วันเวลาปัจจุบัน 05 พ.ค. 2025, 22:51  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 7 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ต.ค. 2009, 19:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




208712.jpg
208712.jpg [ 38.34 KiB | เปิดดู 3351 ครั้ง ]
มรรคในฐานะอุปกรณ์สำหรับใช้ ไม่ใช่สำหรับยึดถือหรือแบกโก้ไว้



คำเตือน

สมาชิกใหม่หรือผู้ใหม่ทางธรรมไม่ควรอ่านพุทธพจน์ต่อไปนี้ เพราะอาจทำให้รู้สึกเคว้งคว้างไร้ที่พึ่ง

ส่วนผู้คงแก่เรียนหรือผู้กล้าในทางธรรมอ่านได้ครับ :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 15 ต.ค. 2009, 16:28, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ต.ค. 2009, 19:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


"ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษผู้เดินทางไกล พบห้วงน้ำใหญ่

ฝั่งข้างนี้ น่าหวาดระแวง น่ากลัวภัย

แต่ฝั่งข้างโน้น ปลอดโปร่ง ไม่มีภัย

ก็แล เรือหรือสะพานสำหรับข้ามไปฝั่งโน้นก็ไม่มี

บุรุษนั้น จึงดำริว่า ห้วงน้ำนี้ใหญ่ ฝั่งข้างนี้น่าหวาดระแวง...

ถ้ากระไร เราพึงเก็บรวมเอาหญ้า ท่อนไม้ กิ่งไม้และใบไม้ มาผูกเป็นแพแล้วอาศัยแพนั้น

พยายามเอาด้วยมือและเท้า พึงข้ามถึงฝั่งโน้นได้โดยสวัสดี”

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ต.ค. 2009, 19:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


"คราวนั้น เขาจึง...ผูกแพ ...ข้ามถึงฝั่งโน้นโดยสวัสดี

ครั้นเขาได้ข้ามไปขึ้นฝั่งข้างโน้นแล้ว ก็มีความดำริว่า แพนี้มีอุปการแก่เรามากแท้

เราอาศัยแพนี้...จึงข้ามมาถึงฝั่งนี้โดยสวัสดี

ถ้ากระไร เราควรยกแพนี้ขึ้นเทินบนศีรษะ หรือ แบกขึ้นบ่าไว้ ไปตามความปรารถนา

ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเห็นเป็นอย่างไร ?

บุรุษนั้น ผู้กระทำอย่างนี้ จะชื่อว่าเป็นผู้กระทำถูกหน้าที่ต่อแพนั้นหรือไม่ ”



(ภิกษุทั้งหลายตอบว่า ไม่ถูก.... จึงตรัสต่อไป ว่า)


“บุรุษนั้น ทำอย่างไร จึงจะชื่อว่าทำถูกหน้าที่ต่อแพนั้น

ในเรื่องนี้ บุรุษนั้น เมื่อได้ข้ามไปถึงฝั่งโน้นแล้ว มีความดำริว่า

แพนี้ มีอุปการะแก่เรามากแท้...ถ้ากระไร เราพึงยกแพนี้ขึ้นไว้บนบก


หรือผูกให้ลอยอยู่ในน้ำ แล้วจึงไปตามปรารถนา

บุรุษผู้นั้นกระทำอย่างนี้ จึงจะชื่อว่า เป็นผู้กระทำถูกหน้าที่ต่อแพนั้น นี้ฉันใด”


:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 13 ต.ค. 2009, 19:44, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ต.ค. 2009, 19:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


"ธรรม ก็อุปมาเหมือนแพ เราแสดงไว้เพื่อมุ่งหมายให้ใช้ข้ามไป มิใช่เพื่อให้ยึดถือไว้ ฉันนั้น

เมื่อเธอ ทั้งหลาย รู้ทั่วถึงธรรม อันมีอุปมาเหมือนแพ ที่เราแสดงแล้ว พึงละเสียแม้ซึ่งธรรมทั้งหลาย

จะป่วยกล่าวไปใยถึงอธรรมเล่า”


(ม.มู. 12/280/270)



“ภิกษุทั้งหลาย ทิฐิที่บริสุทธิ์ถึงอย่างนี้ ผุดผ่องถึงอย่างนี้

ถ้าเธอทั้งหลาย ยังยึดติดอยู่ เริงใจกระหยิ่มอยู่ เฝ้าถนอมอยู่ ยึดถือว่าเป็นของเราอยู่

เธอทั้งหลาย จะพึงรู้ทั่วถึงธรรมอันมีอุปมาเหมือนแพ ที่เราแสดงแล้ว เพื่อมุ่งหมายให้ใช้ข้ามไป

มิใช่เพื่อให้ยึดถือไว้ ได้ละหรือ”



(ม.มู. 12/445/479)


:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ต.ค. 2009, 19:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พุทธพจน์ทั้งสองแห่งนั้น นอกจากเป็นเครื่องเตือนไม่ให้ยึดมันถือมั่นในธรรมทั้งหลาย

(แม้ที่เป็นความจริง ความถูกต้อง) โดยมิได้ถือเอาประโยชน์จากธรรมเหล่านั้น

ตามความหมาย คุณค่า และประโยชน์ตามความเป็นจริงของมันแล้ว

ข้อที่สำคัญยิ่ง ก็คือเป็นการย้ำให้มองเห็นธรรมทั้งหลายในฐานะเป็นอุปกรณ์ หรือ วิธีการที่จะนำไป

สู่จุดหมาย

มิใช่สิ่งลอยๆ หรือจบในตัว

ด้วยเหตุนี้ เมื่อปฏิบัติธรรมข้อใดข้อหนึ่ง

จะต้องรู้ตระหนักชัดเจนถึงวัตถุประสงค์ของธรรมนั้น

พร้อมทั้งความสัมพันธ์ของมัน กับธรรมอย่างอื่นๆ ในการดำเนินไปสู่วัตถุประสงค์นั้น

วัตถุประสงค์ ในที่นี้ มิได้หมายเพียงวัตถุประสงค์ทั่วไปในขั้นสุดท้ายเท่านั้น

แต่หมายถึงวัตถุประสงค์เฉพาะตัวของธรรมข้อนั้นๆ เป็นสำคัญ

ว่าธรรมข้อนั้นปฏิบัติเพื่อช่วยสนับสนุนหรือให้เกิดธรรมข้อใด

จะไปสิ้นสุดลงที่ใด มีธรรมใดรับช่วงต่อไป ดังนี้เป็นต้น

เหมือนการเดินทางไกล ที่ต่อยานพาหนะหลายทอด และอาจใช้ยานพาหนะต่างกันทางบก

ทางน้ำ ทางอากาศ

จะรู้คลุมๆ เพียงว่าไปสู่จุดหมายปลายทางที่นั่นๆ เท่านั้นไม่ได้

จะต้องรู้ด้วยว่า ยานแต่ละทอดแต่ละอย่างนั้น

ตนกำลังอาศัยเพื่อไปถึงที่ใด

ถึงที่นั้นแล้วจะอาศัยยานใดต่อไปดังนี้เป็นต้น *

การปฏิบัติธรรม ที่ขาดความตระหนักในวัตถุประสงค์ ความเป็นอุปกรณ์ และความสัมพันธ์

กับธรรมอื่นๆ

ย่อมกลายเป็นการปฏิบัติที่เลื่อนลอย คับแคบ ตัน และที่ร้ายยิ่งคือ ทำให้เขวออกนอกทาง

ไม่ตรงจุดหมาย และกลายเป็นธรรมที่เฉื่อยชา เป็นหมัน ไม่แล่นทำการ ไม่ออกผลที่หมาย

เพราะการปฏิบัติธรรมอย่างไร้จุดหมายเช่นนี้

ความไขว้เขว และผลเสียหายต่างๆ จึงเกิดขึ้นแก่หลักธรรมสำคัญๆ เช่น สันโดษ อุเบกขา

เป็นต้น


:b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ต.ค. 2009, 19:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




207714.jpg
207714.jpg [ 70.81 KiB | เปิดดู 3335 ครั้ง ]
ขยายความข้อความข้างบนที่มีเครื่องหมาย *


* พระสูตรที่ช่วยเน้นข้อความที่กล่าวมานั้น ได้แก่-

รถวินีตสูตร ม.มู. 12/292-300/287-297

ซึ่งแสดงให้เห็นวัตถุประสงค์ทั่วไป และวัตถุประสงค์เฉพาะของธรรมแต่ละอย่าง ตามลำดับวิสุทธิ ๗

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ต.ค. 2009, 15:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




thai-gift019.gif
thai-gift019.gif [ 19.65 KiB | เปิดดู 3298 ครั้ง ]
มีพุทธพจน์แห่งหนึ่งสรุปธรรมทั้งหมดไว้ดังนี้

“ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงตอบชี้แจงแก่เหล่าอัญเดียรถีย์

ปริพาชกเหล่านั้น อย่างนี้ว่า แน่ะ ท่านผู้มีอายุ

๑. ธรรมทั้งปวง มีฉันทะเป็นมูล (ฉนฺทมูลกา)

๒. ธรรมทั้งปวง มีมนสิการเป็นต้นกำเนิด (มนสิการสมฺภวา)

๓. ธรรมทั้งปวง มีผัสสะเป็นที่ก่อตัวขึ้น (ผสฺสสมุทยา)

๔. ธรรมทั้งปวง มีเวทนาเป็นที่ชุมนุม (เวทนาสโมสรณา)

๕. ธรรมทั้งปวง มีสมาธิเป็นประมุข (สมาธิปมุขา)

๖. ธรรมทั้งปวง มีสติเป็นเจ้าใหญ่ (สตาธิปเตยฺยา)

๗.ธรรมทั้งปวง มีปัญญาเป็นยิ่งยอด (ปญฺญุตฺตรา)

๘.ธรรมทั้งปวง มีวิมุตติเป็นแก่น (วิมุตฺติสารา)

๙.ธรรมทั้งปวง มีอมตะเป็นที่หยั่งลง (อมโตคธา)

๑๐. ธรรมทั้งปวง มีนิพพานเป็นสุดท้าย (นิพฺพานปริโยสานา)

(องฺ.ทสก.24/58/113: ฯลฯ)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 7 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร