วันเวลาปัจจุบัน 06 พ.ค. 2025, 02:45  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 118 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 3, 4, 5, 6, 7, 8  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ส.ค. 2009, 16:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีครับ ท่านกบนอกกะลา

กบนอกกะลา เขียน:
เอ๋..แล้ว..พิจารณาอสุภะ นี้เรียกว่า..พัวพันนามรูป..ด้วยหรือเปล่าหนอ????


เป็นปุจฉาที่ดีมากเลยละครับ ว่าอสุภะกรรมฐานที่เข้าใจกันมีประโยชน์อย่างไรมีความสำคัญอย่างไร และอุปัชฌาจารย์ท่านให้กัมฐาน เกี่ยวกับ อาการ 32 เพื่ออะไร แล้วไม่เป็นการพัวพันในนามรูปทั้งหมดหรือ

อสุภะสัญญา เป็นรูปสัญญาอย่างหนึ่ง คือพัวพันอยู่ที่รูปสัญญาโดยเป็นของไม่งาม เรียกว่าอสุภะสัญญา แต่ถึงกระนั้นก็ยังสุดโต่งเช่นกันเพราะจิตยังเป็นโลกียะ แต่ความสุดโต่งที่เป็นรูปสัญญาโดยเป็นของไม่งามนี้ เป็นสัมมาสมาธิ จิตเป็นกุศลเพราะสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย ผู้เจริญอสุภะสัญญา โลกียกุศลจิตที่ได้คือ ฌานสมาบัติ 8 เป็นจิตพรหมจรรย์ แต่ยังไม่ใช่เป็นการเจริญฌานอันเป็นโลกุตตระ ไม่ใช่วิปัสสนาจิต ไม่ใช่มรรคจิต ไม่ใช่ผลจิต เพื่อพระนิพพาน

ซึ่งผู้แจริญอสุภะสัญญา ยังมีกิจที่ต้องทำต่อไปอีกครับหลังจากละกามสัญญา คือต้องเจริญฌานอันเป็นโลกุตตระครับเพื่อให้สำเร็จเป็นวิปัสสนาจิต เป็นมรรคจิต ผลจิต

ผู้เจริญอสุภะสัญญา ต้องเจริญโลกุตตระฌานต่อ ด้วยอรหัตมรรค หรืออริยสัจจ์4 เพื่อให้เห็นแจ้งในธรรมอันเป็นปัจจุบันครับ ด้วยลักณูปนิชฌาน คือ สุญญตวิโมกข์ หรือ อนิมิตตะวิโมกข์ หรือ อัปปณิหิตะวิโมกข์ครับ

สุญญตวิโมกข์ ๑ อนิมิตตวิโมกข์ ๑ อัปปณิหิตวิโมกข์ ๑
[๔๗๐] สุญญตวิโมกข์เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี
อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดี พิจารณาเห็นดังนี้ว่า นามรูปนี้ว่างจากความ
เป็นตัวตน และจากสิ่งที่เนื่องด้วยตน เธอย่อมไม่ทำความยึดมั่นในนามรูปนั้น
เพราะเหตุนั้น วิโมกข์ของภิกษุนั้นจึงเป็นวิโมกข์ว่างเปล่า นี้เป็นสุญญตวิโมกข์ ฯ

อนิมิตตวิโมกข์เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้
ก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดี ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า นามรูปนี้ว่างจากความเป็นตัวตน
และจากสิ่งที่เนื่องด้วยตน เธอย่อมไม่ทำเครื่องกำหนดหมายในนามรูปนั้น เพราะ
เหตุนั้น วิโมกข์ของภิกษุนั้นจึงเป็นวิโมกข์ไม่มีเครื่องกำหนดหมายนี้เป็นอนิมิตต-
*วิโมกข์ ฯ

อัปปณิหิตวิโมกข์เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคน
ไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดี ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า นามรูปนี้ว่างจากความเป็น
ตัวตน และจากสิ่งที่เนื่องด้วยตน เธอย่อมไม่ทำความปรารถนาในนามรูปนั้น
เพราะเหตุนั้น วิโมกข์ของภิกษุนั้นจึงเป็นวิโมกข์ไม่มีความปรารถนา นี้เป็นอัปป-
*ณิหิตวิโมกข์ ฯ

Quote Tipitaka:
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=31&A=6208&w=%CA%D8%AD%AD%B5%C7%D4%E2%C1%A1%A2%EC_


คนทั้งหลายเข้าใจว่าอสุภะกัมมัฏฐานคือวิธีปฏิบัติ เพื่อให้ประจักษ์ในไตรลักษณ์ หรือทางหลุดพ้น
เพราะเห็นอุปัชฌาจารย์ให้ตอนบวชนั้น พึงทำความเข้าใจว่าจุดประสงค์นั้นท่านให้เพื่อประพฤติพรหมจรรย์
เพราะเป็นธรรมที่มีอุปการะแก่ มรรคจิต ผลจิตประการหนึ่ง

เช่นนั้น อนุโมทนา ครับกับปุจฉาที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง เพื่อทำความเข้าใจว่ากัมฐานที่ท่านอุปัชฌาจารย์ให้นั้นเป็นเพียงกัมมัฏฐานเพื่อเป็นอุปการะ แก่กิจที่ต้องทำให้ยิ่งขึ้นต่อไป


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ส.ค. 2009, 16:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีครับท่านกามโภคี

เท่าที่สนทนากันจนกระทั่งถึง วันนี้ นับว่าได้อานิสงส์มากมายสำหรับผู้อ่านอย่างยิ่ง เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจว่า อะไรคือความแตกต่างระหว่าง อรรถในพระไตรปิฏก และอรรถตามมติอาจารย์ในภายหลัง

ประเด็นต่างๆ ซึ่งต้องทำความเข้าใจให้ถูกต้องจึงมีดังนี้

สมถะ
กามโภคี : เชื่อว่า กัมมัฏฐาน 40 ฌานสมาบัติ 8 คือสมถะ
เช่นนั้น : สมถะคือสมาธิ หรือองค์ฌานมีในจิตทุกดวง จิตทุกดวงมีสมถะ ไม่ใช่แค่ ฌานสมาบัติ 8 มิจฉาสมาธิ ในอกุศลจิตก็เรียกว่าสมถะ

สติ
กามโภคี: การตามกำหนดนามรูป ว่าเป็นสติ
เช่นนั้น: เกิดพร้อมกุศลจิตอยู่แล้ว ละภิชฌาโทมนัสเสียได้คือสติ เป็นสัมมาสติ เป็นสติที่เป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค

วิปัสสนา
กามโภคี: แยกจากสมถะ ถึงได้มีสมถะยิก กับวิปัสสนายิก
เช่นนั้น : เกิดร่วมเกิดพร้อมกับสมถะในจิตดวงเดียวกันเสมอ แต่เกิดก่อนหลังกันได้ในจิตดวงเดียวกัน แต่ขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้ในจิตวิปัสสนา

กามโภคึ : วิปัสสนาโดยไม่เอาสมถะ ไม่เอาฌาน ใช้กามาวจรกุศลจิตพิจารณาไตรลักษณ์ ดูนามรูปด้วยไตรลักษณ์ ถ้าได้สมถะมาแล้ว ให้ใช้กามาวจรจิตเริ่มวิปัสสนา
เช่นนั้น :วิปัสสนา ใช้สมถะที่เป็นลักขณูปณิชฌาน คือเป็นปฐมฌาน ทุติยะฌาน ตติยะฌาน และจตุตถฌานชนิดสุญญตะ หรือชนิดอนิมิตตะ หรือชนิดอัปณิหิตตะ ประกอบกับปัญญาเครื่องทำลายกิเลสในจิตวิปัสสนา

กามโภคี : คือการตามรู้ โดยประจักษ์ในไตรลักษณ์ ด้วยกามาวจรสติ
เช่นนั้น : การใช้ปัญญาทำลายกิเลสสังโยชน์ ด้วยปัญญาในอินทรีย์ 3 คืออนัญญตัญญัสสมีตินทรีย อัญญินทรีย์ และอัญญาตาวินทรีย์

กามโภคี : ญาณแต่ละญาณเป็นปัจจัยของญาณลำดับต่อไป
เช่นนั้น :ญาณแต่ละญาณข้ามลำดับได้ ไม่เกี่ยวข้องกัน เพราะทำเหตุต่างกัน

สุขวิปัสสโก
กามโภคี : สุขวิปัสสโกเป็นเหตุเป็นวิธีปฏิบัติให้บรรลุธรรมแบบวิปัสสโก
เช่นนั้น : สุขวิปัสสโก เป็นผลเป็นวิบากแห่งมรรค เหตุคือมรรคจิตดวงเดียวเหตุอย่างเดียว ให้ผลได้หลายอย่าง เป็นสุขวิปัสสโกบ้าง เตวิชโชบ้าง ฉลภิญโญบ้าง และปฏิสัมภิทัปปัตโตบ้าง สิ่งเหล่านี้ได้มาเป็นของแถมกับอาสาวกขยญาณ ไม่ได้อยู่ที่ทำเหตุเหล่านี้ก่อนวิปัสสนาหรือมรรค

วิปัสสนาจิต
กามโภคี : เป็นวิปัสสนาล้วนได้โดยไม่ต้องเอาสมถะ
เช่นนั้น : วิปัสสนาจิตต้องมีสมาธิหรือสมถะในจิตเสมอ ต้องเปลี่ยนคุณภาพจิตให้เป็นลักขณูปณิชฌาน

สมถะหรือสมาธิที่เป็นองค์แห่งมรรคนับเนื่องในมรรค
กามโภคี : เกิดพร้อมมัคคจิต เกิดก่อนไม่ได้
เช่นนั้น : ต้องเกิดในวิปัสสนาจิตก่อน แต่อนัญญตัญญัสสมีตินทรีย์จึงจะเกิดพร้อมในมัคคจิต สมถะและวิปัสสนาเป็นอุปการะแก่มรรคจิต

การปฏิบัติธรรม
กามโภคี : ใช้กามาวจรจิต เน้นที่รูปแบบท่าทาง นั่ง นอน ยืนเดิน เช่นเดินจงกรม
เช่นนั้น : จิตเป็นโลกกุตรฌาน ในขณะนั่ง นอน ยืน เดิน ใช้ปฐมฌานหรือฌาน1-4 ในการเจริญสุญญตวิโมกข์ ๑ อนิมิตตวิโมกข์ ๑ อัปปณิหิตวิโมกข์ ๑

สมาธิ
กามโภคี : คือจิตที่นิ่ง
เช่นนั้น : คือกุศลจิตที่สงัดจากกามสงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายในทุกอิริยาบถ

การละนิวรณ์
กามโภคี :ใช้กามาวจรละก่อนแล้วจึงได้ฌาน
เช่นนั้น : ละนิวรณ์ได้พร้อมเกิดฌานทันทีในจิตดวงนั้น จิตที่เป็นฌานคือจิตที่ละนิวรณ์ได้สำเร็จ

มรรคผล
กามโภคี : เป็นผลของวิปัสสนาญาณ
เช่นนั้น : มรรคเป็นเหตุแห่งผลอย่างเดียวไม่ต้องผ่านญาณต่าง ๆ ต้องการญาณไหนเจริญญาณนั้น

การเห็นแจ้งในธรรมปัจจุบัน
กามโภคี : เห็นแจ้งธรรมในปัจจุบันคือเห็นประจักษ์ในไตรลักษณ์
เช่นนั้น : เห็นแจ้งธรรมในปัจจุบัน คือเห็นแจ้งในอริยะสัจจ์ 4 หรือวิปัสสนาจิต หรือมัคคจิตในปัจจุบันขณะ

ปรมัตถ์
กามโภคี : จิต เจตสิก รูป นิพพาน คือปรมัตถ์
เช่นนั้น : มรรคจิต 4 ผลจิต4 นิพพาน คือปรมัตถ์ คือโลกกุตตรธรรม

โลกุตตรฌาน
กามโภคี : โลกุตรฌานนั้น เป็นฌานของผู้ที่เจริญสมถะและวิปัสสนาจนเป็นอริยะบุคคลแล้ว
คือเป็นอริยะชั้นใดชั้นหนึ่งก่อน คนธรรมดาทำไม่ได้ และคำว่า บรรลุปฐมฌานนั้น ก็เป็นปฐมฌานของพระอริยะตั้งแต่โสดาบันขึ้นไป ในคนธรรมดายังทำไม่ได้
เช่นนั้น : ธรรมะ ของพระอริยเจ้า นั้นนำมาสอนปุถุชนให้ปฏิบัติเป็นพระอริยะเจ้า ไม่ได้เอาไว้สอนพระอริยะเจ้าเพื่อปฏิบัติ เพราะท่านปฏิบัติเสร็จกิจแล้ว โลกุตตระฌานหรือลักขณูปณิชฌานในวิปัสสนาจิตปุถุชนสามารถเจริญได้เลย จนบรรลุมัคคจิต

ประมวลมานี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่อรรถตามมติอาจารย์ ผิดแผกไปจากอรรถที่ปรากฏในพระไตรปิฏก
ซึ่งผู้อ่านควรใช้วิจารณญาณในการอ่าน

เจริญธรรม


แก้ไขล่าสุดโดย เช่นนั้น เมื่อ 27 ส.ค. 2009, 17:19, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ส.ค. 2009, 17:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


บทอนุโมทนา

เช่นนั้น อนุโมทนา ครับท่านกามโภคี สำหรับธรรมสากัจฉา ที่โต้ตอบกันด้วยธรรม ซึ่งอาจจะดูเหมือนไม่ไพเราะเท่าที่ควร แต่ก็ล้วนแล้วแต่กระทำด้วยเมตตาจิต ที่หวังให้ผู้อ่านได้มีความรู้ในธรรม ตามสมควรแก่ภูมิที่ ท่านเหล่านั้นมีอยู่

เจริญธรรม


แก้ไขล่าสุดโดย เช่นนั้น เมื่อ 27 ส.ค. 2009, 17:27, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ส.ค. 2009, 21:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


เอ... วันนี้ไม่มีอะไรแปลกไปเลย
นำข้อความดีๆมาให้อ่านดีกว่า

สัพพาสวสังวรสูตร
ธรรมที่ไม่ควรมนสิการ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรมนสิการที่ปุถุชนไม่มนสิการอยู่ เป็นไฉน? เมื่อปุถุชน
นั้นมนสิการธรรมเหล่าใดอยู่ กามาสวะก็ดี ภวาสวะก็ดี อวิชชาสวะก็ดีที่ยังไม่เกิดขึ้น ย่อมไม่
เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเสื่อมสิ้นไป
ธรรมที่ควรมนสิการเหล่านี้ ที่เขาไม่มนสิการอยู่ อาสวะ
ทั้งหลายที่ยังไม่เกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเจริญแก่ปุถุชนนั้น เพราะมนสิการธรรม
ที่ไม่ควรมนสิการ และเพราะไม่มนสิการธรรมที่ควรมนสิการ

ปุถุชนนั้นมนสิการอยู่โดยไม่แยบคายอย่างนี้ว่า เราได้มีแล้วในอดีตกาลหรือหนอ เรา
ไม่ได้มีแล้วในอดีตกาลหรือหนอ ในอดีตกาลเราได้เป็นอะไรหนอ ในอดีตกาลเราได้เป็นอย่างไร
หนอ ในอดีตกาลเราได้เป็นอะไรแล้วจึงเป็นอะไรหนอ ในอนาคตกาลเราจักมีหรือหนอ ในอนาคต
กาลเราจักไม่มีหรือหนอ ในอนาคตกาลเราจักเป็นอะไรหนอ ในอนาคตกาลเราจักเป็นอย่างไรหนอ
ในอนาคตกาลเราจักเป็นอะไรแล้วจึงจักเป็นอะไรหนอ หรือว่า ปรารภกาลปัจจุบันในบัดนี้มีความ
สงสัยขึ้นภายในว่า เรามีอยู่หรือ เราไม่มีอยู่หรือ เราเป็นอะไรหนอ เราเป็นอย่างไรหนอ สัตว์นี้
มาแต่ไหนหนอ และมันจักไป ณ ที่ไหน.


กำหนดรู้อิริยาบททางกายทางใจ โดยปัจจุบันนั้นๆ เช่น เดินอยู่ก็รู้ว่าเดินอยู่ เดินหนอ
คิดก็รู้ว่าคิดอยู่ คิดหนอ โดยไม่ปรุงแต่งเพิ่ม อิริยาบทหรือความคิดสิ้นสุดแค่ไหน ก็รู้แค่นั้น
อิริยาบทเป็นเช่นไร ก็รู้เช่นนั้น ไม่มีความสงสัยในการเดิน หรือมีความคิดเพิ่มมา
ข้อนี้วิธีมนสิการขณะกำหนดของวิธีพองยุบ เมื่อมนสิการอยู่อย่างนี้ กามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ
ก็ไม่เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้วก็สิ้นไป

อรณสูตรที่ ๑๑
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
สมณะทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ ไม่เป็นข้าศึกในโลก พรหมจรรย์ที่อยู่
จบแล้วของสมณะทั้งหลายย่อมไม่เสื่อม สมณะทั้งหลายย่อมกำหนดรู้
ความอยากได้
ความเป็นไทยย่อมมีแก่สมณะทั้งหลายทุกเมื่อ มารดา
บิดาหรือพี่น้องย่อมไหว้บุคคลนั้น ผู้ตั้งมั่น (ในศีล) คือสมณะ ถึงพวก
กษัตริย์ก็อภิวาทสมณะในธรรมวินัยนี้ ผู้มีชาติต่ำ ฯ

อยากเดินหนอ อยากนั่งหนอ อยากกลืนหนอ อยากคุ้หนอ กำหนดเมื่ออยากเดินอยากนั่ง

ตรงนี้ที่ยืนยันได้ว่า พองยุบเป็นวิธีไม่นอกพระไตรปิฎก[/color

[color=#0000FF]ปริญญาสูตร
ว่าด้วยธรรมที่ควรกำหนดรู้
พระนครสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่
ควรกำหนดรู้และความรอบรู้ เธอทั้งหลายจงฟัง. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรกำหนดรู้เป็น
ไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นธรรมที่ควรกำหนดรู้ เวทนา สัญญา สังขารและวิญญาณ เป็น
ธรรมที่ควรกำหนดรู้.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้เรียกว่าธรรมที่ควรกำหนดรู้.


พองหนอ (รูป) ปวดหนอ (เวทนา) รู้หนอ (สัญญา) ฟุ้งซ่านหนอ (สังขาร) เห็นหนอ (จักขุวิญญาณ)
รูปนามทั้งนั้นเลย ขันธ์ ๕ ทั้งนั้นเลย รู้สักว่ารู้ (ละอภิชฌาและโทมนัส) รู้ตั้งแต่รูปนามเกิดจนดับไป
(ไตรลักษณ์) รู้ขณะรูปนามปรากฏ(ปัจจุบัน) ประคับประครองไม่ให้จิตพ้นออกไปจากสภาวะที่ปรากฏ
และรู้อยู่ (วิริยุเบกขา) ระลึกตามความจริงของสภาวะธรรม ไม่แต่งเติม เมื่อรูปนามเกิดดับ ก็รู้ไตรลักษณ์
ที่ปรากฏนั้นๆ (สัมมาสติ) จิตไม่ส่ายไปเพราะอภิชฌาและโทมนัส ตั้งมั่นอยู่กับสภาวะที่ปรากฏนั้น (สัมมาสมาธิ) รู้ตามขันธ์ทั้ง ๕

ไปๆมาๆ ไม่พ้นกำหนดรู้ขันธ์ ๕ เลย แล้วจะว่าการกำหนดรู้ขันธ์ ๕ ไม่ใช่วิธีที่ถูกต้องอย่างไรอย่างไร
ขันธ์ ธาตุ อายตนะ ฯลฯ เป็นหลักของวิปัสสนาโดยแท้

แบบนี้ก็ได้ ไม่ต้องทำจิตให้เป็นโลกุตรก่อน เพราะจิตที่เป็นโลกกุตรไม่มีในปุถุชน ใครมักฌานก่อน
ก็ทำฌานเป็นบาทไปก่อน ใครไม่ถนัด ก็ไปแบบสุทธวิปัสสนาไปเลย
ก็เท่าเนี๋ย ไม่ใช่จะต้องทำฌานก่อนซะทุกกรณี

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ส.ค. 2009, 22:33 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ตกลง..จบเลยใช่มัยนี้..

ได้แต่อ่านไปอย่างคร้าว ๆ ..มันเยอะ..ออกอาการ งง ๆ เพราะตัวรู้น้อย

แต่ก็ได้คติสอนใจตนอยู่อย่าง..ว่า.

ขับรถเป็นแต่ไม่มีใบขับขี่...นี้มันเป็นยังงัย..


แก้ไขล่าสุดโดย กบนอกกะลา เมื่อ 30 ส.ค. 2009, 03:09, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ส.ค. 2009, 11:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีครับท่านกามโภคี

บางที การไม่แสดงอะไรเลยเมื่อไม่มีอะไรใหม่ ก็ยังดีกว่าแสดงเรื่องแปลกๆ ที่ไม่มีอะไรเลย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบิดเบือนพระสูตร เพื่อสนับสนุนทิฐิพองๆ ยุบๆ ซึ่งเป็นการตรึกวิตกไปกับอัตตา

หนอ....ซึ่งต่างกันโดยบริบท ท่านก็ยังอุตส่าห์ ขอให้ได้โยง หนอ ที่ท่านภูมิใจ เข้ากับพุทธอุทาน ... นับเป็นความสำเร็จอันน่าอับอายของ พองๆ ยุบๆ

เราได้มีแล้วในอดีตกาลหรือหนอ เรา ไม่ได้มีแล้วในอดีตกาลหรือหนอ ในอดีตกาลเราได้เป็นอะไรหนอ ในอดีตกาลเราได้เป็นอย่างไร หนอ ในอดีตกาลเราได้เป็นอะไรแล้วจึงเป็นอะไรหนอ ในอนาคตกาลเราจักมีหรือหนอ ในอนาคต
กาลเราจักไม่มีหรือหนอ ในอนาคตกาลเราจักเป็นอะไรหนอ ในอนาคตกาลเราจักเป็นอย่างไรหนอ ในอนาคตกาลเราจักเป็นอะไรแล้วจึงจักเป็นอะไรหนอ หรือว่า ปรารภกาลปัจจุบันในบัดนี้มีความ สงสัยขึ้นภายในว่า เรามีอยู่หรือ เราไม่มีอยู่หรือ เราเป็นอะไรหนอ เราเป็นอย่างไรหนอ สัตว์นี้ มาแต่ไหนหนอ และมันจักไป ณ ที่ไหน.

กามโภคี เขียน:
พองหนอ (รูป) ปวดหนอ (เวทนา) รู้หนอ (สัญญา) ฟุ้งซ่านหนอ (สังขาร) เห็นหนอ (จักขุวิญญาณ)


พุทธอุทานว่า หนอ คืออัตตามีอยู่ในอดีตหรือเปล่า อัตตาไม่มีในอดีตหรือ ในอดีตอัตตาเป็นอยู่หรือ ในอดีตอัตตาได้เป็นอย่างไร ฯลฯ : ซึ่งแสดงโดยพุทธอุทานโดยความมีความเป็น ความไม่มี ความไม่เป็น ของอัตตา ในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต อันเกี่ยวกับสักกายทิฏฐิ สัสสตทิฐิ อุจเฉททิฐิ

แต่หนอใน บริบท พองๆ ยุบๆ คือ รู้ว่าพอง รู้ว่าปวด รู้ว่าฟุ้ง รู้ว่าเห็น ซึ่งฟุ้งไปในอัตตาเนื่องด้วยอัตตา
(ขออภัยผู้อ่านมาไว้ในที่นี้ที่จะใช้คำง่ายๆ ดังนี้ ฉันรู้ว่า พองแล้วโว๊ย ปวดโว๊ย ฟุ๊งแล้วโว๊ย เห็นแล้วโว๊ย) เป็นการย้ำคิดย้ำทำให้กามสัญญาเจริญงอกงามยิ่งขึ้น การอบรมอย่างนี้มีแต่ทำให้เกิดอุปธิเพื่อภพต่อไป วัฏฏะย่อมยาวออกไป ๆ

จะยกอะไรมาให้อ่านบริบทนั้นเสียก่อนว่ามันเข้ากับการปฏิบัติของตัวเองหรือเปล่า ไม่ใช่ค้นเจอคำว่าหนอในประโยคแล้วรีบคว้ามาทันที

เมื่อท่านยกปริญญาสูตรมาแสดง แสดงว่าภูมิธรรมท่านคงแกร่งขึ้น เช่นนั้น ถามท่านกามโภคี
ทุกข์ เป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้ คือรู้อะไร กำหนดรู้อย่างไร


แก้ไขล่าสุดโดย เช่นนั้น เมื่อ 28 ส.ค. 2009, 13:06, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ส.ค. 2009, 11:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


การแปลความพระไตรปิฎกลงสู่วิธีการปฏิบัติ ย่อมไม่ใช่การบิดเบือน เพราะแต่ละภาษาและวิธีการเขียน
ย่อมไม่กระจ่างชัดอีกภาษาหนึ่ง เช่น คำว่า windows ของไมรโครซอพ ราชบัณฑิตเราเรียกว่า
พหุบัญชร ลองไปถามเถอะว่า ใครรู้จักพหุบัญชร มีไม่กี่คน ฉนั้นเรื่องการแปลความ อย่าได้ถือว่าบิดเบือน
เช่น คำว่าพองหนอยุบหนอ ในคนต่างชาติ เรายังให้ใช้คำของประเทศเขาเลย เช่นพองหนอใช้ Falling
ยุบหนอ ใช้คำว่า Rising เพื่อเป็นการกำหนดแบบรู้อิริยาบท ไม่ใช่สักแต่กำหนดไป คือต่างชาติจะเข้าใจ
อาการพองยุบโดยภาษาเขา ใน ๒ คำนี้หรืออื่นๆของต่างชาติ ไม่มีคำว่าหนอด้วย คำว่าหนอใส่เพื่อให้เข้า
พอดีระยะกำหนดของคนไทย ในภาษาพม่า เขาจะมีไวยากรณ์ที่คล้ายกับบาลี การกำหนดเขาจะ ๒ พยางค์
พอดี ซึ่งพอดีกับระยะหายใจ(อิริยาบท) แต่ในไทยเป็นคำโดด เช่นพอง ถ้าไม่ใส่หนอช่วย ก็จะลากยาวไป
ทำให้จิตสัดส่ายได้ง่าย
อนึ่ง คำว่าหนอนั้น ไม่ตกไปในทางฉันทะหรือพยาบาท จึงเป็นคำที่นำมาใช้ช่วยในการกำหนด คำช่วยเหล่า
นี้ เป็นคำที่ไม่ตกไปในอภิชฌาและโทมนัส(ยินดียินร้าย) เป็นคำกลางๆ ช่วยเพิ่มสติให้ได้ปัจจุบัน และ
สมาธิที่เป็นเอกัคคตาจิตในขณะที่กำหนด ดุจคำบริกรรมของกสิณ เช่น เตโช นีลัง พุทโธ สังเกตครับ
คำเหล่านี้ ๒ พยางค์ทั้งนั้น

ปุถุชนนั้นมนสิการอยู่โดยไม่แยบคายอย่างนี้ว่า เราได้มีแล้วในอดีตกาลหรือหนอ เรา
ไม่ได้มีแล้วในอดีตกาลหรือหนอ ในอดีตกาลเราได้เป็นอะไรหนอ ในอดีตกาลเราได้เป็นอย่างไร
หนอ ในอดีตกาลเราได้เป็นอะไรแล้วจึงเป็นอะไรหนอ ในอนาคตกาลเราจักมีหรือหนอ ในอนาคต
กาลเราจักไม่มีหรือหนอ ในอนาคตกาลเราจักเป็นอะไรหนอ ในอนาคตกาลเราจักเป็นอย่างไรหนอ
ในอนาคตกาลเราจักเป็นอะไรแล้วจึงจักเป็นอะไรหนอ หรือว่า ปรารภกาลปัจจุบันในบัดนี้มีความ
สงสัยขึ้นภายในว่า เรามีอยู่หรือ เราไม่มีอยู่หรือ เราเป็นอะไรหนอ เราเป็นอย่างไรหนอ สัตว์นี้
มาแต่ไหนหนอ และมันจักไป ณ ที่ไหน.


ตามที่ยกมาในโพสที่แล้ว ไม่ได้อธิบายเพื่อโยงไปถึงคำว่า หนอ
แต่เน้นให้รู้ว่า การน้อมใจไปในอตีดและอนาคตไม่ใช่มนสิการที่ถูกต้องตามพุทธโอวาทที่สอน ความ
หมายตรงนี้ท่านหมายถึงให้รู้ปัจจุบันเท่านั้น การที่จิตและสติอยู่กับปัจจุบันจะห้ามนิวรณ์คืออุทธัทจะได้ (อุทธัจจะคือจิตที่ฟุ้งไปในอตีตารมณ์และอนาคตารมณ์) เพื่อสนับสนุนว่า วิธีพองยุบ อยู่กับปัจจุบันจริงๆ กำหนดไม่ฟุ้งไป และไม่ยินดี(อภิชฌา)ยินร้าย(โทมนัส) ก็จะละนิวรณ์ได้ ๓ ตัว คือ กามฉันทะ
พยาบาท อุทธัจจะ เป็นอย่างน้อย

อนึ่ง คำว่า หนอ ท่านพระธรรมธีรราชมหามุนี (เจ้าคุณโชดก) วัดมหาธาตุ ท่านให้ความหมายคำว่า
หนอไว้ดังนี้ วฏฺฏสงฺสารํ ตาเรตีติ วโต ธรรมใดยังสัตว์ให้ข้ามวัฏฏสงสาร ธรรมนั้นชื่อ วโต(แปลว่า
หนอ) ข้อนี้เป็นความรู้ โดยส่วนตัวผมเองไม่ใส่ใจด้านภาษามาก
โปรดเข้าใจคำว่าหนอตามนี้

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
ปหานสูตรที่ ๑
[๒๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมแก่เธอทั้งหลาย เพื่อละสิ่งทั้งปวงนั้นเสีย
เธอทั้งหลายจงฟังข้อนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมสำหรับละสิ่ง ทั้งปวงนั้นเป็นไฉน ดูกรภิกษุ
ทั้งหลายจักษุ รูป จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส เป็นสิ่งที่ควรละ แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา
หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะ จักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ก็เป็นสิ่งที่ควรละ ฯลฯ ใจธรรมารมณ์
มโนวิญญาณ มโนสัมผัส เป็นสิ่งที่ควรละ แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา
ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ก็เป็นสิ่งที่ควรละ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันนี้แล เป็นธรรม
ปหานสูตรที่ ๒

[๒๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมแก่เธอทั้งหลายเพื่อรู้ยิ่ง รอบรู้แล้วละสิ่ง
ทั้งปวง เธอทั้งหลายจงฟังธรรมนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมสำหรับรู้ยิ่ง รอบรู้แล้วละเสียซึ่ง
สิ่งทั้งปวงเป็นไฉน จักษุ รูป จักษุวิญญาณจักษุสัมผัส เป็นสิ่งที่ควรรู้ยิ่งควรรอบรู้แล้วละ
แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ อทุกขมสุขเวทนาที่เกิดเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ก็เป็นสิ่งที่
ควรรู้ยิ่ง ควรรอบรู้ แล้วละเสีย ฯลฯ ใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส เป็นสิ่งที่
ควรรู้ยิ่ง ควรรอบรู้แล้วละเสีย แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้น
เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ก็เป็นสิ่งที่ควรรู้ยิ่ง ควรรอบรู้แล้วละเสีย นี้เป็นธรรมสำหรับรู้ยิ่ง
รอบรู้แล้วละสิ่งทั้งปวงเสีย ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันนี้แล เป็นธรรมสำหรับรู้ยิ่ง รอบรู้แล้วละ
สิ่งทั้งปวง ฯสำหรับละสิ่งทั้งปวง ฯ


การกำหนดรู้โดยไม่ใส่ใจในสัณฐานนิมิตร หรือเมื่อถูกต้องสัมผัสอารมณ์ทางอายตนะต่างๆ
สักว่าเห็น สักว่าได้ยิน สักว่าพอง สักว่าถูกต้อง ฯลฯ เป็นการละความยินดียินร้ายตาพระพุทธพจน์นี้และ
เป็นสังวรปธาน ๔ ด้วย
ในเบื้องต้น เราหลบหลีกสิ่งมากระทบไม่ได้ แต่เราใช้วิธีปฏิบัติต่อสิ่งที่มากระทบนั้น ดูที่สังวรปธาน ๔
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค
ปธาน ๔ อย่าง
๑. สังวรปธาน [เพียรระวัง]
๒. ปหานปธาน [เพียรละ]
๓. ภาวนาปธาน [เพียรเจริญ]
๔. อนุรักขนาปธาน [เพียรรักษา]
ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็สังวรปธาน เป็นไฉน ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรม
วินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมจัก
ขุนทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำ
นั้น ชื่อว่ารักษาจักขุนทรีย์ชื่อว่าถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์
ฟังเสียงด้วยโสตแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมโสติน
ทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามกคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น
ชื่อว่ารักษาโสตินทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในโสตินทรีย์ ฯ
ดมกลิ่นด้วยฆานะแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวม
ฆานินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามกคืออภิชฌาและโทมนัส
ครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษาฆานินทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในฆานินทรีย์ ฯ
ลิ้มรสด้วยชิวหาแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมชิว
หินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามกคืออภิชฌาและโทมนัสครอบ
งำนั้น ชื่อว่ารักษาชิวหินทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในชิวหินทรีย์ ฯ
ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อ
สำรวมกายินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คืออภิชฌาและ
โทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษากายินทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในกายินทรีย์ ฯ
รู้แจ้งธรรมด้วยใจแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวม
มนินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้วจะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คืออภิชฌาและโทมนัสครอบ
งำนั้น ชื่อว่ารักษามนินทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในมนินทรีย์ ผู้มีอายุทั้งหลาย นี้เรียกว่า
สังวรปธาน ฯ


เห็นหนอ ยินหนอ กลิ่นหนอ รสหนอ ถูกหนอ คิดหนอ เป็นสังวรปธานตามข้อแรกเลย ที่ต้องกำหนดรู้
โดยนำบริกรรมมาช่วย เพื่อให้เกิดสมาธิเป็นขณะๆไป ป้องกันการใส่ใจในสัณฐานนิมิต จิตจะไม่รับเอา
ความชอบหรือไม่ชอบเข้ามาเลย (ละอภิชฌาและโทมนัส)
เมื่อไม่ใส่ใจในสัณฐานนิมิตแล้ว ก็จะเป็นการละกามสัญญาไปในตัว การกำหนดรู้แบบสังวร
ปธาน ไม่ใช่กามสัญญา เพราะเป็นการไม่ใส่ใจในอารมณ์นั้น แต่เป็นอันระงับนิวรณ์เมื่อกำหนดรู้อยู่สมดัง
วรรคต่อไปว่า

ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ปหานปธาน เป็นไฉน ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรม
วินัยนี้ ย่อมไม่รับไว้ซึ่งกามวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมละเสีย บรรเทาเสีย ทำให้สิ้นไป ให้ถึง
ความไม่มี ย่อมไม่รับไว้ซึ่งพยาบาทวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมละเสีย บรรเทาเสีย ทำให้สิ้นไป
ให้ถึงความไม่มี ย่อมไม่รับไว้ ซึ่งวิหิงสาวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมละเสีย บรรเทาเสีย ทำให้สิ้นไป
ให้ถึงความไม่มี ย่อมไม่รับไว้ซึ่งธรรมที่เป็นบาปอกุศลที่เกิดขึ้นแล้วๆ ย่อมละเสีย บรร
เทาเสีย ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี ผู้มีอายุทั้งหลาย นี้เรียกว่าปหานปธาน ฯ


เมื่อปฏิบัติตามขั้นตอนทั้ง ๒ แล้ว ความสงัดทางกายและจิตก็เกิดขึ้น เมื่อเป็นเช่นนี้ ตอนนี้เองก็จะ
ได้ปฏิบัติกิจทางการพิจารณาอื่นๆต่อไป สมดังวรรที่ ๓ (องค์แห่งการตรัสรู้)

ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ภาวนาปธาน เป็นไฉน ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรม
วินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยความสงัด อาศัยความคลายกำหนัด อาศัยความดับ
น้อมไปเพื่อความสละลง ย่อมเจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ อันอาศัยความสงัด อาศัยความคลาย
กำหนัด อาศัยความดับอันน้อมไปเพื่อความสละลง ย่อมเจริญวิริยสัมโพชฌงค์อันอาศัยความ
สงัด อาศัยความคลายกำหนัด อาศัยความดับ อันน้อมไปเพื่อความสละลง ย่อมเจริญปีติ
สัมโพชฌงค์ อันอาศัยความสงัด อาศัยความคลายกำหนัด อาศัยความดับ อันน้อมไปเพื่อความ
สละลง ย่อมเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ อันอาศัยความสงัด อาศัยความคลายกำหนัด อาศัย
ความดับ อันน้อมไปเพื่อความสละลง ย่อมเจริญปีติสมาธิสัมโพชฌงค์ อันอาศัยความสงัด อาศัย
ความคลายกำหนัด อาศัยความดับอันน้อมไปเพื่อความสละลง ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์
อันอาศัยความสงัดอาศัยความคลายกำหนัด อาศัยความดับ อันน้อมไปเพื่อความสละลง
ผู้มีอายุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ภาวนาปธาน ฯ


เมื่อสามารถทำปธาน ๓ ข้อต้นได้แล้ว ก็เพียรรักษาข้อวัตรนั้นๆไ้ว้เพื่อละกิเลสต่อไปในภายหน้า
สมดังในวรรคที่ ๔ ที่เป็นแนวทางคือ

ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อนุรักขนาปธาน เป็นไฉน ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระ
ธรรมวินัยนี้ ย่อมตามรักษาสมาธินิมิตอันเจริญที่บังเกิดขึ้นแล้ว คืออัฏฐิกสัญญา ปุฬุวกสัญญา
วินีลกสัญญา วิจฉิททกสัญญา อุทธุมาตกสัญญาผู้มีอายุทั้งหลาย นี้เรียกว่า อนุรักขนาปธาน ฯ


ส่วนในสายพองยุบนั้น ก็จะรักษาการกำหนดรู้ตามวิธีการปฏิบัติ(สำรวมอินทรีย์ ๖) ต่อไป

บอกแล้วว่า กำหนดรู้ ไม่ใช่กามสัญญาตามนัยที่ท่านกล่าว แต่เป็นการสำรวมอินทรีย์ ๖ ตามนัยปธาน ๔

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ส.ค. 2009, 17:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 ส.ค. 2009, 02:28
โพสต์: 30

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


smiley โอ้โห..ติดตามอ่านคำตอบท่าน กามโภคี ทำไมใช้เวลาตอบนานจังเจ้าคะ :b13: เป็นแฟนคลับน่ะเจ้าค่ะ เอ้า..บึ๊ด จ้ำ บึ๊ด :b4: ได้ติดตามหาความรู้ ขออนุโมทนากับทุกๆท่านที่มอบธรรมทานน๊ะเจ้าคะ :b8:


แก้ไขล่าสุดโดย chefin เมื่อ 29 ส.ค. 2009, 18:34, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ส.ค. 2009, 03:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีครับ Chefin สบายดีนะครับ

ราคะเรากล่าวว่าเป็นธุลี
มิได้กล่าวละอองว่าเป็นธุลี
ธุลีเป็นชื่อของราคะ
บัณฑิตทั้งหลายละธุลีนี้แล้ว
ย่อมอยู่ในศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ปราศจากธุลี

โทสะเรากล่าวว่าเป็นธุลี
มิได้กล่าวละอองว่าเป็นธุลี
ธุลีเป็นชื่อของโทสะ
บัณฑิตทั้งหลายละธุลีนี้แล้ว
ย่อมอยู่ในศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ปราศจากธุลี

โมหะเรากล่าวว่าเป็นธุลี
มิได้กล่าวละอองว่าเป็นธุลี
ธุลีเป็นชื่อของโมหะ
บัณฑิตทั้งหลายละธุลีนี้แล้ว
ย่อมอยู่ในศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ปราศจากธุลี



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ส.ค. 2009, 03:17 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ประโยคนี้..พระพุทธองค์..ได้กล่าวให้ใครฟัง หนอ..

ติ๊ก..ต๊อก..ๆ ๆ

:b8: :b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ส.ค. 2009, 12:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
เช่น คำว่าพองหนอยุบหนอ ในคนต่างชาติ เรายังให้ใช้คำของประเทศเขาเลย เช่นพองหนอใช้ Falling ยุบหนอ ใช้คำว่า Rising เพื่อเป็นการกำหนดแบบรู้อิริยาบท ไม่ใช่สักแต่กำหนดไป คือต่างชาติจะเข้าใจ


เช่นนั้น ได้อ่านข้อความนี้ แล้วก็เกิดความสังเวช ต่อการเผยแผ่ธรรมอันผิดๆถูกๆ โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ได้ปรากฏโดยทั่วไป จนทำให้ชนชาติอื่นเข้าใจว่า การเจริญสมาธิ คือ รูปแบบวิธีการ

อ้างคำพูด:
ตามที่ยกมาในโพสที่แล้ว ไม่ได้อธิบายเพื่อโยงไปถึงคำว่า หนอ
แต่เน้นให้รู้ว่า การน้อมใจไปในอตีดและอนาคตไม่ใช่มนสิการที่ถูกต้องตามพุทธโอวาทที่สอน ความหมาย ตรงนี้ท่านหมายถึงให้รู้ปัจจุบันเท่านั้น การที่จิตและสติอยู่กับปัจจุบันจะห้ามนิวรณ์คืออุทธัทจะได้ (อุทธัจจะคือจิตที่ฟุ้งไปในอตีตารมณ์และอนาคตารมณ์) เพื่อสนับสนุนว่า วิธีพองยุบ อยู่กับปัจจุบันจริงๆ กำหนดไม่ฟุ้งไป และไม่ยินดี(อภิชฌา)ยินร้าย(โทมนัส) ก็จะละนิวรณ์ได้ ๓ ตัว คือ กามฉันทะ
พยาบาท อุทธัจจะ เป็นอย่างน้อย


จิตฟุ้งซ่าน
กามโภคี : อุทธัจจะคือจิตที่ฟุ้งไปในอตีตารมณ์และอนาคตารมณ์
เช่นนั้น : การฟุ้งไปตามกามสัญญาหรือกามวจรจิต รูปสัญญารูปาวจรจิต อรูปสัญญาหรืออรูปาวจรจิต เป็นความฟุ้ง ที่เรียกว่า อุทธัจจะในพระศาสนานี้

จิตเหตุในอดีตเป็นอรหัตมัคคจิต หรือจิตผลในอดีตเป็นอรหัตผล ก็ไม่ใช่ฟุ้ง ครับ
พุทธพจน์ที่ยกมาเป็นเพียงพุทธอุทาน เกี่ยวกับเรื่องอัตตา ความมีความเป็น ความไม่มีความไม่เป็นครับ

เพราะฉะนั้น การรู้พองๆ ยุบ หรือ การรู้แล้วลงท้ายหนอ จึงยังเป็นการฟุ้งไปตามกามสัญญา สติตามรู้ดูกาม ไม่เกิดปัญญาในการละนิวรณ์แต่ประการใด

อ้างคำพูด:
อนึ่ง คำว่า หนอ ท่านพระธรรมธีรราชมหามุนี (เจ้าคุณโชดก) วัดมหาธาตุ ท่านให้ความหมายคำว่าหนอไว้ดังนี้ วฏฺฏสงฺสารํ ตาเรตีติ วโต ธรรมใดยังสัตว์ให้ข้ามวัฏฏสงสาร ธรรมนั้นชื่อ วโต(แปลว่าหนอ) ข้อนี้เป็นความรู้ โดยส่วนตัวผมเองไม่ใส่ใจด้านภาษามาก
โปรดเข้าใจคำว่าหนอตามนี้


ไม่มีสิ่งไร เกี่ยวกับคำว่า “หนอ” ไม่ว่าจะเปลี่ยนคำพูด คำลงท้าย อย่างก็ตาม หรือไม่ลงท้ายก็ตาม หากจิตยังเป็นกามวจรจิต อยู่ โดยไม่ พยายามเปลี่ยนคุณภาพของจิตให้เป็นโลกกุตตรจิต หรือวิปัสสนาจิต มรรคจิต ผลจิต ย่อมเป็นจิตที่พัวพันกามสัญญา

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
ปหานสูตรที่ ๑

พุทธพจน์ เขียน:
[๒๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมแก่เธอทั้งหลาย เพื่อละสิ่งทั้งปวงนั้นเสีย
เธอทั้งหลายจงฟังข้อนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมสำหรับละสิ่ง ทั้งปวงนั้นเป็นไฉน ดูกรภิกษุ
ทั้งหลายจักษุ รูป จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส เป็นสิ่งที่ควรละ แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา
หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะ จักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ก็เป็นสิ่งที่ควรละ ฯลฯ ใจธรรมารมณ์
มโนวิญญาณ มโนสัมผัส เป็นสิ่งที่ควรละ แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา
ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ก็เป็นสิ่งที่ควรละ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันนี้แล เป็นธรรม
ปหานสูตรที่ ๒
[๒๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมแก่เธอทั้งหลายเพื่อรู้ยิ่ง รอบรู้แล้วละสิ่ง
ทั้งปวง เธอทั้งหลายจงฟังธรรมนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมสำหรับรู้ยิ่ง รอบรู้แล้วละเสียซึ่ง
สิ่งทั้งปวงเป็นไฉน จักษุ รูป จักษุวิญญาณจักษุสัมผัส เป็นสิ่งที่ควรรู้ยิ่งควรรอบรู้แล้วละ
แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ อทุกขมสุขเวทนาที่เกิดเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ก็เป็นสิ่งที่
ควรรู้ยิ่ง ควรรอบรู้ แล้วละเสีย ฯลฯ ใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส เป็นสิ่งที่
ควรรู้ยิ่ง ควรรอบรู้แล้วละเสีย แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้น
เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ก็เป็นสิ่งที่ควรรู้ยิ่ง ควรรอบรู้แล้วละเสีย นี้เป็นธรรมสำหรับรู้ยิ่ง
รอบรู้แล้วละสิ่งทั้งปวงเสีย ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันนี้แล เป็นธรรมสำหรับรู้ยิ่ง รอบรู้แล้วละ
สิ่งทั้งปวง ฯสำหรับละสิ่งทั้งปวง ฯ

กามโภคี เขียน:
การกำหนดรู้โดยไม่ใส่ใจในสัณฐานนิมิตร หรือเมื่อถูกต้องสัมผัสอารมณ์ทางอายตนะต่างๆ
สักว่าเห็น สักว่าได้ยิน สักว่าพอง สักว่าถูกต้อง ฯลฯ เป็นการละความยินดียินร้ายตาพระพุทธพจน์นี้และเป็นสังวรปธาน ๔ ด้วย
ในเบื้องต้น เราหลบหลีกสิ่งมากระทบไม่ได้ แต่เราใช้วิธีปฏิบัติต่อสิ่งที่มากระทบนั้น ดูที่สังวรปธาน ๔

พระพุทธพจน์ ตรัสไว้ดีแล้วครับ คือวิปัสสนาจิต ที่ละ ไม่พัวพันในกามสัญญา มีใจมั่นคงในอริยะสัจจ์
แต่สิ่งที่พองๆยุบๆ กระทำคือ ไปตามรู้ตามกำหนด และกำหนดให้ชัดเจน ซึ่งเป็นการมนสิการธรรมอันไม่ควรมนสิการ เป็นศรัทธาในอริยะสัจจ์ อันเลื่อนลอยไหลไปตามอรรถนอกพุทธพจน์

จิตไม่ฟุ้งซ่าน
กามโภคี : กามาวจรจิตที่รู้รูปนามปัจจุบันด้วยไตรลักษณ์เท่านั้น การที่จิตและสติอยู่กับปัจจุบันจะห้ามนิวรณ์คืออุทธัทจะได้
เช่นนั้น : จิตตั้งมั่นในลักขณูปณิชฌาน มัคคจิต และผลจิตครับ

อ้างคำพูด:
เห็นหนอ ยินหนอ กลิ่นหนอ รสหนอ ถูกหนอ คิดหนอ เป็นสังวรปธานตามข้อแรกเลย ที่ต้องกำหนดรู้โดยนำบริกรรมมาช่วย เพื่อให้เกิดสมาธิเป็นขณะๆไป ป้องกันการใส่ใจในสัณฐานนิมิต จิตจะไม่รับเอาความชอบหรือไม่ชอบเข้ามาเลย (ละอภิชฌาและโทมนัส)
เมื่อไม่ใส่ใจในสัณฐานนิมิตแล้ว ก็จะเป็นการละกามสัญญาไปในตัว การกำหนดรู้แบบสังวรปธาน ไม่ใช่กามสัญญา เพราะเป็นการไม่ใส่ใจในอารมณ์นั้น แต่เป็นอันระงับนิวรณ์เมื่อกำหนดรู้อยู่สมดังวรรคต่อไปว่า


กามาวจรจิตเป็นจิตเล็ก เป็นจิตที่มีสมาธิอันเป็นกามวจร มีสติเป็นกามาวจร ย่อมไม่อาจาละกามสัญญา ไม่อาจระงับนิวรณ์ได้
การปรารภสังวรปธาน เปลี่ยนคุณภาพจิตให้เป็นวิปัสสนาจิต โลกุตตรจิตก่อนครับ ไม่ใช่ไปจ่อรู้กามสัญญา

การกำหนดรู้
กามโภคี :การกำหนดรู้โดยไม่ใส่ใจในสัณฐานนิมิตร หรือเมื่อถูกต้องสัมผัสอารมณ์ทางอายตนะต่างๆ สักว่าเห็น สักว่าได้ยิน สักว่าพอง สักว่าถูกต้อง ฯลฯ ด้วยกามาวจรจิต เพราะไม่เอาฌาน

เช่นนั้น :การกำหนดรู้ นั้นคือ กำหนดรู้ขันธ์ และอุปาทานขันธ์ด้วยความเป็นภัยเป็นโทษมีอันตราย ด้วยลักขณูปณิชฌาน หรือวิปัสสนาจิต มัคคจิต และผลจิต ครับ

การที่ท่านไปกำหนดรู้ด้วยกามาวจรจิต จึงเป็นการกำหนดรู้เพื่อพอกพูนสักกายะทิฐิ อันเป็นอุปธิก่อให้เกิดภพต่อไป

ท่านศึกษาพุทธพจน์ นะครับ

พระอภิธรรมปิฏก เขียน:
[๔๘๔] ก็ภิกษุ ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคอง
จิตไว้ ทำความเพียร เพื่อป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นมิให้เกิดขึ้น เป็น
อย่างไร
ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลก
ให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจาก
อกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุข
อันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ภิกษุ
นั้น ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ทำความเพียร
เพื่อป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นมิให้เกิดขึ้น


Quote Tipitaka:
http://84000.org/tipitaka/pitaka3/v.php?B=35&A=6603&Z=6640&pagebreak=0



อ้างคำพูด:
เมื่อปฏิบัติตามขั้นตอนทั้ง ๒ แล้ว ความสงัดทางกายและจิตก็เกิดขึ้น เมื่อเป็นเช่นนี้ ตอนนี้เองก็จะได้ปฏิบัติกิจทางการพิจารณาอื่นๆต่อไป สมดังวรรที่ ๓ (องค์แห่งการตรัสรู้)


เพราะฉะนั้น สภาวะในกรณีนี้จึงเป็นไปไม่ได้ครับ ในการปฏิบัติพองยุบ สิ่งที่ปรากฏเป็นเพียงอุเบกขาในกามสัญญา เท่านั้น

อ้างคำพูด:
ส่วนในสายพองยุบนั้น ก็จะรักษาการกำหนดรู้ตามวิธีการปฏิบัติ(สำรวมอินทรีย์ ๖) ต่อไป
บอกแล้วว่า กำหนดรู้ ไม่ใช่กามสัญญาตามนัยที่ท่านกล่าว แต่เป็นการสำรวมอินทรีย์ ๖ ตามนัยปธาน ๔


ดังนั้น การกล่าวว่า เป็นการสำรวมอินทรีย์ ของท่านนั้นไม่ได้สำรวมหรอกครับ ถูกกามสัญญาครอบงำไปแล้วครับ

ท่านดูข้อสรุปท้ายเพิ่มเติมนะครับ ว่าอะไรคือ สังวรปธานที่ท่านเข้าใจ และอะไรเป็นปัจจุบันขณะที่ท่านเข้าใจ ต่างจาก การเจริญโลกุตตรจิตอย่างไร

สังวรปธาน
กามโภคี : การพัวพันในกามสัญญาดูพองดูยุบด้วยกามาวจรจิตคือ สังวรปธาน /การสำรวมอินทรีย์
เช่นนั้น : การบรรลุวิปัสสนาจิตหรือลักขณูปณิชฌาน หรือบรรลุมัคคจิต 4 หรือการบรรลุผลจิต 4 คือสังวรปธาน / การสำรวมอินทรีย์


ปัจจุบันขณะ
กามโภคี : มีกามาวจรจิตดูพองยุบ ดูรูปเสียงกลิ่นรสสัมผัส ดูรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ไม่เปลี่ยนแปลง เป็นปัจจุบันขณะ
เช่นนั้น :ละนามรูปเข้าสู่ลักขณูปณิชฌานด้วยวิปัสสนาจิต หรือมัคคจิต 4 เป็นปัจจุบันขณะเพื่ออริยผลในอนาคต เป็นปัจจุบันขณะ

การเปลี่ยนคุณภาพจิตขณะเจริญวิปัสสนา
กามโภคี : กามสัญญาในกามาวจรตลอดเวลาเพราะไม่เอาฌาน
เช่นนั้น : เปลี่ยนเป็นลักขณูปณิชฌาน ในวิปัสสนาจิต หรือมัคคจิต


แก้ไขล่าสุดโดย เช่นนั้น เมื่อ 30 ส.ค. 2009, 17:25, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ส.ค. 2009, 12:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มหาราชันย์ เขียน:
ราคะเรากล่าวว่าเป็นธุลี
มิได้กล่าวละอองว่าเป็นธุลี
ธุลีเป็นชื่อของราคะ
บัณฑิตทั้งหลายละธุลีนี้แล้ว
ย่อมอยู่ในศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ปราศจากธุลี

โทสะเรากล่าวว่าเป็นธุลี
มิได้กล่าวละอองว่าเป็นธุลี
ธุลีเป็นชื่อของโทสะ
บัณฑิตทั้งหลายละธุลีนี้แล้ว
ย่อมอยู่ในศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ปราศจากธุลี

โมหะเรากล่าวว่าเป็นธุลี
มิได้กล่าวละอองว่าเป็นธุลี
ธุลีเป็นชื่อของโมหะ
บัณฑิตทั้งหลายละธุลีนี้แล้ว
ย่อมอยู่ในศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ปราศจากธุลี


สวัสดีครับท่านมหาราชันย์
สาธุ ครับ กับพระธรรมเทศนา บทนี้ ซึ่งเมื่อท่านจุลปันถกมหาเถระ น้อมไปในพระธรรมเทศนาแล้ว ท่านประชุมโลกกุตรมรรค ยังให้อนัญญัสตัญญัสสมีตินทรีย์ อัญญิณทรีย์ อัญญาตาวินทรีย์ ก่อมรรคจิตสำเร็จ บรรลุอรหัตผล ครับ
เพราะพระธรรมเทศนาบทนี้ ท่านจุลปันถก ละรูปสัญญา ว่าธุลีคือละอองคือความสกปรกแห่งผ้า
แทงตลอดอริสัจจ์4 ด้วย สำเร็จวิโมกข์ 3


แก้ไขล่าสุดโดย เช่นนั้น เมื่อ 30 ส.ค. 2009, 12:42, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ส.ค. 2009, 14:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.ค. 2009, 22:19
โพสต์: 271

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอร่วมสนทนาด้วยคนนะครับ ผมเองได้ปฎิบัติธรรมมาไม่นาน เข้าใจว่าการฏิบัติธรรมต้องฟังให้มาก เมื่อผมเริ่มฟังบางครั้งก็มีหลายอาจารย์ ไม่แนะนำการนั่งสมาธิบางครั้งตัดพุทธพจน์ไปเยอะเกี่ยวกับนั่งสมาธิ และก็หลายอาจารย์แนะนำในการนั่งสมาธิบริกรรม พองหนอ พุทธโธ สัมมาอรหัง อะไรหลายอย่าง แต่ผมทำอย่างนี้ครับแล้วผมก็รู้สึกว่าผมได้ทั้งสองอย่างคือสมถะ และวิปัสนาพร้อมๆกันทำให้ผมมีกำลังในการลดละกิเลสได้จริงๆ

คือการที่ผมอยู่กับลมหายใจ ตามปกติไม่ได้บริกรรมอะไรเลย ไม่ได้สมมุติอะไรทั้งสิ้นดูลมหายใจเฉย สติก็ระลึกอยู่กลับความจริงทั้งสิ้นไม่ว่าจะเป็นอะไร อาจจะเป็นความรู้สึกที่มันเกิดขึ้นกับกาย ความรับรู้ของจิตแต่ละขณะที่ไปรับรู้ในขณะนั้นล้วนไม่เที่ยงแท้ เกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไป รับรู้ความจริง

จิตเป็นสมาธิบ้าง ไม่เป็นสมาธิบ้างก็ล้วนแล้วแต่ปัจจัย ไม่สนใจ ไม่ใยดีกับสิ่งที่เกิด มองดูเฉยๆ บางครั้งร่างกายก็สบาย เมื่อสมาธิเกิด ปิติก็ดี สุขก็ดีล้วน ไม่เที่ยง ความเจ็บความทุกข์ทั้งหลายที่เกิดขึ้นในระหว่างนั้นก็เฝ้าดูด้วยใจเป็นกลาง ไม่ไปปรุงแต่ง วางอุเบกขา เดียวมันก็หายไป ผมว่าทุกสิ่งทุกอย่างมันครบแล้วตรงนี้ ในร่างกายเรา กับจิตเรา สมถะ วิปัสนา มันครบแล้วตรงนี้ กาย เวทนา จิต ธรรม ครบจริงๆ ปัญญามันเกิดขึ้นตรงนี้ แหละโลกมีแต่ทุกข์ ทุกข์เท่านั้นที่เกิดขึ้น ทุกข์เท่านั้นที่คงอยู่ ทุกข์เท่านั้นที่ดับไป นอกจากทุกข์ไม่มีอะไร ปัญญาที่เห็นไตรลักษณ์ชัดเจนมีกำลัง เราก็เบื่อหน่ายในโลก โภชฌงค์ทั้งหมดจบลงตรงนี้ ครบทั้งหมด หวังว่าน่าจะเป็นประโยชน์บ้างกับการแชร์ปรสบการณ์ครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ส.ค. 2009, 15:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 ส.ค. 2009, 02:28
โพสต์: 30

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8: อนุโมทนากับธรรมทานเจ้าค่ะ และขออนุญาตนำพระธรรมเทศนาบทหนึ่งมาแสดงไว้เจ้าค่ะ :b8: :b8: :b8: :b41:
tongue
๒๗๕] ธรรมเป็นอกุศล เป็นไฉน?
อกุศลจิต สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยทิฏฐิ
มีรูปเป็นอารมณ์ หรือมีเสียงเป็นอารมณ์ มีกลิ่นเป็นอารมณ์ มีรสเป็นอารมณ์ มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์ มีธรรมเป็นอารมณ์

หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้น ในสมัยใด ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร ปีติ
สุข เอกัคคตา วิริยินทรีย์ สมาธินทรีย์ มนินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ มิจฉาทิฏฐิ
มิจฉาสังกัปปะ มิจฉาวายามะ มิจฉาสมาธิ วิริยพละ สมาธิพละ อหิริกพละ อโนตตัปปพละ
โลภะ โมหะ อภิชฌา มิจฉาทิฏฐิ อหิริกะ อโนตตัปปะ สมถะ ปัคคาหะ อวิกเขปะ มีใน
สมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น
สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นอกุศล.

http://84000.org/tipitaka/pitaka3/v.php?B=34&A=2642&Z=2795


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ส.ค. 2009, 17:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีครับ คุณศิริพงศ์ ยินดีครับที่ไ้ด้สนทนา
มีความสนใจในธรรมก็เป็นกุศลแล้วครับ ได้ครูอาจารย์สอนวิปัสสนากัมมัฏฐานเป็นกัลยาณมิตร ก็ดีครับอนุโมทนาครับ

อ้างคำพูด:
จิตเป็นสมาธิบ้าง ไม่เป็นสมาธิบ้างก็ล้วนแล้วแต่ปัจจัย

ก็พยายามต่อไปให้เป็นสมาธิ ครับ

อ้างคำพูด:
ไม่สนใจ ไม่ใยดีกับสิ่งที่เกิด มองดูเฉยๆ บางครั้งร่างกายก็สบาย เมื่อสมาธิเกิด ปิติก็ดี สุขก็ดีล้วน ไม่เที่ยง ความเจ็บความทุกข์ทั้งหลายที่เกิดขึ้นในระหว่างนั้นก็เฝ้าดูด้วยใจเป็นกลาง ไม่ไปปรุงแต่ง วางอุเบกขา เดียวมันก็หายไป


กามาวจรจิตก็แบบนี้แหละครับ มีปิติสุข มีอุเบกขา ขึ้นๆ ลงๆ ไปตามปัจจัยที่ท่านกล่าวมา เพราะท่านยังไม่เข้าใจ ว่าต้องทำเหตุ ให้ตรงกับผล ครับ

ขณะนี้ ท่านปฏิับัติธรรมด้วยกามาวจรจิต อันสหรคตด้วยอุเบกขาครับ
ท่านไม่ได้ปฏิบัติธรรม ด้วยวิปัสสนาจิต มรรคจิต ครับ
ไม่มีหรอกครับจิตเป็นกลางๆ จิตเป็นกลางๆ ไม่มีในพุทธศาสนานี้ครับ
พระพุทธองค์ทรงสอนให้ปฏิบัติธรรมด้วยโลกุตตรจิต วิปัสสนาจิตครับ
การปรุงแต่งหรือไม่ปรุงแต่งท่านไม่สามารถคิดเอาเองได้ครับ
ปุญญาภิสังขาร หรืออปุญญาภิสังขาร เพราะกุศลมูล หรืออกุศลมูลเป็นปัจจัยปรุงแต่งเรียบร้อยแล้วครับ
จิตท่านเพียงแต่อุเบกขาในกามสัญญา เป็นธรรมดาอย่างนั้นเองครับ

สมถะวิปัสสนา
ศิริพงศ์ : มองดูเฉยๆ
เช่นนั้น : ละนามรูปเข้าสู่วิปัสสนาจิตและมัคคจิต


แก้ไขล่าสุดโดย เช่นนั้น เมื่อ 30 ส.ค. 2009, 17:55, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 118 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 3, 4, 5, 6, 7, 8  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร