วันเวลาปัจจุบัน 06 พ.ค. 2025, 06:34  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 47 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ย. 2009, 15:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


มีบทธรรมของพระสุปฏิปันโน เรื่อง ปัญญาอบรมสมาธิ มาเสนอสมาชิกครับ

ปัญญาอบรมสมาธิ (ภาคสมาธิ)
โดย พระอาจารย์หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน



ความจริงการภาวนาเพื่อให้ใจสงบ ถ้าสงบด้วยวิธีปลอบโยนโดยทางบริกรรมไม่ได้ ต้องภาวนาด้วยวิธีปราบปรามขู่เข็ญ คือค้นคิดหาเหตุผลในสิ่งที่จิตติดข้องด้วยปัญญา แล้วแต่ความแยบคายของปัญญา จะหาอุบายทรมานจิตดวงพยศ จนปรากฏใจยอมจำนนตามปัญญาว่า เป็นความจริงอย่างนั้นแล้ว ใจจะฟุ้งซ่านไปไหนไม่ได้ ต้องหยั่งเข้าสู่ความสงบ เช่นเดียวกับสัตว์พาหนะตัวคะนอง ต้องฝึกฝนทรมานอย่างหนักจึงจะยอมจำนนต่อเจ้าของ

ฉะนั้น ในเรื่องนี้ จะขอยกอุปมาเป็นหลักเทียบเคียง เช่น ต้นไม้บางประเภท ตั้งอยู่โดดเดี่ยวไม่มีสิ่งเกี่ยวข้อง ผู้ต้องการต้นไม้นั้นก็ต้องตัดด้วยมีดหรือขวาน เมื่อขาดแล้ว ไม้ต้นนั้นก็ล้มลงสู่จุดที่หมาย แล้วนำไปได้ตามต้องการ ไม่มีความยากเย็นอะไรนัก แต่ไม้อีกบางประเภท ไม่ตั้งอยู่โดดเดี่ยว ยังเกี่ยวข้องอยู่กับกิ่งแขนงของต้นอื่นๆ อีกมาก ยากที่จะตัดให้ลงสู่ที่หมายได้ ต้องใช้ปัญญาหรือสายตาตรวจดูสิ่งเกี่ยวข้องของต้นไม้นั้นโดยถี่ถ้วน แล้วจึงตัดต้นไม้นั้นให้ขาด พร้อมทั้งตัดสิ่งเกี่ยวข้องจนหมดสิ้นไป ไม้ย่อมตกหรือล้มลงสู่ที่หมายและนำไปได้ตามความต้องการฉันใด จริตนิสัยของคนเราก็ฉันนั้น

คนบางประเภทไม่ค่อยมีสิ่งแวดล้อมเป็นภาระกดถ่วงใจมาก เพียงใช้คำบริกรรมภาวนา พุทฺโธ ธมฺโม สงฺโฆ เป็นต้น บทใดบทหนึ่งเข้าเท่านั้น ใจก็ได้รับความสงบเยือกเย็นเป็นสมาธิลงได้ กลายเป็นต้นทุนหนุนปัญญา ให้ก้าวหน้าต่อไปได้อย่างสบาย ที่เรียกว่า สมาธิอบรมปัญญา

แต่คนบางประเภทมีสิ่งแวดล้อมเป็นภาระกดถ่วงใจมาก และเป็นนิสัยชอบคิดอะไรมากอย่างนี้ จะอบรมด้วยคำบริกรรมอย่างที่กล่าวมาแล้วนั้น ไม่สามารถที่จะยังจิตให้หยั่งลงสู่ความสงบเป็นสมาธิได้ ต้องใช้ปัญญาไตร่ตรองเหตุผล ตัดต้นเหตุของความฟุ้งซ่านด้วยปัญญา เมื่อปัญญาได้หว่านล้อมในสิ่งที่จิตติดข้องนั้นไว้อย่างหนาแน่นแล้ว จิตจะมีความรู้เหนือปัญญาไปไม่ได้ และจะหยั่งลงสู่ความสงบเป็นสมาธิได้ ฉะนั้นคนประเภทนี้ จะต้องฝึกฝนจิตให้เป็นสมาธิได้ด้วยปัญญา ที่เรียกว่า ปัญญาอบรมสมาธิ ตามชื่อหัวเรื่องที่ให้ไว้แล้วในเบื้องต้นนั้น . เมื่อสมาธิเกิดมีขึ้นด้วยอำนาจปัญญา อันดับต่อไปสมาธิก็กลายเป็นต้นทุนหนุนปัญญาให้มีกำลังก้าวหน้า สุดท้ายก็ลงรอยเดียวกันกับหลักเดิมที่ว่า สมาธิอบรมปัญญา

ผู้ต้องการอบรมใจให้เป็นไปเพื่อความฉลาด รู้เท่าทันกลมายาของกิเลส อย่ายึดปริยัติจนเกิดกิเลส แต่ก็อย่าปล่อยวางปริยัติจนเลยศาสดา ผิดพระประสงค์ของพระพุทธเจ้า ทั้งสองนัย

คือ ในขณะที่ทำสมาธิภาวนา อย่าส่งใจไปยึดปริยัติจนกลายเป็นอดีตอนาคตไป ให้ตั้งจิตลงสู่ปัจจุบัน คือ เฉพาะหน้า มีธรรมที่ตนเกี่ยวข้องเป็นอารมณ์เท่านั้น เมื่อมีข้อข้องใจ ตัดสินใจลงไม่ได้ว่าถูกหรือผิด เวลาออกจากที่ภาวนาแล้ว จึงตรวจสอบกับปริยัติ แต่จะตรวจสอบทุกขณะไปก็ผิด เพราะจะกลายเป็นความรู้ในแบบ ไม่ใช่ความรู้เกิดจากภาวนา ใช้ไม่ได้

สรุปความ ถ้าจิตสงบได้ด้วยอารมณ์สมถะ คือ คำบริกรรมด้วยธรรมบทใด ก็บริกรรมบทนั้น ถ้าจะสงบได้ด้วยปัญญาสกัดกั้นโดยอุบายต่างๆ ก็ต้องใช้ปัญญาเป็นพี่เลี้ยงเพื่อความสงบเสมอไป ผลรายได้จากการอบรมทั้งสองวิธีนี้ คือ ความสงบ และปัญญาอันจะมีรัศมีแฝงขึ้นจากความสงบนั้นๆ


แก้ไขล่าสุดโดย สาวิกาน้อย เมื่อ 17 ก.ย. 2009, 18:57, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ย. 2009, 16:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 พ.ย. 2008, 17:20
โพสต์: 1051

งานอดิเรก: อ่านหนังสือธรรมะ
อายุ: 0
ที่อยู่: Bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: คุณหมอ จะพยายามปฎิบัติให้ได้ค่ะ onion ตอนนี้ก็ฝึกมาเกือบปีแล้วค่ะ :b8:

.....................................................
    มีสิ่งใด น่าโกรธ อย่าโทษเขา.... ต้องโทษเรา ที่ใจ ไม่เข้มแข็ง
    เรื่องน่าโกรธ แม้ว่า จะมาแรง ....ถ้าใจแข็ง เหนือกว่า ชนะมัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ย. 2009, 21:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


สติปัฏฐาน ๔_พระอาจารย์มหาบัว ญาณสัมปันโน

การบำเพ็ญเพียรที่เป็นไปตามพระประสงค์ของพระพุทธเจ้าและพระสัทธรรม คือความจงใจใคร่ต่อการประพฤติดีจริง ๆ ธุระหน้าที่ที่ตนจะพึงทำทุกอย่าง ควรทำด้วยความจงใจ การประกอบการงานทุกประเภทถ้าขาดความจงใจแล้ว แม้จะเป็นงานเล็กน้อย ย่อมไม่สำเร็จลงได้ด้วยความเรียบร้อยและน่าดูเลย เพราะ ความจงใจเป็นเรื่องของสติและหลักใจ ที่จะยังงานนั้น ๆ ให้สำเร็จ ได้ขาดไปจากตัวและวงงาน ผู้มีสติและหลักใจประจำตัวและงานจึงชื่อว่าผู้มีความเพียรไปในตัว

ทั้งกิจนอกการในถ้าขาดความจงใจเป็นเครื่องจดจ่อต่องานแล้ว แม้ผู้เป็นนายช่างทำสิ่งต่าง ๆ ซึ่งมีความฉลาดอยู่บ้าง ทำอะไรมีความสวยงามและแน่นหนามั่นคง แต่ถ้าขาดความจงใจใคร่ต่องานแล้ว แม้งานนั้นจะสำเร็จก็ย่อมลดคุณภาพและความสวยงาม ฉะนั้นความตั้งใจจึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยผู้มุ่งต่อผลของงานอันสมบูรณ์จึงไม่ควรมองข้ามไป

เราเป็นนักบวชและนักปฏิบัติ ควรเห็นความตั้งใจจดจ่อต่อธุระหน้าที่ที่ตนจะพึงทำทุกประเภท โดยมีความรู้สึกอยู่กับงานนั้น ๆ แม้ที่สุดปัดกวาดลานวัด เช็ดถูกุฎีและศาลา ปูอาสนะ ตั้งน้ำใช้น้ำฉัน ตลอดการเคลื่อนไหวไปมา เหลือบซ้ายแลขวา ควรมีสติประจำอยู่ทุก ๆ ขณะ ชื่อว่าผู้มีความเพียรประจำตน

การฝึกหัดนิสัยเพื่อเป็นคนมีสติอันเคยชิน จำต้องอาศัยการงานเป็นเครื่องฝึกหัด

การประกอบการงานภายนอกแต่ละประเภทเป็นธุระชิ้นหนึ่ง ๆ
การเดินจงกรมและนั่งสมาธิภาวนาเป็นธุระชิ้นหนึ่ง


ทั้งนี้ถ้ามีสติจดจ่อกับงานที่ทำ ชื่อว่ามีความเพียรไม่ขาดวรรคขาดตอน การฝึกหัดนิสัยของผู้ใคร่ต่อธรรมชั้นสูง จึงควรเริ่มและรีบเร่งฝึกหัดสติไปกับงานทุกประเภทแต่ต้นมือ
เพื่อความแน่นอนและมั่นคงในอนาคตของเรา โปรดฝึกหัดนิสัยตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป จนกลายเป็นคนมีสติประจำตนทั้งขณะที่ทำและขณะอยู่เฉย ๆ ถึงเวลาจะทำความสงบภายในใจ สติจะกลายเป็นธรรมติดแนบอยู่กับใจ และตั้งขึ้นพร้อมกับความเพียรได้อย่างใจหมาย ทั้งมีกำลังพอจะบังคับจิตใจให้หยั่งลงสู่ความสงบได้ตามต้องการ

ส่วนมากที่พยายามให้จิตเข้าสู่ความสงบไม่ได้ตามใจหวังนั้น เนื่องจากสติที่เป็นแม่แรงไม่มีกำลังพอ จิตจึงมีโอกาสเล็ดลอดออกไปสู่อารมณ์ได้อย่างง่ายดาย เหมือนเด็กซนซึ่งปราศจากพี่เลี้ยงผู้ตามดูแล เด็กอาจได้รับอันตรายในเวลาใดก็ได้

จิตที่มีความเพลินประจำตนโดยปราศจากสติตามรักษา จึงมีสิ่งรบกวนตลอดเวลาจนหาความสงบสุขไม่ได้ พี่เลี้ยงของจิตคือสติกับปัญญา คอยให้ความปลอดภัยแก่จิตตลอดสาย ที่จิตคิดไปตามอารมณ์ต่าง ๆ คอยพยายามปลดเปลื้องอารมณ์ที่มาเกี่ยวข้องกับใจ และพยายามแสดงเหตุผลให้จิตรับทราบเสมอ ใจที่ได้รับเหตุผลจากปัญญาพร่ำสอนอยู่เป็นนิจ จะฝืนคิดและติดอารมณ์ที่เคยเป็นข้าศึกต่อไปอีกไม่ได้ การฝึกหัดสติและปัญญา เพื่อให้มีกำลังคืบหน้าไม่ล่าถอยเสื่อมโทรม โปรดฝึกหัดตามวิธีที่กล่าวมา




..............................




หลวงตา ท่านจะเน้นเรื่อง การมีสติ คือ ให้สังวรระวังครับ

ท่านให้มีสติตลอดเวลา ทั้งเวลาเจริญสมาธิภาวนา และ เวลาในการประกอบกิจในชีวิตประจำวัน

เรื่อง สติอัตโนมัติ ในลักษณะ มหาสติ-มหาปัญญา ท่านก็สอนไว้เช่นกันน่ะครับ แต่นั่นเป็นขั้นadvanced ....คือ สติจะเป็นเองได้ ก็ ต่อเมื่อหมั่นเจริญกระทำในสติปัฏฐานอย่างต่อเนื่อง ครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.ย. 2009, 10:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2009, 08:46
โพสต์: 405

แนวปฏิบัติ: ดูจิต-อานา
ชื่อเล่น: ขวานผ่าซาก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณมากครับ

ตรงกับจริต เลยครับ

.....................................................
สุ จิ ปุ ลิ...(หัวใจนักปราชญ์)

ปัจจุบันธรรม

โยนิโส มนสิการ
สติ สัมปชัญญะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.ย. 2009, 13:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนา กับ สมาชิกทุกท่าน

ที่ได้รับประโยชน์จากบทธรรมของ หลวงตา มหาบัว ครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.ย. 2009, 13:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


แม้นแต่ หลักธรรมเรื่อง สติ

ในพระสูตรที่ว่าด้วย อาหารของวิชชาและวิมุตติ ก็ยังกล่าวถึง สองระดับ คือ ระดับสติสัมปชัญญะ และ ระดับสติปัฏฐาน


อาหารของวิชชา คือโพชฌงค์ทั้งหลาย ๗ ประการ.

อาหารของโพชฌงค์ทั้งหลาย ๗ ประการ คือสติปัฏฐานสี่.

อาหารของสติปัฏฐานสี่ คือสุจริต ๓ ประการ.

อาหารของสุจริต ๓ ประการ คือ การสำรวมอินทรีย์.

อาหารของการสำรวมอินทรีย์ คือความเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะ.

อาหารของความเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะ คือโยนิโสมนสิการ.

อาหารของโยนิโสมนสิการ คือ สัทธา.

อาหารของสัทธา คือการได้ฟังพระสัทธรรม.

อาหารของการได้ฟังพระสัทธรรม คือ การคบสัตบุรุษ.

อาหารแห่งวิชชา ย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้.




ผมขออนุญาตเสนอ คห.ส่วนตัว ในเรื่อง

สติที่ยังไม่อัตโนมัติ vs สติอัตโนมัติ

เพิ่มเติม ดังนี้ครับ



กล่าวคือ ถ้าไม่ใช่ ขิปปัญโญที่ตรัสรู้ได้ในชั่วพริบตาเดียว เช่น ท่านพาพิยะ ท่านสันตติมหาอำมาต์ ๆลๆ แล้ว....
ธรรมทั้งหลาย(รวมทั้ง สติ)ย่อมมีระดับความลาดลุ่มลึกเป็นระดับๆไป


สตินั้นจะสมบูรณ์พร้อมสุด ก็ต่อเมื่อบรรลุอรหัตตผล
เว้นจากพระอรหันต์แล้ว ไม่มีใครที่มีสติสมบูรณ์พร้อม


ผมเห็นว่า เรื่อง สติในระดับที่ยังต้องมี ความปราถนา-จงใจ(ฉันทะ) และ ความตั้งใจ(วิริยะ) อยู่ ก็เป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับ เราท่านทั้งหลาย.... เป็นขั้นbasic เปรียบเสมือนพื้นฐานของพระเจดีย์....


ส่วนสติในระดับถัดๆมา ที่เป็นผลสืบเนื่องจากความเพียรชอบ เช่น สติปัฏฐานที่เริ่มปรากฏความเป็นอัตโนมัติบ้าง ก็เป็นลักษณะขั้นintermediate เปรียบเสมือนองค์ของพระเจดีย์...


พอถึง สติอัตโนมัติ มหาสติ สติวินโย ...ที่เป็นเองโดยไม่ต้องปราถนา-จงใจ(ฉันทะ) หรือ ตั้งใจ(วิริยะ) ก็เป็นระดับadvanced เปรียบเสมือนยอดของพระเจดีย์



ผมมีความเห็นส่วนตัวว่า

จริงอยู่ ที่สุดแห่งสติ ย่อมเป็น สติอัตโนมัติ มหาสติ หรือ ยอดพระเจดีย์... หาใช่เป็นสติในระดับที่ยังคงต้องปราถนา-จงใจ(ฉันทะ) และ ตั้งใจ(วิริยะ) หรือ ฐานพระเจดีย์

แต่
ด้วยว่า เราย่อมสร้างพระเจดีย์จาก ฐานขึ้นไปสู่ยอด ...ฉันใด
พื้นฐาน ก็ย่อมเป็นสิ่งสำคัญ...ฉันนั้น

ปลายยอดพระเจดีย์ จะชูสง่าในทองฟ้าได้ อย่างเที่ยงตรง และ มั่นคง
ก็ต้องสืบเนื่องไปจากฐานพระเจดีย์ที่ก่อร่างสร้างฐานอย่างบริบูรณ์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.ย. 2009, 20:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




0011.jpg
0011.jpg [ 20.34 KiB | เปิดดู 8714 ครั้ง ]
ความโศกทั้งหลาย
ย่อมไม่มีแก่ผู้มีจิตมั่นคง ไม่ประมาท
เป็นมุนีผู้ศึกษาในทางแห่งมโนปฏิบัติ ผู้คงที่
สงบระงับแล้วมีสติในกาลทุกเมื่อ



สติในคำว่า...มีสติในกาลทุกเมื่อ...คือสัมมาสติอันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรคครับ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ย. 2009, 13:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ผู้ต้องการอบรมใจให้เป็นไปเพื่อความฉลาด รู้เท่าทันกลมายาของกิเลส
อย่ายึดปริยัติจนเกิดกิเลส แต่ก็อย่าปล่อยวางปริยัติจนเลยศาสดา ผิดพระประสงค์ของพระพุทธเจ้า ทั้งสองนัย

คือ ในขณะที่ทำสมาธิภาวนา อย่าส่งใจไปยึดปริยัติจนกลายเป็นอดีตอนาคตไป ให้ตั้งจิตลงสู่ปัจจุบัน คือ เฉพาะหน้า มีธรรมที่ตนเกี่ยวข้องเป็นอารมณ์เท่านั้น เมื่อมีข้อข้องใจ ตัดสินใจลงไม่ได้ว่าถูกหรือผิด เวลาออกจากที่ภาวนาแล้ว จึงตรวจสอบกับปริยัติ แต่จะตรวจสอบทุกขณะไปก็ผิด เพราะจะกลายเป็นความรู้ในแบบ ไม่ใช่ความรู้เกิดจากภาวนา ใช้ไม่ได้



มรรคภาวนา เป็นการปฏิบัติภาวนา ในพระศาสนานี้ เพื่อ ละตัณหากิเลสสังโยชน์ ให้หมดสิ้นไป
มรรคภาวนา จะเกิดลอยๆ ไม่ได้ ต้องประกอบด้วยส่วน 3 ส่วน

คือ พระธรรมเทศนา 1
องค์แห่งมรรค 8 ประการ 1
และ จิตอันเป็นโลกกุตระ 1

ดังนั้น หากมีการแสดงว่า อย่าส่งใจไปยึดในปริยัติ ย่อมเป็นการเข้าใจผิดในปฏิปทา เพื่อการละกิเลสสังโยชน์ เพราะแม้แต่พระอรหันต์ หรือภิกษุสาวกต่างก็มนสิการ ใส่ใจในพระธรรมเทศนา และน้อมไปปฏิบัติเพื่อให้เกิดผลตามพระธรรมเทศนา การใส่ใจในพระธรรมเทศนา ตลอดเวลาตราบเท่าบรรลุมรรคผล

การตั้งจิตลงสู่ปัจจุบันเฉพาะหน้า ขณะปฏิบัติมรรคภาวนา จึงเป็นการตั้งจิตลงที่พระธรรมเทศนาอันเกี่ยวกับอริยะสัจจ 4 ประชุมองค์มรรคให้เป็นมรรคจิตให้สำเร็จให้ได้ จึงเป็นการตัดกิเลสสังโยชน์
นี่คือพุทธประสงค์ ของพระศาสดา

ปริยัติจึงไม่ใช่เพียงตัวหนังสือที่ปรากฏในที่ต่างๆ แต่เป็นพระธรรมเทศนาที่เทศนาให้ภิกษุปฏิบัติตาม เพื่อความไม่มีราคะ ความไม่มีโทสะ ความไม่มีโมหะ เพื่อนิพพาน..


การไม่เข้าใจปริยัติ จึงเป็นการคิดเอง เออเอง ว่าอย่าส่งใจไปยึดปริยัติจนกลายเป็นอดีตอนาคตไป

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แก้ไขล่าสุดโดย เช่นนั้น เมื่อ 16 ก.ย. 2009, 15:12, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ย. 2009, 07:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3832

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


พระอรหันต์มีกี่รูปก็ปรามาสหมด ไม่มีเหลือ
จำเพาะเอาแต่พระอรหันต์ด้วยนะ

:b10: :b10: :b10: :b14:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ย. 2009, 10:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2009, 19:02
โพสต์: 5

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กระผมมิชื่นชมในปฎิปทาของพระรูปนี้เลยแม้แต่น้อย เฮ้อให้ตายซิ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ย. 2009, 12:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ย. 2009, 00:37
โพสต์: 86

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ผู้ต้องการอบรมใจให้เป็นไปเพื่อความฉลาด รู้เท่าทันกลมายาของกิเลสอย่ายึดปริยัติจนเกิดกิเลส แต่ก็อย่าปล่อยวางปริยัติจนเลยศาสดา ผิดพระประสงค์ของพระพุทธเจ้า ทั้งสองนัย


.....................................................

ไม่ทราบว่าที่เน้นตรงนี้ ท่านตรงประเด็น มีวัตถุประสงค์อะไรครับ มันยังมีบริบทอื่น ต้องพิจารณาประกอบด้วย โดยเฉพาะคำว่าปริยัติ ที่ท่านหลวงตาพูด ครับ ถ้าเน้น เพียงเท่านี้ จะทำให้ความหมายคำว่าปริยัติของหลวงตา ผิดเพี้ยนไปนะครับ

ขอประท้วงครับ

.....................................................
....ถ้าไม่ทำสัญญาให้เป็นปัญญา ทำอย่างไรก็เป็นกามสัญญา......


แก้ไขล่าสุดโดย โคตรภู เมื่อ 17 ก.ย. 2009, 12:59, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ย. 2009, 12:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ท่านชาติสยาม

เช่นนั้น จะรอให้ จขกท. มาแสดงความเห็นเกี่ยวกับ การทำเน้นของ บทคำสอนของท่านมหาบัว ว่ามีเจตจำนงค์ใด

ท่านอยากจะทราบความจริง ก็พึงสำรวม ความคิดให้เป็นกุศล

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ย. 2009, 13:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3832

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


รู้ดีกว่าพระอรหันต์กันทั้งนั้น

แต่ลืมอะไรไปอย่างนะ พระอรหันต์ท่านถึงที่สุดแห่งทุกข์แล้ว
ตัวคุณเองทั้งหลายน่ะ ถึงที่สุดแห่งทุกข์แล้วเหรอ
เอาสติปัญญาแบบไหนมาวิพากย์วิจารณ์อวดรู้ อวดดีกว่าท่าน

อยู่เฉยๆ ไม่เป็นไรนะ อยากลงนรก
ตันหามานะมันมาก เลยอยากจะมาสอนปริยัติพระอรหันต์
ไม่รู้ไปทำบาปทำกรรมอะไรนักหนา จ้องวิพากย์วิจารณ์แต่พระอรหันต์


แก้ไขล่าสุดโดย เว็บมาสเตอร์ เมื่อ 18 ก.ย. 2009, 17:31, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ย. 2009, 15:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ู^U^**

:b17: :b17: :b17:

[๕๓๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย พรหมจรรย์นี้ในพระศาสดาซึ่งมีอยู่เฉพาะ
หน้า เป็นพรหมจรรย์อันผ่องใสควรดื่ม ความผ่องใสในพระศาสดาซึ่งมีอยู่
เฉพาะหน้ามี ๓ ประการ คือ ความผ่องใสแห่งเทศนา ๑ ความผ่องใสแห่ง
การรับ ๑ ความผ่องใสแห่งพรหมจรรย์ ๑ ฯ


ไม่นั่งดูจิตอันเป็นยาพิษนอกพระไตร

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แก้ไขล่าสุดโดย เช่นนั้น เมื่อ 17 ก.ย. 2009, 15:42, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ย. 2009, 17:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ย. 2009, 00:37
โพสต์: 86

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ชาติสยาม เขียน:
นู่น ไปเอาพระไตรปิฏกมาปั่นแล้วฉีดเข้าเส้นเลือดนู่นไป
เผื่อจะฉลาดขึ้นมาจริงๆ
ลำพังเพียงชงชาต้มน้ำอาบคงไม่พอแล้วล่ะ


...........................................................

คนมุสลิม เขากราบไหว้คัมภีร์อัลกุรอาน ไม่ยอมให้คนนอกศาสนากล่าวลบหลู่

คนคริสต์ เขานับถือ คัมภีร์ไบเบิล เขาอ้างอิงเสมอ ไม่ให้ต่างศาสนาลบหลู่เช่นกัน

...............................................................

สำหรับคนไทยนับถือศาสนพุทธนี้นะ สั่งให้กัลยมิตรในลานธรรมนี้ไปเอาพระไตรปิฎกมาปั่นแล้วฉีดเข้าเส้นเลือดบ้าง เอามาต้มอาบบ้าง เอามาต้มเป็นน้ำชาดื่มบ้าง สงสัยจังครับ Admin อยู่ไหนครับ ถึงไม่ลบคำกล่าวพวกนี้ไป หรือให้การสนับสนุนครับ

------------------------------------------------

โคตรภู ขอประท้วง admin ครับ

.....................................................
....ถ้าไม่ทำสัญญาให้เป็นปัญญา ทำอย่างไรก็เป็นกามสัญญา......


แก้ไขล่าสุดโดย โคตรภู เมื่อ 17 ก.ย. 2009, 17:39, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 47 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร