วันเวลาปัจจุบัน 05 พ.ค. 2025, 18:59  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 15 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ต.ค. 2009, 12:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




031.jpg
031.jpg [ 37.44 KiB | เปิดดู 4177 ครั้ง ]
ปัญญาในการฟังธรรมแล้ว สังวรไว้ เป็นสีลมยญาณ [ญาณอันสำเร็จมาแต่ศีล]

ประเภทของศีล ................ ศีลมี ๕ ประเภท คือ


๑. ปริยันตปาริสุทธิศีล ศีลคือ ความบริสุทธิ์มีส่วนสุด
๒. อปริยันตปาริสุทธิศีล ศีลคือ ความบริสุทธิ์ไม่มีส่วนสุด
๓. ปริปุณณปาริสุทธิศีล ศีลคือ ความบริสุทธิ์เต็มรอบ
๔. อปรามัฏฐปาริสุทธิศีล ศีลคือ ความบริสุทธิ์อันทิฐิไม่จับต้อง
๕. ปฏิปัสสัทธิปาริสุทธิศีล ศีลคือ ความบริสุทธิ์โดยระงับ


อะไรเป็นศีล ศีลมีเท่าไร ศีลมีอะไรเป็นสมุฏฐาน ศีลเป็นที่ประชุมแห่งธรรมอะไร ฯ

อะไรเป็นศีล ........
เจตนา เป็นศีล
เจตสิก เป็นศีล
ความสำรวม เป็นศีล
ความไม่ล่วงเป็นศีล ฯ

ศีลมีเท่าไร .....................
ศีล ๓ คือ กุศลศีล อกุศลศีล อัพยากตศีล ฯ

ศีลมีอะไรเป็นสมุฏฐาน
กุศลศีล มีกุศลจิตเป็นสมุฏฐาน
อกุศลศีล มีอกุศลจิตเป็นสมุฏฐาน
อัพยากตศีล มีอัพยากตจิตเป็นสมุฏฐาน ฯ


ยังมีต่อ



เจริญในธรรมครับ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ต.ค. 2009, 20:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปริยันตปาริสุทธิศีลเป็นไฉน
ปริยันตปาริสุทธินี้ ของอนุปสัมบันผู้มีสิกขาบทมีที่สุด ฯ

อปริยันตปาริสุทธิศีลเป็นไฉน
อปริยันตปาริสุทธิศีลนี้ ของอุปสัมบัน ผู้มีสิกขาบทไม่มีที่สุด ฯ

ปริปุณณปาริสุทธิศีลเป็นไฉน
ปริปุณณปาริสุทธิศีลนี้ ของกัลยาณปุถุชนผู้ประกอบในกุศลธรรม ผู้กระทำให้บริบูรณ์ในธรรมอันเป็นที่สุดของพระอเสขะ ผู้ไม่อาลัยในร่างกายและชีวิต ผู้สละชีวิตแล้ว ฯ

อปรามัฏฐปาริสุทธิศีลเป็นไฉน
อปรามัฏฐปาริสุทธิศีลนี้ ของพระเสขะ ๗ จำพวก ฯ

ปฏิปัสสัทธิปริสุทธิศีลเป็นไฉน
ปฏิปัสสัทธิปาริสุทธิศีลนี้ของพระขีณาสพสาวกพระตถาคตเจ้า ของพระปัจเจกพุทธเจ้า และของพระตถาคต อหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ฯ

ยังมีต่อ


เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ต.ค. 2009, 08:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปริยันตปาริสุทธิศีล

ศีลมีที่สุดนั้น เป็นไฉน ..............ศีลมีที่สุดเพราะลาภก็ดี ศีลมีที่สุดเพราะยศก็มี ศีลมีที่สุดเพราะญาติ ก็มี ศีลมีที่สุดเพราะอวัยวะก็มี ศีลมีที่สุดเพราะชีวิตก็มี ฯ

ศีลมีที่สุดเพราะลาภ บุคคลบางคนในโลกนี้ย่อมล่วงสิกขาบท ตามที่ตนสมาทานไว้เพราะเหตุแห่งลาภ เพราะปัจจัยแห่งลาภ เพราะการณ์แห่งลาภ ศีลนี้เป็นลาภปริยันตศีล ฯ
ศีลมีที่สุดเพราะยศ บุคคลบางคนในโลกนี้ย่อมล่วงสิกขาบท ตามที่ตนสมาทานไว้เพราะเหตุแห่งยศ เพราะปัจจัยแห่งยศ เพราะการณ์แห่งยศ ศีลนี้เป็นยศปริยันตศีล ฯ
ศีลมีที่สุดเพราะญาติ บุคคลบางคนในโลกนี้ย่อมล่วงสิกขาบท ตามที่ตนสมาทานไว้เพราะเหตุแห่งญาติ เพราะปัจจัยแห่งญาติ เพราะการณ์แห่งญาติ ศีลนี้เป็นญาติปริยันตศีล ฯ
ศีลมีที่สุดเพราะอวัยวะ บุคคลบางคนในโลกนี้ย่อมล่วงสิกขาบท ตามที่ตนสมาทานไว้เพราะเหตุแห่งอวัยวะ เพราะปัจจัยแห่งอวัยวะ เพราะการณ์แห่งอวัยวะ ศีลนี้เป็นอังคปริยันตศีล ฯ
ศีลมีที่สุดเพราะชีวิต บุคคลบางคนในโลกนี้ย่อมล่วงสิกขาบท ตามที่ตนสมาทานไว้เพราะเหตุแห่งชีวิต เพราะปัจจัยแห่งชีวิต เพราะการณ์แห่งชีวิต ศีลนี้เป็นชีวิตปริยันตศีล ฯ

ศีลเห็นปานนี้เป็นศีลขาด เป็นศีลทะลุ ด่าง พร้อย ไม่เป็นไทย วิญญูชนไม่สรรเสริญ อันตัณหาและทิฐิจับต้องแล้ว
ไม่เป็นไปเพื่อสมาธิ
เป็นที่ตั้งแห่งความเดือดร้อน
ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความปราโมทย์
ไม่เป็นที่ตั้งแห่งปีติ
ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความระงับ
ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความสุข
ไม่เป็นที่ตั้งแห่งสมาธิ
ไม่เป็นที่ตั้งแห่งยถาภูตญาณทัสนะ
ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบ
ระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน

ยังมีต่อ



เจริญในธรรครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ต.ค. 2009, 17:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อปริยันตปาริสุทธิศีล
ศีลไม่มีที่สุดนั้นเป็นไฉน .............ศีลไม่มีที่สุดเพราะลาภก็มี ศีลไม่มีที่สุดเพราะยศก็มี ศีลไม่มีที่สุดเพราะญาติก็มี ศีลไม่มีที่สุดเพราะอวัยวะก็มี ศีลไม่มีที่สุดเพราะชีวิตก็มี ฯ

ศีลไม่มีที่สุดเพราะลาภเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ แม้ความคิดก็ไม่ให้เกิดขึ้นเพื่อจะล่วงสิกขาบทตามที่ตนสมาทานไว้ เพราะเหตุแห่งลาภ เพราะปัจจัยแห่งลาภ เพราะการณ์แห่งลาภ อย่างไรเขาจักล่วงสิกขาบทเล่า ศีลนี้เป็นศีลไม่มีที่สุดเพราะลาภ ฯ

ศีลไม่มีที่สุดเพราะยศนั้นเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ ... เพราะเหตุแห่งยศ ... ศีลนี้เป็นศีลไม่มีที่สุดเพราะยศ ฯ

ศีลไม่มีที่สุดเพราะญาตินั้นเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ ... เพราะเหตุแห่งญาติ ... ศีลนี้เป็นศีลไม่มีที่สุดเพราะญาติ ฯ

ศีลไม่มีที่สุดเพราะอวัยวะนั้นเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ ... เพราะเหตุแห่งอวัยวะ ... ศีลนี้เป็นศีลไม่มีที่สุดเพราะอวัยวะ ฯ

ศีลไม่มีที่สุดเพราะชีวิตนั้นเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ แม้ความคิดก็ไม่ให้เกิดขึ้นเพื่อล่วงสิกขาบท ตามที่ตนสมาทานไว้ เพราะเหตุแห่งชีวิต เพราะปัจจัยแห่งชีวิต เพราะการณ์แห่งชีวิต อย่างไรเขาจักล่วงสิกขาบทเล่า ศีลนี้เป็นศีลไม่มีที่สุดเพราะชีวิต

ศีลเห็นปานนี้เป็นศีลไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไทย วิญญูชนสรรเสริญ อันตัณหาและทิฐิไม่จับต้อง
เป็นไปเพื่อสมาธิ
ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเดือดร้อน
เป็นที่ตั้งแห่งความปราโมทย์
เป็นที่ตั้งแห่งปีติ
เป็นที่ตั้งแห่งความระงับ
เป็นที่ตั้งแห่งความสุข
เป็นที่ตั้งแห่งสมาธิ
เป็นที่ตั้งแห่งยถาภูตญาณทัสนะ
ย่อมเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน โดยส่วนเดียว ศีลนี้เป็นอปริยันตศีล ฯ

ยังมีต่อ



เจริญในธรรมครับ


แก้ไขล่าสุดโดย มหาราชันย์ เมื่อ 07 ต.ค. 2009, 20:10, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ต.ค. 2009, 22:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ศีลเป็นที่ประชุมแห่งธรรมอะไร ..........
ศีลเป็นที่ประชุมแห่งสังวร
เป็นที่ประชุมแห่งการไม่ก้าวล่วง
เป็นที่ประชุมแห่งเจตนา อันเกิดในความเป็นอย่างนั้น


ชื่อว่าศีล.........
เพราะอรรถว่าสำรวม และไม่ก้าวล่วงปาณาติบาต อทินนาทาน กาเมสุมิจฉาจาร มุสาวาท ปิสุณาวาจา ผรุสวาจา สัมผัปปลาปะ อภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิฐิ

เพราะอรรถว่าสำรวม และไม่ก้าวล่วงกามฉันทะ ด้วยเนกขัมมะ
เพราะอรรถว่าสำรวม และไม่ก้าวล่วงความพยาบาทด้วยความไม่พยาบาท
เพราะอรรถว่าสำรวม และไม่ก้าวล่วงถีนมิทธิด้วยอาโลกสัญญา
เพราะอรรถว่าสำรวม และไม่ก้าวล่วงอุทธัจจะด้วยความไม่ฟุ้งซ่าน
เพราะอรรถว่าสำรวม และไม่ก้าวล่วง วิจิกิจฉาด้วยการกำหนดธรรม
เพราะอรรถว่าสำรวม และไม่ก้าวล่วงอวิชชาด้วยญาณ
เพราะอรรถว่าสำรวม และไม่ก้าวล่วงอรติด้วยความปราโมทย์
เพราะอรรถว่าสำรวม และไม่ก้าวล่วง นิวรณ์ด้วยปฐมฌาน
เพราะอรรถว่าสำรวม และไม่ก้าวล่วงวิตก วิจารด้วยทุติยฌาน
เพราะอรรถว่าสำรวม และไม่ก้าวล่วง ปีติด้วยตติยฌาน
เพราะอรรถว่าสำรวม และไม่ก้าวล่วงสุขและทุกข์ด้วยจตุตถฌาน
เพราะอรรถว่าสำรวม และไม่ก้าวล่วงรูปสัญญา ปฏิฆสัญญา นานัตตสัญญา ด้วยอากาสานัญจายตนสมาบัติ
เพราะอรรถว่าสำรวม และไม่ก้าวล่วงอากาสานัญจายตนสัญญาด้วยวิญญาณัญจายตนสมาบัติ
เพราะอรรถว่าสำรวม และไม่ก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนสัญญา ด้วยอากิญจัญญายตนสมาบัติ
เพราะอรรถว่าสำรวม และไม่ก้าวล่วงอากิญจัญญายตนสัญญาด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ
เพราะอรรถว่าสำรวม และไม่ก้าวล่วงนิจจสัญญาด้วยอนิจจานุปัสนา
เพราะอรรถว่าสำรวม และไม่ก้าวล่วงสุขสัญญาด้วยทุกขานุปัสนา
เพราะอรรถว่าสำรวม และไม่ก้าวล่วงอัตตสัญญาด้วยอนัตตานุปัสนา
เพราะอรรถว่าสำรวม และไม่ก้าวล่วงนันทิด้วยนิพพิทานุปัสนา
เพราะอรรถว่าสำรวม และไม่ก้าวล่วงราคะด้วยวิราคานุปัสนา
เพราะอรรถว่าสำรวม และไม่ก้าวล่วงสมุทัยด้วยนิโรธานุปัสนา
เพราะอรรถว่าสำรวม และไม่ก้าวล่วงอาทานะด้วยปฏินิส สัคคานุปัสนา
เพราะอรรถว่าสำรวม และไม่ก้าวล่วงฆนสัญญาด้วยวยานุปัสนา
เพราะอรรถว่าสำรวม และไม่ก้าวล่วงธุวสัญญาด้วย วิปริณามานุปัสนา
เพราะอรรถว่าสำรวม และไม่ก้าวล่วงนิมิตด้วยอนิมิตตานุปัสนา
เพราะอรรถว่าสำรวม และไม่ก้าวล่วง ปณิธิด้วยอัปปณิหิตานุปัสนา
เพราะอรรถว่าสำรวม และไม่ก้าวล่วง อภินิเวสด้วยสุญญตานุปัสนา
เพราะอรรถว่าสำรวม และไม่ก้าวล่วงสาราทานาภินิเวสด้วยอธิปัญญาธรรมวิปัสนา
เพราะอรรถว่าสำรวม และไม่ก้าวล่วงสัมโมหาภินิเวสด้วยยถาภูตญาณทัสนะ
เพราะอรรถว่าสำรวม และไม่ก้าวล่วงอาลยาภินิเวสด้วยอาทีนวานุปัสนา
เพราะอรรถว่าสำรวม และไม่ก้าวล่วง อัปปฏิสังขาด้วยปฏิสังขานุปัสนา
เพราะอรรถว่าสำรวม และไม่ก้าวล่วงสังโยคาภินิเวสด้วยวิวัฏฏนานุปัสนา
เพราะอรรถว่าสำรวม และไม่ก้าวล่วงกิเลสที่ตั้งอยู่ร่วมกันกับทิฐิด้วยโสดาปัตติมรรค
เพราะอรรถว่าสำรวม และไม่ก้าวล่วงกิเลสหยาบๆ ด้วยสกทาคามิมรรค
เพราะอรรถว่าสำรวม และไม่ก้าวล่วงกิเลสละเอียดด้วยอนาคามิมรรค
เพราะอรรถว่าสำรวม และไม่ก้าวล่วงกิเลสทั้งปวงด้วยอรหัตมรรค ฯ


ยังมีต่อ


เจริญในธรรมครับ


แก้ไขล่าสุดโดย มหาราชันย์ เมื่อ 09 ต.ค. 2009, 09:18, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ต.ค. 2009, 09:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การละเป็นศีล
การงดเว้นเป็นศีล
เจตนาเป็นศีล
สังวรเป็นศีล
การไม่ล่วงเป็นศีล

ศีลเห็นปานนี้ ย่อมเป็นไป .......
เพื่อความไม่เดือดร้อนแห่งจิต
เพื่อความปราโมทย์
เพื่อปีติ
เพื่อปัสสัทธิ
เพื่อโสมนัส
เพื่อการเสพโดยเอื้อเฟื้อ
เพื่อความเจริญ
เพื่อทำให้มาก
เพื่อเป็นเครื่องประดับ
เพื่อเป็นบริขาร
เพื่อเป็นบริวาร
เพื่อความบริบูรณ์

ย่อมเป็นไป........
เพื่อความเบื่อหน่าย
เพื่อความคลายกำหนัด
เพื่อความดับ
เพื่อความสงบระงับ
เพื่อความรู้ยิ่ง
เพื่อความตรัสรู้
เพื่อนิพพาน โดยส่วนเดียว ฯ

ยังมีต่อ

เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ต.ค. 2009, 21:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สังวรปาริสุทธิ ความบริสุทธิ์ด้วยความสำรวมเป็นอธิศีล จิตตั้งอยู่ในความบริสุทธิ์ด้วยความสำรวม ย่อมไม่ถึงความฟุ้งซ่าน

อวิกเขปปาริสุทธิ ความบริสุทธิ์คือความที่จิตไม่ฟุ้งซ่าน เป็นอธิจิต

พระโยคาวจร ย่อมเห็นสังวรปาริสุทธิโดยชอบ ย่อมเห็นอวิกเขปปาริสุทธิโดยชอบ ทัสนปาริสุทธิ ความบริสุทธิ์แห่งทัสนะ เป็นอธิปัญญา

ในความสำรวม ความไม่ฟุ้งซ่านและทัสนะนั้น ความสำรวม เป็นอธิศีลสิกขา
ความไม่ฟุ้งซ่าน เป็นอธิจิตสิกขา
ความเห็นแจ้ง เป็นอธิปัญญาสิกขา
พระโยคาวจรเมื่อนึกถึงสิกขา ๓ นี้ ชื่อว่าย่อมศึกษา เมื่อรู้ เมื่อเห็นเมื่อพิจารณา เมื่ออธิฐานจิต เมื่อน้อมใจไปด้วยศรัทธา เมื่อประคองความเพียรไว้ เมื่อตั้งสติมั่น เมื่อตั้งจิตไว้ เมื่อรู้ชัดด้วยปัญญา เมื่อรู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง เมื่อกำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ เมื่อละธรรมที่ควรละ เมื่อเจริญธรรมที่ควรเจริญ เมื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง ชื่อว่าย่อมศึกษาทุกอย่าง ฯ

ศีล ๕ คือ การละปาณาติบาต อทินนาทาน กาเมสุมิจฉาจาร มุสาวาท ปิสุณาวาจา ผรุสวาจา สัมผัปปลาปะ อภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิฐิ
การละกามฉันทะด้วยเนกขัมมะ
การละความพยาบาทด้วยความไม่พยาบาท
การละถีนมิทธะด้วยอาโลกสัญญา
การละอุทธัจจะด้วยความไม่ฟุ้งซ่าน
การละวิจิกิจฉาด้วยการกำหนดธรรม
การละอวิชชาด้วยญาณ
การละอรติด้วยความปราโมทย์
การละนิวรณ์ด้วยปฐมฌาน
การละวิตกวิจารด้วยทุติยฌาน
การละปีติด้วยตติยฌาน
การละสุขและทุกข์ด้วยจตุตถฌาน
การละรูปสัญญา ปฏิฆสัญญา นานัตตสัญญา ด้วยอากาสานัญจายตนสมาบัติ
การละอากาสานัญจายตนสัญญาด้วยวิญญาณัญจายตนสมาบัติ
การละวิญญาณัญจายตนสัญญาด้วยอากิญจัญญายตนสมาบัติ
การละอากิญญายตนสัญญาด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ
การละนิจจสัญญาด้วยอนิจจานุปัสนา
การละสุขสัญญาด้วยทุกขานุปัสนา
การละอัตตสัญญาด้วยอนัตตานุปัสนา
การละนันทิ ด้วยนิพพิทานุปัสนา
การละราคะด้วยวิราคานุปัสนา
การละสมุทัยด้วยนิโรธานุปัสนา
การละอาทานะด้วยปฏินิสสัคคานุปัสนา
การละฆนสัญญาด้วยขยานุปัสนา
การละอายุหนะด้วยวยานุปัสนา
การละธุวสัญญาด้วยวิปริณามานุปัสนา
การละนิมิตด้วยอนิมิตตานุปัสนา
การละปณิธิด้วยอัปปณิหิตานุปัสนา
การละอภินิเวสด้วยสุญญตานุปัสนา
การละสาราทานาภินิเวสด้วยอธิปัญญาธรรมวิปัสนา
การละสัมโมหาภินิเวสด้วยยถาภูตญาณทัสนะ
การละอาลยาภินิเวสด้วยอาทีนวานุปัสนา
การละอัปปฏิสังขาด้วยปฏิสังขานุปัสนา
การละสังโยคาภินิเวสด้วยวิวัฏฏนานุปัสนา
การละกิเลสที่ตั้งอยู่ร่วมกันกับทิฐิด้วยโสดาปัตติมรรค
การละกิเลสที่หยาบๆ ด้วยสกทาคามิมรรค
การละกิเลสที่ละเอียดด้วยอนาคามิมรรค
การละกิเลสทั้งปวงด้วยอหัตมรรค
การละนั้นๆ เป็นศีล เวรมณีเป็นศีล ... เมื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง ชื่อว่าย่อมศึกษา ฯ

ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้นๆ ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่า รู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการฟังธรรมแล้วสำรวมไว้ เป็นสีลมยญาณ ฯ

เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ต.ค. 2009, 09:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยศีล ในกาลทุกเมื่อ
มีปัญญา มีใจตั้งมั่นดีแล้ว
ปรารภความเพียร มีตนส่งไปแล้ว
ย่อมข้ามโอฆะที่ข้ามได้ยาก
เขาเว้นขาดแล้วจากกามสัญญา
ล่วงรูปสัญโญชน์ได้
มีภพเป็นที่เพลิดเพลินสิ้นไปแล้ว
ย่อมไม่จมในห้วงน้ำลึก ฯ


เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.พ. 2010, 13:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปัญญาในการฟังธรรมแล้ว สังวรไว้ เป็นสีลมยญาณ [ญาณอันสำเร็จมาแต่ศีล]

สุตฺวาน สํวเร ปญฺญา ความว่า :-
ธรรม ๕ ประการเหล่านี้ คือ
ปาฏิโมกข์ ๑ สติ ๑ ญาณ ๑ ขันติ ๑ และ วิริยะ ๑ ท่านแสดงว่าสังวร.

เป็นผู้เข้าถึง, เข้าถึงพร้อม, เข้ามา, เข้ามาพร้อม,
ถึงแล้ว, ถึงพร้อมแล้ว, ประกอบพร้อมแล้ว ด้วย
ปาฏิโมกขสังวรนี้. ชื่อว่าปาฏิโมกขสังวร

ปาติโมกข์ ได้แก่ศีลอันเป็นที่อาศัย เป็นเบื้องต้น
เป็นจรณะ เป็นเครื่องสำรวม เป็นเครื่องระวัง เป็นหัวหน้า เป็นประธาน เพื่อ
ความถึงพร้อมแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย

บทว่า สังวร ได้แก่ การไม่ล่วงละเมิดทางกาย การไม่ล่วงละเมิดทางวาจา
การไม่ล่วงละเมิดทั้งทางกายและทางวาจา

บทว่า เป็นผู้สำรวมแล้ว มีอธิบายว่า เป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว เข้าไปถึง
แล้วด้วยดี เข้ามาถึงแล้ว เข้ามาถึงแล้วด้วยดี เข้าถึงแล้ว เข้าถึงแล้วด้วยดี
ประกอบแล้ว ด้วยปาติโมกขสังวรนี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า เป็นผู้สำรวมแล้ว
ด้วยปาติโมกขสังวร

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แก้ไขล่าสุดโดย เช่นนั้น เมื่อ 01 ก.พ. 2010, 13:54, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.พ. 2010, 13:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ภิกษุเห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ,
เธอย่อมปฏิบัติ เพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้ อกุศลธรรมอันลามก คืออภิชฌาและโทมนัส ครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษาจักขุนทรีย์,
ชื่อว่าถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์. ชื่อว่าสติสังวร.


ภิกษุฟังเสียงด้วยโสตแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ,
เธอย่อมปฏิบัติ เพื่อสำรวมโสตินทรีย์ เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้ อกุศลธรรมอันลามก คืออภิชฌาและโทมนัส ครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษาโสตินทรีย์,
ชื่อว่าถึงความสำรวมโสตินทรีย์. ชื่อว่าสติสังวร.


ภิกษุดมกลิ่นด้วยฆานะแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ,
เธอย่อมปฏิบัติ เพื่อสำรวมฆานินทรีย์ เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้ อกุศลธรรมอันลามก คืออภิชฌาและโทมนัส ครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษาฆานินทรีย์,
ชื่อว่าถึงความสำรวมฆานินทรีย์. ชื่อว่าสติสังวร.


ภิกษุลิ้มรสด้วยชิวหาแล้วไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ,
เธอย่อมปฏิบัติ เพื่อสำรวมชิวหินทรีย์ เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้ อกุศลธรรมอันลามก คืออภิชฌาและโทมนัส ครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษาชิวหินทรีย์,
ชื่อว่าถึงความสำรวมชิวหินทรีย์. ชื่อว่าสติสังวร.


ภิกษุถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ,
เธอย่อมปฏิบัติ เพื่อสำรวมกายินทรีย์ เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้ อกุศลธรรมอันลามก คืออภิชฌาและโทมนัส ครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษากายินทรีย์,
ชื่อว่าถึงความสำรวมกายินทรีย์. ชื่อว่าสติสังวร.


ภิกษุรู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ,
เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามกคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษามนินทรีย์
ชื่อว่าถึงความสำรวมในมนินทรีย์. ชื่อว่าสติสังวร
.

[ไม่ถือนิมิต ---> ไม่ถือรวบ ไม่รวบถือ
ไม่ถืออนุพยัญชนะ--->ไม่แยกถือ ไม่ถือแยกส่วน]

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แก้ไขล่าสุดโดย เช่นนั้น เมื่อ 01 ก.พ. 2010, 14:45, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.พ. 2010, 14:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กระแสทั้งหลายเหล่าใดในโลก มีอยู่,
สติเป็นเครื่องกั้นกระแสเหล่านั้น เรากล่าวสติว่า
เป็นเครื่องกั้นกระแสทั้งหลาย,

กระแสเหล่านั้นอันบัณฑิตย่อมปิดได้ด้วยปัญญา ดังนี้. ชื่อว่าญาณสังวร.

(กระแสเหล่าใดในโลก ความว่า กระแสเหล่านี้ใด เราบอกแล้ว กล่าวแล้ว แสดงแล้ว บัญญัติแล้ว แต่งตั้งแล้ว เปิดเผยแล้ว จำแนกแล้ว ทำให้ตื้นขึ้นแล้ว ประกาศแล้ว, นี้อย่างไร?

คือ กระแสตัณหา, กระแสทิฏฐิ, กระแสกิเลส, กระแสทุจริต, กระแสอวิชชา.)

ความรู้ทั่ว กิริยาที่รู้ทั่ว ฯลฯ ความไม่หลง ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ
ชื่อว่า ปัญญา ในอุเทศว่า ปญฺญาเยเต ปิถิยฺยเร. ข้อว่า กระแสเหล่านี้ อันปัญญาย่อมปิด
กั้นได้ ความว่า


กระแสเหล่านี้ อันปัญญาย่อมปิดกั้นได้ คือ ย่อมตัดขาด ไม่ไหลไป ไม่
หลั่งไป ไม่เลื่อนไป ไม่เป็นไป.

กระแสเหล่านี้ อันปัญญาของบุคคลผู้รู้เห็นว่า สังขารทั้งปวง
ไม่เที่ยง ย่อมปิดกั้นได้ ... ไม่เป็นไป. กระแสเหล่านี้ อันปัญญาของบุคคลผู้รู้เห็นว่า สังขาร
ทั้งปวงเป็นทุกข์ ย่อมปิดกั้นได้ ... ไม่เป็นไป. กระแสเหล่านี้ อันปัญญาของบุคคลผู้รู้เห็นว่า
ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ย่อมปิดกั้นได้ ... ไม่เป็นไป. กระแสเหล่านี้ อันปัญญาบุคคลผู้รู้เห็น
ว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร ย่อมปิดกั้นได้ ... ไม่เป็นไป. กระแสเหล่านี้ อันปัญญา
ของบุคคลผู้รู้เห็นว่า เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ ย่อมปิดกั้นได้ ... ไม่เป็นไป กระแส
เหล่านี้ อันปัญญาของบุคคลผู้รู้เห็นว่า เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป ย่อมปิดกั้นได้...
ไม่เป็นไป. กระแสเหล่านี้ อันปัญญาของบุคคลผู้รู้เห็นว่า เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมี
สฬายตนะ ย่อมปิดกั้นได้ ... ไม่เป็นไป. กระแสเหล่านี้ อันปัญญาของบุคคลผู้รู้เห็นว่า เพราะ
สฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ ย่อมปิดกั้นได้ ... ไม่เป็นไป. กระแสเหล่านี้ อันปัญญาของ
บุคคลผู้รู้เห็นว่า เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา ย่อมปิดกั้นได้ ... ไม่เป็นไป. กระแส
เหล่านี้ อันปัญญาของบุคคลผู้รู้เห็นว่า เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา ย่อมปิดกั้นได้ ...
ไม่เป็นไป. กระแสเหล่านี้ อันปัญญาของบุคคลผู้รู้เห็นว่า เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน
ย่อมปิดกั้นได้ ... ไม่เป็นไป. กระแสเหล่านี้ อันปัญญาของบุคคลผู้รู้เห็นว่า เพราะอุปาทานเป็น
ปัจจัยจึงมีภพ ย่อมปิดกั้นได้ ไม่เป็นไป กระแสเหล่านี้ อันปัญญาของบุคคลผู้รู้เห็นว่า เพราะภพ
เป็นปัจจัย จึงมีชาติ ย่อมปิดกั้นได้ ... ไม่เป็นไป. กระแสเหล่านี้ อันปัญญาของบุคคลผู้รู้เห็นว่า
เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชราและมรณะ ย่อมปิดกั้นได้ ... ไม่เป็นไป. กระแสเหล่านี้ อันปัญญา
ของบุคคลผู้รู้เห็นว่า เพราะอวิชชาดับ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ เพราะ
วิญญาณดับ นามรูปจึงดับ เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะ
จึงดับ เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ เพราะตัณหาดับ
อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชรา
และมรณะจึงดับ ย่อมปิดกั้นได้ คือ ย่อมปกปิด ย่อมไม่ไหลไป ไม่หลั่งไป ไม่เลื่อนไป
ไม่เป็นไป. กระแสเหล่านี้ อันปัญญาของบุคคลผู้รู้เห็นว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ
นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ย่อมปิดกั้นได้ ... ไม่เป็นไป. กระแสเหล่านี้ อันปัญญาของบุคคล
ผู้รู้เห็นว่า เหล่านี้อาสวะ นี้เหตุให้เกิดอาสวะ นี้ความดับอาสวะ นี้ปฏิปทาเครื่องให้ถึงความ
ดับอาสวะ ย่อมปิดกั้นได้ ... ไม่เป็นไป. กระแสเหล่านี้ อันปัญญาของบุคคลผู้รู้เห็นว่า ธรรม
เหล่านี้ควรรู้ยิ่ง ธรรมเหล่านี้ควรกำหนดรู้ ธรรมเหล่านี้ควรละ ธรรมเหล่านี้ควรเจริญ ธรรม
เหล่านี้ควรทำให้แจ้ง ย่อมปิดกั้นได้ ... ไม่เป็นไป. กระแสเหล่านี้ อันปัญญาของบุคคลผู้รู้เห็น
ความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเป็นเครื่องออกไปแห่งผัสสายตนะ ๖ ย่อมปิดกั้นได้ ...
ไม่เป็นไป. กระแสเหล่านี้ อันปัญญาของบุคคลผู้รู้เห็นความเกิด ความดับ คุณ โทษ และ
อุบายเป็นเครื่องออกไปแห่งอุปาทานขันธ์ ๕ ย่อมปิดกั้นได้ ... ไม่เป็นไป กระแสเหล่านี้ อัน
ปัญญาของบุคคลผู้รู้เห็นความเกิด ความดับ คุณโทษ และอุบายเป็นเครื่องออกไปแห่งมหารูป ๔
ย่อมปิดกั้นได้ ... ไม่เป็นไป. กระแสเหล่านี้ อันปัญญาของบุคคลผู้รู้เห็นว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมี
ความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา ย่อมปิดกั้นได้ คือ ย่อม
ปกปิด ย่อมไม่ไหลไป ไม่หลั่งไป ไม่เลื่อนไป ไม่เป็นไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า กระแส
เหล่านี้ อันปัญญาย่อมปิดกันได้

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แก้ไขล่าสุดโดย เช่นนั้น เมื่อ 01 ก.พ. 2010, 14:46, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.พ. 2010, 14:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
พิจารณาโดยแยบคายแล้ว เสพจีวร ฯดังนี้.
ชื่อว่าปัจจยปฏิเสวนาสังวร.
ปัจจยปฏิเสวนาสังวรแม้นั้น ท่านสงเคราะห์ด้วยญาณสังวรนั่นแล.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อาสวะเหล่าไหน ที่จะพึงละได้เพราะการพิจารณาเสพ?

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้

พิจารณาโดยแยบคายแล้ว เสพจีวรเพียงเพื่อกำจัดหนาว ร้อน สัมผัส แห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลาน เพียงเพื่อจะปกปิดอวัยวะที่ให้ความละอายกำเริบ

พิจารณาโดยแยบคายแล้ว เสพบิณฑบาตมิใช่เพื่อจะเล่น มิใช่เพื่อมัวเมา มิใช่เพื่อประดับ มิใช่เพื่อตบแต่ง เพียงเพื่อให้กายนี้ดำรงอยู่ เพื่อให้เป็นไปเพื่อกำจัดความลำบาก เพื่ออนุเคราะห์แก่พรหมจรรย์ ด้วยคิดว่า จะกำจัดเวทนาเก่าเสียด้วยจะไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้นด้วย ความเป็นไป ความไม่มีโทษ และความอยู่สบายด้วย จักมีแก่เราฉะนี้

พิจารณาโดยแยบคายแล้ว เสพเสนาสนะ เพียงเพื่อกำจัดหนาวร้อน สัมผัสแห่งเหลือบยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลาน เพียงเพื่อบรรเทาอันตรายแต่ฤดู เพื่อรื่นรมย์ในการหลีกออกเร้นอยู่

พิจารณาโดยแยบคายแล้ว เสพบริขาร คือ ยาอันเป็นปัจจัยบำบัดไข้ เพียงเพื่อกำจัดเวทนาที่เกิดแต่อาพาธต่างๆ ที่เกิดขึ้นแล้ว เพื่อความเป็นผู้ไม่มีอาพาธเบียดเบียนเป็นอย่างยิ่ง.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาสวะและความเร่าร้อนอันกระทำความคับแค้นเหล่าใด พึงบังเกิดขึ้น
แก่ภิกษุนั้นผู้ไม่พิจารณาเสพปัจจัยอันใดอันหนึ่ง อาสวะและความเร่าร้อนอันกระทำความคับแค้น
เหล่านั้น ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้น ผู้พิจารณาเสพอยู่อย่างนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาสวะเหล่านี้
เรากล่าวว่า จะพึงละได้เพราะการพิจารณาเสพ.

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.พ. 2010, 14:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เป็นผู้อดกลั้นต่อหนาว ร้อน หิว ระหาย
เป็นผู้อดกลั้นต่อสัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดดและสัตว์เลื้อยคลาน

เป็นผู้มีชาติแห่งผู้อดกลั้นต่อถ้อยคำที่ผู้อื่นกล่าว ชั่วร้ายแรง

เป็นผู้อดกลั้นต่อเวทนาที่มีอยู่ในตัวซึ่งบังเกิดขึ้นเป็น ทุกข์กล้า แข็ง เผ็ดร้อน ไม่เป็นที่ยินดี ไม่เป็นที่
ชอบใจ อันจะคร่าชีวิตเสียได้ดังนี้.


ชื่อว่าขันติสังวร.

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แก้ไขล่าสุดโดย เช่นนั้น เมื่อ 01 ก.พ. 2010, 14:56, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.พ. 2010, 15:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ภิกษุ ย่อมอดกลั้น ย่อมละ ย่อมบรรเทา
กามวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมกระทำให้สิ้นสูญไป
ให้ถึงความไม่มี ดังนี้.
ชื่อว่าวิริยสังวร.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อาสวะเหล่าไหนที่จะพึงละได้เพราะความบรรเทา?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้วย่อมอดกลั้น ย่อมละ ย่อมบรรเทา
กามวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว ทำให้สิ้นสูญ ให้ถึงความไม่มี

ย่อมอดกลั้น ย่อมละ ย่อมบรรเทา พยาบาทวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว ทำให้สิ้นสูญ ให้ถึงความไม่มี

ย่อมอดกลั้น ย่อมละ ย่อมบรรเทา วิหิงสาวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว ทำให้สิ้นสูญ ให้ถึงความไม่มี

ย่อมอดกลั้น ย่อมละ ย่อมบรรเทาธรรมที่เป็นบาปอกุศลที่บังเกิดขึ้นแล้ว ทำให้สิ้นสูญ ให้ถึงความไม่มี

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อาสวะและความเร่าร้อนอันกระทำความคับแค้นเหล่าใด พึงบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น ผู้ไม่บรรเทาธรรมอันใดอันหนึ่ง
อาสวะและความเร่าร้อนอันกระทำความคับแค้นเหล่านั้น ย่อมไม่มีแก่ภิกษุผู้บรรเทาอยู่อย่างนี้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาสวะเหล่านี้ เรากล่าวว่า จะพึงละได้เพราะความบรรเทา.

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.พ. 2010, 15:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อาชีวปาริสุทธิสังวรแม้นั้น ท่านสงเคราะห์ด้วยวิริยสังวรนั่นแล.

พระอริยสาวกในพระศาสนานี้ ละมิจฉาอาชีวะ
เสียแล้ว สำเร็จชีวิตอยู่ด้วยสัมมาอาชีวะดังนี้
ชื่อว่าอาชีวปาริสุทธิสังวร.

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 15 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร