วันเวลาปัจจุบัน 05 พ.ค. 2025, 23:12  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 15 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสต์ เมื่อ: 27 ต.ค. 2009, 18:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ต.ค. 2009, 18:49
โพสต์: 49

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เจริญในธรรมพระพุทธศาสดา
อยากให้ช่วยวิเคราะห์ สติปัฏฐานกถา ที่พระสารีบุตรอธิบาย
โดยเฉพาะประโยค กายย่อมปรากฏ (เป็นที่ตั้งของสติ) ไม่ใช่สติ
สติปรากฏด้วย เป็นตัวระลึกด้วย ภิกษุพิจารณาเห็นกายนั้นด้วยสตินั้นและด้วยญาณนั้น เพราะเหตุนั้น
จึงเรียกการพิจารณาเห็นกายในกายว่า สติปัฏฐานภาวนา"

เนื้อหารวมคัดลอกจากคัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ สติปัฏฐานกถา

"ภิกษุพิจารณาเห็นกายด้วยอาการ ๗ อย่างนี้(คือ พิจารณาเห็นโดยความไม่เที่ยง ไม่พิจารณาเห็นโดย
ความเที่ยง พิจารณาเห็นโดยความเป็นทุกข์ ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นสุข พิจารณาเห็นโดยความเป็น
อนัตตา ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นอัตตา ย่อมเบื่อหน่าย ไม่ยินดี ย่อมคลายกำหนัด ไม่กำหนัด
ย่อมทำราคะให้ดับ ไม่ให้เกิด ย่อมสละคืน ไม่ยึดถือ) กายย่อมปรากฏ (เป็นที่ตั้งของสติ) ไม่ใช่สติ
สติปรากฏด้วย เป็นตัวระลึกด้วย ภิกษุพิจารณาเห็นกายนั้นด้วยสตินั้นและด้วยญาณนั้น เพราะเหตุนั้น
จึงเรียกการพิจารณาเห็นกายในกายว่า สติปัฏฐานภาวนา"

หมายเหตุในวงเล็บ เป็นการขยายความเพิ่ม

เจริญในธรรมพระพุทธศาสดา
เข้าใจ เข้าถึง เผยแผ่ ปกปักษ์รักษาพระสัทธรรม
พระอาจารย์แสนปราชญ์


โพสต์ เมื่อ: 28 ต.ค. 2009, 00:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ผมว่าวิเคราะห์สติในจิตท่านพระอาจารย์แสนปราชญ์ก่อนเป็นอันดับแรกน่าจะดีนะครับ

ว่าเป็นโลกียะสติ หรือโลกุตตระสตินะครับ


การวิเคราะห์ สติปัฏฐานกถา ของพระอริยเจ้า ด้วยจิตปุถุชนของท่านพระอาจารย์แสนปราชญ์เข้าใจได้ยากครับ




เจริญในธรรมครับ



ดูกรโปฏฐปาทะ
เพราะเหตุที่ภิกษุเป็นผู้มีสกสัญญา
พ้นจากปฐมฌานเป็นต้นนั้นแล้ว
ย่อมบรรลุอากิญจัญญายตนฌานโดยลำดับ
เธอย่อมมีความปริวิตกอย่างนี้ว่า
เมื่อเรายังคิดอยู่ก็ยังชั่ว
เมื่อเราไม่คิดอยู่จึงจะดี
ถ้าเรายังขืนคิด ขืนคำนึง สัญญาของเราเหล่านี้พึงดับไป
และสัญญาที่หยาบเหล่าอื่นพึงเกิดขึ้น
ถ้ากระไร เราไม่พึงคิด ไม่พึงคำนึง
ครั้นเธอปริวิตกอย่างนี้แล้ว
เธอก็ไม่คิด ไม่คำนึง
เมื่อเธอไม่คิด ไม่คำนึง สัญญาเหล่านั้นก็ดับไป
และสัญญาที่หยาบเหล่าอื่นก็ไม่เกิดขึ้น
เธอก็ได้บรรลุนิโรธ
การเข้าอภิสัญญานิโรธแห่งภิกษุผู้มีสัมปชัญญะโดยลำดับ
ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้แล.


โพสต์ เมื่อ: 28 ต.ค. 2009, 15:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 10
สมาชิก ระดับ 10
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 พ.ย. 2008, 12:29
โพสต์: 814

ที่อยู่: กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


ว่าแต่พระอาจารย์ต้องการให้วิเคราะห์ข้างบน หรือข้างล่างครับ

ข้างบนก็คือ ตั้งแต่ช่วยวิเคราะห์ ...จนถึง สติปัฏฐานภาวนา

ส่วนข้างล่างคือ ตั้งแต่ภิกษุพึงเจริญอาการ32... จนถึง สติปัฏฐานภาวนา เช่นกัน

หรือว่าทั้งหมดเลยครับ


โพสต์ เมื่อ: 28 ต.ค. 2009, 19:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ต.ค. 2009, 18:49
โพสต์: 49

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เจริญในธรรมพระพุทธศาสดา ท่านอินทรีย์5

อ้างอิงคำถาม : ว่าแต่พระอาจารย์ต้องการให้วิเคราะห์ข้างบน หรือข้างล่างครับ

ข้างบนก็คือ ตั้งแต่ช่วยวิเคราะห์ ...จนถึง สติปัฏฐานภาวนา

ส่วนข้างล่างคือ ตั้งแต่ภิกษุพึงเจริญอาการ32... จนถึง สติปัฏฐานภาวนา เช่นกัน

หรือว่าทั้งหมดเลยครับ

ตอบ : อยากให้ช่วยวิเคราะห์ ประโยค "กายย่อมปรากฏ (เป็นที่ตั้งของสติ) ไม่ใช่สติ
สติปรากฏด้วย เป็นตัวระลึกด้วย ภิกษุพิจารณาเห็นกายนั้นด้วยสตินั้นและด้วยญาณนั้น
เพราะเหตุนั้น จึงเรียกการพิจารณาเห็นกายในกายว่า สติปัฏฐานภาวนา"
คำว่าที่น่าสนใจคือ "กายย่อมปรากฏ (เป็นที่ตั้งของสติ) ไม่ใช่สติ
สติปรากฏด้วย เป็นตัวระลึกด้วย. . ."

ส่วนเนื้อหาข้างล่างเป็นบริบทนำมาอ้างที่มาเพื่อประกอบการวิเคราะห์

เนื้อหารวมคัดลอกจากคัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ สติปัฏฐานกถา

"ภิกษุพิจารณาเห็นกายด้วยอาการ ๗ อย่างนี้(คือ พิจารณาเห็นโดยความไม่เที่ยง ไม่พิจารณาเห็นโดย
ความเที่ยง พิจารณาเห็นโดยความเป็นทุกข์ ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นสุข พิจารณาเห็นโดยความเป็น
อนัตตา ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นอัตตา ย่อมเบื่อหน่าย ไม่ยินดี ย่อมคลายกำหนัด ไม่กำหนัด
ย่อมทำราคะให้ดับ ไม่ให้เกิด ย่อมสละคืน ไม่ยึดถือ) กายย่อมปรากฏ (เป็นที่ตั้งของสติ) ไม่ใช่สติ
สติปรากฏด้วย เป็นตัวระลึกด้วย ภิกษุพิจารณาเห็นกายนั้นด้วยสตินั้นและด้วยญาณนั้น เพราะเหตุนั้น
จึงเรียกการพิจารณาเห็นกายในกายว่า สติปัฏฐานภาวนา"

เจริญในธรรมพระพุทธศาสดา
เข้าใจ เข้าถึง เผยแผ่ ปกปักษ์รักษาพระสัทธรรม
พระอาจารย์แสนปราชญ์


โพสต์ เมื่อ: 28 ต.ค. 2009, 20:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค



ปัญญาวรรค สติปัฏฐานกถา
สาวัตถีนิทานบริบูรณ์

[๗๒๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน ?

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีปรกติพิจารณาเห็นกายในกาย มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกอยู่ เป็นผู้พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ เป็นผู้พิจารณาเห็นจิตในจิต เป็นผู้พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔ ประการนี้แล ฯ

[๗๒๗] ภิกษุเป็นผู้พิจารณาเห็นกายในกายอยู่อย่างไร ฯ ?

ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกองธาตุดิน
โดยความเป็นของไม่เที่ยง ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นของเที่ยง
พิจารณาเห็นโดยความเป็นทุกข์ ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นสุข
พิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นอัตตา
ย่อมเบื่อหน่าย ไม่ยินดี
ย่อมคลายกำหนัด ไม่กำหนัด
ย่อมดับ ไม่ให้เกิด
ย่อมสละคืน ไม่ถือมั่น


เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาได้
เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นทุกข์ ย่อมละสุขสัญญาได้
เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา ย่อมละอัตตสัญญาได้
เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมละความยินดีได้
เมื่อคลายกำหนัด ย่อมละความกำหนัดได้
เมื่อดับ ย่อมละสมุทัยได้
เมื่อสละคืน ย่อมละความยึดถือได้


ภิกษุพิจารณาเห็นกายโดยอาการ ๗ นี้
กายปรากฏ ไม่ใช่สติ
สติปรากฏด้วย เป็นตัวสติด้วย
ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายนั้นด้วยสติและญาณนั้น
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกการพิจารณาเห็นกายในกายว่า สติปัฏฐานภาวนา ฯ



ภาวนา ในคำว่า ภาวนา มี ๔ คือ ภาวนา
ด้วยความว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้นไม่ล่วงเกินกัน ๑
ด้วยความว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอันเดียวกัน ๑
ด้วยความว่าเป็นเครื่องนำไปซึ่งความเพียร อันสมควรแก่ความที่ธรรมทั้งหลายไม่ล่วงเกินกัน และอินทรีย์มีกิจเป็นอันเดียวกันนั้น ๑
ด้วยความว่าเป็นธรรมที่เสพ ๑

ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นกองอาโปธาตุ กองเตโชธาตุ กองวาโยธาตุ กองผม กองขน กองผิว กองหนัง กองเนื้อ กองเอ็น กองกระดูก กองเยื่อในกระดูก


โดยความเป็นของไม่เที่ยง ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นของเที่ยง
พิจารณาเห็นโดยความเป็นทุกข์ ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นสุข
พิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นอัตตา
ย่อมเบื่อหน่าย ไม่ยินดี
ย่อมคลายกำหนัด ไม่กำหนัด
ย่อมดับ ไม่ให้เกิด
ย่อมสละคืน ไม่ถือมั่น


เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาได้
เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นทุกข์ ย่อมละสุขสัญญาได้
เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา ย่อมละอัตตสัญญาได้
เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมละความยินดีได้
เมื่อคลายกำหนัด ย่อมละความกำหนัดได้
เมื่อดับ ย่อมละสมุทัยได้
เมื่อสละคืน ย่อมละความยึดถือได้


ภิกษุพิจารณาเห็นกายด้วยอาการ ๗ นี้
กายปรากฏ ไม่ใช่สติ
สติปรากฏด้วย เป็นตัวสติด้วย
ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายนั้นด้วยสติและญาณนั้น
เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงเรียกการพิจารณาเห็นกายในกายว่า สติปัฏฐานภาวนา ฯ


ภาวนา ในคำว่า ภาวนา มี ๔ ฯลฯ ภาวนาด้วยความว่า เป็นธรรมที่เสพ ฯลฯ ภิกษุมีปรกติพิจารณาเห็นกายในกายอยู่อย่างนี้ ฯ



เจริญในธรรมครับ


โพสต์ เมื่อ: 28 ต.ค. 2009, 20:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ภิกษุพิจารณาเห็นกายโดยอาการ ๗ นี้
กายปรากฏ ไม่ใช่สติ
สติปรากฏด้วย เป็นตัวสติด้วย
ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายนั้นด้วยสติและญาณนั้น
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกการพิจารณาเห็นกายในกายว่า สติปัฏฐานภาวนา ฯ



ภิกษุพิจารณาเห็นกายโดยอาการ ๗ นี้
กายปรากฏ ไม่ใช่สติ
........ที่ปรากฏคือรูปกาย เป็นรูปขันธ์ ไม่ใช่สติ

สติปรากฏด้วย เป็นตัวสติด้วย.........สติปรากฏในจิต เป็นเจตสิกธรรมในจิต เกิดร่วมเกิดพร้อมกับรูปขันธ์คือรูปกาย เรียกว่ามีขันธ์ 5 ครบในภูมิจิตดวงนั้น

ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายนั้นด้วยสติและญาณนั้น.......วิญญาณหรือจิตรู้แจ้งสิ่งใด ปัญญาย่อมรู้ชัดสิ่งนั้น

เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกการพิจารณาเห็นกายในกายว่า สติปัฏฐานภาวนา ฯ



เจริญในธรรมครับ


โพสต์ เมื่อ: 28 ต.ค. 2009, 22:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 10
สมาชิก ระดับ 10
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 พ.ย. 2008, 12:29
โพสต์: 814

ที่อยู่: กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ตอบ : อยากให้ช่วยวิเคราะห์ ประโยค "กายย่อมปรากฏ (เป็นที่ตั้งของสติ) ไม่ใช่สติ
สติปรากฏด้วย เป็นตัวระลึกด้วย ภิกษุพิจารณาเห็นกายนั้นด้วยสตินั้นและด้วยญาณนั้น
เพราะเหตุนั้น จึงเรียกการพิจารณาเห็นกายในกายว่า สติปัฏฐานภาวนา"
คำว่าที่น่าสนใจคือ "กายย่อมปรากฏ (เป็นที่ตั้งของสติ) ไม่ใช่สติ

ขอตอบเพิ่มเติมนะครับพระอาจารย์
การตั้งสติกำหนดพิจารณากายหรือพิจารณาเห็นกายในกายที่เรียกเป็นภาษาธรรมะว่า กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ต้องการเอาสติตามรู้กาย ไม่ว่าจะเป็นการเคลื่อนไหว การหายใจเข้าออก ยืน เดิน นั่ง นอน ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ คำว่า "กาย" ในที่นี้จึงหมายถึงร่างกายของเราเท่านั้น นอกเหนือจากนี้ไม่ต้องสนใจ เพราะฉะนั้นหากกำหนดว่า "ไก่ขันหนอ" "หมาเห่าหนอ" นั้นไม่ใช่เพราะมันไม่เป็นกายานุปัสสนา ซึ่งเป็นการอธิบายกายในกายตามหลักของการเจริญสติด้วยการเอาสติผูกเข้าไว้กับจิตอันนี้ตามดูรู้เห็นกายที่เคลื่อนไหว แต่เมื่อสติที่เราปฏิบัติสะสมมากเข้าๆการเห็นกายจะไม่ใช่แค่เห็นแบบธรรมดาหรือสติธรรมดา แต่จะเห็นแบบรู้แจ้งเข้าไปละเอียดอีกชั้นหนึ่งหรือเรียกว่า ญาณ นั่นเอง หรือเห็นกายในกายด้วยวิปัสสนาญาณ

ที่สำคัญ กายย่อมปรากฏ หมายถึงร่างกายทั้งหมด ส่วนสติเป็นเหมือนนามธรรมเป็นธรรมะที่ใช้ฝึกจิต
หรือก้คือนามจะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยรูปก่อน หรือสติจะเกิดขึ้นได้ดีต้องอาศัยกายเป็นฐาน(จับกายให้ได้ก่อน)ที่ตั้งแล้วเจริญสติตาม

กายกับสติทำงานต่างหน้าที่กัน กายเป็นที่อยู่ของขันธ์5(ทำให้ขันธ์5ทำงานอยู่ร่วมกัน) ส่วนสติเป็นนามธรรม ไม่ใช่นามเฉยๆมีหน้าที่ฝึกจิต กำหนดจิตให้ทันหน้าที่ของมันคือระลึกได้ ไม่เผลอตัว จึงกล่าวได้ว่า "กายที่ปรากฏ ไม่ใช่สติ"

ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า ผู้เจริญสติปัฏฐานเอาจิตตามดูกายที่เคลื่อนไหวเป็นประจำนั้น ย่อมเห็นขันธ์ห้า เห็นสติปัฏฐาน
เห็นองค์ธรรม และที่ขาดไม่ได้คือเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ทั้งในรูปและนามที่เกิดขึ้น

.....................................................
"มีสติเป็นเรือนจิต ใช้ชีวิตเป็นเรือนใจ ใช้ปัญญาเป็นแสงสว่างส่องทางเดินไปเถิด จะได้ล้ำเลิศในชีวิตของท่าน มีความหมายอย่างแท้จริง"
ในการปฏิบัติธรรม หลวงพ่อท่านบอกว่า ให้ตัดปลิโพธกังวลใจทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น ลูก สามี ภรรยา ความวุ่นวายทั้งหลายทั้งปวง อย่าเอามาเป็นอารมณ์ จากหนังสือ: เจริญกรรมฐาน7วันได้ผลแน่นอน หัวข้อ12: ระงับเวรด้วยการแผ่เมตตา


โพสต์ เมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 13:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


พระแสนปราชญ์ ถามว่า
อยากให้ช่วยวิเคราะห์ ประโยค "กายย่อมปรากฏ (เป็นที่ตั้งของสติ) ไม่ใช่สติ
สติปรากฏด้วย เป็นตัวระลึกด้วย ภิกษุพิจารณาเห็นกายนั้นด้วยสตินั้นและด้วยญาณนั้น
เพราะเหตุนั้น จึงเรียกการพิจารณาเห็นกายในกายว่า สติปัฏฐานภาวนา"
คำว่าที่น่าสนใจคือ "กายย่อมปรากฏ (เป็นที่ตั้งของสติ) ไม่ใช่สติ
สติปรากฏด้วย เป็นตัวระลึกด้วย. . ."

ข้าพเจ้าจะโปรดถวายพระคุณเจ้า เอาไว้ใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อพุทธศาสนิกชน ทั้งหลาย
ความจริงแล้วข้าพเจ้ายังเขียนไม่ถึงเรื่องของ สติปัฏฐาน เอาเป็นว่าจะโปรดถวายให้กับพระคุณเจ้าสั้นๆว่า

"สรีระร่างกายของมนุษย์ อันได้แก่ จิต,เจตสิก,รูป ทั้งหลายนั้น เป็นต้นตอ หรือเป็นเครื่องที่ทำให้เกิดสติ แต่ไม่ใช่ลักษณะหรือสภาพสภาวะจิตใจที่เรียกว่า "สติ"
สติ หมายถึง ความระลึกได้ ความหวนระลึก นึกถึง เมื่อภิกษุ วิตก,วิจาร เข้าใจในสรีะร่างกาย ด้วยการระลึกนึกถึง หรือความหวนระลึก เพราะ ไม่มีใครมองเห็นอวัยวะภายในของตัวเองได้ดอกขอรับ ต้องระลึกนึกถึงตามความรู้ ตามเจตสิก นั่นแหละ
และต้องระลึกนึกถึง สรีระร่างกาย ตามความรู้ และเกิดความเข้าใจ ในสรีระร่างกาย(เอาของตัวเองนั่นแหละ) จึงเรียกว่า
"พิจารณา เห็นกายในกาย"

ขอถาม พระคุณเจ้าศึกษาจบแล้วหรือ เห็นประชาสัมพันธ์ วิทยานิพนธ์ อะไรนั่น แต่พอเข้าไปดู กลับไม่เห็นวิทยานิพนธ์อะไรเลย


โพสต์ เมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 20:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ต.ค. 2009, 18:49
โพสต์: 49

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เจริญในธรรมพระพุทธศาสดา

อ้างอิงคำถาม : ขอถาม พระคุณเจ้าศึกษาจบแล้วหรือ เห็นประชาสัมพันธ์ วิทยานิพนธ์ อะไรนั่น
แต่พอเข้าไปดู กลับไม่เห็นวิทยานิพนธ์อะไรเลย

ตอบ : อาตมาศึกษายังไม่จบ และก็คิดว่าคงศึกษาไม่จบหรอก เพราะคัมภีร์นี้แสดงถึงความแตกฉาน
ปฏิสัมภิทา ๔ ผู้ที่ศึกษาจบก็แสดงว่าแตกฉานปฏิสัมภิทา ๔ และน่าจะอธิบายได้ดีกว่าอาตมา
ซึ่งอาตมาเป็นผู้ได้รับรางวัล วิทยานิพนธ์ดีเด่นเรื่อง "การศึกษาเชิงวิเคราะห์สติปักฐานกถาในคัมภีร์
ปฏิสัมภิทามรรค" ก็จริง แต่ก็เป็นแค่ความรู้เชิงวิชาการ เป็นงูพิษชนิดหนึ่ง เพราะฉะนั้นจึงถามหาผู้รู้
เพื่อรู้เพิ่ม เพราะอาตมายึดหลัก "ข้าพเจ้ารู้อย่างเดียวว่า ข้าพเจ้าไม่รู้" (อันนี้อาตมาแปลเอาตามที่เข้าใจ
ของตัวเองและเป็นธรรมที่เอามาใช้เฉพาะตัวเท่านั้น)
ส่วนการประชาสัมพันธ์นั้นเป็นของ มจร. ที่เขาบันทึกการบรรยายของอาตมาไว้เมื่อ ๓๐ ส.ค. ๕๒
ต้องเข้าไปดูในเว็ป มจร. ตามที่ให้ไว้

ชมวีดีโอที่นี่ ลิงค์นี้
http://www.mcu.ac.th/site/news_in.php?g ... EWSID=4843

ชมประมวลภาพที่นี่ ลิงค์นี้
http://gallery.mcu.ac.th/view_album.php ... e=album174

สำหรับเนื้อหาของวิทยานิพนธ์นั้นถ้าอยากได้ให้แจ้งที่อยู่ อาตมามีซีดีข้อมูลแจกให้

เจริญในธรรมพระพุทธศาสดา
เข้าใจ เข้าถึง เผยแผ่ ปกปักษ์รักษาพระสัทธรรม
พระอาจารย์แสนปราชญ์


โพสต์ เมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 22:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เจริญในธรรม ท่านแสนปราชญ์

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ พึงทราบว่าเป็นบัณฑิต ธรรม ๓ ประการ
เป็นไฉน คือ ตั้งปัญหาโดยแยบคาย ๑ เฉลยปัญหาโดยแยบคาย ๑ อนุโมทนา
ปัญหาที่ผู้อื่นเฉลยโดยแยบคาย ด้วยบทพยัญชนะที่เหมาะสม สละสลวยเข้ารูป ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล พึงทราบว่าเป็น
บัณฑิต ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ
พึงทราบว่าเป็นคนพาล ธรรม ๓ ประการเป็นไฉน คือ ตั้งปัญหาโดยไม่แยบคาย ๑
เฉลยปัญหาโดยไม่แยบคาย ๑ ไม่อนุโมทนาปัญหาที่ผู้อื่นเฉลยโดยแยบคาย
ด้วยบทพยัญชนะที่เหมาะสม สละสลวย เข้ารูป ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้
ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล พึงทราบว่าเป็นคนพาล

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แก้ไขล่าสุดโดย เช่นนั้น เมื่อ 29 ต.ค. 2009, 22:33, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสต์ เมื่อ: 30 ต.ค. 2009, 07:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อรุณสวัสดิ์ครับท่านเช่นนั้นอะโป๊ะ สบายดีนะครับ :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 30 ต.ค. 2009, 07:18, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสต์ เมื่อ: 30 ต.ค. 2009, 13:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


[quote="Buddha"]พระแสนปราชญ์ ถามว่า
อยากให้ช่วยวิเคราะห์ ประโยค "กายย่อมปรากฏ (เป็นที่ตั้งของสติ) ไม่ใช่สติ
สติปรากฏด้วย เป็นตัวระลึกด้วย ภิกษุพิจารณาเห็นกายนั้นด้วยสตินั้นและด้วยญาณนั้น
เพราะเหตุนั้น จึงเรียกการพิจารณาเห็นกายในกายว่า สติปัฏฐานภาวนา"
คำว่าที่น่าสนใจคือ "กายย่อมปรากฏ (เป็นที่ตั้งของสติ) ไม่ใช่สติ
สติปรากฏด้วย เป็นตัวระลึกด้วย. . ."

ข้าพเจ้าจะโปรดถวายพระคุณเจ้า เอาไว้ใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อพุทธศาสนิกชน ทั้งหลาย
ความจริงแล้วข้าพเจ้ายังเขียนไม่ถึงเรื่องของ สติปัฏฐาน เอาเป็นว่าจะโปรดถวายให้กับพระคุณเจ้าสั้นๆว่า

"สรีระร่างกายของมนุษย์ อันได้แก่ จิต,เจตสิก,รูป ทั้งหลายนั้น เป็นต้นตอ หรือเป็นเครื่องที่ทำให้เกิดสติ แต่ไม่ใช่ลักษณะหรือสภาพสภาวะจิตใจที่เรียกว่า "สติ"
สติ หมายถึง ความระลึกได้ ความหวนระลึก นึกถึง เมื่อภิกษุ วิตก,วิจาร เข้าใจในสรีะร่างกาย ด้วยการระลึกนึกถึง หรือความหวนระลึก เพราะ ไม่มีใครมองเห็นอวัยวะภายในของตัวเองได้ดอกขอรับ ต้องระลึกนึกถึงตามความรู้ ตามเจตสิก นั่นแหละ
และต้องระลึกนึกถึง สรีระร่างกาย ตามความรู้ และเกิดความเข้าใจ ในสรีระร่างกาย(เอาของตัวเองนั่นแหละ) จึงเรียกว่า
"พิจารณา เห็นกายในกาย"


รับทราบที่พระคุณเจ้าตอบมา ขอรับ ขอให้พระคุณเจ้าตั้งใจศึกษาเล่าเรียนไปจนกว่าจะจบ ขออนุโมทนา
อีกประการหนึ่ง อย่าคิดว่า การเรียนรู้ หรือการศึกษาเป็นเช่นงูพิษ มันอยู่ที่ผู้ใช้ขอรับ ไม่ใช่อยู่ที่ตัวตำราหรือบทความ ถ้าเข้าใจ ทำอะไร นำไปใช้อย่างไร ก็ย่อมเกิดประโยชน์ขอรับ
และต้องขออภัย หากมีข้อความใด ประโยคใด อ่านแล้วไม่ค่อยสุภาพ ขอรับ


โพสต์ เมื่อ: 30 ต.ค. 2009, 13:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




51429ddb3t02334.gif
51429ddb3t02334.gif [ 57.45 KiB | เปิดดู 7311 ครั้ง ]
อ้างคำพูด:
รับทราบที่พระคุณเจ้าตอบมา ขอรับ ขอให้พระคุณเจ้าตั้งใจศึกษาเล่าเรียนไปจนกว่าจะจบ ขออนุโมทนา
อีกประการหนึ่ง อย่าคิดว่า การเรียนรู้ หรือการศึกษาเป็นเช่นงูพิษ มันอยู่ที่ผู้ใช้ขอรับ ไม่ใช่อยู่ที่ตัวตำราหรือบทความ ถ้าเข้าใจ ทำอะไร นำไปใช้อย่างไร ก็ย่อมเกิดประโยชน์ขอรับ

และต้องขออภัย หากมีข้อความใด ประโยคใด อ่านแล้วไม่ค่อยสุภาพ ขอรับ


ต้องขออภัย หากมีข้อความใด ประโยคใด อ่านแล้วไม่ค่อยสุภาพ ขอรับ


ท่านอาจารย์ บุดฯ มีอคติขอรับ ทีกะคนอื่นมีขอโทษขออภัย หากผิดบ้างพลั้งไป :b14:

เวลาท่านพูดกับคนที่ใช้ชื่อ กรัชกาย... :b21: สารพัดพูดถากถาง ชื่อก็เปลี่ยนเป็นสัตว์ตาย

ทั้งที่กรัชกายก็พูดออกเพราะ คำน้อยไม่เคยว่า ให้กระทบกระเทือนใจ แล้ว

อย่างนี้ไม่เรียกว่าท่านมีอคติธรรม เลือกที่รัก ผลักที่ชัง จะให้เรียกว่าอะไรขอรับ :b10:

แบบนี้ไม่พ้นอเวจี เพราะจิตเจตสิกของท่านเศร้าหมอง ดังคำพระที่ว่า

"จิตเต สังกิเลสิฏเฐ ทุคติ ปาฏิกังขา" :b12:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 30 ต.ค. 2009, 18:20, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.
โพสต์ เมื่อ: 31 ต.ค. 2009, 20:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ต.ค. 2009, 18:49
โพสต์: 49

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เจริญในธรรมพระพุทธศาสดา ทุกท่านที่ช่วยตอบกระทู้นี้

ขออนุโมทนากับคำตอบที่เป็นกุศล ไม่เบียดเบียนตน
ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น
คำตอบที่เป็นประโยชน์ และไม่เป็นโทษ


เจริญในธรรมพระพุทธศาสดา
เข้าใจ เข้าถึง เผยแผ่ ปกปักษ์รักษาพระสัทธรรม
พระอาจารย์แสนปราชญ์


โพสต์ เมื่อ: 07 พ.ย. 2009, 23:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ย. 2008, 22:30
โพสต์: 222

ที่อยู่: เวียนว่ายในวัฏสงสาร (-_-!)

 ข้อมูลส่วนตัว


อะไรเอ่ย. :b10: ...พยามอ่านแล้วแต่ไม่เข้าใจ :b2: :b23: ลึกซึ้งมากๆ ขอรับ.....แพ้ทางวิชาทางสายนี้จริงๆ...แต่จะพยายามทำความเข้าใจใหม่ขอรับ :b23:

.....................................................
ขอประสบความสุขทั้งทางโลกและทางธรรม


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 15 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร