วันเวลาปัจจุบัน 05 พ.ค. 2025, 12:05  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 9 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ย. 2009, 12:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ก.ย. 2009, 12:44
โพสต์: 1

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


cool สวัดดีครับ ผมสมาชิกใหม่ ผมมีปัญหาอยู่ว่า ผมเองพยายามนั่งสมาธิก่อนนอนเพื่อให้ตนเองมีสมาธิก่อนที่จะเข้านอน แต่การทำสมาธิของผมไม่เป็นสมาธิเลย จะมีเรื่องต่างๆ เข้ามาในความคิดเสมอ ไม่มีสมาธิซักที ใครมีวิธีช่วยแนะนำผมด้วยนะครับ...ขอบคุณมากครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ย. 2009, 13:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ส.ค. 2009, 02:56
โพสต์: 290

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b1: เป็นเหมือนกันค่ะ

:b9: :b9: นู๋เอค่ะ...

.....................................................
ข้าพเจ้าเคารพพระธรรม ที่มีอยู่ในพระพุทธเจ้า
ข้าพเจ้าเคารพพระธรรม ที่มีอยู่ในพระธรรม
ข้าพเจ้าเคารพพระธรรม ที่มีอยู่ในพระสงฆ์
ข้าพเจ้าเคารพพระธรรม ที่มีอยู่ในพระมารดาพระบิดา
ข้าพเจ้าเคารพพระธรรม ที่มีอยู่ในครูอุปัชฌาย์อาจารย์
ข้าพเจ้าเคารพพระธรรม ที่มีอยู่ในทุกสิ่งทุกอย่าง...สาธุ สาธุ สาธุ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ย. 2009, 13:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 เม.ย. 2009, 06:18
โพสต์: 731

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คราวมีเทศน์ฟังธรรมคำพระสอน
จะช่วยผ่อนอารมณ์สมประสงค์
ที่หิวโหยเร่าร้อนย่อมผ่อนลง
ที่ลุ่มหลงหายหลงเป็นมงคล

เผาหญ้าไม้ใช้ไฟเผาได้ราบ
จะเผาบาปใช้ตบะเผาประหาร
ตบะกล้าบาปพรากจากสันดาน
ควรแก่การปลูกบุญคุณอุดม

จิตถูกต้อง
คำว่า จิต ในที่นี้หมายถึงจิตล้วนๆ
ไม่ได้เกี่ยวกับสติปัญญา จิตถูกต้องก็คือเป็นสมาธิ
การนั่งตัวแข็งเป็นท่อนไม้ อย่างนั้นไม่ใช่สมาธิหรอก
และไม่เกี่ยวกับพุทธศาสนาด้วย
สมาธิตามแบบของพระพุทธเจ้าต้องมีจิตที่ถูกต้อง
หรือมีองค์ประกอบสามอย่าง ดังนี้
๑. สะอาด จิตสะอาด บริสุทธิ์ไว้ทีก่อน
๒.รวมกำลังกันหมด
๓.มีความคล่องแคล่วในหน้าที่

ข้อที่หนึ่ง สะอาดๆ คือไม่มีกิเลส ไม่มีนิวรณ์อะไรไปครอบงำจิตเวลานั้น
ข้อที่สอง มันรวมกำลังกันตั้งมั่นเข้มแข็งๆ เพราะมันรวมกำลังกันเรียกว่าความตั้งมั่น
ข้อที่สาม มีความพร้อมในหน้าที่ ว่องไวในหน้าที่
ถ้าครบสามองค์นี้จึงจะเรียกว่าจิตนี้มีสมาธิ
เรามีสมาธิ คือมีจิตขั้นถูกต้อง เพราะประกอบไปด้วยองค์สามประการ

การทำสมาธิก่อนนอน...ควรทำอะไรบ้าง
1.กายถูกต้อง ชำระร่างกายให้สะอาดหมดจด รักษาศีลให้ถึงพร้อม ท่านั่งไม่ผิดเพี้ยน
2.วาจาถูกต้อง ควรไหว้พระสวดมนต์
3.จิตถูกต้อง ปล่อยวางภาระทางโลก อย่าให้นิวรณ์มาครอบงำ

ขอกราบอนุโมทนาบุญ สาธุ.......... tongue


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ย. 2009, 18:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2009, 08:46
โพสต์: 405

แนวปฏิบัติ: ดูจิต-อานา
ชื่อเล่น: ขวานผ่าซาก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนาในการทำสมาธิด้วยนะครับ

อย่าได้กังวลใจใด ๆ เลยครับ

ทำสมาธิใหม่ ๆ ก็เป็นอย่างนี้เองครับ ก็เหมือนการเรียนหนังสือแหละครับ เรียนใหม่ ๆ ยังไม่เข้าที่ยังไม่รู้เรื่อง ยังไม่มีเพื่อนใหม่ ต่อมาเมื่อเกิดความคุ้นเคยแล้ว ก็ไหลลื่น การเีรียนก็เป็นปกติ ได้เพื่อนก็มากขึ้น

การทำสมาธิก็ฉันนั้นครับ ทำใหม่ๆ ยังไม่เข้าที่เข้าทาง จิตยังไม่เคยได้รับความสงบ จะบังคับให้สงบคงเป็นไปไม่ได้

ต้องค่อยๆทำแล้วทำความเข้าใจว่า หรือศึกษาว่า

ก่อนทำสมาธิต้องทำอย่างไรบ้าง หรือขณะทำต้องทำอย่างไร และเมื่อทำเสร็จแล้วควรทำอย่างไร คือทำเป็นขั้นเป็นตอน เป็นแบบเป็นแผนเสียก่อน ต่อเมื่อชำนาญแล้วก็ไม่ต้องก็ได้ ประมาณนี้ครับ

ก็คิดว่าเป็นใหม่สำหรับจิตใจ แต่เป็นเรื่องปกติ สำหรับจิตที่ฟุ้งซ่านอยู่เป็นประจำของเขาอยู่แล้ว

แค่นี้ก่อนครับ เดี๋ยวจะงง ผมเองก็จะงงไปด้วย

สวัสดีครับ เผื่อท่านอื่นมีอะไรมาเพื่อเติมครับ cool

.....................................................
สุ จิ ปุ ลิ...(หัวใจนักปราชญ์)

ปัจจุบันธรรม

โยนิโส มนสิการ
สติ สัมปชัญญะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ย. 2009, 19:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ก.ค. 2008, 23:37
โพสต์: 449

ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


จิตที่เย็นที่สุด
โลกุตตรจิต

(จิตที่เหนือโลก)
อรหัตตมรรค / อรหัตตผล (พระอรหันต์)
อนาคามิมรรค / อนาคามิผล (อนาคามีบุคคล)
สกทาคามิมรรค / สกทาคามิผล (สกทาคามีบุคคล)
โสดาปัตติมรรค / โสดาปัตติผล (โสดาบัน)
สมาธิขั้นฌาน อรูปฌาน

4 ขั้น
เนวสัญญานาสัญญายตนะ
อากิญจัญญายตนะ
วิญญาณัญจายตนะ
อากาสานัญจายตนะ
รูปฌาน

4 หรือ 5 ขั้น
(ปัญจมฌาน - ฌานที่ 5)
จตุตถฌาน - ฌานที่ 4
ตติยฌาน - ฌานที่ 3
ทุติยฌาน - ฌานที่ 2
ปฐมฌาน - ฌานที่ 1
มหากุศลจิต วิปัสสนาปัญญาขั้นต้น สามารถปล่อยวางได้ชั่วคราว แต่ยังไม่ถึงขั้นมรรค/ผล
สมาธิขั้นอุปจาระ สมาธิขั้นเกือบถึงฌาน คือจิตสงบประณีตมากแล้ว แต่ยังไม่ตั้งมั่นได้นานตามต้องการ
สมาธิขั้นขณิกะ สมาธิขั้นต้น สงบเป็นพักๆ จิตเริ่มประณีต
มหากุศลขั้นพื้นฐาน เกิดจากการให้ทาน รักษาศีล ความศรัทธา หิริ โอตตัปปะ
ความเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ธรรมปิติ
อเหตุกจิต คือจิตที่เป็นกลางๆ ไม่มีทั้งกุศลเหตุและอกุศลเหตุ คือไม่มีทั้งโลภะ(ความโลภ) โทสะ(ความโกรธ) โมหะ(ความหลง-ไม่รู้ธรรมชาติที่แท้จริงของสรรพสิ่ง)
และไม่มีอโลภะ(การสละ) อโทสะ(เมตตา) อโมหะ(วิปัสสนาปัญญา)
อกุศลจิต โมหมูลจิต

(จิตที่มีโมหะเป็นมูลเหตุ)
อกุศลจิตที่มีแต่โมหะ(ความหลง)ล้วนๆ โดยไม่มีโลภะหรือโทสะเจือปน เพียงแต่ทำให้เกิดความลังเลสงสัย หรือฟุ้งซ่านขาดสติเท่านั้น
โลภมูลจิต

(จิตที่มีโลภะเป็นมูลเหตุ)
ขั้นอ่อน ความเพลิดเพลินยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสทางกาย ความยึดมั่นแบบอ่อนๆ ความเพลิดเพลินในสมาธิ ความถือตัวแบบอ่อนๆ
ขั้นกลาง ความอยากได้ในสิ่งที่ถูกทำนองคลองธรรม ความอยากได้ในสิ่งที่ไม่ถูกทำนองคลองธรรม แต่ยังห้ามใจไว้ได้
ความยึดมั่นขั้นกลาง ความถือตัวขั้นกลาง
ขั้นรุนแรง ความอยากได้อย่างแรงกล้าจนห้ามใจไม่อยู่ ต้องทำทุกวิถีทางเพื่อให้ได้มาแม้ผิดศีลธรรม ความยึดมั่นอย่างรุนแรง
ความถือตัวอย่างรุนแรง
โทสมูลจิต

(จิตที่มีโทสะเป็นมูลเหตุ)
ขั้นอ่อน ความเหงา ความกลัว ความระแวง ความอิจฉาเล็กน้อย ความกังวลใจ ความขัดแย้งในใจ ความรำคาญใจ ไม่สบายใจ เศร้าโศกเสียใจไม่มาก ขัดเคืองใจ หงุดหงิด เครียด ความหมั่นไส้ อึดอัดใจ น้อยใจ มองโลกในแง่ร้าย
ขั้นกลาง ความกลัวอย่างมาก ความอิจฉาอย่างมาก กังวลใจมาก เครียดจัด ความโกรธแต่ยังพอห้ามใจได้บ้าง ความเสียใจอย่างมาก
ขั้นรุนแรง โกรธจัดจนห้ามใจไม่อยู่ ต้องแสดงออกทางกาย/วาจา อาจถึงขั้นทำร้ายผู้อื่น ความอาฆาตแค้น ความพยาบาท จองเวร
จิตที่ร้อนที่สุด


จิตในสภาวะต่างๆ นั้น เปรียบเหมือนน้ำที่มีอุณหภูมิแตกต่างกัน จิตที่ยิ่งประณีตมาก (อยู่ด้านบนของตาราง) ก็เหมือนน้ำที่เย็นมากและสงบนิ่งมาก ส่วนโทสะ(ความโกรธ) ก็เหมือนน้ำที่กำลังเดือดพล่านกลายเป็นไอ ทั้งร้อนทั้งปั่นป่วนไปหมด


การที่น้ำจะเปลี่ยนแปลงจากอุณหภูมิสูงไปต่ำ หรือจากอุณหภูมิต่ำไปสูง ก็ต้องมีการเปลี่ยนแปลงไปตามลำดับอุณหภูมิ เช่น 25 ํc เป็น 24 ํc เป็น 23 ํ c ...... 2 ํc เป็น 1 ํc เป็น 0 ํc ตามลำดับ ไม่ใช่อยู่ๆ ก็กระโดดจาก 25 ํc ไปเป็น 0 ํc ได้เลย แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นกับปริมาณความร้อน/เย็นที่มากระทำด้วย ถ้ามีการกระทำอย่างรุนแรง ก็ย่อมจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วตามไปด้วย


จิตก็เช่นกัน การที่จิตจะประณีตมากขึ้นหรือน้อยลง ก็จะค่อยๆ เปลี่ยนแปลงไปตามลำดับขั้น เช่น คนที่กำลังอยู่ในความโกรธนั้น จะทำสมาธิให้เกิดขึ้นในทันทีก็ย่อมจะเป็นไปไม่ได้ ต้องค่อยๆ ปรับจิตไปเรื่อยๆ จนจิตประณีตพอแล้วสมาธิจึงจะเกิดขึ้น


น้ำที่ 60 ํc ย่อมเดือดได้ง่ายกว่าน้ำที่ 10 ํc คือใช้เวลาและความร้อนไม่มากก็เดือดได้แล้ว
จิตที่อยู่ในระดับมหากุศลขั้นพื้นฐาน ย่อมโกรธได้ง่ายกว่าจิตที่อยู่ในระดับสมาธิและวิปัสสนาเช่นกัน คือใช้เวลาและเหตุปัจจัยที่รุนแรงน้อยกว่าก็โกรธได้แล้ว


น้ำที่ 10 ํc ย่อมเป็นน้ำแข็งได้ง่ายกว่าน้ำที่ 60 ํc คือใช้เวลาและความเย็นน้อยกว่า ก็เป็นน้ำแข็งแล้ว
จิตที่อยู่ในระดับสมาธิและวิปัสสนาขั้นต้น ย่อมทำสมาธิขั้นสูงและวิปัสสนาขั้นสูงขึ้นไป ได้ง่ายกว่าจิตที่อยู่ในระดับมหากุศลขั้นพื้นฐานเช่นกัน


นี่คือเหตุผลว่าทำไมคนที่ไม่ค่อยทำสมาธิ ไม่ค่อยกำหนดสติ (เจริญวิปัสสนา) จิตใจถึงได้เร่าร้อนได้ง่ายกว่าคนที่ทำสมาธิหรือกำหนดสติอยู่เป็นประจำ ขณะเดียวกันคนที่ไม่ค่อยทำสมาธิ ไม่ค่อยกำหนดสติ ก็จะทำสมาธิได้ยากกว่าด้วย


และการที่บางคนทำสมาธิได้ยาก แต่บางคนกลับทำได้ง่ายกว่า ก็เป็นเพราะแต่ละคนมีพื้นฐานของจิตใจที่แตกต่างกัน คือมีความประณีตของจิตโดยส่วนใหญ่ ที่แตกต่างกันนั่นเอง


การที่คนเราจะรู้สึกเป็นสุขขึ้นมานั้น ก็เป็นเพราะจิตของเขาในขณะนั้น มีความประณีตสูงขึ้นกว่าสภาวะจิตที่เป็นพื้นฐาน หรือมีความประณีตสูงขึ้นกว่าสภาวะจิตที่เป็นปรกติธรรมดาของเขานั่นเอง เช่น คนที่มีชีวิตอยู่ในสังคมทั่วไปนั้น โดยส่วนใหญ่แล้วในชีวิตประจำวันจะถูกความโลภขั้นกลาง หรือโทสะขั้นอ่อนครอบงำอยู่เป็นประจำ (ดูรายละเอียดของสภาพจิตแต่ละชนิด ในตารางข้างบนประกอบ) ดังนั้นเมื่อได้ดูหนัง ฟังเพลง เต้นรำ ฯลฯ (โลภะขั้นอ่อนทั้งหลาย) ซึ่งจะทำให้จิตประณีตขึ้นกว่าในสภาวะปรกติ ก็จะทำให้รู้สึกว่ามีความสุขขึ้นมาได้
ดังนั้น การดูหนัง ฟังเพลง ซึ่งถึงแม้จะเป็นกิเลสก็ไม่ใช่จะมีผลเสียเสมอไป เพราะอย่างน้อยก็ทำให้จิตประณีตขึ้นมาได้ระดับหนึ่ง แต่ก็ควรควบคุมให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม มีสติรักษาตัวได้


ปล. ขอบคุณข้อมูลจาก อาจารย์ กูเกิ้ล อีกหนึ่งครั้ง

.....................................................
สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม


แก้ไขล่าสุดโดย kokorado เมื่อ 04 ก.ย. 2009, 19:08, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.ย. 2009, 00:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ย. 2009, 23:20
โพสต์: 70

ชื่อเล่น: pmam
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พยายามต่อไป ดูลมหายใจเข้าท้องให้ป่อง ลมหายใจออกท้องยุบ ย่าคิดเรื่องอื่น ดูลมกับท้องว่ายุบพองตามอาการแค่นั้นพอ พยายามเข้านะ ถึงยาก เรารู้ว่าท่านทำได้ สู้ๆๆๆๆอย่ากำหนดเวลาเพราะจะห่วง ให้ตามลมไปที่ท้องตามดูอย่างเดียวห้ามคิดใดๆๆๆ ตามดู ตามดู ...สู้ๆๆๆนะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.ย. 2009, 20:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




019.jpg
019.jpg [ 23.83 KiB | เปิดดู 4604 ครั้ง ]
สาธุในกุศลจิตครับ


ถ้าฟุ้งในขณะเจริญสมาธิ แสดงว่าจิตมีความเพียรจัดออกนอกทางกัมมัฏฐาน
ครั้งต่อไปก่อนเจริญสมาธิให้ท่องข้อความนี้ก่อนเจริญสมาธิเป็นอารมณ์กัมมัฏฐานซ้ำ ๆ หลาย ๆ รอบนะครับจะช่วยให้จิตของท่านตั้งมั่นได้ดีขึ้นครับ



" ความโศกทั้งหลาย
ย่อมไม่มีแก่ผู้มีจิตมั่นคง ไม่ประมาท
เป็นมุนีผู้ศึกษาในทางแห่งมโนปฏิบัติ ผู้คงที่
สงบระงับแล้วมีสติในกาลทุกเมื่อ "


ท่องซ้ำ ๆ และปฏิบัติตามข้อความนี้เป็นอารมณ์กัมมัฏฐานนะครับ
ความฟุ้งซ่านจะสงบระงับไปครับ และจิตจะเป็นสมาธิมีปีติสุขในธรรมเกิดขึ้นครับ


เจริญในธรรมครับ


แก้ไขล่าสุดโดย มหาราชันย์ เมื่อ 06 ก.ย. 2009, 22:40, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ย. 2009, 22:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 เม.ย. 2009, 22:00
โพสต์: 407

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มีความคิดก็เป็นเรื่องปกตินี่ครับ ทำให้สมาธิให้มาก ความคิดก็จะน้อยไปเอง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ย. 2009, 22:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3832

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อันนี้ฟังมานะ

ว่าความอยากจะสงบ เป็นต้นเหตุ ผลคือทุกข์
ยิ่งอยากสงบมากเท่าไหร่ ยิ่งทุกข์

ต้องลองเลิกอยากสงบ แบบว่า ไม่หวังผลอะไรทั้งนั้น
เพียงแต่เพียรทำเหตุของความสงบไปเรื่อยๆ
ไม่ต้องกะเกณฑ์ว่ากี่เวลานาที อันนี้เลิกให้หมดก่อน

ทำไปเรื่อยๆเหมือนรถขายโอ่ง เหมือนหยอดกระปุก
จะสงบหรือไม่สงบช่างหัวมัน
จะคิดก็ปล่อยมันคิด แต่อย่าปล่อยให้คิดไปนานนะ พยามคิดสั้นๆ


ถ้าเป็นคนคิดไว ก็ท่องคำบริกรรมให้มันถี่ๆ

ถ้ายังไงก็ไม่สงบ ก็แปลว่า รู้ใจคงจะยังไม่สะดวก
ก็ลองเปลี่ยนมาเดินจงกรม ก็คือการรู้กาย เอาใจไปดูกายแทน
กายที่เคลื่อนไหวน่ะครับ
ทำโยคะยังได้เลยนะ

กรรมฐานมีหลายอย่างนะ ต้องคอยทดลองดุว่าเราเหมาะกับอะไร


แบบว่า ถ้าเพิ่งมาเริ่มหัดสมาธิแล้วกะให้มันสงบแบบเข้าฌานอะไรนี่
ยังใจร้อนไปนิดนึงนะ


แก้ไขล่าสุดโดย ชาติสยาม เมื่อ 07 ก.ย. 2009, 22:31, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 9 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร