วันเวลาปัจจุบัน 06 พ.ค. 2025, 02:41  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 29 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ต.ค. 2009, 19:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กระทู้นี้จะลงหลักการสำคัญของตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า เพื่อให้เห็นว่าพระองค์ทรงอาศัยฌานอะไรบ้าง

ในคืนวันตรัสรู้

อนึ่ง ฌานสมาบัติก็อย่างที่พระองค์ฝึกครั้งแรกจากสำนักของอาฬารดาบส กาลามโคตร

และอุทกดาบสรามบุตรนั่นแหละ

ยากหน่อยทั้งศัพท์ความหมายและที่สำคัญคือพวกเรายังเข้าไม่ถึงสภาวะเช่นว่านั้น ยิ่งยากเข้าไปใหญ่

(พุทธธรรมหน้า 323)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 17 ก.พ. 2012, 17:08, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ต.ค. 2009, 19:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(ท่านเริ่มอย่างนี้)



หลักการสำคัญของการตรัสรู้


มักมีการสงสัยหรือถกเถียงกันในหมู่ผู้ศึกษาและปฏิบัติธรรมว่า

ผู้เจริญวิปัสสนาอย่างเดียว จะบรรลุนิพพานหรือสำเร็จอรหัตผล โดยไม่ต้องอาศัยสมถะเลย

ได้หรือไม่ ?

ผู้จะบรรลุนิพพานจะต้องได้ฌานบ้างหรือไม่ ?

การสำเร็จอภิญญา ๖ อาศัยแต่เพียงจตุตถฌานก็เพียงพอ ไม่ต้องได้ครบสมาบัติ ๘ ใช่หรือไม่ ?

การจะได้อาสวักขยญาณ บรรลุนิพพานจำเป็นต้องได้ปุพเพนิวาสานุสติญาณ และจุตูปปาตญาณ

เป็นพื้นฐานก่อนหรือไม่?

ได้มรรคผลก่อนแล้วจึงเจริญสมถะเพิ่มเติมจนได้ฌานสมาบัติได้หรือไม่ ?


:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:


-ปุพเพนิวาสานุสติญาณ ญาณที่ให้ระลึกถึงขันธ์อันเคยอาศัยอยู่ในก่อนได้ – ระลึกชาติได้

-จุตูปปาตญาณ ญาณกำหนดรู้จุติและอุบัติแห่งสัตว์ทั้งหลาย ที่เป็นไปตามกรรม

-อาสวักขยญาณ ญาณที่ทำให้สิ้นอาสวะ -ตรัสรู้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 17 ต.ค. 2009, 19:54, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ต.ค. 2009, 20:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว



ท่านเจ้าคุณพระพรหมคุณาภรณ์นำคำถาม ซึ่งมีคนถามบ่อยๆ ดังกล่าวข้างต้น

แต่ละหัวข้อล้วนน่าศึกษาทั้งสิ้น และท่านก็ได้อธิบายพร้อมหลักฐานคือพระไตรปิฎก

แต่ที่นี้จะลงเพียงส่วนหนึ่ง (ขี้เกียจพิมพ์) ตัดมาที่หน้า 333 ว่าดังนี้






หลักมาตรฐานด้านสมถะ


หลักปฏิบัติที่แสดงไว้ในบาลีคือพระไตรปิฎก แม้จะมาในที่ต่างแห่ง ก็มักมีข้อความบรรยายไว้

อย่างเดียวกัน เป็นสำนวนที่ค่อนข้างตายตัว

ว่าโดยทั่วไป สำนวนแบบที่แสดงหลักปฏิบัติครบทั้งสมถะและวิปัสสนาต่อเนื่องกัน

มีอยู่ ๒ สำนวน และทั้งสองสำนวนล้วนแสดงหลักปฏิบัติที่เรียกได้ว่า เป็นวิปัสสนาครอบสมถะ

คือบำเพ็ญสมถะจนครบถ้วนบริบูรณ์ ถึงสุดยอดสมถะก่อนแล้วจึงหันมาเจริญวิปัสสนาต่อท้าย

จัดได้ว่าเป็นมาตรฐานการปฏิบัติแบบสูงสุด

ในที่นี้ จะคัดมาให้ดูทั้งสองแบบ และ เพื่อให้คำอธิบายชัดเจน

กับทั้งเพื่อให้สมเป็นมาตรฐานสูงสุดแท้จริง จึงจะคัดเอาข้อความที่บรรยายถึงการตรัสรู้

ของพระพุทธเจ้าทั้งสองสำนวน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ต.ค. 2009, 20:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(สำนวนที่ ๑)


สำนวนที่ ๑ เป็นแบบที่พบบ่อย และคุ้นตากันที่สุด แสดงฌาน ๔ ต่อด้วยวิชชา ๓


“ดูกรอัคคิเวสสนะ เรานั้นแล (ฉันอาหารหยาบ ให้กายได้กำลังแล้ว) สงัดจากกามทั้งหลาย

สงัดจากอกุศลทั้งหลาย บรรลุปฐมฌาน... บรรลุทุติยฌาน... บรรลุตติยฌาน...

บรรลุจตุตถฌาน...อยู่




“เรานั้น ครั้นเมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องใส ไม่มีฝ้ามัว ปราศจากอุปกิเลส

เป็นของนุ่มนวล ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนั้นแล้ว

น้อมจิตไปเพื่อปุพเพนิวาสานุสติญาณ

(วิชชาที่ ๑ นี้แล เราบรรลุแล้วในปฐมยามแห่งราตรี อวิชชาถูกกำจัดแล้ว

วิชชาเกิดขึ้นแล้ว ความมืดถูกกำจัดแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว...)




“เรานั้น ครั้นเมื่อจิตเป็นสมาธิ...อย่างนี้แล้ว ก็น้อมจิตไปเพื่อจุตูปปาตญาณ

(วิชชาที่ ๒ นี้แล เราบรรลุแล้วในมัชฌิมยามแห่งราตรี อวิชชาถูกกำจัดแล้ว

วิชชาเกิดขึ้นแล้ว... แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว...)




“เรานั้น ครั้นเมื่อจิตเป็นสมาธิ...อย่างนี้แล้ว ก็น้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ

เรานั้น รู้ชัดตามที่มันเป็นว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา

รู้ชัดตามที่มันเป็นว่า เหล่านี้อาสวะ นี้อาสวสมุทัย นี้อาสวนิโรธ นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา

เรานั้น เมื่อรู้อยู่เห็นอยู่อย่างนี้ จิตก็หลุดพ้นแล้ว แม้จากกามาสวะ แม้จากภวาสวะ

แม้จากอวิชชาสวะ

เมื่อหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณว่า หลุดพ้นแล้ว

เรารู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำแล้ว กิจอื่นอีกเพื่อความเป็นอย่างนี้

ไม่มี

(วิชชาที่ ๓ นี้แล เราบรรลุแล้วในปัจฉิมยามแห่งราตรี อวิชชาถูกกำจัดแล้ว ...แสงสว่างเกิดขึ้น

แล้ว...)


(ม.มู.12/427-9/458 และอื่นๆอีกหลายแห่ง เช่น วินย. 1/2/6 เป็นต้น)


:b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43:

ข้อความในวงเล็บว่า (ฉันอาหารหยาบ ให้กายได้กำลังแล้ว)

บางแห่งเป็น “ความเพียร เราได้ระดมแล้วไม่ย่อหย่อน สติดำรงมั่นไม่ฟั่นเฟือน

กายสงบระงับไม่กระสับกระส่าย จิตเป็นสมาธิมีอารมณ์หนึ่งเดียว”

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ต.ค. 2009, 20:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สำนวนแบบที่ ๑ ซึ่งบรรยายลำดับการปฏิบัติเพื่อบรรลุธรรมของสาวกทั่วไป

ก็มีข้อความอย่างเดียวกันนี้ ต่างแต่เพียงไม่มีข้อความในวงเล็บ*

นอกจากนั้น บางแห่งกล่าวถึงการน้อมจิตไปเพื่อวิชชาถึง ๘ ประการ **

มิใช่วิชชาเพียง ๓ เหมือนในที่นี้ และบางแห่งกล่าวถึงการน้อมจิตไปเพื่อวิชชาข้อสุดท้าย

คือ อาสวักขยญาณ เพียงอย่างเดียว-( องฺ.ปญฺจก.22/75/104; 76/114)




( * เช่น ม.มู. 12/335/345 ; 471/505 เป็นต้น (ส่วนมากที่มาเหล่านี้ กล่าวถึงข้อปฏิบัติ

ตั้งแต่ออกบวชจนบรรลุอรหัตผล)


** ที.สี. 9/127-138/98-112

วิชชา ๘ คือ

๑. ญาณทัสสนะ (ที.อ.1/272 ว่า วิปัสสนาญาณ)

๒. มโนมยาภินิมมาน (= มโนมยิทธิ คือ นิรมิตกายอื่นจากกายนี้)

๓. อิทธิวธา (แสดงฤทธิ์ต่างๆ)

๔. ทิพพโสต (หูทิพย์)

๕. เจโตปริยญาณ (รู้ใจคนอื่น)

๖. ปุพเพนิวาสานุสติญาณ

๗. จุตูปปาตญาณ

๘. อาสวักขยญาณ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 17 ก.พ. 2012, 17:09, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ต.ค. 2009, 20:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ส่วนสำนวนที่ ๒ พบน้อยกว่าสำนวนที่ ๑ และไม่ค่อยมีผู้สังเกต

สำนวนนี้ แสดงสมาบัติ ๘ พร้อมทั้งนิโรธสมาบัติ

ต่อด้วยวิชชาที่ ๓ คือ อาสวักขยญาณ อันได้แก่การบรรลุอรหัตต์




“ดูกรอานนท์ เรานั้นแล สงัดจากกามทั้งหลาย สงัดจากอกุศลทั้งหลาย บรรลุปฐมฌาน...

เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการที่ประกอบด้วยกาม ยังกวนใจได้

อันนับว่ายังเป็นความอึดอัด (อาพาธ) แก่เรา....

เราจึงได้มีความคิดว่า ถ้ากระไร ระงับวิตกวิจารเสียได้ เราพึงบรรลุทุติยฌาน ฯลฯ



“โดยสมัยอื่นอีก (= ต่อมาอีกคราวหนึ่ง)...เรานั้น....บรรลุทุติยฌาน....

เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการที่ประกอบด้วยวิตก ยังกวนใจได้

อันนับว่ายังเป็นความอึดอัด แก่เรา....

เราจึงได้มีความคิดว่า ถ้ากระไร...เราพึงบรรลุตติยฌาน ฯลฯ


“โดยสมัยอื่นอีก...เรานั้น....บรรลุตติยฌาน....

เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการที่ประกอบด้วยปีติ ยังกวนใจได้

อันนับว่ายังเป็นความอึดอัด แก่เรา....

เราจึงได้มีความดำริว่า ถ้ากระไร...เราพึงบรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ


“โดยสมัยอื่นอีก...เรานั้น....บรรลุจตุตถฌาน....

เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการที่ประกอบด้วยอุเบกขา ยังกวนใจได้

อันนับว่ายังเป็นความอึดอัด แก่เรา....

เราจึงได้มีความดำริว่า ถ้ากระไร...ความก้าวล่วงรูปสัญญา โดยประการทั้งปวง ...

เราพึงบรรลุอากาสานัญจายตนะอยู่ ฯลฯ


“โดยสมัยอื่นอีก...เรานั้น....บรรลุอากาสานัญจายตนะ....

เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการที่ประกอบด้วยรูปธรรม ยังกวนใจได้

อันนับว่ายังเป็นความอึดอัด แก่เรา....

เราจึงได้มีความดำริว่า ถ้ากระไร..เราก้าวล่วงอากาสานัญจายตนะเสีย โดยประการทั้งปวง ...

เราพึงบรรลุวิญญาณัญจายตนะอยู่ ฯลฯ


“โดยสมัยอื่นอีก...เรานั้น....บรรลุวิญญาณัญจายตนะ....

เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการที่ประกอบด้วยอากาสานัญจายตนะ ยังกวนใจได้

อันนับว่ายังเป็นความอึดอัด แก่เรา....

เราจึงได้มีความดำริว่า ถ้ากระไร..เราก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนะเสีย โดยประการทั้งปวง ...

เราพึงบรรลุอากิญจัญญายตนะอยู่ ฯลฯ


“โดยสมัยอื่นอีก...เรานั้น....บรรลุอากิญจัญญายตนะ....

เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการที่ประกอบด้วยวิญญาณัญจายตนะ ยังกวนใจได้

อันนับว่ายังเป็นความอึดอัด แก่เรา....

เราจึงได้มีความดำริว่า ถ้ากระไร..เราก้าวล่วงอากิญจัญญายตนะ.เสีย ...

พึงบรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนะอยู่ ฯลฯ


“โดยสมัยอื่นอีก...เรานั้น....บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนะ....

เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการที่ประกอบด้วยอากิญจัญญายตนะ ยังกวนใจได้

อันนับว่ายังเป็นความอึดอัด แก่เรา....

เราจึงได้มีความดำริว่า ถ้ากระไร..เราก้าวล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนะเสีย ...

พึงบรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ ฯลฯ


“โดยสมัยอื่นอีก...เรานั้น....บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ เพราะเห็นด้วยปัญญา อาสวะทั้งหลาย

ก็ได้ถึงความสิ้นไป

“ดูกรอานนท์ ตราบใด เรายังเข้าบ้าง ออกบ้าง ซึ่งอนุบุพพวหารสมาบัติ ๙ ประการนี้

ทั้งโดยอนุโลมและปฏิโลมอย่างนี้ไม่ได้ ตราบนั้น เราก็ยังไม่ปฏิญาณในโลก พร้อมทั้งเทพ

ทั้งมาร ทั้งพรหม ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ทั้งเทวะและมนุษย์ ว่าเราได้ตรัสรู้แล้ว

ซึ่งอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ

ต่อเมื่อใดแล เราเข้าบาง ออกบ้าง ซึ่งอนุบุพพวหารสมาบัติ ๙ ประการนี้ ทั้งโดยอนุโลมและปฏิโลม

อย่างนี้แล้ว เมื่อนั้น เราจึงปฏิญาณ ในโลก....ว่าเราได้ตรัสรู้แล้ว ซึ่งอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ

ก็แล ญาณทัศนะเกิดขึ้นแล้วแก่เราว่า เจโตวิมุตติของเราเป็นอกุปปา นี้เป็นอันติมชาติ

บัดนี้ไม่มีภพใหม่อีก”


(องฺ.นวก.23/245/458-469) (ท่านแปลลัดตัดเอาแต่หลัก ตัดรายละเอียดส่วนมาก)



:b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55:


อกุปปา ไม่กำเริบ ไม่กลับกลาย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ต.ค. 2009, 20:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สำนวนแบบที่ ๒ นี้ ซึ่งบรรยายลำดับขั้นการปฏิบัติเพื่อบรรลุธรรมของสาวกโดยทั่วไป

ก็มีข้อความเหมือนอย่างนี้ ต่างแต่มีเฉพาะตัวหลักที่แสดงขั้นตอน ไม่มีรายละเอียด ดังนี้




“ภิกษุนั้น ละนิวรณ์ ๕ เหล่านี้แล้ว...สงัดจากกามทั้งหลาย สงัดจากอกุศลทั้งหลาย

บรรลุปฐมฌาน...

บรรลุทุติยฌาน...

บรรลุตติยฌาน...

บรรลุจตุตถฌาน...

บรรลุอากาสานัญจายตนะ...

บรรลุวิญญาณัญจายตนะ…

บรรลุอากิญจัญญายตนะ…

บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนะ…

บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ

เพราะเห็นด้วยปัญญา อาสวะทั้งหลายก็หมดสิ้นไป”

(อง.นวก.23/244/456 ฯลฯ)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 17 ก.พ. 2012, 17:10, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ต.ค. 2009, 10:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การที่เจาะจงยกเอาคำบรรยายการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าขึ้นมาเป็นตัวอย่างแสดงสำนวนแบบ

ทั้งสอง ก็เพื่อเป็นหลักฐานยืนยันไว้ก่อนว่า

สำนวนแบบทั้งสองนี้ แม้จะดูเสมือนต่างกัน แต่ก็มีสาระอย่างเดียวกัน เพราะทั้งสองอย่าง

เป็นการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าองค์เดียวกัน และพระพุทธเจ้าย่อมตรัสรู้หนเดียว

ผู้ศึกษาหลักปฏิบัติตามสำนวนแบบทั้งสองนี้ มักมีความเข้าใจสับสนคลาดเคลื่อน

อันเกิดจากการอ่านสำนวนแรกอย่างเดียวบ้าง

อ่านสำนวนหลังอย่างเดียวบ้าง

โดยพิจารณาตามตัวหนังสือ และ มิได้สืบสวนเทียบเคียงกับหลักที่ปรากฏในที่อื่นๆ

ให้เห็นความสอดคล้องกลมกลืนกัน


ความเข้าใจสับสนคลาดเคลื่อนเหล่านั้น ที่เป็นข้อสำคัญมี ๓ อย่างคือ


๑. เข้าใจว่า ต้องได้วิชชา ๓ อย่างแรกก่อน จึงจะบรรลุอาสวักขยญาณ

คือ เข้าใจว่าปุพเพนิวาสานุสติญาณและจุตูปปาตญาณจำเป็นสำหรับการตรัสรู้


๒.เข้าใจว่า การได้ฌาน ๔ เป็นบาทฐานเพียงพอที่จะให้บรรลุวิชชาทั้ง ๓

หรือรวมไปถึงอภิญญาทั้ง ๖


๓. เข้าใจว่า บรรลุอาสวักขยญาณหรือตรัสรู้ได้ในสัญญาเวทยิตนิโรธ


๔. เข้าใจว่า หลักปฏิบัติที่บรรยายในสำนวนแบบสองอย่างนั้น เป็นปฏิปทา

แห่งการตรัสรู้ ๒ อย่าง ต่างหากกัน


๕. เข้าใจว่า ขั้นตอนของการปฏิบัติและการบรรลุผลสำเร็จต่างๆ ตามคำบรรยายนั้น

ดำเนินไปภายในเวลาที่ต่อเนื่องกัน เป็นหนเดียวคราวเดียว *


:b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ต.ค. 2009, 10:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(ขยายความคห.บน ที่มี *)


* ความเข้าใจผิดทั้ง ๕ ข้อนี้ เกิดขึ้นได้โดยง่าย

แม้แต่ปราชญ์สำคัญๆ ก็เผลอพลาดไม่น้อย

บางท่านพลาดไปอย่างไม่น่าจะเป็น .... ความเข้าใจเผลอที่แปลกคือ กรณีของท่าน

kalupahana ในข้อที่ท่านผู้นี้เข้าใจว่า หลักปฏิบัติตามสำนวนแบบทั้งสองนี้

เป็นคนละปฏิปทา ซึ่งแยกจากกันเมื่อได้จตุตถฌานแล้ว

ปฏิปทาตามสำนวนหลัง ตั้งแต่อากาสนัญจายตนะถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ เป็นเจโตวิมุตติ

ปฏิปทาตามสำนวยแรกคือวิชชา ๓ หรือแม้อภิญญา ๖ ทั้งหมด เป็นปัญญาวิมุตติ

ทั้งสองปฏิปทานี้นำไปสู่อัญญา คือการตรัสรู้) ดู David J. kalupahana, CAUSALITY:

The CENTRAL PHILOSOPHY OF BUDDHISM (Honolulu: The University

Press of Hawaii, 1975) pp. 181-182

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 17 ก.พ. 2012, 17:09, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ต.ค. 2009, 10:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การแก้ความเข้าใจพลาดเหล่านี้ เป็นการทำความเข้าใจเกี่ยวกับหลักปฏิบัติไปในตัว


:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41:

ข้อ ๑ พึงเข้าใจว่า วิชชา ๓ ข้อต้นไม่จำเป็นสำหรับการตรัสรู้ (หมายถึงการบรรลุอรหัตผล หรือการ

ประจักษ์แจ้งนิพพาน) คือไม่จำเป็นต้องได้ปุพเพนิวาสานุสติญาณและจุตูปปาตญาณก่อน

จึงจะตรัสรู้ได้ เหตุผลและหลักฐานอย่างง่ายๆคือ


ก) หลักปฏิบัติตามสำนวนแบบที่หนึ่งบางแห่ง ไม่มีวิชชา ๒ ข้อต้น กล่าวคือเมื่อดำเนินมาถึงฌาน ๔

แล้ว น้อมจิตที่เป็นสมาธิดีแล้วไปเพื่ออาสวักขยญาณทีเดียว ไม่กล่าวถึงปุพเพนิวาสานุสติญาณ

และจุตูปปาตญาณเลย- (องฺ.ปญฺจก.22/75/105 ฯลฯ) แสดงว่าการปฏิบัติอย่างนี้ก็เป็นทางเลือกหนึ่ง

ที่อาจทำได้


ข) ในสุสิมสูตร มีพุทธพจน์แสดงไว้ชัดเจนว่า พระอรหันต์ปัญญาวิมุต แม้เป็นผู้หลุดพ้นเป็นอิสระ

แล้ว ไม่ยึดติดในขันธ์ ๕ และเห็นปฏิจจสมุปบาทแต่ก็ไม่สามารถแสดงฤทธิ์ต่างๆ

ไม่มีทิพย์โสต ไม่มีเจโตปริยญาณ ไม่มีปุพเพนิวาสานุสติญาณ ไม่มีทิพยจักษุคือจุตูปปาตญาณ

และไม่ได้สันติวิโมกข์คือ อรูปสมาบัติ

พูดสั้นๆ ว่าไม่ได้โลกียอภิญญา ๕ และไม่ได้อรูปฌาน ได้แต่อาสวักขยญาณอย่างเดียว-

(สํ.นิ.16/282-301/147-155)


ค) การบรรลุอภิญญา ๖ (ซึ่งรวมวิชชาทั้ง ๓ อยู่ด้วยแล้ว) ไม่ว่าข้อใดๆ

ย่อมอาศัยจิตที่ฝึกอบรมดีแล้วด้วยสมาธิที่ประณีตถึงขั้น เมื่ออบรมจิตมีสมาธิดีพอแล้ว

ก็น้อมจิตไปเพื่ออภิญญาข้อนั้นๆ ตามประสงค์ คือ นำจิตไปใช้เป็นบาทฐานสำหรับสร้างอภิญญา

ข้อที่ตนต้องการ ไม่จำเป็นว่าต้องผ่านอภิญญาข้อนี้ก่อนแล้วจึงจะก้าวไปสู่อภิญญาข้อนั้นได้

ดังมีหลักอยู่ว่า

:b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53:


“ด้วยสมาธิที่อบรมดีแล้ว เธอจะน้อมจิตไปเพื่อรู้จำเพาะประจักษ์แจ้งซึ่งอภิญญาสัจฉิกรณียธรรม

อย่างใดๆ ก็ย่อมถึงภาวะที่สามารถเป็นพยานในธรรมนั้นๆได้ ในเมื่ออายตนะ (เหตุ) มีอยู่ กล่าวคือ

ถ้าเธอจำนง...อิทธิวิธา...ก็ย่อมถึง...

ถ้าเธอจำนง...ทิพยโสต...ก็ย่อมถึง...

ถ้าเธอจำนง...เจโตปริยญาณ...ก็ย่อมถึง...

ถ้าเธอจำนง...ปุพเพนิวาสานุสติ...ก็ย่อมถึง...

ถ้าเธอจำนง...ทิพยจักษุ..ก็ย่อมถึง...

ถ้าเธอจำนง...อาสวักขัย...ก็ย่อมถึงภาวะที่สามารถเป็นพยานในธรรมนั้นๆได้ ในเมื่อเหตุมีอยู่”


(องฺ.ติก.20/541/326 ฯลฯ)


:b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42:

-อภิญญาสัจฉิกรณียธรรม สิ่งที่พึงทำให้ประจักษ์ด้วยการรู้จักจำเพาะ



ส่งข่าวถึงท่าน บุดฯ

ที่ต้องเขียนบอกไว้ข้างบนนี้ ก็เพื้อให้ท่านลบ คห.ของท่านข้างล่างได้

ท่าน Buddha ขอรับ ความเห็นของท่าน สอง คห. ข้อความซ้ำกัน

ลบออกเสีย คห.หนึ่งดิขอรับ เปลื้องพื้นที่และดูรกรุงรังไม่เรียบร้อย

กระทู้นี้ยังไม่จบ แต่รอให้ท่านลบออกก่อน คห. หนึ่ง นะพ่อคนดีที่หนึ่งเลย
:b28:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 20 ต.ค. 2009, 11:47, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ต.ค. 2009, 12:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


เจ้าผู้ใช้ชื่อว่ากรัชกายเอ๋ย
เจ้าอาจจะมีเจตนาดี แต่เป็นเจตนาของผู้มีอวิชชา เจ้าไม่ได้มีความรู้เลยว่า การตรัสรู้ นั้นคืออะไร รู้แจ้งเห็นจริงในเรื่องใด เจ้าอาจจะอ่านในตำรามา อาจจะรู้ตามตำรา แต่เจ้าไม่ได้คิดตาม ไม่ได้่พิจารณาตาม เอามาเป็นดุ้นๆ เจ้าก็ย่อมไม่เกิดความรู้ความเข้าใจอะไรเลย
สิ่งที่เจ้าทำอยู่ เรียกว่า "อวดอุตริมนุษยธรรม" คือสอนธรรมที่ไม่มีในตน เขียนหรือเผยแพร่ธรรมที่ไม่มีในตน
แต่คำว่า สัญญา เจ้าก็ไม่รู้แล้ว
อารมณ์ ไม่ต้องจำ ดอกนะเจ้าผู้ใช้ชื่อว่ากรัชกาย อารมณ์นะเขาต้องรู้ว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร ไปจำมันทำไม จำมันก็กลายเป็นความหลงซิ หลงในอารมณ์
เขียนอย่างไรก็เขียนได้ วิชชา ๓ อภิญญา ๖ เขียนได้ แต่ไม่รู้ว่า วิชชา ๓ ฝึกอย่างไร อภิญญาเกิดขึ้นได้อย่างไร มันก็อวดอุตริฯ มีแต่พวกหลงผิด เข้าใจผิด งมงายหลงเชื่อ ไม่รู้ว่าจะทำไปทำไม

อยากจะตรัสรู้เรอะ ไม่ยากดอกนะ แค่มีความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องของ "จิต,เจตสิก,รูป,นิพพาน" ก็ตรัสรู้ได้แล้ว ฮ่า ฮ่ ฮา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ต.ค. 2009, 12:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


เจ้าผู้ใช้ชื่อว่ากรัชกายเอ๋ย
เจ้าอาจจะมีเจตนาดี แต่เป็นเจตนาของผู้มีอวิชชา เจ้าไม่ได้มีความรู้เลยว่า การตรัสรู้ นั้นคืออะไร รู้แจ้งเห็นจริงในเรื่องใด เจ้าอาจจะอ่านในตำรามา อาจจะรู้ตามตำรา แต่เจ้าไม่ได้คิดตาม ไม่ได้่พิจารณาตาม เอามาเป็นดุ้นๆ เจ้าก็ย่อมไม่เกิดความรู้ความเข้าใจอะไรเลย
สิ่งที่เจ้าทำอยู่ เรียกว่า "อวดอุตริมนุษยธรรม" คือสอนธรรมที่ไม่มีในตน เขียนหรือเผยแพร่ธรรมที่ไม่มีในตน
เพียงแค่คำว่า สัญญา เจ้าก็ไม่รู้แล้ว
อารมณ์ ไม่ต้องจำ ดอกนะเจ้าผู้ใช้ชื่อว่ากรัชกาย อารมณ์นะเขาต้องรู้ว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร เวลาอารมณ์เกิดต้องมีสติระลึกได้ และมีสัมปชัญญะไม่หลงลืม รู้สึกตัวอยู่เสมอ ไปจำอารมณ์มันทำไม จำมันก็กลายเป็นความหลงซิ หลงในอารมณ์ หรือจะเรียกว่า เป็นควานมคิดของคนบ้าก็ได้นะ
เขียนอย่างไรก็เขียนได้ วิชชา ๓ อภิญญา ๖ เขียนได้ แต่ไม่รู้ว่า วิชชา ๓ ฝึกอย่างไร อภิญญาเกิดขึ้นได้อย่างไร มันก็อวดอุตริฯ มีแต่พวกหลงผิด เข้าใจผิด งมงายหลงเชื่อ ไม่รู้ว่าจะทำไปทำไม

อยากจะตรัสรู้เรอะ ไม่ยากดอกนะ แค่มีความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องของ "จิต,เจตสิก,รูป,นิพพาน" ก็ตรัสรู้ได้แล้ว ฮ่า ฮ่ ฮา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ต.ค. 2009, 21:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ข้อ ๒ สมาธิในจตุตถฌาน คือฌานที่ ๔ เป็นสมาธิระดับสูงสุด

แม้แต่สมาธิในฌานสมาบัติที่สูงขึ้นไป คือในอรูปฌานทั้งหลาย ก็จัดเป็นสมาบัติในระดับจตุตถฌานทั้งสิ้น

(อภิ.สํ.34/192/78 ฯลฯ) เพราะอรูปฌานทั้งหลายก็มีองค์ฌานเพียง ๒ อย่างเหมือนกับ

จตุตถฌาน คือ อุเบกขาและเอกัคคตา (วิสุทธิ.2/133/,149 ฯลฯ)

และถือได้ว่า จตุตถฌานเป็นฌานที่ใช้ประโยชน์ได้สากล

เช่น จะใช้เป็นบาทแห่งวิปัสสนาก็ได้

เป็นบาทแห่งอภิญญาก็ได้

เป็นบาทแห่งนิโรธสมาบัติก็ได้- (องฺ.อ.2/13) ดังนี้เป็นต้น

อย่างไรก็ดี แม้สมาธิในอรูปฌานจะเป็นสมาธิระดับจตุตถฌานก็จริง

แต่ข้อพิเศษก็มีอยู่ คือสมาธิในอรูปฌานประณีตลึกซึ้ง ห่างไกลจากปัจจนีกธรรม

คือสิ่งรบกวนมากกว่าสมาธิในจตุตถฌานสามัญ- (ที.อ.2/146 ฯลฯ)

และแม้อรูปฌานด้วยกัน ก็ประณีตกว่ากันยิ่งขึ้นไปตามลำดับขั้น- (วิสุทธิ.2/149 ฯลฯ)

ด้วยเหตุนี้ จะเห็นได้ว่า ผู้ที่ได้จตุตถฌานแล้วบรรลุอรหัตผล

ท่านยังไม่เรียกว่า เป็นอุภโตภาควิมุต ยังเป็นแต่เพียงปัญญาวิมุต

ต่อเมื่อได้อรูปฌานสักขั้นใดขั้นหนึ่งแล้ว จึงจะเป็นอุภโตภาควิมุต - (ม.ม.13/231-2/229 ฯลฯ)

โดยนัยนี้ คำของอรรถกถาจารย์ที่ว่าใช้จตุตถฌานเป็นบาทนั้น จึงมีข้อแม้

คือ ในบางกรณี อาจใช้สมาธิระดับจตุตถฌานสามัญก็ได้

แต่ในบางกรณี ต้องใช้สมาธิระดับจตุตถฌานที่ประณีตขึ้นถึงขั้นอรูปฌานที่เหนือขึ้นไป

:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ต.ค. 2009, 21:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ดังได้แสดงหลักฐานให้เห็นแล้วว่า พระปัญญาวิมุต ตามความหมายที่เคร่งครัดหรือโดยนิปริยาย

เป็นผู้ได้แต่อาสวักขยญาณอย่างเดียว ไม่ได้วิชชาหรืออภิญญาอื่นๆ และไม่ได้ แม้แต่อรูปฌานสมาบัติ

ดังนั้นการได้วิชชาครบ ๓ หรือ อภิญญาครบ ๖ จึงเป็นวิสัยของพระอุภโตภาควิมุต ซึ่งได้สมาบัติถึงขั้นอรูปฌาน

แล้ว

อาศัยเค้าความจากบาลีเช่นนี้เป็นฐาน อรรถกถาได้อธิบายวิธีการเจริญอภิญญาอย่างพิสดาร

ซึ่งพอสรุปได้ความว่า เบื้องแรก เมื่อเจริญสมถะจนได้ฌาน ๔ แล้ว ให้เจริญต่อไปอีกจนได้สมาบัติ ๘

แต่จำกัดว่า ต้องเป็นสมาบัติที่ได้ในกสิณ ๘

แต่จำกัดว่า ต้องเป็นสมาบัติที่ได้ในกสิณ ๘ (คือ ยกเว้นอาโลกกสิณและอากาสกสิณ * )

ครั้นแล้วฝึกสมาบัติทั้ง ๘ นั้น ให้คล่องแคล่วโดยทำนองต่างๆ เป็นการเตรียมจิตให้พร้อม –

(วิสุทธิ. 2/195,197-201 ฯลฯ ) พอถึงเวลาใช้งานจริง คือ จะทำอภิญญาให้เกิดขึ้นก็ดี

จะใช้อภิญญาแต่ละครั้งก็ดี

ก็เข้าฌานเพียงแค่จตุตถฌาน แล้วน้อมเอาจิตนั้นไปใช้เพื่ออภิญญาตามความต้องการ-

(วิสุทธิ.2/213,216,247,252,276 ฯลฯ )



:b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54:

* วิสุทธิ. ฎีกา 2/248 แสดงเหตุผลว่า ไม่ใช้อากาสกสิณ เพราะทำอรูปสมาบัติไม่ได้

ส่วนอาโลกกสิณนั้น ความจริงเหมาะแก่การเจริญทิพยจักษุ

แต่ในที่นี้ ท่านว่ารวมเข้าในโอทาตกสิณแล้วจึงไม่ต้องแยกต่างหาก –

(ตามหลักที่แสดงไว้ในชั้นอรรถกถา ผู้เจริญอรูปสมาบัติ ต้องได้จตุตถฌานในกสิณ ๙ ข้อใดข้อหนึ่ง

เว้น อากาสกสิณ -ดูวิสุทธิ.2/132

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ต.ค. 2009, 21:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(ต่อ)

ย้ำข้อสรุปว่า ในการฝึกเตรียมจิตไว้ต้องใช้สมาบัติ ๘

แต่ในเวลาทำอภิญญา ก็เข้าฌานเพียงจตุตถฌานเท่านั้น

ทั้งนี้เพราะว่า เมื่อเข้าสมาธิถึงจตุตถฌานแล้ว จิตซึ่งเคยอบรมมาดีแล้วด้วยสมาบัติ ๘

พอมีสมาธิถึงระดับจตุตถฌาน ก็มีความประณีตเป็นพิเศษยิ่งกว่าจิตของผู้ได้ลำพังแต่จตุตถฌานล้วนๆ


:b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39:

เมื่อตัดเอาตรงนี้ ท่านจึงกล่าวว่า ใช้จตุตถฌานเป็นบาทของอภิญญา

ตรงกับที่ท่านพูดไว้อีกสำนวนหนึ่งว่า จิตที่พร้อมด้วยองค์ ๘ คือ

เป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องใส ฯลฯ (โดยการอบรมด้วยสมาธิระดับจตุตถฌาน ถึงขั้นอรูปสมาบัติ)

อย่างนี้ เป็นของเหมาะแก่การน้อมเอาไปใช้ จึงเป็นบาทคือเป็นปทัฏฐาน แห่งการประจักษ์แจ้ง

ด้วยการรู้จำเพาะ ซึ่งอภิญญาสัจฉิกรณียธรรมทั้งหลาย (วิสุทธิ.2/203)



อย่างไรก็ดี มีข้อยกเว้นว่า สำหรับท่านผู้มีบุพโยคะ (คือ มีเพียรที่ทำมาแต่ปางก่อนเป็นพื้นอุปนิสัย

หรือเป็นทุนเดิม) แรงกล้าแล้ว เช่น พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระอัครสาวกเป็นต้น

ไม่ต้องฝึกฝนครบกระบวนวิธีตามลำดับก็ได้และสร้างความชำนาญในจตุตถฌานล้วนๆ ก็เพียงพอ

ที่จะทำอภิญญาให้เกิดได้ ไม่จำเป็นต้องสร้างความชำนาญในอรูปสมาบัติ (วิสุทธิ.2/201 ฯลฯ )


:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:



ในกรณีของพระพุทธเจ้า แม้ไม่อ้างบุพโยคหรือบุพเหตุอย่างอรรถกถาว่า ก็เห็นได้ชัดว่า

สำนวนแบบ ๒ อย่างที่ยกมาอ้างข้างต้นสอดคล้องกันและกลมกลืนกับหลักที่ได้แสดงมานี้

กล่าวคือ สำนวนแบบที่ ๑ แสดงว่าในคืนวันตรัสรู้ คือในตอนใช้การ

พระพุทธเจ้าทรงเข้าฌาน ถึงจตุตถฌานแล้วทรงนำจิตมุ่งไปใช้เพื่อให้เกิดวิชชา ๓ ทีละอย่าง

แต่ในเวลาก่อนหน้านั้น พระองค์ได้ทรงอบรมพระทัยของพระองค์เป็นพื้นฐานไว้ด้วยสมถะ

อย่างดีแล้ว คือ ทรงได้สมาบัติครบ ๘ ตั้งแต่ทรงอยู่ในสำนักของอาฬารดาบส กาลามโคตร

และอุทกดาบสรามบุตร
- (ม.มู.12/490/448, 739/674)

และตามสำนวนแบบที่ ๒ ก็แสดงว่าพระองค์ได้ทรงฝึกปรือความชำนาญในสมาบัติทั้งหลาย

มาโดยตลอดตามลำดับ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 22 ต.ค. 2009, 08:37, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 29 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร