วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 15:05  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 170 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 5, 6, 7, 8, 9, 10, 11, 12  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ส.ค. 2009, 21:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว



คุณรินศึกษาการทำงานขององค์ธรรมซักสองตัว คือ สติกับสัญญา ว่าเค้าอาศัยกันและกันเกิดอย่างไร
(อ่านนอกเวลาการปฏิบัติกรรมฐาน แต่ขณะปฏิบัติ ไม่พึงคิดถึงสิ่งเหล่านี้ กำหนดรู้ไปตามสภาวะ
นั้นๆอย่างเดียว)



เหตุใกล้ชิดที่จะให้เกิด สติ ก็คือ สัญญา ที่มั่นคง หรือสติปัฏฐานต่างๆ


(ความหมายคำว่า สัญญา คร่าวๆ)


สัญญา ได้แก่ ความกำหนดได้ หรือหมายรู้ คือ กำหนดรู้อาการเครื่องหมายลักษณะต่างๆ
อันเป็นเหตุให้จำอารมณ์ ( object ) นั้นๆ ได้


(วิธีปฏิบัติก็อย่างที่ให้กำหนดรู้ภาวะนามรูปดังกล่าวนั่นเอง)


โดยสภาพปรุงแต่ง สัญญา แบ่งคร่าวๆได้ ๒ ระดับ คือ


๑. สัญญาขั้นต้น ได้แก่ ความหมายรู้ลักษณะอาการตามสภาวะของสิ่งนั้นๆ โดยตรง
เช่น หมายรู้ว่า สีเขียว ขาว ดำแดง ฯลฯ แบน ยาว สั้น เป็นต้น
รวมทั้งความรู้เกี่ยวกับ บัญญัติ ต่าง ๆ ว่าแมว ว่าโต๊ะ ว่าเก้าอี้ ฯลฯ

๒. สัญญาซ้อนเสริม ได้แก่ ความหมายรู้ ไปตามคิดปรุงแต่ง หรือตามความรู้ความเข้าใจ
ในระดับต่างๆ เช่น หมายรู้ ว่าสวย ว่าน่าเกลียด น่าชัง ว่าไม่เที่ยง ว่าไม่ใช่ตัวตน เป็นต้น



ถ้าแยกย่อยออกไป สัญญาซ้อนเสริม หรือ สัญญาสืบทอดนี้ก็แบ่งได้เป็น ๒ พวก คือ


-สัญญา ซึ่งเกิดจากความคิดปรุงแต่งที่เป็นอกุศล เรียกว่า ปปัญจสัญญา คือสัญญาที่ซับ
ซ้อนหลากหลาย ซึ่งเกิดจากการแต่งเสริมเติมต่อให้พิสดาร ของตัณหา มานะ และทิฏฐิ

เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า กิเลสสัญญา แปลว่า สัญญาที่เกิดจากกิเลส หรือ
สัญญาที่ประกอบด้วยกิเลส

สัญญาพวกนี้ ถูกกิเลสปรุงแต่งให้ฟั่นเฝือและห่างเหเฉไฉออกไปจากทางแห่งความรู้
ไม่เป็นเรื่องของความรู้ แต่เป็นเรื่องของการที่จะให้เกิดโลภะ โทสะ โมหะ
แทนที่จะช่วยให้เกิดความรู้ กลับเป็นเครื่องปิดกั้นบิดเบือนความรู้ ฯลฯ


-สัญญา ที่เกิดจากความคิดดีงาม หรือ เกิดจากความรู้ความเข้าใจถูกต้อง เรียกว่า
กุศลสัญญาบ้าง
เรียกว่า วิชชาภาคิยสัญญาบ้าง
เรียกว่า นิพเพธภาคิยสัญญา บ้าง
เรียกว่า อวิปริตสัญญาบ้าง

เป็นสัญญา ที่ช่วยส่งเสริมความเจริญปัญญา และ ความงอกงามแห่งกุศลธรรม เช่น หมายรู้ลักษณะอาการที่ชวนให้เกิดความเป็นมิตร
หมายรู้ลักษณะอาการ ซึ่งแสดงภาวะที่เป็นไปตามเหตุปัจจัย ภาวะที่เป็นของไม่เที่ยง
ภาวะที่ไร้ตัวตน เป็นต้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ส.ค. 2009, 22:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


-วิชชาภาคิยสัญญา สัญญาที่ช่วยให้เกิดวิชชา (ความรู้)

-นิพเพธภาคิยสัญญา สัญญาที่ช่วยให้ทำลายกิเลส

-อวิปริตสัญญา สัญญาไม่วิปริต

คำว่า อารมณ์ ทุกแห่งใช้ในความหมายทางธรรมเท่านั้น คือ หมายถึงสิ่งที่จิตรับรู้หรือสิ่งที่ถูกรับรู้

โดยอาศัยทวารทั้ง ๖ ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์

(= ความนึกคิดต่างๆ) ไม่มีความหมายอย่างที่เข้าใจกันทั่วๆไปในภาษาไทย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ส.ค. 2009, 13:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขณะที่เรากำหนดอารมณ์แต่ละขณะๆ เท่ากับว่า สัญญาฝ่ายกุศลก็จดจำ (บันทึก) สภาวธรรม

แล้ว

สติสัมปชัญญะสมาธิ เป็นต้น ก็เกิดทุกขณะปัจจุบันที่กำหนดนามรูป (กายใจ) ตามที่มัน

เป็นทุกๆขณะ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 26 ส.ค. 2009, 13:52, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ส.ค. 2009, 14:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 21:22
โพสต์: 264

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วันนี้มีผลการปฏิบัติ 2 ครั้งค่ะ คือเมื่อคืนนี้กับเช้าวันนี้ค่ะ

เมื่อคืนนี้เดินจงกรมคล่องขึ้นนะคะ (เอามือไพล่หลังค่ะ) พยายามก้าวเท้าให้ได้ระยะที่พอเหมาะเพื่อไม่ให้เซค่ะ แต่ก็ยังเซบ้าง 5-6 ครั้ง กำหนดผิดบ้าง ฟุ้งซ่านบ้าง ได้ยินเสียงแต่ไม่รำคาญบ้าง (กำหนดตามทุกอย่างค่ะ มีบางครั้งที่ยังไม่ทันกำหนดก็หายไปเองค่ะ หรือไม่ก็กำหนดซ้อนขึ้นมาค่ะ) และไม่ได้ยินเสียงซักระยะหนึ่งบ้าง

ตอนนั่ง เมื่อคืนนี้หายใจสม่ำเสมอไม่ช้าไม่เร็วตลอดเวลาที่นั่งค่ะ แต่มีนิมิตตลอดเลยค่ะ เยอะจนจำไม่ไหวค่ะ


ส่วนเช้าวันนี้ ตอนเดินจงกรมก็เหมือนเดิมค่ะ

ส่วนตอนนั่ง หายใจสั้นตั้งแต่แรกเลยค่ะ เลยไม่ได้กำหนด "พอง+ยุบ+นั่ง+ถูก" แม้แต่รอบเดียวค่ะ คือกำหนด "พอง+ยุบ" ตอนหายใจ กับ "นั่ง+ถูก" ตอนพองยุบหายเท่านั้นค่ะ พองยุบหลายรอบมากค่ะ น่าจะถึง 10 รอบ หรือมากน้อยกว่านั้นไม่เท่าไหร่ แต่ละรอบจะรู้ชัดว่าพองยุบกับหารหายใจค่อย ๆ แรงขึ้น แล้วหายไป
แต่การหายใจไม่แรงเท่ากับก่อนหน้านี้ ถ้าเปรียบเป็นคลื่น ระยะคลื่นจะกว้าง และไม่สูงเท่ากับวันก่อน ๆ ค่ะ

ระหว่างการนั่งมีเครื่องบินบินขึ้น 2 ครั้ง ครั้งแรกได้ยินเสียงเครื่องบินหลังจากที่บินขึ้นซักแป๊บหนึ่ง ครั้งที่ 2 ได้ยินตั้งแต่เริ่มบิน แต่ไม่ตกใจค่ะ (กำหนด "เสียงหนอ") ทั้งที่ปกติในชีวิตประจำวันจะตกใจเกือบทุกครั้งเลยค่ะ

หัวใจเต้นตลอดเวลาที่นั่ง ไม่ได้เต้นแรงเท่าไหร่ แค่พอรู้สึกว่าหัวใจเต้นค่ะ ( แต่ตอนอธิษฐานแผ่ส่วนกุศลกับแผ่เมตตา หัวใจเต้นแรงมากตั้งแต่เริ่มอธิษฐานเลยค่ะ) และตัวโยกไปหน้ามาหลังหรือร่างกายส่วนบนหมุนไม่ช้าหรือเร็วเกินไป ตลอดเวลาที่ปฏิบัติตามจังหวะการเต้นของหัวใจ ภาพที่เกิดขึ้นระหว่างนี้แบบที่เคยเห็นในวันก่อน ๆ วันนี้ไม่ได้เกิดขึ้นทุกรอบพองยุบค่ะ แต่ภาพที่เห็นเป็นภาพของสิ่งหนึ่งกำลังหมุนหรือแกว่งไปมา เช่น เครื่องโม่แป้งกำลังหมุนค่ะ


ขอบพระคุณค่ะ :b8:

.....................................................
"เราไม่สรรเสริญแม้แต่ความตั้งอยู่ได้ในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่ต้องพูดถึงความเสื่อมถอยจากกุศลธรรมทั้งหลาย
เรายกย่องสรรเสริญอย่างเดียว แต่ความก้าวหน้าต่อไปในกุศลธรรมทั้งหลาย"

(องฺ. ทสก. ๒๔/๕๓/๑๐๑)


แก้ไขล่าสุดโดย รินรส เมื่อ 26 ส.ค. 2009, 14:20, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ส.ค. 2009, 15:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
เมื่อคืนนี้เดินจงกรมคล่องขึ้นนะคะ (เอามือไพล่หลังค่ะ) พยายามก้าวเท้าให้ได้ระยะที่พอเหมาะเพื่อไม่ให้เซค่ะ แต่ก็ยังเซบ้าง 5-6 ครั้ง กำหนดผิดบ้าง ฟุ้งซ่านบ้าง ได้ยินเสียงแต่ไม่รำคาญบ้าง (กำหนดตามทุกอย่างค่ะ มีบางครั้งที่ยังไม่ทันกำหนดก็หายไปเองค่ะ หรือไม่ก็กำหนดซ้อนขึ้นมาค่ะ) และไม่ได้ยินเสียงซักระยะหนึ่งบ้าง



พยายามก้าวเท้าให้ได้ระยะที่พอเหมาะเพื่อไม่ให้เซค่ะ แต่ก็ยังเซบ้าง 5-6 ครั้ง


ที่เซเกิดจากจิตที่ไม่มั่นต่ออารมณ์เฉพาะหน้า คือ การเดินจงกรมอยู่
ฯลฯ จึงทำให้กายเซๆ หรือ แกว่งๆไป
แต่ไม่เสียหายอะไร จะค่อยๆมั่นคงขึ้น จากเดินจงกรมบ้าง จากการนั่งกำหนดบ้างนี่แหละครับ
ตรงอื่นปฏิบัติถูกต้องแล้ว กำหนดตามที่รู้สึกตามที่เป็นต่อไป


อ้างคำพูด:
ตอนนั่ง เมื่อคืนนี้หายใจสม่ำเสมอไม่ช้าไม่เร็วตลอดเวลาที่นั่งค่ะ แต่มีนิมิตตลอดเลยค่ะ เยอะจนจำไม่ไหวค่ะ



นิมิตอะไร เห็นยังไงก็กำหนดไปตามนั้น “เห็นหนอๆๆ” แล้วก็ปล่อย แล้วเกาะจับพองยุบ
พองหนอ ยุบหนอ ต่อไปใหม่



อ้างคำพูด:
ส่วนเช้าวันนี้ ตอนเดินจงกรมก็เหมือนเดิมค่ะ

ส่วนตอนนั่ง หายใจสั้นตั้งแต่แรกเลยค่ะ เลยไม่ได้กำหนด "พอง+ยุบ+นั่ง+ถูก" แม้แต่รอบเดียวค่ะ คือกำหนด "พอง+ยุบ" ตอนหายใจ กับ "นั่ง+ถูก" ตอนพองยุบหายเท่านั้นค่ะ พองยุบหลายรอบมากค่ะ น่าจะถึง 10 รอบ หรือมากน้อยกว่านั้นไม่เท่าไหร่ แต่ละรอบจะรู้ชัดว่าพองยุบกับหารหายใจค่อย ๆ แรงขึ้น แล้วหายไป
แต่การหายใจไม่แรงเท่ากับก่อนหน้านี้ ถ้าเปรียบเป็นคลื่น ระยะคลื่นจะกว้าง และไม่สูงเท่ากับวันก่อน ๆ ค่ะ



พองยุบ หรือ การหายใจ ส่องถึงความคิดด้วย มันสัมพันธ์กัน
ดังกล่าวมาเป็นธรรมดาของมัน ตามรู้ดูความเปลี่ยนแปลงของพองยุบ ของความคิดต่อไป

อ้างคำพูด:
ระหว่างการนั่งมีเครื่องบินบินขึ้น 2 ครั้ง ครั้งแรกได้ยินเสียงเครื่องบินหลังจากที่บินขึ้นซักแป๊บหนึ่ง ครั้งที่ 2 ได้ยินตั้งแต่เริ่มบิน แต่ไม่ตกใจค่ะ (กำหนด "เสียงหนอ") ทั้งที่ปกติในชีวิตประจำวันจะตกใจเกือบทุกครั้งเลยค่ะ



เกิดจากจิตที่มั่นคงขึ้น เป็นธรรมดาครับ หมั่นฝึกเพียรกำหนดนาม (ความคิด) รูป (กาย)
ต่อไป


อ้างคำพูด:
หัวใจเต้นตลอดเวลาที่นั่ง ไม่ได้เต้นแรงเท่าไหร่ แค่พอรู้สึกว่าหัวใจเต้นค่ะ ( แต่ตอนอธิษฐานแผ่ส่วนกุศลกับแผ่เมตตา หัวใจเต้นแรงมากตั้งแต่เริ่มอธิษฐานเลยค่ะ) และตัวโยกไปหน้ามาหลังหรือร่างกายส่วนบนหมุนไม่ช้าหรือเร็วเกินไป ตลอดเวลาที่ปฏิบัติตามจังหวะการเต้นของหัวใจ ภาพที่เกิดขึ้นระหว่างนี้แบบที่เคยเห็นในวันก่อน ๆ วันนี้ไม่ได้เกิดขึ้นทุกรอบพองยุบค่ะ แต่ภาพที่เห็นเป็นภาพของสิ่งหนึ่งกำลังหมุนหรือแกว่งไปมา เช่น เครื่องโม่แป้งกำลังหมุนค่ะ



ตัวโยกไปหน้ามาหลังหรือร่างกายส่วนบนหมุนไม่ช้าหรือเร็วเกินไป ตลอดเวลาที่ปฏิบัติตามจังหวะการเต้นของหัวใจ


ความรู้สึกดังกล่าวกำหนดด้วยนะ รู้สึกยังไงกำหนดยังงั้น ตามที่รู้สึกตามที่เป็น


อ้างคำพูด:
ภาพที่เกิดขึ้นระหว่างนี้แบบที่เคยเห็นในวันก่อน ๆ วันนี้ไม่ได้เกิดขึ้นทุกรอบพองยุบค่ะ แต่ภาพที่เห็นเป็นภาพของสิ่งหนึ่งกำลังหมุนหรือแกว่งไปมา เช่น เครื่องโม่แป้งกำลังหมุนค่ะ
.


เกิดจากความคิด
กำหนดด้วยครับ ตามที่เป็น ตามที่รู้สึก เห็นหนอๆๆ หมุนหนอ ๆๆ แกว่งหนอๆๆๆ ตามเรื่องที่เกิด แล้วปล่อย เกาะพองยุบ พองหนอ ยุบหนอ ต่อไป

สาธุ :b8:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 26 ส.ค. 2009, 17:18, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ส.ค. 2009, 12:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 21:22
โพสต์: 264

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
อ้างคำพูด:
ส่วนเช้าวันนี้ ตอนเดินจงกรมก็เหมือนเดิมค่ะ

ส่วนตอนนั่ง หายใจสั้นตั้งแต่แรกเลยค่ะ เลยไม่ได้กำหนด "พอง+ยุบ+นั่ง+ถูก" แม้แต่รอบเดียวค่ะ คือกำหนด "พอง+ยุบ" ตอนหายใจ กับ "นั่ง+ถูก" ตอนพองยุบหายเท่านั้นค่ะ พองยุบหลายรอบมากค่ะ น่าจะถึง 10 รอบ หรือมากน้อยกว่านั้นไม่เท่าไหร่ แต่ละรอบจะรู้ชัดว่าพองยุบกับหารหายใจค่อย ๆ แรงขึ้น แล้วหายไป
แต่การหายใจไม่แรงเท่ากับก่อนหน้านี้ ถ้าเปรียบเป็นคลื่น ระยะคลื่นจะกว้าง และไม่สูงเท่ากับวันก่อน ๆ ค่ะ



พองยุบ หรือ การหายใจ ส่องถึงความคิดด้วย มันสัมพันธ์กัน
ดังกล่าวมาเป็นธรรมดาของมัน ตามรู้ดูความเปลี่ยนแปลงของพองยุบ ของความคิดต่อไป



อ้างคำพูด:
ภาพที่เกิดขึ้นระหว่างนี้แบบที่เคยเห็นในวันก่อน ๆ วันนี้ไม่ได้เกิดขึ้นทุกรอบพองยุบค่ะ แต่ภาพที่เห็นเป็นภาพของสิ่งหนึ่งกำลังหมุนหรือแกว่งไปมา เช่น เครื่องโม่แป้งกำลังหมุนค่ะ
.


เกิดจากความคิด
กำหนดด้วยครับ ตามที่เป็น ตามที่รู้สึก เห็นหนอๆๆ หมุนหนอ ๆๆ แกว่งหนอๆๆๆ ตามเรื่องที่เกิด แล้วปล่อย เกาะพองยุบ พองหนอ ยุบหนอ ต่อไป



เกิดจากความคิดอะไรยังไงพอจะบอกได้ไหมคะ แต่ถ้ารู้แล้วจะทำให้ปฏิบัติไขว้เขวไหมคะ


ขอบพระคุณค่ะ :b8:

.....................................................
"เราไม่สรรเสริญแม้แต่ความตั้งอยู่ได้ในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่ต้องพูดถึงความเสื่อมถอยจากกุศลธรรมทั้งหลาย
เรายกย่องสรรเสริญอย่างเดียว แต่ความก้าวหน้าต่อไปในกุศลธรรมทั้งหลาย"

(องฺ. ทสก. ๒๔/๕๓/๑๐๑)


แก้ไขล่าสุดโดย รินรส เมื่อ 06 ก.ย. 2009, 22:39, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ส.ค. 2009, 12:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
เกิดจากความคิดอะไรยังไง พอจะบอกได้ไหมคะ แต่ถ้ารู้แล้วจะทำให้ปฏิบัติไขว้เขวไหมคะ




สิ่งเหล่านี้ (ภาพที่เห็นเป็นภาพของสิ่งหนึ่งกำลังหมุนหรือแกว่งไปมา เช่น เครื่องโม่แป้งกำลังหมุนค่ะ)

เหล่านี้เป็นต้น (เดินจงกรมยังเซ 5-6 ครั้ง เหมือนเดิม แต่ลักษณะการเซคือเซเพียงเล็กน้อย ส่วนอย่างอื่นก็มีกำหนดผิด 6-7 ครั้ง)

ดังกล่าวเป็นต้น เริ่มแรกเกิดจากจิตหรือความคิดก่อน แล้วส่งผลถึงกาย ที่เราเดินเซๆ ก็เพราะจิตยังไม่มั่น ยังไม่แน่วแน่อยู่กับงานที่ทำ ขณะนั้นคือการเดิน
ยกหนอ ย่างหนอ เหยียบหนอ หมายความว่า ขณะที่เราจงกรม จิตยังมีแกว่ง
มีแวบไปเรื่องอื่นจากจงกรม กายก็เซ ก็โยก ฯลฯ

ภาพที่เห็นๆนั่นบ้างนี่บ้าง ขณะนั่งก็เช่นกัน เกิดจากความคิดจากจิตก่อน ด้วยว่ากุศลธรรมมีสติ เป็นต้น ยังทำงานไม่เต็มที่ คือ ยังกำหนดอารมณ์มีพองยุบเป็นต้น
ยังไม่ชัด ก็จึงมีภาพพล่าๆเบลอๆ

ไม่ใช่เรื่องเสียหายธรรมดา เรากำหลังฝึกครับ หมั่นกำหนดปัจจุบันอารมณ์ต่อๆไป
องค์ธรรมฝ่ายกุศลเจริญขึ้นๆ สิ่งดังกล่าวก็ถูกกำจัดหมดไป


อนึ่ง แม้เลิกจากการปฏิบัติหันมาทำงานประจำวันแล้ว คุณสังเกต เราจะหยิบปากกา เครื่องใช้ไม้สอย จะลุกจะนั่งจะเดิน ต้องคิดก่อน จิตสั่งก่อน แล้วกายก็สนอง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ส.ค. 2009, 21:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




452-3.jpg
452-3.jpg [ 74.81 KiB | เปิดดู 3856 ครั้ง ]

ภิกษุผู้รู้จักข่มจิตในเวลาที่ควรข่ม รู้จักประคองจิต ทำจิตให้ร่าเริง และเพ่งดูเฉยในเวลาที่ควรทำ

เช่นนั้นๆ ชื่อว่าเป็นผู้ยินดีในนิพพาน สามารถบรรลุนิพพานได้


(องฺ.ฉกฺก.22/356/486)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ส.ค. 2009, 21:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว



กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
(สํ.สฬ. 18/217/166) เป็นเจ้าบทบาทเดิม

จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า “คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น”

และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า “ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้า คนเมาพูด

ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์”

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ส.ค. 2009, 22:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 21:22
โพสต์: 264

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เพิ่งออกจากกรมฐานค่ะ

เดินจงกรมก็เหมือนเมื่อวานค่ะ เพียงแต่วันนี้รู้สึกชาเท้าหรือจั๊กจี้หรือเหยียบเต็มฝ่าเท้ามากกว่าเดิมค่ะ (กำหนดรู้หนอ)

ตอนนั่งประมาณ 3-5 นาทีแรก รู้ได้ชัด ๆ เลยว่าตัวเองกำหนดพอง+ยุบอยู่ แต่หลังจากนี้เหมือนกับว่าตัวเราเองไม่ได้กำหนด แต่รู้ว่ายังมีการกำหนดค่ะ (ไม่รู้จะอธิบายยังไงค่ะ :b23: ) ช่วงแรก ๆ มีการกำหนดพอง+ยุบเร็วมากค่ะ เห็นดินสอขีดเส้นขึ้นลงรวดเร็วจากซ้ายไปขวา จากขวามาซ้าย 4-5 รอบ เห็นเส้นทับกันยุ่งไปหมด หลังจากนั้นก็เป็นภาพอื่น แต่เกิดไม่นานและไม่ทุกรอบค่ะ (กำหนดเห็นหนอ) และไม่หายใจเร็วเหมือนพอลองกำหนดพอง+ยุบเหมือนเดิมก็เหมือนฝืนทำหรือแกล้งทำค่ะ เลยปล่อยให้เป็นอย่างนี้จนหมดเวลา และยังรู้สึกว่าหัวใจเต้นแรงอยู่ค่ะ

.....................................................
"เราไม่สรรเสริญแม้แต่ความตั้งอยู่ได้ในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่ต้องพูดถึงความเสื่อมถอยจากกุศลธรรมทั้งหลาย
เรายกย่องสรรเสริญอย่างเดียว แต่ความก้าวหน้าต่อไปในกุศลธรรมทั้งหลาย"

(องฺ. ทสก. ๒๔/๕๓/๑๐๑)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ส.ค. 2009, 09:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
เดินจงกรมก็เหมือนเมื่อวานค่ะ เพียงแต่วันนี้รู้สึกชาเท้าหรือจั๊กจี้หรือเหยียบเต็มฝ่าเท้ามากกว่าเดิมค่ะ (กำหนดรู้หนอ)



คุณรินยังเดิน ระยะที่ ๓ ยกหนอ ย่างหนอ เหยียบหนอ ๒๕ นาทีอยู่นะครับ


อ้างคำพูด:
ตอนนั่งประมาณ 3-5 นาทีแรก รู้ได้ชัด ๆ เลยว่าตัวเองกำหนดพอง+ยุบอยู่



เพราะสติสัมปชัญญะ มีกำลังอยู่ในช่วง ๓-๕ นาทีแรก จึงรู้สึกว่าเหมือนกำหนดรู้พอง-ยุบชัด
แต่หลังจากนั้นก็เริ่มอ่อนๆลง คือ ไม่แข็งแรงเหมือนตอนต้น
ไม่เป็นไรครับ ฝึกเจริญสติสัมปชัญญะ เป็นต้นต่อไป แล้วจะค่อยๆชัดขึ้นๆ จากการฝึกนี่แหละครับ ไม่ใช่จากการคิดเอา

คุณรินดูลายเซ็นกรัชกายข้างล่างสิครับ อ่านแล้วทำความเข้าใจความหมายของคำว่า “สติ” “สัมปชัญญะ” “สัญญา” ที่ทำงานอยู่กับ พอง-ยุบ หรือ ลมเข้าลมออก


อ้างคำพูด:
แต่หลังจากนี้เหมือนกับว่าตัวเราเองไม่ได้กำหนด แต่รู้ว่ายังมีการกำหนดค่ะ (ไม่รู้จะอธิบายยังไงค่ะ) ช่วงแรก ๆ มีการกำหนดพอง+ยุบเร็วมากค่ะ เห็นดินสอขีดเส้นขึ้นลงรวดเร็วจากซ้ายไปขวา จากขวามาซ้าย 4-5 รอบ เห็นเส้นทับกันยุ่งไปหมด
หลังจากนั้นก็เป็นภาพอื่น แต่เกิดไม่นานและไม่ทุกรอบค่ะ (กำหนดเห็นหนอ) และไม่หายใจเร็ว เหมือนพอลองกำหนดพอง+ยุบเหมือนเดิม ก็เหมือนฝืนทำหรือแกล้งทำค่ะ เลยปล่อยให้เป็นอย่างนี้จนหมดเวลา และยังรู้สึกว่าหัวใจเต้นแรงอยู่ค่ะ



ดังกล่าวก่อนหน้า หลังจากพ้น ๕ นาทีแล้ว กำหนดพอง-ยุบไม่ค่อยชัด ก็คือว่า สติสัมปชัญญะอ่อนๆกำลังลงไป จึงความรู้สึกเราเหมือนพล่าๆ เบลอๆ รู้สึกยุ่งๆนุงนัง

แก้เกมด้วยวิธีนี้ครับ ขณะใด พอง-ยุบ ช้า ให้กำหนด พองหนอ ยุบหนอ นั่งหนอ พองหนอ ยุบหนอ นั่งหนอ ฯลฯ รูปนั่งหยาบกว่า พอง-ยุบ ปรากฏชัดกว่า
เราก็เกาะอารมณ์หยาบๆด้วย

แม้เราใช้ชีวิตปกติในแต่ละวันๆ ก็ใช้งานที่เราทำประจำวันเป็นที่ฝึกด้วย เป็นต้นว่าหยิบจับ-วางสิ่งของ
ก็รู้ตัวเต็มๆว่ากำลังจับกำลังวาง

หรือ แม้แต่การรับทานอาหาร ตักข้าวใส่ปาก-เคี้ยวก็รู้ กลืนก็รู้ตัวว่ากำลังกลืน

แต่งตัวใส่เสื้อนุ่งผ้าก็รู้ว่ากำลังทำอย่างนั้น ฯลฯ ใช้เป็นกรรมฐานได้หมดทุกอย่าง ไม่มีจำกัดครับ เป็นประโยชน์ต่อการฝึกสติสร้างความรู้สึกตัวได้ทั้งนั้น



ช่วงนี้รู้สึกหัวใจเต้นแรงก็เป็นธรรมดา กำหนดเสียด้วย (เพื่อไม่ให้จิตยึดภาวะนั้น) เดินจงกรมให้มากกว่านั่งสักหน่อยก็ได้


อนึ่ง เวลาจงกรม-นั่ง ที่ว่าต้องเท่าๆกันนั้น ไม่พึงยึดติดว่า จะต้องเป็นอย่างนั้นเสมอไป
ปรับได้ แล้วแต่อินทรีย์ตัวใดล้ำเกินกัน

สรุปโดยรวมไม่มีอะไรเสียหายครับ แต่ยังต้องเพียรพยายามเจริญองค์ธรรมมีสติเป็นต้นต่อไป



หรือ หากคุณรินเห็นว่ายากลำบาก จะล้มเลิกความตั้งใจก็ได้นะครับ :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 29 ส.ค. 2009, 09:16, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ส.ค. 2009, 12:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 21:22
โพสต์: 264

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
หรือ หากคุณรินเห็นว่ายากลำบาก จะล้มเลิกความตั้งใจก็ได้นะครับ :b1:



ไม่ล้มเลิกหรอกค่ะ ไม่มีความคิดแบบนี้เลย (จริง ๆ นะคะ)

ขออนุญาตถามอีกครั้งนะคะ ว่าถ้ายังจะปฏฺบัติต่อและยังจะมาถามอยู่ จะเป็นรบกวนคุณกรัชกายหรือเปล่าคะ :b1:

.....................................................
"เราไม่สรรเสริญแม้แต่ความตั้งอยู่ได้ในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่ต้องพูดถึงความเสื่อมถอยจากกุศลธรรมทั้งหลาย
เรายกย่องสรรเสริญอย่างเดียว แต่ความก้าวหน้าต่อไปในกุศลธรรมทั้งหลาย"

(องฺ. ทสก. ๒๔/๕๓/๑๐๑)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ส.ค. 2009, 13:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




1%20(72).gif
1%20(72).gif [ 34.57 KiB | เปิดดู 3783 ครั้ง ]
รินรส เขียน:
กรัชกาย เขียน:
หรือ หากคุณรินเห็นว่ายากลำบาก จะล้มเลิกความตั้งใจก็ได้นะครับ :b1:



ไม่ล้มเลิกหรอกค่ะ ไม่มีความคิดแบบนี้เลย (จริง ๆ นะคะ)

ขออนุญาตถามอีกครั้งนะคะ ว่าถ้ายังจะปฏฺบัติต่อและยังจะมาถามอยู่ จะเป็นรบกวนคุณกรัชกายหรือเปล่าคะ



ไม่ล้มเลิกหรอกค่ะ ไม่มีความคิดแบบนี้เลย (จริง ๆ นะคะ)


ทั้งๆ ที่ต่อๆไปคงต้องใช้วิริยะอุตสาหะมากขึ้น เช่นว่า เดินจงกรมนานขึ้น นั่งกำหนดรู้นามธรรมรูปธรรมนานขึ้นๆ น่ะหรือครับ



ขออนุญาตถามอีกครั้งนะคะ ว่าถ้ายังจะปฏิบัติต่อและยังจะมาถามอยู่ จะเป็นรบกวนคุณกรัชกายหรือเปล่าคะ



หากยังอยู่ตรงนี้ก็ถามได้ไม่มีปัญหาครับ ไม่ใช่เรื่องรบกวนอะไร

แต่เกิดวันหนึ่งนึกเบื่อๆเซ็งๆขึ้นมาไม่เข้ามาแล้วก็ขาดกันแค่นั้น :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ส.ค. 2009, 08:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




four_lotus%20copy.jpg
four_lotus%20copy.jpg [ 269.79 KiB | เปิดดู 3726 ครั้ง ]
(รับทราบข้อความที่ลบไป)

ระหว่างที่รอคำถามคุณริน จะนำบทความที่ให้แง่คิดแทรกอีกช่วงหนึ่ง เผื่อจะเป็นประโยชน์แก่ผู้มิได้

ปฏิบัติกรรมฐานแบบนี้ ดังต่อไปนี้



กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ (สํ.สฬ. 18/217/166) เป็นเจ้าบทบาทเดิม

จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า “คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น”

และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า “ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้า คนเมาพูดก็อาจ

สำเร็จเป็นพระอรหันต์”

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ส.ค. 2009, 08:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หลักการสร้างเสริมสัมมาทิฏฐิ มีข้อความในพระไตรปิฎก ๒ อย่าง




“ภิกษุทั้งหลาย ปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งสัมมาทิฏฐิ มี ๒ ประการดังนี้ คือ ปรโตโฆสะ

และโยนิโสมนสิการ”


(องฺ.ทุก. 20/371/110)


๑. ปรโตโฆสะ = เสียงจากผู้อื่น การกระตุ้นหรือชักจูงจากภายนอก เช่น การสั่งสอน

แนะนำ การถ่ายทอด การโฆษณา คำบอกเล่า ข่าวสาร ข้อเขียน คำชี้แจง อธิบาย

การเรียนรู้จากผู้อื่น ในที่นี้ หมายเอาเฉพาะส่วนที่ดีงามถูกต้อง เฉพาะอย่างยิ่งการรับฟังธรรม

ความรู้ หรือคำแนะนำจากบุคคลที่เป็นกัลยาณมิตร (hearing or learning from others;

inducement by others)




ข้อแรกนี้ เป็นองค์ประกอบฝ่ายภายนอก ได้แก่ ปัจจัยทางสังคม อาจเรียกง่ายๆว่า วิธีการแห่ง

ศรัทธา



๒. โยนิโสมนสิการ = การทำในใจโดยแยบคาย = การใช้ความคิดถูกวิธี ความรู้จักคิด

คิดเป็น หรือคิดอย่างมีระเบียบ

หมายถึง การรู้จักมอง รู้จักพิจารณาสิ่งทั้งหลาย

โดยมองตามที่สิ่งนั้นๆ มันเป็นของมัน และ โดยวิธีคิดหาเหตุผล สืบค้นถึงต้นเค้า

สืบสาวให้ตลอดสาย แยกแยะสิ่งนั้นๆ หรือปัญหานั้นๆออกให้เห็นตามสภาวะ และตามความสัมพันธ์

สืบทอดแห่งเหตุปัจจัย โดยไม่เอาความรู้สึกด้วยตัณหาอุปาทานของตนเข้าจับ (analytical

reflection; reasoned or systematic attention)


ข้อ ๒ นี้ เป็นองค์ประกอบฝ่ายภายใน ได้แก่ ปัจจัยภายในตัวบุคคล อาจเรียกง่ายๆว่า

วิธีการแห่งปัญญา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 170 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 5, 6, 7, 8, 9, 10, 11, 12  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร