วันเวลาปัจจุบัน 05 พ.ค. 2025, 22:46  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 34 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ธ.ค. 2009, 19:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(ภิกษุรูปหนึ่ง ทูลถามว่า เมื่อภิกษุรู้อยู่ เห็นอยู่อย่างไร จึงจะละอวิชชาได้ วิชชาจึงจะเกิดขึ้น

ตรัสตอบว่า) เมื่อภิกษุรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งตา (หู จมูก ลิ้น กาย ใจ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ

ธรรมารมณ์ วิญญาณ ๖ สัมผัส ๖ และเวทนาที่เป็นสุข ทุกข์ อทุกขมสุข) โดยความเป็นของไม่เที่ยง

ย่อมละอวิชชาได้ วิชชาย่อมเกิดขึ้น

(สํ.สฬ.18/95/61)


(ภิกษุรูปหนึ่ง ทูลถามว่า เมื่อภิกษุรู้อยู่ เห็นอยู่อย่างไร จึงจะละอวิชชาได้ วิชชาจึงจะเกิดขึ้น

ตรัสตอบว่า) ภิกษุมีสุตะว่า ธรรมทั้งปวง ไม่ควรยึดมั่น ข้อที่ว่า ธรรมทั้งปวง ไม่ควรยึดมั่นนี้

ย่อมเป็นเพียงสุตะของเธอ เธอเรียนรู้ (= อภิญญา) ธรรมทุกอย่าง ครั้นเรียนรู้ธรรมทุกอย่างแล้ว

ย่อมรู้จัก (= ปริญญา) ธรรมทุกอย่าง ครั้นรู้จักธรรมทุกอย่างแล้ว ย่อมมองเห็นนิมิต (= สิ่งที่กำหนด

หมายหรือภาพของสิ่งทั้งหลาย) ทั้งปวง โดยนัยอื่น (= มองเห็นต่างไปจากที่เคยมองเห็นเมื่อยังมีความ

ยึดมั่น) คือ เห็นตาโดยนัยอื่น เห็นรูปทั้งหลาย โดยนัยอื่น เห็นเสียง (อายตนะอีก ๙ วิญญาณ ๖

สัมผัส ๖ และเวทนาที่เป็นสุข ทุกข์ อทุกขมสุข) โดยนัยอื่น เมื่อภิกษุรู้อยู่ เห็นอยู่อย่างนี้

ย่อมละอวิชชาได้ วิชชาย่อมเกิดขึ้น

(สํ.สฬ.18/96/62

:b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55:


-อภิญญา รู้จำเพาะ รู้เจาะลงไป รู้กับตัว รู้ด้วยประสบการณ์ตรง

-ปริญญา รู้รอบด้านของสิ่งนั้นๆ รู้ตรงตามสภาพของสิ่งนั้นๆ รู้จักสิ่งนั้นตามลักษณะและคุณสมบัติต่างๆ

ของมัน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ธ.ค. 2009, 22:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สำนวนแบบสืบค้น


“ภิกษุทั้งหลาย เมื่ออะไรมีอยู่หนอ เพราะอาศัยอะไร จึงเกิดสุขทุกข์ขึ้นภายใน....เมื่อรูปมีอยู่

เพราะอาศัยรูป จึงเกิดสุขทุกข์ขึ้นภายใน เมื่อเวทนา...สัญญา...สังขาร...วิญญาณ มีอยู่

เพราะอาศัยเวทนา... สัญญา... สังขาร...วิญญาณ จึงเกิดสุขทุกข์ขึ้นในภายใน


“ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย เข้าใจอย่างไร รูป (เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) เที่ยงหรือไม่เที่ยง

(ไม่เที่ยงพระเจ้าข้า) ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นภาวะบีบคั้น หรือคล่องสบาย (เป็นภาวะบีบคั้น)

ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นภาวะบีบคั้น มีความปรวนแปรไปได้เป็นธรรมดา ไม่อาศัยสิ่งนั้น จะพึงเกิดสุขทุกข์ขึ้น

ในภายในได้หรือ (ไม่ได้เลยพระเจ้าข้า) เมื่อมองเห็นอย่างนี้ ย่อมหายติด ฯลฯ”

(สํ.ข. 17/346-7/221)


สำนวนอย่างนี้ ยังมีข้อความยักเยื้องออกไปอีกหลายอย่าง ซึ่งแสดงว่า ความยึดถืออัตตา สักกายทิฏฐิ

และมิจฉาทิฐิ ต่างๆ หลายอย่าง เกิดขึ้น เพราะความถือมั่นเห็นผิดในขันธ์ ๕ อย่างนี้

(สํ.ข. 17/348-363/221-228)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 18 ธ.ค. 2009, 22:18, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ธ.ค. 2009, 22:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


“ภิกษุทั้งหลาย ธรรมเราแสดงไว้แล้วโดยวิจัย คือ แสดงสติปัฏฐาน ๔...สัมมัปปธาน ๔ ...

อิทธิบาท ๔ ...อินทรีย์ ๕ ...พละ ๕... โพชฌงค์ ๗ ...มรรคมีองค์ ๘ โดยวิจัย...

แต่กระนั้น ก็ยังมีภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เกิดความปริวิตกแห่งใจขึ้นว่า เมื่อรู้อย่างไร เห็นอย่างไรหนอ

อาสวะจึงมีแต่สิ้นไปเรื่อยๆ ...ปุถุชน ผู้มิได้รับการศึกษา (อวินีตะ) ...ย่อมเห็นคล้อยรูป...

เวทนา...สัญญา...สังขาร...วิญญาณ โดยความเป็นอัตตา การเห็นคล้อยไปดังนี้ เป็นสังขาร

ก็สังขารนั้น มีอะไรเป็นต้นเหตุ มีอะไรเป็นสมุทัย เกิดจากอะไร มีแหล่งอะไร

สังขารนั้น เกิดจากตัณหา ที่เกิดขึ้นแก่ปุถุชนผู้ขาดการศึกษา (อัสสุตะ) ซึ่งถูกเวทนาอันเนื่องมาแต่อวิชชา

สัมผัส (การรับรู้ด้วยอวิชชา) กระทบเอา

โดยนัยนี้แล แม้สังขารนั้น ก็จึงเป็นของไม่เที่ยง เป็นของปรุงแต่ง (สังขตะ) อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น

(ปฏิจจสมุปบัน)

แม้ตัณหานั้น...เวทนานั้น...ผัสสะ (การรับรู้) นั้น...อวิชชานั้น ก็ไม่เที่ยง เป็นของปรุงแต่ง

อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น เมื่อรู้เมื่อมองเห็นอยู่อย่างนี้แล อาสวะก็จะมีแต่ความสิ้นไปเรื่อยๆ”

สํ.ข.17/175-181/117-121)


:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:

ข้อความท่อนที่ว่า “มองเห็นรูป..โดยความเป็นอัตตา” ยังมีการเปลี่ยยักเยื้องไปอีกหลายอย่าง

(สํ.ข.17/175-181/117-121)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 19 ธ.ค. 2009, 14:58, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ธ.ค. 2009, 15:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุมีสติ (คือปฏิบัติตามหลักสติปัฏฐาน ๔) มีสัมปชัญญะ (คือ สร้างสัมปชัญญะ

ในการ เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม เป็นต้น) ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่อย่างนี้

ถ้าเกิดเวทนาที่เป็นสุขขึ้น เธอก็รู้ชัดอย่างนี้ว่า เวทนาที่เป็นสุขนี้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา

ก็แล เวทนานั้นอาศัยปัจจัยจึงเกิดขึ้น แล้วสุขเวทนาซึ่งเกิดขึ้นโดยอาศัยกายที่ไม่เที่ยง

เป็นของปรุงแต่ง เป็นปฏิจจสมุปบันธรรมอยู่แล้ว จักเป็นของเที่ยงได้แต่ที่ไหน เธอมองเห็น

ความเป็นสิ่งไม่เที่ยง ความเสื่อมสิ้นไป ความจางหาย ความดับ ความสลัดออกไปทั้งในกาย

และในสุขเวทนา เมื่อเธอมองเห็น...อย่างนี้ ราคานุสัยที่มีในกายและในสุขเวทนา ก็จะถูกละเสียได้


“เมื่อภิกษุมีสติ มีสัมปชัญญะ ...อยู่อย่างนี้ ถ้าเกิดเวทนาที่เป็นทุกข์ขึ้น เธอรู้ชัด....ปฏิฆานุสัย

ที่มีในกายและในทุกขเวทนา ก็จะถูกละเสียได้


“เมื่อภิกษุมีสติ มีสัมปชัญญะ ...อยู่อย่างนี้ ถ้าเกิดเวทนาที่ไม่ทุกข์ไม่สุขขึ้น เธอรู้ชัด....

อวิชชานุสัยที่มีในกาย และในอทุกขมสุขเวทนา ก็จะถูกละเสียได้"

(สํ.สฬ.18/377/261)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ธ.ค. 2009, 15:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตัวอย่างธรรมที่พิจารณาได้ทุกระดับ


พระมหาโกฏฐิตะ: ท่านสารีบุตร ภิกษุผู้มีศีลควรโยนิโสมนสิการธรรมจำพวกไหน

พระสารีบุตร: ท่านโกฏฐิตะ ภิกษุผู้มีศีลควรโยนิโสมนสิการอุปาทานขันธ์ ๕ โดยอาการที่เป็น

ของไม่เที่ยง เป็นของที่ปัจจัยบีบคั้นได้ (ทุกข์) เป็นดังโรคซึงต้องคอยรักษา เป็นดังฝี เป็นดังลูกศร

เป็นสิ่งคอยก่อความเดือดร้อน เป็นที่ทำให้ข้องขัดไม่สบาย เป็นดังคนพวกฝ่ายอื่น เป็นสิ่งที่จะต้องแตกสลาย

เป็นของสูญเปล่าไม่มีสาระจริง ไม่เป็นอัตตา...มีฐานะเป็นไปได้ที่เมื่อภิกษุผู้มีศีล โยนิโสมนสิการ

อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้โดยอาการที่เป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ จะพึงประจักษ์แจ้งโสดาปัตติผล

พระมหาโกฏฐิตะ: ภิกษุโสดาบันล่ะท่าน ควรโยนิโสมนสิการธรรมจำพวกไหน

พระสารีบุตร: แม้ภิกษุโสดาบัน ก็ควรโยนิโสมนสิการอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ โดยอาการที่เป็น

ของไม่เที่ยง ฯลฯ มีฐานะเป็นไปได้ที่เมื่อภิกษุโสดาบันโยนิโสมนสิการ...อย่างนี้ จะพึงประจักษ์แจ้ง

สกทาคามิผล


พระมหาโกฏฐิตะ : ภิกษุสกทาคามีล่ะท่าน ควรโยนิโสมนสิการธรรมจำพวกไหน

พระสารีบุตร: แม้ภิกษุที่เป็นสกทาคามีก็ควรก็ควรโยนิโสมนสิการอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ โดยอาการที่เป็น

ของไม่เที่ยง ฯลฯ มีฐานะเป็นไปได้ที่เมื่อภิกษุสกทาคามีโยนิโสมนสิการ...อย่างนี้ จะพึงประจักษ์

แจ้งอนาคามิผล

พระมหาโกฏฐิตะ : ภิกษุอนาคามีล่ะท่าน ควรโยนิโสมนสิการธรรมจำพวกไหน

พระสารีบุตร: แม้ภิกษุที่เป็นอนาคามีก็ควรก็ควรโยนิโสมนสิการอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้

โดยอาการที่เป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ มีฐานะเป็นไปได้ที่เมื่อภิกษุอนาคามีโยนิโสมนสิการ...อย่างนี้

จะพึงประจักษ์แจ้งอรหัตผล

พระมหาโกฏฐิตะ : พระอรหันต์ล่ะท่าน ควรโยนิโสมนสิการธรรมจำพวกไหน


พระสารีบุตร:แม้พระอรหันต์ก็ควรโยนิโสมนสิการอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ โดยอาการที่เป็น

ของไม่เที่ยง ฯลฯ พระอรหันต์ไม่มีกิจซึ่งจะต้องทำยิ่งขึ้นไปอีก หรือจะต้องสั่งสมกิจที่กระทำไว้แล้ว

(ก็จริง) ก็แต่ว่าธรรมเหล่านี้ เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อทิฏฐธรรมสุขวิหาร

และเป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะ



(สํ.ข. 17/310-314/203-205)

:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:

ทิฏฐธรรมสุขวิหาร การพักใจอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 20 ธ.ค. 2009, 21:12, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ธ.ค. 2009, 15:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มีสูตรถัดไป คือ สํ.ข. 17/315-317/205-206 ก็มีเนื้อความเหมือนกัน แต่เปลี่ยนคำว่า “มีศีล”

ในท่อนแรกเป็น “ผู้มีสุตะ”

ใน สํ.ม. 19/1272-5/382 ว่าทั้งพระเสขะและพระอเสขะ ควรใช้สติปัฏฐาน ๔ เป็นวิหารธรรม

ธรรมที่ตามปกติเป็นข้อปฏิบัติสำหรับพระเสขะ (และแม้ต่ำกว่าพระเสขะ) แต่ใช้เพื่อทิฏฐธรรมสุขวิหาร

และสติสัมปชัญญะสำหรับพระอรหันต์ ก็คือ ฌาน ๔ (เช่น ม.อุ.14/100/85

และที.ปา.11/233/ 233 ฯลฯ ) กายคตาสติก็ตรัสไว้ทำนองนี้ (องฺ.เอก.20/226/56)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ธ.ค. 2009, 18:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สำนวนแนววิปัสสนา แสดงความแตกต่างระหว่างพระอริยบุคคลหลายระดับ


ก. พระเสขะ กับ พระอรหันต์

พระสารีบุตร : ท่านอนุรุทธ์ เรียกกันว่า พระเสขะ พระเสขะ ด้วยเหตุผลเพียงไหน จึงเป็น

พระเสขะ ?

ท่านอนุรุทธ์: เพราะเจริญสติปัฏฐาน ๔ ได้แล้วบางส่วน จึงเป็นพระเสขะ

พระสารีบุตร : ท่านอนุรุทธ์ เรียกกันว่า พระอเสขะ พระอเสขะ ด้วยเหตุผลเพียงไหน จึงเป็น

พระอเสขะ ?

ท่านอนุรุทธ์: เพราะเจริญสติปัฏฐาน ๔ ได้แล้วบางส่วน จึงเป็นพระเสขะ

(สํ.ม.19/782-4/233-4)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ธ.ค. 2009, 18:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล่าวว่า ภิกษุหมดทุกรูป มีกิจที่ต้องกระทำด้วยความไม่ประมาท

ในผัสสายตนะ (อายตนะสำหรับรับรู้) ทั้ง ๖ และเราก็มิได้กล่าวว่า ภิกษุทั้งหมดทุกรูปไม่มีกิจ

ที่จะต้องทำด้วยความไม่ประมาทในผัสสายตนะทั้ง ๖

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่าใดเป็นพระอรหันต์ สิ้นอาสวะแล้ว...หลุดพ้นแล้ว เพราะรู้ถูกถ้วน สำหรับภิกษุ

เหล่านั้น เรากล่าวว่า ไม่มีกิจที่จะต้องทำด้วยความไม่ประมาทในผัสสายตนะทั้ง ๖

ข้อนั้นเพราะเหตุไร ? เพราะ กิจที่จะต้องทำด้วยความไม่ประมาท อันภิกษุเหล่านั้นทำเสร็จแล้ว

ภิกษุเหล่านั้น เป็นผู้ไม่อาจเป็นไปได้ที่จะประมาท

ส่วนภิกษุเหล่าใด เป็นเสขะ ยังไม่บรรลุอรหัตผล ยังปรารถนาอยู่ซึ่งธรรมอันเป็นโยคะ * ที่ยอดเยี่ยม

สำหรับภิกษุเหล่านั้น เรากล่าวว่า มีกิจที่จะต้องทำด้วยความไม่ประมาทในผัสสายตนะทั้ง ๖

ข้อนั้นเพราะเหตุไร ? เพราะว่า รูปทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุ...เสียง...กลิ่น...รส...

โผฏฐัพพะ...ธรรมารมณ์ทั้งหลาย ที่พึงรู้แจ้งด้วยใจ ย่อมมีทั้งที่รื่นรมย์ใจบ้าง ไม่รื่นรมย์ใจบ้าง

รูป ฯลฯ ธรรมารมณ์ทั้งหลายเหล่านั้น ถูกต้อง (รับรู้เข้ามา) แล้วๆ ย่อมครอบงำจิต

ของภิกษุ (ผู้ไม่ประมาท) ไม่ได้

เพราะการที่จิตไม่ถูกครอบงำ ก็เป็นอันได้เริ่มระดมความเพียรไม่ย่อหย่อน สติก็กำกับอยู่ ไม่เผลอ

กายก็ผ่อนกลายสงบ ไม่กระสับกระส่าย จิตก็ตั้งมั่นมีอารมณ์เดียว

เราเล็งเห็นผลแห่งความไม่ประมาทดังนี้แล จึงกล่าวสำหรับภิกษุเหล่านั้นว่า มีกิจที่จะต้องทำด้วยความ

ไม่ประมาทในผัสสายตนะทั้ง ๖

(สํ.สฬ.18/213/157)

:b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43:

* ภาวะปลอดภัยจากกิเลส ซึ่งผูกเทียมสัตว์ไว้กับภพ หรือ ภาวะปลดแอก หมายถึง อรหัตภาวะ

คือความเป็นพระอรหันต์ ใช้ในภาษาสามัญ หมายถึงความปลอดโปร่งโล่งใจหรือความหลุดรอดปลอดภัย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ธ.ค. 2009, 19:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มีอยู่นะภิกษุทั้งหลาย ปริยาย* ที่เมื่อได้อาศัยแล้ว ภิกษุเสขะ ดำรงอยู่แล้วในเสขภูมิ ก็รู้ชัดได้ว่า

เราเป็นเสขะ

ภิกษุอเสขะ ดำรงอยู่แล้วในอเสขภูมิ ก็รู้ชัดได้ว่า เราเป็นอเสขะ ...

ในข้อนี้ ภิกษุเสขะ ดำรงอยู่แล้วในเสขภูมิ ย่อมรู้ชัดว่า ทุกข์คือดังนี้...ทุกขสมุทัยคือดังนี้...ทุกขนิโรธ

คือดังนี้...ปฏิปทาให้ถึงทุกขนิโรธคือดังนี้ นี้ก็เป็นปริยายหนึ่ง ที่เมื่อได้อาศัยแล้ว ภิกษุเสขะดำรงอยู่แล้ว

ในเสขภูมิ รู้ชัดได้ว่า เราเป็นเสขะ


อีกประการหนึ่ง ภิกษุเสขะ ย่อมพิจารณาดังนี้ว่า สมณะหรือพราหมณ์อื่น ภายนอกจากธรรมวินัยนี้

มีบ้างไหมหนอ ที่แสดงธรรม ซึ่งจริง แท้ แน่ (ตถะ) เหมือนดังพระผู้มีพระภาค “

เธอย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า สมณะหรือพราหมณ์อื่น ภายนอกจากธรรมวินัยนี้ ไม่มีเลยหนอ

ที่แสดงธรรม ซึ่งจริง แท้ แน่เหมือนดังพระผู้มีพระภาค“ นี้ก็ปริยายหนึ่ง...


:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41:

* ปริยาย แนว วิธี ช่องทาง นัยอ้อม แง่แห่งเหตุผล

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ธ.ค. 2009, 19:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อีกประการหนึ่ง ภิกษุเสขะ ย่อมรู้ชัด ซึ่งอินทรีย์ ๕ คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์

ปัญญินทรีย์

อินทรีย์ทั้ง ๕ มีสิ่งใดเป็นคติ มีสิ่งใดเป็นจุดสูงสุด มีสิ่งใดเป็นผล มีสิ่งใดเป็นจุดหมาย

เธอสัมผัสด้วย (นาม) กายยังไม่ได้ เป็นแต่เห็นปรุโปร่งด้วยปัญญา

นี้ก็เป็นปริยายหนึ่งที่...รู้ชัดได้ว่า เราเป็นเสขะ


...ในข้อนี้ ภิกษุอเสขะ ย่อมรู้ชัดอินทรีย์ ๕ คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์

ปัญญินทรีย์

อินทรีย์ทั้ง ๕ มีสิ่งใดเป็นคติ มีสิ่งใดเป็นจุดสูงสุด มีสิ่งใดเป็นผล มีสิ่งใดเป็นจุดหมาย

เธอทั้งสัมผัสอยู่ด้วย (นาม) กาย และเห็นปรุโปร่งด้วยปัญญา

นี้ก็เป็นปริยายหนึ่ง ที่เมื่อได้อาศัยแล้ว ภิกษุอเสขะ ดำรงอยู่แล้วในอเสขภูมิ ย่อมรู้ชัดว่า เราเป็น อเสขะ


“อีกประการหนึ่ง ภิกษุอเสขะ ย่อมรู้ชัดซึ่งอินทรีย์ทั้ง ๖ คือ จักขุนทรีย์ โสตินทรีย์ ฆานินทรีย์

ชิวหินทรีย์ กายินทรีย์ มนินทรีย์ เธอรู้ชัดว่า "อินทรีย์ทั้ง ๖ เหล่านี้แลจักดับไป หมดสิ้นโดยประการ

ทั้งปวง ไม่เหลืออยู่เลย และอินทรีย์ ๖ เหล่าอื่น ก็จักไม่เกิดขึ้น ณ ที่ไหนๆ เลย"

นี้ก็เป็นปริยายหนึ่งที่...รู้ชัดว่า เราเป็น อเสขะ"

(สํ.ม.19/1031/303)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ธ.ค. 2009, 20:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มีคำจำกัดความเกี่ยวกับ เสขะ และอเสขะอีก คือ

เพราะศึกษาอยู่แล ฉะนั้น จึงเรียกเสขะ

ศึกษาอะไรเล่า ?

ศึกษาทั้งอธิศีล ศึกษาทั้งอธิจิตต์ ศึกษาทั้งปัญญา

เพราะศึกษาอยู่แล ฉะนั้น จึงเรียกว่า เสขะ

(องฺ.ติก.20/525/297 ฯลฯ)



ภิกษุผู้ประกอบด้วยสัมมาทิฐิ...สัมมาสังกัปปะ...สัมมาวาจา...สัมมากัมมันตะ...สัมมาอาชีวะ...

สัมมาวายามะ...สัมมาสติ...สัมมาสมาธิ ที่เป็นเสขะ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ภิกษุชื่อว่า เป็นเสขะ

(สํ.ม.19/51/18)


ภิกษุผู้ประกอบด้วยสัมมาทิฐิ...สัมมาสังกัปปะ...สัมมาวาจา...สัมมากัมมันตะ...สัมมาอาชีวะ...

สัมมาวายามะ...สัมมาสติ...สัมมาสมาธิ...สัมมาญาณ...สัมมาวิมุตติ ที่เป็นอเสขะ

อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่า เป็นอเสขะ

(องฺ.ทสก. 24/111/237)


บาลีแห่งหนึ่ง แสดงความแตกต่างระหว่างเสขวิหาร กับตถาคตวิหารว่า พระเสขะยังละนิวรณ์ ๕ อยู่

ส่วนพระอรหันต์กำจัดนิวรณ์ ๕ ได้หมดสิ้นเด็ดขาดแล้ว

(สํ.ม.19/1371-1/414)

คัมภีร์อภิธรรมจำกัดความว่า บุคคลผู้เป็นมรรคสมังคี ๔ และผู้เป็นผลสมังคี ๓ ชื่อว่า เสขะ

พระอรหันต์ ชื่อว่า อเสขะ

บุคคลเหลือจากนั้นเป็นเสขะก็ไม่ใช่ อเสขะก็ไม่ใช่

(อภิ.ปุ.36/35/144)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 22 ธ.ค. 2009, 21:28, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ธ.ค. 2009, 21:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ข. ผู้ปฏิบัติเพื่อโสดาปัตติผล กับพระโสดาบัน


ภิกษุทั้งหลาย ตา...หู...จมูก...ลิ้น...กาย...ใจ (รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์

วิญญาณ ๖ สัมผัส ๖ เวทนา ๖ สัญญา ๖ สัญเจตนา ๖ ตัณหา ๖ ธาตุ ๖ ขันธ์ ๕) ไม่เที่ยง

เป็นของปรวนแปร กลายเป็นอย่างอื่นได้

ผู้ใดเชื่อ น้อมใจดิ่งต่อธรรมเหล่านี้ อย่างนี้ ผู้นี้เรียกว่า เป็นสัทธานุสารี

เป็นผู้ก้าวลงสู่สัมมัตตนิยาม ก้าวลงแล้วสู่ภูมิแห่งสัตบุรุษ ล่วงเลยภูมิแห่งปุถุชนไปแล้ว

เป็นผู้ไม่อาจกระทำกรรมชนิดที่กระทำแล้วจะพึงเข้าถึงนรก กำเนิดดิรัจฉาน หรือเปรตวิสัย

ไม่อาจจบชีวิตจนกว่าจะประจักษ์แจ้งโสดาปัตติผล


สำหรับผู้ใด ธรรมเหล่านี้ ทนการเพ่งพิสูจน์ด้วยปัญญาอย่างนี้บ้างพอประมาณ ผู้นี้เรียกว่า

เป็นธัมมานุสารี เป็นผู้ก้าวลงสู่สัมมัตตนิยาม... ไม่อาจจบชีวิตจนกว่าจะประจักษ์แจ้ง

โสดาปัตติผล


สำหรับผู้ใด รู้ธรรมเหล่านี้ อย่างนี้ มองเห็นอย่างนี้ ผู้นี้เรียกว่าเป็นโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา

เป็นผู้แน่นอนที่จะตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า

(สํ.ข. 17/469-478/278-282)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ธ.ค. 2009, 21:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ค.พระโสดาบัน กับ พระอรหันต์


“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดอริยสาวก รู้ชัดซึ่งสมุทัย ความอัสดง อัสสาทะ (ส่วนดี) อาทีนพ (ส่วนเสีย)

และนิสสรณะ (ภาวะอิสระ ทางออก) แห่งอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ ตามที่มันเป็นจริง

อริยสาวกนี้เรียกว่า โสดาบัน เป็นผู้มีความรู้ไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา แน่นอนที่จะตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า


เมื่อใด ภิกษุ รู้ซึ่งสมุทัย ความอัสดง อัสสาทะ อาทีนพ และนิสสรณะ แห่งอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้

ตามที่มันเป็นจริงแล้ว เป็นผู้หลุดพ้นเพราะไม่ถือมั่นนี้เรียกว่าอรหันตขีณาสพ

เป็นผู้อยู่จบ เสร็จกิจปลงภาระลงได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตน หมดเครื่องผูกรัดไว้ในภพ เป็นผู้หลุดพ้น

เพราะรู้ถูกต้อง”

(สํ.ข. 17/296-7/196)

:b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55:

ในสังยุตตนิกาย มหาวรรค มีอีก ๒ สูตร ที่มีข้อความเหมือนอย่างนี้ แต่ต่างเพียงเปลี่ยนข้อธรรม

จากอุปาทานขันธ์ ๕ เป็นอย่างอื่น คือ ขุ.ม.19/844-7/256 เปลี่ยนเป็น อินทรีย์ ๕

(สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา)

และ ขุ.ม.19/903-5/272 เปลี่ยนเป็นอินทรีย์ ๖ (ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ธ.ค. 2009, 08:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สัจจกนิครนถ์ : ด้วยเหตุผลเพียงไรหนอ สาวกของท่านพระโคตมผู้เจริญ จึงจะชื่อว่าเป็นผู้ทำตามคำสอน

(สาสนกร) ปฏิบัติตรงต่อโอวาท ข้ามวิจิกิจฉา ปราศจากความเคลือบแคลงใจ ถึงความแกล้วกล้า

ไม่ต้องเชื่อใครอื่นในคำสอนของพระศาสดา


พระพุทธเจ้า : ดูกรอัคคิเวสสนะ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมมองเห็นรูปทั้งปวง ไม่ว่าอย่างหนึ่งอย่างใด

ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ไม่ว่าภายในหรือภายนอก...ไม่ว่าไกลหรือใกล้ตัวด้วยสัมมาปัญญา

ตามที่มันเป็นจริงว่า มิใช่ “นั่นของเรา” มิใช่ “เราเป็นนั่น” มิใช่ “นั่นเป็นตัวตนของเรา”

มองเห็น เวทนา...สัญญา...สังขาร...วิญญาณตามที่มันเป็นจริง (อย่างเดียวกับรูป)

ด้วยเหตุผลเท่านี้แล สาวกของเราขื่อว่าเป็นผู้ทำตามคำสอน...ไม่ต้องอาศัยคนอื่น (คือไม่ต้องเชื่อคน

อื่น) อยู่ในศาสนาของพระศาสดา


สัจจกนิครนถ์ : ด้วยเหตุผลเพียงไรหนอ พระโคตมผู้เจริญ ภิกษุจึงจะชื่อว่าเป็นพระอรหันตขีณาสพ ฯลฯ

เป็นผู้หลุดพ้น เพราะรู้ถูกต้อง ?


พระพุทธเจ้า : ดูกรอัคคิเวสสนะ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมมองเห็นรูปทั้งปวง ไม่ว่าอย่างหนึ่งอย่างใด

....ด้วยสัมมาปัญญา ตามที่มันเป็นจริงว่า มิใช่ “นั่นของเรา” มิใช่ “เราเป็นนั่น”

มิใช่ “นั่นเป็นตัวตนของเรา” ดังนี้แล้ว เป็นผู้หลุดพ้นด้วยไม่ถือมั่น

มองเห็นเวทนา...สัญญา...สังขาร...วิญญาณ...ตามที่มันเป็นจริง...ดังนี้แล้ว เป็นผู้หลุดพ้นด้วย

ไม่ถือมั่น...ด้วยเหตุผลเท่านี้แล ภิกษุชื่อว่าเป็นพระอรหันตขีณาสพ...หลุดพ้นแล้ว เพราะรู้ถูกต้อง


(ม.มู.12/401-2/433-4)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ธ.ค. 2009, 21:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ง.พระอนาคามี กับพระอรหันต์


พระนารทะ: นี่แนะท่านปวิฏฐ์ โดยไม่อาศัยศรัทธาเลย ไม่อาศัยความถูกต้อง การเล่าเรียนมา การตรึก

ตรองตามเหตุผล หรือความเข้ากันได้กับทิฏฐิของตน ผมรู้ ผมเห็น ซึ่งความข้อนี้ว่า เพราะชาตินิโรธ

ชรามรณะจึงนิโรธ เพราะอวิชชานิโรธ สังขารจึงนิโรธ ...ผมรู้ ผมเห็นความข้อนี้ว่า นิโรธแห่งภพ

คือ นิพพาน”


พระปวิฏฐ์ : ถ้าอย่างนั้น ท่านนารทะ ก็เป็นพระอรหันตขีณาสพสิ ?

พระนารทะ: ข้อที่ว่านิโรธแหง่ภพคือนิพพานนั้น ผมมองเห็นเป็นอย่างดีด้วยสัมมาปัญญาตามความเป็นจริง

แต่กระนั้น ผมก็มิใช่เป็นพระอรหันตขีณาสพ เปรียบเหมือนมีบ่อน้ำในทางกันดาร แต่ที่นั้นไม่มีเชือก

ไม่ภาชนะสำหรับตักน้ำ ครานั้น บุรุษหนึ่ง ถูกอากาศแล้งเผา กรำร้อน มาถึง ทิ้งเหนื่อย ทั้งหิว ทั้งกระหาย

เขามองลงไปในบ่อน้ำนั้น ทั้งที่มีความรู้อยู่ว่า นั่นน้ำ แต่จะสัมผัสด้วยกาย ก็มิได้ นี่ฉันใด

ข้อที่ว่านิโรธแห่งภพเป็นนิพพาน ผมก็มองเห็นเป็นอย่างดีสัมมาปัญญาตามความเป็นจริง แต่ผมก็มิใช่เป็น

พระอรหันตขีณาสพ*


(สํ.นิ. 16/272-4/142) *... อรรถกถาไขความว่า ท่านตั้งอยู่ในอนาคามิมรรค (สํ.อ.2/157)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 34 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร