วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 16:43  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 42 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ต.ค. 2009, 01:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มาเข้าใจ บัญญัติ ในพระไตรปิฏกกัน

Quote Tipitaka:
ปญฺตฺติ ธมฺมา ธรรมเป็นบัญญัติ
ปญฺตฺติปถา ธมฺมา ธรรมเป็นเหตุของธรรมเป็นบัญญัติ


อ้างคำพูด:
จากอรรถกถา
ธรรมที่ชื่อว่า ปัญญัตติ เพราะการแจ้งให้ทราบโดยประการนั้น ๆ อย่างนี้
ทางแห่งบัญญัตติทั้งหลายเรียกว่า ปัญญัตติปถธรรม


เช่น:- ปรากฎในพระวินัยปิฏก

Quote Tipitaka:
พระตถาคตทั้งหลายทรงทราบอยู่ ย่อมตรัสถามก็มี ทรงทราบอยู่ย่อมไม่ตรัสถามก็มี
ทรงทราบกาลแล้วตรัสถาม ทรงทราบกาลแล้วไม่ตรัสถาม พระตถาคตทั้งหลายย่อมตรัสถามสิ่ง
ที่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่ตรัสถามสิ่งที่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ สิ่งที่ไม่ประกอบด้วย
ประโยชน์ พระองค์ทรงกำจัดด้วยข้อปฏิบัติ พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมทรงสอบถาม
ภิกษุทั้งหลายด้วยอาการสองอย่าง คือ จักทรงแสดงธรรมอย่างหนึ่ง จักทรงบัญญัติสิกขาบทแก่
พระสาวกทั้งหลายอย่างหนึ่ง.

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า จงรอก่อน สารีบุตร จงยับยั้งก่อนสารีบุตร ตถาคตผู้เดียวจักรู้
กาลในกรณีย์นั้น พระศาสดายังไม่บัญญัติสิกขาบท ยังไม่แสดงปาติโมกข์แก่สาวก ตลอดเวลา
ที่ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะบางเหล่า ยังไม่ปรากฏในสงฆ์ในศาสนานี้ ต่อเมื่อใดอาสวัฏ-
*ฐานิยธรรมบางเหล่า ปรากฏในสงฆ์ในศาสนานี้ เมื่อนั้นพระศาสดาจึงจะบัญญัติสิกขาบท แสดง
ปาติโมกข์แก่สาวก เพื่อกำจัดอาสวัฏฐานิยธรรมเหล่านั้นแหละ อาสวัฏฐานิยธรรมบางเหล่า ยังไม่
ปรากฏในสงฆ์ในศาสนานี้ ตลอดเวลาที่สงฆ์ยังไม่ถึงความเป็นหมู่ใหญ่โดยภิกษุผู้บวชนาน ต่อ
เมื่อใดสงฆ์ถึงความเป็นหมู่ใหญ่โดยภิกษุผู้บวชนานแล้ว และอาสวัฏฐานิยธรรมบางเหล่าย่อม
ปรากฏในสงฆ์ในศาสนานี้ เมื่อนั้นพระศาสดาจึงจะบัญญัติสิกขาบท แสดงปาติโมกข์แก่สาวก
เพื่อกำจัดอาสวัฏฐานิยธรรมเหล่านั้นแหละ อาสวัฏฐานิยธรรมบางเหล่า ยังไม่ปรากฏในสงฆ์ใน
ศาสนานี้ ตลอดเวลาที่สงฆ์ยังไม่ถึงความเป็นหมู่ใหญ่โดยแพร่หลาย ต่อเมื่อใดสงฆ์ถึงความเป็น
หมู่ใหญ่โดยแพร่หลายแล้ว และอาสวัฏฐานิยธรรมบางเหล่า ย่อมปรากฏในสงฆ์ในศาสนานี้


เช่น:-ที่ปรากฏใน พระสุตตันตปิฏก
ยกตัวอย่างจากพรหมชาละสูตร

ดูกรภิกษุทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีทิฏฐิว่าเที่ยง บัญญัติอัตตาและโลก
ว่าเที่ยง ด้วยเหตุ ๔ ประการ ก็สมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น อาศัยอะไร ปรารภอะไร
จึงมีทิฏฐิว่าเที่ยง บัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยง ด้วยเหตุ ๔ ประการ?

ธรรมเป็นบัญญัติ ----> อัตตาและโลกว่าเที่ยง
ธรรมเป็นเหตุของธรรมแห่งบัญญัติ---> ทิฏฐิว่าเที่ยงอาศัยเหตุเหตุ 4 ประการ

เป็นต้น

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แก้ไขล่าสุดโดย เช่นนั้น เมื่อ 18 ต.ค. 2009, 01:40, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ต.ค. 2009, 01:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.ย. 2007, 23:29
โพสต์: 1065


 ข้อมูลส่วนตัว


What's about "Ultimate truth" ? :b6: :b10:

:b43: :b43: :b43:

:b8: "Those who say don't know.
Those who know don't say!!!"
:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ต.ค. 2009, 01:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มัทนา ณ หิมะวัน เขียน:
What's about "Ultimate truth" ? :b6: :b10:

:b43: :b43: :b43:

:b8: "Those who say don't know.
Those who know don't say!!!"
:b8:



"WORDS WITHOUT TRUTH MEAN NOTHING"

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ต.ค. 2009, 01:45 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


มัทนา ณ หิมะวัน เขียน:
What's about "Ultimate truth" ? :b6: :b10:

:b43: :b43: :b43:

:b8: "Those who say don't know.
Those who know don't say!!!"
:b8:


I don't know. :b12: :b12: :b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ต.ค. 2009, 02:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.ย. 2007, 23:29
โพสต์: 1065


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
มัทนา ณ หิมะวัน เขียน:
What's about "Ultimate truth" ?

"Those who say don't know.
Those who know don't say!!!"


:b43: :b43: :b43:

เช่นนั้น เขียน:
"WORDS WITHOUT TRUTH MEAN NOTHING"


ABSOLUTELY RIGHT!!!.
So pls. note that....

"The subjective dimension of truth....
can't be distorted or eliminated without making the 'Truth'."
smiley


แก้ไขล่าสุดโดย มัทนา ณ หิมะวัน เมื่อ 18 ต.ค. 2009, 02:41, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ต.ค. 2009, 04:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 ส.ค. 2009, 02:28
โพสต์: 30

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




2577.jpg
2577.jpg [ 49.17 KiB | เปิดดู 4416 ครั้ง ]
Ich verstehe nicht,dass ihr thailändisch seid.
Warum muss englisch sprechen??? Onion_L
Und jetzt ich spreche deutsch. Habt ihr das verstehen oder???
Mein God das ist so unsinn Onion_L

smiley ถ้าคนรู้ไม่พูด คนพูดไม่รู้
แล้วพระสมณโคดมท่านทรงตรัสสั่งสอนพระอริยะสาวกเล่าจะกล่าวว่าท่านไม่รู้ด้วยไหม???
การตอบแบบกำปั้นทุบดิน ไร้ซึ่งประโยชน์ต่อการสนทนาธรรมไม่ได้เพิ่มองค์ความรู้แก่ใครเลย :b31:
บุญกริยาวัตถุ 10 ย่อมมีหัวข้อสำคัญต่อการฟังธรรมและแสดงธรรมร่วมกัน
เพื่อประโยชน์ต่อตนเองและส่วนรวม :b8: :b8:
ขออนุโมทนาธรรมแด่ผู้ที่มอบธรรมทานแด่พุทธบริษัท สาธุในกุศลจิตทุกๆท่าน:b8: :b8:


แก้ไขล่าสุดโดย chefin เมื่อ 18 ต.ค. 2009, 04:34, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ต.ค. 2009, 05:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




f54802676.gif
f54802676.gif [ 16.55 KiB | เปิดดู 4407 ครั้ง ]
หึๆๆไปไกล

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ต.ค. 2009, 08:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3832

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


หนีห่าวๆ
หว่ออ้ายนี้ เด้อๆนางเด้อ
:b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ต.ค. 2009, 08:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
พระพุทธศาสนาไม่ได้เรียกสิ่งต่าง ๆ ว่าปรมัตถ์ครับ แต่เรียกว่า สภาวะธรรมครับ
การที่คุณอโศกะเรียกสิ่งต่าง ๆ ว่าปรมัตถ์อยู่ในพระไตรปิฎกเล่มไหนครับยกมาอ้างอิงให้อ่านหน่อยครับคุณอโศ



สภาวธรรมก็ดี สภาวะก็ดี ปรมัตถ์ก็ด ปรมัตถธรรมก็ดี เหมือนกันโดยอรรถ ต่างกันโดยพยัญชนะ

เมื่อนักศึกษา เข้าใจศัพท์ทั้งหมดนั้นว่า มีสาระเดียวกัน ก็ไม่มีปัญหาอะไรเลย

ทีนี้ใครจะพูดคำไหนศัพท์ใด ก็รู้เข้าใจได้หมด

ที่มีปัญหาเนี่ย เพราะนักศึกษาเข้าใจด้านเดียวมุมเดียวของศัพท์นั้นๆ ของตำรานั้น จึงเถียงกันไม่รู้จบ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 18 ต.ค. 2009, 09:51, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ต.ค. 2009, 12:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
สภาวธรรมก็ดี สภาวะก็ดี ปรมัตถ์ก็ด ปรมัตถธรรมก็ดี เหมือนกันโดยอรรถ ต่างกันโดยพยัญชนะ
เมื่อนักศึกษา เข้าใจศัพท์ทั้งหมดนั้นว่า มีสาระเดียวกัน ก็ไม่มีปัญหาอะไรเลย


กรัชกายซัง กล่าวถูกแล้ว ถ้าเข้าใจศัพท์ทั้งหมด ว่ามีสาระเดียวกัน ตรงตามพระพุทธพจน์ ก็จะไม่่่มีปัญหา
จริงๆ

เว้นแต่ไปเข้าใจ ตามคำสอน ที่ทำให้รุ้ต่างไปจากพุทธพจน์ ก็จะทำให้รู้คนละอย่าง

เช่น เขียนว่า "โคลงเรือ"

จะเข้าใจอย่างไร โค-ลง-เรือ หรือ โคลง-เรือ
ดังนั้น สาระในพระธรรมวินัย ต้องอาศัยสาระจากพุทธพจน์ เป็นหลักในการพิจารณา
ไม่ถือเอามติอาจารย์รุ่นหลัง เป็นหลักทับพุทธพจน์

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ต.ค. 2009, 18:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๑ ขุททกนิกาย มหานิทเทส

สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า บุคคลผู้ข้ามพ้นแล้วถึงฝั่งแล้ว ดำรงอยู่บนบกชื่อว่า เป็นพราหมณ์.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย คำว่า พราหมณ์ เป็นชื่อพระอรหันต์
พระอรหันต์นั้นถึงฝั่งด้วยการรู้ยิ่ง
ถึงฝั่งด้วยการกำหนดรู้
ถึงฝั่งด้วยการละ
ถึงฝั่งด้วยการเจริญ
ถึงฝั่งด้วยการทำให้แจ้ง
ถึงฝั่งด้วยการบรรลุ
ถึงฝั่งแห่งธรรมทั้งปวง ด้วยการรู้ยิ่ง
ถึงฝั่งแห่งทุกข์ทั้งปวงด้วยการกำหนดรู้
ถึงฝั่งแห่งกิเลสทั้งปวง ด้วยการละ
ถึงฝั่งแห่งอริยมรรค ๔ ด้วยการเจริญ
ถึงฝั่งแห่งนิโรธ ด้วยการทำให้แจ้ง
ถึงฝั่งแห่งสมาบัติทั้งปวง ด้วยการบรรลุ
พระอรหันต์นั้นถึงความชำนาญ ถึงความสำเร็จในอริยศีล
ถึงความชำนาญ ถึงความสำเร็จในอริยสมาธิ
ถึงความชำนาญ ถึงความสำเร็จในอริยปัญญา
ถึงความชำนาญ ถึงความสำเร็จในอริยวิมุติ
พระอรหันต์นั้น ไปสู่ฝั่งแล้ว ถึงฝั่งแล้ว
ไปสู่ส่วนสุดแล้ว ถึงส่วนสุดแล้ว
ไปสู่ที่สุดแล้ว ถึงที่สุดแล้ว
ไปสู่ที่สุดรอบแล้ว ถึงที่สุดรอบแล้ว
ไปสู่ความสำเร็จแล้ว ถึงความสำเร็จแล้ว
ไปสู่ที่ป้องกันแล้ว ถึงที่ป้องกันแล้ว
ไปสู่ที่ลับแล้ว ถึงที่ลับแล้ว
ไปสู่ที่พึ่งแล้ว ถึงที่พึ่งแล้ว
ไปสู่ที่ไม่มีภัยแล้ว ถึงที่ไม่มีภัยแล้ว
ไปสู่ที่ไม่จุติแล้ว ถึงที่ไม่จุติแล้ว
ไปสู่ที่ไม่ตายแล้ว ถึงที่ไม่ตายแล้ว
ไปสู่นิพพานแล้ว ถึงนิพพานแล้ว
พระอรหันต์นั้น อยู่จบแล้ว
ประพฤติจรณะแล้ว มีทางไกลอันถึงแล้ว
มีทิศอันถึงแล้ว มีที่สุดอันถึงแล้ว
มีพรหมจรรย์อันรักษาแล้ว
ถึงทิฏฐิอันอุดมแล้ว มีมรรคอันเจริญแล้ว
มีกิเลสอันละเสียแล้ว มีการแทงตลอดมิได้กำเริบ
มีนิโรธอันทำให้แจ้งแล้ว
มีทุกข์อันกำหนดรู้แล้ว
มีสมุทัยอันละแล้ว
มีนิโรธอันทำให้แจ้งแล้ว
มีมรรคอันเจริญแล้ว
มีธรรมที่ควรรู้ยิ่งอันได้รู้ยิ่งแล้ว
มีธรรมที่ควรกำหนดรู้ กำหนดรู้แล้ว
มีธรรมที่ควรละ อันละแล้ว
มีธรรมที่ควรเจริญ อันเจริญแล้ว
มีธรรมที่ควรทำให้แจ้ง อันทำให้แจ้งแล้ว
พระอรหันต์นั้น มีอวิชชาเป็นลิ่มสลักอันถอนเสียแล้ว
มีกรรมเป็นคูอันกำจัดเสียแล้ว
มีตัณหาเป็นเสาระเนียดอันถอนเสียแล้ว
ไม่มีสัญโญชน์เป็นบานประตู
เป็นผู้ไกลจากกิเลสอันเป็นข้าศึก
มีมานะเป็นธงอันให้ตกไปแล้ว
มีภาระอันปลงเสียแล้ว
มีโยคกิเลสมิได้เกี่ยวข้อง มีองค์ห้าอันละเสียแล้ว
ประกอบด้วยองค์หก มีสติเป็นธรรมเอกเป็นเครื่องรักษา
มีธรรมเป็นเครื่องอาศัยสี่ มีทิฏฐิสัจจะเฉพาะอย่างอันบรรเทาเสียแล้ว
มีการแสวงหาอันชอบ ไม่หย่อน ประเสริฐ มีความดำริมิได้ขุ่นมัว
มีกายสังขารอันระงับแล้ว มีจิตพ้นดีแล้ว
มีปัญญาพ้นดีแล้ว เป็นผู้มีความบริบูรณ์
มีพรหมจรรย์อยู่จบแล้ว
เป็นอุดมบุรุษ เป็นบรมบุรุษ


ถึงความบรรลุปรมัตถะ

พระอรหันต์นั้น มิได้ก่อ มิได้กำจัด กำจัดตั้งอยู่แล้ว
มิได้ละ มิได้ถือมั่น ละแล้วจึงตั้งอยู่
มิได้เย็บ มิได้ยก เย็บแล้วจึงตั้งอยู่
มิได้ดับ มิได้ให้ลุก ดับแล้วจึงตั้งอยู่
ดำรงอยู่ เพราะเป็นผู้ประกอบด้วยศีลขันธ์
สมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์ วิมุตติขันธ์ วิมุตติญาณทัสสนขันธ์ ซึ่งเป็นอเสขะ
แทงตลอดอริยสัจจะแล้ว จึงตั้งอยู่
ก้าวล่วงตัณหาอย่างนี้แล้ว จึงตั้งอยู่
ดับไฟกิเลสแล้วจึงตั้งอยู่
ตั้งอยู่เพราะเป็นผู้ไม่ต้องไปรอบ
ยึดถือเอายอดแล้ว ตั้งอยู่
ตั้งอยู่เพราะเป็นผู้ซ่องเสพวิมุติ
ดำรงอยู่ด้วยเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขาอันบริสุทธิ์
ดำรงอยู่ด้วยความบริสุทธิ์โดยส่วนเดียว
ดำรงอยู่ในความเป็นผู้ไม่แข็งกระด้างด้วยตัณหาทิฏฐิ มานะ
อันบริสุทธิ์ ตั้งอยู่เพราะเป็นผู้หลุดพ้น
ตั้งอยู่เพราะเป็นผู้สันโดษ
ตั้งอยู่ในส่วนสุดรอบแห่งขันธ์
ธาตุ อายตนะ คติ อุปบัติ ปฏิสนธิ ภพ สงสาร วัฏฏะ ตั้งอยู่ในภพอันมีในที่สุด
ตั้งอยู่ในสรีระที่สุด ทรงไว้ซึ่งร่างกายที่สุด.

สมจริงดังประพันธ์คาถาว่า:-

พระขีณาสพนั้น มีภพนี้เป็นที่สุด มีสรีระนี้เป็นทีหลัง มิได้
มีชาติ มรณะ สงสาร และภพใหม่.
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เหมือนบุคคลวิดน้ำในเรือแล้วไปถึงฝั่ง ฉะนั้น.

เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า

เพราะเหตุนั้น สัตว์ผู้เกิดมา พึงเป็นผู้มีสติทุกเมื่อ พึงเว้นขาดกาม
ทั้งหลาย ครั้นเว้นขาดกามเหล่านั้น พึงข้ามโอฆะได้ เหมือนบุคคล
วิดน้ำในเรือแล้วไปถึงฝั่ง ฉะนั้น ดังนี้.
จบ กามสุตตนิทเทส ที่ ๑



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ต.ค. 2009, 02:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


ถึงความบรรลุปรมัตถะ = understand all about nature's truth, smallest unit of nature elements, ultimate truth, fact.

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ต.ค. 2009, 03:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 พ.ค. 2009, 20:54
โพสต์: 282


 ข้อมูลส่วนตัว




100_5788_resize.JPG
100_5788_resize.JPG [ 128.61 KiB | เปิดดู 4273 ครั้ง ]
tongue สวัสดีครับคุณมหาราชันย์
:b12:
ธรรมใดที่กล่าวไว้ดีแล้วนั้น จักเป็นศาสดาแทนเรา
:b1:
ธรรมที่ว่านี้ ที่มีอยู่ในพระไตรปิฎก ก็ใช่
:b27:
แต่ที่ใช่จริงๆและมีประโยชน์ยิ่งนั้น อยู่ในกายและจิตของทุกๆคน
:b8:
คุณมหาราชันย์ จะเอาธรรมในคัมภีร์ เป็นศาสดา กราบไว้ ก็เรียนเชิญตามอัธยาศัยนะครับ ส่วนผมนั้นไม่เก่งคัมภีร์ ค้นหามาตอบคุณมหาราชันย์ไม่ได้ต้องขออภัย
:b20:
ผมกำลังศึกษาเข้าไปในกายและจิต ตามคำชี้แนะในตำรา ในคัมภีร์ ใช้เป็นคู่มือค้นคว้าอยู่แค่ 2 สูตร คือ
ธรรมจักรกัปปวัตนสูตร กับ อนัตตลักขณะสูตร และจากสวดมนต์แปลบางบทเท่านั้นเองครับ เป็นนักปฏิบัติธรรมบ้านนอก ถูกถามเรื่องในตำราจริงๆก็ตอบไม่ได้ ยอมแพ้คุณมหาราชันย์นะครับ
:b16:
ผมเคยได้ยินจากครูบาอาาจารย์เล่าว่า พระพุทธเจ้าทรงตรัสบอกสาวกไว้ว่า
:b8:
"เราตถาคตเป็นเพียงผู้ชี้ทาง บอกทาง" "อย่าพึ่งเชื่อเราตถาคต เธอจงพิสูจน์ให้รู้แน่ชัดด้วยตนเองเสียก่อนแล้วจึงค่อยเชื่อ"
:b8:
คุณมหาราชันย์ มีเวลาได้พิสูจน์ธรรมที่กรอกใส่สัญญามาไว้มากมายเหล่านั้นหรือยังครับ พระพุทธเจ้าไม่ทรงตรัสให้เชื่อตามธรรมในคัมภีร์ทั้งหมดนั้น พระองค์แนะนำให้พิสูจน์ก่อน พิสูจน์ได้ดีพอสมควรแล้ว บัญญัติอันฟุ้งเฟ้อทั้งหลายในสัญญา จะได้ควบรวม กระชับ ง่าย ลัดสั้นลงมากว่าที่เคยเห็นคุณมหาราชันย์ยกมา อีกเยอะเลยที่เดียว
:b1:
บัณฑิตผู้รู้จริงนั้น ท่านจะทำของยาก ให้เป็นของง่าย มาก ให้เป็นน้อย ยุ่งยากซับซ้อนให้เป็น เรียบง่าย สบายๆ นะครับ
:b34:
ส่วนพาลชนคนรู้ไม่จริงมักจะทำให้ของง่ายกลายเป็นของยาก น้อยให้เป็นมาก ไม่ยุ่งยาก กลับทำให้ซับซ้อน
แค่อ่านให้จบก็หูตาลายแล้ว

:b33:
ฝากโฉลกธรรมมาให้อ่านเพื่อให้เบา สบาย คลายความยึดนะครับ สาธุ
:b10: :b14:
:b8: โฉลกธรรม
เพราะไม่รู้ จึงอยู่เช่น วัวควาย
กิน ขี้ สี่ นอน ไป เท่านี้
โกรธ โลภ หลง เต็มกาย ทั่วถ้วน
วนว่ายวัฏฏ์สุดลี้ ตราบชั่ว กัปกัลป์
จนกุศลส่งได้ส่งได้ เป็นคน
พบพุทธธรรมช่วยดล จิตให้
พลิกรู้สัจจ์ในตน จบแจ้ง
จึ่งจักอาจพ้นได้ ข่ายทุกข์ สงสาร
:b8:
จงดูอริยสัจจ ๔ พิจรณ์ให้ดีอย่าข้าม เพียรสอบถามผู้รู้ ทางออกสู่เสรี มีอยู่แล้วในตน อย่าวกวนบัญญัติ อย่าผูกมัดสิ่งใด จงเป็นไทยทุกเมื่อ เชื่อคำพระชินวร คำสอนท่านสุดง่าย เฝ้ารู้กายและจิต อย่างพินิจ พิจารณา ณ เพลาปัจจุ จักรู้ลุทั่วตัว ความเมามัวจักหาย หลักใหญ่คืออัตตา อย่าให้มาเข้าร่วม ทิ้งความเห็นเป็นตน กมลมั่นกับธรรม ที่เกิดตามยถา ซึ่งบัญชาไม่ได้ ไร้ศัพท์ใดบัญญัติ จึ่งจักอาจเห็นจริง ตัดทิ้งซึ่งตัวข้า โคนเหง้าแห่งอวิชชา ขาดสิ้น สู่มรรค ผล นิพพาน
Onion_L
อโศกะ ๒๕๔๓
smiley

.....................................................
เมตตาธรรม ค้ำจุนโลก
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ต.ค. 2009, 08:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
อ้างคำพูด:
สภาวธรรมก็ดี สภาวะก็ดี ปรมัตถ์ก็ด ปรมัตถธรรมก็ดี เหมือนกันโดยอรรถ ต่างกันโดยพยัญชนะ
เมื่อนักศึกษา เข้าใจศัพท์ทั้งหมดนั้นว่า มีสาระเดียวกัน ก็ไม่มีปัญหาอะไรเลย


กรัชกายซัง กล่าวถูกแล้ว ถ้าเข้าใจศัพท์ทั้งหมด ว่ามีสาระเดียวกัน ตรงตามพระพุทธพจน์ ก็จะไม่่่มีปัญหา
จริงๆ

เว้นแต่ไปเข้าใจ ตามคำสอน ที่ทำให้รุ้ต่างไปจากพุทธพจน์ ก็จะทำให้รู้คนละอย่าง

เช่น เขียนว่า "โคลงเรือ"

จะเข้าใจอย่างไร โค-ลง-เรือ หรือ โคลง-เรือ
ดังนั้น สาระในพระธรรมวินัย ต้องอาศัยสาระจากพุทธพจน์ เป็นหลักในการพิจารณา
ไม่ถือเอามติอาจารย์รุ่นหลัง เป็นหลักทับพุทธพจน์



เมื่อเป้นดังนั้นคุณเช่นนั้นอะโป๊ะ พึงเรียนรู้ภาษาบาลีเสียด้วย จะได้วิเคราะห์วิจารณ์ศัพท์แสงบาลีซึ่งอาจารย์รุ่นต่อๆมาที่แก้มาตามลำดับ คือ บาลี อรรถกถา ฎีกา อนุฎีกา เมื่อเราเข้าเข้าใจอย่างแล้วจะไม่คร่ำครึ จนถึงกับมีปัญหาว่าไปไหนมา ? สามวาสองศอก

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 20 ต.ค. 2009, 08:31, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ต.ค. 2009, 08:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ที่ยกๆนำๆกันมาทั้งโคลงทั้งดุ้นนั่นน่ะ เข้าใจศัพท์สาระหรืออรรถะของศัพท์นั้นๆเท่าใด

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 42 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร