วันเวลาปัจจุบัน 21 ก.ค. 2025, 07:45  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 201 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 7, 8, 9, 10, 11, 12, 13, 14  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 พ.ย. 2009, 23:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รินรส เขียน:
วัดร่ำเปิง (ตโปทาราม) ค่ะ ที่จริงที่นิโรธารามก็น่าสนใจนะคะ แต่อยู่ไกลไป ตั้งอ.จอมทอง
คิดว่าคุณกรัชกายคงรู้จักทั้งสองแห่งนะคะ

แต่ไม่รู้ว่าจะได้ไปเมื่อไหร่นะคะ เพราะไม่มีเพื่อนไปค่ะ ไม่มีใครว่างติดกันหลาย ๆ วัน ไม่กล้าไปคนเดียวค่ะ คืออยากไปเลยลองถามดูเท่านั้นเองค่ะ อยากไปดูไปรู้ว่าวันหนึ่ง ๆ เขาทำอะไรกันบ้างค่ะ


วัดรำเปิง อาจารย์ทอง เคยไปครับ

ส่วนนิโคธาราม ไม่เคยเข้าไป แต่ อ.จอมทอง เคยผ่าน ไปถ้ำตองครับ

ว่างๆมีเพื่อนๆไปดูก็ได้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 30 พ.ย. 2009, 23:44, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 พ.ย. 2009, 23:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รินรส เขียน:
วันนี้โกรธคน ๆ หนึ่ง โกรธมากเลย โกรธตั้งสองครั้งด้วย เพราะเจอกันสองครั้ง
แต่ละครั้งนานเป็นชั่วโมงเลยค่ะกว่าจะหาย
(ไม่โกรธมากขนาดนี้มานานแล้วนะคะ ครั้งสุดท้ายคือปลายเดือนสิงหาคมที่หนูเคยเล่าให้ฟัง
แต่มักจะมีแบบเคือง หงุดหงิด ไม่กี่นาทีก็หาย)
ก็กำหนดโกรธหนอ ๆ เรื่อย ๆ ทำอะไรอยู่ก็ตามดูความโกรธสลับกันไป

ช่วงที่กำลังโกรธก็นึกถึงแต่เรื่องที่ทำให้โกรธ คิดแต่จะไปบอกเขาว่าเราโกรธเขามากนะ
แต่จริง ๆ แล้วได้แต่พยายามทำตัวปกติ อยากบังคับตัวเองให้หายโกรธแต่ก็ทำไม่ได้
และรู้สึกว่าเหมือนความโกรธเป็นเจ้านายเรา ที่ว้าวุ่นวุ่นวายใจนี่เพราะความโกรธ เราไม่เป็นตัวของตัวเอง
คือรู้สึกในขณะนั้นเลย ไม่ใช่หายโกรธแล้วเพิ่งมารู้สึกเหมือนเมื่อก่อน

อย่างนี้เป็นเพราะมีสติมากขึ้นหรือเป็นเพราะอะไรคะ ไม่อยากเข้าข้างตัวเอง กลัวเหลิงค่ะ




คือ สติสัมปชัญญะสมาธิ เป็นต้นไวขึ้น จึงตามทันปัจจุบันอารมณ์ทันทีทันใด

ไม่ต้องฝืนหรือต้านมันครับ ให้กำหนด "โกรธหนอๆๆ" ที่ความรู้สึกนั้น


กรัชกายก็เคยที่จำๆได้สองครั้ง ในสองเหตุการณ์ ครั้งแรกมองเห็นฝ่ายตรงข้ามตัวเล็กนิดเดียว

ทำให้นึกถึงสุภาษิตที่ว่า คนโกรธ "มองเห็นช้างเท่าหนู" นี่จริงๆเลย

ครั้งที่สองโกรธ (ใครไม่รู้) หักกิ่งไม้ดอกที่เราปลูกไว้ ขณะนั้นร่างกาย เหมือนมีก้อนอะไรไม่รู้ร้อนๆแล่น

ขึ้นตามกระดูสันหลังถึงศีรษะ ทำให้มึนหัวเลย ได้ข้อคิดว่า นี่หรอไฟคือโทสะ

ความโกรธทำลายสุขภาพกายและใจตนเอง การเข้าไปยึดมั่นในอะไรๆแม้แต่ต้นไม้เล็กๆ ก็ก่อทุกข์ให้ตนได้

กิเลสก็เป็นครูสอนเราคอยเตือนสติได้เช่นกัน

วิธีการกำจัดกิเลสาวะเหล่านี้ คือ การกำหนดรู้ตามที่มันเป็นหรือตามเป็นจริง ชอบใจไม่ชอบใจ กำหนดตามนั้น

ได้หมดเลย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 01 ธ.ค. 2009, 07:55, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ธ.ค. 2009, 07:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ นี้เรียกว่านิพพาน

(สํ.สฬ.18/497/310; 513/321)

ความบำราศราคะ ความบำราศโทสะ ความบำราศโมหะ นี้เป็นชื่อของนิพพานธาตุ

(สํ.ม.19/31/10)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ธ.ค. 2009, 09:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คำสอนในพระพุทธศาสนาเน้นสิ่งที่ปฏิบัติได้จริง และการลงมือทำให้รู้เห็นประจักษ์บังเกิดผล

เป็นประโยชน์แก่ชีวิต

หรือเน้นสิ่งที่ใช้ประโยชน์ได้ และการนำสิ่งนั้นมาใช้ให้เป็นประโยชน์ -(ขุ.อ.25/138/184)

ไม่สนับสนุนการคิดวาดภาพและการถกเถียงหาเหตุผลในสิ่งที่พึงรู้เห็นได้ด้วยการลงมือทำนั้น ให้เกินเพียงพอ

แก่ความเข้าใจที่จะเป็นพื้นฐานสำหรับการลงมือปฏิบัติ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ธ.ค. 2009, 13:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 21:22
โพสต์: 264

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
วัดรำเปิง อาจารย์ทอง เคยไปครับ

ส่วนนิโคธาราม ไม่เคยเข้าไป แต่ อ.จอมทอง เคยผ่าน ไปถ้ำตองครับ

ว่างๆมีเพื่อนๆไปดูก็ได้



แต่เราควรบอกเขาว่าเราฝึกมาระยะหนึ่งแล้วด้วยหรือเปล่าคะ

.....................................................
"เราไม่สรรเสริญแม้แต่ความตั้งอยู่ได้ในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่ต้องพูดถึงความเสื่อมถอยจากกุศลธรรมทั้งหลาย
เรายกย่องสรรเสริญอย่างเดียว แต่ความก้าวหน้าต่อไปในกุศลธรรมทั้งหลาย"

(องฺ. ทสก. ๒๔/๕๓/๑๐๑)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ธ.ค. 2009, 15:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รินรส เขียน:
กรัชกาย เขียน:
วัดรำเปิง อาจารย์ทอง เคยไปครับ

ส่วนนิโคธาราม ไม่เคยเข้าไป แต่ อ.จอมทอง เคยผ่าน ไปถ้ำตองครับ

ว่างๆมีเพื่อนๆไปดูก็ได้


แต่เราควรบอกเขาว่าเราฝึกมาระยะหนึ่งแล้วด้วยหรือเปล่าคะ



ส่วนมากทางวัดจะให้กรอกใบสมัคร ก็ว่าเคยทำเคยปฏิบัติมาแล้ว

หรือถูกถามก็บอกตามนั้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ธ.ค. 2009, 21:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 21:22
โพสต์: 264

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รายละเอียดของการปฏิบัติที่วัดร่ำเปิงต่างจากสำนักที่คุณกรัชกายเคยเรียนมาบ้างไหมคะ

.....................................................
"เราไม่สรรเสริญแม้แต่ความตั้งอยู่ได้ในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่ต้องพูดถึงความเสื่อมถอยจากกุศลธรรมทั้งหลาย
เรายกย่องสรรเสริญอย่างเดียว แต่ความก้าวหน้าต่อไปในกุศลธรรมทั้งหลาย"

(องฺ. ทสก. ๒๔/๕๓/๑๐๑)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ธ.ค. 2009, 22:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รินรส เขียน:
รายละเอียดของการปฏิบัติที่วัดร่ำเปิงต่างจากสำนักที่คุณกรัชกายเคยเรียนมาบ้างไหมคะ


ที่นั่นปัจจุบันไม่แน่ใจครับว่า เปลี่ยนผู้ดูแลเปลี่ยนผู้ให้คำแนะนำการปฏิบัติกรรมฐานเป็นใครกันบ้างแล้ว

จึงยืนยันไม่ได้อ่ะครับ

เรื่องพันยังงี้อยู่ที่ประสบการณ์ของผู้ได้รับการถ่ายทอดเองด้วย แม้นมีรูปแบบปฏิบัติอย่างเดียวกัน แต่ผู้ได้รับ

การถ่ายทอดสืบๆกันมา รู้เพียงรูปแบบ แต่ตนเองไม่มีประสบการณ์ตรงจากการปฏิบัติเองเลย

ก็จะเหมือน (เสียง)คนที่แนะเขาในคลิปนี้

http://www.youtube.com/watch?v=yMvbgckInow

ผลเสียจะเกิดแก่ผู้ทำตามอย่างจริงจัง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ธ.ค. 2009, 23:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ด้านบนนั่นเป็นตัวอย่างผู้ซึ่งรู้เพียงรูปแบบปฏิบัติว่าเขาทำกันอย่างนี้ๆ เขาเดินจงกรมอย่างนี้ๆ แต่ไม่เข้าใจสภาวะ

ที่ปรากฏแล้วก็ไม่รู้ว่าจะแก้ปัญหาอย่างไร แล้วยังเข้าใจผิดอีกต่างหาก ตัวอย่างที่ใช้รูปแบบปฏิบัติแบบเดียวกัน

แต่ผู้ถ่ายทอดไม่ประสีประสา

ยังมีอีกที่ใช้รูปแบบต่างกัน แล้วมีปัญหา เช่น ตัวอย่างลิงค์นี้ เป็นต้น


viewtopic.php?f=2&t=20528

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ธ.ค. 2009, 23:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 21:22
โพสต์: 264

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


น่ากลัวนะคะ :b2:

.....................................................
"เราไม่สรรเสริญแม้แต่ความตั้งอยู่ได้ในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่ต้องพูดถึงความเสื่อมถอยจากกุศลธรรมทั้งหลาย
เรายกย่องสรรเสริญอย่างเดียว แต่ความก้าวหน้าต่อไปในกุศลธรรมทั้งหลาย"

(องฺ. ทสก. ๒๔/๕๓/๑๐๑)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ธ.ค. 2009, 23:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รินรส เขียน:
น่ากลัวนะคะ


นี่คือเหตุผลหนึ่งที่กรัชกายถามคุณย้ำแล้วย้ำอีกก่อนหน้าโน่น เพื่อจะทดลองใจคุณว่ามุ่งมั่นแค่ไหนเพียงไร

แต่คุณก็จิตใจเด็ดเดี่ยว แล้วก็ผ่านจุดดังตัวอย่างนั้นมาแล้ว ต่อนี้ไปคุณพึ่งตนเองรักษาตนเองได้ระดับหนึ่ง

แล้ว ดังที่กรัชกายบอกคุณก่อนหน้านี้ ก็คือว่าเมื่อคุณประสบกับอิฏฐารมณ์ ก็ไม่หลงระเริงจนเกินพิกัด

เมื่อประสบกับอนิฏฐารมณ์ก็ไม่ทุกข์หนักจนตีอกชกตัว คือจะมีสติปัญญารักษาตนได้

ดังนั้นคุณพึงปฏิบัติต่อไปแล้วกุศลวิบากจะเกิดแก่ชีวิตจิตใจชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 02 ธ.ค. 2009, 07:34, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ธ.ค. 2009, 15:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 21:22
โพสต์: 264

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ที่เคยได้ยินมา รวมทั้งเคยอ่านเจอในหนังสือ และในเว็บหลายเว็บว่า การทำบุญ ให้ทาน รักษาศีล จะช่วยส่งเสริมการปฏิบัติให้ก้าวหน้า คือหมายความว่า การทำบุญ ให้ทาน รักษาศีล การกระทำเหล่านี้จะทำให้จิตใจเราสะอาดขึ้น แล้วจะช่วยให้การปฏิบัติก้าวหน้าใช่ไหมคะ เข้าใจถูกไหมคะ :b10: เพราะเท่าที่ได้ยินได้อ่านมาไม่มีคำอธิบายต่อว่าการกระทำเหล่านี้จะช่วยให้การปฏิบัติก้าวหน้าได้อย่างไร หรืออาจเป็นเพราะไม่เจอหนังสือหรือการอธิบายเหตุผลเกี่ยวกับเรื่องนี้ก็ไม่ทราบนะคะ

.....................................................
"เราไม่สรรเสริญแม้แต่ความตั้งอยู่ได้ในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่ต้องพูดถึงความเสื่อมถอยจากกุศลธรรมทั้งหลาย
เรายกย่องสรรเสริญอย่างเดียว แต่ความก้าวหน้าต่อไปในกุศลธรรมทั้งหลาย"

(องฺ. ทสก. ๒๔/๕๓/๑๐๑)


แก้ไขล่าสุดโดย รินรส เมื่อ 02 ธ.ค. 2009, 15:58, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ธ.ค. 2009, 19:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รินรส เขียน:
ที่เคยได้ยินมา รวมทั้งเคยอ่านเจอในหนังสือ และในเว็บหลายเว็บว่า การทำบุญ ให้ทาน รักษาศีล จะช่วยส่งเสริมการปฏิบัติให้ก้าวหน้า คือหมายความว่า การทำบุญ ให้ทาน รักษาศีล การกระทำเหล่านี้จะทำให้จิตใจเราสะอาดขึ้น แล้วจะช่วยให้การปฏิบัติก้าวหน้าใช่ไหมคะ เข้าใจถูกไหมคะ :b10: เพราะเท่าที่ได้ยินได้อ่านมาไม่มีคำอธิบายต่อว่าการกระทำเหล่านี้จะช่วยให้การปฏิบัติก้าวหน้าได้อย่างไร หรืออาจเป็นเพราะไม่เจอหนังสือหรือการอธิบายเหตุผลเกี่ยวกับเรื่องนี้ก็ไม่ทราบนะคะ




ที่เคยได้ยินมา รวมทั้งเคยอ่านเจอในหนังสือ และในเว็บหลายเว็บว่า การทำบุญ
ให้ทาน รักษาศีล จะช่วยส่งเสริมการปฏิบัติให้ก้าวหน้า คือหมายความว่า การทำบุญ ให้ทาน รักษาศีล การกระทำเหล่านี้จะทำให้จิตใจเราสะอาดขึ้น แล้วจะช่วยให้การปฏิบัติก้าวหน้าใช่ไหมคะ เข้าใจถูกไหมคะ




กรัชกายจะพูดย้อนว่า...หากเราปฏิบัติธรรม (ปฏิบัติกรรมฐาน) ก้าวหน้าจนจิตใจสะอาดขึ้นแล้ว

การทำบุญให้ทาน รักษาศีลจะบริสุทธิ์ประกอบด้วยเหตุผลมากขึ้น


กระบวนธรรมอย่างที่คุณรินเข้าใจ (ถาม)คือ ระบบการฝึกตนจากขั้นหยาบไป ซึ่งอาศัยวัตถุภายนอกช่วย

ซึ่งท่านผ่อนมาจากไตรสิกขา (จาก ศีล สมาธิ ปัญญา) ซึ่งเรียกว่า บุญกิริยาวัตถุ (ทาน ศีล ภาวนา)

คุณรินพิจารณาดูครับ


บุญกิริยา หรือบุญกิริยาวัตถุ ๓

๑. ทาน การให้ การสละ การเผื่อแผ่แบ่งปัน เป็นการให้เพื่ออนุเคราะห์ เช่น ช่วยเหลือ

ผู้ยากไร้ ตกทุกข์ยากขาดแคลนบ้าง

ให้เพื่อสงเคราะห์ เพื่อยึดเหนี่ยวจิตใจสมานไมตรี แสดงน้ำใจสร้างสามัคคีบ้าง

ให้เพื่อบูชาคุณความดี เพื่อยกย่องส่งเสริมสนับสนุนคนดีบ้าง

เป็นการให้ในด้านทรัพย์สินสิ่งของ ปัจจัยเครื่องใช้ยังชีพ วัสดุอุปกรณ์ต่างๆก็มี

ให้ความรู้ศิลปะวิทยาการ ให้คำแนะนำสั่งสอน บอกแนวทางดำเนินชีวิต หรือให้ธรรม ก็มี

ให้ความมีส่วนร่วมในการบำเพ็ญกิจที่ดีงามก็มี ตลอดจนให้อภัยที่เรียกว่าอภัยทาน


๒. ศีล ความประพฤติดีงาม และการเลี้ยงชีพในทางสุจริต ความมีระเบียบวินัยและความมีกิริยา

มารยาทงดงาม เฉพาะอย่างยิ่งเน้นศีลในระดับการไม่เบียดเบียนหรือการอยู่ร่วมกันด้วยดีโดยสงบสุข

ในสังคม กล่าวคือ

การไม่ประทุษร้ายต่อชีวิตและร่างกาย

การไม่ละเมิดกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของกันและกัน

การไม่ละเมิดต่อของรัก ไม่ประทุษร้ายจิตใจลบหลู่เกียรติทำลายตระกูลวงศ์ของกันและกัน

การไม่หักรานลิดรอนผลประโยชน์กันด้วยวิธีประทุษร้ายทางวาจา และการไม่ซ้ำเติมตนเอง

ด้วยสิ่งเสพติด ซึ่งทำให้เสื่อมทรามเสียสติสัมปชัญญะ ที่เป็นเครื่องเหนี่ยวรั้งป้องกันจากความผิดพลาด

เสียหายและคุ้มตัวไว้ในคุณความดี

นอกจากนี้ อาจพยายามฝึกตนเพิ่มขึ้นในด้านการงดเว้นสิ่งหรูหราฟุ่มเฟือยบำรุงบำเรอปรนเปรอความสุข

ต่างๆ และหัดให้เป็นอยู่ง่ายๆ ด้วยการรักษาอุโบสถ ถือศีล ๘ ตลอดจนศีล ๑๐ ประการ

ตามโอกาส หรืออาจปฏิบัติในทางบวก เช่น ขวนขวายช่วยเหลือรับใช้ร่วมมือและบริการต่างๆ

(ไวยาวัจกรรม)


๓. ภาวนา การฝึกปรือจิตและปัญญา คือฝึกอบรมจิตใจให้เจริญขึ้นด้วยคุณธรรมต่างๆ

ให้เข้มแข็งมั่นคงหนักแน่น และให้มีปัญญารู้เท่าทันสังขาร

พูดอย่างสมัยใหม่ว่า รู้เท่าทันโลกและชีวิต หรือมีโลกทัศน์และชีวทัศน์ที่ถูกต้อง

ภาวนานี้ ก็คือ สมาธิ และ ปัญญา ในไตรลิกขา

พูดเต็มว่า สมาธิภาวนา และปัญญาภาวนานั่นเอง แต่ไม่ย้ำเน้นแต่ละอย่างให้เด่นชัดนัก จึงผ่อนเอามา

กล่าวรวมจัดเข้าเป็นหัวข้อเดียวกัน มีความหมายคลุมตั้งแต่สัมมาวายามะที่ให้เพียรละกิเลส

เพียรอบรมปลูกฝังกุศลธรรมในหมวดสมาธิ จนมาถึงการมีสัมมาทิฏฐิ

และความดำริที่ชอบประกอบด้วยเมตตากรุณาในสัมมาสังกัปปะที่เป็นหมวดปัญญา

วิธีการ และข้อปฏิบัติที่ท่านเน้นสำหรับการฝึกปรือจิตและปัญญาในระดับเหมารวมอย่างนี้

ก็คือ การแสวงปัญญา และชำระจิตใจด้วยการสดับธรรม (รวมทั้งอ่าน) ที่เรียกว่าธรรมสวนะ

การแสดงธรรม สนทนาธรรม การแก้ไขปลูกฝังความเชื่อ ความเห็น ความเข้าใจให้ถูกต้อง

การเจริญเมตตา และการควบคุมขัดเกลากิเลสโดยทั่วไป

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 02 ธ.ค. 2009, 19:43, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ธ.ค. 2009, 19:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(ต่อ)

เป็นอันเห็นได้ชัดว่า พระพุทธเจ้าเมื่อทรงผ่อนกระจายจุดหมายของชีวิตหรือจุดหมายของการปฏิบัติธรรมออก

เป็นระดับต่างๆ จนถึงขั้นต้นๆ แล้ว ก็ได้ทรงผ่อนจัดระบบวิธีดำเนินชีวิตหรือวิธีประพฤติปฏิบัติธรรมให้สอดคล้อง

กันด้วย

ในระบบที่ผ่อนลงมานี้ เน้นข้อปฏิบัติเบื้องต้นที่เกี่ยวกับการแสดงออกทางกายวาจา การปฏิบัติต่อกัน

ระหว่างมนุษย์ หรือความสัมพันธ์ทางสังคมซึ่งเป็นการกระทำที่ปรากฏรูปร่าง มองเห็นได้ชัด ปฏิบัติง่ายกว่า

แยกกระจายเป็น ๒ ข้อคือ ทาน และศีล มุ่งให้ขัดเกลาทำชีวิตจิตใจภายในให้ประณีตเจริญงอกงามขึ้น

โดยใช้การกระทำภายนอกที่หยาบกว่าเป็นเครื่องมือ เรียกตามสำนวนทางธรรมว่า เพื่อกำจัดกิเลสหยาบ

ส่วนการปฏิบัติขั้นสมาธิและปัญญา หรืออธิจิต และอธิปัญญา ซึ่งเน้นหนักด้านภายในโดยตรง

เป็นเรื่องยากและละเอียดลึกซึ้ง


ระบบบุญกิริยานี้ไม่แยกเน้น แต่เอามาจัดรวมเสีย และพยายามชี้แนะเนื้อหาที่เบาลง

ในทางปฏิบัติสมัยต่อๆมา มักเป็นที่รู้กันว่าระบบของมรรค ในรูปบุญกิริยา ๓ นี้ ท่านจัดไว้ให้เหมาะ

สำหรับสอนคฤหัสถ์คือชาวบ้าน


ส่วนระบบที่ออกรูปเป็นไตรสิกขา (ศีล สมาธิ ปัญญา) เป็นแบบแผนใหญ่ยืนพื้น เป็นหลักกลาง

สำหรับการปฏิบัติธรรมเต็มตามกระบวนการ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 02 ธ.ค. 2009, 19:31, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ธ.ค. 2009, 19:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




DSC01694.jpg
DSC01694.jpg [ 44.92 KiB | เปิดดู 3570 ครั้ง ]
ไตรสิกขา แปลว่า สิกขา ๓

คำว่า สิกขา แปลว่า การศึกษา การสำเหนียก การฝึก ฝึกปรือ ฝึกอบรม

ได้แก่ ข้อปฏิบัติที่เป็นหลักสำหรับฝึกอบรมกาย วาจา จิตใจ และปัญญา ให้เจริญงอกงามยิ่งขึ้นไปจนบรรลุ

จุดหมายสูง คือ ความหลุดพ้นหรือนิพพาน


คำว่า สิกขา มีความหมายคล้ายคำว่า ภาวนา ซึ่งแปลว่า การทำให้เกิดมี การทำให้มีให้เป็น

การทำให้เจริญ การเจริญ การเพิ่มพูน การบำเพ็ญ การอบรม หรือ ฝึกอบรม

และมี ๓ อย่างเหมือนกัน คือ กายภาวนา ฝึกอบรมกาย

จิตตภาวนา ฝึกอบรมจิต

ปัญญาภาวนา ฝึกอบรมปัญญา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 201 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 7, 8, 9, 10, 11, 12, 13, 14  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร