วันเวลาปัจจุบัน 17 พ.ค. 2025, 22:11  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 189 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 8, 9, 10, 11, 12, 13  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ย. 2009, 20:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ก่อนหน้าได้นำพุทธพจน์ที่ว่า ญาณอาศัยสัญญา ฯลฯ

แล้วก็มิใช่เพียงแต่เท่านั้น สติ เป็นต้นจะเกิดได้ก็ต้องอาศัยสัญญา

(ปทัฏฐานหรือเหตุใกล้ชิดที่จะให้เกิด สติ คือ สัญญา)

เพราะองค์ธรรมที่เกิดแต่ละขณะๆมีสัมปยุตธรรม คือ ธรรมที่ประกอบได้ตามสมควร



ทวนพุทธพจน์ดังกล่าวอีกครั้ง

“นี่แน่ะโปฏฐบาท สัญญาย่อมเกิดก่อน ญาณย่อมเกิดทีหลัง และเพราะสัญญาเกิดขึ้น

ญาณจึงเกิดขึ้น”



(ที.สี.9/288/230)


(ดูคำแปล ญาณ และความหมายคร่าวๆ)

-ญาณ ความหยั่งรู้ ความรู้บริสุทธิ์ ความรู้ตามสภาวะ

เมื่อญาณเกิดขึ้นแล้ว ก็ย่อมมีการกำหนดหมาย หรือหมายรู้ตามญาณนั้น

เกิดเป็นสัญญาใหม่ขึ้นอีก ญาณจึงทำให้เกิดสัญญา ซึ่งเป็นวัตถุดิบของความรู้และความคิดอื่น

สืบต่อไปอีก



(ดูหน้าที่สัญญาทางทวาร ๖)


สัญญา แบ่งเป็น ๖ ตามทางแห่งการรับรู้ คือ

๑ รูปสัญญา ความหมายรู้รูป เช่นว่า ดำ แดง ขาว เป็นต้น

๒. สัททสัญญา ความหมายรู้เสียง เช่นว่า ดัง เบา ทุ้ม แหลม เป็นต้น

๓. คันธสัญญา ความหมายรู้กลิ่น เช่นว่า หอม เหม็น เป็นต้น

๔.รสสัญญา ความหมายรู้รส เช่นว่า หวาน เปรี้ยว ขม เค็ม เป็นต้น

๕.โผฏฐัพพสัญญา ความหมายรู้สัมผัสทางกาย เช่นว่า อ่อน แข็ง หยาบ ละเอียด ร้อน เย็น

เป็นต้น

๖.ธัมมสัญญา ความหมายรู้ทางใจ เช่นว่า งาม น่าเกลียด เที่ยง ไม่เที่ยง เป็นต้น


(ดูความหมายหรือหน้าที่ของสัญญาสั้นๆ)

สัญญา ความกำหนดได้ หรือ ความหมายรู้ คือกำหนดรู้อาการเครื่องหมายลักษณะต่าง ๆ

อันเป็นเหตุให้จำอารมณ์นั้น ๆ ได้


(อารมณ์ หมายถึงสิ่งที่จิตรับรู้ หรือ สิ่งที่ถูกรับรู้โดยทวารทั้ง ๖ ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส

โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ (ความนึกคิดในใจ))


(สัญญา แบ่งย่อๆเป็นสองนำมาสั้นๆ)


ที่เรียกว่า กิเลสสัญญา หรือ อกุศลสัญญา ได้แก่ สัญญาซึ่งเกิดจากความคิดปรุงแต่งที่เป็นอกุศล

(ปปัญจสัญญา)

และที่เรียกว่า กุศลสัญญา คือ สัญญาที่เกิดจากความคิดดีงาม บ้าง

เรียกว่า วิชชาภาคิยสัญญา คือ สัญญาที่ช่วยให้เกิดวิชชาบ้าง



(ดูยาวลิงค์นี้)


viewtopic.php?f=2&t=23002&p=117951#p117951


สรุปตรงนี้ก็คือสัญญามีสองคือ อกุศลสัญญา กับกุศลสัญญา

แล้วกุศลสัญญานี่แหละที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ข้างต้นที่ทำให้เกิดญาณ....

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 29 ก.ย. 2009, 20:14, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ย. 2009, 12:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จะศึกษา เหตุเกิดและดับแ่หงสัญญา พร้อมทั้ง ความหมายของ สัญญาย่อมเกิดก่อน ญาณเกิดภายหลัง
อย่างรู้ความหมาย แท้ๆ ไม่ใช่ของเก๊ ต้องอ่านที่พระสูตร และอรรถกถา
เพื่อให้เกิดปัญญาในธรรม ตามพุทธประสงค์ แห่งการแสดงพระเทศนา แก่โปฏฐปาทปริพาชก
เชิญผู้สนใจติดตาม ที่ลิงค์ ที่แปะไว้ข้างล่าง

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑
ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค
๙. โปฏฐปาทสูตร
----------------
เรื่องปริพาชกโปฏฐปาทะ
http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=09&A=6029&Z=6776
เหตุเกิดและเหตุดับสัญญา
เมื่อเธอพิจารณาเห็นนิวรณ์ ๕ เหล่านี้ที่ละได้แล้วในตน ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อปราโมทย์
แล้วย่อมเกิดปิติ เมื่อมีปิติในใจ กายย่อมสงบ เธอมีกายสงบแล้ว ย่อมได้เสวยสุข เมื่อมีสุข
จิตย่อมตั้งมั่น. เธอสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติ
และสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ สัญญาเกี่ยวด้วยกามที่มีในก่อนของเธอย่อมดับ สัจจสัญญาอันละเอียด
มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวก ย่อมมีในสมัยนั้น เธอย่อมเป็นผู้มีสัจจสัญญาอันละเอียด มีปีติและ
สุขเกิดแต่วิเวกในสมัยนั้น สัญญาอย่างหนึ่งย่อมเกิดขึ้น เพราะการศึกษา สัญญาอย่างหนึ่ง
ย่อมดับไปเพราะการศึกษา
ด้วยประการอย่างนี้ แม้นี้ก็เป็นข้อที่จะพึงศึกษาอย่างหนึ่ง.

.....การเข้าอภิสัญญานิโรธ
[๒๘๖] ดูกรโปฏฐปาทะ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มิสกสัญญา เธอพ้นแล้วจากปฐมฌาน
จากทุติยฌานนั้นๆ แล้ว ย่อมได้บรรลุอากิญจัญญายตนฌานโดยลำดับ เมื่อเธอตั้งอยู่ในอากิญจัญญายตนฌานแล้ว ย่อมมีความปริวิตกอย่างนี้ว่า เมื่อเราคิดอยู่ก็ยังชั่ว เมื่อเราไม่คิดอยู่
จึงจะดี แต่ถ้าเรายัง ขืนคิดขืนคำนึง สัญญาของเราเหล่านี้พึงดับ สัญญาอย่างหยาบเหล่าอื่น
พึงเกิดขึ้น ถ้ากระไร เราไม่พึงคิด ไม่พึงคำนึง. ครั้นเธอปริวิตกอย่างนี้แล้ว เธอก็ไม่คิด ไม่คำนึง
เมื่อเธอไม่คิด ไม่คำนึง สัญญาเหล่านั้นก็ดับไป สัญญาที่หยาบเหล่าอื่นก็ไม่เกิดขึ้น เธอก็ได้
บรรลุนิโรธ. ดูกรโปฏฐปาทะ การเข้าอภิสัญญานิโรธแห่งภิกษุผู้มีสัมปชัญญะโดยลำดับ ย่อมมี
ด้วยประการอย่างนี้แล.........

ดูกรโปฏฐปาทะ พระโยคีย่อมบรรลุนิโรธด้วยประการใดๆ เราก็บัญญัติอากิญจัญญายตน-
*ฌานด้วยประการนั้นๆ เราบัญญัติอากิญจัญญายตนฌานอย่างเดียวบ้าง หลายอย่างบ้าง ด้วย
ประการอย่างนี้แล.
[๒๘๘] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สัญญาเกิดก่อน ญาณเกิดทีหลัง หรือว่าญาณเกินก่อน
สัญญาเกิดทีหลัง หรือทั้งสัญญาและญาณเกิดไม่ก่อนไม่หลังกัน.
ดูกรโปฏฐปาทะ สัญญาแลเกิดก่อน ญาณเกิดทีหลัง เพราะสัญญาเกิดขึ้นญาณจึงเกิดขึ้น
เธอย่อมรู้อย่างนี้ว่า ญาณเกิดขึ้นแก่เราเพราะสัญญานี้เป็นปัจจัย ดูกรโปฏฐปาทะ เธอพึงทราบ
ความข้อนี้โดยบรรยายนี้ว่า สัญญาเกิดก่อน ญาณเกิดทีหลัง เพราะสัญญาเกิดขึ้น ญาณจึง
เกิดขึ้น.


อรรถกถา ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค
โปฏฐปาทสูตร
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=9&i=275
.... อเหตุกสญฺญุปฺปาทนิโรธกถาวณฺณนา
.... บทว่า สญฺญา นุโข ภนฺเต ความว่า ปริพาชกทูลถามว่า สัญญาของภิกษุผู้เข้าถึงนิโรธ ย่อมเกิดขึ้นก่อนหรือพระเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์แก่ปริพาชกนั้นว่า สัญญาแลเกิดก่อน โปฏฐปาทะ. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สญฺญา ได้แก่ฌานสัญญา. บทว่า ญาณํ ได้แก่ วิปัสสนาญาณ. อีกนัย. บทว่า สญฺญา ได้แก่ วิปัสสนา. บทว่า ญาณํ ได้แก่ มรรคสัญญา. อีกนัย บทว่า สญฺญา ได้แก่ มรรคสัญญา. บทว่า ญาณํ ได้แก่ ผลญาณ.
ก็พระมหาสิวเถระผู้ทรงไตรปิฎกกล่าวว่า ภิกษุเหล่านี้พูดอะไรกัน โปฏฐปาทะได้ทูลถามนิโรธกะพระผู้มีพระภาคเจ้ามาแล้ว บัดนี้ เมื่อจะทูลถามถึงการออกจากนิโรธ จึงทูลว่าข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อภิกษุออกจากนิโรธ อรหัตตผลสัญญาเกิดก่อน หรือว่าปัจจเวกขณญาณเกิดก่อน ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแก่ปริพาชกนั้นว่า ผลสัญญาเกิดก่อน ปัจจเวกขณญาณเกิดทีหลัง เพราะฉะนั้น สัญญาแลเกิดก่อน โปฏฐปาทะ ดังนี้เป็นต้น.
ในบทเหล่านั้น บทว่า สญฺญุปฺปาทา ความว่า ความเกิดขึ้นแห่งปัจจเวกขณญาณย่อมมีอย่างนี้ว่า เพราะอรหัตตผลสัญญาเกิดขึ้น อรหัตตผลนี้จึงเกิดทีหลัง. บทว่า อิทปฺปจฺจยา กิร เม ความว่า นัยว่า ปัจจเวกขณญาณได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา เพราะผลสมาธิสัญญาเป็นปัจจัย.

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แก้ไขล่าสุดโดย เช่นนั้น เมื่อ 30 ก.ย. 2009, 12:53, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ย. 2009, 13:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ของแท้ต้องศึกษาจากชีวิตครับท่านเช่นนั้น ชีวิตเป็นๆ แต่ละชีวิตนี่แหละคือพระไตรปิฏก คือตำรา ที่

พระพุทธเจ้าศึกษามาก่อน

คุณหลงชีวิตแล้วท่านเช่นนั้น ถึงได้บอกว่าให้ไปต้มตำรากินสะ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ย. 2009, 13:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




oba41.gif
oba41.gif [ 18.27 KiB | เปิดดู 4762 ครั้ง ]
คุณนั่งลูบคลำตำรามองตัวหนังสือแล้วก็คิดว่า ธรรมะจะพุดออกมาจากตัวหนังสือนั้น

เหมือนคนบ้าหวยนั่งขูดต้นไม้ เห็นใยไม้เป็นเส้นๆ ขดๆงอๆก็ตีเป็นตัวเลข

คุณก็ฉันนั้น เห็นตัวหนังสือก็เดาเอาว่าจะเป็นธรรมะ ถูกไหมขอรับ

ต้องทำต้องปฏิบัติก่อนแล้วมาอ่านตำรา คุณยิ่งศึกษาศาสนายิ่งห่างไกลจากชีวิต มองธรรมเป็นของโผล่

ขึ้นจากตัวหนังสือ เหมือนคนเล่นหวยนั่งขูดต้นไม้ฉะนั้นแล :b12:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 30 ก.ย. 2009, 13:44, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ย. 2009, 14:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


บุคคลผู้มีปัญญาน้อย ไม่พิจารณาถึงพยัญชนะและ อรรถให้แจ่มแจ้ง
อีกทั้งยังทำพยัญชนะ และอรรถอันเป็นโลกุตตระ เพื่อนิพพาน เพื่อการดับทุกข์ อันเป็นสิ่งลึก ด้วยการอธิบายอย่างสะเปะสะปะ ไร้ความรู้ ไร้ปัญญา สรุปอย่างโง่เขลา เพื่อให้ยกธง เชิดชูทิฐิของตนเอง

อีกทั้งยังอวดภูมิ อวดโวหาร จนทำให้คนปฏิบัติตามเกิดความเครียด พอกพูนสักกายะทิฏฐิ
แนะนำสิ่งผิดๆ นอกพระไตร ด้วยอรรถนอกรีด ไม่เข้าร่องเข้ารอยแห่งพระศาสนา

อีกทั้งยังบิดเบือน เสริมแต่งพระสูตรตามอำเภอใจ
นับว่า เป็นอสัตตบุรุษโดยแท้

แสดงธรรมผิด ก็ควรจะยอมรับนะว่า แสดงธรรมผิด กรัชกายซัง

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ย. 2009, 14:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
บุคคลผู้มีปัญญาน้อย ไม่พิจารณาถึงพยัญชนะและ อรรถให้แจ่มแจ้ง
อีกทั้งยังทำพยัญชนะ และอรรถอันเป็นโลกุตตระ เพื่อนิพพาน เพื่อการดับทุกข์ อันเป็นสิ่งลึก ด้วยการอธิบายอย่างสะเปะสะปะ ไร้ความรู้ ไร้ปัญญา สรุปอย่างโง่เขลา เพื่อให้ยกธง เชิดชูทิฐิของตนเอง

อีกทั้งยังอวดภูมิ อวดโวหาร จนทำให้คนปฏิบัติตามเกิดความเครียด พอกพูนสักกายะทิฏฐิ
แนะนำสิ่งผิดๆ นอกพระไตร ด้วยอรรถนอกรีด ไม่เข้าร่องเข้ารอยแห่งพระศาสนา

อีกทั้งยังบิดเบือน เสริมแต่งพระสูตรตามอำเภอใจ
นับว่า เป็นอสัตตบุรุษโดยแท้

แสดงธรรมผิด ก็ควรจะยอมรับนะว่า แสดงธรรมผิด กรัชกายซัง



อ้าว...คิดไปถึงโลกุตระโน้นเลยเหรอท่านเช่นนั้น สมแล้วชานยายเฉิ่ม :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ย. 2009, 14:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ทำจิตเป็นสัมมาสมาธิก่อนครับ ระงับความฟุ้งซ่านทั้งหลายทั้งปวง จิตสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย สำรวมกาย สำรวมใจ ไม่วอกแวก ไม่ปล่อยให้อารมณ์ภายนอกมารบกวนจิตใจ
คุณแทนขวัญ อาจจะพิจารณา บทพระธรรมเทศนา สักบทหนึ่งให้เกิดความแช่มชื่นใจ เกิดปิติในธรรม
ตั้งใจว่า ละความยินดี ความพอใจ ละความไม่ยินดี ไม่พอใจ สนใจอย่างเดียวคือ บทพระธรรมเทศนา
น้อมจิตไปตามพระธรรมเทศนา บทที่เลือกไว้ แต่ถ้าไม่สะดวก ก็บริกรรม เพียงแค่ "ไม่ยินดี ไม่ยินร้ายต่ออารมณ์"

เช่นนั้น



บริกรรม เพียงแค่ "ไม่ยินดี ไม่ยินร้ายต่ออารมณ์"



เห็นวิธีที่คุณบ่นแล้ว ไม่รู้ว่า อะไร

ถามก็ไม่ตอบว่า จะให้เป็นอะไรนั่นน่า ไหนตอบหน่อยดิ จะให้เป็นอะไร จะเป็นสมถะ หรือ สมเถอะ

เป็นวิปัสสนา หรือ วิปัสสนึก หรือ วิปัสสิทธิ์ :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ย. 2009, 14:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อรู้เข้าใจคำว่า สัญญา แล้ว (สัญญาในที่นี้ก็คือสัญญาขันธ์นั่นเอง)
ดูความหมายคำว่า กาม กว้างๆบ้าง




“ภิกษุทั้งหลาย กามคุณมี ๕ อย่างดังนี้ คือ

รูปทั้งหลายที่รู้ได้ด้วยตา...

เสียงทั้งหลายทั้งหลายที่รู้ได้ด้วยหู...

กลิ่นทั้งหลายที่รู้ได้ด้วยจมูก...

รสทั้งหลายที่รู้ได้ด้วยลิ้น...

โผฏฐัพพะทั้งหลายที่รู้ได้ด้วยกาย ซึ่งน่าปรารถนา น่าใคร

น่าพอใจ น่ารัก ชักให้อยากได้ ชวนให้กำหนัด เหล่านี้แล คือ

กามคุณ ๕

อาศัยกามคุณ ๕ ประการเหล่านี้ มีความสุขความฉ่ำใจใดเกิดขึ้น

นี้ คือส่วนดี ของกามทั้งหลาย” นี้ เรียกว่า กามสุข”



“คำว่า กาม โดยหัวข้อ ได้แก่ กาม ๒ อย่างคือ

วัตถุกาม ๑

กิเลสกาม ๑

(วัตถุกาม วัตถุอันน่าใคร่, สิ่งที่อยากได้)

(กิเลสกาม กิเลสที่ทำให้ใคร่, ความอยากที่เป็นตัวกิเลส)


(สิ่งภายนอกก็มีสภาพของมันอย่างนั้น จึงไม่ต้องกำจัดสิ่งภายนอก แต่ท่านให้กำจัด

กิเลสภายในตน)


มีพุทธพจน์ว่า “อารมณ์วิจิตรทั้งหลายในโลก หาใช่เป็นกามไม่

ราคะที่เกิดจากความคิดของคน (ต่างหาก) เป็นกาม

อารมณ์อันวิจิตรทั้งหลายในโลกย่อมดำรงอยู่ (ตามสภาพของมัน)

อย่างนั้นเอง

ดังนั้น ธีรชนทั้งหลายจึงขจัด (แต่เพียง) ตัวความอยาก

(ตัณหาฉันทะ) ในอารมณ์อันวิจิตรเหล่านั้น (คือ มิใช่กำจัด

อารมณ์วิจิตร) “

(องฺ.ฉกฺก.22/334/460)



ข้อว่า กามสัญญา คือ การกำหนดหมาย หรือ หมายรู้สิ่งที่น่าใคร่น่าพอใจ

โดยสาระก็ได้แก่อกุศลสัญญานั่นเอง


ดังนั้นการปฏิบัติกรรมฐาน ด้วยวิถีการกำหนดได้ หรือ หมายรู้สภาวธรรมตามที่มันเป็น

เท่ากับการสั่งสมกุศลสัญญา หรือวิชชาภาคิยสัญญา ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดญาณ เป็นต้น นั่นแล

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ย. 2009, 14:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
จริญในธรรมยิ่งขึ้นไปครับ

กิเลสเครื่องกังวลใดมีอยู่ในกาลก่อน
เธอจงยังกิเลสเครื่องกังวลนั้น
ให้เหือดแห้งหายไป
กิเลสเครื่องกังวลใด
จงอย่ามีแก่เธอในภายหลัง
ถ้าเธอจักไม่ยึดถือขันธ์ในท่ามกลาง
ก็จักเป็นมุนีผู้สงบระงับแล้วเที่ยวไป....ดังนี้

เช่นนั้น

viewtopic.php?f=29&t=25898




ขอถามท่านเช่นนั้นผู้คงไตรปิฎกหน่อย ที่พิมพ์แปะไว้ทั้งดุ้นที่กระทู้หนึ่งนั่นน่ะ

ถามว่า ตัด "ดังนี้" ทิ้ง จะเป็นอะไรไหม จะตกนรกไหมขอรับ


ยังจะไม่ถามถึงความหมายศัทพ์อื่นๆ ตอบแค่นั้นก่อน :b12:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 30 ก.ย. 2009, 15:00, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ย. 2009, 15:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


นี่ๆ ท่านเช่นนั้น เท่าที่คุยกันมาเนี่ยนะ ยังไม่เห็นกึ่นอะไรในหัวของท่านเลยน่ะ ที่เห็นๆ ก็แต่ลอกๆ

ตำรามาแปะๆ แล้วก็หลับตาฝันถึงธรรมะ (ธรรมะในจินตนาการ) แล้วก็มีคำเพ้อเจ้อพกลมแถมๆมา

หน่อยแค่นั้นจริงๆ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ย. 2009, 16:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 ก.ย. 2009, 15:33
โพสต์: 4

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระสัทธรรม จะถูกทำให้บิดเบือนก็ด้วยทิฏฐิ-มานะของผู้ไม่ศึกษาโดยถ่องแท้
ปฏิบัติแบบหยาบๆ ตามใจปัสสนึก และกระทำ ละอรรถธรรม พยัญชนะเสีย
ด้วยคิดว่าเป็นของฟุ่มเฟื่อย เป็นเพียงสิ่งที่ขีดเขียนขึ้น
.....แล้วบังอาจเผยแพร่...
หาคิดย้อนระลึกสักนิดไม่ว่า....
การเดินทางของพระสัทธรรมนั้น ต้องอาศัยและดำรงอยู่กับ
ต้นฉบับที่พระอรหันตเจ้า 500 องค์ได้สืบไว้มา.....


น่าอนาถยิ่งใน Onion_L กรัชกาย


แก้ไขล่าสุดโดย สุตตะ เมื่อ 30 ก.ย. 2009, 17:28, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ย. 2009, 16:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


นั่นแน่แปลงร่างมาอีกแล้ว

ขอโทษอย่าต้องทำให้กรัชกายให้พูดรุนแรงเลยนะขอรับ

เชิญผู้ใช้นามว่า สุตตะ ออกไปก่อน หรือ ไม่ก็ไปตั้งกระทู้ใหม่เพื่อสนทนากับกรัชกายโดยเฉพาะ ถ้า

อย่างนี้โอเคเลย

กระทุ้นี้ กรัชกายจะโต้กับผู้ใช้นามว่า เช่นนั้น เท่านั้น เชิญออกไปก่อนขอรับ



ดูเหมือนบอกครั้งหนึ่งแล้วที่นี่ ว่าต้องการจะสนทนากับกรัชกายไปตั้งกระทู้ใหม่ เอาเป็นรายๆคนๆไป

viewtopic.php?f=2&t=25475&st=0&sk=t&sd=a&start=15

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 30 ก.ย. 2009, 16:56, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ย. 2009, 17:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




2%20%28118%29.gif
2%20%28118%29.gif [ 15.15 KiB | เปิดดู 4684 ครั้ง ]
นี่แน่ะท่านผู้ใช้นามว่า "สุตตะ" หากท่านคิดว่า มีอะไรจะสอนสั่งกรัชกาย เชิญที่ลิงค์นี้ครับ

กรัชกายยินดีรับฟังด้วยความเต็มใจ ไปเลยครับ

ตั้งกระทู้รอไว้แล้ว :b16: :b12:


http://www.free-webboard.com/look.php?n ... ati&qid=35

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ย. 2009, 17:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 ก.ย. 2009, 15:33
โพสต์: 4

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Onion_L

สุตตะขอรับ...มิได้สวมรอยใคร

เราได้อ่าน และจำกรัชกายได้ตั้งแต่สำแดงสัทธรรมปฏิรูป(ปลอม)ในเว็บธรรมะไทยแล้ว
...มีท่านผู้รู้ได้แสดงสัทธรรม แต่กรัชกายก็ดื้นรั้น

เราก็ได้แต่เห็นวัฏฏะของกรัชกาย

เมื่อได้เจอกรัชกายมาสำแดง ณ ที่นี้อีก ก็ดูเหมือนเดิม
ท่านเช่นนั้น ก็เมตตาต่อกรัชกายอยู่นะ ขออนุโมทนาด้วย

ได้แต่สะกิดเตือน ให้หันไปศึกษาใหม่ โดยสำคัญตรงที่กรัชกายทิ้งทิฏฐะเดิมเสียก่อนเทิด

สุตตะ cool


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ย. 2009, 17:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




207455.jpg
207455.jpg [ 74.16 KiB | เปิดดู 4634 ครั้ง ]
ไม่ได้สวมรอยก็เชิญออกไปครับ ไปตั้งกระทู้ใหม่เลย อย่างที่บอกว่ากระทู้นี้จะเอาไว้สนทนากับผู้ใข้นาม

ว่า เช่นนั้น เท่านั้น เข้าใจนะครับ :b12:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 01 ต.ค. 2009, 18:15, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 189 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 8, 9, 10, 11, 12, 13  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร