วันเวลาปัจจุบัน 20 ก.ค. 2025, 16:18  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 118 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ย. 2009, 01:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


ปัญญา ศีล สมาธิ
viewtopic.php?f=7&t=25818

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ย. 2009, 04:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 ส.ค. 2009, 02:28
โพสต์: 30

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




1531979022.jpg
1531979022.jpg [ 65.82 KiB | เปิดดู 3950 ครั้ง ]
Quote Tipitaka:
เพียงแค่ปัญญาที่นำมาดับทุกข์ได้ ก็มีค่ามากเกินสมบัติใดๆ ที่จะหาในโลกและจักรวาลได้แล้ว ทรัพย์แบบนี้เรียกอริยทรัพย์ คือ อริยศีล อริยสมาธิ อริยปัญญา หากบรรลุถึงอรหันต์ได้ จึงจะได้ อริยวิมุตติ

อนุโมทนากับธรรมทานประโยคนี้เจ้าค่ะ :b8: :b8: :b8:
เพราะเป็นจุดประสงค์ที่พระพุทธองค์
ทรงถ่ายทอดธรรมทานก็เพื่อหนทางดับทุกข์ คือ การเกิด แก่ เจ็บ ตาย ในวัฏฏะนั่นเอง :b3:
ซึ่งดับได้ด้วยอริยปัญญา ซึ่งมี อรหัตมรรคเป็นเหตุปัจจัย
สามารถประหารกิเลสได้ด้วยความเพียร :b17: ด้วยจิตที่ตั้งมั่นอยู่ในวิหารธรรม
ส่วนการแจกแจงแสดงธรรมนั้นควรยึดเอาพระธรรม
ในพระไตรปิฎกโดยตรงมาแจกแจงแสดงธรรมจะสมควรกว่าหรือไม่เจ้าคะ? :b13:
จะได้ไม่เป็นการบิดเบือนหรือตู่พระพุทธพจน์ให้เป็นโทษแก่ตนเองและผู้อื่นน่ะเจ้าค่ะ
โดยเฉพาะดิฉันเองมีพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ที่เป็นพระสุปฏิปัณโณ เป็นสรณะเจ้าค่ะ
อย่างไรก็ดีดิฉันขอขอบพระคุณเจ้าค่ะที่ท่านศุภฤกษ์
สละเวลาเข้ามาอธิบายแจกแจงธรรมด้วยเมตตาจิตเจ้าค่ะ :b8: :b27:

เจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นเจ้าค่ะ :b4:
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ย. 2009, 11:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมจักษุ (โสดาปัตติมรรค)
viewtopic.php?f=7&t=25849

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ย. 2009, 21:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


chefin เขียน:
โดยเฉพาะดิฉันเองมีพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ที่เป็นพระสุปฏิปัณโณ เป็นสรณะเจ้าค่ะ



สาธุครับ chefin

เจริญในธรรมครับ



จิตที่ตั้งมั่นไม่หวั่นไหวดั่งภูเขาศิลา
ไม่กำหนัดในอารมณ์
อันเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด
ไม่โกรธในอารมณ์
อันเป็นที่ตั้งแห่งความโกรธ
จิตของบุคคลใด อบรมได้ดั่งนี้
ความทุกข์จะมีมาแต่ที่ใดเล่า ?


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ย. 2009, 11:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
จิตที่ตั้งมั่นไม่หวั่นไหวดั่งภูเขาศิลา ...


พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๒๑ ขุททกนิกาย มหานิทเทส

ภิกษุเป็นผู้มีสติ มีจิตพ้นวิเศษดีแล้ว พึงกำจัดฉันทะในธรรมเหล่านั้น
ภิกษุนั้น เมื่อกำหนดพิจารณาธรรมโดยชอบตามกาล เป็นผู้มีจิตเป็น
ธรรมเอกผุดขึ้น พึงกำจัดความมืดเสีย
พระผู้มีพระภาคตรัสว่าดังนี้


ว่าด้วยจิตที่เป็นกาลของสมถะและวิปัสสนา ภิกษุนั้น เมื่อกำหนดพิจารณาธรรมโดยชอบตามกาล ความว่า เมื่อจิตไม่ฟุ้งซ่านเป็นกาลของสมถะ เมื่อจิตตั้งมั่นเป็นกาลของวิปัสสนา.

โยคีผู้ใด ย่อมประคองจิตในกาล ย่อมข่มจิตในกาลอื่น ย่อมให้จิต
รื่นเริงโดยกาล ย่อมตั้งจิตไว้ในกาล ย่อมวางเฉยในกาล โยคีผู้นั้น
ชื่อว่าเป็นผู้ฉลาดในกาล ความประคองจิตควรมีในกาลไหน? ความข่ม
จิตควรมีในกาลไหน? กาลเป็นที่ให้จิตรื่นเริงควรมีในกาลไหน? และ
กาลของสมถะเป็นกาลเช่นไร? บัณฑิตย่อมแสดงกาลเป็นที่วางเฉย
แห่งจิตของโยคีบุคคลอย่างไร? เมื่อจิตของโยคีบุคคลย่อหย่อน เป็นกาล
ที่ควรประคองไว้ เมื่อจิตของโยคีบุคคลฟุ้งซ่านเป็นกาลที่ควรข่มไว้ โยคี
บุคคลพึงยังจิตที่ถึงความไม่แช่มชื่นให้รื่นเริงในกาลนั้น จิตเป็น
ธรรมชาติรื่นเริงไม่ย่อหย่อน ไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมมีในกาลใด กาลนั้นเป็น
กาลของสมถะ ใจพึงยินดีในภายใน โดยอุบายนั้นนั่นแหละ จิตเป็น
ธรรมชาติตั้งมั่น ย่อมมีในกาลใด ในกาลนั้น โยคีบุคคลพึงวางเฉย
ไว้ซึ่งจิตที่ตั้งมั่นแล้วด้วยปัญญา ธีรชนผู้รู้แจ้งกาล ทราบกาล ฉลาด
ในกาลพึงกำหนดอารมณ์อันเป็นนิมิตของจิต ตลอดกาล ตามกาล อย่างนี้.

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ต.ค. 2009, 08:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 พ.ค. 2009, 20:54
โพสต์: 282


 ข้อมูลส่วนตัว




Image-02.JPG
Image-02.JPG [ 17.46 KiB | เปิดดู 3795 ครั้ง ]
ee378.jpg
ee378.jpg [ 81.46 KiB | เปิดดู 3796 ครั้ง ]
cool อ้างอิงคุณมหาราชันย์
ความรู้ในไตรลักษณ์ไม่ใช่ความรู้ที่เป็นสัมมาทิฏฐิครับ เพราะความรู้นี้ใคร ๆ ก็สามารถรู้ได้เห็นได้ครับ

สัมมาทิฏฐิคือ ความรู้ในอริยะสัจ 4 เท่านั้นครับ

Onion_L คุณมหาราชันย์ครับ คุณใช้คำพูดที่อ้างอิงนี้ในหลายกระทู้ คุณทราบไหมว่าคุณกำลังมีมิจฉาทิฐิครอบจิต เพราะอำนาจที่ศึกษาแต่บัญญัติมาก โดยปรมัตถ์สภาวะไม่ค่อยได้สัมผัส เพราะหลงผิดว่าปรมัตถ์ธรรมเป็นของสูง ของพระอริยะบุคคลเท่านั้น คุณจักพลาดโอกาสอันสำคัญของการได้มาเกิดเป็นคนในชาตินี้ถ้ายังไม่เปลี่ยนความเห็นนะครับ โปรดไปศึกษามาใหม่และไต่ตรองมาให้ดี ก่อนที่จะเผยแพร่คำกล่าวอย่างนี้ต่อไปอีกนะครับ

สัมมาทิฐิ แปลเป็นภาษาชาวบ้านง่ายๆ ว่าเห็นธรรมตามความเป็นจริง
สัมมาทิฐิจะสูงสุดเต็มร้อยเมื่อเห็นว่า ทุกสิ่งทุกอย่างเป็น อนัตตา ดังพระวาจาที่พระพุทธองค์ทรงสรุปไว้ว่า
"สัพเพธัมมา อนัตตา"
เมื่อสามารถชำระความเห็นผิดว่าเป็น อัตตา ตัวกู ของกู ได้เกือบจะเด็ดขาด หรือเด็ดขาดแล้ว สภาวะอนัตตา จะปรากฏเกิดขึ้นมาให้รู้ที่ใจโดยตรง
อนัตตา เป็นสัจจธรรม เป็นปรมัตถธรรม รู้ได้ที่จิตใจเท่านั้น ไม่สามารถจะบอก อธิบายได้ด้วยบัญญัติหรือภาษาของมนุษย์ ต้องปฏิบัติการลดละความเห็นผิดไป ทุกวัน เวลา นาที วินาที ที่ระลึกได้ จนเมื่อลดถึงระดับอันควรแล้ว อนัตตา จะปรากฏชัดขึ้นมาในจิตใจเอง
หลังจากนั้นก็จะได้เข้าถึง
สังขารุเปกขาญาน อนุโลมญาน มรรคญาน โคตรภูญาน ผลญาน นิพพาน และปัจจเวกขณญาน เป็นสุดท้าย หมดสิ้นภพชาติแห่งปุถุชน ยกระดับขึ้นสู่ความเป็นอริยชน ระดับที่ 1 กิเลสใหญ่ตายไป 2 ตัว สังโยชน์หายไป 3 เบาบาง 2 มีชาติที่จะต้องเวียนว่ายตายเกิดอีกไม่เกิน 7 ชาติ จะต้องดับขันธ์เข้าปรินิพพาน[
/b]

ความรู้ในไตรลักษณ์ไม่ใช่ความรู้ที่เป็นสัมมาทิฏฐิครับ เพราะความรู้นี้ใคร ๆ ก็สามารถรู้ได้เห็นได้ครับ

คุณแน่ใจหรือว่า คนทั่วไปรู้จักและเข้าใจ อนัตตา

อนัตตา โดยตำรา และคิดเอานั้น เป็นอนัตตาหลอก อนัตตาจริงๆต้องสัมผัสรู้ที่ใจ จึงจะเกิดเป็นมรรค เป็นผลได้นะครับ


[b]ธรรมมะ สัจจธรรม ปรมัตถธรรม อมตะธรรม นิพพาน ทั้งหมดนั้นต้องสัมผัสรู้ รู้ได้ด้วยจิตใจเจ้าของ นึก คิดเอาไม่ได้ ตัวอย่างง่ายๆดังเช่น ความเค็ม เค็ม อธิบายไม่ได้ด้วยภาษามนุษย์ ถ้าใครอธิบายให้รู้จักความเค็มได้ ผมมีรางวัลให้ 1 ล้านบาทครับ คุณมหาราชันย์จะลองดูก็ได้นะครับ แต่วิธีที่จะไปรู้ความเค็มได้นั้น บอกได้ อธิบายได้ตั้งหลายนัยยะ ตามพื้นจิตและระดับการศึกษาและประสบการณ์ของผู้อธิบาย อย่างที่เราท่านทั้งหลาายกำลังมาช่วยกันอธิบายวิธีเข้าถึงนิพพานกันอยู่ทุกวันนี้ครับ

อมิตตะพุทธ

.....................................................
เมตตาธรรม ค้ำจุนโลก
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ต.ค. 2009, 12:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3832

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


เอ ตกลงใครพูดคำไหนล่ะคับนี่ ชุลมุนชุลเก
ผมคนอ่านงงจริงๆ

ถ้าไงลองดูวิธีใช้ Qoute กันหน่อยดีไหมจ๊ะ
viewtopic.php?f=63&t=22909


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ต.ค. 2009, 21:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อโศกะ เขียน:
คุณมหาราชันย์ครับ คุณใช้คำพูดที่อ้างอิงนี้ในหลายกระทู้ คุณทราบไหมว่าคุณกำลังมีมิจฉาทิฐิครอบจิต



สวัสดีครับคุณอโศกะ
คุณสามารถหาที่อ้างอิงจากพระไตรปิฎกมามาพิสูจน์ได้ไหมว่าผมมีมิจฉาทิฏฐิจริง ๆ
ผมกำลังรอคำตอบจากคุณครับ




อโศกะ เขียน:
เพราะอำนาจที่ศึกษาแต่บัญญัติมาก โดยปรมัตถ์สภาวะไม่ค่อยได้สัมผัส เพราะหลงผิดว่าปรมัตถ์ธรรมเป็นของสูง ของพระอริยะบุคคลเท่านั้น



บัญญัติตามความรู้ตามความเข้าใจของคุณคืออะไรครับ ?
ปรมัตถ์ตามความรู้ตามความเข้าใจของคุณอโศกะคืออะไรครับ ??
ผมกล่าวไว้ตรงไหนครับที่บอกว่าปรมัตถ์เป็นของสูง ??
ผมกล่าวไว้ตรงไหนว่าอะไรเป็นของต่ำ




อโศกะ เขียน:
คุณจักพลาดโอกาสอันสำคัญของการได้มาเกิดเป็นคนในชาตินี้ถ้ายังไม่เปลี่ยนความเห็นนะครับ โปรดไปศึกษามาใหม่และไต่ตรองมาให้ดี ก่อนที่จะเผยแพร่คำกล่าวอย่างนี้ต่อไปอีกนะครับ


คุณเอาอะไรมาอ้างอิงอย่างมั่นใจว่าผมแสดงธรรมผิดครับ ??
คุณเอาอะไรมาอ้างอิงอย่างมั่นใจว่าคุณแสดงธรรมได้ถูกต้องแล้วครับ ??


ผมรอคำตอบจากคุณครับ


เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ต.ค. 2009, 22:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อโศกะ เขียน:
สัมมาทิฐิ แปลเป็นภาษาชาวบ้านง่ายๆ ว่าเห็นธรรมตามความเป็นจริง


คำว่าเป็นธรรมตามความเป็นจริงนั้น ธรรม ที่คุณว่าธรรม คืออะไรครับ ??
ใครรับรองครับว่าคำแปลนี้ถูกต้อง ??
คำแปลนี้คุณแปลเอง หรือมีใครคนอื่นสอนคุณมาอีกทีหนึ่งไหมครับ ??




อโศกะ เขียน:
สัมมาทิฐิจะสูงสุดเต็มร้อยเมื่อเห็นว่า ทุกสิ่งทุกอย่างเป็น อนัตตา ดังพระวาจาที่พระพุทธองค์ทรงสรุปไว้ว่า "สัพเพธัมมา อนัตตา"


ยกที่อ้างอิงคำกล่าวนี้ของคุณในพะรไตรปิฎกที่เป็นพระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้ามาให้ผมและผู้อ่านได้เห็นจะได้ไหมครับว่าอยู่ตรงไหน ??



อโศกะ เขียน:
เมื่อสามารถชำระความเห็นผิดว่าเป็น อัตตา ตัวกู ของกู ได้เกือบจะเด็ดขาด หรือเด็ดขาดแล้ว สภาวะอนัตตา จะปรากฏเกิดขึ้นมาให้รู้ที่ใจโดยตรง


เมื่อรู้ที่ใจแล้ว อนัตตาที่คุณว่ามานี้ เกี่ยวข้องเป็นสัมมาทิฏฐิได้อย่างไรครับ ??
คำสอนนี้คุณรู้ได้เองหรือว่าใครสอนคุณมา คุณมีที่อ้างอิงให้ผมได้ไหมว่ามาจากพระไตรปิฎกเล่มไหน ??



อโศกะ เขียน:
อนัตตา เป็นสัจจธรรม เป็นปรมัตถธรรม รู้ได้ที่จิตใจเท่านั้น ไม่สามารถจะบอก อธิบายได้ด้วยบัญญัติหรือภาษาของมนุษย์ ต้องปฏิบัติการลดละความเห็นผิดไป ทุกวัน เวลา นาที วินาที ที่ระลึกได้ จนเมื่อลดถึงระดับอันควรแล้ว อนัตตา จะปรากฏชัดขึ้นมาในจิตใจเอง


แล้วที่คุณเข้าเว็ปนี้มา คุณโพสต์ข้อความนี้มาได้ แสดงว่าคุณสามารถบอกได้อธิบายได้ไม่ใช่หรือครับ??
คำสอนนี้คุณรู้เองหรือว่ามีใครสอนคุณมาก่อนไหมครับ ??
อ้างอิงพระไตรปิฎกมาให้ผมได้อ่านบ้างครับ ว่าอยู่ตรงไหน ??



อโศกะ เขียน:
หลังจากนั้นก็จะได้เข้าถึง
สังขารุเปกขาญาน อนุโลมญาน มรรคญาน โคตรภูญาน ผลญาน นิพพาน และปัจจเวกขณญาน เป็นสุดท้าย หมดสิ้นภพชาติแห่งปุถุชน ยกระดับขึ้นสู่ความเป็นอริยชน ระดับที่ 1 กิเลสใหญ่ตายไป 2 ตัว สังโยชน์หายไป 3 เบาบาง 2 มีชาติที่จะต้องเวียนว่ายตายเกิดอีกไม่เกิน 7 ชาติ จะต้องดับขันธ์เข้าปรินิพพาน


สังขารุเปกขาญาน เป็นญาณอย่างไรครับ ??
อนุโลมญาน เป็นญาณอย่างไรครับ ??
มรรคญาน เป็นญาณอย่างไรครับ ??
โคตรภูญาน เป็นญาณอย่างไรครับ ??
ผลญาน เป็นญาณอย่างไรครับ ??
นิพพาน คืออะไรครับ ??
และปัจจเวกขณญาน เป็นสุดท้าย...เป็นญาณสุดท้ายจริงหรือครับ ??
ญาณเหล่านี้คุณรู้เอง ตั้งชื่อเอง หรือว่ามีใครสอนคุณมาอีกทีหนึ่งครับ ??
ข้อความที่คุณสอนมานี้อยู่ตรงส่วนไหนของพระไตรปิฎกครับ ??



อโศกะ เขียน:
ความรู้ในไตรลักษณ์ไม่ใช่ความรู้ที่เป็นสัมมาทิฏฐิครับ เพราะความรู้นี้ใคร ๆ ก็สามารถรู้ได้เห็นได้ครับ

คุณแน่ใจหรือว่า คนทั่วไปรู้จักและเข้าใจ อนัตตา


ถ้าความรู้เรื่องไตรลักษณ์เป็นสัมมทิฏฐิตามที่คุณสอนมาจริง คุณหาที่อ้างอิงจากพระไตรปิฎกมาให้ผมได้ไหมครับ ว่าอยู่ตรงไหน ??




อโศกะ เขียน:
อนัตตา โดยตำรา และคิดเอานั้น เป็นอนัตตาหลอก อนัตตาจริงๆต้องสัมผัสรู้ที่ใจ จึงจะเกิดเป็นมรรค เป็นผลได้นะครับ


จิตใจนี้เป็นความคิดไหมครับ ??
จิตใจนี้มีความคิดอยู่ภายในไหมครับ ??
คำสอนนี้คุณรู้เองหรือว่าใครสอนคุณครับ ??
คำสอนนี้มีที่อ้างอิงในพระไตรปิฎกไหมครับ ??





อโศกะ เขียน:
[b]ธรรมมะ สัจจธรรม ปรมัตถธรรม อมตะธรรม นิพพาน ทั้งหมดนั้นต้องสัมผัสรู้ รู้ได้ด้วยจิตใจเจ้าของ นึก คิดเอาไม่ได้ ตัวอย่างง่ายๆดังเช่น ความเค็ม เค็ม อธิบายไม่ได้ด้วยภาษามนุษย์ ถ้าใครอธิบายให้รู้จักความเค็มได้ ผมมีรางวัลให้ 1 ล้านบาทครับ คุณมหาราชันย์จะลองดูก็ได้นะครับ แต่วิธีที่จะไปรู้ความเค็มได้นั้น บอกได้ อธิบายได้ตั้งหลายนัยยะ ตามพื้นจิตและระดับการศึกษาและประสบการณ์ของผู้อธิบาย อย่างที่เราท่านทั้งหลาายกำลังมาช่วยกันอธิบายวิธีเข้าถึงนิพพานกันอยู่ทุกวันนี้ครับ



1.ชื่อบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ชื่อ ศูนย์วิจัยชนบท
ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาหัวทะเล ( นครราชสีมา )
เลขที่บัญชี 790-2-12101-9


โอนเงินมาได้เลยครับ....อย่าเบี้ยวนะครับ

ผมสามารถตรวจดูยอดเงินได้ผ่านอินเตอร์เน็ตตลอดเวลาครับ
เพราะทุกตัวหนังสือที่คุณโพสต์มาผมเข้าใจได้
ผู้อ่านทุกท่านที่เข้ามาอ่านท่านก็เข้าใจได้ทุกตัวหนังสือที่คุณโพสต์มาครับ




เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ต.ค. 2009, 01:37 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


คุณมหาราชันย์ เขียน:

ความรู้ในไตรลักษณ์ไม่ใช่ความรู้ที่เป็นสัมมาทิฏฐิครับ เพราะความรู้นี้ใคร ๆ ก็สามารถรู้ได้เห็นได้ครับ

สัมมาทิฏฐิคือ ความรู้ในอริยะสัจ 4 เท่านั้นครับ


ก็ถูกต้องแล้วนี้ครับ..คุณอโศกะ..เพราะการ..รู้ทุกข์..รู้เหตุแห่ทุกข์..รู้ความไม่มีทุกข์มีอยู่..ทิฏฐิจึงเป็นสัมมา..ก้าวขึ้นสู่มรรคคือทางนำไปถึงซึ่งความดับทุกข์

อ้างคำพูด:
สัมมาทิฐิ แปลเป็นภาษาชาวบ้านง่ายๆ ว่าเห็นธรรมตามความเป็นจริง สัมมาทิฐิจะสูงสุดเต็มร้อยเมื่อเห็นว่า ทุกสิ่งทุกอย่างเป็น อนัตตา ดังพระวาจาที่พระพุทธองค์ทรงสรุปไว้ว่า "สัพเพธัมมา อนัตตา" [/b]

กับ...
อ้างคำพูด:
ความรู้ในไตรลักษณ์ไม่ใช่ความรู้ที่เป็นสัมมาทิฏฐิครับ เพราะความรู้นี้ใคร ๆ ก็สามารถรู้ได้เห็นได้ครับ

ดูจะแย้งกันในตัว..นะครับ..เห็นอนัตตาจึงเป็นสัมมาทิฏฐิ..กับ..ความรู้ในไตรลักษณ์ไม่ใช่ความรู้ที่เป็นสัมมาทิฏฐิ..


อ้างคำพูด:
[b]เมื่อสามารถชำระความเห็นผิดว่าเป็น อัตตา ตัวกู ของกู ได้เกือบจะเด็ดขาด หรือเด็ดขาดแล้ว สภาวะอนัตตา จะปรากฏเกิดขึ้นมาให้รู้ที่ใจโดยตรง
อนัตตา เป็นสัจจธรรม เป็นปรมัตถธรรม รู้ได้ที่จิตใจเท่านั้น ไม่สามารถจะบอก อธิบายได้ด้วยบัญญัติหรือภาษาของมนุษย์ ต้องปฏิบัติการลดละความเห็นผิดไป ทุกวัน เวลา นาที วินาที ที่ระลึกได้ จนเมื่อลดถึงระดับอันควรแล้ว อนัตตา จะปรากฏชัดขึ้นมาในจิตใจเอง หลังจากนั้นก็จะได้เข้าถึง
สังขารุเปกขาญาน อนุโลมญาน มรรคญาน โคตรภูญาน ผลญาน นิพพาน และปัจจเวกขณญาน เป็นสุดท้าย หมดสิ้นภพชาติแห่งปุถุชน ยกระดับขึ้นสู่ความเป็นอริยชน ระดับที่ 1
กิเลสใหญ่ตายไป 2 ตัว สังโยชน์หายไป 3 เบาบาง 2 มีชาติที่จะต้องเวียนว่ายตายเกิดอีกไม่เกิน 7 ชาติ จะต้องดับขันธ์เข้าปรินิพพาน[
/b]
นี้ก็อีกตัวอย่างหนึ่ง

....ได้เข้าถึง........ผลญาน..นิพพาน........หมดสิ้นภพชาติแห่งปุถุชน ยกระดับขึ้นสู่ความเป็นอริยชน ระดับที่ 1

ถึงนิพพาน..แล้ว..งั้ยได้เป็นแค่..อริยชนระดับที่หนึ่ง..ซึ่งยังจะต้องเกิดอีก..แม้จะแค่ 7 หรือ 3 หรือ 1 ครั้ง ก็ยังเรียกว่าเกิด..นะครับ

พิมพ์มันส์มือไปหน่อย..หรือว่า..ไม่ทราบจริง ๆ ?


อ้างคำพูด:
คุณแน่ใจหรือว่า คนทั่วไปรู้จักและเข้าใจ อนัตตา

อนัตตา โดยตำรา และคิดเอานั้น เป็นอนัตตาหลอก อนัตตาจริงๆต้องสัมผัสรู้ที่ใจ จึงจะเกิดเป็นมรรค เป็นผลได้นะครับ


[b]ธรรมมะ สัจจธรรม ปรมัตถธรรม อมตะธรรม นิพพาน ทั้งหมดนั้นต้องสัมผัสรู้ รู้ได้ด้วยจิตใจเจ้าของ นึก คิดเอาไม่ได้ ตัวอย่างง่ายๆดังเช่น ความเค็ม เค็ม อธิบายไม่ได้ด้วยภาษามนุษย์ ถ้าใครอธิบายให้รู้จักความเค็มได้ ผมมีรางวัลให้ 1 ล้านบาทครับ คุณมหาราชันย์จะลองดูก็ได้นะครับ แต่วิธีที่จะไปรู้ความเค็มได้นั้น บอกได้ อธิบายได้ตั้งหลายนัยยะ ตามพื้นจิตและระดับการศึกษาและประสบการณ์ของผู้อธิบาย อย่างที่เราท่านทั้งหลาายกำลังมาช่วยกันอธิบายวิธีเข้าถึงนิพพานกันอยู่ทุกวันนี้ครับ

อมิตตะพุทธ


ธรรม.....อธิบายไม่ได้ด้วยภาษามนุษย์...มันก็จริง..ดั่งคำโบราณท่านว่า..สิบปากว่าไม่เท่าตา (เรา)เห็น..แต่ก่อนที่เราอยากจะเห็น..ก็เพราะฟังสิบปากว่า..มาว่าให้ฟังนี้แหละ..ก็ปากของพระพุทธเจ้า..ปากของพระอรหันต์เจ้าทั้งหลาย..งัยละครับ

หรือจะเอาที่ใกล้ตัว..ก็อย่างที่คุณอโศกะ..กำลัง..อธิบายอยู่นี้ก็ใช้ภาษามนุษย์..อยู่..

กอ..อา..กา..ก็มีประโยชน์สำหรับเด็กอนุบาล
E = mc 1/2...ก็มีประโยชน์สำหรับดอกเตอร์

ภาษา..มันก็พอมีประโยชน์ตามขั้นตามภูมิ..อย่าไปตั้งแง่กะมันมากนักเลย..เดียวจะกลายเป็นพูดแล้วดูดี...แต่ไม่มีประโยชน์


แก้ไขล่าสุดโดย กบนอกกะลา เมื่อ 14 ต.ค. 2009, 00:06, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ต.ค. 2009, 21:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 พ.ค. 2009, 20:54
โพสต์: 282


 ข้อมูลส่วนตัว




b19.jpg
b19.jpg [ 47.45 KiB | เปิดดู 3716 ครั้ง ]
Onion_L พระไตรปิฎก เล่มที่ 04
พระวาจานั้นแล ได้เป็นอุปสมบทของท่านผู้มีอายุทั้งสองนั้น.
ทรงแสดงอนัตตลักขณสูตร
[๒๐] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะพระปัญจวัคคีย์ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปเป็น
อนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้ารูปนี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว รูปนี้ไม่พึงเป็นเพื่ออาพาธ และบุคคล
พึงได้ในรูปว่า รูปของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด รูปของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย. ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ก็เพราะรูปเป็นอนัตตา ฉะนั้นรูปจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในรูปว่า
รูปของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด รูปของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.
เวทนาเป็นอนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเวทนานี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว เวทนานี้ไม่พึง
เป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในเวทนาว่า เวทนาของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด เวทนาของ
เราจงอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะเวทนาเป็นอนัตตา ฉะนั้น เวทนาจึง
เป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในเวทนาว่า เวทนาของเรา จงเป็นอย่างนั้นเถิด เวทนา
ของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.
สัญญาเป็นอนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าสัญญานี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว สัญญานี้ไม่พึง
เป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในสัญญาว่า สัญญาของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด สัญญาของเรา
อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะสัญญาเป็นอนัตตา ฉะนั้น สัญญาจึงเป็นไป
เพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในสัญญาว่า สัญญาของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด สัญญาของเรา
อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.
สังขารทั้งหลายเป็นอนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าสังขารเหล่านี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว
สังขารเหล่านี้ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในสังขารทั้งหลายว่า สังขารทั้งหลายของ
เราจงเป็นอย่างนี้เถิด สังขารทั้งหลายของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะ
สังขารทั้งหลายเป็นอนัตตา ฉะนั้น สังขารทั้งหลายจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้
ในสังขารทั้งหลายว่า สังขารทั้งหลายของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด สังขารทั้งหลายของเราอย่าได้
เป็นอย่างนั้นเลย.
วิญญาณเป็นอนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าวิญญาณนี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว วิญญาณนี้
ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในวิญญาณว่า วิญญาณของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด
วิญญาณของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะวิญญาณเป็นอนัตตา ฉะนั้น
วิญญาณจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในวิญญาณว่า วิญญาณของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด
วิญญาณของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.
ตรัสถามความเห็นของพระปัญจวัคคีย์
[๒๑] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอสำคัญความนั้นเป็นไฉน
รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
พระปัญจวัคคีย์ทูลว่า ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่ง
นั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา?
ป. ข้อนั้น ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. เวทนาเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
ป. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่ง
นั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา?
ป. ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. สัญญาเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
ป. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่งนั้น
ว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา?
ป. ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. สังขารทั้งหลายเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
ป. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่ง
นั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา?
ป. ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
ป. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่ง
นั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา?
ป. ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.
:b27: :b8:

.....................................................
เมตตาธรรม ค้ำจุนโลก
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ต.ค. 2009, 21:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 พ.ค. 2009, 20:54
โพสต์: 282


 ข้อมูลส่วนตัว




03pongs.jpg
03pongs.jpg [ 36.03 KiB | เปิดดู 3713 ครั้ง ]
tongue *****คำสอนที่สั้นและเรียบง่ายของพระพุทธเจ้า

ภิกขะเว ดูก่อน เธอผู้เห็นภัยในทุกข์ วัฏฏะสงสาร ความเวียนว่ายตายเกิดทั้งหลาย
อนัตตาโต ที่สภาวธรรม อันเกิดขึ้นเองเป็นเอง บังคับไม่ได้ ไม่ใช่ของเรานั้น
อนุปัสสันโต เธอจงตามเฝ้าดู (สัมมาทิฐิ)
ภาวิโต เธอจงตามเฝ้าสังเกต พิจารณา (สัมมาสังกัปปะ)
พะหุลีกะโต ทำให้มาก เจริญให้มาก (ในการตามดูตามสังเกต พิจารณานั้น)
อภิญญายะ ถ้าเธอทำได้เช่นนั้นแล้ว มรรคญาณ ย่อมจะเกิดขึ้นกับเธอ
สัมโพธายะ ผลญาณ ย่อมจะเกิดขึ้นกับเธอ
นิพพานายะ นิพพาน ย่อมจะเกิดขึ้นกับเธอ
สังวัฎฎะติ เป็นของเธอโดยชอบ ไม่เปลี่ยนแปลงอีกต่อไป
:b45: :b53: :b55:

.....................................................
เมตตาธรรม ค้ำจุนโลก
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ต.ค. 2009, 21:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ก.ย. 2009, 21:17
โพสต์: 83

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พิมพ์ตัวหนังสือเองหรือเปล่าครับ...

ถ้าคุณพิมพ์เอง..ผมก็ขออนุโมทนากับความอุตสาหะวิริยะในการพิมพ์...

ถ้า COPY มา ควรจะยกเครดิตให้กับเว๊ปไซด์ที่คุณไป COPY ข้อความมานะครับ...

ผมเห็นมาหลายกระทู้แล้ว...พวก COPY แล้วไม่ให้เครดิตเว๊ปไซด์ที่ไป COPY เค้ามา...

ลอกข้อมูลเค้ามาทั้งดุ้น...แต่ไม่ให้เครดิตเขา..


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ต.ค. 2009, 21:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 พ.ค. 2009, 20:54
โพสต์: 282


 ข้อมูลส่วนตัว




ii174.jpg
ii174.jpg [ 73.76 KiB | เปิดดู 3708 ครั้ง ]
tongue เรียนเชิญคุณมหาราชันย์อธิบายความเค็ม หรือรสเค็ม ว่าเป็นอย่างไร ให้ชาวโลกเข้าใจได้เลยนะครับ หากอธิบายได้ดีจะโอนเงินเข้าบัญชีให้ แต่ต้องขอเพื่อนกัลยาณมิตรทั้งหลายช่วยกรุณาเป็นกรรมการและพยานให้ด้วยนะครับ (ด้วยการร่วมแสดงความเห็น)


ไม่ใช่วิธีการพิสูจน์รู้ความเค็มนะครับ เพราะอันนี้ใคร ชาติ ภาษาไหนก็อธิบายได้ครับ
เหมือนการอธิบายวิธีที่จะพัฒนาจิตใจให้เข้าถึงธรรม เข้าถึงนิพพาน ดังที่เราได้อ่านได้ฟังกันหลายสำนวน ตามระดับสติ ปัญญา ความรู้และประสบการณ์ของผู้ถ่ายทอด
:b12: :b16: :b16: :b4: :b4:

.....................................................
เมตตาธรรม ค้ำจุนโลก
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ต.ค. 2009, 22:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 พ.ค. 2009, 20:54
โพสต์: 282


 ข้อมูลส่วนตัว




ii019.jpg
ii019.jpg [ 34.54 KiB | เปิดดู 3707 ครั้ง ]
Onion_L คุณกบนอกกะลาครับ เวลาคุณอ่านหนังสือ ต้องใช้ปัญญาสัมมาสังกัปปะ คือการสังเกต พิจารณา เข้ามาประกอบให้มากนะครับ จะได้ยกมาถูกต้องว่าใครพูดประโยคใด

...ได้เข้าถึง........ผลญาน..นิพพาน........หมดสิ้นภพชาติแห่งปุถุชน ยกระดับขึ้นสู่ความเป็นอริยชน ระดับที่ 1

ถึง นิพพาน..แล้ว..งั้ยได้เป็นแค่..อริยชนระดับที่หนึ่ง..ซึ่งยังจะต้องเกิดอีก ..แม้จะแค่ 7 หรือ 3 หรือ 1 ครั้ง ก็ยังเรียกว่าเกิด..นะครับ

พิมพ์มันส์มือไปหน่อย..หรือว่า..ไม่ทราบจริง ๆ ?

การเข้าถึงนิพพานมี บุคคล 4 ระดับครับ ลองไปดูมาใหม่ให้ดีๆนะครับ

***********************บุคคล ๕ จำพวก
๑.ปุถุชน คนชั่ว คนธรรมดา ตัดสินสิ่งต่างๆด้วยอารมณ์ ไม่รู้จักแบกแยะดีชั่ว บาป บุญ คุณ โทษ ล่วงศีล ๕ อยู่เป็นนิจ
๒.กัลยาณชน คนดี ตัดสินสิ่งต่างๆด้วยเหตุและผล รู้จักแบกแยะดีชั่ว บาป บุญ คุณ โทษ ไม่ล่วงศีล ๕
๓.เตรียมชาวพุทธ คือผู้ที่กำลังศึกษาพุทธศาสนา ศึกษาวิธีทำวิปัสสนา วิธีเจริญมรรค ๘ จนเข้าใจแจ่มแจ้งและมีความรู้ทางทฤษฎีถึงสุดยอดคำสอนของพุทธศาสนาคือ “สัพเพธัมมา อนัตตา”
๔.ชาวพุทธ คือผู้ที่ลงมือปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา เจริญมรรค ๘ ละความเห็นผิดเป็นอัตตา พอกพูนความเห็นถูกต้องเป็นอนัตตา อยู่ทุกวันเวลานาทีที่ระลึกได้และมีโอกาส
๕.อริยบุคคล คือผู้ที่เจริญเหตุทำวิปัสสนาภาวนาจนได้รับผลถึงผลคือมรค ๔ ผล ๔ อริยบุคคลมี ๔ จำพวกคือ โสดาบัน สกิทาคามี อนาคามีและอรหันต์บุคคล

.....................................................
เมตตาธรรม ค้ำจุนโลก
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 118 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร