วันเวลาปัจจุบัน 05 พ.ค. 2025, 18:51  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 33 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ธ.ค. 2009, 16:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




71.jpg
71.jpg [ 30.96 KiB | เปิดดู 7352 ครั้ง ]
ฌานเกิดก่อน สติปัฏฐานมีภายหลัง


[๔๕๘] สติปัฏฐาน ๔ คือ

๑. ภิกษุในศาสนานี้ พิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆ อยู่
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาเนืองๆ อยู่
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิตเนืองๆ อยู่
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมเนืองๆ อยู่




เจริญในธรรมครับ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ธ.ค. 2009, 16:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ฌานเกิดก่อน สติปัฏฐานมีภายหลัง


[๔๕๘] สติปัฏฐาน ๔ คือ
๑. ภิกษุในศาสนานี้ พิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆ อยู่
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาเนืองๆ อยู่
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิตเนืองๆ อยู่
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมเนืองๆ อยู่


[เห็นกายในกาย]

[๔๕๙] ก็ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆ อยู่ เป็นอย่างไร

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลกให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วย วิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา พิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆ อยู่ ในสมัยใด สติ ความตามระลึก ความหวนระลึก สติ กิริยาที่ระลึก ความทรงจำ ความไม่เลื่อนลอย ความไม่ลืม สติ สตินทรีย์ สติพละ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า สติปัฏฐาน ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยสติปัฏฐาน








เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ธ.ค. 2009, 16:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ฌานเกิดก่อน สติปัฏฐานมีภายหลัง


[๔๕๘] สติปัฏฐาน ๔ คือ
๑. ภิกษุในศาสนานี้ พิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆ อยู่
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาเนืองๆ อยู่
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิตเนืองๆ อยู่
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมเนืองๆ อยู่



[เห็นเวทนาในเวทนา]

ก็ภิกษุ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาเนืองๆ อยู่ เป็นอย่างไร

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลก ให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาเนืองๆ อยู่ ในสมัยใด สติ ความตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า สติปัฏฐาน ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยสติปัฏฐาน




เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ธ.ค. 2009, 16:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ฌานเกิดก่อน สติปัฏฐานมีภายหลัง



[๔๕๘] สติปัฏฐาน ๔ คือ
๑. ภิกษุในศาสนานี้ พิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆ อยู่
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาเนืองๆ อยู่
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิตเนืองๆ อยู่
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมเนืองๆ อยู่


[เห็นจิตในจิต]

ก็ภิกษุ พิจารณาเห็นจิตในจิตเนืองๆ อยู่ เป็นอย่างไร

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลก ให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา พิจารณาเห็นจิตในจิตเนืองๆ อยู่ในสมัยใด สติ ความตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนืองในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า สติปัฏฐาน ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยสติปัฏฐาน



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ธ.ค. 2009, 16:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ฌานเกิดก่อน สติปัฏฐานมีภายหลัง



[๔๕๘] สติปัฏฐาน ๔ คือ
๑. ภิกษุในศาสนานี้ พิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆ อยู่
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาเนืองๆ อยู่
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิตเนืองๆ อยู่
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมเนืองๆ อยู่


[เห็นธรรมในธรรม]

ก็ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมเนืองๆ อยู่ เป็นอย่างไร

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลก ให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา พิจารณาเห็นธรรมในธรรมเนืองๆ อยู่ ในสมัยใด สติ ความตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า สติปัฏฐาน ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยสติปัฏฐาน




เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ธ.ค. 2009, 16:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ฌานเกิดก่อน สติปัฏฐานมีภายหลัง



[๔๕๘] สติปัฏฐาน ๔ คือ
๑. ภิกษุในศาสนานี้ พิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆ อยู่
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาเนืองๆ อยู่
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิตเนืองๆ อยู่
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมเนืองๆ อยู่


ในธรรมเหล่านั้น สติปัฏฐาน เป็นไฉน

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลก ให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา พิจารณาเห็นธรรมในธรรมเนืองๆ อยู่ ในสมัยใด สติ ความตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า สติปัฏฐาน ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยสติปัฏฐาน




เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ธ.ค. 2009, 16:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8: :b8: :b8: :b8: :b8: :b8: :b8: :b8: :b8: :b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ธ.ค. 2009, 20:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ก.ค. 2009, 20:44
โพสต์: 341

ที่อยู่: ภาคตระวันออก

 ข้อมูลส่วนตัว




9.jpg
9.jpg [ 2.53 KiB | เปิดดู 7288 ครั้ง ]
อนุโมทนาสาธุ
:b8: :b8: :b8: :b8: :b8: :b8:
เทพบุตร

.....................................................
การให้ธรรมะเป็นทานชนะการให้ท้งปวง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ธ.ค. 2009, 09:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


ฌาน ๔ นำไปสู่นิพพานได้

ปัญหา ลำพังการทำสมาธิจนได้ฌาน จะสามารถนำไปสู่นิพพานได้หรือไม่ ?

พุทธดำรัสตอบ “ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนแม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศตะวันออก หลั่งไปสู่ทิศตะวันออก บ่าไปสู่ทิศตะวันออกฉันใด ภิกษุเจริญพอกพูนซึ่งฌาน ๔ ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพานฉันนั้น....
“ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฌาน ๔ อันภิกษุพึงเจริญเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ (คือ รูป ราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา) เหล่านี้แล”


ฌานสังยุต มหา. สํ. (๑๓๐๑-๑๓๐๔ )
ตบ. ๑๙ : ๓๙๒-๓๙๓ ตท. ๑๙ : ๓๖๐-๓๖๑
ตอ. K.S. ๕ : ๓๗๒
(ตรงตามพระอาจารย์ สอนเป๊ะๆ) :b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ธ.ค. 2009, 23:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2009, 00:02
โพสต์: 111

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b42: ฌาน เป็นของ ศาสนาพราหม์ ซึ่งมีมานานกว่าศาสนาพุทธ
คนอินเดียที่ได้ ฌาน ฟังธรรมของพระพุทธเจ้าแล้วบรรลุธรรมได้ง่าย เพราะมีสภาวะจิตที่บริสุทธิ์
อยู่แต่เดิม คนที่ทำฌานได้ ขณะทำสมาธิ....จิตใจต้องสะอาด ผ่องแผ้ว ไร้การปรุงแต่ง จิตจึงสงบได้เร็ว เข้าสู่สภาวะที่เป็นฌาน

ฌาน 4 ยัง...ไม่นิพพาน.. ต้องใช้จิตพิจารณา กาย เวทนา จิต ธรรม ตามหลักสติปัฏฐานสี่
ฌาน 4 แค่ระงับกิเลส ตัณหา อุปปาทานได้แค่ชั่วคราว (เหมือนหินทับหญ้า)
:b55: :b55:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ธ.ค. 2009, 00:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ธ.ค. 2009, 22:46
โพสต์: 167

แนวปฏิบัติ: buddhism
อายุ: 0
ที่อยู่: nontaburi

 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนาครับ
ขออนุโมทนาที่ท่านนำบาลีพุทธพจน์มาเสนอครับ
tongue

แต่ ควรนำแง่มุมอื่นมาด้วย
หัวข้อ ที่โพสแบบนี้ อาจทำให้คนบางคน จำผิด


ควรแนะนำให้ครบ ทุกแง่มุมคับ กันคนจำไปผิด
ถึงแม้ไม่ได้ฌาน ก็บรรลุได้

แม้ไม่มีจิตระดับปฐมฌาน

เพียงขณิกสมาธิ หรือ อุปจารสมาธิ ก็เจริญวิปัสสนา
หรือ สติปัฏฐาน บรรลุเป็นพระอริยเจ้าได้ครับ
ที่เรียกว่า สุขวิปัสสกะ

ขออนุญาตนะครับ ผมขอโทษ ขอกราบก่อน ขอพูดนิดนึง
smiley
การแสดงธรรม การบอกธรรม แม้คลาดเคลื่อน ผิดเพียงอักขระเดียว ความหมายเดียว
เป็นเหตุทำให้พระศาสนาเสื่อมถอยได้
คนบอกคลาดเคลื่อน
คนอ่านคลาดเคลื่อน จำไปก็คลาดเคลื่อน
บอกต่อ ก็คลาดเคลื่อน ตามไปแก้ลำบาก
เข้าใจผิด ปฏิบัติก็ผิด
ปฏิบัติผิด ก็ไม่บรรลุผลอันควร
ศรัทธาก็ถอย ศาสนาก็ค่อย ๆเสื่อม


ผู้บอก ผู้แสดง ก็ประสบสิ่งที่ไม่เป็นบุญไม่ใช่น้อย
อันตรายอะคับ

ขอเรียนผู้รู้ทั้งหลาย
ผมเชื่อมั่น ทุกท่านเป็นคนดี ปรารถนาดี
ถ้าเอามาจากบาลี มีทีมา ที่ไปอย่างกระทู้นี้ ดีมากครับ อนุโมทนา

ถ้าเป็น อัตโนมติ คือ ความเห็นตัวเอง ก็ให้ว่า ความเห็นของตัวเอง
อย่าจับใส่พระโอษฐ์พระพุทธเจ้านะคับ
หนัก หนัก หนัก

รู้ แล้ว ชี้ สาธุ
ไม่รู้ ไม่ชี้ ไม่มีอะไร ดี

ไม่รู้ แล้วยังชี้ อันนี้ อันตราย ๆ คับ


แก้ไขล่าสุดโดย ไวโรจนมุเนนทระ เมื่อ 31 ธ.ค. 2009, 01:01, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ธ.ค. 2009, 10:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ไวโรจนมุเนนทระ เขียน:

เพียงขณิกสมาธิ หรือ อุปจารสมาธิ ก็เจริญวิปัสสนา
หรือ สติปัฏฐาน บรรลุเป็นพระอริยเจ้าได้ครับ
ที่เรียกว่า สุขวิปัสสกะ

สวัสดีครับ ท่านไวโรจนมุเนนทระ
พระพุทธพจน์บทไหน รับรอง สมาธิที่ท่านแสดงมาครับ
ท่านหามานะครับ
ถ้าไม่อย่างนั้น ขณิกสมาธิ อุปจาระสมาธิ ที่ท่านกล่าวถึง ก็เป็นเพียงสมาธิเลื่อนลอยนอกพระศาสนา พระพุทธเจ้าไม่เคยแสดงแก่ใคร นอกจากจะเป็นสมาธิชนิดใหม่ที่คิดค้นโดยอาจารย์ชั้นหลังแต่งขึ้นเอาเอง

และอีกประการหนึ่ง
สุขวิปัสสกะ ที่ท่านแสดงออกมา เป็นเหตุ หรือเป็นผล

อ้างคำพูด:
การแสดงธรรม การบอกธรรม แม้คลาดเคลื่อน ผิดเพียงอักขระเดียว ความหมายเดียว
เป็นเหตุทำให้พระศาสนาเสื่อมถอยได้
คนบอกคลาดเคลื่อน
คนอ่านคลาดเคลื่อน จำไปก็คลาดเคลื่อน
บอกต่อ ก็คลาดเคลื่อน ตามไปแก้ลำบาก
เข้าใจผิด ปฏิบัติก็ผิด
ปฏิบัติผิด ก็ไม่บรรลุผลอันควร
ศรัทธาก็ถอย ศาสนาก็ค่อย ๆเสื่อม


ผู้บอก ผู้แสดง ก็ประสบสิ่งที่ไม่เป็นบุญไม่ใช่น้อย
อันตรายอะคับ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ม.ค. 2010, 13:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


มีใครไม่เคยตกนรกหรือครับ ? :b6: :b6: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ม.ค. 2010, 06:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ธ.ค. 2009, 22:46
โพสต์: 167

แนวปฏิบัติ: buddhism
อายุ: 0
ที่อยู่: nontaburi

 ข้อมูลส่วนตัว


tongue

พึ่งมาจากเที่ยวปีใหม่ ไปนอนที่วัดมาเมื่อคืน ขับรถกลับมาถึงห้อง ซัก ๖ ทุ่มกว่า
เห็นบทความของท่านผู้รู้ มาชี้แนะ ขอบคุณมากครับ :b34:
ไม่กล้านอนเลยอะ ต้องรีบค้นมาตอบ กว่าจะได้คำตอบ ดูนาฬิกา ตี ๔.๔๖ นาที
:b31:

คืองี้

ขอให้คำนิยามก่อนนะครับ จะได้คุยกันเข้าใจ ในที่นี้
:b12:
ฌาน ผมหมายถึง อัปปนาสมาธิ ของปฐมฌาน (ที่มีองค์ ๕ มี วิตก เป็นต้น) จนถึง อรูปฌาน ๔ จัดเป็นสมถกรรมฐาน
วิปัสสนา ผมหมายถึง ญาณในวิปัสนา ตั้งแต่ นามรูปปริจเฉทญาณ เป็นต้นไป (สมาธิตั้งแต่ขณิกเป็นต้นไป)


เอ้า ต่อนะครับ

พระอริยะเจ้า ที่เจริญสมถะหรือฌานก่อน แล้วบรรลุเป็นพระอริยะก็มี
พระอริยะที่ไม่ได้เจริญสมถะ (หมายถึงปฐมฌาน)แล้ว บรรลุก็มี
(หรือจะมาเจริญสมถะหรือฌานภายหลังก็ได้)


คยไปมาหลายที่ หลายอาจารย์ อ่านหนังสือหลายเล่มอยู่ ผมก็ว่าเขาว่าคล้ายกันนาคับ
โดยมากวิปัสนาจารย์ท่านก็บอกอย่างนี้ ผมจึงกล้าพูด

ทีนี้ถ้าจะเอาพระไตรปิฏกยืนยัน ผมลงมือค้น
ก็เห็นพระพุทธพจน์ คำว่า ปัญญาวิมุต และ อุภโตภาควิมุต เยอะมาก ๆ


พระอรรถกถาจารย์ท่านก็เรียก พระอริยะที่เป็นปัญญาวิมุต ว่า สุกขวิปัสสกะ (แปลตามศัพท์ บรรลุแบบแห้งแล้ง หมายถึง เป็นพระอริยะเจ้าที่ไม่ได้บำเพ็ญฌานก่อนบรรลุธรรม ถ้าท่านไม่บำเพ็ญฌานต่อหลังบรรลุธรรม คุณวิเศษบางอย่าง เช่น ปฏิสัมภิทา อภิญญา จะไม่มี)
:b20:
(ผมใช้ พระไตรปิฎกและอรรถกถาไทยฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย จำนวน ๙๑ เล่ม อ้างอิงนะคับ ถ้าค้นดูก็ตามนี้ (ไม่มีอัตโนมัติ ถ้าอธิบายสภาวะ หรือ วิถีจิต เมล์ถามเอานะคับ เฉพาะท่านที่สนใจ แค่นี้ก็มึนแระ)

เช่น

ใน พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ หน้าที่ ๒๑๙ และ หน้า ๒๕๐
และพระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ หน้าที่ ๔๕ ใน อรรถกถารัตนสูตร
ท่านพูดถึงการจำแนกพระอริยบุคคล ไว้ยาวครับ
ท่านระบุว่ามีพระอรหันต์ ๒ จำพวกคือสุกขวิปัสสกะ ๑ สมถยานิกะ


กรุณาอ่านให้จบนะครับ อุตส่าห์อดนอน แหะ ๆ

กว่าจะเจอ ข้อมูล ที่ว่า


เจริญขณิกสมาธิเป็นพื้นฐานแล้วบรรลุพระอรหันต์

มรรค ผล ไม่ใช่ผลของสมาธิ

เจริญ วิปัสสนาก่อน เจริญฌาน

เจริญฌานก่อน แล้ว เจริญวิปัสสนา หรือ ไปพร้อม ๆ กันก็ได้


จะเชื่อ ไม่เชื่อ แล้วแต่ วิจารณญาณครับ
แนะนำว่า อย่าให้เกิดความสงสัย ควรไปสอบถามผู้รู้ก่อนตัดสินใจ


การใช้คำว่า สุกขวิปัสสก มีใช้บ่อย มาก เช่น

ในพระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ อรรถกถาทีฆนขสูตร ที่ ๔
หน้าที่ ๔๘๕ ตอน (วันมาฆบูชา
)
ฝ่ายพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อดวงอาทิตย์ยังปรากฏอยู่ ทรงจบเทศนานี้
แล้วเสด็จลงจากภูเขาคิชฌกูฏ เสด็จไปพระวิหารเวฬุวันได้ทรงประชุมพระสาวก.
ได้มีสันนิบาตประกอบด้วยองค์ ๔. องค์ ๔ เหล่านี้คือ วันนั้นเป็นวันอุโบสถ
ขึ้น ๑๕ ค่ำ ประกอบด้วยมาฆนักษัตร ๑ ภิกษุ ๑,๒๕๐ รูป ประชุมกันตาม
ธรรมดาของตน ๆ ไม่มีใครนัดหมายมา ๑ ภิกษุเหล่านั้นไม่มีแม้สักรูปหนึ่งที่
เป็นปุถุชน หรือพระโสดาบัน พระสกกาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์
ผู้สุกขวิปัสสก ภิกษุทั้งหมดเป็นผู้ใดอภิญญาหกทั้งนั้น ๑ มิได้ปลงผมด้วย
มีดโกนบวชแม้แต่รูปเดียว ภิกษุทั้งหมดเป็นเอหิภิกขุ ๑.


ใน วินัยปิฎก จุลฺวรรค เล่มที่ ๔ หน้า ๓๘๐ และ เล่ม ๗ หน้า ๓๗๕-๓๘๐ตอน พระมหากัสสปคัดเลือกภิกษุ ๔๙๙ รูป เพื่อทำปฐมสังคายนา
มีความว่า ท่านเว้นภิกษุผู้เป็นปุถุชน พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี
และพระขีณาสพสุกขวิปัสสก ผู้ทรงพระปริยัติ คือนวังคสัตถุศาสน์ ทั้งสิ้นเสียจำนวนหลายพัน
เลือกเอาเฉพาะพระภิกษุขีณาสพเท่านั้น มีจำนวน ๔๙๙ รูป ผู้ทรงไว้ซึ่งประเภทแห่งสรรพปริยัติ คือ พระไตรปิฎกได้บรรลุปฏิสัมภิทามีอานุภาพมาก แตกฉานในไตรวิชชาเป็นต้น
ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยกขึ้นสู่เอตทัคคะโดยมาก (อีก ๑ รูป พระอานนท์ ไม่ได้เป็นพระอรหันต์ )


ใน พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ หน้าที่ ๒๑


เรื่อง จักขุปาลเถรคาถา พระเถระเสียจักษุพร้อมกับการบรรลุพระอรหัต ฯลฯ

ลำดับนั้น พอมัชฌิมยามล่วงแล้ว, ทั้งดวงตา ทั้งกิเลส ของท่าน
แตก (พร้อมกัน ) ไม่ก่อนไม่หลังกว่ากัน. ท่านเป็นพระอรหันต์
สุกขวิปัสสก เข้าไปสู่ห้องนั่งแล้ว.


ความแตกต่างของทั้ง ๒ ส่วน

ใน พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ หน้าที่ ๒๒๘
และในอรรถกถาทีฆนขสูตร พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ หน้าที่
๒๒๕

ท่านอธิบายว่า อุภโตภาควิมุติ บุคคลผู้หลุดพ้นโดยส่วนสองเป็นไฉน คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ถูกต้องวิโมกข์ทั้ง ๘ ด้วยกายอยู่ และอาสวะทั้งหลายของท่านก็สิ้นรอบแล้ว เพราะเห็นด้วย
ปัญญา บุคคลนี้ท่านเรียกว่าผู้หลุดพ้นแล้วโดยส่วนสอง ฯลฯ
บทว่า ปญฺญาวิมุตฺโต แปลว่า หลุดพ้นแล้วด้วยปัญญา. บุคคล
ผู้หลุดพ้นได้ด้วยปัญญานั้นมี ๕ จำพวก ด้วยอำนาจแห่งบุคคลแหล่านี้คือ
[color=#BF0040]สุกขวิปัสสกบุคคล
๑ และ บุคคลผู้ออกจากฌานทั้ง ๔ แล้วบรรลุพระอรหัตต์
ฯลฯ สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า บุคคลไม่ถูกต้องวิโมกข์ทั้ง ๘
ด้วยกายอยู่เลย และเพราะเห็นด้วยปัญญา อาสวะของเขาจึงเป็นอัน
สิ้นรอบแล้ว บุคคลนี้เรียกว่า ผู้หลุดพ้นด้วยปัญญา.
[/color]

ใน พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ หน้าที่ ๒๒๒
เรื่อง อุภโตภาควิมุตตบุคคล ฯลฯ

[๔๑] ปัญญาวิมุตตบุคคล บุคคลชื่อว่าปัญญาวิมุตเป็นไฉน ?
บุคคลบางคนในโลกนี้ มิได้ถูกต้องวิโมกข์ ๘ ด้วยกาย สำเร็จอิริยาบถ
อยู่ แต่อาสวะของผู้นั้นสิ้นไปแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญา บุคคลนี้เรียกว่า
ปัญญาวิมุต.

ฯลฯ ปัญญาวิมุตตบุคคลนั้นมี ๕ จำพวก คือ พระอรหัตสุกขวิปัสสก ๑ บุคคลผู้ออกจากฌานทั้ง ๔ แล้ว
บรรลุพระอรหัต อีก


การเปรียบเทียบ สุกขวิปัสสกและ อุภโตภาควิมุต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ หน้าที่ ๒๕๕ อรรถกถาปุตตสูตร
ท่านอธิบาย ศัพท์ว่า สมณปุณฺฑริโก ได้เเก่ สมณะดังบัวขาว. ธรรมดา
บัวขาวเกิดในสระมีใบ ๙๙ ใบ. ทรงแสดงพระขีณาสพสุกขวิปัสสกผู้บำเพ็ญ
วิปัสสนาล้วนด้วยบทนี้.
ด้วยว่าพระขีณาสพสุกขวิปัสสกนั้น ชื่อว่าสมณะดัง
บัวขาว เพราะท่านมีคุณยังไม่บริบูรณ์ โดยที่ฌานและอภิญญาไม่มี.
[color=#BF00BF]บทว่า สมณปทุโม ได้แก่ สมณะดังบัวหลวง. ธรรมดาบัวหลวง เกิดในสระมี
ใบครบร้อยใบ. ทรงแสดงพระขีณาสพผู้เป็นอุภโตภาควิมุตด้วยบทนี้. ด้วยว่า
พระขีณาสพอุภโตภาควิมุตนั้น ชื่อว่าสมณะดังบัวหลวง เพราะท่านมีคุณ
บริบูรณ์โดยที่มีฌานและอภิญญา
.

ข้ออุปมา

ในพระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ หน้าที่ ๑๔๑
เนื้อความพระอรรถกถาจารย์
อธิบายว่า
พระอานนท์ทูลถามว่า ภิกษุทำสมาบัติให้เป็นปทัฏฐานก่อน แล้วเจริญวิปัสสนา
ได้บรรลุพระอรหัตย่อมไม่ลำบาก เหมือนบุคคลอาศัยเรือหรือแพเป็นต้น
ข้ามห้วงน้ำใหญ่ก็ไปถึงฝั่งได้ฉะนั้น

ส่วนพระสุกขวิปัสสกผู้เจริญวิปัสสนา
ล้วน ๆ พิจารณาปกิณณกสังขาร แล้วได้บรรลุพระอรหัต
ย่อมลำบาก
เหมือนบุคคลฟันฝ่ากระแสน้ำด้วยกำลังแขนไปถึงฝั่งฉะนั้น ข้าพระองค์ขอทูลถาม
พระอรหัตของพระสุกขวิปัสสกนี้ด้วยประการดังกล่าว. บทว่า อริยสาวโก
ได้แก่ พระอริยสาวกผู้เป็นสุกขวิปัสสก.

----------------------
แท้ที่จริง มรรค ผล ไม่ใช่ผลของสมาธิ
(ในที่นี้หมายถึงคนละส่วน ไม่ได้ถึงสมาธิไม่ดีนะครับ ยังไงทำสมาธิ ทำให้เกิดมรรคผลได้ง่าย ดีกว่า แต่พระองค์ มุ่งแสดงให้สุสิมภิกษุ ที่รู้แต่ ฌานและฤทธิ์)


ในสุสิมสูตร
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ หน้าที่ ๓๘๔

สูตรนี้สำคัญครับบ เล่าย่อ ๆ มาก ๆๆๆ ครับ (ขออโหสิ ยาวจริง ๆ)
สุสิมปริพพาชก ปลอมบวชเพื่อขโมยธรรมของพระพุทธเจ้า ก็สงสัยว่าพระภิกษุไม่มีฤทธิ์เดชอะไร
แต่พระพุทธเจ้าก็พยากรณ์ว่าเป็นพระอรหันต์ บรรลุคุณวิเศษ บรรลุมรรค ผล จึงไปทูลถามพระพุทธเจ้าว่า สิ่งที่พระเหล่านั้นได้ คืออะไร ประมาณนั้นครับ

เนื้อความที่พระพุทธองค์ตรัสตอบ ดังนี้ครับ

ดูก่อนสุสิมะ มรรคก็ตาม ผลก็ตาม ไม่ใช่เป็นผลของสมาธิ ไม่ใช่เป็นอานิสงส์ของสมาธิ
ไม่ใช่เป็น ความสำเร็จของสมาธิ แต่มรรคหรือผลนี้ เป็นผลของวิปัสสนา
เป็นอานิสงส์ของวิปัสสนา เป็นความสำเร็จของวิปัสสนา ฉะนั้น
ท่านจะรู้ก็ตาม
ไม่รู้ก็ตาม ที่แท้ธัมมัฏฐิติญาณเป็นญาณในเบื้องต้น ญาณในพระนิพพาน
เป็นญาณภายหลัง. ทรงแสดงพระธรรมเทศนาเรื่องไตรลักษณ์ เริ่มต้นว่า ตํ กึ
มญฺญสิ สุสิม รูปํ นิจฺจํ วา อนิจฺจํ วา ดูก่อนสุสิมะ เธอจะสำคัญ
ความข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง ดังนี้เป็นต้น. ดีมาก ๆ ครับ อ่านดูครับ



ชนิดของ สุกขวิปัสสก
ในพระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ หน้าที่ ๔๒๕
ดูข้อ ๒๓๒ เป็นต้นไป ถึงข้อ ๒๓๗


พระพุทธเจ้าตรัสปัญญาวิมุต (สุกขวิปัสสก) บุคคลประเภทต่าง ๆ ไว้ยาวมากครับ ดูเนื้อหาบางส่วน

๒๓๒ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ปัญญาวิมุตบุคคลเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้
[color=#BF0040]ไม่ได้ถูกต้องวิโมกข์อันละเอียด คืออรูปสมาบัติ ล่วงรูปสมาบัติด้วยกายอยู่ แต่อาสวะทั้งหลายของผู้นั้นสิ้นไป
เพราะเห็นอริยสัจนั้น ด้วยปัญญา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้เรากล่าวว่าปัญญา-
วิมุตบุคคล. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมกล่าวว่า กิจที่ควรทำด้วยความไม่
ประมาท ย่อมไม่มีแก่ภิกษุแม้นี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะกิจที่ควรทำด้วย
ความไม่ประมาท ภิกษุนั้นทำเสร็จแล้ว และภิกษุนั้นเป็นผู้ไม่ควรเพื่อจะ
ประมาท.[/color]
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ก็กายสักขีบุคคลเป็นไฉน ฯลฯ
ทิฏฐิปัตตบุคคลเป็นไฉน ฯลฯ
สัทธาวิมุตบุคคลเป็นไฉน ฯลฯ
ธัมมานุสารีบุคคลเป็นไฉน ฯลฯ
สัทธานุสารีบุคคลเป็นไฉน ฯลฯ.



พระอรรถกถาจารย์ ท่านระบุบำเพ็ญขณิกสมาธิเป็นฐานให้บรรลุอรหันต์ได้
:b43: ในอรรถกถาวังคีสเถรคาถาที่ ๑ ในพระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ ๕๖๗
(ปรมัตถทีปนี อรรถกถาเถรคาถา มหานิบาต พระอาจารย์ธัมมปาลเถระ แห่ง พทรติตถมหาวิหารรจนา
)

ท่านจะพูดถึง เกรด ระดับ พระอรหันต์ ๕ จำพวก ไว้ดังนี้
อนึ่ง มี ๕ จำพวก คือท่านผู้บรรลุบารมี คือ
๑.พวกมีคุณอันยอดเยี่ยม บรรดาพระสาวกทั้งหลาย
๒.ท่านผู้บรรลุปฏิสัมภิทา
๓.ท่านผู้มีอภิญญา ๖
๔.ท่านผู้มีวิชชา ๓ และ
๕. ท่านผู้เป็นสุกขวิปัสสก.


(พวกที่ ๑) พระสาวกบางพวกบรรลุถึงที่สุดสาวกบารมี เหมือนท่านพระสารีบุตร
และท่านพระมหาโมคคัลลานะ

(พวกที่ ๒) บางพวกบรรลุปฏิสัมภิทา ด้วยอำนาจปฏิสัมภิทา ๔ นี้ คืออัตถ-
ปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในอรรถ ๑ ธัมมปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉาน
ในธรรม ๑ นิรุตติปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในภาษา ๑ ปฏิภาณ-
ปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในไหวพริบ ๑

(พวกที่ ๓) บางพวกมีอภิญญา ๖ ด้วยอำนาจอภิญญาทั้งหลายมีอิทธิวิธญาณ
ความรู้ในการแสดงฤทธิ์ได้เป็นต้น

(พวกที่ ๔) บางพวกมีวิชชา ๓ ด้ายอำนาจวิชชา ๓ มีบุพเพนิวาสญาณ ความรู้
ระลึกชาติได้ เป็นต้น

(พวกที่ ๕) ส่วนพระเถระผู้ตั้งอยู่ในสมาธิ เพียงสักว่า ขณิกสมาธิ แล้วเริ่มตั้ง
วิปัสสนาบรรลุอรหัตมรรคนั้น ชื่อว่าสุกขวิปัสสก
ผู้เจริญวิปัสสนา
ล้วนๆ เพราะมีแต่วิปัสสนาล้วน ไม่มีการสืบต่อในภายในวิปัสสนา
ด้วยองค์ฌานอันเกิดแต่สมาธิในเบื้องต้น และในระหว่าง ๆ


เจริญสมถก่อน หรือ วิปัสสนาก่อน ก็ได้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ หน้าที่ ๔๖๕ - ๔๖๖
ใน ยุคนัทธวรรค อรรถกถายุคนัทธกถา


พระอานนทเถระกล่าวบาลีว่า สมถปุพฺพงฺคมํ วิปสฺสนํ ภาเวติ ย่อมเจริญวิปัสสนา
อันมีสมถะเป็นเบื้องต้น คือเจริญวิปัสสนาทำสมถะให้เป็นเบื้องต้นก่อน (พระอรรถกถาอธิบายว่า ยังสมาธิให้เกิดก่อน แล้วจึงเจริญวิปัสสนาภายหลัง )

และมีบาลีว่า วิปสฺสนาปุพฺพงฺคมํ สมถ ภาเวติ ย่อมเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็น
เบื้องต้น คือ ภิกษุเจริญสมถะ โดยทำวิปัสสนาให้สำเร็จก่อน
ความว่า ยังวิปัสสนาให้เกิดก่อน แล้วจึงเจริญสมาธิภายหลัง.
และ
บาลีว่า บทว่า ยุคนทฺธํ ภาเวติ เจริญคู่กันไป คือเจริญทำให้คู่กันไป.
ได้ แก่ ภิกษุที่เข้าปฐมฌาน ครั้นออกจากปฐมฌานนั้นแล้วย่อมพิจารณาสังขารทั้งหลาย
ครั้นพิจารณาสังขารทั้งหลายแล้วย่อมเข้าทุติยฌาน ครั้นออกจากทุติยฌานนั้น
แล้ว ย่อมพิจารณาสังขารทั้งหลาย ครั้นพิจารณาสังขารทั้งหลายแล้ว ย่อม
เข้าตติยฌาน ฯลฯ เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ครั้นออกจากเนวสัญญานา-
สัญญายตนสมาบัตินั้นแล้ว ย่อมพิจารณาถึงสังขารทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้
ภิกษุชื่อว่าเจริญสมถะและวิปัสสนาอันเป็นธรรมคู่กัน.


โอยยยยยย ยาวมากครับ ขอโทษด้วย ผมมีสติปัญญาเท่านี้
ถึงแม้บางแห่งจะเป็นพระอรรถกถาจารย์ อธิบาย
แต่ถือว่าเป็นหลักฐานชั้นที่ ๒ รองจากพระไตรปิฎก
ท่านมีสิทธิไม่เชื่อครับ
แต่ผมเชื่อ ผมมีปัญญาแค่นี้เอง ขอรับ
smiley
สาธุ สาธุ สาธุ ท่านผู้ใฝ่ธรรมทุกท่าน
:b41:


แก้ไขล่าสุดโดย ไวโรจนมุเนนทระ เมื่อ 02 ม.ค. 2010, 07:32, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ม.ค. 2010, 09:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


รบกวน ใครก้ได้ ช่วยมาอธิบาย คำว่า ฌาณ ญาณ สมถะ วิปัสสนา หน่อยครับ smiley :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 33 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร