วันเวลาปัจจุบัน 06 พ.ค. 2025, 02:42  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 20 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ต.ค. 2009, 14:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ต.ค. 2009, 18:49
โพสต์: 49

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) ท่านเขียนไว้ในหนังสือ ธรรมะฉบับเรียนลัด (กรุงเทพมหานคร : สหธรรมิก, ๒๕๔๗, หน้า ๔๓). ปฏิบัติธรรมวัดผลอย่างไร ท่านเรียงลำดับของการเกิดสมาธิ โดยดูจากสภาพจิตว่า มี ๕ ขั้น คือ
๑. ปราโมทย์ ได้แก่ ความแช่มชื่น ร่าเริง เบิกบานใจ
๒. ปีติ ได้แก่ ความอิ่มใจ ความปลาบปลื้มใจ ใจฟูขึ้น
๓. ปัสสัทธิ ได้แก่ ควารู้สึกผ่อนคลายใจ ใจเรียบรื่น ระงับลง เย็นสบาย (ความสงบ)
๔. สุข ได้แก่ ความสุข ความคล่องใจ โปร่งใจ ไม่มีความติดขัด บีบคั้น
๕. สมาธิ ได้แก่ ความมีใจตั้งมั่น สงบ อยู่ตัว อยู่กับงานที่ทำหรือเรื่องที่เกี่ยวข้อง ไม่วอกแวก ไม่ฟุ้งซ่าน

หรือเทียบกับอิทธิบาท ๔ ก็ได้ [พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต),ธรรมะฉบับเรียนลัด, (กรุงเทพมหานคร : สหธรรมิก, ๒๕๔๗), หน้า ๓๑-๓๒. ]
๑. ฉันทะ ความพอใจ มีใจรัก ถ้าชอบหรือพอใจก็มีสมาธิได้ง่าย
๒. วิริยะ ความพากเพียร พากเพียรทำ ถ้าเราเห็นสิ่งใดเป็นสิ่งที่ท้าทายมีใจสู้ เมื่อทำสิ่งนั้นก็จะเกิดสมาธิได้ง่าย
๓. จิตตะ ความใฝ่ใจ เอาจิตฝักใฝ่ ถ้าเรารู้สึกว่าสิ่งใดสำคัญเราจะต้องรับผิดชอบเอาใจจดจ่ออยู่ เมื่อทำสิ่งนั้นก็เกิดสมาธิได้ง่าย
๔. วิมังสา ความใคร่ครวญ ใช้ปัญญาสอบสวน ถ้าเราต้องการทดลองอะไรใจชอบตรวจสอบมันอยู่ เมื่อทำสิ่งนั้นก็เกิดสมาธิได้ง่าย

เจริญในธรรมพระพุทธศาสดา
เข้าใจ เข้าถึง เผยแผ่ ปกปักษ์รักษาพระสัทธรรม
พระอาจารย์แสนปราชญ์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ต.ค. 2009, 12:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 10
สมาชิก ระดับ 10
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 พ.ย. 2008, 12:29
โพสต์: 814

ที่อยู่: กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
เมื่อหายฟุ้งซ่าน นั่นก็คือได้สมาธิแล้ว
ฝึกจิตไม่มีกำหนดเวลา และต้องฝึกกันตลอดไป... แต่ถ้าอยากจะได้คำตอบคร่าวๆ เพื่อเป็นจุดมาร์ค ก็ตอบว่า จะพอเห็นผลบ้างสำหรับคนที่พื้นฐานสงบดีอยู่แล้ว ก็ 1 ปีขึ้นไป เส้นทางนี้ ไม่มีทางลัดนะ...

ผมเห็นด้วยกับ คห.นี้ จิตระงับจากนิวรณ์ธรรมได้เมื่อไร เมื่อนั้นจิตจะเป็นสมาธิหรือได้สมาธิ
ฝึกนานหรือไม่ แค่ไหน ก็ขึ้นอยู่กับว่านั่งถูกวิธีรึป่าว อยู่ในอารมณ์ที่สบายปกติไหม และสำคํญๆ
ตัดปลิโพธออกจากใจได้บ้างรึยัง ถ้ทำได้ก็คิดว่าฝึกคงไม่นานนัก
:b40: :b40: :b40:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ต.ค. 2009, 23:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 เม.ย. 2009, 22:00
โพสต์: 407

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วิสุทโธ เขียน:
อ้างคำพูด:
ขณะนั่งสมาธิ เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเรานั่งได้สมาธิแล้ว
เราจะเห็นนิมิตรต่าง ๆ หรือว่าแค่จิตนิ่งสงบเฉย ๆ ค่ะ


เมื่อใดจิตมีความสงบเยือกเย็น...เมื่อนั้น..จิตได้สมาธิ
เวทนาทางกายดับไป เช่น ไม่มีความปวดเมื่อย..ง่วงหงาวนอน...ความขี้เกียจ ฯลฯ
ปิติและความสุข..กายเบาจิตเบา...นี่แหละอาการของคนได้สมาธิ



เรียนท่านวิสุทโธ ครับ

ผมเห็นด้วย ตรงที่ว่ากายเบาจิตเบา แต่ที่บอกว่าเวทนาทางกายดับไปนั้นอันนี้เห็นไม่ตรงเท่าไร คือว่าบางครั้งก็รู้ว่าเวทนาทางกายนั้นมีอยู่ เช่น ปวดขา แต่ก็ไม่ได้ทรมานอะไร หรือจะพูดอีกนัยหนึ่งว่าปวดแต่ไม่ทรมาน เหมือนกับดูคนอื่นปวดอย่างไรอย่างนั้น และถ้าอ้างตามที่ท่านบอกว่าเวทนาทางกายดับมันก็น่าจะหมายถึงว่าไม่มีความรู้สึกทางกายไปด้วยใช่หรือไม่ครับ ถ้าอย่างนั้นก็จะพูดไม่ได้ว่ากายเบา เพราะไม่มีความรู้สึกทางกายซะแล้ว คงจะพูดได้แต่เพียงว่าจิตเบาเท่านั้นครับ
โดยส่วนตัวแล้วผมเห็นว่าอาการที่ได้สมาธินั้นต้องรุ้สึกว่าเบาทั้งกายและจิต ความรู้สึกทางกายก็ยังคงมีอยู่ เวทนาทางกายนั้นก็มีได้ แต่ไม่รู้สึกเจ็บปวดทรมานแม้นว่าเวทนาจะเกิดรุนแรงเท่าใดก็ตาม


เจริญธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ต.ค. 2009, 14:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ม.ค. 2009, 20:45
โพสต์: 1094

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จิตเราว่างจากการคิดนู่นนี่ครับ

หรือคิดแค่เรื่องเดียว

:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ต.ค. 2009, 14:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


เอาแบบง่ายๆ วิธีที่จะรู้ว่า เราได้สมาธิแล้ว ก็คือ
มี สติ คือ ความระลึก ความหวนระลึก แม้นานมาแล้วก็ยังระลึกนึกถึงได้
มี สัมปชัญญะ คือ ความไม่หลงลืม ความรู้สึกตัวอยู่เสมอ

สองอย่างนี้ เป็นผลแห่งสมาธิ หมายความว่า ถ้าบุคคลใดใดเป็นผู้มีสมาธิอยู่เสมอ คือ ได้สมาธิแล้ว
ก็จะเกิดผล คือ มีสติ และสัมปชัญญะ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 20 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร