วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 21:19  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 189 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8 ... 13  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ย. 2009, 01:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แทนขวัญ เขียน:
ซ้าย ขวา ซ้าย ซ้าย ขวา ซ้าย ...
นึกถึงตอนเดินพาเรดสมัยเด็กๆเหมือนกันนะคะ

แทนขวัญภาวนาไม่สัมพันธ์กับการเดินจริงๆค่ะ
เพราะพอก้าวเท้าซ้ายเหยียบพื้น
เท้าขวามันก็จะตามมาด้วยแล้ว
เช่นพอเราก้าวเท้าซ้ายไปข้างหน้า ตัวเราก็ต้องโยกเดินไปข้างหน้า
พอเหยียบพื้นเต็มเท้าซ้าย เท้าขวามันก็ต้องยกมาแล้วนิดนึง
เหยียบพื้นไว้ได้ไม่เต็มเท้า ก็จะงงๆ จะพะวงว่า ขวา ย่าง ยก อันไหนกันแน่

พอลองเดินใหม่ ก้าวซ้ายเหยียบพื้น แล้วยังคงที่เท้าขวาไว้
จะได้นับสเตปขวาย่างหนอ ซ้ายย่างหนอ
ท่าเดินมันก็ดูปะหลาดๆ ถึงได้งกๆเงิ่นๆอย่างที่บอกค่ะ :b9:
ดูเผินๆเหมือนจะง่าย แต่ยากมากๆ
หมายความว่าทุกๆการเคลื่อนไหวของกาย แม้จะเป็นการเคลื่อนไหวเล็กๆน้อยๆ
อย่างเดิน ก็ยังมี ยก ย่าง เหยียบ กินข้าวก็ ตักข้าว อ้าปาก เคี้ยวข้าว กลืน
ประมาณนี้รึปล่าวคะ

ถ้าเราจับได้ทุกการเคลื่อนไหว ทุกความคิด จะเป็นยังไงนะ


อนุโมทนาด้วยนะครับ คุณแทนขวัญ ที่มีจิตใฝ่ใจในธรรม

ก็น่าเห็นใจอย่างยิ่งครับคุณแทนขวัญ ที่พยายามเดินย่าง ซ้าย ย่างขวา นะครับ
แต่พระพุทธองค์ ทรงสอนให้ เราเดินตามสบายนะครับ เดินเหมือนคนปรกตินี่แหละครับ ท่านไม่ได้สอนให้เราเดินฟุ้ง ครับ หรือว่าฟุ้งไปเดินไปครับ

แต่มีข้อแม้นิดเดียวเองครับ
แล้วก็ทำได้ง่ายมากด้วยครับ สำหรับผู้เริ่มต้น
จิตต้องตั้งอยู่ในวิหารธรรม ก่อนครับ แล้วค่อยเดินสบายๆ การเดินจงกรมไม่ต้องไปซีเรียสอะไรมากมายหรอกครับ แค่เป็นการเปลี่ยนอิริยาบถ แล้วก็ทรงฌาน รักษาฌานไว้ การรักษาฌานที่ไ้ด้ไว้ นั่นแหละครับเรียกว่า อยู่ในวิหารธรรม

ก็คือ ทำจิตเป็นสัมมาสมาธิก่อนครับ ระงับความฟุ้งซ่านทั้งหลายทั้งปวง จิตสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย สำรวมกาย สำรวมใจ ไม่วอกแวก ไม่ปล่อยให้อารมณ์ภายนอกมารบกวนจิตใจ
คุณแทนขวัญ อาจจะพิจารณา บทพระธรรมเทศนา สักบทหนึ่งให้เกิดความแช่มชื่นใจ เกิดปิติในธรรม
ตั้งใจว่า ละความยินดี ความพอใจ ละความไม่ยินดี ไม่พอใจ สนใจอย่างเดียวคือ บทพระธรรมเทศนา
น้อมจิตไปตามพระธรรมเทศนา บทที่เลือกไว้ แต่ถ้าไม่สะดวก ก็บริกรรม เพียงแค่ "ไม่ยินดี ไม่ยินร้ายต่ออารมณ์"

เมื่อทำได้อย่างนี้ ค่อยเดินครับ ไม่ต้องไปใส่ใจว่าจะ ก้าวขาไหน ยกย่างขาไหน คุณแทนขวัญ สนใจแต่พระธรรมเทศนา ฟุ้งเมื่อไหร่ ก็หยุดเดิน แล้วก็น้อมจิตไปตามพระธรรมเทศนาใหม่ ก็เพียงพอแล้วครับ ลองดูครับ ง่ายมาก แล้วก็สบายๆ จิตใจสดใสแช่มชื่น เพราะพระธรรมเทศนาของพระพุทธองค์ตรัสไว้ดีแล้ว

“ความโศกทั้งหลาย
ย่อมไม่มีแก่ผู้มีจิตมั่นคงไม่ประมาท
เป็นมุนีผู้ศึกษาในทางแห่งมโนปฏิบัติผู้คงที่
สงบระงับแล้วมีสติในกาลทุกเมื่อ”



Quote Tipitaka:
ดูกรอานนท์ หากเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ จิตย่อม
น้อม ไปเพื่อจะจงกรม เธอย่อมจงกรมด้วยใส่ใจว่า อกุศลธรรมลามกคืออภิชฌาและโทมนัส จักไม่ครอบงำเราผู้จงกรมอยู่อย่างนี้ได้ ด้วยอาการนี้แล เป็นอันเธอรู้สึกตัวในเรื่องการจงกรม ฯ



เจริญธรรม

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แก้ไขล่าสุดโดย เช่นนั้น เมื่อ 21 ก.ย. 2009, 01:26, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ย. 2009, 01:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ศีลสูตร
Quote Tipitaka:
[๑๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มีศีลสมบูรณ์ มีปาติโมกข์
สมบูรณ์ จงเป็นผู้สำรวมในปาติโมกขสังวร สมบูรณ์ด้วยอาจาระและโคจร
มีปรกติเห็นภัยในโทษอันมีประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
เมื่อเธอทั้งหลายมีศีลสมบูรณ์ มีปาติโมกข์สมบูรณ์ สำรวมในปาติโมกข์สังวร
สมบูรณ์ด้วยอาจาระและโคจร มีปรกติเห็นภัยในโทษอันมีประมาณน้อย สมาทาน
ศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย กิจที่ควรทำยิ่งกว่านี้ จะพึงมีอะไรเล่า


ถ้าแม้ภิกษุกำลังเดินไป อภิชฌาไปปราศแล้ว พยาบาทไปปราศแล้ว ละถีนมิทธะได้แล้ว
ละอุทธัจจกุกกุจจะได้แล้ว ละวิจิกิจฉาได้แล้ว ปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน
มีสติมั่นไม่หลงลืม มีกายสงบไม่ระส่ำระสาย มีจิตมั่นคง มีอารมณ์เป็นหนึ่ง
ภิกษุแม้เดินอยู่เป็นอย่างนี้ เราเรียกว่า ผู้มีความเพียร มีโอตตัปปะ มีความเพียร
อันปรารภแล้วเป็นนิจนิรันดร มีใจเด็ดเดี่ยว ถ้าแม้ภิกษุยืนอยู่ ... ถ้าแม้ภิกษุ
นั่งอยู่ ... ถ้าแม้ภิกษุนอนตื่นอยู่ อภิชฌาไปปราศแล้ว พยาบาทไปปราศแล้ว
ละถีนมิทธะได้แล้ว ละอุทธัจจกุกกุจจะได้แล้ว ละวิจิกิจฉาได้แล้ว ปรารภความ
เพียรไม่ย่อหย่อน มีสติมั่นไม่หลงลืม มีกายสงบไม่ระส่ำระสาย มีจิตมั่นคง
มีอารมณ์เป็นหนึ่ง ภิกษุแม้นอนตื่นอยู่เป็นอย่างนี้ เราเรียกว่า ผู้มีความเพียร
มีโอตตัปปะ มีความเพียรอันปรารภแล้วเป็นนิจนิรันดร มีใจเด็ดเดี่ยว ฯ


ภิกษุพึงเดินตามสบาย พึงยืนตามสบาย พึงนั่งตามสบาย พึง
นอนตามสบาย พึงคู้ตามสบาย พึงเหยียดตามสบาย ตลอด
คติของโลก ทั้งเบื้องบน ท่ามกลาง และเบื้องต่ำ และพิจารณา
ตลอดความเกิด และความเสื่อมไปแห่งธรรม และขันธ์
ทั้งหลาย นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวภิกษุอย่างนั้น ผู้มีสติทุก
เมื่อ ศึกษาปฏิปทาอันสมควรแก่ความสงบใจเสมอ ว่ามีใจเด็ดเดี่ยว ฯ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ย. 2009, 07:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




207455.jpg
207455.jpg [ 74.16 KiB | เปิดดู 5148 ครั้ง ]
อ้างคำพูด:
แค่เป็นการเปลี่ยนอิริยาบถ แล้วก็ทรงฌาน รักษาฌานไว้ การรักษาฌานที่ไ้ด้ไว้ นั่นแหละครับเรียกว่า อยู่ในวิหารธรรม


สวัสดีครับ :b1: :b12: คุณเช่นนั้นอะโป๊ะ

ถามนะครับ ฌาน ครับ ฌาน ๆ ในความหมายของคุณคืออะไร ต้องยังไง

จะไม่ถามว่าคุณได้ฌานอะไร

แต่จะถามว่า คุณแทนขวัญได้ฌานอะไรครับ

คุณถึงได้แนะนำให้คุณแทนขวัญ ทรงฌาน รักษาฌาน

ตอบครับ :b31:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 26 ก.ย. 2009, 21:13, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ย. 2009, 12:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ฮริ ฮริ คุณแทนขวัญยังไม่ได้ถาม คุณกรัชกายซัง กลับอยากรู้ แปลกจัง
กามสัญญา เข้าใจหรือยัง ถึงสนใจเรื่องฌาน

ถ้าอยากรู้ ฌาน คืออะไร ก็ตั้งกระทู้ใหม่ถาม
เพราะกระทู้นี้ แนะนำอุบาย หรือวิธีเดินจงกรม

พระสูตร ตรัสสอนเกี่ยวกับ ฌาน และการเดินจงกรม ก็ทำลิงค์ ไว้ให้กรัชกายซังไปอ่าน
เพื่อให้เกิดปัญญาในธรรม แต่กรัชกายซัง ก็เหมือนเดิม อะนะ ไม่อ่าน ไม่ทำความเข้าใจ

เช่นนั้น นั่งรอคุณแทนขวัญ ดีกว่า ฮิฮิ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ย. 2009, 12:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
ฮริ ฮริ คุณแทนขวัญยังไม่ได้ถาม คุณกรัชกายซัง กลับอยากรู้ แปลกจัง
กามสัญญา เข้าใจหรือยัง ถึงสนใจเรื่องฌาน

ถ้าอยากรู้ ฌาน คืออะไร ก็ตั้งกระทู้ใหม่ถาม
เพราะกระทู้นี้ แนะนำอุบาย หรือวิธีเดินจงกรม

พระสูตร ตรัสสอนเกี่ยวกับ ฌาน และการเดินจงกรม ก็ทำลิงค์ ไว้ให้กรัชกายซังไปอ่าน
เพื่อให้เกิดปัญญาในธรรม แต่กรัชกายซัง ก็เหมือนเดิม อะนะ ไม่อ่าน ไม่ทำความเข้าใจ

เช่นนั้น นั่งรอคุณแทนขวัญ ดีกว่า ฮิฮิ



แถอีก

คุณเช่นนั้นอะโป๊ะ

ฟังเพลงอีกสักรอบเป็นไง


http://www.imeem.com/minimaru/music/089 ... nesianmp3/

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ย. 2009, 15:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




47.jpg
47.jpg [ 70.8 KiB | เปิดดู 5412 ครั้ง ]
อ้างคำพูด:
ตอนนี้เดินช้าๆก็พอทำได้บ้างแล้วค่ะ



ฝึกเดินช้าๆที่ห้องไปก่อนครับ

เมื่อการเดิน+ความคิดสัมพันธ์กันแล้ว วิ่งเลยครับ ซ้าย ขวาๆๆ


อ้างคำพูด:
เดินเป็นหรือไม่เป็น แต่ผลพลอยได้ตอนนี้ทำให้ไม่เืบื่อเวลาเิดินขึ้นลงบันไดไปได้ค่ะ
ห้องพักแทนขวัญอยู่ชั้น 4 จะขี้เกียจเดินขึ้นลงมาก



ดีแล้วครับ เอาการเดินขึ้นลงบันไดนั่นแหละฝึกไป ก้าวเท้าขวา ซ้าย ขวา ซ้าย รู้สึกตัวไปเรื่อยๆ



อ้างคำพูด:
ดูเผินๆเหมือนจะง่าย แต่ยากมากๆ



หากเทียบความยากง่าย ระหว่างเดินจงกรม กับการที่เราทำให้ชายหนุ่มคนที่เรารัก รักตอบเราเนี่ย

คูณแทนขวัญว่า อย่างไหนยากง่ายกว่ากันครับ (แซวให้คิด)


อ้างคำพูด:
หมายความว่า ทุกๆการเคลื่อนไหวของกาย แม้จะเป็นการเคลื่อนไหวเล็กๆน้อยๆ
อย่างเดิน ก็ยังมี ยก ย่าง เหยียบ กินข้าวก็ ตักข้าว อ้าปาก เคี้ยวข้าว กลืน
ประมาณนี้รึปล่าวคะ

ถ้าเราจับได้ทุกการเคลื่อนไหว ทุกความคิด จะเป็นยังไงนะ



ถ้าเราจับได้ทุกการเคลื่อนไหว ทุกความคิด จะเป็นยังไงนะ



ตอบสั้นๆ ก็จะเป็นวิปัสสนา


ดูความหมายวิปัสสนา ลิงค์นี้


viewtopic.php?f=2&t=21861&st=0&sk=t&sd=a&start=15

เลือกหัวข้อนี้ => (สติที่ตามทัน ขณะปัจจุบัน เป็นหลักสำคัญของวิปัสสนา)

และ

จะเป็นการอยู่อย่างไม่มีทุกข์ที่จะต้องดับ

หัวข้อนี้ดูอธิบายยาวๆ ที่

viewtopic.php?f=2&t=19006

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ย. 2009, 01:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
ฝึกเดินช้าๆที่ห้องไปก่อนครับ
เมื่อการเดิน+ความคิดสัมพันธ์กันแล้ว วิ่งเลยครับ ซ้าย ขวาๆๆ

ดีแล้วครับ เอาการเดินขึ้นลงบันไดนั่นแหละฝึกไป ก้าวเท้าขวา ซ้าย ขวา ซ้าย รู้สึกตัวไปเรื่อยๆ

ถ้าเราจับได้ทุกการเคลื่อนไหว ทุกความคิด จะเป็นยังไงนะ
ตอบสั้นๆ ก็จะเป็นวิปัสสนา


^U^** กรัชกายซัง เดินคิดคนเดียวไม่พอนิ ยังสอนเดินฟุ้ง ให้คุณแทนขวัญอีก :b12: :b19:


Quote Tipitaka:
อ้างคำพูด:
[๓๔๘] ดูกรอานนท์ หากเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ จิตย่อม
น้อมไปเพื่อจะจงกรม เธอย่อมจงกรมด้วยใส่ใจว่า อกุศลธรรมลามกคืออภิชฌา
และโทมนัส จักไม่ครอบงำเราผู้จงกรมอยู่อย่างนี้ได้ ด้วยอาการนี้แล เป็น
อันเธอรู้สึกตัวในเรื่องการจงกรม ฯ


การเจริญธรรม เพื่อ ละการพัวพันในกามสัญญา ไม่ใช่มีสติตามดูกามสัญญา
สติตามดูกามสัญญา สังโยชน์ย่อมร้อยรัดแน่นขึ้นเพียงนั้น

ติ๊กๆ ต๊อกๆ
จนกระทั้งบัดนี้ กรัชกายซังยัง ไม่ เข้าใจเดินอยู่ดี
กามสัญญา ก็ไม่รู้จักอยู่ดี...........

เดินละกามสัญญา
ไม่เดินฟุ้ง ตามกามสัญญา

กามสัญญาเอยยยยยยยยยยย หน้าตาเจ้าเป็นไฉนน๊าาาาาาาา ไยกรัชกายซังรักกามสัญญาจัง :b9: :b9:

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ย. 2009, 19:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว



คุณเช่นนั้นอะโป๊ะขอรับ หายไปไหน
ขอปรึกษาหน่อยในฐานะท่านเช่นนั้น รอบรู้เรื่องจงกรม
เขาเดินจงกรมแล้วเป็นดังนี้ =>



เดินจงกรมซักพัก แว้บนึงก้มไปมองที่เท้า เห็นว่าเท้าที่เดินอยู่ไม่ใช่ตัวเรา
ความรู้สึกเหมือนเรามองศพคนอื่น แต่ว่าพอเห็นเช่นนั้น ความกลัวผุดขึ้น
จิตมันก็เลยถอยออกมา จากความรู้สึกนั้น

ที่เห็นเช่นนี้ ปฏิบัติถูกต้องไหมครับ ?

ถ้าผิด/ถูก ควรทำอย่างไรต่อไป ?


เป็นกามสัญญิง กามสัญญาอะไรยังไง
ขอคำแนะนำจากคุณเช่นนั้นครับ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ย. 2009, 23:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
ขอปรึกษาหน่อยในฐานะท่านเช่นนั้น รอบรู้เรื่องจงกรม


อิอิ เม๋ กรัชกายซัง
ผู้ที่รอบรู้ ท่านทรงแสดงไว้ 2500 กว่าปีก่อนครับ เช่นนั้น ปฏิบัติตามเองครับ
ไม่นอกลู่นอกทาง คิดเองเออเองครับ



อ้างคำพูด:
เดินจงกรมซักพัก แว้บนึงก้มไปมองที่เท้า เห็นว่าเท้าที่เดินอยู่ไม่ใช่ตัวเรา
ความรู้สึกเหมือนเรามองศพคนอื่น แต่ว่าพอเห็นเช่นนั้น ความกลัวผุดขึ้น
จิตมันก็เลยถอยออกมา จากความรู้สึกนั้น
ที่เห็นเช่นนี้ ปฏิบัติถูกต้องไหมครับ ?
ถ้าผิด/ถูก ควรทำอย่างไรต่อไป ?


เดินแบบนี้ คงต้องไป ถามสำนักท่านกรัชกายซังครับ

ไม่รู้จักครับ พระพุทธองค์ ไม่เคยสอน อะไร พิกลพิการ แบบนี้ตั้งแต่แรก ครับ


อ้างคำพูด:
ดูกรอานนท์ หากเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ จิตย่อม
น้อม ไปเพื่อจะจงกรม เธอย่อมจงกรมด้วยใส่ใจว่า อกุศลธรรมลามกคืออภิชฌาและโทมนัส จักไม่ครอบงำเราผู้จงกรมอยู่อย่างนี้ได้ ด้วยอาการนี้แล เป็นอันเธอรู้สึกตัวในเรื่องการจงกรม ฯ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ย. 2009, 00:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.พ. 2009, 00:03
โพสต์: 111


 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:

อนุโมทนาด้วยนะครับ คุณแทนขวัญ ที่มีจิตใฝ่ใจในธรรม

ก็น่าเห็นใจอย่างยิ่งครับคุณแทนขวัญ ที่พยายามเดินย่าง ซ้าย ย่างขวา นะครับ
แต่พระพุทธองค์ ทรงสอนให้ เราเดินตามสบายนะครับ เดินเหมือนคนปรกตินี่แหละครับ ท่านไม่ได้สอนให้เราเดินฟุ้ง ครับ หรือว่าฟุ้งไปเดินไปครับ

แต่มีข้อแม้นิดเดียวเองครับ
แล้วก็ทำได้ง่ายมากด้วยครับ สำหรับผู้เริ่มต้น
จิตต้องตั้งอยู่ในวิหารธรรม ก่อนครับ แล้วค่อยเดินสบายๆ การเดินจงกรมไม่ต้องไปซีเรียสอะไรมากมายหรอกครับ แค่เป็นการเปลี่ยนอิริยาบถ แล้วก็ทรงฌาน รักษาฌานไว้ การรักษาฌานที่ไ้ด้ไว้ นั่นแหละครับเรียกว่า อยู่ในวิหารธรรม

ก็คือ ทำจิตเป็นสัมมาสมาธิก่อนครับ ระงับความฟุ้งซ่านทั้งหลายทั้งปวง จิตสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย สำรวมกาย สำรวมใจ ไม่วอกแวก ไม่ปล่อยให้อารมณ์ภายนอกมารบกวนจิตใจ
คุณแทนขวัญ อาจจะพิจารณา บทพระธรรมเทศนา สักบทหนึ่งให้เกิดความแช่มชื่นใจ เกิดปิติในธรรม
ตั้งใจว่า ละความยินดี ความพอใจ ละความไม่ยินดี ไม่พอใจ สนใจอย่างเดียวคือ บทพระธรรมเทศนา
น้อมจิตไปตามพระธรรมเทศนา บทที่เลือกไว้ แต่ถ้าไม่สะดวก ก็บริกรรม เพียงแค่ "ไม่ยินดี ไม่ยินร้ายต่ออารมณ์"


ยังไม่ค่อยเ้ข้าใจค่ะ ว่าการตั้งจิตให้อยู่ในวิหารธรรมนั้นทำยังไง

อ้างคำพูด:
เมื่อทำได้อย่างนี้ ค่อยเดินครับ ไม่ต้องไปใส่ใจว่าจะ ก้าวขาไหน ยกย่างขาไหน คุณแทนขวัญ สนใจแต่พระธรรมเทศนา ฟุ้งเมื่อไหร่ ก็หยุดเดิน แล้วก็น้อมจิตไปตามพระธรรมเทศนาใหม่ ก็เพียงพอแล้วครับ ลองดูครับ ง่ายมาก แล้วก็สบายๆ จิตใจสดใสแช่มชื่น เพราะพระธรรมเทศนาของพระพุทธองค์ตรัสไว้ดีแล้ว


ถ้าเราจำพระธรรมเทศนาไม่ได้ล่ะคะ
ถ้าอารมณ์ดีๆแทนขวัญเคยเดินร้องเพลงค่ะ ตอนเด็กๆก็เคยเดินท่องสูตรคูณ
แทนขวัญรู้สึกว่าวิธีการคล้ายๆกันรึปล่าวค่ะ เพียงแต่เปลี่ยนสูตรคูณเป็นพระธรรมเทศนา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ย. 2009, 00:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.พ. 2009, 00:03
โพสต์: 111


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:


อ้างคำพูด:
ดูเผินๆเหมือนจะง่าย แต่ยากมากๆ



หากเทียบความยากง่าย ระหว่างเดินจงกรม กับการที่เราทำให้ชายหนุ่มคนที่เรารัก รักตอบเราเนี่ย

คูณแทนขวัญว่า อย่างไหนยากง่ายกว่ากันครับ (แซวให้คิด)


:b9: แหม เข้าใจแล้วค่ะ


อ้างคำพูด:
หมายความว่า ทุกๆการเคลื่อนไหวของกาย แม้จะเป็นการเคลื่อนไหวเล็กๆน้อยๆ
อย่างเดิน ก็ยังมี ยก ย่าง เหยียบ กินข้าวก็ ตักข้าว อ้าปาก เคี้ยวข้าว กลืน
ประมาณนี้รึปล่าวคะ

ถ้าเราจับได้ทุกการเคลื่อนไหว ทุกความคิด จะเป็นยังไงนะ


กรัชกาย เขียน:

ถ้าเราจับได้ทุกการเคลื่อนไหว ทุกความคิด จะเป็นยังไงนะ



ตอบสั้นๆ ก็จะเป็นวิปัสสนา


ดูความหมายวิปัสสนา ลิงค์นี้


viewtopic.php?f=2&t=21861&st=0&sk=t&sd=a&start=15

เลือกหัวข้อนี้ => (สติที่ตามทัน ขณะปัจจุบัน เป็นหลักสำคัญของวิปัสสนา)

และ

จะเป็นการอยู่อย่างไม่มีทุกข์ที่จะต้องดับ

หัวข้อนี้ดูอธิบายยาวๆ ที่

viewtopic.php?f=2&t=19006


:b8: ขอบคุณค่ะ ตามอ่านค่ะ
จะค่อยๆพิจารณาดู

ลองทำเรื่อยๆค่ะ
ยังวนเวียนอยู่แถวๆนี้ค่ะ :b9:


แก้ไขล่าสุดโดย แทนขวัญ เมื่อ 24 ก.ย. 2009, 00:16, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ย. 2009, 00:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีครับคุณแทนขวัญ

แทนขวัญ เขียน:
ยังไม่ค่อยเ้ข้าใจค่ะ ว่าการตั้งจิตให้อยู่ในวิหารธรรมนั้นทำยังไง

ถ้าเราจำพระธรรมเทศนาไม่ได้ล่ะคะ
ถ้าอารมณ์ดีๆแทนขวัญเคยเดินร้องเพลงค่ะ ตอนเด็กๆก็เคยเดินท่องสูตรคูณ
แทนขวัญรู้สึกว่าวิธีการคล้ายๆกันรึปล่าวค่ะ เพียงแต่เปลี่ยนสูตรคูณเป็นพระธรรมเทศนา


ปรากฏการณ์ ของการปฏิบัติผิดลำดับ มักปรากฏเสมอครับ
การเดินจงกรม เป็นการเดินรักษา ฌาน หรือกุศลจิตที่ได้เจริญไว้แล้ว ไม่ให้เสื่อมไม่ให้สูญ ขณะที่เปลี่ยนอิริยาบถ จากนั่งนานเกินไป เป็นเดินบ้าง จากเดินนานเกินไปเป็นนั่ง หรือยืน บ้าง ครับ

ยกตัวอย่างเช่น คุณแทนขวัญ ได้ฟังเทศนา จากท่านมหาบัว แล้วน้อมจิตตามไปในเทศนานั้น จนเกิดปิติ สุขขึ้นมา ขณะนั้นจิตคุณแทนขวัญก็ตั้งอยู่ในปฐมฌานแล้วครับ เพราะเป็นปิติ สุขอันเกิดจากธรรมปิติ อธิบายง่ายๆ แบบนี้ พอเข้าใจน๊ะครับ จากนั้น คุณแทนขวัญก็น้อมจิตในเทศนานั้น และตั้งอยู่ในปิติ สุขนั้น แล้วก็เดินรักษา ประคองจิตนั้นไว้ ก็เรียกว่า เดินจงกรม มีจิตตั้งอยู่ในวิหารธรรม คือ ปฐมฌานสมาบัติ เป็นต้นครับ

ดังนั้น เจริญธรรมหรือปฏิบัติธรรม จึงเป็นการอบรมจิตก่อนครับ อบรมด้วยบทพระธรรมเทศนา จนเกิดปิติในธรรม ไม่ใช่เอาเนื้อร้อง บทเพลงที่ไร้สาระในการอบรมจิตให้เกิดปัญญาในธรรม มาระลึกครับ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้ บทพระธรรมเทศนา หรือ คำบริกรรมที่อบรมจิตให้ละกิเลส ละความยินดี ยินร้าย มาอบรมจิตครับ และก็เหมือนกับท่องแทนสูตรคูณตามที่คุณแทนขวัญกล่าวครับ แต่ต้องปฏิบัติตามนั้นให้ได้ด้วยครับ


จิต มนสิการในพระธรรมเทศนาเพื่อ ละ ตามยินดียินร้ายในกามสัญญา ไม่ฟุ้งไปตามกามสัญญา นี่คือเ้ป้าหมายในการอบรมจิตครับ

การเดินโดยมีสติดูกาย ดูการย่างเดิน อย่างนั้น ก่อให้เกิดสักกายะทิฐิครับ เป็นทิฐิที่ไม่พึงเจริญครับ
แนะนำว่า ควรหยุดก่อนจะสายเกินไป

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แก้ไขล่าสุดโดย เช่นนั้น เมื่อ 24 ก.ย. 2009, 00:48, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ย. 2009, 08:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ได้ฟังเทศนา จากท่านมหาบัว แล้วน้อมจิตตามไปในเทศนานั้น จนเกิดปิติ สุขขึ้นมา ขณะนั้นจิตคุณแทนขวัญก็ตั้งอยู่ในปฐมฌานแล้วครับ เพราะเป็นปิติ สุขอันเกิดจากธรรมปิติ อธิบายง่ายๆ แบบนี้ พอเข้าใจน๊ะครับ จากนั้น คุณแทนขวัญก็น้อมจิตในเทศนานั้น และตั้งอยู่ในปิติ สุขนั้น แล้วก็เดินรักษา ประคองจิตนั้นไว้ ก็เรียกว่า เดินจงกรม มีจิตตั้งอยู่ในวิหารธรรม คือ ปฐมฌานสมาบัติ เป็นต้นครับ




นิทานเรื่อง “ยายเฉิ่มประคองฌาน”

ยายเฉิ่มเป็นคนธรรมะธรรม โม เข้าวัดเข้าวาฟังเทศน์ประจำทุกวันพระ

เช้าขึ้นมาก็ทำกับข้าวใส่ปิ่นโตหิ้วเดินลัดตัดทุ่งมุ่งหน้าสู่วัดชายนา เพื่อฟังธรรม

วันนั้นอากาศเย็นๆด้วย ยายเฉิ่มนั่งฟังเทศน์ฟังธรรมจากหลวงพ่อ มีตอนหนึ่งว่า

ผู้ฟังย่อมฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง สิ่งใดเคยฟังแล้วแต่ไม่เข้าใจชัดย่อมเข้าใจสิ่งนั้นชัด ฯลฯ

สุดท้ายตายแล้วจะได้ขึ้นสวรรค์

ยายเฉิ่มปลื้มใจตายจะได้ไปสวรรค์ เกิดปีติขนลุกซู่น้ำตาซึม

นึกว่าเออ...วันนี้หลวงพ่อเทศน์จนเราได้ฌาน

หลังจากนั้นจึงลำดับฌาน...วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา

เออ...นี่เราได้ฌานที่ ๑ แล้วนี่ มีปีติด้วย ตะกี้เราเกิดปีติขนลุกซู่ซ่าๆ ปฐมฌานแหง๋ๆ

ไล่ต่ออีก ...ปีติ สุข เอกัคคตา ฌานนี้ก็มีปีติ โอ้...เราน่าจะก้าวขึ้นฌานที่ ๒ แล้ว

เข้าไปกราบหลวงพ่อ แล้วเล่าเรื่องให้ฟัง

หลวงพ่อกล่าวว่า โยมเฉิ่ม โยมได้ฌานแล้ว ติดฌานแล้ว ประคองดีๆนะ

ประคองไว้ให้นานที่สุด เดินกลับบ้านระวังด้วยนะประคองไว้เดี๋ยวฌานเสื่อม

“เจ้าค่ะ” ยายเฉิ่มรับคำ ดีใจ ฉวยปิ่นโตได้ก็เดินตัวตรงประคองฌานกลับบ้าน

ครั้นมีคนถามว่า เป็นอะไร ยายเฉิ่ม วันนี้ดูท่าทางแปลกๆ

“ประคองฌาน ” ยายเฉิ่มตอบสั้นๆ ไม่พูดมากกลัวฌานเสื่อม แล้วก็เดินไต่คันนาต่อไป

ทีนี้มัวแต่เดินตัวตรงประคองฌาน ในมือก็มีปิ่นโต

ก้าวพลาดตกคันนาหัวทิ่ม คอเคล็ด รู้สึกเสียวแปล๊บที่ต้นคอ

เกิดทุกขเวทนา (ปวด) ปีติดับฌานเสื่อมเสียใจร้องไห้ :b2: เดินคอตะแคงกลับบ้าน

ปิ่นต่งปิ่นโตก็ไม่เอามันแล้ว :b32:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 24 ก.ย. 2009, 11:11, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ย. 2009, 10:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
การเดินโดยมีสติดูกาย ดูการย่างเดิน อย่างนั้น ก่อให้เกิดสักกายะทิฐิครับ เป็นทิฐิที่ไม่พึงเจริญครับ

แนะนำว่า ควรหยุดก่อนจะสายเกินไป




การเดินโดยมีสติดูกาย ดูการย่างเดิน อย่างนั้น ก่อให้เกิดสักกายะทิฐิครับ



คุณเช่นนั้นอะโป๊ะ ปฏิเสธสติปัฏฐาน โดยเฉพาะข้อกายานุปัสสนา นำมาให้ดูเป็นตัวอย่างดังนี้




คำจำกัดความสัมมาสติ


สัมมาสติ เป็นองค์มรรคข้อที่ 2 ในหมวดสมาธิ หรือ อธิจิตตสิกขา

มีคำจำกัดความแบบพระสูตร ดังนี้


“ภิกษุทั้งหลาย สัมมาสติเป็นไฉน? นี้เรียกว่า สัมมาสติ คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้

1) พิจารณาเห็นกายในกาย มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา และโทมนัส

ในโลกเสียได้

2) พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา

และโทมนัสในโลกเสียได้

3) พิจารณาเห็นจิตในจิต มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา และ โทมนัส

ในโลกเสียได้

4) พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา

และโทมนัสในโลกเสียได้

(ที.ม. 10/299/349ฯลฯ )



สัมมาสติ ตามคำจำกัดความแบบพระสูตร ก็คือ หลักธรรมที่เรียกว่า

สติปัฏฐาน 4 นั่นเอง


หัวข้อทั้ง 4 ของหลักธรรมหมวดนี้ มีชื่อเรียกสั้นๆ คือ


1) กายานุปัสสนา การพิจารณากาย, การตามดูรู้ทันกาย

2) เวทนานุปัสสนา การพิจารณาเวทนา, การตามดูรู้ทันเวทนา

3) จิตตานุปัสสนา การพิจารณาจิต, การตามดูรู้ทันจิต

4) ธัมมานุปัสสนา การพิจารณาธรรมต่างๆ, การตามดูรู้ทันธรรม



สติปัฏฐานในฐานะสัมมาสติ

สติปัฏฐาน แปลว่า ที่ตั้งของสติบ้าง

การที่สติเข้าไปตั้งอยู่ คือ มีสติกำกับอยู่บ้าง ฯลฯ

โดยหลักการ ก็คือ การใช้สติ หรือ วิธีปฏิบัติเพื่อใช้สติให้บังเกิดผลดีที่สุด

อย่างที่กล่าวถึงในพุทธพจน์ในมหาสติปัฏฐานสูตรว่า

“ภิกษุทั้งหลาย ทางนี้เป็นมรรคาเอก (ทางเดียว) เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย

เพื่อข้ามพ้นความโศก และ ปริเทวะ เพื่อความอัสดงแห่งทุกข์ และ โทมนัส

เพื่อบรรลุโลกุตรธรรม เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน นี้ คือ สติปัฏฐาน ๔”


(ที.ม.10/273/325 ; ม.มู.12131/103 สติปัฏฐานมาใน อภิ.วิ.35/431-464/257-279 ด้วย)


ทำความเข้าใจทั้งหมดเองลิงค์นี้


viewtopic.php?f=2&t=21861

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ย. 2009, 10:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
แนะนำว่า ควรหยุดก่อนจะสายเกินไป


ไม่พึงแนะนำให้คุณแทนขวัญหยุดครับ

แต่สำหรับคุณกรัชกายยุส่งให้คุณเดินประคองชานเช่นว่านั้นต่อๆไป จนกว่าจะตายกันไปข้าง

หนึ่ง :b16: :b32:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 24 ก.ย. 2009, 17:25, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 189 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8 ... 13  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร