วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 21:51  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 189 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 5, 6, 7, 8, 9, 10, 11 ... 13  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ย. 2009, 17:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 10
สมาชิก ระดับ 10
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 พ.ย. 2008, 12:29
โพสต์: 814

ที่อยู่: กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
กรัชกายซัง

อ้างอิงคำพูด:
จงกรมมี 6 ระยะ (๖ ระยะพอแล้ว - บางแห่งไปสร้างเป็น ๗ ระยะ เพิ่มไม่คิด..เข้ามาอีก)
ดังนี้
ระยะที่ 1
ขวา … (เท้าข้างไหนก้าวก่อนก็ได้ไม่ตายตัว)
ย่าง … (ก้าวเดินรู้ตัว)
หนอ … (ถึงพื้น)
ซ้าย …(สติจับที่เท้าซ้าย...พร้อมยกขึ้น)
ย่าง ... (รู้สึกตัวว่ากำลังก้าวเดิน)
หนอ ...(ถึงพื้น)....
...

วิธีการแบบนี้ พระพุทธองค์ ตรัสสอนในพระสูตรไหน ที่อ้างอิงได้

เนื่องด้วยเป็นคำถามที่สำคัญอย่างมาก มีหลายคนที่นำคำถามในลักษณะนี้ไปถามตามเว็บต่างๆ
ซึ่งจึงต้องขอนำมาโพสท์ตอบ เพื่อให้ผู้ที่ปฏิบัติด้วยการเดินจงกรม ขวาย่างหนอ ซ้ายย่างหนอ ได้เข้าใจเหมือนกัน
และจะได้สิ้นความสงสัยอันเป็นภัยต่อการปฏิบัติได้และจะได้มีจิตศรัทธา+ตั้งมั่นได้ปฏิบัติต่อไปโดยวิธีนี้ให้เกิดผลยิ่งๆขึ้น


การเดินจงกรม ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคบาลี ภาค 3 ว่าด้วยปัญญานิเทส หน้า 251 บรรทัดที่ 5 ว่า
“ต โตเอกปทวารํ อุทฺธรณ อติหรณ วีติหรณ โวสฺสชฺชน สนฺนิกฺเขปน สนฺนิรุมฺภน วเสน ฉ
โกฏฐาเส กโรติฯ ตตฺถ อุทฺธรณํ นาม ปาทสฺส ภูมิโต อุกฺขิปนํฯ อติหรณํนาม ปุรโต หรณํฯ วีติ
หรณํ นาม ขาณุกณฺฏก ทีฆชาติ อาทีสุ กิญฺจิเทว ทิสฺวา อิโตจิโต ต ปาทสญฺจารณํฯ โวสฺสชฺชนํ
นาม ปาทสฺส ปุน ปาทุทฺธรณกาเล ปาทสฺส ปฐวียา สทฺธึ อภินิปฺปีฬนํฯ ตตฺถ อุทฺธรเณ ปฐวีธาตุ
อาโปธาตูติ เทฺว ธาตุโย โอมตฺตา โหนฺติ มนฺทา อิตราเทฺว อธิมตฺตา โหนฺติ พลวติโย ฯปฯ ตถา
สนฺนิกฺเขปน สนฺนิรุมภเนสุฯ เอวํ ฉ โกฏฐาเส กตฺวา เตสํ วเสน ตสฺมิ วโยวุฑฺฒตฺถคมรูเป
ติลกฺขณํ อาโรเปติ ฯ กถํฯ”


แปลอย่างเอาใจความว่า ขณะที่ก้าวเท้าไปแบ่งบทเดียวหรือก้าวเดียวให้เป็น 6 ส่วนหรือ 6 ระยะดังนี้คือ
1. อุทธรณะ ยกส้นเท้าขึ้น เรียกว่า ยกส้นหนอ
2. อติหรณะ ยกเท้าจะก้าวไปข้างหน้า เรียกว่า ยกหนอ
3. วีติหรณะ เมื่อเห็นตอ หนาม หรืองู (ในขณะนั้น) แล้วย้ายเท้าไปข้างนั้นข้างนี้ เรียกว่า ย้าย
หรือย่างหนอ
4. โวสสัชชนะ เมื่อลดเท้าต่ำลงเบื้องล่าง (ยังไม่ถึงพี้น) เรียกว่าลงหนอ
5. สันนิกเขปนะ วางเท้าทาบลงที่พื้นดินแล้วเรียกว่า เหยียบหรือถูกหนอ
6. สันนิรุมภนะ เมื่อจะยกเท้าก้าวไปข้างหน้าอีกก้าวหนึ่ง ต้องกดเท้าอีกข้างหนึ่งไว้กับดิน
เรียกว่า กดหนอ


ใน 6 ส่วนนี้ (พึงมีสติ สัมปชัญญะ พิจารณา โดยเห็นว่าเป็นไปได้ด้วยธาตุ 4) คือ เมื่อยกเท้าขึ้น ธาตุทั้ง 2
คือธาตุดินกับธาตุน้ำ มีกำลังน้อย (ต่ำ) ส่วนธาตุไฟและธาตุลม มีกำลังมากกว่า ในการย่างเท้าและย้าย
เท้าก็เช่นเดียวกัน (กับการยกเท้าขึ้น)
ส่วนการหย่อนเท้าลงนั้น ธาตุทั้ง 2 คือธาตุลมกับธาตุไฟมีกำลังน้อย ธาตุดินกับธาตุน้ำ มีกำลัง
มากกว่าในการเหยียบและกดก็เช่นเดียวกัน เมื่อทำเป็น 6 ส่วนอย่างนี้แล้ว จงยกขึ้นสู่ไตรลักษณ์
ดังต่อไปนี้ (ไม่ได้ยกบาลีมา) ธาตุที่ให้รูปไหวในขณะที่ยกเท้าขึ้น รูปยกเท้านั้นจะดับลง ในส่วนนี้เอง
ไม่ถึงส่วนย่างเท้า เหตุนั้นอุปาทายรูปแห่งธาตุเหล่านั้นอันใดก็ดี ธรรมทั้งปวงนั้นจึงชื่อว่าไม่เที่ยง เป็น
ทุกข์ เป็นอนัตตา
โดยทำนองเดียวกัน ธรรมทั้งหลายอันเป็นไปในส่วนย่างเท้า ก็ดับไปในส่วนย่างเท้านั้นเอง ไม่
ถึงส่วนย้ายเท้า ฯลฯ จงพิจารณาโดยนัยนี้ทั้ง 6 ระยะว่า สังขารทั้งหลายเมื่อเกิดขึ้นก็แตกดับไป เหมือน
เมล็ดงาที่ซัดลงในกระเบื้องร้อน ๆ (ที่ตั้งอยู่ตรงเตาไฟ) ย่อมแตกดังเปรี๊ยะ ๆ ดับไปฉะนั้น
เหตุนั้น สังขารทั้งหลายจึงชื่อว่า ไม่เที่ยง เพราะไม่เที่ยงจึงชื่อว่า เป็นทุกข์ เพราะเป็นทุกข์ จึงชื่อ
ว่าเป็นอนัตตา เป็นการเห็นแจ้งด้วยปัญญา
ในคัมภีร์วิสุทธิมัคค์ ท่านอธิบายไว้เช่นนี้ โยคีอย่าเข้าใจผิดว่าไม่เหมือนกับการเดิน 6 ระยะ ที่
ท่านอาจารย์ในสำนักวิเวกอาศรมสอน ที่ท่านเริ่มสอน “ซ้ายย่างหนอ ขวาย่างหนอ” นั้นถูกแล้ว เพราะ
เป็นการฝึกหัดเบื้องต้น ต้องหัดเป็นระยะ ๆ ไปตามกำลังของสมาธิและปัญญาที่เกิดขึ้นมาในขณะปฏิบัติ
ซึ่งมีสมาธิและวิริยะหย่อนกว่ากันอย่างไร ควรเดินจงกรมระยะไหนดี จึงจะเกิดปัญญาญาณจนครบ 16
ญาณได้
:b41: :b41:
:b39:

หมายเหตุ;
:b40: คัมภีร์วิสุทธิมรรค :b42: :b42:
มีเนื้อความครอบคลุมคำสอนทั้งหมดของพระพุทธเจ้า คือ กล่าวถึงเรื่อง ศีล สมาธิ และปัญญา

จัดเป็นคัมภีร์สำคัญฝ่ายเถรวาทคัมภีร์หนึ่งในชั้นนวัฎฐกถา รจนาขึ้น เมื่อหลังพุทธปรินิพพานประมาณ 956 ปี (ราวพุทธศตวรรษที่ 9) พระพุทธโฆสะอาศัยโบราณอรรถกถา 3 คัมภีร์ เป็นหลักใหญ่ในการแต่ง อรรถกถา 3 คัมภีร์ที่ว่านั้น คือ
1. มหาอรรถกถา เป็นคัมภีร์เดิมที่เคยผ่านการสังคายนาครั้งแรก อันมีพระมหากัสสปะเป็นประธานมาแล้ว และถูกถ่ายทอดเป็นภาษาสิงหลเมื่อสังคายนาครั้งที่ 3 ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ทรงส่งพระสาวกไปประกาศพระพุทธศาสนายังนานาประเทศ

2. มหาปัจจรีอรรถกถา แต่งขึ้นที่ประเทศลังกา

3. กุรุณทีอรรถกถา แต่งขึ้นที่ประเทศลังกาเช่นกัน
:b40: :b40: :b40:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ย. 2009, 18:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




024.gif
024.gif [ 36.1 KiB | เปิดดู 5759 ครั้ง ]
ขอบคุณข้อมูลของท่านอินทรีย์ ๕ :b8:

แต่กรัชกายว่า ท่านเช่นนั้นกับคุณ chefin เขาไม่ต้องการรู้หรอกครับ

กรัชกายรู้จริตท่านเหล่านี้

เดี๋ยวคุณจะถูกลากเข้าสู่สนามด้วย ปล่อยให้กรัชกายกับท่านทั้งสองหยิกๆแทงๆกันเถอะครับ :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ย. 2009, 18:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
งั้นขออนุญาติถามต่อเจ้าค่ะ คำว่า ซุง ท่านหมายถึง?
ท่านเช่นนั้นแบกซุงไว้เมื่อไหร่เจ้าคะ? ท่านจึงได้กล่าวว่าให้ เขาวางซุงลง
นี่ท่านยังปฏิเสธอยู่อีกไหมเจ้าคะ? ว่าท่านมิได้กล่าวโทษ ?
ในเมื่อเรื่องการแบกซุง วางซุงนี่มันมีนัยยะ อุปมาด้วยกุศลจิตของท่านหรือเจ้าคะ?
ปิสุณวาจา หมายความว่าเช่นไรท่านย่อมทราบอย่างดีนี่เจ้าค่ะ ท่านกรัชกาย

ขอบพระคุณเจ้าค่ะที่ท่านได้ตอบคำถามที่ดิฉันถามไปกลับมาเจ้าค่ะ
chefin



ท่านเช่นนั้นแบกซุงไว้เมื่อไหร่เจ้าคะ? ท่านจึงได้กล่าวว่าให้ เขาวางซุงลง


เจ้าครับ :b1:

จริงจังกะชีวิตเหลือเกินนะขอรับคุณแม่ chefin

ไม่ได้หมายความว่าท่านเช่นนั้นอะโป๊ะแบกท่อนซุงจริงๆดอกขอรับ :b9:

เป็นคำพูดเชิงอุปมาอุปไมยเปรียบเทียบสิ่งที่เค้ายึดถือมั่นไว้วางไม่ลงนั่นว่าเปรียบเสมือนซุง

หนักวางลงก่อน แค่นี้เอง

ไม่เคยเห็นซุงหรือท่อนซุงหรือขอรับ

เอางี้เคยเห็นขอนไม้ใหญ่ๆ ไหมขอรับ :b10:

อ้อ ไม่เคยเห็นหรอขอรับ :b20:

งั้นฟังเพลงนี้ :b32:

http://radio.sanook.com/music/player/%E ... B5/109543/

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 26 ก.ย. 2009, 18:33, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ย. 2009, 20:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 ส.ค. 2009, 02:28
โพสต์: 30

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




baby111.jpg
baby111.jpg [ 21.3 KiB | เปิดดู 5741 ครั้ง ]
Onion_L
แหม.....ท่านกรัชกายแกล้งทำไม่เข้าใจคำถามหรือว่า ไม่เข้าใจจริงๆเจ้าคะ?
สำรวมเจ้าค่ะ สำรวมและอ่านทบทวนให้ดีๆก่อนดีกว่าไหมเจ้าคะ?
อย่าใจร้อน..ไหนบอกชอบอ่อย ช้าๆ ไงเจ้าคะ
ทำไมใจร้อนรีบสรุปคำถามไม่พิจารณาให้ดีก่อนเจ้าคะ?


อ้างคำพูด:
เจ้าครับ

จริงจังกะชีวิตเหลือเกินนะขอรับคุณแม่ chefin

ไม่ได้หมายความว่าท่านเช่นนั้นอะโป๊ะแบกท่อนซุงจริงๆดอกขอรับ

เป็นคำพูดเชิงอุปมาอุปไมยเปรียบเทียบสิ่งที่เค้ายึดถือมั่นไว้วางไม่ลงนั่นว่าเปรียบเสมือนซุง

หนักวางลงก่อน แค่นี้เอง

ไม่เคยเห็นซุงหรือท่อนซุงหรือขอรับ

เอางี้เคยเห็นขอนไม้ใหญ่ๆ ไหมขอรับ

อ้อ ไม่เคยเห็นหรอขอรับ


งั้นขออนุญาติถามต่อเจ้าค่ะ คำว่า ซุง ท่านหมายถึง?
ท่านเช่นนั้นแบกซุงไว้เมื่อไหร่เจ้าคะ? ท่านจึงได้กล่าวว่าให้ เขาวางซุงลง
นี่ท่านยังปฏิเสธอยู่อีกไหมเจ้าคะ? ว่าท่านมิได้กล่าวโทษ ?
ในเมื่อเรื่องการแบกซุง วางซุงนี่มันมีนัยยะ อุปมาด้วยกุศลจิตของท่านหรือเจ้าคะ?
ปิสุณวาจา หมายความว่าเช่นไรท่านย่อมทราบอย่างดีนี่เจ้าค่ะ ท่านกรัชกาย

ขอบพระคุณเจ้าค่ะที่ท่านได้ตอบคำถามที่ดิฉันถามไปกลับมาเจ้าค่ะ

คราวนี้คงเข้าใจนัยยะของดิฉันแล้วน๊ะเจ้าคะ :b32:
ส่วนลิ้งค์เพลงของท่าน ก็ขอเชิญท่านฟังเองตามอัธยาศัยเถิดเจ้าค่ะ
สำหรับดิฉันแล้ว มิได้ใส่ใจนำพา ไปกับท่านด้วยหรอกเจ้าค่ะ :b16: :b32:
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ย. 2009, 20:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




m209077.jpg
m209077.jpg [ 43.19 KiB | เปิดดู 5707 ครั้ง ]
chefin เขียน:
Onion_L
แหม.....ท่านกรัชกายแกล้งทำไม่เข้าใจคำถามหรือว่า ไม่เข้าใจจริงๆเจ้าคะ?
สำรวมเจ้าค่ะ สำรวมและอ่านทบทวนให้ดีๆก่อนดีกว่าไหมเจ้าคะ?
อย่าใจร้อน..ไหนบอกชอบอ่อย ช้าๆ ไงเจ้าคะ
ทำไมใจร้อนรีบสรุปคำถามไม่พิจารณาให้ดีก่อนเจ้าคะ?


อ้างคำพูด:
เจ้าครับ

จริงจังกะชีวิตเหลือเกินนะขอรับคุณแม่ chefin

ไม่ได้หมายความว่าท่านเช่นนั้นอะโป๊ะแบกท่อนซุงจริงๆดอกขอรับ

เป็นคำพูดเชิงอุปมาอุปไมยเปรียบเทียบสิ่งที่เค้ายึดถือมั่นไว้วางไม่ลงนั่นว่าเปรียบเสมือนซุง

หนักวางลงก่อน แค่นี้เอง

ไม่เคยเห็นซุงหรือท่อนซุงหรือขอรับ

เอางี้เคยเห็นขอนไม้ใหญ่ๆ ไหมขอรับ

อ้อ ไม่เคยเห็นหรอขอรับ


งั้นขออนุญาติถามต่อเจ้าค่ะ คำว่า ซุง ท่านหมายถึง?
ท่านเช่นนั้นแบกซุงไว้เมื่อไหร่เจ้าคะ? ท่านจึงได้กล่าวว่าให้ เขาวางซุงลง
นี่ท่านยังปฏิเสธอยู่อีกไหมเจ้าคะ? ว่าท่านมิได้กล่าวโทษ ?
ในเมื่อเรื่องการแบกซุง วางซุงนี่มันมีนัยยะ อุปมาด้วยกุศลจิตของท่านหรือเจ้าคะ?
ปิสุณวาจา หมายความว่าเช่นไรท่านย่อมทราบอย่างดีนี่เจ้าค่ะ ท่านกรัชกาย

ขอบพระคุณเจ้าค่ะที่ท่านได้ตอบคำถามที่ดิฉันถามไปกลับมาเจ้าค่ะ

คราวนี้คงเข้าใจนัยยะของดิฉันแล้วน๊ะเจ้าคะ :b32:
ส่วนลิ้งค์เพลงของท่าน ก็ขอเชิญท่านฟังเองตามอัธยาศัยเถิดเจ้าค่ะ
สำหรับดิฉันแล้ว มิได้ใส่ใจนำพา ไปกับท่านด้วยหรอกเจ้าค่ะ :b16: :b32:





ในเมื่อเรื่องการแบกซุง วางซุงนี่มันมีนัยยะ อุปมาด้วยกุศลจิตของท่านหรือเจ้าคะ?
ปิสุณวาจา หมายความว่าเช่นไรท่านย่อมทราบอย่างดีนี่เจ้าค่ะ ท่านกรัชกาย



อยากรู้ใจกรัชกายว่าเป็นกุศลหรือไม่ ก็เข้ามานั่งในใจของกรัชกายสิขอรับ แล้วจะรู้

ก็เท่านี้เองไม่เห็นมีอะไรต้องวิตกวิจารปีติสุขเอกัคคตาเลยนิขอรับ :b1:


ส่วนลิ้งค์เพลงของท่าน ก็ขอเชิญท่านฟังเองตามอัธยาศัยเถิดเจ้าค่ะ
สำหรับดิฉันแล้ว มิได้ใส่ใจนำพา ไปกับท่านด้วยหรอกเจ้าค่ะ


หรือครับ สำรวมอินทรีย์หรือขอรับ :b10:

อ้อกำลังประคองชานที่ว่าอยู่ :b25:

ถ้างั้นก็เปลี่ยนเป็นดอกบัวแล้วกันนะขอรับ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 26 ก.ย. 2009, 22:28, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ย. 2009, 01:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 ก.ย. 2009, 23:02
โพสต์: 530

แนวปฏิบัติ: เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุตติ ด้วยอานาปานสติ
งานอดิเรก: อ่านพระไตรปิฎก
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


tongue
เช่นนั้น เขียน:
พระไตรปิฏก เป็นคัมภีร์ที่รวบรวม พุทธพจน์ ซึ่งเป็นพระธรรมเทศนาของพระพุทธองค์
และรับรองโดยพระอรหันต์มาแต่ครั้นทำสังคายนา ไม่ใช่คัมภีร์ ที่ท่านคิดว่าเป็นการแต่งเรียบเรียงขึ้นเอาเอง .


ขณะนี้ก็คงต้องอาศัยพระสัทธรรมที่จารึกคำสอนไว้ในพระไตรปิฎก อย่างคุณเช่นนั้นกล่าว
เพราะการสังคายนาพระไตรปิฎก ไม่ได้ทำเพียงคนใดคนหนึ่ง แต่เป็นหมู่บัณฑิตที่มีการสอบทานกัน

ขอบคุณ คุณเช่นนั้นที่มาจุดประกายความคิดนี้ค่ะ......สาธุ
tongue


ดูกรวักกลิ ผู้ใดแล เห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าย่อมเห็นเรา ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นชื่อว่าย่อมเห็นธรรม.
วักกลิ เป็นความจริง บุคคลเห็นธรรม ก็ย่อมเห็นเรา บุคคลเห็นเราก็ย่อมเห็นธรรม

จาก พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙ สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค วักกลิสูตร


ดูกรอานนท์
บางทีพวกเธอจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า ปาพจน์มีพระศาสดาล่วงแล้ว พระศาสดาของพวกเราไม่มี
ก็ข้อนี้ พวกเธอไม่พึงเห็นอย่างนั้น
ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น
จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา


จากพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒ ทีฆนิกาย มหาวรรค มหาปรินิพพานสูตร

เช่นนั้น เขียน:
พระอรหันต์ท่านทุ่มเทแรงกายแรงใจ ในการรวบรวมพุทธพจน์ให้เป็นหมวดหมู่นะครับ
ไม่ใช่ใส่ความคิดความเห็นลงไปแล้วเรียบเรียงใหม่ ให้ตรงตามทิฏฐิของตนเหมือนกับตำราในปัจจุบันครับ
ดังนั้นการที่ท่านเรียกว่าท่อนซุง ท่านกำลังดูหมิ่นพระไตรปิฏกนะครับ


บุญย่อมเจริญแก่ผู้ให้ เวรย่อมไม่ก่อแก่ผู้สำรวมอยู่
คนฉลาดเทียว ย่อมละกรรมอันลามก
เขาดับแล้วเพราะราคะ โทสะ โมหะ สิ้นไป ฯ

จากพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒ ทีฆนิกาย มหาวรรค มหาปรินิพพานสูตร


.....................................................


ผลกล้วยแลย่อมฆ่าต้นกล้วย
ขุยไผ่ย่อมฆ่าต้นไผ่
ขุยอ้อย่อมฆ่าต้นอ้อ
สักการะย่อมฆ่าบุรุษชั่ว
เหมือนลูกในท้องฆ่าแม่ม้าอัสดร ฉะนั้น ฯ



:b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41:


แก้ไขล่าสุดโดย กระบี่ไร้เงา เมื่อ 27 ก.ย. 2009, 01:36, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ย. 2009, 07:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




m208749.gif
m208749.gif [ 23.74 KiB | เปิดดู 5656 ครั้ง ]
อ้างคำพูด:
อ้างอิงคำพูด:
ดูกรวักกลิ ผู้ใดแล เห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าย่อมเห็นเรา ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นชื่อว่าย่อมเห็นธรรม.
วักกลิ เป็นความจริง บุคคลเห็นธรรม ก็ย่อมเห็นเรา บุคคลเห็นเราก็ย่อมเห็นธรรม

กระบี้ไร้เงา



สวัสดีครับ คุณกระบี่ ฯ :b8:

แม้คุณจะเพิ่งเข้าร่วม แต่น่าจะอ่านพระไตรปีฎกมาพอสมควร

คาถานี้ สมาชิกท่านหนึ่งนำมาพูดบ่อยๆครับว่า ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่า เห็นเรา

(โย ธมฺมํ ปสฺสติ โส มํ ปสฺสติ) ฯลฯ

ครั้นมีคนถาม ว่าเห็น ธรรม อะไร ศัพท์ “ธรรม” เนี่ย ได้แก่ ธรรม ข้อใด ก็ไม่มีคำตอบ

กรัชกายขออนุญาตถามคุณกระบี่ ฯ เป็นธรรมทานขอรับว่า “ธรรม” ในที่นี้ ได้แก่ธรรมข้อใด

คือว่า เห็น ธรรมข้อใดครับ (ผู้ให้ธรรมะเป็นทาน ย่อมชนะการให้ทั้งปวง)

ขอบพระคุณครับ :b8:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 27 ก.ย. 2009, 08:07, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ย. 2009, 09:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 ก.ย. 2009, 23:02
โพสต์: 530

แนวปฏิบัติ: เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุตติ ด้วยอานาปานสติ
งานอดิเรก: อ่านพระไตรปิฎก
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


tongue
กรัชกาย เขียน:
สวัสดีครับ คุณกระบี่ ฯ :b8:

แม้คุณจะเพิ่งเข้าร่วม แต่น่าจะอ่านพระไตรปีฎกมาพอสมควร

คาถานี้ สมาชิกท่านหนึ่งนำมาพูดบ่อยๆครับว่า ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่า เห็นเรา

(โย ธมฺมํ ปสฺสติ โส มํ ปสฺสติ) ฯลฯ

ครั้นมีคนถาม ว่าเห็น ธรรม อะไร ศัพท์ “ธรรม” เนี่ย ได้แก่ ธรรม ข้อใด ก็ไม่มีคำตอบ

กรัชกายขออนุญาตถามคุณกระบี่ ฯ เป็นธรรมทานขอรับว่า “ธรรม” ในที่นี้ ได้แก่ธรรมข้อใด

คือว่า เห็น ธรรมข้อใดครับ (ผู้ให้ธรรมะเป็นทาน ย่อมชนะการให้ทั้งปวง)


คงต้องเอามะพร้าวห้าวมาขายสวนหน่อยกระมังคะคุณกรัชกาย เป็นธรรมเนียมรับน้องใหม่กระมังคะ
แต่ก็ยินดีนะคะ

จาก พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
สีสปาปรรณวรรคที่ ๔ สีสปาสูตร

พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ สีสปาวัน ใกล้เมืองโกสัมพี ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงถือ
ใบประดู่ลาย ๒-๓ ใบด้วยฝ่าพระหัตถ์ แล้วตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมา แล้วตรัสถามว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ใบประดู่ลาย ๒-๓ ใบที่เราถือด้วยฝ่ามือกับใบที่บนต้น
ไหนจะมากกว่ากัน?

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ใบประดู่ลาย ๒-๓ ใบที่พระผู้มีพระภาคทรงถือด้วยฝ่าพระหัตถ์มีประมาณน้อย
ที่บนต้นมากกว่า พระเจ้าข้า.

พ. อย่างนั้นเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่เรารู้แล้วมิได้บอกเธอทั้งหลายมีมาก
ก็เพราะเหตุไรเราจึงไม่บอก
เพราะสิ่งนั้นไม่ประกอบด้วยประโยชน์ มิใช่พรหมจรรย์เบื้องต้น
ย่อมไม่เป็นไปเพื่อความหน่าย ความคลายกำหนัด ความดับ ความสงบ ความรู้ยิ่ง ความตรัสรู้ นิพพาน
เพราะเหตุนั้น เราจึงไม่บอก


ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สิ่งอะไรเราได้บอกแล้ว เราได้บอกแล้วว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
ก็เพราะเหตุไรเราจึงบอก

เพราะสิ่งนั้นประกอบด้วยประโยชน์ เป็นพรหมจรรย์เบื้องต้น
ย่อมเป็นไปเพื่อความหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง
เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน เพราะฉะนั้น เราจึงบอก


ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า
นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา


สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ
สพฺพรสํ ธมฺมรโส ชินาติ
สพฺพรตึ ธมฺมรติ ชินาติ
ตณฺหกฺขโย สพฺพทุกฺขํ ชินาติ

tongue เจริญในธรรมค่ะ

.....................................................


ผลกล้วยแลย่อมฆ่าต้นกล้วย
ขุยไผ่ย่อมฆ่าต้นไผ่
ขุยอ้อย่อมฆ่าต้นอ้อ
สักการะย่อมฆ่าบุรุษชั่ว
เหมือนลูกในท้องฆ่าแม่ม้าอัสดร ฉะนั้น ฯ



:b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ย. 2009, 12:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา



คุณกระบี่ ฯ นี่นะหรือครับ=>

นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา

"ธรรม" ที่คุณว่า => ดูกรวักกลิ ผู้ใดแล เห็น ธรรม ผู้นั้นชื่อว่าย่อมเห็นเรา ผู้ใดเห็น

เรา ผู้นั้นชื่อว่าย่อมเห็นธรรม. วักกลิ เป็นความจริง บุคคลเห็นธรรม ก็ย่อมเห็นเรา บุคคลเห็นเราก็ย่อม

เห็นธรรม

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 27 ก.ย. 2009, 12:21, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ย. 2009, 13:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 ก.ย. 2009, 23:02
โพสต์: 530

แนวปฏิบัติ: เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุตติ ด้วยอานาปานสติ
งานอดิเรก: อ่านพระไตรปิฎก
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


tongue

กรัชกาย เขียน:
คุณกระบี่ ฯ นี่นะหรือครับ=>

นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา


"ธรรม" ที่คุณว่า => ดูกรวักกลิ ผู้ใดแล เห็น ธรรม ผู้นั้นชื่อว่าย่อมเห็นเรา ผู้ใดเห็น

เรา ผู้นั้นชื่อว่าย่อมเห็นธรรม. วักกลิ เป็นความจริง บุคคลเห็นธรรม ก็ย่อมเห็นเรา บุคคลเห็นเราก็ย่อม

เห็นธรรม


ปัญญาของปุถุชน ที่ยังเวียนว่ายตายเกิดค่ะ คุณกรัชกาย
ย่อมตีความตามปัญญาของตน ตามภูมิรู้ ภูมิธรรมของตนค่ะ

ดิฉันยกพระสูตรมาประกอบเพื่อให้เห็นว่า
พระองค์ไม่ตรัสเรื่องที่ นอกเหนือจากใบไม้ในฝ่าพระหัตถ์ เพราะ

สิ่งที่เรารู้แล้วมิได้บอกเธอทั้งหลายมีมาก
ก็เพราะเหตุไรเราจึงไม่บอก
เพราะสิ่งนั้นไม่ประกอบด้วยประโยชน์ มิใช่พรหมจรรย์เบื้องต้น
ย่อมไม่เป็นไปเพื่อความหน่าย ความคลายกำหนัด ความดับ ความสงบ ความรู้ยิ่ง ความตรัสรู้ นิพพาน
เพราะเหตุนั้น เราจึงไม่บอก


หรือคุณกรัชกาย ทราบพระประสงค์ ทราบพระดำริของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ทรงหมายถึง "ธรรม" ใด
ที่นอกเหนือไปจาก "ธรรม" ในฝ่าพระหัตถ์คะ

ยินดีรับฟังค่ะ เพื่อเป็นธรรมทานค่ะ
สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ

กระบี่ไร้เงา เขียน:

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ใบประดู่ลาย ๒-๓ ใบที่เราถือด้วยฝ่ามือกับใบที่บนต้น
ไหนจะมากกว่ากัน?

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ใบประดู่ลาย ๒-๓ ใบที่พระผู้มีพระภาคทรงถือด้วยฝ่าพระหัตถ์มีประมาณน้อย
ที่บนต้นมากกว่า พระเจ้าข้า.

พ. อย่างนั้นเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่เรารู้แล้วมิได้บอกเธอทั้งหลายมีมาก
ก็เพราะเหตุไรเราจึงไม่บอก
เพราะสิ่งนั้นไม่ประกอบด้วยประโยชน์ มิใช่พรหมจรรย์เบื้องต้น
ย่อมไม่เป็นไปเพื่อความหน่าย ความคลายกำหนัด ความดับ ความสงบ ความรู้ยิ่ง ความตรัสรู้ นิพพาน

เพราะเหตุนั้น เราจึงไม่บอก


ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สิ่งอะไรเราได้บอกแล้ว เราได้บอกแล้วว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
ก็เพราะเหตุไรเราจึงบอก

เพราะสิ่งนั้นประกอบด้วยประโยชน์ เป็นพรหมจรรย์เบื้องต้น
ย่อมเป็นไปเพื่อความหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง
เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน เพราะฉะนั้น เราจึงบอก


ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า
นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา


tongue เจริญในธรรมค่ะ

.....................................................


ผลกล้วยแลย่อมฆ่าต้นกล้วย
ขุยไผ่ย่อมฆ่าต้นไผ่
ขุยอ้อย่อมฆ่าต้นอ้อ
สักการะย่อมฆ่าบุรุษชั่ว
เหมือนลูกในท้องฆ่าแม่ม้าอัสดร ฉะนั้น ฯ



:b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41:


แก้ไขล่าสุดโดย กระบี่ไร้เงา เมื่อ 27 ก.ย. 2009, 15:00, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ย. 2009, 14:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ปัญญาของปุถุชน ที่ยังเวียนว่ายตายเกิดค่ะ คุณกรัชกาย
ย่อมตีความตามปัญญาของตน ตามภูมิรู้ ภูมิธรรมของตนค่ะ


นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา



ขออีกคำถามนะครับ

ใบไม้ในกำมือ หรือ “ธรรม” ซึ่งก็ได้แก่ธรรมที่ตรัสแก่พระวักกลิ => นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย

นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา


ยังต้องนำไปตีความอีก แล้วปุถุชนก็ตียากคือตีได้ก็ตีไปตามปัญญาของตน เพราะยังต้องเวียนว่ายตาย

เกิดอยู่ แล้วใครพอจะตีความได้ขอรับ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ย. 2009, 14:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 ก.ย. 2009, 23:02
โพสต์: 530

แนวปฏิบัติ: เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุตติ ด้วยอานาปานสติ
งานอดิเรก: อ่านพระไตรปิฎก
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


tongue
กรัชกาย เขียน:
ขออีกคำถามนะครับ

ใบไม้ในกำมือ หรือ “ธรรม” ซึ่งก็ได้แก่ธรรมที่ตรัสแก่พระวักกลิ => นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย

นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา


ยังต้องนำไปตีความอีก แล้วปุถุชนก็ตียากคือตีได้ก็ตีไปตามปัญญาของตน เพราะยังต้องเวียนว่ายตาย

เกิดอยู่ แล้วใครพอจะตีความได้ขอรับ


นี่ไงคะ จึงต้องมาเจริญปัญญา กันไงคะ ให้ได้อินทรีย์ ๓ ไงคะท่านกรัชกาย
เจริญให้ได้อินทรีย์ทั้ง ๓ นี้ค่ะ

ตังกระทู้ใหม่ดีไหมคะ ดิฉันเป็นน้องใหม่ ยังตั้งกระทู้ใหม่ไม่เป็นค่ะ คงต้องอาศัยรุ่นพี่(ใหญ่) นี้แล้วค่ะ


tongue เจริญในธรรมค่ะ

.....................................................


ผลกล้วยแลย่อมฆ่าต้นกล้วย
ขุยไผ่ย่อมฆ่าต้นไผ่
ขุยอ้อย่อมฆ่าต้นอ้อ
สักการะย่อมฆ่าบุรุษชั่ว
เหมือนลูกในท้องฆ่าแม่ม้าอัสดร ฉะนั้น ฯ



:b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ย. 2009, 15:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 ส.ค. 2009, 02:28
โพสต์: 30

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




2577.jpg
2577.jpg [ 49.17 KiB | เปิดดู 5581 ครั้ง ]
smiley
สวัสดีค่ะท่านกรัชกายและท่านกระบี่ไร้เงารวมทั้งบัณฑิตทุกๆท่าน
อนุโมทนากับธรรมทานที่ทั้งสองท่านได้สนทนาและแสดงธรรมเจ้าค่ะ
ขออนุญาติร่วมสนทนาและนำพระสัทธรรมมาช่วยไขข้อข้องใจของท่านกรัชกาย
ซึ่งดิฉันคิดว่าเป็นประโยชน์แด่ผู้ใฝ่ในธรรมท่านอื่นๆบ้างเจ้าค่ะ :b8:


อ้างคำพูด:
กรัชกาย
ขออีกคำถามนะครับ

ใบไม้ในกำมือ หรือ “ธรรม” ซึ่งก็ได้แก่ธรรมที่ตรัสแก่พระวักกลิ => นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย

นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา

ยังต้องนำไปตีความอีก แล้วปุถุชนก็ตียากคือตีได้ก็ตีไปตามปัญญาของตน เพราะยังต้องเวียนว่ายตาย

เกิดอยู่ แล้วใครพอจะตีความได้ขอรับ cool



ผู้ที่มีฉันทะใฝ่ในธรรม เขาผู้นั้นย่อมขวนขวายมิใช่หรือเจ้าคะท่านกรัชกาย?
เหมือนเช่นที่พวกเราทุกๆคนได้กระทำอยู่ ทุกคนต้องเริ่มจากศูนย์ทั้งสิ้น
ปัจจัตตัง วิญญูหิ เจ้าค่ะ :b1:


[๒๖๕] ดูกรกัสสป อีกข้อหนึ่งเล่า วิญญูชน จงซักไซ้ไล่เลียงสอบสวนพวกเรา
เปรียบเทียบครูด้วยครู เปรียบเทียบหมู่ด้วยหมู่ว่า ธรรมทั้งหลายของท่านพวกนี้ เหล่าใดเป็นกุศล
นับว่าเป็นกุศล ไม่มีโทษ นับว่าไม่มีโทษ ควรเสพนับว่าควรเสพ เป็นธรรมประเสริฐ นับว่า
เป็นธรรมประเสริฐ และเป็นฝ่ายขาว นับว่าเป็นฝ่ายขาว ใครสมาทานธรรมเหล่านี้ได้ไม่มีเหลือ
ประพฤติอยู่ หมู่สาวกของพระโคดมหรือหมู่สาวกของคณาจารย์ผู้เจริญเหล่าอื่น ดูกรกัสสป
ก็ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ คือ วิญญูชน เมื่อซักไซ้ไล่เลียงสอบสวน พึงกล่าวอย่างนี้ว่าธรรม
ของท่านพวกนี้ เหล่าใดเป็นกุศล นับว่าเป็นกุศล ไม่มีโทษ นับว่าไม่มีโทษ ควรเสพ นับว่า
ควรเสพ เป็นธรรมประเสริฐ นับว่าเป็นธรรมประเสริฐ และเป็นฝ่ายขาว นับว่าเป็นฝ่ายขาว
หมู่สาวกของพระโคดมสมาทานธรรมเหล่านี้ได้ไม่มีเหลือประพฤติอยู่ หรือหมู่สาวกของคณาจารย์
ผู้เจริญเหล่าอื่น ดูกรกัสสป วิญญูชนในโลกนี้ เมื่อซักไซ้ไล่เลียงสอบสวน ดังนี้ โดยมากพึง
สรรเสริญพวกเราพวกเดียวในข้อนั้น.
ดูกรกัสสป มรรคามีอยู่ ปฏิปทามีอยู่
บุคคลปฏิบัติตามแล้ว จักรู้เอง จักเห็นเองว่า
พระสมณโคดมกล่าวตามกาล กล่าวจริง กล่าวอรรถ กล่าวธรรม กล่าววินัย

ดูกรกัสสป มรรคาเป็นไฉน ปฏิปทาเป็นไฉน ที่
บุคคลปฏิบัติตามแล้ว จักรู้เอง จักเห็นเองว่า พระสมณ
โคดมกล่าวตามกาล กล่าวจริง กล่าวอรรถ กล่าวธรรม กล่าววินัย มรรคาประกอบด้วยองค์ ๘

อันประเสริฐนี้ คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ เจรจาชอบ การงานชอบ เลี้ยงชีพชอบ
พยายามชอบ ระลึกชอบ ตั้งใจชอบ ดูกรกัสสป มรรคานี้แล ปฏิปทานี้แล ที่บุคคลปฏิบัติ
ตามแล้ว จักรู้เอง จักเห็นเองว่า พระสมณโคดมกล่าวตามกาล กล่าวจริง กล่าวอรรถ กล่าวธรรม
กล่าววินัย. :b8: :b8:

http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/r ... &A=5341&w=กถาว่าด้วยการสมาทานกุศล


แก้ไขล่าสุดโดย chefin เมื่อ 27 ก.ย. 2009, 15:29, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ย. 2009, 16:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ปัจจัตตัง วิญญูหิ



คุณ chefin อะไรครับ "ปัจจัตตัง วิญญูหิ" ไม่ค่อยเข้าใจ อธิบายขยายความสักหน่อยนะครับ

ได้แก่อะไร :b31:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ย. 2009, 16:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




208790.jpg
208790.jpg [ 63.41 KiB | เปิดดู 5551 ครั้ง ]
ท่านเช่นนั้นหายไปไหนหนอ หรือว่าเดินประคองชานตกท้องร่องไปแล้ว :b32:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 27 ก.ย. 2009, 16:22, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 189 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 5, 6, 7, 8, 9, 10, 11 ... 13  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร