจารสมาธิ อุปจารฌาน เฉียดฌาน)

บริกรรมภาวนา เมื่อเกิดอยู่เรื่อย ๆ และทวียิ่งขึ้นๆ มาตามลำดับ
เกือบใกล้ที่ มหัคตฌานจะเกิด
เหมือนรอยไม้ที่ขีดลงบนดิน ยาวติดต่อกันยิ่งขึ้น แทบไม่มีรอยขาด
บริกรรมภาวนา จะเปลี่ยนเป็น อุปจารภาวนา


นิมิตตอนนี้ เรียก อุคคหนิมิต
มหากุศลจิต มหากิริยาจิตที่เกิดขณะนี้ เรียก อุปจารสมาธิ


(ตามอภิธรรมนัยยังเป็น มหากุศล ญาณสัมปยุตจิต ๔ มหากิริยาญาณสัมปยุตจิต ๔)

อัปปนาสมาธิ

อัปปนา แปลว่า แน่วแน่ ตั้งมั่น
เมื่ออุปจารภาวนา เกิดติดต่อกันตลอดไป จะเปลี่ยนเป็น อัปปนาภาวนา
เหมือน รอยขีดบนดินที่ติดต่อกันยาว ไม่มีขาด
อัปปนาสมาธิก็เกิดขึ้น


เริ่มแต่ปฐมฌาน อันมีองค์ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา ก็เกิดขึ้น
จิตตอนนี้ เป็นรูปาวจรกุศล และเป็นรูปาวจรกุศลกิริยา สำหรับพระอริยะเจ้า ครับ


ทั้งหมดนี้ เป็นสภาวะ อาการ ที่ท่านสื่อออกมาทางบัญญัติให้ทราบกัน
จะเรียกอะไรก็ได้


แต่อาการเหล่านี้ ยังคงมีเสมอสำหรับผู้ปฏิบัติ
ที่จะข้ามไม่ได้เลย


อาจจะเกิดยาว หรือ ชั่วขณะจิต แต่ก็ต้องเกิด
เพราะแม้ผู้ชำนาญเข้าฌาน วิถีจิตแรกยังต้องเป็นมหากุศลก่อน รูปาวจรกุศลจิตเกิด


สภาวะเหล่านี้ มีทั่วไปสำหรับผู้ปฎิบัติ ผู้บำเพ็ญฌาน
ไม่จำกัดว่าใน หรือ นอกพระพุทธศาสนา


(ยกเว้น มหากิริยากุศล และ รูปาวจรกุศล ของพระอริยะเจ้า ในพระพุทธศาสนาเท่านั้น )


สาธุ สาธุ สาธุ

smiley


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 17:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ไวโรจนมุเนนทระ เขียน:
ขออนุญาติเพิ่มเติมเรื่อง ขณิกสมาธิ

ให้ดูอาการจิต สภาวจิต
ศัพท์เพียงแค่เป็นบัญญัติให้เรียกง่ายต่อการจำได้หมายรู้ตรงกัน

ขณิก แปละว่า ชั่วขณะ ไม่ยาว สั้น ๆ

ขณิกสมาธิ คือ สมาธิ ที่ไม่ตั่งมั่นมากนัก
เมื่อโยคี เริ่มปฏิบัติ เริ่มบริกรรมภาวนา
เมื่อบริกรรมภาวนาไปเรื่อย
จิตเริ่มสงบติดต่อ ยาวบ้าง สั้นบ้าง เหมือนเอาไม้ขีดลงไปในดิน
เป็นรอยยาวบ้าง รอยสั้นบ้าง ขาดบ้าง ต่อ กันบ้าง
อาการในขณะนี้เรียกว่า สมาธิชั่วขณะ (ขณิกสมาธิ)
นิมิตที่เกิดตอนนี้ เรียก บริกรรมนิมิต

อาการอย่างนี้ ท่านให้เรียกว่า ขณิกสมาธิ
ใครจะเรียกยังไงก็ได้



สวัสดีครับคุณไวโรจนมุเนนทระ


ธรรมะเป็นอกาลิโกครับ ไม่เนื่องด้วยเวลาครับ
รูปาวจรกุศลจิตเกิดขึ้นเพียงดวงเดียวแล้วดับไป แล้วตามด้วยรูปาจรกุศลวิบากสืบต่อไป
อรูปาวจรกุศลจิตเกิดขึ้นเพียงดวงเดียวแล้วดับไป แล้วตามด้วยรูปาจรกุศลวิบากสืบต่อไป
โสดาปัตติมัคคจิตเกิดขึ้นเพียงดวงเดียวแล้วดับไป แล้วตามด้วยโสดาปัตติผลจิตสืบต่อไป
สกทาคามีมัคคจิตเกิดขึ้นเพียงดวงเดียวแล้วดับไป แล้วตามด้วยสกทาคามีผลจิตสืบต่อไป
อนาคามีมัคคจิตเกิดขึ้นเพียงดวงเดียวแล้วดับไป แล้วตามด้วยอนาคามีผลจิตสืบต่อไป
อรหัตตมัคคจิตเกิดขึ้นเพียงดวงเดียวแล้วดับไป แล้วตามด้วยอรหัตตผลจิตสืบต่อไป


จะเห็นได้ว่ากุศลจิตเหล่านี้เกิดเพียงดวงเดียวในชั่วระยะเวลาสั้น ๆ สั้นอย่างยิ่ง
แต่เราเรียกกุศลจิตเหล่านี้ว่า อัปนาสมาธิ ไม่เรียกว่าขณิกสมาธิ



โลกียะฌาน และโลกุตตระฌาน คือ กุศลจิตหรือกุศลวิบากจิต ที่สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย
ของเพียงจิตมีคุณสมบัติอย่างนี้แม้เกิดเพียงดวงเดียวในชั่วระยะเวลาสั้น ๆ ขณะจิตเดียวก็เรียกว่า ฌานแล้วครับ เป็นอัปณาสมาธิจิตแล้วครับ


ความรู้เรื่องขณิกสมาธิที่คุณไวโรจนมุเนนทระยกมาจึงไม่เป็นจริง
สมาธิจิตไม่มีการแบ่งด้วยกาลเวลาครับ
จึงกล่าวได้ว่าคุณไวโรจนมุเนนทระรู้มาผิด เข้าใจมาผิดครับ
เพราะหากแบ่งคุณภาพจิตตามกาลเวลาแล้ว กุศลจิตที่เป็นเหตุทั้งหลายจะกลายเป็นขณิกสมาธิไปด้วย


ดังนั้นจิตจึงแบ่งเป็น
1.อกุศลจิต อกุศลวิบากจิต
2.กามาจรกุศลจิต กามาวจรกุศลวิบากจิต
3.รูปาวจรกุศลจิต รูปาจรกุศลวิบากจิต
4.อรูปาวจรกุศลจิต อรูปาจรกุศลวิบากจิต
5.โสดาปัตตมัคคจิต โสดาปัตตผลจิต
6.สกทาคามีมัคคจิต สกทาคามีผลจิต
7.อนาคามีมัคคจิต อนาคามีผลจิต
8.อรหัตตมัคคจิต อรหัตตผลจิต

จิตกามาวจรคือ 1.อกุศลจิต อกุศลวิบากจิต และ2.กามาจรกุศลจิต กามาวจรกุศลวิบากจิต
แม้จะตั้งอยู่ได้นานสักปานใดก็ตาม ไม่เรียกว่าอัปนาสมาธิครับ
ถ้าเป็นอัปปนาสมาธิจิตตามกาลเวลาจริงตามกาลเวลาที่ที่คุณไวโรจนมุเนนทระกล่าวอ้าง
มนุษย์ทุกคนจะมีอัปปนาสมาธิทุกคน เพราะ อกุศลวิบากจิต และกามาวจรกุศลวิบากจิต ตั้งอยู่นานมากในมนุษย์ทุกคน

นิยามศัพท์ที่คุณไวโรจนมุเนนทระยกมา จึงกล่าวว่าคุณรู้มาผิด เข้าใจมาผิดครับ



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ม.ค. 2010, 00:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ธ.ค. 2009, 22:46
โพสต์: 167

แนวปฏิบัติ: buddhism
อายุ: 0
ที่อยู่: nontaburi

 ข้อมูลส่วนตัว


tongue

เรียนคุณมหาราชันย์

ก่อนอื่น ผมต้องขอโทษนะครับ ไม่ได้ตั้งใจจะแย้ง พอดีเคยเรียนจบบาลี และ พระอภิธรรม ๙ ปริเฉท พอเคยมีประสบการณ์ปฏิบัติและสอนวิปัสสนาเล็กน้อย เจอบทความคุณมหาราชันย์ที่ยกพระพุทธพจน์มานำเสนอมาก ถือว่าเป็นผู้มีความรู้เรื่องพระศาสนาเยอะ

เนื้อหาต่อไปนี้ผมนำมาจาก หนังสือ ชื่อ อภิธรรมัตถสังคหะ และปรมัตถทีปนี
ผมขออนุญาต อ้างอิง ๒ เล่มนี้นะครับ ไม่เชื่อก็ได้


อ้างคำพูด:
ข้อความว่า
รูปาวจรกุศลจิตเกิดขึ้นเพียงดวงเดียวแล้วดับไป แล้วตามด้วยรูปาจรกุศลวิบากสืบต่อไป
อรูปาวจรกุศลจิตเกิดขึ้นเพียงดวงเดียวแล้วดับไป แล้วตามด้วยรูปาจรกุศลวิบากสืบต่อไป


ตรงนี้ควรแก้ไขครับ

ที่ถูก วิถีแห่งรูปาวจรกุศลจิต และอรูปาวจรกุศลจิต เกิดได้ไม่สิ้นสุดครับ เช่นในขณะเข้าฌานนาน

ท่านอธิบายไว้ว่า

ในกามาวจรกุศลจิต มีชวนะจิตเกิดได้สูงสุดเพียง ๗ ขณะ
แต่ชวนะจิตในอัปปนาวิถี เกิดได้ตั้งแต่ ๑ ขณะขึ้นไป จน มากมายถึงนับประมาณไม่ได้
( โลกียอัปปนาจิต ได้แก่ มหัคคตจิตทั้ง ๒๗ ดวง
แต่โลกียอัปปนาวิถี หรือโลกียอัปปนาชวนะ ได้แก่มหัคคตชวนจิต ๑๘ ดวง คือ มหัคคตกุสลจิต ๙ มหัคคตกิริยาจิต ๙ เท่านั้น
ส่วนมหัคคตวิบากจิตอีก ๙ ดวงนั้น ไม่นับเป็นโลกียอัปปนาวิถี เพราะเป็นจิต ที่พ้นวิถี (พ้นทวารด้วย)
และไม่นับเป็นโลกียอัปปนาชวนะ เพราะไม่ได้ทำชวนกิจ )


รายละเอียด ศึกษาในปริเฉทที่ ๔ วิถีสังคหะ ของอภิธรรมัตถสังคหะเพิ่มเติมครับ

ข้อความว่า

อ้างคำพูด:
โสดาปัตติมัคคจิตเกิดขึ้นเพียงดวงเดียวแล้วดับไป แล้วตามด้วยโสดาปัตติผลจิตสืบต่อไป
สกทาคามีมัคคจิตเกิดขึ้นเพียงดวงเดียวแล้วดับไป แล้วตามด้วยสกทาคามีผลจิตสืบต่อไป
อนาคามีมัคคจิตเกิดขึ้นเพียงดวงเดียวแล้วดับไป แล้วตามด้วยอนาคามีผลจิตสืบต่อไป
อรหัตตมัคคจิตเกิดขึ้นเพียงดวงเดียวแล้วดับไป แล้วตามด้วยอรหัตตผลจิตสืบต่อไป


ตรงนี้ถูกต้องครับ มัคคจิต มัคคชวนะ เกิดเพียงขณะเดียวต่อด้วยผลจิตครับ (อภิญญาชวนะ ก็เกิดขณะเดียว) สาธุ สาธุ สาธุ

ข้อความว่า

อ้างคำพูด:
จะเห็นได้ว่ากุศลจิตเหล่านี้เกิดเพียงดวงเดียวในชั่วระยะเวลาสั้น ๆ สั้นอย่างยิ่ง
แต่เราเรียกกุศลจิตเหล่านี้ว่า อัปนาสมาธิ ไม่เรียกว่าขณิกสมาธิ
โลกียะฌาน และโลกุตตระฌาน คือ กุศลจิตหรือกุศลวิบากจิต ที่สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย
ของเพียงจิตมีคุณสมบัติอย่างนี้แม้เกิดเพียงดวงเดียวในชั่วระยะเวลาสั้น ๆ ขณะจิตเดียวก็เรียกว่า ฌานแล้วครับ เป็นอัปณาสมาธิจิตแล้วครับ


ตอบเพิ่มเติมว่า

จิตที่เป็นมหากุศล ตั้งมั่น วิถีเกิดติดต่อกันนาน ๆ เป็นขณิกสมาธิและอุปจารสมาธิครับ
เป็นมหากุศลญาณสัมปยุตจิต ๔ ไม่ใช่อัปปนาสมาธิ ( รูปาวจรกุศล อรูปาวจรกุศล)



ศึกษาเพิ่มเติมเรื่องพระอริยที่เป็นปัญญาวิมุติ หรือ สุกขวิปัสสกะ

ท่านเหล่านี้บรรลุเป็นพระอริยะเจ้าแล้วมาบำเพ็ญฌาณทีหลัง มีมากมายในพระไตรปิฎก
ถ้าผู้ที่จะสำเร็จเป็นพระอริยะ ต้องสำเร็จฌานก่อน
แล้วท่านจะมาบำเพ็ญใหม่ทำไม หรือฌานท่านหายไปเพราะการบรรลุ ขัดแย้งกันนะครับ


เช่น ข้อความบางตอน
ในอรรถกถาวังคีสเถรคาถาที่ ๑ ในพระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ ๕๖๗
(ปรมัตถทีปนี อรรถกถาเถรคาถา มหานิบาต พระอาจารย์ธัมมปาลเถระ แห่ง พทรติตถมหาวิหารรจนา )

ฯลฯ ส่วนพระเถระผู้ตั้งอยู่ในสมาธิ เพียงสักว่า ขณิกสมาธิ แล้วเริ่มตั้ง
วิปัสสนาบรรลุอรหัตมรรคนั้น ชื่อว่าสุกขวิปัสสก ผู้เจริญวิปัสสนา
ล้วนๆ เพราะมีแต่วิปัสสนาล้วน ไม่มีการสืบต่อในภายในวิปัสสนา
ด้วยองค์ฌานอันเกิดแต่สมาธิในเบื้องต้น และในระหว่าง ๆ



ในสุสิมสูตร
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ หน้าที่ ๓๘๔


ความย่อว่า สุสิมปริพพาชก ปลอมบวชเพื่อขโมยธรรมของพระพุทธเจ้า ก็สงสัยว่าพระภิกษุไม่มีฤทธิ์เดชอะไร
แต่พระพุทธเจ้าก็พยากรณ์ว่าเป็นพระอรหันต์ บรรลุคุณวิเศษ บรรลุมรรค ผล จึงไปทูลถามพระพุทธเจ้าว่า สิ่งที่พระเหล่านั้นได้ คืออะไร ประมาณนั้นครับ


เนื้อความที่พระพุทธองค์ตรัสตอบ ดังนี้ครับ

ฯลฯ ดูก่อนสุสิมะ มรรคก็ตาม ผลก็ตาม ไม่ใช่เป็นผลของสมาธิ
ไม่ใช่เป็นอานิสงส์ของสมาธิ
ไม่ใช่เป็น ความสำเร็จของสมาธิ แต่มรรคหรือผลนี้ เป็นผลของวิปัสสนา
เป็นอานิสงส์ของวิปัสสนา เป็นความสำเร็จของวิปัสสนา ฉะนั้น ท่านจะรู้ก็ตาม
ไม่รู้ก็ตาม ที่แท้ธัมมัฏฐิติญาณเป็นญาณในเบื้องต้น ญาณในพระนิพพาน
เป็นญาณภายหลัง ฯลฯ
.


ข้อความว่า

อ้างคำพูด:
จิตกามาวจรคือ 1.อกุศลจิต อกุศลวิบากจิต และ2.กามาจรกุศลจิต กามาวจรกุศลวิบากจิต
แม้จะตั้งอยู่ได้นานสักปานใดก็ตาม ไม่เรียกว่าอัปนาสมาธิครับ



ถูกต้องครับ เพราะขณิกสมาธิ และ อุปจารสมาธิ เป็นมหากุศลญาณสัมปยุตจิต ๔ สาธุ สาธุ สาธุ
ส่วนอัปปนาสมาธิ คือ รูปาวจรกุศล และ อรูปาวจรกุศล



ขออนุญาตเพิ่มเติมนะครับ

ศึกษาในตำราและศึกษากับผู้ที่มีประสบการณ์ในการบำเพ็ญฌาน และวิปัสสนา มีข้อมูลตรงกันอย่างหนึ่ง
ขณะจิตที่อยู่ในฌานจะยกสภาวะธรรมขึ้นมาพิจารณาลำบากมาก หรือไม่ได้เลย เนื่องจาก จิตดิ่ง สงบเกินไป
ต้องถอนจิตมาอยู่ที่อุปจารสมาธิ จิตไม่ดิ่งเกิน จะพิจารณาได้ดี


แต่ผู้ที่ได้ฌาน จะได้เปรียบ เนื่องจากจิตมีพลัง และเมื่อพิจารณามาก จนจิตเพลีย กระสับกระส่าย ก็ละการพิจารณา แล้วกลับเข้าฌานไป
สามารถทำได้ต่อเนื่อง สลับกันไป ท่านอุปมาเหมือนทหารที่ออกรบ รบเหนื่อย ก็กลับมาพัก หายเหนื่อย ก็กลับไปรบ สามารถรบได้ต่อเนื่อง (ข้อความนี้ ถ้าจำไม่ผิดน่าจะอยู่ในอรรถกถาธรรมบทเมฆิยสูตร)


ส่วนผู้ที่เจริญวิปัสสนาล้วน ๆ จะเหนื่อยมากกว่า เพราะไม่มีที่พักจิต ต้องพยายามมาก เหมือนเนื้อความที่ว่าไว้

ในพระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ หน้าที่ ๑๔๑
เนื้อความพระอรรถกถาจารย์ อธิบายว่า


ฯลฯ พระอานนท์ทูลถามว่า ภิกษุทำสมาบัติให้เป็นปทัฏฐานก่อน แล้วเจริญวิปัสสนา
ได้บรรลุพระอรหัตย่อมไม่ลำบาก เหมือนบุคคลอาศัยเรือหรือแพเป็นต้น
ข้ามห้วงน้ำใหญ่ก็ไปถึงฝั่งได้ฉะนั้น
ส่วนพระสุกขวิปัสสกผู้เจริญวิปัสสนา
ล้วน ๆ พิจารณาปกิณณกสังขาร แล้วได้บรรลุพระอรหัต ย่อมลำบาก
เหมือนบุคคลฟันฝ่ากระแสน้ำด้วยกำลังแขนไปถึงฝั่งฉะนั้น ข้าพระองค์ขอทูลถาม
พระอรหัตของพระสุกขวิปัสสกนี้ด้วยประการดังกล่าว. บทว่า อริยสาวโก
ได้แก่ พระอริยสาวกผู้เป็นสุกขวิปัสสก.



ขออนุโมทนาครับ


สงสัยต่อไปคงมีเวลาน้อยมาก มาโพส มาอ่านแล้วครับ
พหุกิจจา พหุกรณียา


ขออนุโมทนาผู้ตั้งเว็บไซด์ ขออนุโมทนาเจ้าหน้าที่ทุกท่าน
ขออนุโมทนาทุกท่านในบอร์ด
ทุกท่านล้วนมีจิตดี
ทุกท่านล้วนมาแสวงหาสิ่งที่ดี
บอร์ดนี้ เป็นที่พบกันของคนดี


ขอให้ทุกท่านและคุณมหาราชันย์
จงเห็นแจ้งในธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
หากยังท่องเที่ยวอยู่ในวัฏฏสงสาร ขอจงเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ พบแต่กัลยาณมิตร มีจิตเป็นกุศล
เป็นที่พึ่งของสรรพสัตว์ทั้งหลาย จนกว่าจะถึงนิพพาน เทอญ


สาธุ สาธุ สาธุ
วิโรจนมุนินโท
๔ ม.ค.๕๓,๐.๓๓ น.


:b53: :b53: :b53:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ม.ค. 2010, 09:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ไวโรจนมุเนนทระ เขียน:
เนื้อหาต่อไปนี้ผมนำมาจาก หนังสือ ชื่อ อภิธรรมัตถสังคหะ และปรมัตถทีปนี
ผมขออนุญาต อ้างอิง ๒ เล่มนี้นะครับ ไม่เชื่อก็ได้



สวัสดีครับคุณไวโรจนมุเนนทระ


ผมไม่เชื่อแน่นอนอยู่แล้วครับ

ตำราใดที่แต่งขึ้นมาเอง ไม่ใช่พระธรรมเทศนาและคัดค้านคำสอนของพระพุทธเจ้า ตำรานั้นใช้ไม่ได้ครับ


ถ้าจะสนทนากันให้ใช้พระไตรปิฎกโดยตรงเท่านั้นครับ
อภิธรรมก็อภิธรรมจากพระไตรปิฎกเท่านั้นครับ
อภิธรรมัตถสังคหะ และปรมัตถทีปนีใช้อ้างอิงไม่ได้ครับ เพราะขัดแย้งกับพระธรรมเทศนาครับ


เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ม.ค. 2010, 09:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ไวโรจนมุเนนทระ เขียน:
ตรงนี้ควรแก้ไขครับ

ที่ถูก วิถีแห่งรูปาวจรกุศลจิต และอรูปาวจรกุศลจิต เกิดได้ไม่สิ้นสุดครับ เช่นในขณะเข้าฌานนาน ๆ

ท่านอธิบายไว้ว่า

ในกามาวจรกุศลจิต มีชวนะจิตเกิดได้สูงสุดเพียง ๗ ขณะ
แต่ชวนะจิตในอัปปนาวิถี เกิดได้ตั้งแต่ ๑ ขณะขึ้นไป จน มากมายถึงนับประมาณไม่ได้
( โลกียอัปปนาจิต ได้แก่ มหัคคตจิตทั้ง ๒๗ ดวง
แต่โลกียอัปปนาวิถี หรือโลกียอัปปนาชวนะ ได้แก่มหัคคตชวนจิต ๑๘ ดวง คือ มหัคคตกุสลจิต ๙ มหัคคตกิริยาจิต ๙ เท่านั้น
ส่วนมหัคคตวิบากจิตอีก ๙ ดวงนั้น ไม่นับเป็นโลกียอัปปนาวิถี เพราะเป็นจิต ที่พ้นวิถี (พ้นทวารด้วย)
และไม่นับเป็นโลกียอัปปนาชวนะ เพราะไม่ได้ทำชวนกิจ )

รายละเอียด ศึกษาในปริเฉทที่ ๔ วิถีสังคหะ ของอภิธรรมัตถสังคหะเพิ่มเติมครับ




สวัสดีครับคุณไวโรจนมุเนนทระ


คนที่ควรแก้ไขคือคุณไวโรจนมุเนนทระ ใช้อภิธรรมจากพระไตรปิฎกครับ
อภิธรรมัตถสังคหะสาระผิดเพี้ยนครับ

เหตุเกิดเพียงขณะจิตเดียวครับ จิตที่เหลือเป็นผลครับ
เนื่องจากรูปาวจรกุศล และรูปาวจรกุศลวิบากนั้นมัคคกับผลนั้นตรงกัน
และอรูปาวจรกุศล และอรูปาวจรกุศลวิบากนั้นมัคคกับผลนั้นตรงกันเหมือนกัน
การเข้าฌานสามบัติเป็นเวลานานเป็นการเสวยวิบากครับ ไม่ใช่กุศลครับ

เพราะเป็นไปไม่ได้ที่คนจะกระทำเหตุอยู่ตลอดเวลาครับ



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ม.ค. 2010, 09:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ไวโรจนมุเนนทระ เขียน:
ศึกษาเพิ่มเติมเรื่องพระอริยที่เป็นปัญญาวิมุติ หรือ สุกขวิปัสสกะ

ท่านเหล่านี้บรรลุเป็นพระอริยะเจ้าแล้วมาบำเพ็ญฌาณทีหลัง มีมากมายในพระไตรปิฎก
ถ้าผู้ที่จะสำเร็จเป็นพระอริยะ ต้องสำเร็จฌานก่อน
แล้วท่านจะมาบำเพ็ญใหม่ทำไม หรือฌานท่านหายไปเพราะการบรรลุ ขัดแย้งกันนะครับ

เช่น ข้อความบางตอน
ในอรรถกถาวังคีสเถรคาถาที่ ๑ ในพระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ ๕๖๗
(ปรมัตถทีปนี อรรถกถาเถรคาถา มหานิบาต พระอาจารย์ธัมมปาลเถระ แห่ง พทรติตถมหาวิหารรจนา )
ฯลฯ ส่วนพระเถระผู้ตั้งอยู่ในสมาธิ เพียงสักว่า ขณิกสมาธิ แล้วเริ่มตั้ง
วิปัสสนาบรรลุอรหัตมรรคนั้น ชื่อว่าสุกขวิปัสสก ผู้เจริญวิปัสสนา
ล้วนๆ เพราะมีแต่วิปัสสนาล้วน ไม่มีการสืบต่อในภายในวิปัสสนา
ด้วยองค์ฌานอันเกิดแต่สมาธิในเบื้องต้น และในระหว่าง ๆ



สวัสดีครับคุณไวโรจนมุเนนทระ


สุขวิปัสโก, เตวิชโช, ฉลภิญโญ, และปฏิสัมภิทัปปัตโต เป็นผลที่เกิดร่วมเกิดพร้อมกับอริยะผลจิตครับ
ไม่ใช่เหตุครับ

ข้อความนี้ของคุณจึงเป็นการรู้มาผิด เข้าใจมาผิดครับ


การบรรลุธรรมเริ่มที่ปฐมฌานและปัญญาเครื่องทำลายสังโยชน์ครับ เมื่อบรรลุอริยะผลจึงจะได้สุขวิปัสโก หรือ เตวิชโช หรือ ฉลภิญโญ หรือ ปฏิสัมภิทัปปัตโตภายหลังครับ


การบรรลุธรรมโดยที่จิตยังมีนิวรณ์ 5 เป็นเครื่องกั้นญาณปัญญาอยู่เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ครับ

ตำรา 2 เล่มของคุณจึงเป็นตำราที่ไม่เป็นจริงได้ครับ คัดค้านคำสอนของพระพุทธเจ้าครับ



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ม.ค. 2010, 09:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


ปฐมโมรนิวาปสูตร

ว่าด้วยขันธ์ ๓

[๕๘๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ ณ โมรนิวาปสถาน
(ที่เลี้ยงนกยูง) อันเป็นอารามของปริพาชก ใกล้พระนครราชคฤห์ ฯลฯ
ตรัสพระธรรมเทศนาว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๓
ประการ เป็นผู้สำเร็จถึงที่สุด ปลอดโปร่งจากเครื่องผูกมัดเสมอไป เป็นพรหม-
จารีเต็มที่ จบกรณียกิจสิ้น เป็นผู้ประเสริฐแห่งเทวดามนุษย์ทั้งหลาย ธรรม
๓ ประการคืออะไรบ้าง คือ ศีลขันธ์เป็นอเสขะ สมาธิขันธ์เป็นอเสขะ
ปัญญาขันธ์เป็นอเสขะ ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล เป็นผู้สำเร็จ
ถึงที่สุด ฯลฯ เป็นผู้ประเสริฐแห่งเทวดามนุษย์ทั้งหลาย.
จบปฐมโมรนิวาปสูตรที่ ๑๑

หน้าที่ 583



--------------------------------------------------------------------------------

อรรถกถาปฐมโมรนิวาปสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในปฐมโมรนิวาปสูตรที่ ๑๑ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อจฺจนฺตนิฏฺโ€ ความว่า สำเร็จโดยก้าวล่วงที่สุด (แห่งทุกข์)
อธิบายว่า สำเร็จอกุปปธรรม. คำที่เหลือ เช่นเดียวกัน (กับคำที่กล่าวแล้ว)
ทั้งนั้น.
จบอรรถกถาปฐมโมรนิวาปสูตรที่ ๑๑


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ม.ค. 2010, 09:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ไวโรจนมุเนนทระ เขียน:
ในสุสิมสูตร
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ หน้าที่ ๓๘๔

ความย่อว่า สุสิมปริพพาชก ปลอมบวชเพื่อขโมยธรรมของพระพุทธเจ้า ก็สงสัยว่าพระภิกษุไม่มีฤทธิ์เดชอะไร
แต่พระพุทธเจ้าก็พยากรณ์ว่าเป็นพระอรหันต์ บรรลุคุณวิเศษ บรรลุมรรค ผล จึงไปทูลถามพระพุทธเจ้าว่า สิ่งที่พระเหล่านั้นได้ คืออะไร ประมาณนั้นครับ

เนื้อความที่พระพุทธองค์ตรัสตอบ ดังนี้ครับ

ฯลฯ ดูก่อนสุสิมะ มรรคก็ตาม ผลก็ตาม ไม่ใช่เป็นผลของสมาธิ
ไม่ใช่เป็นอานิสงส์ของสมาธิ
ไม่ใช่เป็น ความสำเร็จของสมาธิ แต่มรรคหรือผลนี้ เป็นผลของวิปัสสนา
เป็นอานิสงส์ของวิปัสสนา เป็นความสำเร็จของวิปัสสนา ฉะนั้น ท่านจะรู้ก็ตาม
ไม่รู้ก็ตาม ที่แท้ธัมมัฏฐิติญาณเป็นญาณในเบื้องต้น ญาณในพระนิพพาน
เป็นญาณภายหลัง ฯลฯ .




สวัสดีครับคุณไวโรจนมุเนนทระ

ปัญญาเครื่องทำลายกิเลสจะมีได้ มีที่จิตที่เป็นสมาธิครับ ปัญญาเกิดในจิตที่ไม่เป็นสมาธิเป็นไปไม่ได้ครับ
การแสดงธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้าในพระสูตรนี้ทรงแสดงถึงหน้าที่ของสมาธิและหน้าที่ของปัญญาว่าทำงานต่างกันอย่างไรครับ


การบรรลุมัคคผลนั้นทำงานโดยคุณสมบัติของจิตทั้งดวงครับ ไม่ใช่แค่เสี้ยวหนึ่ง


จากการยกพระสูตรนี้มา แสดงว่าคุณไวโรจนมุเนนทระ อ่านพระสูตรนี้ไม่เข้าใจครับ
และเข้าใจผิดเอาด้วยว่าจิตมีแต่ปัญญาอย่างเดียวไม่มีสมาธิร่วมด้วย
ซึ่งในความเป็นจริงแล้วปัญญาและสมาธิในฌานต้องต้องเกิดร่วมเกิดพร้อมกันเสมอครับ จึงจะเรียกจิตนั้นว่ามัคคจิตครับ


จึงกล่าวได้ว่าคุณไวโรจนมุเนนทระรู้มาผิด เข้าใจมาผิดครับ


ลองอ่านดี ๆ อีกครั้งนะครับ



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ม.ค. 2010, 10:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ไวโรจนมุเนนทระ เขียน:
ศึกษาในตำราและศึกษากับผู้ที่มีประสบการณ์ในการบำเพ็ญฌาน และวิปัสสนา มีข้อมูลตรงกันอย่างหนึ่ง
ขณะจิตที่อยู่ในฌานจะยกสภาวะธรรมขึ้นมาพิจารณาลำบากมาก หรือไม่ได้เลย เนื่องจาก จิตดิ่ง สงบเกินไป
ต้องถอนจิตมาอยู่ที่อุปจารสมาธิ จิตไม่ดิ่งเกิน จะพิจารณาได้ดี




สวัสดีครับคุณไวโรจนมุเนนทระ

สมาธิในฌานสมาบัติยิ่งสูง ยิ่งละเอียดยิ่งตื่นตัวมาก มีปัญญาเฉียบคมมากครับ
จิตเป็นจิตที่บริสุทธิ์ขาวรอบ เป็นจิตที่ตั้งมั่น เป็นจิตที่มีอำนาจ อ่อน ควรแก่การงานครับ
เหมาะแก่การเจริญวิปัสสนาบรรลุธรรมครับ

ข้อความนี้ของคุณจึงเป็นการรู้มาผิด เข้าใจมาผิดครับ



ความรู้ที่ถูกต้องเป็นดังนี้ครับ



เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มี“กิเลสเพียงดังเนิน”
ปราศจากความเศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน
ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้

เรานั้นจึงน้อมจิตไปเพื่อ “อาสวักขยญาณ”

ได้รู้ชัดตามเป็นจริงว่า .........
....นี้ทุกข์
....นี้ทุกข์สมุทัย
....นี้ทุกขนิโรธ
....นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา

....เหล่านี้อาสวะ
....นี้อาสวสมุทัย
....นี้อาสวนิโรธ
....นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา

เมื่อเรานั้นรู้เห็นอย่างนี้จิตก็หลุดพ้น .......
แม้จากกามาสวะ
แม้จากภวาสวะ
แม้จากอวิชชาสวะ

เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณหยั่งรู้ว่า
“หลุดพ้นแล้ว ได้รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มี”

เราบรรลุ“วิชชาที่ ๓” นี้ ใน“ปัจฉิมยาม” แห่งราตรี

กำจัดอวิชชาได้แล้ว วิชชาก็เกิดขึ้น
กำจัดความมืดได้แล้ว ความสว่างก็เกิดขึ้น
เหมือนบุคคลผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ฉะนั้น



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ม.ค. 2010, 20:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ฌายึ วิรชมาสีนํ
กตกิจฺจํ อนาสวํ
อุตฺตมตฺถํ อนุปฺปตฺตํ
ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ

:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41:


เรากล่าวบุคคล ผู้เพ่งฌาน
ปราศจากธุลี นั่งอยู่ผู้เดียว
ทำกิจเสร็จแล้ว ไม่มีอาสวะ
บรรลุประโยชน์อันสูงสุดนั้น ว่าเป็นพราหมณ์


:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41:


เมื่อใดแล ธรรมทั้งหลาย ปรากฏแก่พราหมณ์
ผู้มีเพียรเพ่งอยู่ เมื่อนั้น ความสงสัยทั้งปวง
ของพราหมณ์นั้นย่อมสิ้นไป เพราะมารู้ธรรมพร้อมทั้งเหตุ.

เมื่อใดแล ธรรมทั้งหลาย ปรากฏแก่พราหมณ์
ผู้มีเพียรเพ่งอยู่ เมื่อนั้น ความสงสัยทั้งปวง
ของพราหมณ์นั้นย่อมสิ้นไป เพราะได้รู้ความสิ้นแห่งปัจจัยทั้งหลาย.

เมื่อใดแล ธรรมทั้งหลาย ปรากฏแก่พราหมณ์
ผู้มีเพียรเพ่งอยู่ เมื่อนั้น พราหมณ์นั้น ย่อม
กำจัดมารและเสนาเสียได้ ดุจพระอาทิตย์อุทัยทำอากาศให้สว่าง ฉะนั้น.

เราเปิดประตูอมตะแก่ท่านแล้ว สัตว์เหล่าใดจะฟังจงปล่อยศรัทธามาเถิด



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ม.ค. 2010, 22:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ความโศกทั้งหลาย
ย่อมไม่มีแก่ผู้มีจิตมั่นคง ไม่ประมาท
เป็นมุนีผู้ศึกษาในทางแห่งมโนปฏิบัติ ผู้คงที่
สงบระงับแล้วมีสติในกาลทุกเมื่อ



เจริญในธรรมครับ






[๑๗๑๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งอะไรเราได้บอกแล้ว เราได้บอกแล้วว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา

ก็เพราะเหตุไรเราจึงบอก... เพราะสิ่งนั้นประกอบด้วยประโยชน์ เป็นพรหมจรรย์เบื้องต้น ย่อมเป็นไปเพื่อความหน่าย ความคลายกำหนัด ความดับ ความสงบ ความรู้ยิ่ง ความตรัสรู้ นิพพาน เพราะฉะนั้น เราจึงบอก

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์
ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.



เจริญในธรรมครับ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 33 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร