วันเวลาปัจจุบัน 20 ก.ค. 2025, 03:12  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 189 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7 ... 13  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ย. 2009, 11:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดี กรัชซายซัง :b17: :b4: :b4:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ย. 2009, 17:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




Jane_peace_position.jpg
Jane_peace_position.jpg [ 134.64 KiB | เปิดดู 4876 ครั้ง ]
ที่ถกเถียงกันอีกอย่างหนึ่ง คือ การนั่ง ว่าจะนั่งอิท่าไหนดี

แล้วตำราท่านกล่าวไว้อย่างไร เรามาดูกัน

ตำราท่านจัดลำดับขั้นตอนไว้ดังนี้



-เตรียมการ
-ท่านั่ง
-การนับ (คณนา)
-การติดตาม (อนุพันธนา)

(จะนำท่าหรืออิริยาบถนั่งให้ดู)


ท่านั่ง

หลักการอยู่ที่ว่าอิริยาบถใดก็ตาม ที่ทำให้ร่างกายอยู่ในภาวะผ่อนคลายสบายที่สุด

แม้ปฏิบัติอยู่นานๆ ก็ไม่เมื่อยล้า และทั้งช่วยให้การหายในคล่องสะดวก

ก็ใช้อิริยาบถนั้น

การณ์ปรากฏว่า อิริยาบถที่ท่านผู้สำเร็จนับจำนวนไม่ถ้วน

ได้พิสูจน์กันมาตลอดกาลนานนักหนา ว่าได้ผลดีที่สุดตามหลักการนั้นก็ คือ

อิริยาบถนั่งในท่าที่เรียกว่าขัดสมาธิ (สะหมาด) หรือ ที่พระเรียกว่า นั่งคู้บัลลังก์

ตั้งกายตรง คือ ให้ร่างกายท่อนบนตั้งตรง กระดูกสันหลัง ๑๖ ข้อ

มีปลายจดกัน

ท่านว่า การนั่งอย่างนี้ หนังเนื้อและเอ็นไม่ขด

ลมหายใจก็เดินสะดวก เป็นท่านั่งที่มั่นคง

เมื่อเข้าที่ดีแล้ว จะมีดุลยภาพอย่างยิ่ง

กายจะเบาไม่รู้สึกเป็นภาระ นั่งอยู่ได้แสนนาน โดยไม่มีทุกขเวทนารบกวน

ช่วยให้จิตเป็นสมาธิง่ายขึ้น กรรมฐานไม่ตก แต่เดินหน้าได้เรื่อย

ตามที่สอนสืบกันมา ยังมีเพิ่มว่า ให้ส้นเท้าชิดท้องน้อย

ถ้าไม่เอาขาไขว้กัน (ขัดสมาธิเพชร) ก็เอาขวาทับขาซ้าย

วางมือบนตักชิดท้องน้อย มือขวาทับมือซ้าย นิ้วหัวแม่มือจดกัน หรือ

นิ้วชี้ขวาจดหัวแม่มือซ้าย

แต่รายละเอียดเหล่านี้ ขึ้นต่อดุลยภาพแห่งร่างกาย ของแต่ละบุคคลด้วย

ผู้ที่ไม่เคยนั่งเช่นนี้ หากทนหัดทำได้ก็คงดี แต่ถ้าไม่อาจทำได้

ก็อาจนั่งบนเก้าอี้ให้ตัวตรงสบาย หรืออยู่ในอิริยาบถอื่นที่สบายพอดี

มีหลักการสำทับอีกว่า ถ้ายังนั่งไม่สบาย มีอาการเกร็งหรือเครียด

พึงให้แก้ไขเสียให้เรียบร้อยก่อนปฏิบัติต่อไป

ส่วนตาจะหลับหรือลืมก็ได้ สุดแต่สบาย และใจไม่ซ่าน

ถ้าลืมตา ก็อาจทอดลงหรือมองที่ปลายจมูกให้เป็นที่สบาย *


เมื่อนั่งเข้าที่สบายดีพร้อมแล้ว ก่อนจะเริ่มปฏิบัติ

ปราชญ์บางท่านแนะนำว่า ควรหายใจยาวลึกๆและช้าๆ เต็มปอดสักสองสามครั้ง

พร้อมกับตั้งความรู้สึกให้ตัวโล่งและสมองโปร่งสบายเสียก่อน

แล้วจึงปฏิบัติกรรมฐานตามวิธี

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 14 ก.ย. 2009, 17:27, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ย. 2009, 17:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(คห.บน ที่เครื่อง * มีขยายความ)



* อานาปานสติ เป็นกรรมฐานอย่างเดียว ในบรรดาข้อปฏิบัติเป็นอันมาก

ในมหาสติปัฏฐานสูตร ที่มีคำแนะนำ กำหนดเกี่ยวกับอิริยาบถว่า

ให้พึงนั่งอย่างนี้- (ดู กายคตาสติสูตร, ม.อุ. 14/292-317/203-216

คิริมานนทสูตร องฺ. ทสก. 24/60/115-120 ด้วย)

ส่วนกรรมฐานอย่างอื่น ย่อมเป็นไปตามอิริยาบถต่างๆ ที่เข้าเรื่องกัน

หากจะมีการนั่ง ก็ย่อมเป็นไปเพราะความเหมาะสมกันโดยอนุโลม

กล่าวคือ เมื่อกรรมฐานใด นั่งปฏิบัติได้ดี และในเมื่อการนั่งอย่างนี้

เป็นท่านั่งที่ดีที่สุด ก็เป็นธรรมดาอยู่เอง ที่พึงนั่งอย่างนี้

ยกตัวอย่าง เช่น การเพ่งกสิณ และการพิจารณาธรรมารมณ์ต่างๆ นานๆ เป็นต้น

เหมือนคนจะเขียนหนังสือ ท่านั่ง ย่อมเหมาะดีกว่า ยืน หรือ นอน เป็นต้น

พึงเข้าใจความหมายของการนั่งอย่างนี้ มิใช่มองเห็นการนั่งเป็นสมาธิไป


พูดอีกอย่างหนึ่งว่า การนั่งคู้บัลลังก์นี้ เป็นท่านั่งที่ดีที่สุดแก่สุขภาพและการงาน ดังนั้น

เมื่อจะนั่งหรือในกรณีจะทำอะไรที่ควรจะต้องนั่ง

ท่านก็แนะนำให้นั่งท่านี้ -( เช่น ม.ม.13/589/537/ ม.อุ.14/675/434/ องฺ.จตุกฺก. 21/36/49

ขุ.อุ.25/66/102) เหมือนที่แนะนำว่า เมื่อจะนอน ก็ควรจะนอนแบบสีหไสยา หรือ

เมื่อจะเดินอยู่ตามลำพัง ก็ควรเดินแบบจงกรม ดังนี้เท่านั้นเอง.

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ย. 2009, 18:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ส.ค. 2009, 02:56
โพสต์: 290

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตอนนี้คงต้องฝึกนั่งกรรมฐานอย่างเดียวไปก่อนนะคะ...แล้วทำไมฝึกเดินจงกรมถึงยากกกกกกกกกกหยั่งงี้นะ... :b8: :b8: :b8:

:b2: :b2: :b2: นู๋เอค่ะ...

.....................................................
ข้าพเจ้าเคารพพระธรรม ที่มีอยู่ในพระพุทธเจ้า
ข้าพเจ้าเคารพพระธรรม ที่มีอยู่ในพระธรรม
ข้าพเจ้าเคารพพระธรรม ที่มีอยู่ในพระสงฆ์
ข้าพเจ้าเคารพพระธรรม ที่มีอยู่ในพระมารดาพระบิดา
ข้าพเจ้าเคารพพระธรรม ที่มีอยู่ในครูอุปัชฌาย์อาจารย์
ข้าพเจ้าเคารพพระธรรม ที่มีอยู่ในทุกสิ่งทุกอย่าง...สาธุ สาธุ สาธุ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ย. 2009, 18:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เราเดินเป็นเดินได้ ตั้งแต่เด็กแล้วขอรับคุณเอ

ก็เดินอย่างที่เคยเดินนั่นแหละ เรามีสองขาก็เดินก้าวซ้ายที ขวาที เพียงแต่ว่าในขณะที่เดินนั่น

ทำความระลึกรู้สึกตัวขณะที่ก้าวไปๆแต่ละก้าวๆด้วย ก็เท่านี้เอง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ย. 2009, 18:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


sasikarn เขียน:
ตอนนี้คงต้องฝึกนั่งกรรมฐานอย่างเดียวไปก่อนนะคะ...แล้วทำไมฝึกเดินจงกรมถึงยากหยั่งงี้นะ.

นู๋เอค่ะ...



คุณเอ ทำกรรมฐานอย่างเดียวโดยไม่สวดมนต์ ได้ 3-4 วันแล้ว ใจแข็งพอได้

ดังนั้นคุณเอ ต้องการจะสวดมนต์บ้าง ก็สวดได้แล้ว

สวดแต่พอดีๆ เว้นเวลาทำกรรมฐานได้ด้วย คือ หมายความว่า ทำกรรมฐานด้วย สวดมนต์ด้วย

จะทำกรรมฐานหรือสวดมนต์ก่อนไม่มีปัญหา เอาตามสะดวกเรา

ปัญหามีว่า เมื่อก่อนเคยเคยสวดมากมายบท เรามาจัดสรรเสียใหม่ คือ ทยอยๆสวดไป

ไม่ต้องสวดจนหมดในวันเดียวเหมือนก่อนอีก ก็เท่านี้เอง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.ย. 2009, 11:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


sasikarn เขียน:

ตอนนี้คงต้องฝึกนั่งกรรมฐานอย่างเดียวไปก่อนนะคะ...แล้วทำไมฝึกเดินจงกรมถึงยากหยั่งงี้นะ.
นู๋เอค่ะ...


การนั่งกรรมฐาน เป็นการปฏิบัติธรรม เพื่ออบรมกาย อบรมวาจา ให้เป็นศีล มีความสำรวมอินทรีย์เป็นจุดมุ่งมุ่งหมาย มีศีลเป็นปธาน เพื่อก่อให้เกิดกุศลธรรมอื่นๆ ตามมา เป็นกุศลจิตที่สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย

ความสำคัญคืออบรมศีล ให้เกิดความสำรวมอินทรีย์ เพื่อระงับผัสสะอันไม่พึงปราถนาที่เนื่องด้วยอารมณ์ภายนอก และไม่ทำให้สัญญาอันเป็นอกุศลเจริญในภายใน และเป็นปธานในการเจริญสัมมาสมาธิ อันไม่พัวพันใน รูป นาม.

การนั่งกรรมฐาน ทำจิตเป็นโลกุึตตรฌาน เพื่อเจริญโลกุตตรธรรม มีนิพพานเป็นอารมณ์ ใส่ใจในพระธรรมเทศนา มีสมาธิที่เป็นอนิมิตตะ หรือสมาธิที่เป็นอัปปณิหิตตะ หรือสมาธิที่เป็นสุญญต ย่อมไม่ตามติดรูป ย่อมไม่ตามติดนาม มีฌานเป็นบาทแห่งวิปัสสนา เพื่อละ อุปาทานขันธ์ 5 เพื่อบรรลุนิพพาน
วิญญูกัลยาณชน ย่อมไม่ตามใส่ใจ รูปอันเป็นกามสัญญา ย่อมไม่ตามติดใจนามอันเป็นกามสัญญา น้อมจิตเพื่อให้ตั้งอยู่ในวิหารธรรม มีวิตก วิจาร ในพระธรรมเทศนา(อรหัตมัคคบท) เพื่อให้เกิดปิติ สุขในธรรมอันเป็นความดับเย็น ด้วยสมถะวิปัสสนา สำเร็จเป็นปฐมฌานสมาบัติ อันนิวรณ์ 5 ระงับ.

การเดินจงกรม จึงทำได้ทันทีหลังจากที่จิตตั้งอยู่ในวิหารสมาบัติแล้ว เช่นได้ปฐมฌานสมาบัติ เพราะเป็นการเดินทรงฌานทรงญาณ รักษาจิตให้เป็นสัมมาสมาธิ ไม่ให้เสื่อมไม่ให้คลาย

ไม่ต้องไปมัวสนใจ ว่าจะยกจะย่างด้วยเท้าซ้าย เท้าขวา ยกส้นขึ้นหรือปลายเท้าลง แต่ประการใด
ไม่ ต้องบริกรรมพุทโธ ไม่ตัองตามลมหายใจ ไม่ต้องตามอาการพอง ยุบ ไม่ต้องตามดูจิต ไม่ต้องตามดูการเกิดดับของจิต ไม่ต้องใส่ใจว่าจะเข้าภวังค์ หรือตกภวังค์.

เดินไปด้วยอาการสำรวมอินทรีย์ รักษาจิตให้เป็นสัมมาสมาธิ ก็ชื่อว่าเดินจงกรม เิดินสบายๆ เมื่อยก็หยุดเดิน จะนั่ง จะยืน ก็ตามสบาย

"อรหัตมัคคบท เช่นบทนี้ นำมาอบรมจิต

เรายังมองไม่เห็นความสวัสดี
จักมีแก่สัตว์ทั้งหลาย
นอกจากปัญญาและความเพียร
นอกจากความสำรวมอินทรีย์
และความสละวางทุกสิ่งทุกอย่าง


คุณเอพึงจำไว้ว่า จิตเป็นสัมมาสมาธิหรือการบรรลุธรรมไม่ได้อยู่ที่ท่านั่งนาน ๆ เดินนานๆ หรือยืน นานๆ อย่างนั้นเรียกว่านั่งทน ทนนั่ง เดินทน ทนเดิน ยืนทน ทนยืน

แต่อยู่ที่ใจปฏิบัติตามพระธรรมเทศนา
ถ้าไม่ปฏิบัติตามให้สำเร็จได้ จะนั่งท่า ยืนท่าไหน เดินท่าไหน นอนท่าไหนก็กิเลสเต็มจิต
คุณภาพจิตไม่ได้วัดกันที่ท่า หรืออิริยาบถ
วัดกันที่ปัญญาในการอบรมจิต
ไม่ได้วัดกันที่คุณเอ จะเดินด้วยท่าอะไร อวัยะวะส่วนไหนหด เข้ายืดออก แต่อย่างไร
อะไรทับอะไร
เพราะสุดท้ายเพียงเพื่อต้องการอรหัตตมัคคจิต แค่ขณะจิตเดียวเท่านั้น

การพะวงถึงท่าทางนี่สุดยอดของความฟุ้งแล้ว

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แก้ไขล่าสุดโดย เช่นนั้น เมื่อ 15 ก.ย. 2009, 11:36, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.ย. 2009, 11:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
เพราะสุดท้ายเพียงเพื่อต้องการอรหัตตมัคคจิต แค่ขณะจิตเดียวเท่านั้น




คุณเช่นนั้นอะโป๊ะ แนะวิธีทำให้อรหัตมรรคจิตเกิดสิครับ ทำไง :b16:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 15 ก.ย. 2009, 11:37, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.ย. 2009, 11:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อิอิ กรัชกายซัง

ทำความรู้เรื่องกามสัญญา ให้ได้ก่อน
แล้ว เข้าใจเดิน ไม่ เดินคิด ก่อนน๊ะ

อ้างคำพูด:
"ดูกรอานนท์ หากเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ จิตย่อมน้อมไปเพื่อจะจงกรม"


ไม่หัดคลาน จะวิ่งเลย หรือ :b17: :b17: :b17:

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.ย. 2009, 14:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
สัญญา



ถามคุณเช่นนั้นหน่อยว่า

สัญญามีกี่อย่าง ได้แก่ อะไรบ้างครับ

ตอบก่อนดิ :b28:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ย. 2009, 00:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ส.ค. 2009, 02:56
โพสต์: 290

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: ขอบคุณค่ะคุณกรัชกาย และคุณเช่นนั้น ที่ช่วยแนะนำ

กรัชกาย เขียน:


คุณเอ ทำกรรมฐานอย่างเดียวโดยไม่สวดมนต์ ได้ 3-4 วันแล้ว ใจแข็งพอได้

ดังนั้นคุณเอ ต้องการจะสวดมนต์บ้าง ก็สวดได้แล้ว

สวดแต่พอดีๆ เว้นเวลาทำกรรมฐานได้ด้วย คือ หมายความว่า ทำกรรมฐานด้วย สวดมนต์ด้วย

จะทำกรรมฐานหรือสวดมนต์ก่อนไม่มีปัญหา เอาตามสะดวกเรา

ปัญหามีว่า เมื่อก่อนเคยเคยสวดมากมายบท เรามาจัดสรรเสียใหม่ คือ ทยอยๆสวดไป

ไม่ต้องสวดจนหมดในวันเดียวเหมือนก่อนอีก ก็เท่านี้เอง


ล่าสุดเอนั่งได้ประมาณ 1 ชั่วโมงแล้วค่ะ จากที่เมื่อก่อนนั่งได้ไม่เคยเกิน 15 นาที
เอคงต้องไปจัดระเบียบการสวดมนต์ของเอใหม่แล้วหล่ะคะ

:b8: :b8: :b8: นู๋เอค่ะ

.....................................................
ข้าพเจ้าเคารพพระธรรม ที่มีอยู่ในพระพุทธเจ้า
ข้าพเจ้าเคารพพระธรรม ที่มีอยู่ในพระธรรม
ข้าพเจ้าเคารพพระธรรม ที่มีอยู่ในพระสงฆ์
ข้าพเจ้าเคารพพระธรรม ที่มีอยู่ในพระมารดาพระบิดา
ข้าพเจ้าเคารพพระธรรม ที่มีอยู่ในครูอุปัชฌาย์อาจารย์
ข้าพเจ้าเคารพพระธรรม ที่มีอยู่ในทุกสิ่งทุกอย่าง...สาธุ สาธุ สาธุ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ย. 2009, 00:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.พ. 2009, 00:03
โพสต์: 111


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
แทนขวัญ เขียน:

แล้วจะเปลี่ยนระยะตอนไหนคะ หรือว่าทำไปเรื่อยๆแล้วจะเปลี่ยนได้เอง
ระยะทีว่านี่ไม่ใช่ระยะทาง หรือระยะเวลาใช่มั้ยคะ คือรูปแบบใช่มั้ย ถ้าเข้าใจไม่ผิด

ที่เป็นปัญหาอีกอย่าง แทนขวัญอ่านแล้วจำไม่ได้ค่ะ
ทดลองดู แทนขวัญยังทำแล้วมั่วๆไม่เป็นจังหวะเลยค่ะ



เปลี่ยนเมื่อเห็นสมควรว่าเปลี่ยนได้ เบื้องต้น ผู้แนะจะพิจารณาให้
แล้วต่อๆไป เมื่อเราเองพอเข้าใจอะไรเองได้บ้างแล้ว ก็เปลี่ยนเองเมื่อเห็นสมควรเปลี่ยน

ระยะตามรูปแบบนั่นๆ คือ จาก ๑-๖ ระยะ ครับ


คุณแทนขวัญ เดินระยะที่ ๑ ก่อนครับ ยังไม่ต้องคิดเดินระยะอื่นนอกจากนี้

ก็เดินเหมือนเดินปกติทั่วๆไปนี่ล่ะ

คนเรามีแค่ ๒ ขาเอง คือ ขาขวา กับขาซ้าย



ก้าวเดินซ้ายที ขวาที สลับไปสลับมา ก็แค่นี้ล่ะ ที่มนุษย์เดินๆกันอยู่

แต่ต่างจากที่เคยเดิน มีนิดเดียว คือ ขณะที่สืบเท้าก้าวไปๆ ภาวนาในใจด้วย ซ้าย ย่าง หนอ

ขวา ย่าง หนอ ก็แค่นี้เอง (...หนอ เหยียบพื้น)


เหมือนเดินไปตลาด ฯลฯ แต่ที่ต่าง คือ ระลึกรู้สึกตัวกับการเดินไปแต่ละก้าวๆ ซึ่งก็ได้แก่การ

กำหนดรู้ว่า เท้าซ้าย เท้าขวาที่ก้าวเดินไปๆ เท่านั้นเอง


http://www.imeem.com/people/L--DPio/mus ... Ti/01-mp3/


แทนขวัญไปลองดูแล้วค่ะ
ซ้ายย่างหนอ ขวาย่างหนอ แทนขวัญทำแล้วยังงกๆเงิ่นๆ

นึกได้่ว่าที่คุณกรัชกายบอกว่า เดินไปไหนๆก็ทำได้ ให้รู้สึกตัวไปแต่ละก้าว
เลยลองจับจังหวะใหม่ เอาความรู้สึกตอนที่เท้าเราเหยียบพื้นอย่างเดียว
ซ้าย ขวาๆ ไปเรื่อยๆค่ะ ทำมันทุกที่ที่เดินเลยค่ะ ถ้าไม่ลืมนะคะ :b9:
ถ้านึกเรื่องอื่นอยู่ หรือรีบๆก็ลืมค่ะ ก็จะไม่ได้กำหนด

เดินลงบันไดขึ้นบันได ก็ท่องไปเรื่อยๆ เดินไปขึ้นรถ เดินกลับบ้าน
เมื่อวันก่อนเดินกลับบ้าน ไม่ได้รีบร้อนอะไรนึกขึ้นได้ก็เลย ซ้าย ขวาๆมาเรื่อยๆค่ะ
เป็นครั้งแรกที่รู้สึกว่า สงบมากๆ ทั้งๆที่เดินอยู่ฟุตบาทริมถนน ไม่ได้คิดเรื่องอื่นอะไรเลย
ใกล้จะถึงบ้านแล้ว ก่อนนี้เราคงไม่เคยใส่ใจมั้งคะ แต่ครั้งนี้ความรู้สึกมันเหมือนสัมผัสดีขึ้น
รู้สึกว่าเวลารถวิ่งพื้นมันจะสั่นนิดๆ พอขึ้นสะพานลอยเดินไปช่วงกลางๆยิ่งรู้สึกว่ามันสั่นๆ
ก็เลยตกใจค่ะ ว่าสะพานลอยมันสั่นมากจังเวลารถวิ่ง คราวนี้ก็เลยแว๊ปไปคิดเรื่องอื่นค่ะ
เลยลืมจ้ำพรวดๆลงมาก็จะถึงบ้านแล้ว :b32:

เดินอีกก็ยังไม่ได้เหมือนวันนั้นเลยค่ะ หรือเพราะระยะทางสั้นๆก็ไม่รู้ วันนั้นเดินไกลหน่อยค่ะ

แต่ถ้าแทนขวัญทำผิดวิธีไปยังไงก็ช่วยแนะนำด้วยนะคะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ย. 2009, 10:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
แทนขวัญไปลองดูแล้วค่ะ
ซ้ายย่างหนอ ขวาย่างหนอ แทนขวัญทำแล้วยังงกๆเงิ่นๆ



ที่ยังงกๆ เงิ่นๆ กึกๆกักๆ เหมือนเพลง “มันต้องถอน”

http://www.imeem.com/people/gT39tfC/music/n76qxAXw//

น่าจะเป็นเพราะคุณแทนขวัญภาวนา ซ้าย ย่าง หนอ ขวา ย่าง หนอ ไม่สัมพันธ์กับช่วง

ก้าวเดิน

ซ้าย (รู้ตัวว่า กำลังยกขาข้างซ้ายขึ้น)

ย่าง (รู้สึกตัวว่า กำลังก้าว)

หนอ (เหยียบพื้น)

ขวา (รู้สึกตัวว่า กำลังยกขาข้างขวาขึ้น)

ย่าง (รู้สึกตัวว่า กำลังก้าว)

หนอ (รู้สึกตัวว่า เหยียบพื้น)


รู้สึกเหมือนพันๆ กัน แบบเนี้ยเดี๋ยวได้เดินสะดุดขาตัวเองหัวทิ่ม :b32:



ภาวนาช้าหรือเร็ว ตามระยะก้าวที่เราเดิน (ว่าตามแบบใช้ฝึกคนเดียวที่ห้อง)

แต่กรณีนอกจากนั้น เราเอาแค่รู้ทันก็ได้ เช่น เดินเร็วๆ หรือ วิ่งกำลังเช้า-เย็น

เอาแค่ว่า ซ้าย ขวา ซ้าย ขวา ฯลฯ หรือ ซ้าย ขวา ซ้าย ซ้าย ขวา ซ้าย ก็ได้

จะออกเสียงด้วยก็ได้ จุดหมายคือฝึกให้จิตจับเกาะกายที่เคลื่อนไหว ก็เท่านี้เอง



แต่เบื้องต้น จะทำอย่างที่คุณแทนขวัญทำก่อนก็ได้ ไม่มีปัญหา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ย. 2009, 10:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




13.jpg
13.jpg [ 67.16 KiB | เปิดดู 4761 ครั้ง ]
อ้างคำพูด:
นึกได้ว่า ที่คุณกรัชกายบอกว่า เดินไปไหนๆก็ทำได้ ให้รู้สึกตัวไปแต่ละก้าว
เลยลองจับจังหวะใหม่ เอาความรู้สึกตอนที่เท้าเราเหยียบพื้นอย่างเดียว
ซ้าย ขวาๆ ไปเรื่อยๆค่ะ ทำมันทุกที่ที่เดินเลยค่ะ ถ้าไม่ลืมนะคะ
ถ้านึกเรื่องอื่นอยู่ หรือรีบๆก็ลืมค่ะ ก็จะไม่ได้กำหนด



หากนึกคิดเรื่องอื่นๆ ก็รู้ทันความคิดนั่น “คิดหนอ” ไม่ลืมแล้ว ใช้ได้แล้วครับ

รีบก็รีบไม่มีปัญหา ก็ตามดูรู้ทันกายได้ (จิตใจเร็วยิ่งกว่ากายอยู่แล้ว)

วันไหนรีบ ให้ดูกายที่รีบๆ นั่นรวมๆ ทั้งองคาพยพที่เคลื่อนไหวไป เห็นไหมครับ ได้อีกแล้ว


อ้างคำพูด:
เดินลงบันไดขึ้นบันได ก็ท่องไปเรื่อยๆ เดินไปขึ้นรถ เดินกลับบ้าน
เมื่อวันก่อนเดินกลับบ้าน ไม่ได้รีบร้อนอะไร นึกขึ้นได้ก็เลย ซ้าย ขวาๆมาเรื่อยๆค่ะ
เป็นครั้งแรกที่รู้สึกว่า สงบมากๆ ทั้งๆที่เดินอยู่ฟุตบาทริมถนน ไม่ได้คิดเรื่องอื่นอะไรเลย
ใกล้จะถึงบ้านแล้ว



ใช้ได้ครับ :b1:



อ้างคำพูด:
ก่อนนี้เราคงไม่เคยใส่ใจมั้งคะ



ถูกต้องครับ เราไม่เคยใส่ใจ หรือ ไม่เคยมนสิการ :b20:


อ้างคำพูด:
แต่ครั้งนี้ ความรู้สึกมันเหมือนสัมผัสดีขึ้น
รู้สึกว่า เวลารถวิ่ง พื้นมันจะสั่นนิดๆ พอขึ้นสะพานลอยเดินไปช่วงกลางๆ
ยิ่งรู้สึกว่ามันสั่นๆ ก็เลยตกใจค่ะ ว่าสะพานลอยมันสั่นมากจังเวลารถวิ่ง



ประเด็นนี้ อธิบายหลักธรรมได้กว้าง

ความจริงสะพานลอยมันสั่นๆ เพราะรถที่วิ่งอยู่ข้างล่างก่อนหน้าแล้ว

แต่เราไม่เคยใส่ใจจะรู้ หรือ ไม่มนสิการ เพราะมัวแต่คิดฟุ้งเรื่องอื่นๆเสีย จึงไม่รู้สึกตัวว่าสะพานสั่น

ฉันใด

ก็ฉันนั้น ลักษณะไตรลักษณ์ (ความเป็น อนิจจตา ทุกขตา อนัตตตา) ก็มีก็เป็นของมันอยู่แล้ว

โดยธรรมชาติ แต่มนุษย์ขาดมนสิการ จึงไม่รู้เห็นมันฉะนั้นแล



การมนสิการรูปนาม หรือการฝึกอบรมจิตให้ตามดูรู้ทันกายใจนี่ จุดหมายเพื่อให้เห็นความเป็น

จริงของธรรมชาติคือกายใจนี้เอง :b1:


อ้างคำพูด:
คราวนี้ก็เลยแว๊ปไปคิดเรื่องอื่นค่ะ
เลยลืม จ้ำพรวดๆ ลงมาก็จะถึงบ้านแล้ว



แวป คิดเรื่องอื่นจากนั้น “คิดหนอ” แล้วเดินต่อไป

แม้จะรีบจ้ำก็ตามดูกายรวมๆ นั้นได้ บ่ เป็นหยังดอกคับ

(สักกี่ป้ายครับ จากสะพานลอยถึงบ้าน)


อ้างคำพูด:
เดินอีกก็ยังไม่ได้เหมือนวันนั้นเลยค่ะ หรือเพราะระยะทางสั้นๆก็ไม่รู้
วันนั้นเดินไกลหน่อยค่ะ



ผู้ฝึกใหม่ ระยะทางสั้นเกินไปก็ส่วนเหมือนกัน เพราะกว่า จิตจะเกาะจับกายโดยรวมได้

ก็ต้องใช้เวลาด้วย สมมุติ เราเดินอยู่ริมถนนกว่าจะถึงบ้านระยะทางยาว การภาวนาก็ติดต่อกันยาวตาม

ไปด้วย เพลินไปกับจังหวะการเดินนั้น ถึงบ้านโดยไม่รู้ตัว



อ้างคำพูด:
แต่ถ้าแทนขวัญทำผิดวิธีไปยังไงก็ช่วยแนะนำด้วยนะคะ



ไม่ผิดหรอกครับ

แต่ขอเข้าใจให้ถูกว่านี่เป็นวิธีฝึกจิต ให้เกาะจับอยู่กับกาย อยู่กับการเคลื่อนไหวกาย

(อิริยาบถใหญ่ อิริยาบถย่อย) ก็เท่านี้


หากให้เทียบแบบ สติปัฏฐาน ก็เป็นกายานุปัสสนา การตามดูรู้ทันกาย

(ตอนคุณ ตกใจสะพานลอยสั่นๆ กลัวสะพานร่วงรีบจ้ำอ้าวๆ

หากคุณกำหนดความคิดนั้นด้วย “คิดหนอ” ก็เป็นจิตตานุปัสสนา การตามดูรู้ทันความคิด)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 17 ก.ย. 2009, 10:40, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ย. 2009, 00:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.พ. 2009, 00:03
โพสต์: 111


 ข้อมูลส่วนตัว


ซ้าย ขวา ซ้าย ซ้าย ขวา ซ้าย ...
นึกถึงตอนเดินพาเรดสมัยเด็กๆเหมือนกันนะคะ :b32:

แทนขวัญภาวนาไม่สัมพันธ์กับการเดินจริงๆค่ะ
เพราะพอก้าวเท้าซ้ายเหยียบพื้น
เท้าขวามันก็จะตามมาด้วยแล้ว
เช่นพอเราก้าวเท้าซ้ายไปข้างหน้า ตัวเราก็ต้องโยกเดินไปข้างหน้า
พอเหยียบพื้นเต็มเท้าซ้าย เท้าขวามันก็ต้องยกมาแล้วนิดนึง
เหยียบพื้นไว้ได้ไม่เต็มเท้า ก็จะงงๆ จะพะวงว่า ขวา ย่าง ยก อันไหนกันแน่

พอลองเดินใหม่ ก้าวซ้ายเหยียบพื้น แล้วยังคงที่เท้าขวาไว้
จะได้นับสเตปขวาย่างหนอ ซ้ายย่างหนอ
ท่าเดินมันก็ดูปะหลาดๆ ถึงได้งกๆเงิ่นๆอย่างที่บอกค่ะ :b9:

ตอนนี้เดินช้าๆก็พอทำได้บ้างแล้วค่ะ


อ้างคำพูด:
(สักกี่ป้ายครับ จากสะพานลอยถึงบ้าน)


จากสะพานลอยเดินอีกนิดเดียวก็ถึงแล้วค่ะ
แต่ก่อนขึ้นสะพานลอยเดินมาประมาณครึ่งกิโลน่าจะได้มั้งคะ

เดินเป็นหรือไม่เป็น แต่ผลพลอยได้ตอนนี้ทำให้ไม่เืบื่อเวลาเิดินขึ้นลงบันไดไปได้ค่ะ
ห้องพักแทนขวัญอยู่ชั้น 4 จะขี้เกียจเดินขึ้นลงมาก :b9:


อ้างคำพูด:
แต่ขอเข้าใจให้ถูกว่านี่เป็นวิธีฝึกจิต ให้เกาะจับอยู่กับกาย อยู่กับการเคลื่อนไหวกาย

(อิริยาบถใหญ่ อิริยาบถย่อย) ก็เท่านี้


หากให้เทียบแบบ สติปัฏฐาน ก็เป็นกายานุปัสสนา การตามดูรู้ทันกาย

(ตอนคุณ ตกใจสะพานลอยสั่นๆ กลัวสะพานร่วงรีบจ้ำอ้าวๆ

หากคุณกำหนดความคิดนั้นด้วย “คิดหนอ” ก็เป็นจิตตานุปัสสนา การตามดูรู้ทันความคิด)



:b20:

ดูเผินๆเหมือนจะง่าย แต่ยากมากๆ

หมายความว่าทุกๆการเคลื่อนไหวของกาย แม้จะเป็นการเคลื่อนไหวเล็กๆน้อยๆ
อย่างเดิน ก็ยังมี ยก ย่าง เหยียบ กินข้าวก็ ตักข้าว อ้าปาก เคี้ยวข้าว กลืน
ประมาณนี้รึปล่าวคะ

ถ้าเราจับได้ทุกการเคลื่อนไหว ทุกความคิด จะเป็นยังไงนะ :b20:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 189 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7 ... 13  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร