วันเวลาปัจจุบัน 06 พ.ค. 2025, 03:03  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 62 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ต.ค. 2009, 13:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทีแรกตั้งใจจะลง หลักการสำคัญของการตรัสรู้ เพียงส่วนหนึ่ง

ลิงค์นี้

viewtopic.php?f=2&t=26376


เพราะขึ้เกียจพิมพ์ด้วย เห็นว่ายากด้วย

แต่นักศึกษาธรรมชอบสนทนากันเรื่องยากๆ ศัพท์ยากๆ

จึงลงให้พิจารณากันอีกอีกตอนหนึ่ง

จับเอาตั้งแต่ต้นโดยไปบรรจบกับตอนสองลิงค์ดังกล่าว

ท่อนนี้ก็มีแง่มุมที่น่าสนใจที่มักหยิบยกขึ้นสนทนากันบ่อยเช่นกัน :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 25 ต.ค. 2009, 14:22, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ต.ค. 2009, 13:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




DSC01694.jpg
DSC01694.jpg [ 44.92 KiB | เปิดดู 7053 ครั้ง ]
พระพุทธเจ้าทรงมุ่งหมายและสั่งสอนเฉพาะสิ่งที่จะนำมาใช้ปฏิบัติให้เป็นประโยชน์ในชีวิตจริงได้

เกี่ยวข้องกับชีวิต การแก้ไขปัญหาชีวิต และการลงมือทำจริงๆ

ไม่ทรงสนับสนุนการพยายามเข้าถึงสัจธรรมด้วยวิธีครุ่นคิด
และ ถกเถียงหาเหตุผลเกี่ยวกับปัญหา

ทางอภิปรัชญา ซึ่งเป็นไปไม่ได้

ด้วยเหตุนี้ การกำหนดความเป็นพุทธธรรม จึงต้องอาศัยพิจารณาคุณค่าทางจริยธรรมประกอบด้วย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ต.ค. 2009, 13:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(พุทธธรรมหน้า 323)


หลักการสำคัญของการตรัสรู้

มักมีการสงสัยหรือถกเถียงกันในหมู่ผู้ศึกษาและปฏิบัติธรรมว่า

ผู้เจริญวิปัสสนาอย่างเดียว จะบรรลุนิพพานหรือสำเร็จอรหัตผล โดยไม่ต้องอาศัยสมถะเลย

ได้หรือไม่ ?

ผู้จะบรรลุนิพพานจะต้องได้ฌานบ้างหรือไม่ ?

การสำเร็จอภิญญา ๖ อาศัยแต่เพียงจตุตถฌานก็เพียงพอ ไม่ต้องได้ครบสมาบัติ ๘ ใช่หรือไม่ ?

การจะได้อาสวักขยญาณ บรรลุนิพพานจำเป็นต้องได้ปุพเพนิวาสานุสติญาณ และจุตูปปาตญาณ

เป็นพื้นฐานก่อนหรือไม่?

ได้มรรคผลก่อนแล้วจึงเจริญสมถะเพิ่มเติมจนได้ฌานสมาบัติได้หรือไม่ ?


บรรดาคำถามเหล่านี้ บางข้อเป็นเรื่องของหลักการสำคัญของการตรัสรู้ หรือการประจักษ์แจ้งนิพพาน

โดยตรง

บางข้อเป็นเพียงเกี่ยวพันบางแง่ ฯลฯ ต่อไปนี้จะมุ่งตอบข้อสงสัยที่เกี่ยวกับหลักการสำคัญ

ของการตรัสรู้เป็นหลัก และจะตอบด้วยการยกหลักฐานมาให้พิจารณาเอง

จะอธิบายเท่าที่จำเป็นเพียงเพื่อเชื่อมความให้ต่อเนื่องกัน


ก) หลักการทั่วไป


“ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย

เพราะอาศัยปฐมฌานก็ได้

อาศัยทุติยฌานก็ได้

ตติยฌานก็ได้

จตุตถฌานก็ได้

อากาสานัญจายตนะก็ได้

วิญญาณัญจายตนะก็ได้

อากิญจัญญายตนะก็ได้

เนวสัญญานาสัญญายตนะก็ได้

(สัญญาเวทยิตนิโรธก็ได้) *


(ฌานสูตร ในองฺ.นวก.23/240/438)

:b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39:


* ข้อความในวงเล็บ ไม่มีในพระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐของไทย แต่มีในฉบับอื่นบางฉบับ เช่น ฉบับของพม่า

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ต.ค. 2009, 13:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(ต่อ)


ความต่อจากนี้ในพระสูตรนี้ และความในพระสูตรอื่นอีก ๓ แห่ง *

บรรยายวิธีใช้ฌานสมาบัติแต่ละขั้น ในการพิจารณาให้เกิดปัญญารู้แจ้งสังขารตามความเป็นจริง

(คือที่เรียกว่าเจริญวิปัสสนา) ดังตัวอย่างข้อความต่อไปในฌานสูตรข้างต้นนั้นว่า


“ก็ ข้อที่เรากล่าวว่า ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย

เพราะอาศัยปฐมฌานก็ได้ ดังนี้ เราอาศัยอะไรกล่าว ?

คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้...บรรลุปฐมฌาน เธอพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลายคือ สิ่งที่เป็นรูป **

สิ่งที่เป็นเวทนา สิ่งที่เป็นสัญญา สิ่งที่เป็นสังขาร สิ่งที่เป็นวิญญาณ อันมีอยู่ในปฐมฌานนั้น

โดยความเป็นของไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์...โดยความเป็นของสูญ โดยความเป็นอนัตตา

เธอยังจิตให้ยั้งหยุด (หันกลับ คือคลายหรือไม่อยากได้ ไม่ติด) จากธรรมเหล่านั้น

ครั้นแล้วเธอ ย่อมน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า นั่นสงบ นั่นประณีต กล่าวคือ...นิพพาน

เธอดำรงอยู่ใน (ปฐมฌาน) นั้น ย่อมบรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย

ถ้ายังไม่บรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะ เพราะ (ยังมี) ธรรมราคะ...ก็จะเป็นโอปปาติกะ

เป็นผู้ปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา (คือ เป็นพระอนาคามี)”



ต่อจากนี้ บรรยายการอาศัยทุติยฌาน ตติยฌาน ฯลฯ เพื่อเจริญวิปัสสนาจนบรรลุอาสวักขัย อย่างนี้เรื่อยไป

ตามลำดับทีละขั้นๆ จนถึงอากิญจัญญายตนฌาน



:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:



(ขยายความข้างบนที่มี *)

*พระสูตรอื่นอีก ๓ แห่งคือ มหามาลุงกโยวาทสูตร (ม.ม.13/157/159)

อัฏฐกนาครสูตร (ม.ม.13/18/18)

ทสมสูตร องฺ.เอกาทสก. (24/223/373) สองสูตรหลังความจริงเป็นสูตรเดียวกัน

แต่ต่างชื่อต่างที่มา


**ในอรูปฌาน คือ ตั้งแต่อากาสานัญจายตนะขึ้นไป ตัด “สิ่งที่เป็นรูป” ออก เพราะในระดับอรูปฌาน

ไม่มีรูปธรรมให้พิจารณา มีแต่เพียงนามขันธ์ ๔ (เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ต.ค. 2009, 13:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มหามาลุงกโยวาทสูตร แสดงรายละเอียดน้อยกว่า แต่ก็กล่าวถึงการพิจารณาขันธ์ ๕ ที่มีในฌาน

แต่ละขั้นโดยไตรลักษณ์ จนบรรลุอาสวักขัยอย่างเดียวกันนี้ ตลอดขึ้นไปถึงอากิญจัญญายตนฌาน

เช่นเดียวกัน

ส่วนในอัฏฐกนาครสูตร และทสมสูตร มีข้อแตกต่างเล็กน้อย คือข้อความที่บรรยายการพิจารณาแปลก

ออกไปว่า “ภิกษุ...บรรลุปฐมฌาน เธอพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ปฐมฌานนี้ เป็นของปรุงแต่ง

เกิดจากความคิดสรรค์สร้าง เธอรู้ชัด (รู้เท่าทัน) ว่าสิ่งใดก็ตามเป็นของปรุงแต่ง

เกิดจากความคิดสรรค์สร้าง

สิ่งนั้น เป็นของไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา เธอดำรงอยู่ใน (ปฐมฌาน)นั้น

ย่อมบรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย”



และเพิ่มเมตตาเจโตวิมุตติ กรุณาเจโตวิมุตติ มุทิตาเจโตวิมุตติ อุเบกขาเจโตวิมุตติ เข้ามาแทรกระหว่าง

รูปฌาน กับอรูปฌานอีก ทำให้มีฌานสมาบัติสำหรับพิจารณาเพิ่มขึ้นอีก ๔ ขั้น

อย่างไรก็ตาม รวมความแล้ว พระสูตรทั้งสี่นี้ มีสาระสำคัญอย่างเดียวกัน ผิดแผกกันบ้างก็เพียง

ในส่วนรายละเอียดและวิธีบรรยายความเท่านั้น





พระสูตรทั้งสี่ แสดงการอาศัยฌานเจริญวิปัสสนาทำอาสวักขัยตามลำดับแต่ปฐมฌาน ถึงอากิญจัญญายตนะ

แล้วก็หยุดลงทั้งหมด มีพิเศษแต่ในฌานสูตร ซึ่งมีคำสรุปว่า


“ภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้แล สัญญาสมาบัติ-(สมาบัติที่ประกอบด้วยสัญญา)

มีแค่ใด อัญญาปฏิเวธ (การตรัสรู้ หรือ การบรรลุอรหัตผล) ก็มีแค่นั้น”

(องฺ.นวก.23/240/444)



ข้อนี้ หมายความว่า ในฌานตั้งแต่อากิญจัญญายตนะลงไป มีสัญญา (รวมทั้งขันธ์อื่นๆ ที่ประกอบร่วม)

สำหรับให้กำหนดพิจารณาได้ จึงทำวิปัสสนาให้บรรลุอาสวักขัยได้ ในฌานเหล่านั้น

ส่วน เนวสัญญานาสัญญายตนะ มีสัญญา (รวมทั้งขันธ์อื่นๆ ที่ประกอบร่วม) ซึ่งละเอียดเกินไป

จนเรียกว่า เนวสัญญานาสัญญา คือ จะว่ามีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่

จึงไม่อยู่ภาวะที่จะใช้งานในการกำหนดพิจารณาได้

ครั้นถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ ก็ดับสัญญาและเวทนาเสียเลย เป็นอันไม่ต้องกล่าวถึง

ดังนั้น สมาบัติทั้งสองนี้ จึงไม่เรียกว่าสัญญาสมาบัติ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ต.ค. 2009, 14:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(ต่อ)


เมื่อเป็นเช่นนี้ จะอาศัยเนวสัญญานาสัญญายตนะ และ สัญญาเวทยิตนิโรธ บรรลุอาสวักขัยได้อย่างไร

ตอบว่า สำหรับสมาบัติสูงสุดสองระดับนี้ ต้องออกมาก่อน จึงใช้ปัญญาพิจารณาสังขารให้บรรลุอาสวักขัยได้

ข้อแรก คือ เนวสัญญานาสัญญายตนะ

พึงดูบาลีในอนุปทสูตรดังนี้


“ ภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอยู่อีก สารีบุตรก้าวล่วงอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวงแล้ว

เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนะอยู่ เธอมีสติออกจากสมาบัตินั้น

ครั้นออกจากสมาบัตินั้นอย่างมีสติแล้ว ธรรมเหล่าใดล่วงไปแล้ว ดับแล้ว แปรปรวนไปแล้ว

เธอพิจารณาเห็นธรรมเหล่านั้นว่า ธรรมทั้งหลายดังได้ทราบมา ก็เป็นอย่างนี้เอง ไม่มีแล้วก็มีแก่เรา

มีแล้วก็ดับร่วงไป” *


(ม.อุ.14/162/120)

:b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55:


(ขยายความข้างบนที่มี *)

* พึงเทียบ กับคำบรรยายการพิจารณาสังขารในอากิญจัญญายตนะ ซึ่งไม่กล่าวถึงการออกจากฌานนั้น

(แม้ฌานอื่นๆ ที่ต่ำลงไปทั้งหมดก็อย่างเดียวกัน)

ดังความในสูตรเดียวกันนี้เองว่า “ข้ออื่นต่อไปนี้ สารีบุตรก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนะ

โดยประการทั้งปวงแล้ว (มนสิการว่า ) ไม่มีอะไรเลย เข้าอากิญจัญญายตนะอยู่

ธรรมเหล่าใด ในอากิญจัญญายตนะ คือ อากิญจัญญายตนสัญญา จิตเตกัคคตา ผัสสะ เวทนา สัญญา

เจตนา วิญญาณ ฉันทะ อธิโมกข์ วิริยะ สติ อุเบกขา มนสิการ

ธรรมเหล่านั้น เกิดขึ้นโดยที่เธอรู้ ปรากฏอยู่ก็รู้ ถึงความดับก็รู้

เธอทราบชัดดังนี้ว่า ธรรมทั้งหลาย ดังได้ทราบมาก็เป็นอย่างนี้เอง ไม่มีแล้วก็มีแก่เรา

มีแล้วก็ดับร่วงไป”


ในจูฬนิทเทส ซึ่งเป็นคัมภีร์ชั้นรอง มีคำบรรยายเกี่ยวกับการพิจารณา

เนวสัญญานาสัญญายตนะ คล้ายกับบาลีข้างบนนั้นว่า

“เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ออกจากสมาบัตินั้นแล้ว เพ่งดู คือ ตรวจดู พินิจดู พิจารณา

ซึ่งธรรมทั้งหลาย คือ จิตและเจตสิกที่เกิดแล้วในสมาบัตินั้น

โดยความเป็นของไม่เที่ยง โดยความเป็นของทุกข์...โดยความเป็นอนัตตา...โดยความไม่เป็น

ที่รอดพ้น (ไม่เป็นทางอิสระ)” (ขุ.จู.30/248/128)

แต่เมื่อสอบสวนดูกับบาลีต้นเดิม (ขุ.สุ.25/430/538) แล้ว ลงความเห็นได้ว่า

เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติที่นี้ เป็นคำคลาดเคลื่อน ที่ถูกควรจะเป็นอากิญจัญญายตนะสมาบัติ

และอรรถกถา- (นิท.อ.2/248, สุตฺต.อ.2/511) ก็ยืนยันตามที่ลงความเห็นนี้


(...คัมภีร์ชั้นรองและคัมภีร์รุ่นหลังทั้งหลาย บรรยายการพิจารณาสังขารหรือเจริญวิปัสสนา

ต่อเมื่อออกจากฌานสมาบัติเป็นพื้น ไม่ว่าจะเป็นฌานสมาบัติขั้นต่ำหรือสูงเท่าใด)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ต.ค. 2009, 14:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ส่วนข้อสุดท้าย คือสัญญาเวทยิตนิโรธ มีคำอธิบายทำนองเดียวกันคือ เข้าสมาบัตินี้

ครั้นออกแล้ว จึงพิจารณารูปธรรมทั้งหลายที่เป็นไปในสมาบัติ หรือพิจารณารูปธรรมทั้งหลาย

ซึ่งเป็นไปในเนวสัญญานาสัญญายตนะ ที่ผ่านมาก่อนแล้ว (หรือจะพิจารณาสังขารธรรมทั่วไป

ดังจะกล่าวข้างหน้าก็ได้) ให้เข้าใจสภาวะที่เป็นจริง ด้วยปัญญา จนถึงความสิ้นอาสวะ

(ม.อ.3/499)



สำหรับฌานสมาบัติที่ต่ำลงมา คือตั้งแต่อากิญจัญญายตนะ ถึงปฐมฌาน จะออกจากฌานสมาบัตินั้น

ก่อนแล้วจึงพิจารณาสังขารธรรม คือขันธ์ ๕ หรือองค์ฌานเนต้นที่มีในฌานสมาบัตินั้นทำนองเดียว

กับสมาบัติสูงสุดสองหลังนี้ก็ได้ *

แต่เท่าที่ยกหลักฐานข้างต้นนี้มาแสดงก็เพื่อให้เห็นข้อพิเศษวา ในฌานสมาบัติเหล่านั้นสามารถเจริญวิปัสสนา

ภายในโดยยังไม่ออกมาก่อนก็ได้

และจะบรรลุอรหัตโดยใช้ฌานระดับไหนก็ได้

แต่สมาบัติสูงสุดสองอย่างคือ เนวสัญญานาสัญญายตนะ และสัญญาเวทยิตนิโรธ (นิโรธสมาบัติ)

ต้องออกมาก่อน จึงเจริญวิปัสสนาได้


:b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53:


* คำว่าออกจากสมาบัติในกรณีนี้ เทียบกับความหมายขั้นอรรถกถา หมายถึงออกจากภาวะจิตที่ได้กำลัง

จากฌานสมาบัตินั้นๆ ด้วย คือไม่ใช้ฌานสมาบัตินั้นเป็นบาท

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ต.ค. 2009, 14:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(ต่อ)

ข้อปฏิบัติที่กล่าวมานี้ เป็นปฏิปทาของผู้ปฏิบัติที่มีชื่อเรียกในสมัยอรรถกถาว่า “สมถยานิก”

แปลว่า ผู้มีสมถะเป็นยาน คือบำเพ็ญสมถะจนได้ฌานก่อนแล้วจึงเจริญวิปัสสนา

และนับว่าเป็นวิธีปฏิบัติอย่างหนึ่งในบรรดาวิธี ๔ อย่างที่ท่านกล่าวไว้ในบาลี คือ

๑.สมถปุพพังคมวิปัสสนา วิปัสสนามีสมถะนำหน้า

(เรียกเต็มว่า สมถปุพพังคมวิปัสสนาภาวนา การเจริญวิปัสสนาโดยมีสมถะนำหน้า)

๒. วิปัสสนาปุพพังคมสมถะ สมถะมีวิปัสสนานำหน้า

(เรียกเต็มว่า วิปัสสนาปุพพังคมสมถภาวนา การเจริญสมถะโดยมีวิปัสสนานำหน้า)

๓. ยุคนัทธสมถวิปัสสนา สมถะและวิปัสสนาเข้าคู่กัน

(เรียกเต็มว่า สมถวิปัสสนายุคนัทธภาวนา การเจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่ไปด้วยกัน)

๔. ธัมมุทธัจจวิคคหิตมานัส วิธีปฏิบัติเมื่อจิตถูกชักให้เขวด้วยธรรมุธัจจ์ คือความฟุ้งซ่านธรรม

หรือตื่นธรรม - (ความเข้าใจผิดยึดเอาผลที่ประสบในระหว่างว่า เป็นมรรคผลนิพพาน)



:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:


(ศึกษาธัมมุทธัจจ์รายตัวลิงค์นี้)

viewtopic.php?f=2&t=23387

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ต.ค. 2009, 14:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วิธีทั้ง ๔ นี้สรุปจากมรรค ๔ แบบ ซึ่งเกิดจากการปฏิบัติ ๔ อย่าง ดังที่พระอานนท์ได้แสดงไว้ดังนี้


“อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุหรือภิกษุณีรูปหนึ่งรูปใดก็ตาม จะพยากรณ์อรหัตผลในสำนัก

ของข้าพเจ้า ก็ย่อมพยากรณ์ ด้วยมรรค ๔ ทั้งหมด หรือด้วยมรรคใดมรรคหนึ่งบรรดามรรค ๔ เหล่านี้

กล่าวคือ


“ ๑. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เจริญวิปัสสนาอันมีสมถะนำหน้า เมื่อเธอเจริญวิปัสสนาอันมีสมถะนำหน้าอยู่

มรรคเกิดขึ้น เธอเสพคุ้น เจริญ ทำให้มาก ซึ่งมรรคนั้น

เมื่อเธอเสพคุ้น เจริญ ทำให้มาก ซึ่งมรรคนั้น สังโยชน์ทั้งหลายย่อมถูกละได้ อนุสัยทั้งหลาย ย่อมสิ้นไป


“๒. อีกประการหนึ่ง ภิกษุเจริญสมถะอันมีวิปัสสนานำหน้า

เมื่อเธอเจริญสมถะอันมีวิปัสสนานำหน้าอยู่ มรรคเกิดขึ้น เธอเสพคุ้น เจริญ ทำให้มาก ซึ่งมรรคนั้น

เมื่อเธอเสพคุ้น เจริญ ทำให้มาก ซึ่งมรรคนั้น สังโยชน์ทั้งหลายย่อมถูกละได้ อนุสัยทั้งหลาย

ย่อมสิ้นไป


“๓. อีกประการหนึ่ง ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่กัน

เมื่อเธอเจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันอยู่ มรรคเกิดขึ้น เธอเสพคุ้น เจริญ ทำให้มาก ซึ่งมรรคนั้น

เมื่อเธอเสพคุ้น เจริญ ทำให้มาก ซึ่งมรรคนั้น สังโยชน์ทั้งหลายย่อมถูกละได้ อนุสัยทั้งหลาย

ย่อมสิ้นไป


“๔. อีกประการหนึ่ง ภิกษุถูกชักให้เขวด้วยธรรมุธัจจ์ แต่ครั้น ถึงความเหมาะที่จิตนั้นตั้งแน่ว

สงบสนิทลงได้ในภายใน เด่นชัดเป็นสมาธิ มรรคก็เกิดขึ้นแก่เธอ เธอเสพคุ้น เจริญ ทำให้มาก

ซึ่งมรรคนั้น

เมื่อเธอเสพคุ้น เจริญ ทำให้มาก ซึ่งมรรคนั้น สังโยชน์ทั้งหลายย่อมถูกละได้ อนุสัยทั้งหลาย

ย่อมสิ้นไป”



(องฺ.จตุกฺก.21/170/212 ขุ.ปฏิ.31/534/432)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ต.ค. 2009, 17:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แท้จริงพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นทรงยังมรรคที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ทรงยังมรรคที่ยังไม่
เกิดพร้อมให้เกิดพร้อม ตรัสบอกมรรคที่ยังไม่มีใครบอก ทรงรู้จักมรรค ทรง
ทราบมรรค ทรงฉลาดในมรรค ก็แหละพระสาวกทั้งหลายในบัดนี้ และที่จะมีมา
ในภายหลัง ย่อมเป็นผู้ดำเนินไปตามมรรค

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓
ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค


ปัญญาวรรค อภิสมยกถา
             [๖๙๕] คำว่า ความตรัสรู้ ความว่า ย่อมตรัสรู้ด้วยอะไร

ย่อมตรัสรู้ด้วยจิต ย่อมตรัสรู้ด้วยจิตหรือ ถ้าอย่างนั้น บุคคลผู้ไม่มีญาณก็ตรัสรู้ได้ซิ บุคคล
ผู้ไม่มีญาณตรัสรู้ไม่ได้ ย่อมตรัสรู้ได้ด้วยญาณ ย่อมตรัสรู้ด้วยญาณหรือ
ถ้าอย่างนั้น บุคคลผู้ไม่มีจิตก็ตรัสรู้ได้ซิ บุคคลผู้ไม่มีจิตก็ตรัสรู้ไม่ได้ ย่อมตรัสรู้
ได้ด้วยจิตและญาณ ย่อมตรัสรู้ได้ด้วยจิตและญาณหรือ ถ้าอย่างนั้น ก็ตรัสรู้ได้
ด้วยกามาวจรจิตและญาณซิ ย่อมตรัสรู้ด้วยกามาวจรจิตและญาณไม่ได้ ถ้าอย่างนั้น
ก็ตรัสรู้ได้ด้วยรูปาวจรจิตและญาณซิ ตรัสรู้ด้วยรูปาวจรจิตและญาณไม่ได้ ถ้า
อย่างนั้น ก็ตรัสรู้ได้ด้วยอรูปาวจรจิตและญาณซิ ตรัสรู้ด้วยอรูปาวจรจิตและญาณ
ไม่ได้ ถ้าอย่างนั้น ก็ตรัสรู้ได้ด้วยกัมมัสสกตาจิตและญาณซิ ตรัสรู้
ด้วยกัมมัสสกตาจิตและญาณไม่ได้ ถ้าอย่างนั้น ก็ตรัสรู้ได้ด้วยสัจจานุโลมิกจิต
และญาณซิ ตรัสรู้ด้วยสัจจานุโลมิกจิตและญาณไม่ได้ ถ้าอย่างนั้น ก็ตรัสรู้ได้ด้วย
จิตที่เป็นอดีตและญาณซิ ตรัสรู้ด้วยจิตที่เป็นอดีตและญาณไม่ได้ ถ้าอย่างนั้น
ก็ตรัสรู้ได้ด้วยจิตที่เป็นอนาคตและญาณซิ ตรัสรู้ด้วยจิตที่เป็นอนาคตและญาณ
ไม่ได้
ถ้าอย่างนั้น ก็ตรัสรู้ได้ด้วยจิตที่เป็นปัจจุบันและญาณซิ
ตรัสรู้ด้วยจิตที่เป็นปัจจุบันและญาณไม่ได้ (แต่) ตรัสรู้ได้ด้วยจิตที่เป็นปัจจุบันและญาณในขณะโลกุตรมรรค ฯ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แก้ไขล่าสุดโดย เช่นนั้น เมื่อ 25 ต.ค. 2009, 17:36, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ต.ค. 2009, 17:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


[๖๙๖] ย่อมตรัสรู้ด้วยจิตที่เป็นปัจจุบันและญาณในขณะแห่งโลกุตรมรรคอย่างไร

             ในขณะโลกุตรมรรค จิตเป็นใหญ่ในการให้เกิดขึ้น และเป็นเหตุเป็นปัจจัยแห่งญาณ

จิตอันสัมปยุตด้วยญาณนั้น มีนิโรธเป็นโคจร ญาณเป็นใหญ่ในการเห็น และเป็นเหตุเป็นปัจจัยแห่งจิต

ญาณอันสัมปยุตด้วยจิตนั้น มีนิโรธเป็นโคจร ย่อมตรัสรู้ด้วยจิตที่เป็นปัจจุบันและด้วยญาณ ในขณะแห่งโลกุตรมรรคอย่างนี้ ฯ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ต.ค. 2009, 17:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มาขวางอีกเช่นนั้น จะแย้งจะอะไรก็นำไปตั้งกระทู้ใหม่

เคยแนะนำท่านบุดฯ ไปคนหนึ่งแล้ว นี่มาอีก ทำให้ข้อความไม่ต่อเนื่อง ผู้อ่านๆแล้วสะดุด

ก็อย่างที่บอกมันยาก แค่ศัพท์ก็ยากแล้วสำหรับผู้ไม่รู้บาลี แล้วยิ่งการเข้าถึงด้วยยิ่งไปกันใหญ่

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 25 ต.ค. 2009, 17:38, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ต.ค. 2009, 17:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


[๖๙๗] ถามว่า ความตรัสรู้มีเท่านี้หรือ ฯ
             ตอบว่า ไม่ใช่มีเท่านี้ ในขณะโลกุตรมรรค
ความตรัสรู้ด้วยความเห็นเป็นสัมมาทิฐิ
ความตรัสรู้ด้วยความดำริ เป็นสัมมาสังกัปปะ
ความตรัสรู้ด้วยความกำหนด เป็นสัมมาวาจา
ความตรัสรู้ด้วยความเป็นสมุฏฐาน เป็นสัมมากัมมันตะ
ความตรัสรู้ด้วยความขาวผ่อง เป็นสัมมาอาชีวะ
ความตรัสรู้ด้วยความตั้งสติมั่นเป็นสัมมาสติ
ความตรัสรู้ด้วยความไม่ฟุ้งซ่าน เป็นสัมมาสมาธิ


ความตรัสรู้ด้วยความตั้งสติมั่น เป็นสติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ความตรัสรู้ด้วยการพิจารณาหาทาง
เป็นอุเบกขาสัมโพชฌงค์


ความตรัสรู้ด้วยความไม่หวั่นไหวไปในความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา เป็นสัทธาพละ
ความตรัสรู้ด้วยความไม่หวั่นไหวไปในความเกียจคร้านเป็นวิริยะพละ
ความตรัสรู้ด้วยความไม่หวั่นไหวไปในความประมาท เป็นสติพละ
ความตรัสรู้ด้วยความไม่หวั่นไหวไปในอุทธัจจะ เป็นสมาธิพละ
ความตรัสรู้ด้วยความไม่หวั่นไหวไปในอวิชชา เป็นปัญญาพละ


ความตรัสรู้ด้วยความน้อมใจเชื่อเป็นสัทธินทรีย์
ความตรัสรู้ด้วยความประคองไว้ เป็นวิริยินทรีย์
ความตรัสรู้ด้วยความตั้งสติมั่นเป็นสตินทรีย์
ความตรัสรู้ด้วยความไม่ฟุ้งซ่าน เป็นสมาธินทรีย์
ความตรัสรู้ด้วยความเห็นเป็นปัญญินทรีย์

ความตรัสรู้ด้วยอินทรีย์ด้วยความว่าเป็นใหญ่
ความตรัสรู้ด้วยพละ ด้วยความว่าไม่หวั่นไหว

ความตรัสรู้ด้วยโพชฌงค์ด้วยความว่านำออก
ความตรัสรู้ด้วยมรรคด้วยความว่าเป็นเหตุ
ความตรัสรู้ด้วยสติปัฏฐานด้วยความว่าตั้งสติมั่น
ความตรัสรู้ด้วยสัมมัปปธานด้วยความว่าตั้งไว้
ความตรัสรู้ด้วยอิทธิบาทด้วยความว่าให้สำเร็จ
ความตรัสรู้สัจจะด้วยความว่าเป็นของแท้
ความตรัสรู้ด้วยสมถะด้วยความว่าไม่ฟุ้งซ่าน
ความตรัสรู้ด้วยวิปัสสนาด้วยความว่าพิจารณาเห็น
ความตรัสรู้ด้วยสมถะและวิปัสสนาด้วยความว่ามีกิจเป็นอันเดียวกัน
ความตรัสรู้ด้วยธรรมคู่กันด้วยความว่าไม่ล่วงเกินกัน

ศีลวิสุทธิด้วยความว่าสำรวม เป็นความตรัสรู้
จิตตวิสุทธิด้วยความว่าไม่ฟุ้งซ่าน เป็นความตรัสรู้
ทิฐิวิสุทธิด้วยความว่าเห็นเป็นความตรัสรู้

ความตรัสรู้ด้วยอธิโมกข์ด้วยความว่าหลุดพ้น
ความตรัสรู้ด้วยวิชชาด้วยความว่าแทงตลอด

วิมุติด้วยความว่าบริจาค เป็นความตรัสรู้
ญาณในความสิ้นไปด้วยความว่าตัดขาด เป็นความตรัสรู้

ฉันทะเป็นความตรัสรู้ด้วยความเป็นมูลเหตุ
มนสิการเป็นความตรัสรู้ด้วยความว่าเป็นสมุฏฐาน
ผัสสะเป็นความตรัสรู้ด้วยความว่าเป็นที่รวม
เวทนาเป็นความตรัสรู้ด้วยความว่าเป็นที่ประชุม
สมาธิเป็นความตรัสรู้ด้วยความว่าเป็นประธาน
สติเป็นความตรัสรู้ด้วยความว่าเป็นใหญ่
ปัญญาเป็นความตรัสรู้ด้วยความว่าเป็นธรรมยิ่งกว่าธรรมนั้นๆ
วิมุติเป็นความตรัสรู้ด้วยความว่าเป็นสารธรรม
นิพพานอันหยั่งลงในอมตะเป็นความตรัสรู้ด้วยความว่าเป็นที่สุด ฯ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ต.ค. 2009, 17:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


 [๖๙๘] ถามว่า ความตรัสรู้มีเท่านี้หรือ ฯ
             ตอบว่า ไม่ใช่มีเท่านี้ ในขณะโสดาปัตติมรรค ความตรัสรู้ด้วยความเห็น
เป็นสัมมาทิฐิ ฯลฯ นิพพานอันหยั่งลง ในอมตะ เป็นความตรัสรู้ด้วยความว่า
เป็นที่สุด ฯ
             ถามว่า ความตรัสรู้มีเท่านี้หรือ
             ตอบว่า ไม่ใช่มีเท่านี้ ในขณะโสดาปัตติผล ความตรัสรู้ด้วยความเห็น
เป็นสัมมาทิฐิ ฯลฯ ญาณในนิพพานอันไม่มีความเกิดขึ้น เป็นความตรัสรู้ด้วย
ความว่าระงับ ฉันทะเป็นความตรัสรู้ด้วยความว่าเป็นมูลเหตุ ฯลฯ นิพพานอันหยั่ง
ลงในอมตะ เป็นความตรัสรู้ด้วยความว่าเป็นที่สุด ฯ
             ถามว่า ความตรัสรู้มีเท่านี้หรือ ฯ
             ตอบว่า ไม่ใช่มีเท่านี้ ในขณะสกทาคามิมรรค ฯลฯ ในขณะ
สกทาคามิผล ในขณะอนาคามิมรรค ในขณะอานาคามิผล ในขณะอรหัตมรรค
ในขณะอรหัตผล ความตรัสรู้ด้วยความเห็น เป็นสัมมาทิฐิ ความตรัสรู้
ด้วยความดำริ เป็นสัมมาสังกัปปะ ฯลฯ ญาณในนิพพานอันไม่มีความเกิดขึ้น
เป็นความตรัสรู้ด้วยความว่าระงับ ฉันทะเป็นความตรัสรู้ด้วยความว่าเป็นมูลเหตุ
ฯลฯ นิพพานอันหยั่งลงในอมตะ เป็นความตรัสรู้ด้วยความว่าเป็นที่สุด บุคคล
นี้นั้นย่อมละได้ซึ่งกิเลสทั้งที่เป็นอดีต อนาคตและปัจจุบัน

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ต.ค. 2009, 17:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


[๖๙๙] คำว่า ย่อมละได้ซึ่งกิเลสที่เป็นอดีต ความว่าบุคคลย่อมละได้
ซึ่งกิเลสที่เป็นอดีตหรือ


ถ้าอย่างนั้น บุคคลนั้นก็ทำกิเลสที่สิ้นไปแล้วให้สิ้นไปทำกิเลสที่ดับไปแล้วให้ดับไป ทำกิเลสที่ปราศไปแล้วให้ปราศไป ทำกิเลสที่หมดแล้วให้หมดไป ย่อมละได้ซึ่งกิเลสที่เป็นอดีตอันไม่มีอยู่
เพราะเหตุนั้น บุคคลนั้นละกิเลสที่เป็นอดีตหาได้ไม่

             คำว่า ย่อมละได้ซึ่งกิเลสที่เป็นอนาคต ความว่า บุคคลย่อมละได้ซึ่งกิเลส
ที่เป็นอนาคตหรือ


ถ้าอย่างนั้น บุคคลนั้นก็ละกิเลสที่ยังไม่เกิด ละกิเลสที่ยังไม่บังเกิด ละกิเลสที่ไม่เกิดขึ้นแล้ว ละกิเลสที่ยังไม่ปรากฏ ละได้ซึ่งกิเลสที่เป็นอนาคตอันไม่มีอยู่

เพราะเหตุนั้น บุคคลนั้นละกิเลสที่เป็นอนาคตหาได้ไม่

             คำว่า ย่อมละได้ซึ่งกิเลสที่เป็นปัจจุบัน ความว่า บุคคลย่อมละได้
ซึ่งกิเลสที่เป็นปัจจุบันหรือ


ถ้าอย่างนั้น บุคคลผู้กำหนัดก็ละราคะได้
ผู้ขัดเคืองก็ละโทสะได้
ผู้หลงก็ละโมหะได้
ผู้มีมานะผูกพันก็ละมานะได้
ผู้ถือผิดก็ละทิฐิได้
ผู้ถึงความฟุ้งซ่านก็ละอุทธัจจะได้
ผู้ลังเลไม่แน่ใจก็ละวิจิกิจฉาได้
ผู้มีกิเลสเรี่ยวแรงก็ละอนุสัยได้
ธรรมฝ่ายดำและธรรมฝ่ายขาวซึ่งเป็นคู่กันกำลังเป็นไป
มรรคภาวนาอันมีความหม่นหมองด้วยกิเลสนั้น ก็มีอยู่

เพราะเหตุนั้น บุคคลละกิเลสที่เป็นอดีต กิเลสที่เป็นอนาคต กิเลสที่เป็นปัจจุบัน หาได้ไม่ ฯ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 62 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร