วันเวลาปัจจุบัน 06 พ.ค. 2025, 02:49  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 79 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ย. 2009, 23:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 เม.ย. 2009, 22:00
โพสต์: 407

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอให้กำลังใจท่านทั้งหลายที่พยายามจะช่วยปรับทิฐิท่าน Supareak ครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ย. 2009, 05:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ก.ย. 2009, 21:17
โพสต์: 83

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เอากัณฑ์เทศน์นี่ไปฟัง...จะได้เลิกฟุ้งซ่าน เรื่องจิต และขันธ์ สมาธิ

http://www.sa-ngob.com/media.php?id=210&con=1


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ย. 2009, 22:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 เม.ย. 2009, 22:00
โพสต์: 407

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วิสุทโธ เขียน:
เอากัณฑ์เทศน์นี่ไปฟัง...จะได้เลิกฟุ้งซ่าน เรื่องจิต และขันธ์ สมาธิ
http://www.sa-ngob.com/media.php?id=210&con=1


ฟังแล้วถึงกับอึ้งครับ ไม่รู้จะกล่าวประการใด อย่างไรก็ตามผมก็เคยถามผู้รู้ในลานนี้เหมือนกัน
viewtopic.php?f=2&t=22849 เล่นเอาผมช้ำเลือดช้ำหนองไปเลย และความสงสัยก็ยังคาใจผมอยู่ถ้าท่าน วิสุทโธ ตอบได้ช่วยอนุเคราะห์ด้วยนะครับ

เจริญธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ย. 2009, 00:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ส.ค. 2009, 09:31
โพสต์: 639

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตอบคุณเจ้าจองกระทู้ค่ะ

จุฬาภินันท์มีปัญญาจากการปฏบัติค่ะ ปัญญาระดับอนาคามี รู้จริงถึงสัจธรรม

จุฬาภินันท์รู้จากปัญญาว่า สมถะ ต้อง มาก่อนวิปัสสนาค่ะ เพราะวิปัสสนาเป็นการทำสมาธิโดยการคิด แต่ต้องคิดอย่างรู้ธรรมที่แท้ และการจะรู้ธรรมที่แท้ ต้องได้ปัญญาญานก่อนค่ะ

ปัญญาญาน ได้มาด้วยวิธีเดียว คือ รักษาศีล ทำใจให้เบิกบาน แล้วทำสมาธิ ทำโดยเพ่งความคิดไปที่สิ่งใดสิ่งหนึ่ง ไม่ให้ความคิดวอกแวก เมื่อไม่วอกแวก จิตก็สงบ เปิดรับธรรมได้มากขึ้น แล้วปัญญาจะเกิดตามมา แล้วค่อยทำวิปัสสนา เพื่อต่อยอดปัญญาให้สูงขึ้นค่ะ

การหลีลี้สังคม ปฏิบัติตามธรรมชาติ นั่นอาจทำให้กายสงบค่ะ ไม่ใช่ใจ เพราะใจคนเรานั้นไม่เคยสงบอย่างแท้จริง พระพุทธองค์ก็เผยแพร่วิธีทำให้ใจสงบ คือ ทำสมาธิ

สมาธิ หมายถึง การตั้งใจมั่นอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ณ ขณะที่ทำสมาธิค่ะ เช่น นับลมหายใจเข้าออก, ยุบหนอ-พองหนอ นั่นแหละค่ะ

ขั้นตอนของการฝึกสมาธิจนได้ปัญญาคือ
๑. ทำความดี
๒. ละเว้นความชั่ว
๓. ทำจิตใจให้เบิกบาน (บริสุทธิ์เพราะเจตนาที่แท้ในการทำดีและละชั่วค่ะ ถือศีลนั่นแหละค่ะ)
๔. ทำสมาธิแบบสมถะ
๕. เกิดปัญญาญาน (รู้วิธีที่จะไปนิพพาน)
๖. ทำวิปัสสนา
๗. ปัญญาที่สูงขึ้น
๘. ตามข้อ ๖ และ ๗ ไปเรื่อยๆค่ะ เอาให้รู้แจ้งเห็นจริงน่ะค่ะ แต่ ต้องปฏิบัติอย่างไม่มีกิเลสทั้งนั้น นอกจาก 'ความเพียรอันบริสุทธิ์' ค่ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ย. 2009, 01:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


ปัญญา ศีล สมาธิ
viewtopic.php?f=7&t=25818

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ย. 2009, 21:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ก.ย. 2009, 21:17
โพสต์: 83

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ฟังแล้วถึงกับอึ้งครับ ไม่รู้จะกล่าวประการใด อย่างไรก็ตามผมก็เคยถามผู้รู้ในลานนี้เหมือนกัน
viewtopic.php?f=2&t=22849 เล่นเอาผมช้ำเลือดช้ำหนองไปเลย และความสงสัยก็ยังคาใจผมอยู่ถ้าท่าน วิสุทโธ ตอบได้ช่วยอนุเคราะห์ด้วยนะครับ



ความเชื่อความศรัทธา เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนลึกซึ้ง
หากผู้ฟังไม่เชื่อไม่ศรัทธา กล่าวไปก็ไม่มีประโยชน์..มีแต่ทำลายซึ่งกันและกัน

พ่อแม่ครูจารย์ท่านจึงมักสอนแนะนำเฉพาะในหลักการเบื้องต้นในวิธีการปฏิบัติภาวนา..
ไม่สอนรายละเอียดในส่วนปลายสุด...ในเรื่องการปฏิบัติภาวนา
เพราะสาเหตุหลายประการ ดังนี้
1.จริต นิสัยวาสนาแต่ละบุคคลไม่เหมือนกัน
2.อินทรีย์ และการเพียร ตลอดจนสติปัญญาต่างกัน
3.การสอนรายละเอียดในส่วนปลายสุดในเรื่องการปฏิบัติภาวนานั้น โดยที่ศิษย์ยังไม่ถึงสภาวะนั้น..
จะเป็นสัญญาอารมณ์ ทำให้ศิษย์ยึดเป็นแบบอย่างกลายเป็นอุปทาน โดยไม่พิจารณาหาแนวทางเฉพาะของตน..ทำให้ไม่ก้าวหน้าในการปฏิบัติ ทั้งที่เรื่องจิตตภาวนานั้นของใครของมัน..
4.หลักการเบื้องต้นในวิธีการปฏิบัติภาวนาย่อมไม่แตกต่างกันมาก แต่จะแตกต่างกันในรายละเอียดในบางขั้นตอนวิธีการปฏิบัติ และในรายละเอียดในส่วนปลายสุด ผลการปฏิบัติย่อมจะเหมือนกัน เพราะธรรมนั้นเป็นธรรมที่ออกมาจากใจ...ย่อมไหลลงสู่ธรรมธาตุเดียวกัน
5.เมื่อใดที่บุคคลนั้นปฏิบัติจนถึงสภาวะ จิตรวมใหญ่ ที่เรียกว่า จิตประภัสสร หรือ จิตเดิมแท้
ความสงสัยทั้งหลายย่อมหมดไป..โดยเฉพาะเรื่อง ของจิตและขันธ์ เมื่อฟังธรรมของหลวงปู่มั่น
เทศนาธรรมเรื่อง มุตโตทัย จะซาบซึ้งใจในอรรถธรรมที่ไพเราะเพราะพริ้ง ทุกถ้อยคำสมบูรณ์
จนไม่มีถ้อยคำใดจะสมบูรณ์เกินไปกว่านี้


แก้ไขล่าสุดโดย วิสุทโธ เมื่อ 25 ก.ย. 2009, 21:02, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ย. 2009, 02:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 เม.ย. 2009, 22:00
โพสต์: 407

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
อ้างอิงพระไตรปิฎก:
ความเชื่อความศรัทธา เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนลึกซึ้ง
หากผู้ฟังไม่เชื่อไม่ศรัทธา กล่าวไปก็ไม่มีประโยชน์..มีแต่ทำลายซึ่งกันและกัน

พ่อแม่ครูจารย์ท่านจึงมักสอนแนะนำเฉพาะในหลักการเบื้องต้นในวิธีการปฏิบัติภาวนา..
ไม่สอนรายละเอียดในส่วนปลายสุด...ในเรื่องการปฏิบัติภาวนา


ผมเห็นว่า ความเชื่่อความศรัทธานั้นต้องประกอบด้วยปัญญา และพิสูจน์ได้จากการปฏิบัติ
และปัญหาก็คือ รายละเีอียดในส่วนปลายสุดนี้เองดังที่ผมได้เคยถามไว้ใน
viewtopic.php?f=2&t=22849 ซึ่งจากหนังสือ" วิมุตติปฏิปทา " หน้า 471 ผู้เขียนที่ผมอ้างถึงท่านได้ฟันธงไปแล้วว่าการปฏิบัติแบบพองยุบ นั้นผิด ได้จุดหมายปลายทางคือพรหมซึ่งผมรู้สึกเศร้าหมองอย่างยิ่ง

อย่างไรก็ตามในรายละเอียดเบื้องต้นของการปฏิบัตินั้นก็น่าจะพิจารณาได้คร่าวๆ เช่น
"สตินั้นจะเกิดขึ้นเองไม่ต้องจงใจ จะเกิดขึ้นได้เพราะจดจำสภาวะของรูปนามนั้นได้ "[วิมุตติ มรรค หน้า 30] ซึ่งอันนี้หากพิจารณาจากปัญญาอันน้อยของผม ผมไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งเนื่องจากในเบื้องต้นจะต้องจงในให้สติเกิดก่อนและ เกิดให้ต่อเนื่องนานมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ตราบจนกระทั่งเกิดความชำนาญจน สติเกิดขึ้นเอง หรือที่กล่าวว่าจดจำสภาวะนั้น ดังนั้นในอันดับแรกจะต้องมีการบังคับหรือจงใจก่อน แม้กระทั่งการดูจิตเอง ผมก็สงสัยอยู่ว่าตอนที่จิตอยากจะไปดูสภาวะ เผลอแล้ว โกรธแล้ว สภาวะตอนนี้ไม่ใช่จงใจหรือ อีกอย่างหากจะรอดูเฉพาะช่วงที่มีอารมณ์ปรากฎ สติก็จะเกิดแบบไม่ต่อเนื่อง(Impulse) แล้วในช่วงที่อารมณ์ไม่ปรากฎเอาจิตไว้ที่ไหนเล่าเพราะห้ามจงใจ

หรือ " จิตที่เป็นกุศลจริงๆ ต้องมีลหุตา มีความเบา ถ้าเมื่อไรปฏิบัติแล้วจิตเกิดหนักๆ ขึ้นมา ทำผิดแน่นอน จิตที่เป็นกุศลจริงๆ จะต้องเบา" [วิธีการปฏิบัติธรรม พระปราโมทช์ หน้า 19 ] อันนี้ผมก็ไม่เป็นด้วยอย่างยิ่งยกตัวอย่างเช่นในผู้ที่แยกกายกับจิตยังไม่ ได้ ยังเข้าฌาณไม่ได้ หากกำหนด พุทโธ หรือยุบหนอพองหนอไปเรื่อย เวทนาเกิดปวดขา ปวดเข่า ในตอนแรกจิตมันก็จะต้องหนักแน่นอนเพราะเกิดความทรมาน ครูบาอาจารย์ทั้งหลายก็สอนว่าให้ใช้ขันติ อดทน เพียรกำหนดเวทนาไป(ถ้าผมจำไม่ผิดหลวงตาท่านก็เพียรนั่งกำหนดจนก้นแตก ถ้าเป็นหลวงพ่อจรัญท่านก็บอกให้ปวดหนอไปเรื่อยๆ) ตราบจนกระทั่งอยู่กับเวทนาได้ปวดแบบไม่ทรมาน จิตมันก็จะไม่หนัก ผมก็เลยงงว่าถ้าสอนอย่างนี้แล้วผู้ปฏิบัติใหม่จะทำอย่างไรพอเวทนาเกิดก็ต้อง เลิกหรือ ซักพักมาทำใหม่เวทนาก็เกิดอีก สติก็เกิดแบบไม่ต่อเนื่อง

ผมไม่ได้มีเจตนาลบหลู่ท่านใดอันนี้เป็นเพียงแต่ข้อสงสัยที่เกิดจากการเทียบเคียงในการปฏิบัติเท่านั้น
เจริญธรรมหากมีท่านใดสามารถไขข้อข้องใจได้ ช่วยโปรดบอกเป็นธรรมทาน

เจริญธรรม


แก้ไขล่าสุดโดย อายะ เมื่อ 26 ก.ย. 2009, 02:36, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ย. 2009, 21:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ก.ย. 2009, 21:17
โพสต์: 83

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เรียน คุณอายะ ที่คุณได้อธิบายมา..ถูกต้อง

สตินั้นจะเกิดขึ้นเองไม่ต้องจงใจ ...นี่คือ สติอัตโนมัติ
หรือมหาสติ ที่เป็นสติระดับขั้นพระอรหัตมรรค
ไม่ใช่สติที่เพิ่งเริ่มต้น..ล้มลุกคลุกคลาน
ที่ต้องอาศัยเจตนาความพากเพียรในการกำหนดตั้งสติให้ตั้งมั่น..

เปรียบคนหัดขับรถ เมื่อยังเพิ่งเริ่มต้นก็ต้องอาศัยความตั้งใจฝึกฝนจนชำนาญ
จนเมื่อตนเก่งเชี่ยวชาญในการขับรถ ถึงจะเลิกขับรถมานานหลายปี
แต่ความที่ตนเองขับรถเป็นก็ไม่สูญหายไปจากตน
ครั้นเมื่อใดที่ตนได้ลงมือขับรถแล้ว
มันก็จะรู้เองโดยอัตโนมัติว่า..จังหวะไหนจะเปลี่ยนเกียร์หรือเลี้ยวซ้ายเลี๊ยวขวา
เป็นการรู้เอง..เกิดแบบไม่จงใจ..แต่เกิดจากความชำนาญฝึกฝน
ดังนั้น...การที่สติเกิดขึ้นเองไม่ต้องจงใจ...เป็นระดับผู้เชี่ยวชาญ
แบบพระอรหันต์ที่มีสติตลอดเวลา โดยไม่ต้องตั้งใจให้มี..
ไม่ใช่..มือใหม่หัดขับ...

ถ้าเข้าใจผิด..ปล่อยปละเลย..ไปตามอารมณ์ที่ตามรู้ตามดูจิต
แต่ไม่รู้จักรักษาจิต ปล่อยจิตใจให้ไหลไปกับอารมณ์ฟุ้งซ่าน...
การดูจิตแบบนั้น..เป็นการดูจิตแบบไม่รักษาจิต ปล่อยจิตไปตามยถากรรม
รู้ว่าดี..รู้ว่าชั่ว..แต่ปล่อยจิตให้คิดกระทำ..ไปตามอำนาจกิเลส
จึงเป็นการรู้..แบบไม่ละ..
มันก็เป็นรู้แบบทำตามอำนาจกิเลส..ไม่ใช่รู้เพื่อละวางกิเลส


สำหรับผู้ที่แยกกายกับจิตได้..สภาวะนั้น..เรียกว่า จิตรวมใหญ่ หรือ อัปณาสมาธิ
โดยจิตมีผู้รู้ ผู้รู้ คือ จิต... เป็นสภาวะผู้รู้
ที่ดับสนิท คือ อารมณ์ฟุ้งซ่าน เวทนากายและเวทนาจิตกับนิวรณ์5
ไม่ใช่การดับสนิท แบบหัวตอ นั่นคือ ฌาน นอกพระศาสนา ที่ไม่มีองค์กรรมฐาน เช่น พุทโธ เป็นผู้รุ้
ดับทั้งอายนะภายนอกและอายนะภายใน..จึงไม่มีผู้รุ้ขาดสติ


แก้ไขล่าสุดโดย วิสุทโธ เมื่อ 26 ก.ย. 2009, 21:21, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ย. 2009, 01:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณ chulapinan การเผยแพร่พระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธองค์นั้น มีกฎเหล็กอยู่ข้อหนึ่ง คือ หากสิ่งที่นำมาแสดงไม่ใช่พระธรรมที่มาจากพระพุทธองค์จริงๆ แล้ว นำมาเผยแพร่ จะเพราะเหตุใดก็แล้วแต่ ผู้นั้นย่อมประสพบาปมิใช่บุญเป็นอันมาก ดังนั้น สิ่งที่ได้ยินได้ฟังมา จะต้องนำไปทบทวนกับพระสูตร หากไม่สามารถเทียบได้กับพระสูตรข้อใดข้อหนึ่งแล้ว ยืนยันได้ว่า มิใช่พระพุทธพจณ์ มิใช่คำสอนของพระพุทธองค์

เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงในการเผยแพร่พระธรรมคำสั่งสอน ดังนั้น การศึกษาจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก จะใช้ความรู้สึกมาตัดสินพระธรรมของพระพุทธองค์นั้นไม่ได้ พระธรรมนั้นมีแต่ความจริงและความไม่จริง ไม่มีคาดว่า หมายว่า เห็นว่า เหมือนว่าฯ อย่างการศึกษาทางโลก การพูดถึงพระธรรมนั้นจึงพูดเป็นเรื่องเดียวกัน เป็นเสียงเดียวกัน ไม่มีอะไรขัดแย้งกัน

หากปรากฎการสนทนาธรรมมีข้อขัดแย้ง ไม่ลงรอยเดียวกัน ไม่ว่าคำสอนนั้นจะมาจากผู้ใด อาการแบบนี้แสดงว่า มีความเห็นปนมา มีความไม่จริงปนมา ต้องกลับไปทบทวนพระสูตร มิเช่นนั้น จะเป็นการพาตนเองลงนรก เพราะรู้ผิด ทำผิด แล้วก็มาสอนผิดอีก สิ่งที่ผมได้นำมากล่าวเตือนนี้ มาจากพระพุทธพจณ์ เพราะพระพุทธองค์ทรงทราบดีถึงเหตุที่จะเกิดขึ้นนี้ การทะเลาะเบาะแว้งในหมู่สาวกก็ดี ลำดับการอันตราธานหายไปของศาสนาก็ดี การที่จะมีผู้อ้างเอาคำสอนของพระพุทธองค์ไปเป็นคำสอนของตัวเองก็ดี หรือการที่มีผู้แอบอ้างคำสอนของตัวเองเป็นคำสอนของพระพุทธองค์ก็ดี พวกนี้พากันตั้งหน้าตั้งตาเดินลงนรกอย่างไม่มีใครบังคับ อย่างพาตัวเองไปเป็นเหยื่อ ไปเป็นนกต่อ

อ้างคำพูด:
สมถะ ต้อง มาก่อนวิปัสสนาค่ะ เพราะวิปัสสนาเป็นการทำสมาธิโดยการคิด

อย่างข้อความตรงนี้ ยืนยันได้ว่าไม่ใช่คำสอนของพระพุทธองค์
ในพระไตรปิฎกกล่าวว่า สมถะและวิปัสสนามาคู่กัน จะก่อนจะหลังหรือพร้อมๆ กันก็ได้ และวิปัสสนาแปลว่าการเจริญปัญญา ไม่ใช่การทำสมาธิ ที่แปลว่าการเจริญความสงบ

อ้างคำพูด:
ปัญญาญาน ได้มาด้วยวิธีเดียว คือ รักษาศีล ทำใจให้เบิกบาน แล้วทำสมาธิ ทำโดยเพ่งความคิดไปที่สิ่งใดสิ่งหนึ่ง ไม่ให้ความคิดวอกแวก เมื่อไม่วอกแวก จิตก็สงบ เปิดรับธรรมได้มากขึ้น แล้วปัญญาจะเกิดตามมา แล้วค่อยทำวิปัสสนา เพื่อต่อยอดปัญญาให้สูงขึ้นค่ะ

ตรงนี้เป็นความคิดเห็นล้วนๆ ... สมาธิทำให้สงบ พอสงบแล้วมันก็ไม่เอาอะไร ไม่คิดอะไร ปัญญาที่ได้มาจากการทำสมาธิ เอาไปดับทุกข์ไม่ได้ (ระลึกชาติได้ มีหูทิพย์ ตาทิพย์ อ่านใจคนได้ รู้การเกิดตายของสัตว์ฯ) ต่อยอดไปเป็นวิปัสสนาไม่ไ้ด้ ผิดหลักเหตุปัจจัย ถ้าจะให้อธิบายมันจะยาวเอามากๆ

อ้างคำพูด:
พระพุทธองค์ก็เผยแพร่วิธีทำให้ใจสงบ คือ ทำสมาธิ

ตรงนี้พาลงนรกได้เลยนะครับ ... พระพุทธองค์ไม่เคยสอนให้อุบาสกอุบาสิกาที่ยังไม่ได้มรรคผลทำสมาธิ อานาปานสตินั้นสำหรับพระเสขและพระอรหันต์ สมาธิในพระพุทธศาสนาได้มาจากการที่เราละกาม ละกิเลสได้ ความสงบนั้นจึงเกิดขึ้นเอง การที่จะละกามละกิเลสได้ คือใช้ปัญญาหรือวิชชาปหานอวิชชา อย่าเอาไปสอนใครต่อใครเชียว นรกถามหา ไม่เชื่อก็ลองไปค้นในพระไตรปิฎกดู 45 เล่ม ว่ามีตรงใหนที่พระพุทธองค์สอนให้อุบาสกอุบาสิกาที่ยังไม่ได้มรรคผลไปทำสมาธิบ้าง

สำนวนที่พบบ่อยๆ ในพระไตรปิฎก คือ "ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลกรรมทั้งหลาย เกิดปิติ สุข บรรลุปฐมฌาน ฯ" การเรียงลำดับและความหมาย ตรงไปตรงมา

อ้างคำพูด:
๑. ทำความดี
๒. ละเว้นความชั่ว
๓. ทำจิตใจให้เบิกบาน (บริสุทธิ์เพราะเจตนาที่แท้ในการทำดีและละชั่วค่ะ ถือศีลนั่นแหละค่ะ)
๔. ทำสมาธิแบบสมถะ
๕. เกิดปัญญาญาน (รู้วิธีที่จะไปนิพพาน)
๖. ทำวิปัสสนา ...

สุดท้าย ... ตรงนี้เป็นการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า การที่จะได้เป็นพระพุทธเจ้าได้นั้น ต้องบำเพ็ญบารมีนับเป็นเป็นหลายๆ กัปป์ คนทั่วๆ ไปทำไม่ได้ ที่เราทำได้คือ ข้อ ๖ ที่คุณว่ามา เพราะพระพุทธองค์พบวิธีไปนิพานแล้ว จึงเอามาบอกพวกเราให้รู้จักการวิปัสสนา ผลจากการวิปัสสนาที่ถูกต้อง คือ ละกามละกิเลสละอกุศลกรรมได้ เพราะผลจากการวิปัสสนาคือปัญญาหรือวิชชา ที่นำมาปหานอวิชชาได้

ผู้ที่ไปนั่งทำสมาธิ โดยรู้เท่าไม่ถึงการ คิดว่าเป็นคำสอนของพระพุทธองค์ ไม่รู้จักทบทวนในพระสูตร เอาพระไตรปิฎกเก็บไว้บนหิ้ง กราบเช้ากราบเย็น พอพบสภาวะต่างๆ ที่เกิดจากสมาธิ แล้วก็พากันคิดไปว่า ได้มรรคผลนิพพานแล้ว เกิดการแทรกแทรงจากเทวปุตมาร เนรมิตให้เห็นภาพอะไรต่อมิอะไรเป็นตุเป็นตะ คิดไปว่าตัวเองได้คุณวิเศษ มีอยู่เรือนแสนเฉพาะในประเทศไทย

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ย. 2009, 20:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.พ. 2009, 20:42
โพสต์: 699


 ข้อมูลส่วนตัว


หมอนี่ยังแรงไม่เลิกแฮะ...

อ้างคำพูด:
วิปัสสนาแปลว่าการเจริญปัญญา

ไปแปลมาจากไหน

อ้างคำพูด:
สมาธิทำให้สงบ พอสงบแล้วมันก็ไม่เอาอะไร ไม่คิดอะไร ปัญญาที่ได้มาจากการทำสมาธิ เอาไปดับทุกข์ไม่ได้ (ระลึกชาติได้ มีหูทิพย์ ตาทิพย์ อ่านใจคนได้ รู้การเกิดตายของสัตว์ฯ) ต่อยอดไปเป็นวิปัสสนาไม่ไ้ด้ ผิดหลักเหตุปัจจัย

อันนี้ก็คิดเอาเอง มั่วเอาเอง แล้วรู้การเกิดตายของสัตว์ ก็เป็นข้อหนึ่งที่ทำให้พระพุทธเจ้าตรัสรู้ไม่ใช่เร๊อะ

อ้างคำพูด:
อานาปานสตินั้นสำหรับพระเสขและพระอรหันต์

อันนี้ก็คิดเอาเอง

อ้างคำพูด:
"ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลกรรมทั้งหลาย เกิดปิติ สุข บรรลุปฐมฌาน ฯ"

ไม่รู้เหรอว่า นี่แปลว่าทำสมาธิ

อ้างคำพูด:
การที่จะได้เป็นพระพุทธเจ้าได้นั้น ต้องบำเพ็ญบารมีนับเป็นเป็นหลายๆ กัปป์ คนทั่วๆ ไปทำไม่ได้

จะฝึกจิต ดันไม่ฝึกตามต้นตำรับ ต้องฝึกตาม Supareak Mulpong ตรัสรู้แล้วซิแก...

อ้างคำพูด:
ผู้ที่ไปนั่งทำสมาธิ... พอพบสภาวะต่างๆ ที่เกิดจากสมาธิ แล้วก็พากันคิดไปว่า ได้มรรคผลนิพพานแล้ว... คิดไปว่าตัวเองได้คุณวิเศษ มีอยู่เรือนแสนเฉพาะในประเทศไทย

นั่นเจออาจารย์ที่ยังแน่ไม่พอ แต่พวกวิปัสนาจนเพี้ยน ตั้งต้นเป็นอาจารย์ก็มีอยู่มากพอๆ กัน แถมทิฏฐิยังแรงกว่า เพราะอาจารย์สอนสมาธิ หากไปเจอคนที่เหนือกว่า ก็ต้องยอมรับโดยดุษณีว่า ตนเองยังไม่แน่พอ
พวกฤาษีทั้งหลายที่ว่าแน่ๆ ยังยอมเข้าทางพุทธ

แต่พวกวิปัสนาจนเพี้ยนนี้ เอาพระไตรปิฎกมาตั้ง แล้วคิดปรุงแต่ง ตั้งเป็นหลักสูตรใหม่เฉพาะตน ยิ่งกว่าอาจารย์สอนสมถะเสียอีก
อาจารย์สอนสมถะ อย่างน้อยผู้เรียนก็ได้ความสงบ แม้จะเห็นผิดไปบ้าง ก็แก้ไขได้ไม่ยาก แต่อาจารย์สอนวิปัสสนาแบบเพี้ยนๆ ผู้เรียนจะได้แต่อัตตา ทิฏฐิมานะ ยากจะแก้ไข


แก้ไขล่าสุดโดย murano เมื่อ 27 ก.ย. 2009, 20:19, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ย. 2009, 20:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ก.ย. 2009, 21:17
โพสต์: 83

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ตรงนี้เป็นความคิดเห็นล้วนๆ ... สมาธิทำให้สงบ พอสงบแล้วมันก็ไม่เอาอะไร ไม่คิดอะไร ปัญญาที่ได้มาจากการทำสมาธิ เอาไปดับทุกข์ไม่ได้ (ระลึกชาติได้ มีหูทิพย์ ตาทิพย์ อ่านใจคนได้ รู้การเกิดตายของสัตว์ฯ) ต่อยอดไปเป็นวิปัสสนาไม่ไ้ด้ ผิดหลักเหตุปัจจัย ถ้าจะให้อธิบายมันจะยาวเอามากๆ


คิดเอง เออเอง...ให้คะแนนตนเองซะสูงส่ง..
บอกให้เรียนถามปัญหากับพระอริยสงฆ์ก็ไม่ไป..
แบบนี้..นานแสนนาน..ที่จะพบความจริงของธรรม
ปฏิเสธนักปราชญ์ที่รู้ธรรมเห้นธรรม
เอาแต่มัวเมาตำราบ้าน้ำลายหลงตัวเอง..

เคยมีบ้างไหม...คนอ่านตำราแพทย์..เรียนเองศึกษาเอง..โดยไม่มีครูอาจารย์สั่งสอน..
อ่านจบทุกเล่มเท่าที่ตนศึกษามา...เข้าใจว่า..ตนสำเร็จในวิชาแพทย์แล้ว
วันหนึ่ง...มีคนป่วยเป็นโรคมะเร็ง...ต้องทำการผ่าตัดฉุกเฉิน..
จะทำการผ่าตัดรักษาคนไข้ได้ไหม..

ปัญหาที่ให้ขบคิด...สำหรับคนที่คิดว่า..ยึดตำราอย่างเดียว
1.ถามว่า..สำหรับคนอ่านตำราแพทย์..เรียนเองศึกษาเอง..โดยไม่มีครูอาจารย์สั่งสอน..
จะผ่าตัดรักษาคนป่วยเป็นโรคมะเร็งได้ไหม...
2.คนป่วยเป็นโรคมะเร็ง..คนไหนจะยอมเสี่ยงให้คนอ่านตำราแพทย์..เรียนเองศึกษาเอง..โดยไม่มีครูอาจารย์สั่งสอน..ผ่าตัดรักษาตนเอง...นอกจากพวกสมองเสื่อม
3.คนอ่านตำราแพทย์..เรียนเองศึกษาเอง..โดยไม่มีครูอาจารย์สั่งสอน..ไม่เคยฝึกปฏิบัติทดลองผ่าตัดเลย..หยิบมีดผ่าตัดฉีดเข็มยายังไม่เป็น..จะมีสติปัญญาที่ไหนไปผ่าตัด..นอกจากนอนฝันหวาน..ไปวันๆ
4.ถ้าเป็นแบบนี้..อ่านเองศึกษาเอง...ไม่ต้องมีครูอาจารย์สั่งสอน...
ทุกสถาบันทั้งวัด โรงเรียน มหาวิทยาลัย ไม่ต้องมีครูอาจารย์อุปัชฌาย์สั่งสอน...
ทำเป็นหลักสูตรแบบ..ให้นักศึกษาเรียนจากตำราด้วยตนเอง..และยกเลิกวันครู
เพี๊ยน..ไม่เลิก


แก้ไขล่าสุดโดย วิสุทโธ เมื่อ 27 ก.ย. 2009, 20:34, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ย. 2009, 21:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ก.ย. 2009, 21:17
โพสต์: 83

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การศึกษาอ่านตำราธรรมะพระไตรปิฏก
การตีความหมายพระธรรมให้ละเอียดลึกซึ้งนั้น...มันอยู่กับระดับสติปัญญาของผู้นั้น


การศึกษาธรรมะพระไตรปิฏก...โดยตีความหมายด้วยสติปัญญาตนเอง..
ทั้งที่ตนเองไม่ใช่ผู้รู้นักปราชญ์บัญฑิต..
ใช้มาตราฐานสติปัญญาตนเอง..ตีความหมายธรรมะพระไตรปิฏก
แล้วตัดสินว่า..ถูกหรือผิดด้วยตนเอง..
เป็นการกระทำที่มักง่าย..แบบเอาสีข้างเข้าถูไถ...
ศึกษาแบบคนหูหนวก ตาบอด ไม่เอาธรรมเป็นใหญ่...

ในเมื่อ..มีผู้รู้นักปราชญ์บัญฑิต...องค์อริยสงฆ์
ให้เราได้กราบเรียนเปิดโอกาสให้เราได้ปรึกษาเรียนถาม..ปัญหาธรรม
ทำไม..เราต้องปิดกั้น..ตนเอง..เอากะลามาครอบตัวเอง
ทำตัวเอง..ให้หูหนวก ตาบอด..จากโอกาสที่จะฟังธรรมจากพระอริยสงฆ์
หรือนอกจากเรา..ที่ฉลาดล้ำโลก..มีปัญญาเหนือใคร..ผู้อื่นโง่เขลาเบาปัญญา

ถามปรึกษาผู้รู้นักปราชญ์บัญฑิตไป..ท่านตอบไม่ตรงกับใจ..
มันไม่ถูกใจ..มันไม่ถูกต้อง..ไม่เป็นไปตามที่เราศึกษามา...
หรือเพราะเราเท่านั้น..คือ..คำตอบ..ที่ถูกต้อง

แบบนี้..น้ำเต็มแก้ว..


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ย. 2009, 21:58 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


คุณ Supareak Mulpong ครับ

อยากเป็นบัณฑิต... หรือ..อยากเป็นกะทะ

อยู่ที่หู..ของท่าน..แล้วละครับ

จะทำเป็นหูกะทะ..หรือ...หูบัณฑิต

:b12: :b12: :b12: :b12: :b12: :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ย. 2009, 22:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ก.ย. 2009, 21:17
โพสต์: 83

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พ่อแม่ครูจารย์ท่านสอนแนะนำเฉพาะในหลักการเบื้องต้นในวิธีการปฏิบัติภาวนา..
ท่านฯมักไม่สอนรายละเอียดในส่วนปลายสุด...ในเรื่องการปฏิบัติภาวนา
เพราะการปฏิบัติภาวนาในส่วนปลายสุดนั้น เป็นเรื่องภายในส่วนละเอียดของจิต เป็นปัจจัตตังเฉพาะตน

ดังนั้น..ท่านจะสอนเป็นอุบายวิธีเฉพาะรายบุคคล
ศิษย์ติดขัดในส่วนไหน..ก็แก้ไขในส่วนนั้น..
ท่านฯไม่บอกวิธีการรายละเอียดทั้งหมด..เพราะเป็นสัญญาอารมณ์
ไม่เป็นประโยชน์แก่ศิษย์..อันจะทำให้ศิษย์หลงพึ่งครูบาอาจารย์ไม่พึ่งสติปัญญาของตน
ท่านฯจึงใช้วิธีให้ศิษย์นำผลการการปฏิบัติภาวนาของตนมาเรียนถวาย..
เพื่อขอความเห็นข้อพิจารณาจากองค์ท่าน เพื่อปรับแก้ไขในส่วนที่ยังไม่ถูกต้อง...
แต่จะไม่นิยมแก้ข้อสงสัยของศิษย์ที่ยังปฏิบัติไม่ถึงสภาวะธรรมส่วนนั้น..แล้วมาซักถาม
เปรียบกับคำถามที่ไม่สมควรถาม..แล้วมาเรียนถาม..จะถูกดุตำหนิ..
เช่น ถ้าศิษย์ถามสภาวะพระนิพพานเป็นอย่างไร..
ทั้งๆ ที่ตนเองยังเจริญสติและสมาธิไม่มั่นคง..
แต่ไปถามปัญหาข้ออรรถธรรม..ที่ไกลเกินตัว..
พ่อแม่ครูจารย์ท่านอบรมเทศนาธรรมโดยตรงและวิธีการทำตัวอย่างให้ดู
ตามแต่จริตนิสัยวาสนาของศิษย์
ศิษย์ที่ได้อบรมกับครูบาอาจารย์จึงรู้ว่า..
สิ่งใดควรถาม..สิ่งใดค้นหาด้วยตนเอง.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ย. 2009, 22:41 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


สาธุ..

:b8: :b8: :b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 79 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร