วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 16:14  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 43 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสต์ เมื่อ: 11 ก.ย. 2009, 16:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




tuxedosr5tn7yo7.gif
tuxedosr5tn7yo7.gif [ 14.16 KiB | เปิดดู 3226 ครั้ง ]
๒. คุณค่าด้านการทำกิจ หรือคุณค่าเพื่อความไม่ประมาท

ในด้านการทำกิจ คือ ปฏิบัติหน้าที่การงานหรือทำสิ่งที่ควรทำนั้น เป็นธรรมดาที่ว่า

ปุถุชนทั้งหลาย มักมีความโน้มเอียง ดังต่อไปนี้


ก) เมื่อถูกทุกข์บีบคั้นเข้าแล้ว มีภัยมาถึงตัว เกิดความจำเป็นขึ้นเฉพาะหน้า จึงหันมาเอาใจใส่

ปัญหา หรือกิจที่จะต้องทำ แล้วดิ้นรน หรือ บางทีถึงกับตะลีตะลานที่จะพยายามแก้ไขปัญหาหรือ

ทำการนั้นๆ ซึ่งบางคราวก็แก้ไขหรือทำได้สำเร็จ

แต่บางทีก็ไม่ทันการ ต้องประสบความสูญเสียหรือถึงกับพินาศย่อยยับ

แม้ถึงจะแก้ไขหรือทำได้สำเร็จ ก็ต้องเดือดร้อนกระวนกระวายมาก และยากที่จะสำเร็จ

อย่างเรียบร้อยด้วยดี

อาจเป็นอย่างที่เรียกว่า สำเร็จอย่างยับเยิน


ข) ยามปกติอยู่สบาย หรือแก้ไขปัญหาลุล่วงไปได้ ทำกิจเฉพาะหน้าเสร็จไปทีหนึ่งแล้ว

ก็นอนกาย นอนใจ เฝ้าแสวงหาแส่เสพแต่ความสุขสำราญ หลงใหลมั่วเมาในความปรนเปรอ

บำรุงบำเรอ หรือไม่ก็เพลิดเพลินติดในความปกติสุขอยู่สบายไปชั่ววันๆ

ไม่คิดคำนึ่งที่จะป้องกันความเสื่อมและภัยที่อาจมาถึง ในวันข้างหน้า

มีกิจที่ควรทำ ถ้ายังไม่จวนตัว ก็ผัดเพี้ยนรอเวลาไว้ก่อน

พอทุกข์บีบคั้น ภัยถึงตัว จำเป็นเข้า ก็ตะลีตะลานแก้ไข

พอผ่านพ้นไปได้ ก็ลงนอนเสพสุขต่อไปอีก ปฏิบัติวนเวียนอยู่ในวงจรเช่นนี้

จนกว่าจะถึงวันหนึ่งที่ไม่อาจแก้ไขได้ทันการ หรือแก้ไขสำเร็จอย่างยับเยินเกินกว่า

จะดำรงอยู่ต่อไปได้ ก็เป็นอันจบสิ้น


สภาพความเป็นอยู่ หรือการดำเนินชีวิตอย่างที่กล่าวมานี้ เรียกว่า ความประมาท

ซึ่งแปลง่ายๆว่า ความละเลย หลงเพลินปล่อยตัว ทอดทิ้งกิจ ไม่ใสใจ ไม่เห็นสำคัญ

ไม่กระตือรือร้นขวนขวาย เรื่อยเปื่อยเฉื่อยชา

มักพ่วงมาด้วยความเกียจคร้าน ขาดความเพียรพยายาม


ความเป็นอยู่ หรือ การดำเนินชีวิตที่ตรงข้ามกับที่กล่าวมานั้น เรียกว่า ความไม่ประมาท

หรือ อัปปมาท แปลง่ายๆว่า ความเป็นอยู่อย่างพากเพียร

โดยมีสติเป็นเครื่องเร้าเตือนและควบคุม คือสำนึกอยู่เสมอถึงสิ่งที่จะต้องเว้น และ สิ่งที่จะต้องทำ

ใส่ใจที่จะเว้นและจะทำให้สำเร็จ

มองเห็นความสำคัญของกาลเวลา กิจกรรม และเรื่องราวทุกอย่าง แม้ที่เล็กน้อย

ไม่ยอมถลำพลาดไปในทางเสื่อมเสีย และไม่ทอดทิ้งโอกาสสำหรับความดีงาม ความเจริญ

เร่งรุดก้าวหน้าไปในทางที่ดำเนินสู่จุดหมาย หรือในทางแห่งความดีงาม ไม่หยุดยั้ง

และคิดเตรียมการโดยรอบคอบ


กล่าวได้ว่า ลักษณะสำคัญของอัปปมาท หรือ ความไม่ประมาทนี้ มี ๓ อย่างคือ

๑) เห็นคุณค่าและความสำคัญของเวลาที่ผ่านไปทุกๆขณะ ไม่ปล่อยกาละและโอกาสให้ผ่านไปเสีย

เปล่า ใช้เวลาอย่างมีคุณค่า ให้คุ้มค่าและเกิดประโยชน์อย่างคุ้มควร


๒) ไม่หลงระเริง ไม่มัวเมา ระมัดระวังควบคุมตนอยู่เสมอ ที่จะไม่ให้เผลอพลาดลงไปในทางผิด

ไม่ปล่อยตัวให้ถลำลงไปในทางที่เสื่อมเสีย หรือที่จะทำกรรมชั่ว


๓) เร่งสร้างสรรค์ความดีงามและประโยชน์สุข กระตือรือร้นขวนขวายในการทำกิจหน้าที่

ไม่ละเลย แต่ขะมักเขม้นในการพัฒนาจิตปัญญา และทำการอย่างรอบคอบ

(ข้อนี้ ไม่ประมาทในกุศลธรรมทั้งหลาย)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/
โพสต์ เมื่อ: 11 ก.ย. 2009, 19:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ความรู้ในไตรลักษณ์ เป็นตัวเร่งโดยตรงสำหรับความไม่ประมาท เพราะเมื่อรู้ว่า

สิ่งทั้งหลายไม่เที่ยงแท้แน่นอน ไม่คงที่ เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ไม่คงตัว

จะต้องแตกสลายกลับกลายไป ไม่รอเวลาและไม่ฟังใคร เป็นไปตามเหตุปัจจัย

เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็จำเป็นอยู่เองว่า วิธีปฏิบัติที่ถูกต้อง ย่อมมีอยู่อย่างเดียว คือพึงเร่งรัด

ทำการตามเหตุปัจจัย หมายความว่า จะต้องเร่งขวนขวายป้องกันความเสื่อมที่ยังไม่เกิดขึ้น

แก้ไขปัญหาหรือความเสียหายผิดพลาดที่เกิดขึ้นแล้ว รักษาสิ่งดีที่มีให้คงอยู่

และทำสิ่งที่ดีเพื่อให้เกิดความเจริญงอกงามต่อไป

ทั้งนี้ด้วยการศึกษาเหตุปัจจัยและทำการตรงตัวเหตุตัวปัจจัยนั้น เช่น รู้อยู่ว่า สิ่งทั้งหลายไม่เที่ยง

จะเสื่อมสิ้นสูญสลายไปตามเหตุปัจจัย

เมื่อเราต้องการความดีงามความเจริญ เราก็ต้องเพียรพยายามทำกรรมทั้งหลาย

อันจะเป็นเหตุให้สิ่งดีงามนั้นดำรงอยู่ได้นานที่สุด และ บังเกิดประโยชน์แก่คนมากที่สุด

โดยนัยนี้ จึงเรียกว่า คุณค่าด้านการทำกิจ หรือคุณค่าเพื่อความไม่ประมาท



(ยังมีรายละเอียดอีกมาก แต่เท่านี้ก็พอเห็นแนวทางแล้ว จะข้ามไปคุณค่าด้านอื่นบ้าง)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสต์ เมื่อ: 11 ก.ย. 2009, 19:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๓. คุณค่าเนื่องด้วยความหลุดพ้น หรือ คุณค่าเพื่อความบริสุทธิ์บริบูรณ์แหงความดีงาม



คุณค่าข้อนี้ ว่าที่จริงก็รวมอยู่ในคุณค่าข้อแรก คือคุณค่าด้านการทำจิต ในแง่ความปลอดกิเลส

แต่มีความสำคัญเด่นเฉพาะ

คุณค่าสองข้อแรกทั้งคู่ ท่านมักกล่าวถึงโดยอ้างอิงหลักอนิจจตา เพราะความเป็นอนิจจัง

เป็นภาวะที่มองเห็นได้ง่าย ผู้ปฏิบัติธรรมแม้แต่ในระดับเบื้องต้น ก็จะได้รับประโยชน์

จากไตรลักษณ์โดยเข้าถึงคุณค่าสองข้อแรกนั้น ตามสมควรแก่ปัญญาของตน

แต่คุณค่าข้อที่สามนี้ จะมาพร้อมกับการมนสิการ ความเป็นอนัตตา * เช่นว่า


“ภิกษุมองเห็นด้วยสัมมาปัญญา ตามที่มันเป็นว่า รูป...เวทนา...สัญญา...สังขาร...วิญญาณ

อย่างหนึ่งอย่างใด เป็นอดีต ปัจจุบัน อนาคต ก็ตาม ฯลฯ ทั้งหมดนั้นไม่ใช่ของเรา

ไม่ใช่เราเป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา

เมื่อรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล จึงจะไม่มีอหังการ มมังการ และมานานุสัย

ทั้งในกายอันพร้อมด้วยวิญญาณนี้ และในนิมิตหมายทั้งปวงภายนอก”

(ม.อุ. 14/128/105-6)





อหังการ ได้แก่ กิเลส ที่เรียกชื่อว่า ทิฏฐิ
มมังการ ได้แก่ กิเลส ที่เรียกชื่อว่า ตัณหา
มานาสุสัย ได้แก่ กิเลส ที่เรียกชื่อสั้นๆว่า มานะ

นิยมเรียกเป็นชุดว่า ตัณหา มานะ ทิฏฐิ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสต์ เมื่อ: 11 ก.ย. 2009, 19:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




0d3d0807d6e0eaf428fa5ae2ecfe15d0_raw.gif
0d3d0807d6e0eaf428fa5ae2ecfe15d0_raw.gif [ 47.97 KiB | เปิดดู 3202 ครั้ง ]
(ขยายความ คห.บนที่มีเครื่องหมาย *)


* ความจริง การพิจารณา อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ย่อมให้ผลเนื่องกันหมด

ดังนั้น การพิจารณาลักษณะทั้งสาม จึงมีคุณค่าส่งถึงความหลุดพ้น ได้ทั้งสิ้น

แต่กระนั้น ตัวเด่นในการชี้ขาด จะอยู่ที่ความรู้ ความเข้าใจ อนัตตา

ดังจะเห็นได้จากพุทธพจน์ที่ว่า “พึงเจริญอนิจจสัญญา เพื่อถอน

อัสมิมานะ. ดูกรเมฆิยะ แท้จริง เมื่อมีอนิจจสัญญา อนัตตสัญญา จึงปรากฏ

ผู้มี อนัตตสัญญา จะลุถึงภาวะ ที่ถอนเสียได้ ซึ่งอัสมิมานะ เป็นนิพพานในปัจจุบันนี้แหละ”

(ขุ.อุ.25/89/128 ฯลฯ)






อนัตตสัญญา หมายรู้ในสิ่งทั้งหลายว่า เป็นอนัตตา

อัสมิมานะ ความถือพองว่า เป็นตัวกู (เป็นเรา)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/
โพสต์ เมื่อ: 11 ก.ย. 2009, 19:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พุทธพจน์นี้ มีสาระสำคัญว่า ผู้ที่มองเห็นความเป็นอนัตตาชัดแจ้งแล้ว

ก็จะไม่มี หรือจะชำระล้างเสียได้ ซึ่งกิเลสที่เกี่ยวเนื่องผูกพันกับตัวตน

หรือ กิเลสที่เอาตนเป็นศูนย์กลาง ทั้งสามอย่าง คือ

ความเห็นแก่ตัว ความแส่หาแต่สิ่งบำรุงบำเรอปรนเปรอตน ที่เรียกว่า ตัณหา

ความถือตัว ความทะนงตน สำคัญตนเป็นนั่นเป็นนี่ อยากยิ่งใหญ่ใฝ่เด่น

แสวงหาอำนาจมายกชูตน ที่เรียกว่า มานะ

และความยึดติดในความเห็นของตน ความถือมั่น งมงาย ตลอดจนคลั่งไคล้ในความเชื่อถือ

ลัทธินิยม อุดมการณ์ต่างๆ ที่เรียกว่า ทิฏฐิ


กิเลส ๓ อย่างนี้ มีชื่อเรียกรวมกันเป็นชุดว่า ปปัญจะ หรือ ปปัญจธรรม แปลตามกันมาว่า

ธรรมเครื่องเนิ่นช้า



ถ้าจะแปลให้ง่ายก็ว่า กิเลสตัวปั่น คือ ปั่นแต่งเรื่องราว ปั่นใจให้ทุกข์ ปั่นหัวให้เรื่องมาก

ทำให้ยืดเยื้อ เยิ่นเย้อ ยุ่งเหยิง ยืดยาว ฟั่นเฝือ ล่าช้า วกวน วุ่นวาย นุงนัง สับสน

สลับซับซ้อน ทำให้เขวห่างหรือไถลเชือนเฉออกไปจากความเป็นจริง ที่ง่ายๆ เปิดเผย

ปัญหาที่ไม่มี ก็ทำให้เกิดมีขึ้น

ปัญหาที่มีอยู่แล้ว ก็ไม่อาจแก้ไขอย่างตรงไปตรงมาตามเหตุ

แต่กลับทำให้ยุ่งยากซับซ้อนนุงนังยิ่งขึ้น

เป็นตัวบงการพฤติกรรมที่ทำให้มนุษย์พล่านไปมา ขัดแย้ง แข่งขัน แย่งชิงกัน

ตลอดจนก่อสงครามระหว่างพวกระหว่างฝ่าย

ไม่เฉพาะ แต่จะเป็นเหตุให้ทำความชั่วร้ายนานัปการเท่านั้น แม้เมื่อจะทำสิ่งที่ดีงาม

ถ้ามีกิเลสตัวปั่นเหล่านี้อยู่เบื้องหลัง

การทำความดีนั้นก็มีเงื่อนงำ มีปมแอบแฝง ไม่บริสุทธิ์ และทำได้ไม่บริบูรณ์ ไม่เต็มที่

กิเลสเหล่านี้ จะคอยขัดถ่วงหรือชักให้เขว

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสต์ เมื่อ: 12 ก.ย. 2009, 19:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




1192714345.jpg
1192714345.jpg [ 134.99 KiB | เปิดดู 3181 ครั้ง ]
ความรู้เข้าใจมองเห็นไตรลักษณ์ โดยเฉพาะความเป็นอนัตตา จะบรรเทากิเลสที่เกี่ยวเนื่องผูกพันกับตัว

ตนเหล่าให้เบาบางลง ตลอดจนขจัดทำลายล้างให้หมดสิ้นไป สุดแต่กำลังปัญญาจะเห็นประจักษ์แจ้ง

ทำจิตให้เป็นอิสระหลุดพ้นได้เพียงไหน เมื่อไม่มีกิเลสตัวปั่นเหล่านี้ เป็นเงื่อนงำแอบแฝง และเป็นตัว

กีดกั้นจำกัดให้คับแคบหรือเป็นแรงพัดพาให้เชือนเฉแล้ว หนทางแห่งการทำความดีงามก็เปิดโล่งกว้าง

ไม่จำกัดขอบเขต จะบำเพ็ญคุณธรรมหรือสร้างสรรค์กรรมที่ดีงามใดๆ เช่น ไมตรี กรุณา ทาน ศีล

อัตถจริยา ก็ทำได้อย่างบริบูรณ์เต็มที่และสะอาดบริสุทธิ์


รวมความว่า การเห็นไตรลักษณ์ด้วยมนสิการอย่างถูกวิธี

จะนำให้เกิดคุณค่าทางจริยธรรมทั้งความดีงาม และความงอกงาม ที่มาพร้อมด้วยความสุข

กล่าวคือ ดีงามด้วยกุศลธรรมที่แล่นโล่งไป ไม่มีอกุศลคอยขัดถ่วงหรือบีบเบียน

งอกงามด้วยความไม่ประมาทในการทำกิจ และเป็นสุขด้วยปัญญารู้เท่าทันธรรมดาของโลกและ

ชีวิตที่ทำให้จิตปลอดโปร่ง ผ่องใส เบิกบาน เป็นอิสระ



ความสุขไม่เป็นจริยธรรมโดยตัวของมันเอง แต่เป็นคุณค่าสำคัญทางจริยธรรม

เป็นพื้นที่อิงอาศัยของจริยธรรม ทำให้จริยธรรมดำรงอยู่ได้มั่นคง

ความสุขในที่นี้มุ่งเอานิรามิสสุข คือสุขที่ไม่อาศัยอามิสเป็นสำคัญ เพราะเป็นสุขที่ไม่เจือ

ด้วยความหมกหมม ที่มักบูดเน่าหรืออืดเฟ้อ และก่อโทษขึ้นได้ในภายหลัง



ผู้ที่มองเห็นไตรลักษณ์ รู้เท่าทันธรรมดา และมีนิรามิสสุขเป็นหลักประกัน

แม้จะยังเสพกามสุข ก็จะไม่มืดมัวถึงกับหมกมุ่นหลงใหลหรือถลำลึกจนเกิดโทษรุนแรง

โดยเฉพาะจะไม่เกินเลย จนกลายเป็นเหตุแห่งการเบียดเบียนตนและผู้อื่น และแม้เมื่อความสุขนั้น

ผันแปรไป ก็จะไม่ถูกความทุกข์ใหญ่ท่วมทับเอา

ยังคงดำรงสติอยู่ได้ มีความกระทบใจแต่น้อย เป็นผู้พร้อมที่จะเสวยความสุขในทุกระดับได้อย่าง

สมบูรณ์เต็มอิ่มเต็มรสและคล่องใจ เพราะไม่มีความกังวลขุ่นข้องเป็นเงื่อนปม หรือ เป็นเครื่อง

กีดขวางที่คอยรบกวนอยู่ภายใน และยิ่งกว่านั้น

ทั้งที่สามารถเสวยความสุขทั้งหลายได้อย่างสมบูรณ์ที่สุด

แต่ก็ไม่ติดในความสุขเหล่านั้น ไม่ว่าจะประณีตหรือดีวิเศษเพียงใด

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/
โพสต์ เมื่อ: 13 ก.ย. 2009, 17:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




1192712780.jpg
1192712780.jpg [ 118.93 KiB | เปิดดู 3152 ครั้ง ]

ต่อไปท่านจะกล่าวถึงคุณค่าทางจริยธรรมของไตรลักษณ์แต่ละข้อ ๆ (คือ อนิจจตา ทุกขตา

อนัตตา)

สังเกตความเข้าใจของท่าน กับ ความรู้เข้าใจของเราว่า ต่างกันหรือเหมือนกันตรงไหน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 13 ก.ย. 2009, 18:00, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.
โพสต์ เมื่อ: 13 ก.ย. 2009, 18:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เท่าที่บรรยายนั้น เป็นการกล่าวถึงคุณค่าทางจริยธรรมของไตรลักษณ์อย่างรวมๆ กันไป

ต่อไปนี้ เป็นการพิจารณาคุณค่าทางจริยธรรมของไตรลักษณ์นั้น โดยจำแนกตามลำดับ ข้อ





๑.หลักอนิจจตา แสดงความไม่เที่ยง ความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปของสิ่งทั้งหลาย

จนถึงส่วนย่อยที่ละเอียดที่สุด ทั้งฝ่ายรูปธรรม และนามธรรม

ความไม่เที่ยงของส่วนย่อยต่างๆ เมื่อปรากฏเป็นผลรวมออกมาแก่ส่วนใหญ่ที่มนุษย์

พอสังเกตเห็นได้ ก็เรียกกันว่า ความเปลี่ยนแปลง ซึ่งทำให้เกิดความเข้าใจ หรือ

รู้สึกเหมือนกับว่า สิ่งต่างๆ เหล่านั้น มีตัวมีตนของมัน ซึ่งเดิมมีสภาพเป็นอย่างหนึ่ง

และบัดนี้ตัวตนอันนั้นเองได้เปลี่ยนแปลงแปรรูปไปเป็นอีกอย่างหนึ่ง

ความเข้าใจหรือรู้สึกเช่นนี้ เป็นความหลงผิดอย่างหนึ่ง

เป็นเหตุให้เกิดความยึดมั่นถือมั่น นำตนเข้าไปผูกพันอยู่กับภาพความนึกคิดอย่างหนึ่งของตนเอง

ซึ่งไม่ตรงกับข้อเท็จจริง เมื่อดำรงชีวิตอยู่อย่างผู้ไม่รู้เท่าทันสภาวะ

ย่อมถูกฉุดลากให้กระเสือกกระสนกระวนกระวายไปตามภาพที่สร้างขึ้นลวงตนเองนั้น

เรียกว่า อยู่อย่างเป็นทาส

แต่ผู้รู้เท่าทันสภาวะ ย่อมอยู่อย่างเป็นอิสระ และสามารถถือเอาประโยชน์จากกฎธรรมดาเหล่านี้ได้

ในทางจริยธรรม หลักอนิจจตาอาจใช้ให้เป็นประโยชน์ได้เป็นอันมาก เช่น



๑) ความเป็นอนิจจังนั้น ว่าตามสภาวะของมัน ย่อมเป็นกลางๆ ไม่ดีไม่ชั่ว

แต่เมื่อเป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับความเป็นอยู่ของมนุษย์ ก็มีบัญญัติความเปลี่ยนแปลงด้านหนึ่งว่า

เป็นความเจริญ และความเปลี่ยนแปลงด้านหนึ่งว่า เป็นความเสื่อม

อย่างไรก็ดี ความเปลี่ยนแปลงจะเป็นด้านใด อย่างไร ย่อมแล้วแต่เหตุปัจจัยที่จะให้เป็น


ในทางจริยธรรม นำหลักอนิจจตามาสอนอนุโลมตามความเข้าใจในเรื่องความเสื่อม และความเจริญ

ได้ว่า สิ่งที่เจริญแล้วย่อมเสื่อมได้ สิ่งที่เสื่อมแล้วย่อมเจริญได้ และสิ่งที่เจริญแล้วย่อมเจริญ

ยิ่งขึ้นไปได้

ทั้งนี้ แล้วแต่เหตุปัจจัยต่างๆ และในบรรดาเหตุปัจจัยทั้งหลายนั้น

มนุษย์ย่อมเป็นเหตุปัจจัยที่สำคัญ และสามารถบันดาลเหตุปัจจัยอื่นๆ ได้อย่างมาก

โดยนัยนี้ ความเจริญและความเสื่อมจึงมิใช่เรื่องที่จะเป็นไปเองตามลมๆ

แต่เป็นสิ่งที่มนุษย์เข้าไปเกี่ยวข้อง ทำและสร้างสรรค์ได้ อย่างที่เรียกว่า ตามยถากรรม *

(*ในที่นี้ใช้คำว่า ยถากรรม ตามความหมายทางธรรม ไม่ใช่ในความหมายที่เข้าใจในภาษา

ไทย) คือ แล้วแต่มนุษย์จะทำเอาตามวิสัยแห่งเหตุปัจจัย โดยไม่ต้องคอยระแวงการแทรกแซง

จากตัวการอย่างอื่น นอกเหนือธรรมชาติ เพราะตัวการนอกเหนือธรรมชาติไม่มี


ดังนั้น ในทางจริยธรรม ความเป็นอนิจจัง หรือ แม้จะเรียกว่า ความเปลี่ยนแปลง จึงเป็น

กฎธรรมชาติ ที่มนุษย์มีความหวัง เพราะกฎธรรมชาติ ย่อมเป็นกลางๆ จะให้เป็นอย่างไรแล้วแต่

จะทำเหตุปัจจัยที่จะให้เป็นอย่างนั้นขึ้น

การเปลี่ยนแปลงเพื่อให้ดีขึ้น จึงเป็นสิ่งที่ทำได้ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างความเจริญทางวัตถุ หรือ

ทางนามธรรม

ตั้งแต่การทำคนโง่ให้เป็นคนฉลาด จนถึงทำบุถุชนให้เป็นพระอรหันต์ และการแก้ไขกลับตัว

ปรับปรุงตนเองทุกอย่าง

สุดแต่จะเข้าใจเหตุปัจจัย ที่จะให้เป็นอย่างนั้นแล้วสร้างเหตุปัจจัยนั้นๆ ขึ้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 17 ม.ค. 2010, 18:20, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสต์ เมื่อ: 13 ก.ย. 2009, 18:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โดยสรุป ความเป็นอนิจจัง ในความเข้าใจระดับที่เรียกว่า เป็นความเปลี่ยนแปลงสอนว่า

สำหรับผู้สร้างความเจริญหรือผู้เจริญขึ้นแล้ว ต้องตระหนักว่า ความเจริญนั้นอาจเปลี่ยน

เป็นเสื่อมได้

เมื่อไม่ต้องการความเสื่อม ก็ต้องไม่ประมาท

ต้องหลีกเว้นและกำจัดเหตุปัจจัยที่จะให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในทางเสื่อม

พยายามสร้างและเปิดช่องให้แก่เหตุปัจจัย ที่จะให้เกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างที่จะรักษา

ความเจริญนั้นไว้

สำหรับผู้พลาดเสื่อมลงไป ก็สามารถแก้ไขปรับปรุงได้ โดยละทิ้งเหตุปัจจัยที่ทำให้เสื่อมนั้นเสีย

กลับมาสร้างเหตุปัจจัยที่จะทำให้เจริญต่อไป

ยิ่งกว่านั้น ความเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปในทางเจริญอยู่แล้ว ก็สามารถส่งเสริมให้เจริญยิ่งขึ้นได้

โดยเพิ่มพูนเหตุปัจจัยที่จะทำให้เจริญให้มากยิ่งขึ้น พร้อมกับที่ต้องไม่ประมาทหลงละเริง

ในความเจริญนั้น จนมองไม่เห็นความเป็นไปได้ของความเสื่อม และเหตุปัจจัยต่างๆ

ที่จะให้เกิดความเสื่อมนั้นเสียเลย


กล่าวมาถึงขั้นนี้ ก็มาถึงหลักธรรมสำคัญที่สุด ที่เป็นเครื่องประสานระหว่างสัจธรรมกับจริยธรรม

คือ การที่จะต้องมีปัญญา ตั้งแต่รู้ความเสื่อมและความเจริญ แท้จริงที่ต้องการนั้น คือ อะไร

เหตุปัจจัยที่จะให้เกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างที่จะต้องการนั้น คืออะไร

ตลอดจนข้อที่ว่า จะเพิ่มพูนความสามารถของมนุษย์ ในการเข้าไปบันดาลเหตุปัจจัยต่างๆ

ได้อย่างไร

หลักอนิจจตา จึงมีความหมายอย่างยิ่งในทางจริยธรรม

ตั้งแต่ให้ความหวังในการสร้างความเจริญก้าวหน้า

รับรองหลักกรรม คือ ความมีผลแห่งการกระทำของมนุษย์

จนถึงเน้นความสำคัญ ของการศึกษาอบรมให้เกิดปัญญา ที่สำหรับจะเข้ามาเกี่ยวข้อง

กับความเปลี่ยนแปลงต่างๆ อย่างมีผลดี

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสต์ เมื่อ: 13 ก.ย. 2009, 18:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 21:22
โพสต์: 264

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


บทความนี้ยังเหลืออีกยาวไหมคะ
จะส่งไปให้คนอื่นอ่านน่ะค่ะ

ถ้าจบแล้ว ขออนุญาตก๊อปฯนะคะ

.....................................................
"เราไม่สรรเสริญแม้แต่ความตั้งอยู่ได้ในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่ต้องพูดถึงความเสื่อมถอยจากกุศลธรรมทั้งหลาย
เรายกย่องสรรเสริญอย่างเดียว แต่ความก้าวหน้าต่อไปในกุศลธรรมทั้งหลาย"

(องฺ. ทสก. ๒๔/๕๓/๑๐๑)


แก้ไขล่าสุดโดย รินรส เมื่อ 13 ก.ย. 2009, 22:44, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสต์ เมื่อ: 13 ก.ย. 2009, 19:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




1192712930.jpg
1192712930.jpg [ 125.3 KiB | เปิดดู 3120 ครั้ง ]
รินรส เขียน:
บทความนี้ยังเหลืออีกยาวไหมคะ
จะส่งไปให้คนอื่นอ่านน่ะค่ะ



อีกประมาณ 7- 8 คห.ครับ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/
โพสต์ เมื่อ: 13 ก.ย. 2009, 20:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๒) ในด้านชีวิตภายใน หรือคุณค่าทางจิตใจโดยตรง หลักอนิจจตา ช่วยให้ดำรงชีวิตอยู่

อย่างผู้รู้เท่าทันความจริง

ในขณะที่ทางด้านชีวิตภายนอก สามารถใช้ปัญญาหลีกเว้นความเสื่อม และสร้างสรรค์ความเจริญ

ได้ต่างๆ

ภายในจิตใจ ก็ดำรงอยู่เป็นอิสระ ไม่ตกเป็นทาสของความเสื่อมหรือความเจริญเหล่านั้น

รู้จักที่จะถือเอาประโยชน์จากกฎธรรมชาติ และเกี่ยวข้องกับมันโดยมิต้องถูกซัดเหวี่ยง

ฉุดกระชากไปอย่างเลื่อนลอยมืดมัว เพราะการเข้าไปยึดมั่น เกาะติดอยู่กับเกลียวคลื่น

ส่วนโน้นส่วนนี้ ในกระแสของมันอย่างไม่รู้หัวรู้หน จนช่วยตัวเองไม่ได้ ที่จะช่วยคนอื่น

เป็นอันไม่ต้องพูดถึง

ผู้มีจิตใจเป็นอิสระ รู้เข้าใจสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง

ไม่ยึดติดถือมั่นด้วยตัณหาอุปาทานเท่านั้น จึงจะรู้ว่าอะไรเป็นความเสื่อม

อะไรเป็นความเจริญที่แท้จริง

มิใช่เพียงความเจริญที่อ้างสำหรับมาผูกรัดตัวเองและผู้อื่นให้เป็นทาสมากยิ่งขึ้น หรือ ถ่วงให้จมต่ำลง

ไปอีก และจึงจะสามารถใช้ประโยชน์จากความเจริญที่สร้างขึ้นนั้นได้มากที่สุด

พร้อมกับที่สามารถทำตนเป็นที่พึ่งแก่ผู้อื่นได้อย่างดี


ในทางจริยธรรมขั้นต้น หลักอนิจจตา สอนให้รู้ธรรมดาของสิ่งทั้งหลาย

จึงช่วยไม่ให้เกิดความทุกข์เกินสมควร ในเมื่อเกิดความเสื่อม หรือ ความสูญเสีย และช่วยไม่ให้เกิด

ความประมาทหลงระเริงในเวลาเจริญ


ในขั้นสูง ทำให้เข้าถึงความเจริญโดยลำดับจนเข้าใจหลักอนัตตา

ทำให้ดำรงชีวิตอยู่ด้วยจิตที่เป็นอิสระ ไม่มีความยึดมั่นถือมั่น ปราศจากทุกข์

อย่างที่เรียกว่า มีสุขภาพจิตสมบูรณ์แท้จริง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสต์ เมื่อ: 13 ก.ย. 2009, 20:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(ต่อ - พิจารณาท่อนนี้ดีๆ)


หลักอนิจจตา มักมีผู้นิยมนำมาใช้เป็นเครื่องปลอบใจตนเอง หรือ ปลอบใจผู้อื่น

ในเมื่อเกิดพิบัติ ความทุกข์ ความสูญเสียต่างๆ ซึ่งก็ได้ผลช่วยให้คลายทุกข์ลงได้มากบ้าง

น้อยบ้าง

การใช้หลักอนิจจตาในรูปนี้ ย่อมเป็นประโยชน์บ้าง เมื่อใช้ในโอกาสที่เหมาะสม

และโดยเฉพาะสำหรับให้สติแก่ผู้ไม่คุ้น หรือไม่เคยสำนึกในหลักความจริงนี้มาก่อน

แต่ถ้า ถึงกับนำเอาการปลอบใจตัวแบบนี้ มาเป็นหลักในการดำรงชีวิต หรือมีชีวิตอยู่

ด้วยการปลอบใจตัวเองอย่างนี้ จะกลับเป็นโทษมากกว่า

เพราะเท่ากับเป็นการปล่อยตัวลงเป็นทาสในกระแสโลก หรือการไม่ได้ใช้หลักอนิจจตา

ให้เป็นประโยชน์นั่นเอง เป็นการปฏิบัติผิดต่อหลักกรรม

ในด้านจริยธรรม ขัดต่อการแก้ไขปรับปรุงตนเอง เพื่อเข้าถึงจุดหมายที่พุทธธรรม

จะให้แก่ชีวิตได้


กล่าวโดยย่อ จริยธรรมหรือการรู้จักถือเอาประโยชน์จากหลักอนิจจตา มี ๒ ขั้นตอน คือ

ขั้นตอนที่หนึ่ง เมื่อประสบความเปลี่ยนแปลงที่ไม่น่าปรารถนา ก็บรรเทาหรือกำจัดทุกข์โศกได้

เมื่อประสบความเปลี่ยนแปลงที่พึงใจ ก็ไม่หลงใหลเมามัว เพราะรู้เท่าทันกฎธรรมดา


ขั้นตอนที่สอง เร่งขวนขวายทำกิจ ที่ควรทำต่อไปให้ดีที่สุด และทำจิตใจที่เป็นอิสระ

เพราะรู้ว่าความเปลี่ยนแปลงนั้น เป็นไปตามเหตุปัจจัย ไม่ใช่เป็นไปเอง หรือ เลื่อนลอย

หรือ ตามความปรารถนาของเรา



ผู้ที่เห็นว่า สิ่งทั้งหลายไม่ยั่งยืน ย่อมเปลี่ยนแปลงไป จะทำอะไรไปทำไม

แล้วปล่อยชีวิตให้เลื่อนลอย ปล่อยอะไร ไปตามเรื่อง

แสดงถึงความเข้าใจผิด และปฏิบัติผิดต่อหลักอนิจจตา

ขัดกับพุทธโอวาทที่เป็นปัจฉิมวาจาว่า “สังขารทั้งหลาย มีความเสื่อมสิ้นไปเป็นธรรมดา

ท่านทั้งหลาย จงทำกิจให้สำเร็จด้วยความไม่ประมาทเถิด”




(ที.ม. 10/143/180 แปลอีกอย่างหนึ่งว่า... “ท่านทั้งหลาย จงยังประโยชน์ตน

ประโยชน์ผู้อื่น ให้ถึงพร้อมด้วยความไม่มาท”

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสต์ เมื่อ: 13 ก.ย. 2009, 20:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(นักปฏิบัติกรรมฐาน หรือ นักภาวนาพิจารณาข้อทุกขตาต่อไปนี้ดีๆ)



๒.หลักทุกขตา มีเกณฑ์สำคัญสำหรับกำหนดคุณค่าทางจริยธรรมอยู่ ๒ อย่าง คือ


๑) ในเมื่อสิ่งทั้งหลาย เกิดจากกรประชุมกันเข้าขององค์ประกอบต่างๆ ที่เป็นส่วนย่อยๆ

ลงไป และ องค์ประกอบเหล่านั้น แต่ละอย่างล้วนไม่เที่ยง กำลังตกอยู่ในอาการเกิดขึ้น

แปรไป และสลายตัวตามหลักอนิจจตา อยู่ด้วยกันทั้งสิ้น

สิ่งที่เป็นหน่วยรวมนั้น จึงเท่ากับเป็นที่รวมของความปรวนแปรและความขัดแย้งต่างๆ

และแฝงเอาภาวะที่พร้อมจะแตกแยกและเสื่อมสลายเข้าไว้ในตัวด้วยอย่างเต็มที่

เมื่อเป็นเช่นนี้

การที่จะควบคุมองค์ประกอบต่างๆ ที่กำลังเปลี่ยนแปลงอยู่นั้นให้คุมรูปเป็นหน่วยรวม

ตามรูปแบบที่ประสงค์ก็ดี การที่จะควบคุมการเปลี่ยนแปลงนั้นให้ดำเนินไปในทิศทางที่ต้องการก็ดี

จะต้องใช้พลังงาน และวิธีการจัดระเบียบเข้ามาร่วมเป็นองค์ประกอบช่วยเป็นเหตุปัจจัยเพิ่มขึ้นอีกด้วย

ยิ่งองค์ประกอบส่วนย่อยๆต่างๆนั้น มีมากและสลับซับซ้อนยิ่งขึ้นเท่าใด

ก็ต้องใช้พลังงานมากขึ้นและมีการจัดระเบียบที่ละเอียดรัดกุมยิ่งขึ้นเท่านั้น

การปฏิบัติต่อสิ่งทั้งหลาย เพื่อให้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ จะต้องทำที่ตัวเหตุปัจจัยของมัน

และรู้ชัดถึงความสำเร็จผล หรือความผิดพลาด พร้อมทั้งทางแก้ไขต่อไปตามความพร้อม

ของเหตุปัจจัยเหล่านั้น นี้คือวิธีปฏิบัติต่อสิ่งทั้งหลายอย่างอิสระไม่ผูกมัดตัว และไม่เป็นเหตุ

ให้เกิดความทุกข์

ส่วนวิธีที่ตรงข้ามจากนี้ ก็คือการกระทำตามความยึดอยากด้วยตัณหาอุปาทาน

โดยนำเอาตัวเข้าไปผูกมัดให้สิ่งเหล่านั้นบีบคั้น ซึ่งนอกจากจะทำให้เกิดความทุกข์แก่ตนเองแล้ว

ก็ไม่ช่วยให้เกิดผลดีอย่างใดๆ ขึ้นมา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 17 ม.ค. 2010, 18:16, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสต์ เมื่อ: 13 ก.ย. 2009, 21:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๒) ตามหลักกิจในอริยสัจ หน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติต่อทุกข์ ได้แก่ ปริญญา คือการกำหนดรู้

หรือ ทำความเข้าใจ

หมายความว่า เรื่องทุกข์นี้ บุคคลมีหน้าที่เกี่ยวข้องเพียงแค่กำหนดรู้ หรือ ทำความเข้าใจเท่านั้น

การปฏิบัติต่อทุกข์โดยถูกต้อง ตามหลักกิจในอริยสัจนี้ เป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง

แต่เป็นเรื่องที่มักถูกมองข้ามไป

พุทธธรรมสอนให้ปฏิบัติต่อทุกข์ด้วยการศึกษาให้รู้ว่าอะไรเป็นอะไร

ให้รู้จักทุกข์ คือให้รู้จักปัญหาของตนเอง

มิใช่เพื่อเป็นทุกข์ แต่เพื่อปฏิบัติต่อมันได้ถูกต้อง

แล้วจะได้ไม่มีทุกข์

หรือ พูดอย่างง่ายๆว่า เพื่อจะได้มีความสุขที่แท้จริงนั่นเอง

พูดอีกนัยหนึ่งก็คือ หลักกิจในอริยสัจสอนว่า สิ่งใดก็ตามที่เป็นปัญหาแก่ตน

มนุษย์จะต้องศึกษาสิ่งนั้นให้รู้ให้เข้าใจอย่างชัดเจนที่สุด

ก่อนที่จะลงมือจัดการแก้ไขปัญหานั้น

การศึกษาปัญหามิได้หมายความว่า เป็นการสร้างปัญหาหรือหาปัญหามาใส่ตัว

แต่เป็นวิธีการที่จะทำให้ปัญหาหมดไปต่างหาก

ผู้ที่ไม่ทราบหลักกิจในอริยสัจ

อาจปฏิบัติต่อทุกข์อย่างผิดพลาด ไร้จุดหมายเขวออกนอกทาง

และอาจกลายเป็นการเพิ่มทุกข์แก่ตนด้วยการมองโลกในแง่ร้ายไปก็ได้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 43 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร