วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 22:28  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 189 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 4, 5, 6, 7, 8, 9, 10 ... 13  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ย. 2009, 02:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อกรัชกายซัง ไม่คิดที่จะเปิดพระไตรปิฏกแล้วศึกษา กามสัญญา
ตอนนี้ก็ถึงเวลาอันควรแล้วที่จะแสดงเรื่องกามสัญญา ที่กรัชกาย ไม่รู้จัก

Quote Tipitaka:
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗
สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
จันทนสูตรที่ ๕
[๒๖๐] จันทนเทวบุตร ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้
กราบทูลพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า
บุคคลผู้ไม่เกียจคร้านทั้งกลางคืนและกลางวัน จะข้ามโอฆะ
ได้อย่างไรสิ ใครจะไม่จมในห้วงน้ำลึก อันไม่มีที่พึ่งพิง
ไม่มีที่ยึดเหนี่ยว ฯ
[๒๖๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยศีล ในกาลทุกเมื่อ มีปัญญา มีใจ
ตั้งมั่นดีแล้ว ปรารภความเพียร มีตนส่งไปแล้ว ย่อมข้าม
โอฆะที่ข้ามได้ยาก เขาเว้นขาดแล้วจากกามสัญญา ล่วงรูป
สัญโญชน์ได้ มีภพเป็นที่เพลิดเพลินสิ้นไปแล้ว ย่อมไม่จม
ในห้วงน้ำลึก ฯ


อรรถกถา สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เทวปุตตสังยุต อนาถปิณฑิกวรรคที่ ๒
จันทนสูตรที่ ๕
อรรถกถาจันทนสูตรที่ ๕
พึงทราบวินิจฉัยในจันทนสูตรที่ ๕ ต่อไป :-
บทว่า อปฺปติฏฺเฐ อนาลมฺเพ ได้แก่ ไม่มีที่พึ่งในเบื้องต่ำ ไม่มีที่ยึดในเบื้องบน.
บทว่า สุสมาหิโต ได้แก่ ตั้งมั่นด้วยดีด้วยอัปปนาสมาธิบ้าง ด้วยอุปจารสมาธิบ้าง.
บทว่า ปหิตตฺโต แปลว่า มีตนส่งไปแล้ว
บทว่า นนฺทิภวปริกฺขีโณ แปลว่า สิ้นภพเป็นที่เพลิดเพลินแล้ว.
อภิสังขาร คือ กรรม ๓ [ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขารและอเนญชาภิสังขาร] ชื่อว่าภพเป็นที่เพลิดเพลิน. ดังนั้น ในพระคาถานี้ สังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถือเอาด้วยศัพท์ว่า กามสัญญา. สังโยชน์เบื้องบน ๕ ทรงถือเอาด้วยศัพท์ว่า รูปสังโยชน์. อภิสังขารคือกรรม ๓ ทรงถือเอาด้วยศัพท์ว่า นันทิภพ.
ผู้ใดละสังโยชน์ ๑๐ และอภิสังขารคือกรรม ๓ ได้อย่างนี้ ผู้นั้นย่อมไม่จมลงในโอฆะใหญ่ที่ลึก.
อีกนัยหนึ่ง กามภพทรงถือเอาด้วยกามสัญญา รูปภพทรงถือเอาด้วยรูปสังโยชน์ อรูปภพทรงถือเอาด้วยศัพท์ทั้งสองนั้น อภิสังขารคือกรรม ๓ ทรงถือเอาด้วยนันทิภพ.
เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงแสดงแม้ว่า ผู้ใดไม่มีสังขาร ๓ ในภพ ๓ อย่างนี้ ผู้นั้นย่อมไม่จมลงในห้วงน้ำลึก ดังนี้.

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แก้ไขล่าสุดโดย เช่นนั้น เมื่อ 26 ก.ย. 2009, 03:23, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ย. 2009, 02:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกายซัง ก็คงไม่เข้าใจอยู่ดีกระมังครับ ว่า กามคืออะไร สัญญาในกามเป็นกามสัญญาเพราะ มีสัญญาในอะไร
ศึกษาพระสูตรต่อนะครับ
Quote Tipitaka:
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๒
ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส
อชิตมาณวกปัญหานิทเทส
ว่าด้วยปัญหาของท่านอชิตะ
[๙๕] ........... กามมี ๒ อย่างคือ วัตถุกาม ๑ กิเลสกาม ๑.

วัตถุกามเป็นไฉน?

รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันน่าพอใจ เครื่องลาด
เครื่องนุ่งห่ม ทาสี ทาส แพะ แกะ สุกร ช้าง โค ม้า ลา นา ที่ดิน เงิน ทอง บ้าน
นิคม ราชธานี แว่นแคว้น ชนบท ฉางข้าว เรือนคลัง วัตถุอันชวนให้กำหนัดอย่างใดอย่างหนึ่ง
ชื่อว่า วัตถุกาม

อีกอย่างหนึ่ง กามส่วนอดีต กามส่วนอนาคต กามส่วนปัจจุบัน กามภายใน
กามภายนอก กามทั้งภายในภายนอก กามเลว กามปานกลาง กามประณีต กามมีในอบาย
กามมีในมนุษย์ กามอันเป็นทิพย์ กามที่ปรากฏ กามที่นิรมิตเอง กามที่ผู้อื่นนิรมิต กามที่หวงแหน
กามที่ไม่หวงแหน กามที่ถือว่าของเรา กามที่ไม่ถือว่าของเรา กามาวจรธรรมแม้ทั้งปวง รูปาวจร-
*ธรรมแม้ทั้งปวง อรูปาวจรธรรมแม้ทั้งปวง
ธรรมอันเป็นวัตถุแห่งตัณหา ธรรมอันเป็นอารมณ์แห่งตัณหา ชื่อว่ากาม เพราะอรรถว่า เป็นที่ตั้งแห่งความใคร่ เพราะอรรถว่า เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด เพราะอรรถว่า เป็นที่ตั้งแห่งความมัวเมา เหล่านี้เรียกว่า วัตถุกาม.

กิเลสกามเป็นไฉน?
ฉันทะ ราคะ ฉันทราคะ สังกัปปะ ราคะ สังกัปปราคะ เป็นกาม
ความพอใจในกาม ความกำหนัดในกาม ความเพลิดเพลินในกาม ตัณหาในกาม เสน่หาในกาม
ความกระหายในกาม ความเร่าร้อนในกาม ความติดใจในกาม ความหลงในกาม ความพัวพัน
ในกาม ในกามทั้งหลาย กามโอฆะ กามโยคะ กามุปาทาน กามฉันทนิวรณ์.

ดูกรกาม เราได้เห็นรากเง่าของเจ้าแล้ว.
ดูกรกาม เจ้าเกิดเพราะความดำริถึง. เราจักไม่ดำริถึงเจ้าละ.
ดูกรกาม เจ้าจักไม่มีด้วยอาการอย่างนี้.
เหล่านี้เรียกว่า กิเลสกาม. ตัณหา ราคะ สาราคะ ฯลฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล
เรียกว่า ความติดใจ.
คำว่า ไม่ติดใจในกามทั้งหลาย ความว่า ไม่ติดใจ คือ ไม่พัวพัน เป็นผู้ไม่ติดใจ
ไม่ถึงความติดใจ ไม่หลงใหล ไม่พัวพัน ปราศจากความติดใจ สละความติดใจ คายความติดใจ
ปล่อยความติดใจ ละความติดใจ สลัดความติดใจ ปราศจากความกำหนัด สละความกำหนัด
คลายความกำหนัด ปล่อยความกำหนัด ละความกำหนัด สลัดความกำหนัด ในกิเลสกามทั้งหลาย
ในวัตถุกามทั้งหลาย เป็นผู้ไม่หิว ดับสนิท เย็นแล้ว เป็นผู้เสวยสุข มีตนอันประเสริฐอยู่
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่ติดใจในกามทั้งหลาย.


การดำริถึง ดำริได้ก็ด้วยมีสัญญาในกามนั้น สัญญาอย่างนั้นจึงเรียกว่า กามสัญญา

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แก้ไขล่าสุดโดย เช่นนั้น เมื่อ 26 ก.ย. 2009, 03:22, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ย. 2009, 02:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกายซัง ก็อาจจะไม่เข้าใจต่อไปอีกว่า การยกหนอ ย่างหนอ ยุบหนอ พองหนอ เห็นหนอ เวทนาหนอ ซ้ายย่างหนอ ขวาย่างหนอ ไม่เห็นติดใจตรงไหนเลย

เช่นนั้น กล่าวว่าท่านรักกามสัญญา ท่านพัวพันกามสัญญา อันเป็นส่วนแห่งความเนิ่นช้า เป็นส่วนแห่งทิฐิสังโยชน์

เมื่อท่านละทิฐิสังโยชน์ไม่ได้ ท่านจะเอาปัญญาไหนมาละกิเลสตัณหาได้ จิตท่านจึงยังคงพัวพันอยู่ในกามาวจรภูมิตลอดไป

Quote Tipitaka:
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗
ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
๗. ปปัญจขยสูตร

[๑๕๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของ
ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาค
ประทับนั่งพิจารณาการละส่วนสัญญาอันสหรคตด้วยธรรมเครื่องเนิ่นช้าของพระองค์
อยู่ ฯ
ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงทราบการละส่วนสัญญาอันสหรคตด้วย
ธรรมเครื่องเนิ่นช้าของพระองค์แล้ว ได้ทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า
ผู้ใดไม่มีกิเลสเครื่องให้เนิ่นช้าและความตั้งอยู่ (ในสงสาร)
ก้าวล่วงซึ่งที่ต่อ คือ ตัณหาทิฐิ และลิ่ม คือ อวิชชาได้ แม้
สัตว์โลกพร้อมทั้งเทวโลกย่อมไม่ดูหมิ่นผู้นั้น ผู้ไม่มีตัณหา
เป็นมุนี เที่ยวไปอยู่ ฯ

Quote Tipitaka:
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๑
ขุททกนิกาย มหานิทเทส
ตุวฏกสุตตนิทเทสที่ ๑๔

ว่าด้วยธรรมเครื่องเนิ่นช้า
[๗๐๕] คำว่า พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ภิกษุพึงกำจัดบาปธรรมทั้งปวง คือ กิเลส
ที่เป็นรากเง่าแห่งส่วนธรรมเครื่องเนิ่นช้า และอัสมิมานะ ด้วยปัญญา ความว่า ธรรมเครื่องเนิ่น
ช้านั่นแหละ ชื่อว่าส่วนแห่งธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้า ได้แก่ ส่วนแห่งธรรมเครื่องเนิ่นช้า คือ
ตัณหา และส่วนแห่งธรรมเครื่องเนิ่นช้า คือ ทิฏฐิ.

รากเง่าของธรรมเครื่องเนิ่นช้าคือตัณหาเป็นไฉน? อวิชชา อโยนิโสมนสิการ อัสมิ
มานะ อหิริกะ อโนตตัปปะ อุทธัจจะ นี้เป็นรากเง่าแห่งธรรมเครื่องเนิ่นช้าคือตัณหา.

รากเง่าแห่งธรรมเครื่องเนิ่นช้าคือทิฏฐิเป็นไฉน? อวิชชา อโยนิโสมนสิการ อัสมิ-
*มานะ อหิริกะ อโนตตัปปะ อุทธัจจะ นี้เป็นรากเง่าแห่งธรรมเครื่องเนิ่นช้าคือทิฏฐิ.


การมนสิการธรรมอันเป็นเครื่องเนิ่นช้า และการเว้นเสียไม่มนสิการธรรมอันควรมนสิการ ทั้งสองนี้จึงได้ชื่อว่าอโยนิโสมนสิการ

ธรรมที่ควรมนสิการ คือการเจริญฌานอันเป็นโลกุตตระ เป็นวิปัสสนาอันนับเนื่องในมรรค เป็นองค์แห่งมรรค
เพื่อกำจัดอนุสัยกิเลส และละสังโยชน์ให้หมดสิ้นไป
เป็นการเจริญมรรคภาวนา เพื่อความออกจากโลก ซึ่งก็คือไม่พัวพันในกามสัญญาเป็นอันดับแรก

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ย. 2009, 02:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗
สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
มารธีตุสูตรที่ ๕
……
[๕๑๗] ลำดับนั้น นางอรดีมารธิดาได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า
ภิกษุในพระศาสนานี้ มีปรกติอยู่ด้วยธรรมเป็นเครื่องอยู่อย่าง
ไหนมาก จึงข้ามโอฆะทั้ง ๕ แล้ว เวลานี้ได้ข้ามโอฆะที่ ๖
แล้ว กามสัญญาทั้งหลายย่อมห้อมล้อมไม่ได้ซึ่งบุคคลผู้เพ่ง-
ฌานอย่างไหนมาก

[๕๑๘] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
บุคคลมีกายอันสงบแล้ว มีจิตหลุดพ้นดีแล้ว เป็นผู้ไม่มี
อะไรๆ เป็นเครื่องปรุงแต่ง มีสติ ไม่มีความอาลัย ได้รู้ทั่ว
ซึ่งธรรม มีปรกติเพ่งอยู่ด้วยฌานที่ ๔ อันหาวิตกมิได้ ย่อม
ไม่กำเริบ ไม่ซ่านไป ไม่เป็นผู้ย่อท้อ ฯ

ภิกษุในศาสนานี้ เป็นผู้มีปรกติอยู่ด้วยธรรมเป็นเครื่องอยู่
อย่างนี้มาก
จึงข้ามโอฆะทั้ง ๕ ได้แล้ว บัดนี้ได้ข้ามโอฆะที่
๖ แล้ว กามสัญญาทั้งหลายย่อมห้อมล้อมไม่ได้ ซึ่งภิกษุผู้
เพ่งฌานอย่างนี้มาก ฯ


การเป็นผู้มีปรกติอยู่ด้วยธรรมเป็นเครื่องอยู่ คือเป็นผู้มีจิตเป็นฌาน มีฌานเป็นเครื่องอยู่ จึงสอดคล้องกับ จงกรมสูตร ที่ว่า

Quote Tipitaka:
[๓๔๘] ดูกรอานนท์ หากเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ จิตย่อม
น้อมไปเพื่อจะจงกรม เธอย่อมจงกรมด้วยใส่ใจว่า อกุศลธรรมลามกคืออภิชฌา
และโทมนัส จักไม่ครอบงำเราผู้จงกรมอยู่อย่างนี้ได้ ด้วยอาการนี้แล เป็น
อันเธอรู้สึกตัวในเรื่องการจงกรม ฯ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แก้ไขล่าสุดโดย เช่นนั้น เมื่อ 26 ก.ย. 2009, 02:48, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ย. 2009, 03:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีครับคุณ walaiporn
ขอบคุณสำหรับความคิดความเห็น ของท่านที่แสดงออกมา เช่นนั้น ได้แต่ให้ข้อสังเกตุเพิ่มเติมดังนี้

walaiporn เขียน:
การเดินจงกรมเดินยังไงก็ได้ให้รู้สึกตัวในขณะที่เดิน

การกำหนดบางครั้งก็เหมาะสำหรับคนบางคน
แต่คนบางคนไม่เคยเข้าใจเรื่องการกำหนด เลยมีการมากล่าวโจมตีเรื่องการกำหนด
การกำหนดคือการให้เอาจิตผูกติดอยู่กับกัมมัฏฐาน ให้รู้อยู่กับการเดิน ( กาย )
เพราะผู้ปฏิบัติบางคนชอบฟุ้ง คิดโน่นคิดนี่อยู่ตลอดเวลา


จิตผูกติดกับกัมมัฏฐาน ก็พึงรู้ว่า เป็นกัมฐานที่ไม่มีส่วนในธรรมอันเป็นเครื่องเนิ่นช้า พอกพูนสักกายะ และถูกทิฐิสังโยชน์ร้อยรัด

อ้างคำพูด:
จะให้เดินสบายๆก็ได้ เดินแล้วรู้สึกตัวก็ถือว่าใช้ได้
มันไม่มีกฏเกณฑ์ตายตัว
เพียงแต่ว่า คนไหนเขาทำได้แบบไหน เขาก็แนะนำแบบนั้น


เดินสบายๆ ด้วยความสำรวมอินทรีย์ มีจิตสงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่ใช่เดินสอดส่ายไปตามกามสัญญา

อ้างคำพูด:
แต่คนที่ยังไม่เข้าใจยังไม่พอ ...
น่ากลัวจริงๆ .... แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น อย่างที่พูดไปแล้วว่า
ใครเชื่อใครก็ขึ้นอยู่กับว่าเขาเคยสร้างเหตุมาร่วมกันเท่านั้นเอง


ส่วนนี้ท่านกล่าวถูกต้อง เพราะท่านยังไม่เข้าใจพอในเรื่องทิฐิสังโยชน์ ท่านจึงเฝ้าแต่อโยนิโสมนสิการในธรรมที่ไม่ควรมนสิการ และไม่ปฏิบัิติในธรรมอันควรมนสิการ

อ้างคำพูด:
สติเป็นตัวระลึก ระลึกอะไร ระลึกว่ากำลังจะเดิน
สัมปชัญญะเป็นตัวรู้ รู้อะไร รู้ลงไปทุกย่างก้าวที่เดิน


นีคือความเข้าใจผิดของท่าน
สัมปชัญญะขณะนี้เป็นไปเพื่อความรู้ เพื่อความกำหนดใน การอบรมจิตด้วยโลกุตตระฌาน
สติคือการระลึก เพื่อความไม่หลงในขันธ์5 เพื่อความไม่ประมาทในโลกกุตระฌาน

อ้างคำพูด:
ส่วนอุบายน่ะ .... มันหลากหลาย ...
มันต้องพลิกแพลงตามสภาวะของผู้ปฏิบัติ
ไม่ใช่มาตามใจผู้แนะนำ
ผู้ปฏิบัติเขาย่อมรู้ดีว่าเขาทำแบบไหนแล้วถนัด
บางคนใช้กำหนดขวาย่างหนอ ซ้ายย่างหนอ แล้วถนัดก็ใช้กำหนดไป
บางคนถนัดรู้ลงไปในขณะที่เดิน ก็ใช้รู้ลงไป
บางคนใช้ทั้งกำหนด ใช้ทั้งรู้ลงไป ทั้งสองแบบเลยก็มี
มันอยู่ที่สภาวะของแต่ละคน


อุบายต่างๆ หรือวิธีการต่างๆ ต้องสอดคล้องกับมรรคภาวนา ไม่ล่วงเกินมรรคภาวนา

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ย. 2009, 03:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
การเดินจงกรมก็เป็นหนึ่งในการเจริญสติปัฏฐาน


สาธุ ท่านเข้าใจถูกแล้ว ว่าการเดินจงกรม เป็นอิริยาบถหนึ่งในการเจริญสติปัฏฐาน

walaiporn เขียน:
ทำไมชอบนำพระไตรปิฎกมาตัดแปะกันแบบไม่สมบูรณ์


ถ้าคุณจะเข้ามีส่วนร่วมในการสนทนา ควรย้อนกลับไปอ่านรายละเอียดนะครับ :b16: :b17:

เช่นนั้น อ้างอิงพระสูตรต่างๆ มีทีมาที่ไป สำหรับผู้สนใจจะสอบทานไปยังพระสูตรฉบับเต็มในพระไตรปิฏกนะครับ ไม่ใช่ตัดแปะมาจากพุทธธรรม

การตัดแปะบางส่วนของพระสูตร เพื่อความกระชับของพื้นที่ แต่ก็สามารถตรวจสอบได้ครับ

สิ่งที่ท่านควรสงสัยมากกว่าคือ ทำไมมักจะมีการอ้างอิง นอกพระไตรปิฏกมากกว่า กระมัง :b19: :b3: :b3:

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ย. 2009, 05:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




208712.jpg
208712.jpg [ 38.34 KiB | เปิดดู 4148 ครั้ง ]
เช่นนั้น เขียน:
กรัชกาย เขียน:
เอาครับวางท่อนซุงลงก่อน


กรัชกายซัง ไม่กลัวนรกจะกินหัว ฮริ ฮริ พระไตรปิฏก เป็นคัมภีร์ที่รวบรวม พุทธพจน์ ซึ่งเป็นพระธรรมเทศนาของพระพุทธองค์ และรับรองโดยพระอรหันต์มาแต่ครั้นทำสังคยนา ไม่ใช่คัมภีร์ ที่ท่านคิดว่าเป็นการแต่งเรียบเรียงขึ้นเอาเอง .
พระอรหันต์ท่านทุ่มเทแรงกายแรงใจ ในการรวบรวมพุทธพจน์ให้เป็นหมวดหมู่นะครับ ไม่ใช่ใส่ความคิดความเห็นลงไปแล้วเรียบเรียงใหม่ ให้ตรงตามทิฏฐิของตนเหมือนกับ ตำราในปัจจุบันครับ
ดังนั้นการที่ท่านเรียกว่าท่อนซุง ท่านกำลังดูหมิ่นพระไตรปิฏกนะครับ นรกจะกินกะบาลท่านนะครับ.



กรัชกายพูดและตั้งคำถามท่านเช่นนั้น มาครั้งสองครั้งแล้ว ว่าเจ้าชายสิทธัตถะกับพระไตรปิฎกใครเกิด

ก่อนกัน

มนุษย์กับพระไตรปิฎกใครเกิดก่อนกัน

แล้วยังแนะนำให้คุณเช่นนั้น เอาพระไตรปิฎกต้มใส่น้ำลงสามส่วนเคี่ยวให้เหลือส่วนหนึ่ง

แล้วดื่มสะ

จำไม่ได้หรือท่านเช่นนั้นอะโป๊ะ


คุณยังไม่ตอบคำถามนี้สักข้อเลย ตอบสิขอรับ ว่ามนุษย์กับพระไตรปิฎกใครเกิดก่อนกัน

อ้าวตอบคำถามทั้งหมด :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 26 ก.ย. 2009, 21:15, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ย. 2009, 05:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


chefin เขียน:
tongue สวัสดีท่านกรัชกายและท่านผู้เจริญทุกๆท่านเจ้าค่ะ

ท่านกรัชกายกล่าวมาเช่นนี้ ท่านคิดว่าถูกควรแล้วหรือเจ้าคะ?
อ้างคำพูด:
อ้อ แล้วอีกอย่างเคยเห็นพุทธนี้ไหมครับ

ญาณก็ต้องอาศัยสัญญาจึงจะเกิดขึ้นได้ ดังบาลีว่า

“นี่แน่ะโปฏฐบาท สัญญาย่อมเกิดก่อน ญาณย่อมเกิดทีหลัง และเพราะสัญญาเกิดขึ้น

ญาณจึงเกิดขึ้น”


(ที.สี.9/288/230)


คุณเช่นนั้นอะโป๊ะ เข้าใจความหมายสัญญาแค่ไหน สัญญามีกี่อย่างไรบ้าง พอเข้าใจไหมครับ



ญานที่เกิดจากเหตุปัจจัยที่ประกอบด้วยสัญญานั้นจะเกิดได้ด้วย สัญญาจากกุศลธรรมเท่านั้นนี่เจ้าคะ
กามสัญญาไม่ได้มีคุณที่จะทำให้เกิดญานได้เลย ท่านย่อมรู้อยู่เจ้าค่ะ
ขออนุญาติยกพระพุทธพจน์มาแสดงเจ้าค่ะ :b8: :b8: :b8:
Quote Tipitaka:
[๓๗๓] คำว่า ชนเหล่าใดยังถือสัญญาทิฏฐิ ชนเหล่านั้น กระทบกระทั่งกันอยู่ ย่อม
เที่ยวไปในโลก ความว่า ชนเหล่าใดยังถือสัญญา คือ กามสัญญา พยาบาทสัญญา วิหิงสาสัญญา
ชนเหล่านั้นย่อมกระทบกระทั่งกัน คือ เบียดเบียนกันด้วยสามารถแห่งสัญญา กล่าวคือ พวกชน
ที่ยังถือสัญญา แม้เป็นพระราชา ก็ย่อมวิวาทกับพวกพระราชา แม้เป็นกษัตริย์ย่อมวิวาทกับพวก
กษัตริย์ แม้เป็นพราหมณ์ก็ย่อมวิวาทกับพวกพราหมณ์ แม้เป็นคฤหบดีก็ย่อมวิวาทกับพวกคฤหบดี
แม้มารดาก็ย่อมวิวาทกับบุตร แม้บุตรก็ย่อมวิวาทกับมารดา แม้บิดาก็ย่อมวิวาทกับบุตร แม้บุตร
ก็ย่อมวิวาทกับบิดา แม้พี่ชายน้องชายก็ย่อมวิวาทกับพี่ชายน้องชาย แม้พี่สาวน้องสาวก็ย่อมวิวาท
กับพี่สาวน้องสาว แม้พี่ชายน้องชายก็ย่อมวิวาทกับพี่สาวน้องสาว แม้พี่สาวน้องสาวก็ย่อมวิวาท
กับพี่ชายน้องชาย แม้สหายก็ย่อมวิวาทกับสหาย. ชนเหล่านั้นถึงความทะเลาะแก่งแย่งวิวาทกัน
ย่อมทำร้ายกันและกันด้วยฝ่ามือบ้าง ด้วยก้อนดินบ้าง ด้วยท่อนไม้บ้าง ด้วยศัสตรา ในเพราะ
วิวาทกันนั้น. ชนเหล่านั้น ย่อมถึงความตายบ้าง ถึงทุกข์ปางตายบ้าง ในเพราะการทำร้ายกัน
นั้น. ชนเหล่าใดยังถือทิฏฐิว่า โลกเที่ยง ฯลฯ หรือว่าสัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเป็นอีก
ก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้ ชนเหล่านั้นย่อมกระทบกระทั่งกัน คือ เบียดเบียนกันด้วย
สามารถแห่งทิฏฐิ กล่าวคือ ย่อมกระทบกระทั่งศาสดาแต่ศาสดา ย่อมกระทบกระทั่งการบอก
ธรรมแต่การบอกธรรม ย่อมกระทบกระทั่งคณะแต่คณะ ย่อมกระทบกระทั่งทิฏฐิแต่ทิฏฐิ ย่อม
กระทบกระทั่งปฏิปทาแต่ปฏิปทา ย่อมกระทบกระทั่งมรรคแต่มรรค.

http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php ... agebreak=0

และนี่คือธรรมฝ่ายอกุศลที่ไม่สามารถเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดญานใดๆได้เลย มีแต่ให้โทษซึ่งควรละ :b8:

Quote Tipitaka:
:b8: :b8: :b8:
[๗๓๙] คำว่า ปสฺสทฺธิ ความว่า เนกขัมมะเป็นเครื่องระงับกามฉันทะ
ความไม่พยาบาทเป็นเครื่องระงับพยาบาท ฯลฯ อรหัตมรรคเป็นเครื่องระงับกิเลส
ทั้งปวง ฯ
คำว่า ญาณํ ความว่า เนกขัมมะชื่อว่าญาณ ด้วยอรรถว่ารู้ เพราะ
เป็นเหตุให้ละกามฉันทะ ความไม่พยาบาทชื่อว่าญาณ ด้วยอรรถว่ารู้ เพราะเป็นเหตุ
ให้ละพยาบาท ฯลฯ อรหัตมรรคชื่อว่าญาณ ด้วยอรรถว่ารู้ เพราะเป็นเหตุ
ให้ละกิเลสทั้งปวง ฯ
คำว่า ทสฺสนํ ความว่า เนกขัมมะชื่อว่าทัสนะ เพราะความว่าเห็น
เพราะเป็นเหตุให้ละกามฉันทะ ความไม่พยาบาทชื่อว่าทัสนะ เพราะความว่าเห็น
เพราะเป็นเหตุให้ละพยาบาท ฯลฯ อรหัตมรรคชื่อว่าทัสนะ เพราะความว่าเห็น
เพราะเป็นเหตุให้ละกิเลสทั้งปวง ฯ
คำว่า วิสุทฺธิ ความว่า บุคคลละกามฉันทะ ย่อมหมดจดด้วยเนกขัมมะ
ละพยาบาทย่อมหมดจดด้วยความไม่พยาบาท ฯลฯ ละกิเลสทั้งปวง ย่อมหมดจด
ด้วยอรหัตมรรค ฯลฯ ละกิเลสทั้งปวง ย่อมหมดจดด้วยอรหัตมรรค ฯ
[๗๔๐] คำว่า เนกฺขมฺมํ ความว่า เนกขัมมะ เป็นเครื่องสลัดกาม
อรูปฌาน เป็นเครื่องสลัดรูป นิโรธ เป็นเนกขัมมะ แห่งสิ่งที่มีที่เป็น อันปัจจัย
ปรุงแต่ง อาศัยกันเกิดขึ้น ความไม่พยาบาท เป็นเนกขัมมะแห่งพยาบาท
อาโลกสัญญา เป็นเนกขัมมะแห่งถีนมิทธะ ฯลฯ
คำว่า นิสฺสรณํ ความว่า เนกขัมมะ เป็นเครื่องสลัดกาม อรูปฌาน
เป็นเครื่องสลัดรูป นิโรธ เป็นเครื่องสลัดสิ่งที่มีที่เป็น อันปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกัน
เกิดขึ้น เนกขัมมะ เป็นเครื่องสลัดกามฉันทะ ความไม่พยาบาท เป็นเครื่อง
สลัดพยาบาท ฯลฯ อรหัตมรรค เป็นเครื่องสลัดกิเลสทั้งปวง ฯ
คำว่า ปวิเวโก ความว่า เนกขัมมะ เป็นที่สงัดกามฉันทะ ความ
ไม่พยาบาท เป็นที่สงัดพยาบาท ฯลฯ อรหัตมรรค เป็นที่สงัดกิเลสทั้งปวง ฯ
คำว่า โวสฺสคฺโค ความว่า เนกขัมมะ เป็นเครื่องปล่อยวางกามฉันทะ
ความไม่พยาบาท เป็นเครื่องปล่อยวางพยาบาท ฯลฯ อรหัตมรรค เป็นเครื่อง
ปล่อยวางกิเลสทั้งปวง ฯ
คำว่า จริยา ความว่า เนกขัมมะ เป็นเครื่องประพฤติละกามฉันทะ
ความไม่พยาบาท เป็นเครื่องประพฤติละพยาบาท ฯลฯ อรหัตมรรค เป็นเครื่อง
ประพฤติละกิเลสทั้งปวง ฯ


http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=31&A=10975

พระธรรมบทนี้ต่างหากที่เป็นสัญญาฝ่ายกุศลที่ควรเจริญจนเกิดญานทัสสนะ :b8: :b8:


สาธุ...การแสดงธรรมเพื่อเป็นธรรมทานแด่ผู้ที่หันหน้าเข้าหาพระธรรมทั้งหลาย
มิควรใช้มิจฉาทิฐิเข้าหากันเลยนะเจ้าคะ
( ที่ท่านกรัชกาย ไปกล่าวโทษว่า ท่านเช่นนั้นวางซุงลงก่อน สมควรแล้วหรือเจ้าคะ? )
ควรสนทนาธรรมกันด้วยพรหมวิหาร 4 จึงจะถูกต้องเจ้าค่ะ
สัมมาวาจา ควรใช้ปิยะวาจาสนทนาธรรมกันเห็นควรกว่าไหมเจ้าค่ะ ?
หากดิฉันสนทนาส่วนใดทำให้ท่านหนึ่งท่านใดขุ่นเคืองใจโดยมิได้เจตนา
ขออโหสิกรรมไว้ณ.ที่นี้ด้วยเจ้าค่ะ



(ที่ท่านกรัชกาย ไปกล่าวโทษว่า ท่านเช่นนั้นวางซุงลงก่อน สมควรแล้วหรือเจ้าคะ? )

สวัสดีขอรับคุณ chefin (น่าจะมาจากธรรมะไทยเหมือนท่านเช่นนั้นใช่ไหมขอรับ คริ คริ)

(ไม่ใช่กล่าวโทษ นะขอรับ เพียงบอกว่า ให้วางลงก่อนครับให้วาง)

ตอบคำถามก่อน

ถามว่า สมควรไหม

ตอบ สมควรอย่างยิ่ง ขอรับ :b16:

การที่ยกเอาศัพท์ธรรมคำบาลีทั้งดุ้นมา โดยที่ตนเองก็ไม่รู้ไม่เข้าใจความหมาย

แล้วไปตีคลุ่มเนี่ย สมควรอย่างยิ่งที่ต้องหยิก เพื่อให้รู้สึก ถ้าไม่รู้สึกก็ต้องเอาเข็มแทง :b32:

แล้วที่คุณ chefin ยกมานั่นนะ ก็จะต้องตรวจสอบว่ารู้เข้าใจหรือไม่

กรุณาอยู่เป็นเพื่อนกันนะขอรับ

แล้วที่กรัชกายยกพุทธพจน์ดังกล่าวมายังไม่จบครับ แต่จะอ่อยไปทีละเล็กละน้อยจนครบแล้วจะสรุป

กรัชกายไม่รีบร้อนขอรับ :b38: :b12:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 26 ก.ย. 2009, 11:06, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ย. 2009, 10:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




loo_clip_image001.jpg
loo_clip_image001.jpg [ 48.21 KiB | เปิดดู 4272 ครั้ง ]
พระพุทธชินราช

ประดิษฐานอยู่ในพระวิหารใหญ่ ด้านทิศตะวันตกของวัด
ซึ่งเป็นด้านหน้าวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร (วัดใหญ่)

หน้าตักกว้าง ๕ ศอก คืบ ๕ นิ้ว ผันพระพักตร์ไปทางแม่น้ำ

พระพุทธชินราชเป็นพระพุทธรูปสำคัญ ซึ่งพระมหากษัตริย์ไทยทรงเคารพนับถือสักการบูชา
มาแต่ครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยา ดังมีรายพระนามที่ปรากฎในพงศาวดาร คือ

สมเด็จพระราเมศวร สมเด็จพระบรมไตรโลกนารถ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒
สมเด็จพระบรมราชาหน่อพุทธางกูร สมเด็จพระมหาธรรมราชา สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
สมเด็จพระเอกาทศรถ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช สมเด็จพระเพทราชา
พระเจ้าบรมโกฐ พระเจ้ากรุงธนบุรี พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
และพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์จักรี องค์ต่อ ๆ มาเกือบทุกพระองค์

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงสรรเสริญไว้ว่า พระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์
และพระศาสดา ทั้ง ๓ พระองค์ เป็นพระพุทธปฏิมากรดีล้ำเลิศ
ประกอบไปด้วยพุทธลักษณะอันประเสริฐ มีสิริอันเทพยดาอภิบาลรักษา
ย่อมเป็นที่สักการบูชานับถือแต่โบราณ



http://radio.sanook.com/music/player/%E ... 81/118814/

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 26 ก.ย. 2009, 10:56, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ย. 2009, 13:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ูู^^ กรัชกายซัง
กรัชกายซัง นี่คงจำไม่ได้อีกแล้ว ว่า กรัชกายซัง พูดอะไรไว้ :b17: :b17:

อ่ะจะทบทวนให้
กรัชกาย เขียน:
คุณเช่นนั้นครับ ถ้าเราจะเอาพระไตรปิฏกมาต้มใส่น้ำสามส่วน เคี่ยวจนเดือดเหลือน้ำส่วนหนึ่ง
แล้วดื่มน้ำนั้น กิเลสจะหลุดล่อนไหมขอรับ


อ้างคำพูด:
แล้วถ้าเดิน สามก้าว ต้มน้ำดื่ม ไปเดินไป กิเลส เกินมาไม๊ครับ

เช่นนั้น ตอบคำถาม แล้ว เพียงแต่คุณกรัชกาย ต้องคิดให้ได้ว่า กิเลส เกินมา หรือไม่เกินมา
ปัญญา มีไว้ใช้นะครับ


แต่เพราะกรัชกายซัง บ่ มีปัญญา กรัชกายซังจึงกล่าวว่า

อ้างคำพูด:
คุณเช่นนั้นก็ ตอบไม่ตรงคำถาม
ถามว่า ไปไหนมา ครับ?
แต่กลับตอบเสียว่า ๓ วา ๒ ศอก
คิดจนหัวแตกก็คิดไม่ออกว่าตอบเกี่ยวกับอะไร


บ่ มีปัญญา ก็ยอมรับว่า บ่มีปัญญา ถ้ามีปัญญา ก็คงไม่แสดงธรรม ผิดมาตั้งแต่ต้น

กรัชกาย เขียน:
คุณยังไม่ตอบคำถามนี้สักข้อเลย ตอบสิขอรับ ว่ามนุษย์กับพระไตรปิฎกใครเกิดก่อนกัน


ในเ้มื่อกรัชกายซังเองก็ยอมรับเองว่า กรัชกายซังก็อ้างพุทธพจน์ กรัชกายซังก็ควรถามกรัชกายซังเอง หรือเปล่า :b9: :b9: :b32: :b32:
สิ่งที่กรัชกายยอมรับ
กรัชกาย เขียน:
แล้วที่กรัชกายยกพุทธพจน์ดังกล่าวมายังไม่จบครับ แต่จะอ่อยไปทีละเล็กละน้อยจนครบแล้วจะสรุป
กรัชกายไม่รีบร้อนขอรับ

สิ่งที่กรัชกายก็ต้องควรถามตัวเองว่า
พระไตรปิฏก กับ พุทธธรรม เล่มไหนมีมาก่อน เล่มไหนเป็นพุทธพจน์ เล่มไหนเป็นการแต่งโดยมติอาจารย์
พองยุบ เดินหนอ ย่างหนอ หนอๆๆ ทั้งหลาย เกิดก่อนหรือเกิดหลังพระธรรมเทศนา
และที่สำคัญมากๆ ก็คือ กรัชกายเอง เกิดก่อนหรือเกิดหลังพระธรรมเทศนาซึ่งเป็นพุทธพจน์ของพระพุทธองค์

สิ่งที่กรัชกายซัง ไม่ทำคือไม่กลับไปศึกษาพระสูตร ให้เกิดปัญญาในธรรม
สิ่งที่กรัชกายซัง ทำ คือเขียนต่อเติมพุทธพจน์เอาเอง แล้วก็เอาพุทธพจน์มาแปะ แล้วสรุปเอาเองว่าเหมือนกัน เช่น

อ้างคำพูด:
สัมมาสติ เป็นองค์มรรคข้อที่ 2 ในหมวดสมาธิ หรือ อธิจิตตสิกขา

มีคำจำกัดความแบบพระสูตร ดังนี้


Quote Tipitaka:
“ภิกษุทั้งหลาย สัมมาสติเป็นไฉน? นี้เรียกว่า สัมมาสติ คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้

1) พิจารณาเห็นกายในกาย มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา และโทมนัส
ในโลกเสียได้
2) พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา
และโทมนัสในโลกเสียได้
3) พิจารณาเห็นจิตในจิต มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา และ โทมนัส
ในโลกเสียได้
4) พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา
และโทมนัสในโลกเสียได้
(ที.ม. 10/299/349ฯลฯ )



สัมมาสติ ตามคำจำกัดความแบบพระสูตร ก็คือ หลักธรรมที่เรียกว่า
สติปัฏฐาน 4 นั่นเอง
หัวข้อทั้ง 4 ของหลักธรรมหมวดนี้ มีชื่อเรียกสั้นๆ คือ
1) กายานุปัสสนา การพิจารณากาย, การตามดูรู้ทันกาย
2) เวทนานุปัสสนา การพิจารณาเวทนา, การตามดูรู้ทันเวทนา
3) จิตตานุปัสสนา การพิจารณาจิต, การตามดูรู้ทันจิต
4) ธัมมานุปัสสนา การพิจารณาธรรมต่างๆ, การตามดูรู้ทันธรรม


สิ่งที่เป็นเนื้องอกแปลกปลอม ท่านก็ทำได้ นับถือๆ เป็นความสามารถเฉพาะตัวของกรัชกายซัง ห้ามลอกเลียนแบบ :b13: :b13: :b13: :b32: :b32:

ถ้าบิดเบือนแบบนี้ กรัชกายซังก็ยอมรับซะ ว่าแสดงธรรมผิด

การแสดงธรรม จนผู้ปฏิบัติตามคำสอนผิดๆ จนเกิดความเครียด กังวล เต็มไปด้วยทิฐิสังโยชน์ นรกจากินกบาล ท่านรู้ตัวหรือไม่ครับ

แสดงธรรม แล้วผู้ปฏิบัติธรรม ทำได้เหมือนยายเฉิ่ม สิครับ ง่าย เร็ว ลัด มีปิติในธรรม แบบหลวงพ่อในตัวอย่าง ท่านทำได้หรือเปล่าครับ

มัวแต่ ยกย่างเหยียบ พองๆๆยุบๆ หนอซ้ายหนอขวา ระวังจะขึ้นหนอน นะครับ :b19: :b19: :b19:

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ย. 2009, 15:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
กรัชกาย เขียน:
เอาครับวางท่อนซุงลงก่อน


กรัชกายซัง ไม่กลัวนรกจะกินหัว ฮริ ฮริ พระไตรปิฏก เป็นคัมภีร์ที่รวบรวม พุทธพจน์ ซึ่งเป็นพระธรรมเทศนาของพระพุทธองค์ และรับรองโดยพระอรหันต์มาแต่ครั้นทำสังคยนา ไม่ใช่คัมภีร์ ที่ท่านคิดว่าเป็นการแต่งเรียบเรียงขึ้นเอาเอง .
พระอรหันต์ท่านทุ่มเทแรงกายแรงใจ ในการรวบรวมพุทธพจน์ให้เป็นหมวดหมู่นะครับ ไม่ใช่ใส่ความคิดความเห็นลงไปแล้วเรียบเรียงใหม่ ให้ตรงตามทิฏฐิของตนเหมือนกับ ตำราในปัจจุบันครับ
ดังนั้นการที่ท่านเรียกว่าท่อนซุง ท่านกำลังดูหมิ่นพระไตรปิฏกนะครับ นรกจะกินกะบาลท่านนะครับ.


กรัชกายพูดและตั้งคำถามท่านเช่นนั้น มาครั้งสองครั้งแล้ว ว่าเจ้าชายสิทธัตถะกับพระไตรปิฎกใครเกิด
ก่อนกัน

มนุษย์กับพระไตรปิฎกใครเกิดก่อนกัน

แล้วยังแนะนำให้คุณเช่นนั้น เอาพระไตรปิฎกต้มใส่น้ำลงสามส่วนเคี่ยวให้เหลือส่วนหนึ่ง
แล้วดื่มสะ
จำไม่ได้หรือท่านเช่นนั้นอะโป๊ะ

คุณยังไม่ตอบคำถามนี้สักข้อเลย ตอบสิขอรับ ว่ามนุษย์กับพระไตรปิฎกใครเกิดก่อนกัน
อ้าวตอบคำถามทั้งหมด


ท่านเช่นนั้นอะโป๊ะก็ตอบไม่ได้ จะไม่ถามคุณแล้ว
เปิดช่องให้คุณ chefin ตอบบ้าง ช่วยกันสองคน

เชิญคุณ chefin ตอบแทนคุณเช่นนั้นทีครับ คำถามเดียวกันนั่นแหละ
:b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ย. 2009, 16:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
คุณแทนขวัญ อาจจะพิจารณา บทพระธรรมเทศนา สักบทหนึ่งให้เกิดความแช่มชื่นใจ
เกิดปิติในธรรม
ตั้งใจว่า ละความยินดี ความพอใจ ละความไม่ยินดี ไม่พอใจ สนใจอย่างเดียวคือ บทพระธรรมเทศนา น้อมจิตไปตามพระธรรมเทศนา บทที่เลือกไว้ แต่ถ้าไม่สะดวก ก็บริกรรม เพียงแค่
"ไม่ยินดี ไม่ยินร้ายต่ออารมณ์"




คุณเช่นนั้นอะโป๊ะ ที่คุณแนะนำให้เค้าบริกรรมว่า => “ไม่ยินดี ไม่ยินร้ายต่อ

อารมณ์”



คุณตั้งชื่อหรือยังครับ ชื่อว่าอะไร... แล้วเป็นสมถะ หรือ เป็นวิปัสสนาครับ

หรือไม่เป็นอะไรสักอย่าง หรือว่าเป็น...

กรัชกายเคยเห็นคุณ...ที่นั่นแนะนำให้บริกรรม “ไม่ใช่ของเราๆๆ”

กรัชกายยังนึกเลยว่า เอ “ไม่ใช่ของเราๆ” แล้วของไคกันหว่า :b32: :b13:

แต่คุณฉีกแนว “ไม่ยินดี ไม่ยินร้าย ต่ออารมณ์”

ถามหน่อย คุณกลัวยินดี ยืนร้ายมากเลยหรือครับ :b32:

จะบอกวิธีให้ รู้สึกยินดี "ยืนดีหนอ"

รู้สึกยินร้าย "ยินร้ายหนอ" ก็แค่นี้ อย่ากลัว ธรรมชาติเป็นยังก็ยังงั้น พึงรู้จักตามที่มันเป็น

นี่อะไรฝนตกซู่บริกรรม “ไม่ยินดี ไม่ยินร้าย ต่ออารมณ์”

ฟ้าผ่าเปรี้ยงบริกรรม “ไม่ยินดี ไม่ยินร้าย ต่ออารมณ์” ฯลฯ :b1:


กรัชกายถึงบอกไงว่า ยายเฉิ่มประคองฌานจนตกคันนา :b9:

ต่อไปน่าจะมียายเฉิ่มภาคสอง "ยายเฉิ่มประคองอุปาทาน" จนตกนรก :b32:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ย. 2009, 16:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 ส.ค. 2009, 02:28
โพสต์: 30

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b27:
สวัสดีเจ้าค่ะท่านกรัชกาย ท่านเช่นนั้น และกัลยาณมิตรทุกๆท่าน

ก่อนอื่นขอบพระคุณท่านกรัชกาย เจ้าค่ะที่เมตตาสนทนาธรรมร่วมกัน

อ้างคำพูด:
กรัชกาย เขียน:
สวัสดีขอรับคุณ chefin (น่าจะมาจากธรรมะไทยเหมือนท่านเช่นนั้นใช่ไหมขอรับ คริ คริ)

(ไม่ใช่กล่าวโทษ นะขอรับ เพียงบอกว่า ให้วางลงก่อนครับให้วาง)



งั้นขออนุญาติถามต่อเจ้าค่ะ คำว่า ซุง ท่านหมายถึง?
:b20: ท่านเช่นนั้นแบกซุงไว้เมื่อไหร่เจ้าคะ? ท่านจึงได้กล่าวว่าให้ เขาวางซุงลง
นี่ท่านยังปฏิเสธอยู่อีกไหมเจ้าคะ? ว่าท่านมิได้กล่าวโทษ ?
ในเมื่อเรื่องการแบกซุง วางซุงนี่มันมีนัยยะ อุปมาด้วยกุศลจิตของท่านหรือเจ้าคะ?
ปิสุณวาจา หมายความว่าเช่นไรท่านย่อมทราบอย่างดีนี่เจ้าค่ะ ท่านกรัชกาย :b13:


ขอบพระคุณเจ้าค่ะที่ท่านได้ตอบคำถามที่ดิฉันถามไปกลับมาเจ้าค่ะ

อ้างคำพูด:
กรัชกาย เขียน:

ตอบคำถามก่อน

ถามว่า สมควรไหม

ตอบ สมควรอย่างยิ่ง ขอรับ
การที่ยกเอาศัพท์ธรรมคำบาลีทั้งดุ้นมา โดยที่ตนเองก็ไม่รู้ไม่เข้าใจความหมาย

แล้วไปตีคลุ่มเนี่ย สมควรอย่างยิ่งที่ต้องหยิก เพื่อให้รู้สึก ถ้าไม่รู้สึกก็ต้องเอาเข็มแทง



ท่านกรัชกาย ใช้อะไรวัดเจ้าค่ะว่า...
ท่านเช่นนั้น ยกเอาคำศัพท์บาลีมา โดยที่ตนเองไม่เข้าใจความหมาย?
:b11:
อ้างคำพูด:
กรัชกาย เขียน:
สมควรอย่างยิ่งที่ต้องหยิก เพื่อให้รู้สึก ถ้าไม่รู้สึกก็ต้องเอาเข็มแทง


ส่วนท่านจะหยิก จะแทงด้วยอะไร ท่านย่อมได้รับสิ่งนั้นด้วยตัวท่านเองแหล่ะเจ้าค่ะ :b34:
เหมือนที่พระพุทธองค์ กล่าวว่า....
ท่านโกรธเรา ผู้ไม่โกรธตอบ
ท่านด่าเรา ผู้ไม่ด่าตอบ แล้วสิ่งเหล่านั้นจะต้องตกเป็นของใครเล่า
ระวังเจ้าค่ะ จะสะดุดขาตัวเองเจ้าค่ะ :b13:
มิจฉาทิฐิ มิได้ก่อเกิดประโยชน์แก่ผู้ใดเลยเจ้าค่ะ
อ้างคำพูด:
กรัชกาย เขียน:
แล้วที่คุณ chefin ยกมานั่นนะ ก็จะต้องตรวจสอบว่ารู้เข้าใจหรือไม่


เชิญท่านตวจสอบตามอัธยาศัยเจ้าค่ะ
แต่ต้องมีมาตราฐานด้วย สัมมาทิฐิเป็นเกณฑ์การตรวจสอบด้วยนะเจ้าคะ
มิใช่เกณฑ์มาตราฐานแบบ ตามใจฉัน มิถูกต้องเจ้าค่ะ
:b19: :b9:
อ้างคำพูด:
กรัชกาย เขียน:
กรุณาอยู่เป็นเพื่อนกันนะขอรับ

แล้วที่กรัชกายยกพุทธพจน์ดังกล่าวมายังไม่จบครับ แต่จะอ่อยไปทีละเล็กละน้อยจนครบแล้วจะสรุป

กรัชกายไม่รีบร้อนขอรับ

ตามแต่เวลาและโอกาสจะอำนวย
ดิฉันจะหมั่นเข้ามาสนทนาธรรมกับกัลยาณมิตรเก่าเช่นท่านกรัชกายเสมอเจ้าค่ะ
การที่ท่านจะยกพุทธพจน์มาแสดงเป็นสิ่งที่หน้ายินดียิ่งเจ้าค่ะ อนุโมทนาด้วยเจ้าค่ะ สาธุ
แต่ขอความกรุณายกพระพุทธพจน์ของแท้มาน๊ะเจ้าคะ ของเทียมไม่เอาเจ้าค่ะ
เพราะตอนนี้ พวกเทปผี ซีดีเถื่อนกำลังระบาดเจ้าค่ะ :b22:
เป็นสิ่งที่ผู้เจริญแล้วมิพึงสมควรกระทำเจ้าค่ะ
ส่วนท่านจะอ่อย หรือ ค่อยๆหยดทีละหยดก็ตามแต่อัธยาศัยของท่านเถิดเจ้าค่ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ย. 2009, 16:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 ส.ค. 2009, 02:28
โพสต์: 30

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




Q7781606-81.gif
Q7781606-81.gif [ 91.06 KiB | เปิดดู 4225 ครั้ง ]
อ้างคำพูด:
ท่านเช่นนั้นอะโป๊ะก็ตอบไม่ได้ จะไม่ถามคุณแล้ว
เปิดช่องให้คุณ chefin ตอบบ้าง ช่วยกันสองคน

เชิญคุณ chefin ตอบแทนคุณเช่นนั้นทีครับ คำถามเดียวกันนั่นแหละ



:b32: อุ๊ย อุ๊ย มิบังอาจเจ้าค่ะ
ท่านเช่นนั้นถามท่านนี่เจ้าค่ะ ท่านกรัชกายตอบเองเถิดเจ้าค่ะ
ท่านเป็นถึงท่านอาจารย์ ท่านบอกว่าจะค่อยๆอ่อย ไม่ใจร้อนมิใช่หรือเจ้าคะ
ดิฉันติดตามคำตอบของท่านได้เจ้าค่ะ :b13: :b32:
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ย. 2009, 16:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


chefin เขียน:
อ้างคำพูด:
ท่านเช่นนั้นอะโป๊ะก็ตอบไม่ได้ จะไม่ถามคุณแล้ว
เปิดช่องให้คุณ chefin ตอบบ้าง ช่วยกันสองคน

เชิญคุณ chefin ตอบแทนคุณเช่นนั้นทีครับ คำถามเดียวกันนั่นแหละ



:b32: อุ๊ย อุ๊ย มิบังอาจเจ้าค่ะ
ท่านเช่นนั้นถามท่านนี่เจ้าค่ะ ท่านกรัชกายตอบเองเถิดเจ้าค่ะ
ท่านเป็นถึงท่านอาจารย์ ท่านบอกว่าจะค่อยๆอ่อย ไม่ใจร้อนมิใช่หรือเจ้าคะ
ดิฉันติดตามคำตอบของท่านได้เจ้าค่ะ


นึกว่าจะเข้าตอบคำถาม เข้าร้อง อุ๊ย อุ๊ย แล้วก็ไป :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 189 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 4, 5, 6, 7, 8, 9, 10 ... 13  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร