วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 21:16  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 118 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสต์ เมื่อ: 22 ส.ค. 2009, 23:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
เช่นนั้น เขียน:

อ้างอิงคำพูด:
พองหนอ ยุบหนอ เห็นหนอ ยินหนอ รสหนอ รู้หนอ ฯลฯ ไม่ได้อยากให้พองเกิด
หรือไม่ได้อยากให้เสียงเกิดเลย มันมีอยู่แล้วปกติ แล้วมันเกิดมา ก็รู้ตามจริงว่ามันพองมันยุบ
รูปที่เห็นก็เหมือนกัน อยู่เฉยๆมันก็เห็น เพราะมีตาและรูป มีจักขุประสาท เมื่อเห็นก็เห็นหนอ
ไม่ได้อยากให้เห็น หรือ เมื่อรู้เห็น ก็ไม่ได้ไม่พอใจมันเลย รู้มันเฉยๆเท่านั้น วางใจเป็นกลาง
คุณคิดว่าวางใจเมื่อกำหนดรู้ แบบนี้เป็นโลภหรือโทสะเหรอครับ


โมหะครับ โมหะ ฟุ้งโดยเจตนาครับ ออกจากมรรคปฏิปทาครับ จิตเป็นอกุศลครับ


มิจฉามรรค แห่ง พองๆ ยุบๆ
อ้างคำพูด:
พองหนอ ยุบหนอ เห็นชอบเพราะ เห็นว่า มีเพียงรูปที่เคลื่อนอยุ่ และนามคือจิต รู้อยู่เท่านั้น ตัวตนไม่มี
ดำริชอบเพราะ กำหนดรู้ด้วยใจเป็นกลาง ปราศจากามฉันทะ (เนกขัมมสังกัปปะ)
วาจาชอบ เพราะ ไม่ได้ผิดมิจฉาวาจาเลย ไม่ได้โกหก ไม่ได้ส่อเสียด ไม่ได้หยาบ ไม่ได้เพ้อเจ้อ
เพราะตอนกำหนด มันพองจริงๆยุบจริง
การงานชอบ เพราะไม่ใช่เป็นกิจกรรมที่ทำให้ใครเดือดร้อน
อาชีวะชอบ เพราะทำเช่นนี้ไม่เป็นการเลี้ยงชีพที่ผิดเลย เป็นกลางกับทุกสภาวะ รู้เฉยๆ
พยายามชอบ เพราะ กำหนดรู้ด้วยใจที่เป็นกลางแต่ละครั้ง ละความถือตัวตนออกไป(ยังอกุศลเก่าให้
หมด) และรู้อาการสภาวะตามจริง (ยังกุศลใหม่ให้เกิด) ใส่ใจรู้ตามทุกขณะๆ (พยายาม)
ระลึกชอบ เพราะมีการระลึกรู้อิริยาบถและสภาวะต่างๆทาง กาย เวทนา จิต ธรรม ในขณะนั้นๆ(ปัจจุบัน)
สมาธิชอบ เพราะจิตตั้งอยู่ในสภาวะที่รู้นั้น ไม่สัดส่ายเพราะความอยากหรือไม่อยาก ชอบหรือไม่ชอบ
ปราศจากนิวรณ์มีกามฉันทะเป็นต้น
คุณจะยังว่า ออกจากมรรคปฏิปทาอีกหรือไม่ ถ้ายังออกอยุ่ ต้องหาเหตุผลมาครับ ไม่ใช่แค่พูด



สัมมาปฏิปทามรรค
การเจริญมรรคปฏิปทา ด้วยโลกุตตรกุศลจิต

ความเห็นชอบคือเห็นอริยะสัจ 4 อันเป็นธรรมที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า ไม่ใช่ตามเห็นรูปเห็นนามอย่างที่ท่านเข้าใจ

ความดำริชอบคือ ดำริในการออกจากกาม(ไม่พัวพันในกามสัญญา) ดำริไม่พยาบาท ดำริไม่เบียดเบียน(นิวรณ์ 5 อันครอบงำจิตซึ่งเบียดเบียนท่านอยู่ท่านทราบหรือไม่) ด้วยความเห็นชอบในอริยะสัจจ์ 4 ไม่ใช่กำหนดรู้ด้วยใจเป็นกลาง ซึ่งไม่มีในคำสอนของพระพุทธองค์

วาจาชอบเพราะกล่าวอิงอรรถอิงธรรม อิงจตุราริยสัจจ์ มีวิตก วิจารในอริยะสัจจ์4 ไม่ได้อิงกำหนดพองยุบตามความเข้าใจของท่าน

การงานชอบคือ จิตอันประกอบด้วยสมถะวิปัสสนา ในอริยะสัจจ์ 4 อันเป็นการอบรมจิตให้สิ้นอาสาวะ ไม่ใช่แค่ไม่ทำให้ใครเดือดร้อนตามที่เข้าใจ ก้อนหินมันก็ตั้งอยู่เฉย ๆ ไม่ได้ทำให้ใครเดือดร้อน
อาชีวะชอบ เพราะยังปีติสุขอุเบกขาให้เกิดจากการอบรมจิต เลี้ยงชีวิตด้วยกุศลจิตหรือมัคคจิต ผลจิต ไม่ใช่เป็นกลางกับทุกสภาวะ รู้เฉยๆ ตามตำราแต่งโดยมติของอาจารย์รุ่นหลังๆ

พยายามชอบคือเพียรละโลกียะจิตให้หมดสิ้น เพียรสร้างโลกุตตระกุศลจิตที่ไม่เกิดให้เกิดขึ้น ที่เกิดแล้วให้เต็มเปี่ยมไม่ง่อนแง่นไม่คลอนแคลน ไม่ใช่ตามรู้แบบท่านด้วยใจเป็นกลางๆซึ่งพยายามตามดูกามไม่หยุดไม่หย่อน

ระลึกชอบคือระลึกถึงอริยะสุจจ์ 4 ให้มั่นคงว่า อันเป็นธรรมที่ควรระลึกให้มั่น เพื่อละความยินดียินร้ายในโลกในโลกียะเสียให้ได้ ไม่ได้เพื่อระลึกรู้อิริยาบถและสภาวะต่างๆทาง กาย เวทนา จิต ธรรม ในขณะนั้นๆ(ปัจจุบัน)ตามที่ท่านเข้าใจ

สมาธิชอบ ด้วยความตั้งมั่นในอริยะสัจจ์4 นั้นแน่วแน่ไม่คลอนแคลน ไม่หวั่นไหวในกาม และอกุศลธรรม แล้วบรรลุฌานทั้ง 4อันเป็นบาทแห่งโลกุตรปัญญา คือปัญญาในอริยสัจจ์ 4

แต่เนื่องจากว่า ฌานในพระศาสนานี้ท่านไม่รู้จัก จิตท่านยังเป็นกามาวจรจิต จิตยังชุ่มไปด้วยกามสัญญา สัมมาสมาธิจะเกิดในจิตย่อมไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้

เมื่อท่านมีทิฏฐิว่าดูพองยุบแล้วเห็นไตรลักษณ์ ดูพยับแดดก็เห็นไตรลักษณ์ได้
แต่การวิปัสสนาไม่ได้อยู่ที่การเห็นไตรลักษณ์ แต่อยู่ที่การเห็นอริยะสัจ 4
เห็นจิตใดเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ เห็นจิตใดเป็นทางเข้าถึงซึ่งความดับทุกข์
บัดนี้จิตท่านมีมรรคมีองค์ 8 ที่ถูกต้องอยู่ในจิตแล้วหรือยัง นี่คือประเด็น ไม่ใช่ประเด็นวิธีพองยุบเป็นวิปัสสนาหรือไม่
กามาวจรจิต มีสัมมาสมาธิก็จริง แต่ไม่ใช่สัมมาสมาธิของพระอริยะ เพราะไม่ใช่องค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค
วิธีการพองยุบจึงไม่ได้ประกอบไปด้วยมรรคมีองค์ 8 เลย

ในธรรมเหล่านั้น มรรคมีองค์ ๘ เป็นไฉน
ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลก
ให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจาก
อกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุข
อันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ ในสมัยใด มรรคมีองค์ ๘
คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ ย่อมมี ในสมัยนั้น

[๒๒๓] สัมมาสมาธิ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นคงแห่งจิต ความไม่ส่ายไปแห่งจิต
ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ ความตั้งใจชอบ
สมาธิสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่าสัมมาสมาธิ มีในสมัยนั้น.


อ้างคำพูด:
เมื่อรูปหรือกายเคลื่อน จิตรู้สึกขณะนั้น ในคนสมาธิสติยังไม่พร้อม นำบริกรรมมาช่วยบ้าง
ไม่ใช่ไปยึดที่บริกรรมนั้นเลย บริกรรมเพื่อเพิ่มสมาธิ ในคนที่สมาธิดี สติดี จะไม่บริกรรมก็ได้
แล้วขันธ์ ๕ ที่ดูอยู่รู้อยู่ตามจริง ก็เป็นอารมณ์ของวิปัสสนาด้วย ตกลงคุณเข้าใจวิปัสสนาหรือยังกันแน่
ผมชักสงสัยแล้ว


อารมณ์วิปัสสนาคือ
ละนิวรณ์ 5
ละวิตกวิจาร
ละปีติ ละสุขละทุกข์
ละรูปสัญญา ละปฏิฆะสัญญาละนานัตตสัญญา ละอรูปสัญญา
ละสังโยชน์ 10
เรียกว่าอารมณ์วิปัสสนาในศาสนานี้ตามพระไตรปิฎกครับ
ไม่ใช่อารมณ์วิปัสสนาตามคัมภีร์ของอาจารย์ชั้นหลังๆที่ท่านใช้ประกอบการศึกษา


ความเข้าใจในอารมณ์วิปัสสนาอันพร่องๆ แพร่งๆ พองๆ ยุบๆ ของท่านจึงทำให้ท่าน เขียนมิจฉามรรคปฏิปทา ว่าเป็นมรรค 8 อย่างนั้น


แก้ไขล่าสุดโดย เช่นนั้น เมื่อ 24 ส.ค. 2009, 23:22, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสต์ เมื่อ: 23 ส.ค. 2009, 03:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 ส.ค. 2009, 02:28
โพสต์: 30

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




.bmp
.bmp [ 332.87 KiB | เปิดดู 3482 ครั้ง ]
ตามมาอ่านเพื่อประเทืองปัญญาค่ะ tongue
:b8:
โพสต์ เมื่อ: 23 ส.ค. 2009, 08:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
สวัสดียามดึกครับ ท่านกามโภคี
ท่านกามโภคี ปฏิบิติกัมมัฏฐานพองๆ ยุบๆ ด้วยความปรารถนาใด ด้วยความหวังใด?
ด้วยความรู้ที่เลอะเลอะ เลือนๆ เต็มไปด้วยอัตโนมติตามคัมภีร์ที่แต่งขึ้นภายหลัง จึงเข้าใจ ปรมัตถ์ เป็นประการอื่น และถือเอาพองๆ ยุบๆ เป็นการปฏิบัติด้วยความเป็นสีลพตปรามาส ว่าเป็นทางแห่งปรมัตถ์

พระพุทธองค์ไม่ได้ทรงรจนาคัมภีร์ด้วยพระองค์เอง แม้กระทั้งพระไตรปิฎกเองพระองค์ก็หาได้รจนาไว้ไม่
พระไตรปิฎกมีการรจนาไว้หลังพุทธกาลหลายร้อยปี ผู้ทำการรจนาก็ล้วนแต่เป็นพระสาวก เช่นเดียวกัน
คัมภีร์ต่างๆ ก็รจนาภายหลัง แต่ระยะเวลานั้น ไกล้ชิดกับเหตุการณ์ในพุทธกาลมาก ในสมัยนั้นเองการ
ปฏิบัติก็ยังไม่ห่างจากหลักการเดิมมากเลย ย่อมน่าเชื่อถือได้ดีกว่าปุถุชนสมัยนี้แต่งขึ้นมาแน่

การที่คัมภีร์ต่างๆ รจนามาก็ไม่ได้หลุดไปจากการอ้างอิงเดิม ทั้งไม่ได้เพิ่มเข้าไปใหม่ เพียงแต่อธิบายนัย
คำสอนไว้ เนื่องด้วยท่านผู้รจนาในสมัยนั้น ห่วงใยว่าปัญญาของคนรุ่นหลังจะไม่เข้าใจ
การไม่เชื่อถือในอรรถกถาหรือคัมภีร์รุ่นหลัง เช่น เนตติปกรณ์ อสัมโมหวิโนทินี วิสุทธิมรรค ฯลฯ ก็เท่า
กับไม่เชื่อในคำสอนพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั่นเอง ถ้าเป็นด้วยต้องพิสูจน์ก่อนเชื่อ ก็ไม่เสียหายมาก แต่
หากเป็นด้วยทิฏฐิ นั่นเป็นความเสื่อมอย่างร้ายแรง

อนึ่ง ในพระไตรปิฎกนั้น หาได้ลงรายละเอียดการปฏิบัติไว้ เพียงแต่เป็นหลักการสำคัญ เพราะราย
ละเอียดการปฏิบัติ ปรากฏในสมัยนั้นอยู่แล้ว รู้กันอยู่แล้ว จึงหาไม่มี อรรถกถาฎีกาภายหลังต่างอธิบาย
ไว้ทั้งนั้น ถ้าไม่เชื่อ ไม่พึ่งอรรถกถาฎีกาที่อธิบาย คุณจะเอาแนวไหนมาปฏิบัติได้

สีลพัตตปรามาส ต่างจากศรัทธาในอินทรีย์ ๕ ข้อนี้พระองค์ตรัสเรียกกิริยาของคนที่ประพฤติ
นอกจากคำสอนที่ทำให้หลุดพ้นได้ ผู้ปฏิบัติตามแนวสติปัฏฐานสูตร คุณจะว่าเขาได้อย่างไร
การที่ไปเชื่อพระอาจารย์รุ่นนี้ ไม่น่ากลัวกว่าเหรอครับ

เช่นนั้น เขียน:
ทางปรมัตถ์ในพระพุทธศาสนาคือทางสู่มัคค 4 ผล 4 และนิพพานครับไม่ใช่จิต เจตสิก รูป นิพพานตามตำรา ที่แต่งขึ้นเอาเองในชั้นหลังๆ

ปรมัตถ์(จริงอย่างที่สุด) มี ๔ อย่าง คือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน
โดยสรุปมี ๒ คือ รูปและนาม ในอภิธรรมปิฎกทั้งปิฎก กล่าวแต่เรื่องเหล่านี้ทั้งนั้น
นิพพาน เป็นสภาวะมีอยู่จริงโดยปรมัตถ์ ในคัมภีร์ต่างๆที่ผมยกมาอ้าง ก็กล่าวถึงเรื่อง จิต เจตสิก รูป
นิพพานทั้งนั้น ในพระไตรปิฎกเอง พระพุทธเจ้าตรัสเรื่องจิต เจตสิก รูป นิพพานทั้งนั้น
ทางสู่มรรค ๔ ผล ๔ ก็เป็นเรื่อง จิต เจตสิก รูป เพื่อไปสู่นิพพานทั้งนั้น
คุณพูดที่ปลายทำไม พูดที่ผลทำไม ในเมื่อสนทนาเรื่องเหตุที่จะไปสู่มรรคผล เห็นเอามาอ้างหลายครั้ง
แล้ว มีสติอยู่กับปัจจุบันหน่อย กำลังคุยเรื่องเหตุไปมรรคผลนะครับ

การปฏิบัติเพื่อรู้รูปนามปรมัตถ์ คือการปฏิบัติไปสุ่ปรมัตถ์ การกำหนดรู้รูปนามที่เป็นปรมัตถ์เท่านั้นจึงจะ
สามารถไปสู่นิพพานปรมัตถ์ ถ้าไม่กำหนดรู้รูปนามที่เป็นปรมัตถ์แล้วจะไปสู่สภาวะนิพพานที่เป็นปรมัตถ์
ได้อย่างไร คุณพูดใหม่เหอะ
วิธีการปฏิบัติก็คือ ต้องกำหนดรู้รูปนามที่เป็นสมมติบัญญัติก่อนทั้งนั้น ไม่มีใครก้าวเข้าไปรุ้รูปนามปรมัตถ์
ได้โดยไม่รู้บัญญัติก่อน
ในสมถะวิธี จะกำหนดจิตอยู่ที่อารมณ์ของกสิณเป็นต้น เมื่อสู่ฌานจิตจึงรู้รูปนามปรมัตถ์ได้
ในวิปัสสนาวิธี กำหนดรู้ไปตามแบบที่พระพุทธเจ้าวางไว้(สติปัฏฐาน ๔) สติสมาธิกล้าแล้ว ก็เข้าไปรู้รูป
นามปรมัตถ์ได้


เช่นนั้น เขียน:
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗
ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
นาลกสูตรที่ ๑๑

“ เจ้าได้ยินเสียงอันระบือไปว่า พุทโธ ดังนี้ไซร้ พระผู้มี
พระภาค ได้ทรงบรรลุพระสัมโพธิญาณแล้ว ย่อมทรงเปิด
เผยทางปรมัตถธรรม เจ้าจงไปทูลสอบถามด้วย

อ้างซะอย่างดี ตีความไม่เป็น เพราะไม่อ่านอรรถกถา ฎีกา ฯลฯ
ทางปรมัตถ์ คือท่างไปสู่ความจริงที่สุด
ความจริงที่สุด ๔ อย่างคือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน
ทางแห่งปรมัตถ์ในคาถาบาทนี้หมายถึงทางแห่งพระนิพพาน เขาอธิบายถึงโมเนยยปฏิปทา มีการอยู่
ป่า ยินดีเสนาสนะสงัดเป็นต้น เป็นต้น ไม่ได้ปฏิเสธิจิต เจตสิก รูป ตรงไหนเลย อ้างมาได้
คาถานี้ถ้าจะตีความ ต้องตีคำว่า ทาง คือ มรรค ได้แก่ มรรค ๘ เป็นเหตุให้เกิดนิพพานปรมัตถ์ อะไรที่
ปฏิบัติไม่หลุดจากมรรควิธี ใช่ทางทั้งหมด


เช่นนั้น เขียน:
ท่านกามโภคี ตั้งแต่ เริ่มพรรณา กามสัญญา, ความวิปัลลาส แห่งพองๆ ยุบๆ และ นิวรณ์5 แห่งพองๆ ยุบๆ ที่ท่านมนสิการ เช่นนั้นเพียงกล่าวถึงจิตอันเป็นกามาวจร ของท่าน ไม่ได้บอกให้ท่านเจริญรูปฌาน หรืออรูปฌาน ท่านคิดเองเออเองไปถึงไหนกันล่ะครับ
คืนนี้ ก็จะแสดง มิจฉามรรค แห่งพองๆ ยุบๆ และมรรคปฏิปทาอันเป็นสัมมามรรค


อ่านแล้วสังเวช ไม่รู้จริงก็ว่าไปเรื่อย เขาอธิบายตามสูตร จบลงที่หลักฐานวิธีการปฏิบัติ
คุณก็ว่าวิธีเขาไม่เลิกลา สังเวชใจจริงๆ
คุณคิดว่า รูปหรืออรูปที่ว่า ที่คุณอ้างมานั้น พ้นจากามาวจรเหรอ เดี๋ยวจะอธิบายให้อ่าน
คุณไม่อ่านที่เขาอธิบายการกำหนดของเขา คุณก็ว่าเขากามสัญญา ข้อนี้สังเวชยิ่งนัก
เขากำหนดแค่รู้ว่ามีอยู่ ไม่ได้อยากในอารมณ์ ไม่ได้ไม่ชอบใจ ไม่จัดเป็นกามสัญญา เจตสิกที่ทำงาน
พร้องสติและจิตคือตัตรมัชฌัชตตาเจตสิก ตัวนี้เป็นอุเบกขาที่มาจากวิริยะที่ระวังประครองจิตไม่ให้ตกไป
ในอภิชเาและโทมนัส เมื่อกำหนดรู้ตามแบบนี้ ชื่อว่า ญาตปริญญา เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว ไม่ต้องพูดถึง
เรื่องวิปลาสหรืออื่นๆ
มาถึงเรื่องฌานจิตของท่านที่ว่ารูปหรืออรูปนั้น แท้จริงมีกามาวจรปนอยู่
รูเป อวจรตีติ = รูปาวจรํ จิตใดย่อมท่องเที่ยวเกิดอยู่ในภูมิอันเป็นที่ เกิดแห่งกิ
เลสรูปและวัตถุรูป
ฉะนั้น จิตนั้น ชื่อว่า รูปาวจร
อรูเป อวจรตีติ = อรูปาวจรํ จิตใด ย่อมท่องเที่ยวเกิดอยู่ในภูมิอันเป็น
ที่เกิดแห่งกิเลสอรูปและวัตถุอรูป
ฉะนั้น จิตนั้น ชื่อว่า อรูปาวจร
นี่ไงที่คุณบอกว่าจิตรูปาวจร อรูปาวจร มันพ้นกิเลสที่ไหนละ

ตีความไม่เป็น แล้วเที่ยวหยิบพระพุทธพจน์มาอ้างเพื่อว่าคนอื่นนะ บาปมากเลย
ไม่นานถ้าว่าอยู่อย่างนี้ คงได้ล็อคกระทู้ เพราะดูแล้วไม่มีเหตุผลแล้วคุณ หัดยอมรับ
บ้างซิว่าตัวเองไม่รู้วิธีอื่นเลย นอกจากวิธีฌานจิตเท่านั้น วิธีอื่นไม่รู้ก็ยอมรับครับ อย่าแถไป

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสต์ เมื่อ: 23 ส.ค. 2009, 12:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
การเจริญมรรคปฏิปทา ด้วยโลกุตตรกุศลจิต

อย่าพูดไป โลกุตรจิตเป็นผลครับ ที่คุยกันอยู่ คุยในการปฏิบัตินะครับ โลกุตรจิตมีนิพพานเป็นอารมณ์
นำมาปฏิบัติไม่ได้
เช่นนั้น เขียน:
ความเห็นชอบคือเห็นอริยะสัจ 4 อันเป็นธรรมที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า ไม่ใช่ตามเห็นรูปเห็นนามอย่างที่ท่านเข้าใจ

ในปุถุชนรู้ได้แค่ทุกข์และสมุทัยครับ นิโรธและมรรค รู้ได้ขณะเข้าโคตรภูไปแล้ว ในเวลาปฏิบัติ
จะเห็นนิโรธได้ในระดับอุทยัพยญาณขึ้นไป มรรค จะเป็นแบบปุพพาคมมรรค คือมรรคปุถุชน ความหมาย
ที่คุณอ้างว่าต้องอย่างๆนี้ๆ เป็นมรรคอริยะครับ คนปุถุชนปฏิบัติไม่ได้แน่ ไม่ครบถ้วน และจะรู้ได้เมื่อ
ขณะเข้ามรรคจิตแล้ว เรียกว่ามรรคสมังคี รู้จักมรรควิธีหรือระบบของมรรคดีหรือยังครับ เพราะไม่อ่าน
อรรถกถาถึงได้พูดมาแบบนี้

เช่นนั้น เขียน:
ความดำริชอบคือ ดำริในการออกจากกาม(ไม่พัวพันในกามสัญญา) ดำริไม่พยาบาท ดำริไม่เบียดเบียน(นิวรณ์ 5 อันครอบงำจิตซึ่งเบียดเบียนท่านอยู่ท่านทราบหรือไม่) ด้วยความเห็นชอบในอริยะสัจจ์ 4 ไม่ใช่กำหนดรู้ด้วยใจเป็นกลาง ซึ่งไม่มีในคำสอนของพระพุทธองค์
วาจาชอบเพราะกล่าวอิงอรรถอิงธรรม อิงจตุราริยสัจจ์ มีวิตก วิจารในอริยะสัจจ์4 ไม่ได้อิงกำหนดพองยุบตามความเข้าใจของท่าน

แนะนำให้ไปทำความเข้าใจเรื่องปริญญา ๓ ครับ
การกำหนดรู้ตามความจริงของ ขันธ์ ธาตุ อายตนะ ฯลฯ เป็นการละด้วยการกำหนด
การพิจารณาในขณะวิปัสสนาเกิดเมื่อปฏิบัติ เป็นการละด้วยตีรณะปริญญา
เมื่อปฏิบัติได้แล้ว การละได้โดยเด็ดขาด เป็นการละได้ด้วย ปหานปริญญา
ละแบบนี้จัดเป็นการดำริออกจากกาม ดำริไม่เบียดเบียนหรือยังครับ เอาปัญญาคิดครับ อย่าเอาความไม่
รู้ของอีกหลายๆนัยคิด ก็คุณรู้แค่นี้เอง ก็เลยว่าคนที่รู้ในสิ่งที่คุณไม่รู้ว่าผิด รู้แต่วิธีฌานนั่นล่ะครับ
การที่ผมอธิบายระบบวิธีละนิวรณ์ไปในโพสก่อนๆ คุณไม่อ่านเลย น่าเศร้า จำได้ว่า
ตอนนั้นคุณอ้างพุทธพจน์มาด้วย ลำดับก่อนเข้าปฐมฌานก็บอกไว้ด้วยว่าละนิวรณ์ก่อน แสดงว่าก่อน
เข้าปฐมฌาน ต้องมีธรรมที่ละนิวรณ์ได้อีกนอกจากฌาน
อยู่ที่ว่าผู้ละนิวรณ์จะหันไปทางฌานหรือ
เข้าสู่ระบบของสุทธวิปัสสนาเลย
อ่านดีๆ กำหนดรู้ด้วยใจเป็นกลางมีหรือเปล่า คุณอ่านดีๆ การวางเฉยมีถึง ๑๐ อย่าง
วิธีของพองยุบใช้อันนี้ครับ ตัตตรมัชฌัตตุเปกขา ได้แก่ ตัตตรมัชฌัตตตาเจตสิกที่เป็นกลาง ไม่เอนเอียงด้วยอคติ วิปัสสนูเปกขาได้แก่ ปัญญาเจตสิกที่เป็นกลางในการพิจารณาอารมณ์ที่เกิดตามเหตุ
ปัจจัย
(พิจารณารู้เหตุรูปนาม ปัจจัยปริคคหญาณ)
ส่วนฌานที่คุณอ้างถึงใช้อันนี้ ฌานุเปกขาได้แก่ ตัตตรมัชฌัตตตาเจตสิกในฌาน ซึ่งคลายความฝักใฝ่ในธรรมอื่นที่ทำให้ไม่สงบมั่นคง โดยเฉพาะ ได้แก่ ตติยฌาน(โดยจตุตถนัย) ซึ่งคลายปิติแล้ว
ปาริสุทธุเปกขา ได้แก่ ตัตตรมัชฌัตตตาเจตสิกในจตุตถฌาน (โดยจตุตถนัย)ซึ่งสงบหมดจดแล้วจาก
ข้าศึกทั้งปวง ไม่ต้องทำกิจละองค์ฌานใดอีก

ผมอธิบาย ๒ นัยเลยนะเนี่ย

เช่นนั้น เขียน:
การงานชอบคือ จิตอันประกอบด้วยสมถะวิปัสสนา ในอริยะสัจจ์ 4 อันเป็นการอบรมจิตให้สิ้นอาสาวะ ไม่ใช่แค่ไม่ทำให้ใครเดือดร้อนตามที่เข้าใจ ก้อนหินมันก็ตั้งอยู่เฉย ๆ ไม่ได้ทำให้ใครเดือดร้อน

การที่กำหนดตามปริญญา ๓ นิวรณ์สงบได้เพราะละอภิชฌาและโทมนัส เรียกว่าสมถะ การรู้รูปนามโดย
ความเป็นขันธ์ ๕ ฯลฯ ตามจริงในขณะปฏิบัติ เรียกว่าวิปัสสนา
ส่วนไม่มีใครเดือดร้อนจากวิธีนี้(นอกจากคุณ) นั่นเป็นผลของสมถะและวิปัสสนาครับ มองสั้นจริงๆ
เอ...เข้าใจเปรียบก้อนหิน ก็ไม่ใช่คนไง เลยไม่มีงาน เมื่อไม่มีงาน ใครก็ไม่เดือดร้อน คุณเอามาพูด
ทำไมเนี่ย เกี่ยวกันตรงไหน

เช่นนั้น เขียน:
อาชีวะชอบ เพราะยังปีติสุขอุเบกขาให้เกิดจากการอบรมจิต เลี้ยงชีวิตด้วยกุศลจิตหรือมัคคจิต ผลจิต ไม่ใช่เป็นกลางกับทุกสภาวะ รู้เฉยๆ ตามตำราแต่งโดยมติของอาจารย์รุ่นหลังๆ

ตรงนี้คุณพูดไม่คิดนะ เลี้ยงชีวิตด้วยมัคคจิต ผลจิต คุณวิปลาสแล้ว เรากำหลังคุยเรื่องวิธีการนะครับ
มัคคจิตผลจิต เป็นสุดท้ายของวิธีการแล้ว เกิดได้ตอนเข้ามรรคผลเท่านั้น อย่าหลุดประเด็น

รู้ตามแบบเป็นกลาง ไม่ส่ายไปในอภิชฌาและโทมนัส ตรงนี้จะเปิดช่องให้ปัญญาเกิดมาพิจารณา
ไตรลักษณ์ครับ ต้องไปตามลำดับ คุณมองแค่เขารู้เฉยๆ คุณมองแค่นี้เองเหรอครับ ฌานจิตที่คุณเข้า
ใจนั้น แรกๆก็ต้องเฉยๆกับอารมณ์ก่อน เช่น บริกรรมกสิณ จากนั้นเมื่อสงบจึงยกสู่วิปัสสนา ทำไมไม่มอง
ของวิธีอื่นทั้งระบบละครับ

เช่นนั้น เขียน:
พยายามชอบคือเพียรละโลกียะจิตให้หมดสิ้น เพียรสร้างโลกุตตระกุศลจิตที่ไม่เกิดให้เกิดขึ้น ที่เกิดแล้วให้เต็มเปี่ยมไม่ง่อนแง่นไม่คลอนแคลน ไม่ใช่ตามรู้แบบท่านด้วยใจเป็นกลางๆซึ่งพยายามตามดูกามไม่หยุดไม่หย่อน

วิริยุเปกขา ได้แก่ วิริยเจตสิกที่เป็นความเพียรถูก ซึ่งไม่ตึงนักไม่หย่อนนักในการเจริญภาวนา กำหนดรู้ไม่
ก่อนไม่หลังสภาวะ สภาวะอย่างไรก็กำหนดรู้อย่างนั้น กำหนดทันปัจจุบัน (องค์ธรรมของวายามะคือ
วิริยะเจตสิก)ขณะที่ทำอยู่นี้เรียกว่า เพียร กำลังทำ กำลังละ

อธิบายแล้วนะครับ ที่คุณเข้าใจว่ามองกาม คุณคิดคนเดียว ขันธ์ ธาตุ อายตนะที่กำหนด จะเป็นกามหรือ
ไม่ ไม่ใช่ที่ขันธ์ธาตุหรืออายตนะนั้นๆ อยู่ที่เจตนาของคนกำหนดรู้ เมื่อจิตไม่มุ่งในกาม ก็ไม่ใช่กาม ข้อนี้คุณพิจารณาให้ดี ขันธ์ ธาตุ อายตนะพวกนี้ มีอยู่แล้ว และไม่เป็นกามหรือไม่กาม


เช่นนั้น เขียน:
ระลึกชอบคือระลึกถึงอริยะสุจจ์ 4 ให้มั่นคงว่า อันเป็นธรรมที่ควรระลึกให้มั่น เพื่อละความยินดียินร้ายในโลกในโลกียะเสียให้ได้ ไม่ได้เพื่อระลึกรู้อิริยาบถและสภาวะต่างๆทาง กาย เวทนา จิต ธรรม ในขณะนั้นๆ(ปัจจุบัน)ตามที่ท่านเข้าใจ

กิจในอริยสัจ ๔ พระพุทธเจ้าตรัสไว้ด้วยปริญญา ๓ ไม่ใช่อาการระลึกอย่างเดียว ถ้าใครปฏิบัติตามปริญญา๓ ก็เท่ากับระลึกชอบนะครับ
ทุกข์ คือรูปนาม กิจคือ ญาตปริญญา (ทุกข์พึงกำหนดรู้) การกำหนดรู้อิริยาบถ คือกำหนดรู้รูปนาม
คือรู้เหตุผลของรูปนามที่กำหนดอยู่ เช่น บางครั้งนามเป็นเหตุ รูปเป็นผล จิตอยากก่อน
แล้วกายทำตามจิต บางทีกายเป็นเหตุ เช่น เดินสะดุด จิตรู้เมื่อสะดุดแล้ว นี่รูปเป็นเหตุ นามเป็นผล
ในขณะที่เข้าใจย่อๆแบบนี้ เรียกว่า ญาตปริญญา (กำหนดรู้ และ กำหนดพิจารณา)
ส่วนเหตุแห่งทุกข์ ก็เวลาปฏิบัติ ไม่ตกลงสู่ความอยากมีอยากเป็นไม่อยากมีอยากเป็น ดำรงอยู่ในจิต
ที่เป็นอุเบกขาที่กล่าวมาแล้วด้านบน จัดเป็นกำหนดรู้ด้วยการละ
ส่วนนิโรธและมรรค จะเกิดมีเองตามระบบ เพราะถ้าทำได้อย่างที่ย่อๆแล้ว นิโรธ มรรคจะตามมาเอง
การไปนั่งระลึกนั้น ละไม่ออกหรอกกิเลส ช้าไป วิธีละลึกแบบนี้ โปรดพิจารณา

เช่นนั้น เขียน:
สมาธิชอบ ด้วยความตั้งมั่นในอริยะสัจจ์4 นั้นแน่วแน่ไม่คลอนแคลน ไม่หวั่นไหวในกาม และอกุศลธรรม แล้วบรรลุฌานทั้ง 4อันเป็นบาทแห่งโลกุตรปัญญา คือปัญญาในอริยสัจจ์ 4
แต่เนื่องจากว่า ฌานในพระศาสนานี้ท่านไม่รู้จัก จิตท่านยังเป็นกามาวจรจิต จิตยังชุ่มไปด้วยกามสัญญา สัมมาสมาธิจะเกิดในจิตย่อมไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้

รู้ไม่หมดอีกแล้ว วิธีทำให้จิตเป็นฌานเพื่อเป็นบาทวิปัสสนา มีอย่างน้อย ๔๐ วิธี บริกรรมพุทโธก็เป็น
ฌานได้ บริกรรม นีลัง ก็เป็นฌานได้ แล้วนำมาเป็นบาทของวิปัสสนา
คนที่เจริญสุทธวิปัสสนาแบบพองยุบ ในขณะเข้ามรรคผล ก่อนเข้าสมาธิจิตจะสงบตั้งมั่นในระดับอุปจาระ
ฌาน อ่านดีๆ มีในอภิธรรม ถ้าต้องทำฌานกันก่อน แล้วพระพุทธเจ้าตรัสพระอรหันต์สุกขวิปัสสโกได้
อย่างไร ตัวย่างง่ายๆ พระสารีบุตร(อุปติสสะ)ฟังธรรมพระอัสสชิจบ เป็นพระโสดาบันเลย ไม่ได้ทำฌาน
จิตที่ไหนเลย ตอนนั้นจิตท่านก่อนเป็นพระโสดาบันก็ยังเป็นกามาวจรจิตด้วย
ระบบวิธีจะมีสภาวะมารองรับเองในของผู้ที่จะผ่านเข้าภูมิอริยะด้วยวิธีสุทธวิปัสสนา

เช่นนั้น เขียน:
เมื่อท่านมีทิฏฐิว่าดูพองยุบแล้วเห็นไตรลักษณ์ ดูพยับแดดก็เห็นไตรลักษณ์ได้
แต่การวิปัสสนาไม่ได้อยู่ที่การเห็นไตรลักษณ์ แต่อยู่ที่การเห็นอริยะสัจ 4
เห็นจิตใดเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ เห็นจิตใดเป็นทางเข้าถึงซึ่งความดับทุกข์

วิปัสสนา ถ้าไม่อยู่ที่การเห็นไตรลักษณ์ ก็ไม่เห็นอริยสัจครับ เพราะแนบอยู่ในกันและกัน
ข้อนี้ คุณกลับไปเรียนมาใหม่ สอบตก

เช่นนั้น เขียน:
บัดนี้จิตท่านมีมรรคมีองค์ 8 ที่ถูกต้องอยู่ในจิตแล้วหรือยัง นี่คือประเด็น ไม่ใช่ประเด็นวิธีพองยุบเป็นวิปัสสนาหรือไม่

ถ้ามีผมก็ยังเป็นปุถุชน ถ้าไม่มีผมก็เป็นพระอริยะ
ประเด็นนี้คุณกล่าวว่าพองยุบเป็นวิธีการที่ไม่ถูกต้องนะครับ ไม่ใช่ประเด็นเรื่องจิตผม

เช่นนั้น เขียน:
กามาวจรจิต มีสัมมาสมาธิก็จริง แต่ไม่ใช่สัมมาสมาธิของพระอริยะ เพราะไม่ใช่องค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค วิธีการพองยุบจึงไม่ได้ประกอบไปด้วยมรรคมีองค์ 8 เลย

คนที่ยังไม่บรรลุธรรม ก็ไม่ใช่สัมมาสมาธิของพระอริยะไง หรือว่าจะต้องเป็นสัมมาสมาธิของพระอริยะ
ก่อน มันจะไม่สอดคล้องนะครับ รุ้จักมรรคแบบสาสวะหรือเปล่าครับ
มรรคมี ๒ อย่างคือ สาสวะ และอนาสวะ
มรรคของคนปกติที่ปฏิบัติธรรมดี ยังไม่บรรลุ เรียกว่าสาสวะมรรค คือยังมีอาสวะปนอยู่
คนที่เป็นพระอริยะแล้ว(พระอรหันต์เท่านั้น)จึงเป็นอนาสวะ
ตรงนี้ กลับไปทบทวนมาใหม่

เช่นนั้น เขียน:
[๒๒๓] สัมมาสมาธิ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นคงแห่งจิต ความไม่ส่ายไปแห่งจิต
ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ ความตั้งใจชอบ
สมาธิสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่าสัมมาสมาธิ มีในสมัยนั้น.

ว่าวิธีอื่นไม่ถูก อ้างมาก็ไม่ถูกอีก เห็นไหม คำว่า ความสงบ สมาธินทรีย์ นั่นไง ของวิธีสติปัฏฐาน
นั่นเอง การระงับความฟุ้งซ่านได้ ฯลฯ นั่นละสมาธิ ไม่ใช่ต้องฌานอย่างเดียว

เช่นนั้น เขียน:
อารมณ์วิปัสสนาคือ
ละนิวรณ์ 5
ละวิตกวิจาร
ละปีติ ละสุขละทุกข์
ละรูปสัญญา ละปฏิฆะสัญญาละนานัตตสัญญา ละอรูปสัญญา
ละสังโยชน์ 10
เรียกว่าอารมณ์วิปัสสนาในศาสนานี้ตามพระไตรปิฎกครับ
ไม่ใช่อารมณ์วิปัสสนาตามคัมภีร์ของอาจารย์ชั้นหลังๆที่ท่านใช้ประกอบการศึกษา

ไปดูที่มหาสติปัฏฐานสูตรนะครับ ข้อนี้ไปดูได้ที่นั่น ของคุณก็มีส่วนถูก
วิธีผมก็ถูก แต่ไม่ใช่จะวิธีของคุณอย่างเดียว อย่าไปว่าวิธีอื่นที่มีอยุ่ในมหาสติปัฏฐานสูตรว่าไม่ถูกต้อง
เพราะคุณไม่รู้นัยอื่น หรือคุณรู้น้อยไปปฏิบัติน้อยไป


เช่นนั้น เขียน:
ความเข้าใจในอารมณ์วิปัสสนาอันพร่องๆ แพร่งๆ พองๆ ยุบๆ ของท่านจึงทำให้ท่าน เขียนมิจฉามรรคปฏิปทา ว่าเป็นมรรค 8 อย่างนั้น
[/quote]
แค่คำว่าของคนที่ไม่เข้าใจในคำสอนของพระพุทธศาสนาเท่านั้นเอง

เอวัง ก็มีด้วยประการฉะนี้

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสต์ เมื่อ: 23 ส.ค. 2009, 21:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดียามค่ำคืนหลังฝนครับ คุณกามโภคี

การงานชอบคือ จิตมีการงานด้วยสมถะวิปัสสนาในอริยะสัจจ์ 4 อันเป็นการอบรมจิตให้สิ้นอาสวะ
ซึ่งกล่าวให้ท่านเข้าใจง่าย ๆ คือ สมถะและวิปัสสนา อันนับเนื่องในมรรค เป็นองค์แห่งมรรค
สมถะและวิปัสสนาเป็นอุปะการะแก่การงานของโลกุตตรจิต ครับ

อ้างคำพูด:
คุณพูดที่ปลายทำไม พูดที่ผลทำไม ในเมื่อสนทนาเรื่องเหตุที่จะไปสู่มรรคผล เห็นเอามาอ้างหลายครั้ง
แล้ว มีสติอยู่กับปัจจุบันหน่อย กำลังคุยเรื่องเหตุไปมรรคผลนะครับ

เพราะถ้าทำได้อย่างที่ย่อๆแล้ว นิโรธ มรรคจะตามมาเอง
การไปนั่งระลึกนั้น ละไม่ออกหรอกกิเลส ช้าไป วิธีละลึกแบบนี้ โปรดพิจารณา


ท่านต้องทำเหตุให้ตรงกับผลครับ
จิตเหตุอย่างไรได้ผลอย่างนั้นครับท่าน
โลกุตตรจิตอันเป็นเหตุ
โลกุตตรวิบากอันเป็นผล

ท่านไม่เข้าใจโลกุตตรจิตอันเป็นเหตุ และวิบากแห่งโลกุตตรจิต หรืออัพยากตจิตแห่งโลกุตตระ เลยแม้แต่น้อย ฉะนั้นการเข้าใจ สมถะวิปัสสนา อันเป็นโลกกุตรจิต ย่อมเป็นไปไม่ได้ ท่านจึงเข้าใจเพียงแต่ กามวจรจิต เจริญพอง ๆ ยุบๆ ด้วยมิจฉามรรค ตามที่ท่านยึดเป็นแนวปฏิบัติไว้อย่างเหนียวแน่น

คืนนี้ ก็คงเป็นการ แสดง สมถะ อันเป็นโลกุตตรฌาน หรือโลกุตรจิต ที่ท่านไม่เคยสำเหนียกเพราะ พองๆ ยุบๆ ปิดบัง


โพสต์ เมื่อ: 23 ส.ค. 2009, 21:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สมถะ หรือฌานที่ท่านรู้ และเข้าใจผิดอย่าง พร่องๆ แพร่งๆ มานาน

อ้างคำพูด:
อ้างอิงคำพูด:
ฌาน ตัวนี้ไม่ได้แปลว่าเพ่ง ใครแปลเพ่ง แสดงว่าคนนั้นไม่เคยปฏิบัติแบบนี้จริงเพราะถ้าปฏิบัติแบบนี้จริง จะต้องแปลออกมาว่า รู้ หรือ รู้สึก
คำนี้ครับของผม ผมพูดถึงลักษณูปนิสัชฌาน ส่วนอย่างอื่นจะแปล

๑.อารัมมณูปนิชสัชฌาน การเข้าไปรู้บัญญัติ
๒.ลักขณูปนิชสัชฌาน การเข้าไปรู้ลักษณะ

ลักษณะของขันธ์ ๕ เป็นอารมณ์ของวิปัสสนา ตามนัย ลักขณูปนิสัชฌาน (เข้าไปรู้ลักษณะ)
วิปัสสนาทั้งหมด มีรูปนาม(รูปนามปรมัตถ์)เป็นอารมณ์ การพิจารณาไตรลักษณ์ของผู้ปฏิบัติที่ยังไม่ถึง
มรรคผลและผู้ที่ปฏิบัติมรรคผลได้แล้วบางระดับ ต้องใช้รูปนามเป็นอารมณ์สลับกันไป เพราะ ไตรลักษณ์
ปรากฏที่รูปนาม อยู่กับรูปกับนามทุกอย่าง ถ้าไม่มีรูปนาม ก็ไม่มีไตรลักษณ์เกิด มีรูปนามเมื่อไร
ไตรลักษณ์เกิดเมื่อนั้น ส่วนผู้ที่ได้มรรคผลเบื้องปลาย ๒ ระดับ จะใช้นาม คือ สภาวะธรรมในการ
กำหนดรู้ไตรลักษณ์ เช่น พระอนาคามี เมื่อปฏิบัติเพื่อความเป็นอรหันต์ จะใช้สภาวะของฌาน(นาม)
เพราะต้องละกามสัญญาที่ละเอียดยิ่งตรงนี้เองที่ทำให้ท่านเมื่อละจะอุบัติที่พรหมโลก

อนึ่ง รูปาวจรจิต อรูปาวจรจิต ก็ยังพัวพันธ์ในขันธ์ ๕ คือ สูขอันเกิดแต่ฌาน ถ้ามีสุข
เวทนาขันธ์เกิดแล้ว เจตสิก ๕๒ ดวง เว้น เวทนาเจตสิกและสัญญาเจตสิก จัดเป็นสังขาร ฉนั้น
เอกัคคตาเจตสิกก็จัดเป็นสังขารในขันธ์ ๕ ด้วย นี่ไง รูปาวจรที่คุณว่า ทำไมพัวพันกับขันธ์ละครับ
อีกอย่าง อรูปาวจรจิตไม่ใช่ทุกอย่างที่นำมาเป็นเครื่องพิจารณาทางวิปัสสสนาได้ ข้อนี้มีในพระสูตร
เพราะอรูปวจรจิตบางอย่างขาดขันธ์ใดขันธ์หนึ่งในขันธ์ ๕ ไป

การที่คุณกล่าวว่าต้องเป็น รูป อรูป นั้น ถูกในส่วนหนึ่ง แต่ไม่ทั้งหมด เพราะ......
คนที่ทำฌานแล้วทำวิปัสสนาต่อ ถ้าไม่ตลอดรอดฝั่งจนถึงมรรคผล เมื่อออกจากฌานแล้ว ก็ไม่ต่างจาก
ผู้ที่มิได้ทำฌานเป็นเลย ทั้งจิตก่อนที่ทำฌาน จิตก็เป็นอย่างสูงได้แค่กุศลจิต


ท่านกามโภคีเข้าใจเอาเอง คิดเองเออเอง ว่า เช่นนั้น เข้าใจคำว่า สมถะ คือโลกียฌานนคือ รูปฌาน หรืออรูปฌาน หรือฌานสมาบัติ 8 หรือฌานคือ กรรมฐาน 40 ตามตำราที่แต่งขึ้นในภายหลัง เพราะนั่นคือความเข้าใจของท่าน
เช่นนั้นไม่เคยบอกท่านตรงไหนเลย


โพสต์ เมื่อ: 23 ส.ค. 2009, 22:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อารมณ์แห่งวิปัสสนา เช่นนั้นก็ได้บรรยายไปแล้วในตอนต้น

อะไรคือสมถะและ ลักขณูปนิชสัชฌาน อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค?

โลกุตตระสมาธิ 3 เหล่านี้ คือ
1.อนิมิตตสมาธิ
2.อัปปณิหิตตสมาธิ
3.สุญญตสมาธิ

สมาธิทั้ง 3 นี้เรียกว่า สมถะ เรียกว่าลักขณูปณิชฌาน


1.การปฏิบัติในไตรลักษณ์ไม่ใช่แค่การดูมันเกิดมันดับตามที่เข้าใจ แต่เป็นการเจริญอนิจจสัญญาเพื่อให้บรรลุอนิมิตตสมาธิ ในปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน และจตุตถฌาน เป็นฌานที่ไม่มีนิมิต ไม่มีเครื่องหมาย
อย่างนี้เรียกว่า สมถะ เรียกว่าลักขณูปณิชฌานเป็นองค์แห่งมรรค นับเรื่องในมรรค

หรือ2.การปฏิบัติในไตรลักษณ์ไม่ใช่แค่การดูมันแปรเปลี่ยนไปตามที่เข้าใจ แต่เป็นการเจริญ ทุกขังสัญญา เพื่อให้บรรลุอัปปณิหิตตะสมาธิในปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน และจตุตถฌาน เป็นฌานอันไม่มีที่ตั้งอยู่ได้ อย่างนี้ก็เรียกว่า สมถะ เรียกว่าลักขณูปณิชฌานเป็นองค์แห่งมรรค นับเรื่องในมรรค

หรือ 3. การปฏิบัติในไตรลักษณ์ไม่ใช่แค่การดูมันไม่ใช่ตัวตนไปตามที่เข้าใจ แต่เป็นการเจริญ อนัตตาสัญญา เพื่อให้บรรลุสุญญตะสมาธิในปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน และจตุตถฌาน เป็นฌานอันว่างเปล่าจากความยึดมั่นถือมั่น อย่างนี้ก็เรียกว่า สมถะ เรียกว่าลักขณูปณิชฌานเป็นองค์แห่งมรรค นับเรื่องในมรรค

สมถะดังกล่าวมาข้างต้น คือสมถะที่เป็นโลกุตตรจิตที่เป็นการงานของจิต เป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค

สมถะในศาสนานี้จึงไม่ใช่รูปฌาน 4 และอรูปฌาน 4 ที่เป็นโลกียะฌาน หรือกรรมฐาน 40 ตามที่ตำราหรือคัมภีร์ที่แต่งขึ้นมาในภายหลัง ดังที่เป็นความเข้าใจผิดของท่านเอง

เจริญอนิจจะสัญญา สมาธิหรือสมถะที่ได้เรียกว่า อนิมิตตะสมาธิ
เจริญทุกขังสัญญา สมาธิหรือสมถะที่ได้เรียกว่า อัปปณิหิตตะสมาธิ
เจริญอนัตตาสัญญา สมาธิหรือสมถะที่ได้เรียกว่า สุญญตะสมาธิ


ภิกษุพึงเป็นผู้สำรวมจักษุ ไม่พึงเป็นผู้โลเลเพราะเท้า พึงเป็นผู้ขวนขวายในฌาน
พึงเป็นผู้ตื่นอยู่มาก
พึงเป็นผู้ปรารภอุเบกขา มีจิตตั้งมั่น
พึงเข้าไปตัดความตรึก
และตัดธรรมที่อาศัยอยู่แห่งความตรึกและความรำคาญ



การเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อการตรัสรู้ ต้องไม่เดินในทาง 2 สาย
1.พัวพันในกาม
2.ไม่กระทำตนให้ลำบาก

จิตเป็นกามาวจรชื่อว่าพัวพันในกาม
ความเพ่งในรูปฌานและอรูปฌานชื่อว่าเป็นการกระทำตนให้ลำบาก


เพราะสุดโต่งทั้ง 2 ก่อให้เกิดอุปธิเพื่อภพต่อไป
เพราะความตรึกในสุดโต่งทั้ง 2 อันก่อให้เกิดอุปธิเพื่อภพต่อไปนี้ เป็นเหตุให้เกิดสักกายะทิฏฐิ
เมื่อไม่ตรึกในสุดโต่งทั้ง 2 อันก่อให้เกิดอุปธิเพื่อภพต่อไปนี้ เหตุให้เกิดสักกายะทิฏฐิย่อมไม่มี

การเจริญอริยะสัจจ์ 4 คือทางมัชฌิมปฏิปทา เพราะมีพระธรรมเทศนาเป็นอารมณ์ ไม่อยู่ในส่วนสุดทั้ง 2
จิตว่างเปล่าจากอารมณ์ คืออารมณูปณิชฌาน


เพราะจิตมีปัญญารู้แจ้งแทงตลอดขันธ์ 5 โดยความเป็นอนิจจังคือไม่เที่ยง เกิดขึ้นแล้วดับไป ไม่ยกขันธ์ 5 นั้นมาพิจารณาอีก น้อมจิต โยนิโมนสิการในพระธรรมเทศนาโดยส่วนเดียว จึงชื่อว่ามีอนิจจะสัญญา เมื่อจิตตั้งมั่นสมาธิที่ได้เรียกว่าอนิมิตตสมาธิ

หรือ...
เพราะจิตมีปัญญารู้แจ้งแทงตลอดขันธ์ 5 โดยความเป็นทุกข์คือแปรเปลี่ยนทนอยู่ไม่ได้ ไม่ยกขันธ์ 5 นั้นมาพิจารณาอีก น้อมจิต โยนิโมนสิการในพระธรรมเทศนาโดยส่วนเดียว จึงชื่อว่ามีทุกขังสัญญา เมื่อจิตตั้งมั่นสมาธิที่ได้เรียกว่าอัปปณิหิตตะสมาธิ

หรือ...
เพราะจิตมีปัญญารู้แจ้งแทงตลอดขันธ์ 5 โดยความเป็นของไม่ใช่ตัวตน ไม่ควรยึดมั่นถือมั่นว่าตัวว่าตนว่าเราว่าของเรา ไม่ยกขันธ์ 5 นั้นมาพิจารณาอีก น้อมจิต โยนิโมนสิการในพระธรรมเทศนาโดยส่วนเดียว จึงชื่อว่ามีอนัตตาสัญญา เมื่อจิตตั้งมั่นสมาธิที่ได้เรียกว่าสุญญตะสมาธิ

บทพระธรรมเทศนาแห่งอริยสัจจ์4 หรืออรหัตมรรค จึงประกอบด้วย อนิมิตตสมาธิ หรืออัปปณิหิตตะสมาธิ หรือสุญญตะสมาธิ ด้วยเหตุที่ไม่ไปข้องเกี่ยวในส่วนสุดโต่งทั้ง 2 ข้างนั้นนั่นเอง จึงชื่อว่าเจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลก นำไปสู่นิพพาน โลกุตตรฌานมีไว้ให้ปุถุชนนี่แหละเจริญ เพื่อบรรลุเป็นพระอริยบุคคล ไม่ใช่พระอริยะบุคคลเท่านั้นเจริญ

ตัวอย่างในพระอภิธรรม (ในพระไตรปิฏก) ได้แสดงไว้ดังนี้

Quote Tipitaka:
http://84000.org/tipitaka/pitaka3/v.php?B=34&A=3395&Z=3450&pagebreak=0


โยคาวจรบุคคล เจริญฌานเป็นโลกุตตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลกนำไปสู่นิพพานเพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌานฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุปัญจมฌาน เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ดังนี้ กุศล ฯลฯ ชนิดสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ดังนี้ วิบาก ฯลฯ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ดังนี้ กุศลฯลฯ ชนิดอนิมิตตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ดังนี้วิบาก ฯลฯ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ดังนี้ กุศล ฯลฯ ชนิดอัปปณิหิตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ดังนี้ วิบาก ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

ธรรมะของพระอริยเจ้า นั้นนำมาสอนปุถุชนให้ปฏิบัติเป็นพระอริยะเจ้า ไม่ได้เอาไว้สอนพระอริยะเจ้าเพื่อปฏิบัติ เพราะท่านปฏิบัติเสร็จกิจแล้ว หวังว่าท่านกามโภคีคงทำความเข้าใจให้ดี


โพสต์ เมื่อ: 24 ส.ค. 2009, 00:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
อารมณ์แห่งวิปัสสนา เช่นนั้นก็ได้บรรยายไปแล้วในตอนต้น
อะไรคือสมถะและ ลักขณูปนิชสัชฌาน อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค?
โลกุตตระสมาธิ 3 เหล่านี้ คือ
1.อนิมิตตสมาธิ
2.อัปปณิหิตตสมาธิ
3.สุญญตสมาธิ
สมาธิทั้ง 3 นี้เรียกว่า สมถะ เรียกว่าลักขณูปณิชฌาน


ผมยกที่อรรถกถาท่านอธิบายมาให้ดู สติปัญญาคุณที่อธิบายมา ผมขอไม่อ่าน เพราะผิดจากอรรถกถาตั้ง
แต่ต้น ผมไม่อ่านดีกว่า กลัวจำไปผิดๆ
อนึ่ง ผมไม่เชื่อสติปัญญาของคุณมากกว่าการอธิบายของอรรถหถาจารย์ เพราะอรรถกถาจารย์ท่าน
เกิดหลังพุทธกาลไม่นาน ความใกล้งเคียงย่อมมีอยู่มากกว่า

อรรถกถาอปรอัจฉราสังฆาตวรรค

บทว่า ณานํ ความว่า ชื่อว่าฌานมี ๒ อย่าง คือ อารัมมณูปนิชฌาน
และลักขณูปนิชฌาน.
ในฌาน ๒ อย่างนั้น สมาบัติ ๘ ชื่อว่า อารัมมณูปนิชฌาน.
ก็สมาบัติ ๘ เหล่านั้น เรียกว่าอารัมมณูปนิชฌาน เพราะ
เข้าไปเพ่งอารมณ์มีปฐวีกสิณเป็นต้น .

วิปัสสนา มรรค และผล ชื่อว่าลักขณูปนิชฌาน. ก็วิปัสสนาชื่อว่า
ลักขณูปนิชฌาน เพราะเข้าไปเพ่ง
ลักษณะของสังขารด้วยอำนาจไตรลักษณ์มีความไม่เที่ยงเป็นต้น .

คุณเอาอะไรมาอธิบายเรื่องฌาน พิจารณาก่อนครับ ก่อนที่จะมาอวดภูมิ

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสต์ เมื่อ: 24 ส.ค. 2009, 22:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อรรถกถาอปรอัจฉราสังฆาตวรรค ที่ถูกย่ำยี

สวัสดีครับ ท่านกามโภคี

ยิ่งท่านยกอรรถกถา อปรอัจฉราสังฆาตวรรค ขึ้นมา ยิ่งเป็นการดีที่ได้แสดง ถึง วิปัสสนา มรรค และผลที่ถูกต้องตรงตาม พระธรรมเทศนาทุกประการ

แต่ท่านได้ย่ำยีอรรถกถานี้ โดยมิจฉาทิฐิด้วยความมัวเมาในกรรมมัฏฐานพองๆ ยุบ ๆ ของท่าน

Quote Tipitaka:
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=207&p=2

ผู้สนใจก็สามารถอ่านอรรถกถาที่ท่านกามโภคีอ้างถึงตาม ลิงค์ดังกล่าวข้างต้น

ก่อนอื่นอ้างถึงความเห็นผิดๆ ถูกๆ ของท่านก่อน

อ้างคำพูด:
อรรถกถาอปรอัจฉราสังฆาตวรรค
บทว่า ณานํ ความว่า ชื่อว่าฌานมี ๒ อย่าง คือ อารัมมณูปนิชฌาน
และลักขณูปนิชฌาน.
ในฌาน ๒ อย่างนั้น สมาบัติ ๘ ชื่อว่า อารัมมณูปนิชฌาน.
ก็สมาบัติ ๘ เหล่านั้น เรียกว่าอารัมมณูปนิชฌาน เพราะ
เข้าไปเพ่งอารมณ์มีปฐวีกสิณเป็นต้น .
วิปัสสนา มรรค และผล ชื่อว่าลักขณูปนิชฌาน. ก็วิปัสสนาชื่อว่า
ลักขณูปนิชฌาน เพราะเข้าไปเพ่ง
ลักษณะของสังขารด้วยอำนาจไตรลักษณ์มีความไม่เที่ยงเป็นต้น .


และเปรียบเทียบ ที่ อรรถกถา ฉบับเต็ม
โดยข้อความบางส่วนดังนี้

พระสูตรแม้นี้ว่า อจฺฉราสงฺฆาตมตฺตํ ดังนี้ ตรัสไว้ในเหตุเกิดเรื่องของอัคคิกขันโธปมสูตร. ก็กถาที่พูดถึงผลของเมตตาที่ไม่ถึงอัปปนาไม่มี. พระธรรมเทศนานี้พึงทราบว่าทรงปรารภในเมื่อเกิดเรื่องนั้นนั่นแล.
ในบทเหล่านั้น บทว่า ปฐมํ มีเนื้อความดังกล่าวไว้ในวิภังค์ว่า เป็นที่ ๑ ตามลำดับแห่งการนับ ชื่อว่าเป็นที่ ๑ เพราะเข้าฌานที่ ๑ นี้.
บทว่า ฌานํ ความว่า ชื่อว่าฌานมี ๒ อย่าง คือ อารัมมณูปนิชฌานและลักขณูปนิชฌาน.

ในฌาน ๒ อย่างนั้น สมาบัติ ๘ ชื่อว่าอารัมมณูปนิชฌาน. ก็สมาบัติ ๘ เหล่านั้น เรียกว่าอารัมมณูปนิชฌาน เพราะเข้าไปเพ่งอารมณ์มีปฐวีกสิณเป็นต้น.

วิปัสสนา มรรค และผล ชื่อว่าลักขณูปนิชฌาน.
ก็วิปัสสนาชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะเข้าไปเพ่งลักษณะของสังขารด้วยอำนาจไตรลักษณ์มีความไม่เที่ยงเป็นต้น.....


ท่านกามโภคี อ่านให้ดีดังนี้

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒
อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
อุปปาทสูตร


[๕๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะตถาคตอุบัติขึ้นก็ตาม ไม่อุบัติ
ขึ้นก็ตาม ธาตุนั้น คือ ความตั้งอยู่ตามธรรมดา ความเป็นไปตามธรรมดา
ก็คงตั้งอยู่อย่างนั้นเอง ตถาคตตรัสรู้ บรรลุธาตุนั้นว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง
ครั้นแล้วจึงบอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้เข้าใจง่ายว่า
สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะตถาคตอุบัติขึ้นก็ตาม ไม่อุบัติขึ้น
ก็ตาม ธาตุนั้น คือ ความตั้งอยู่ตามธรรมดา ความเป็นไปตามธรรมดา ก็คงตั้ง
อยู่อย่างนั้นเอง ตถาคตตรัสรู้ บรรลุธาตุนั้นว่า สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ครั้นแล้ว
จึงบอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้เข้าใจง่ายว่า สังขาร
ทั้งปวงเป็นทุกข์

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะตถาคตอุบัติขึ้นก็ตาม ไม่อุบัติขึ้นก็ตาม
ธาตุนั้น คือ ความตั้งอยู่ตามธรรมดา ความเป็นไปตามธรรมดา ก็คงตั้งอยู่อย่าง
นั้นเอง ตถาคตตรัสรู้ บรรลุธาตุนั้นว่า ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ครั้นแล้วจึง
บอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้เข้าใจง่ายว่า ธรรม
ทั้งปวงเป็นอนัตตา ฯ

โยคาวจรบุคคล เจริญฌานเป็นโลกุตตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลกนำไปสู่นิพพาน
เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน
ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุปัญจมฌาน เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด
ดังนี้ กุศล ฯลฯ
ชนิดสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ดังนี้ วิบาก ฯลฯ เป็นทุกขา-
*ปฏิปทาทันธาภิญญา ดังนี้ กุศล ฯลฯ
ชนิดอนิมิตตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ดังนี้
วิบาก ฯลฯ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ดังนี้ กุศล ฯลฯ
ชนิดอัปปณิหิตะ เป็นทุกขาปฏิปทา-
*ทันธาภิญญา ดังนี้ วิบาก ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ


อ้างคำพูด:
1.การปฏิบัติในไตรลักษณ์ไม่ใช่แค่การดูมันเกิดมันดับตามที่เข้าใจ แต่เป็นการเจริญอนิจจสัญญาเพื่อให้บรรลุอนิมิตตสมาธิ ในปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน และจตุตถฌาน เป็นฌานที่ไม่มีนิมิต ไม่มีเครื่องหมาย
อย่างนี้เรียกว่า สมถะ เรียกว่าลักขณูปณิชฌานเป็นองค์แห่งมรรค นับเรื่องในมรรค

หรือ2.การปฏิบัติในไตรลักษณ์ไม่ใช่แค่การดูมันแปรเปลี่ยนไปตามที่เข้าใจ แต่เป็นการเจริญ ทุกขังสัญญา เพื่อให้บรรลุอัปปณิหิตตะสมาธิในปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน และจตุตถฌาน เป็นฌานอันไม่มีที่ตั้งอยู่ได้ อย่างนี้ก็เรียกว่า สมถะ เรียกว่าลักขณูปณิชฌานเป็นองค์แห่งมรรค นับเรื่องในมรรค

หรือ 3. การปฏิบัติในไตรลักษณ์ไม่ใช่แค่การดูมันไม่ใช่ตัวตนไปตามที่เข้าใจ แต่เป็นการเจริญ อนัตตาสัญญา เพื่อให้บรรลุสุญญตะสมาธิในปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน และจตุตถฌาน เป็นฌานอันว่างเปล่าจากความยึดมั่นถือมั่น อย่างนี้ก็เรียกว่า สมถะ เรียกว่าลักขณูปณิชฌานเป็นองค์แห่งมรรค นับเรื่องในมรรค


ความไม่แตกต่างกัน ทั้งพระสูตร และพระอภิธรรม ทั้งอรรถกถา และการปฏิบัติ
ท่านจะยอมรับหรือไม่


ท่านคงไม่อาจเห็นอารัมณูปฌิสัชฌาน อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ด้วยความว่างจากอรัมณูปณิชฌาน

ท่านก็อ่านที่อรรถกถาที่ท่านยกมา ให้ชัดเจนอีกครั้ง ดังนี้

ก็บรรดาฌาน ๒ อย่างนั้น ในอรรถนี้ประสงค์เอาอารัมมณูปนิชฌาน.
บทว่า โก ปน วาโท เย น พหุลีกโรนฺติ ความว่า ไม่มีคำที่จะพึงกล่าวในชนผู้กระทำปฐมฌานนั้นให้มาก…..

.....เมตตาที่ถึงอัปปนาเท่านั้น ท่านประสงค์เอาในที่นี้. แม้ในกรุณาเป็นต้นก็มีนัยนี้นั่นแล. ก็พรหมวิหาร ๔ เหล่านี้เป็นวัฏฏะ เป็นบาทแห่งวัฏฏะ เป็นบาทแห่งวิปัสสนา เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน เป็นบาทแห่งอภิญญา หรือเป็นบาทแห่งนิโรธ.
แต่ไม่เป็นโลกุตระ.

ก็มรรคท่านเรียกว่าลักขณูปนิชฌาน
เพราะกิจในการเข้าไปเพ่งลักษณะแห่งวิปัสสนา ย่อมสำเร็จด้วยมรรค

ผลท่านเรียกว่าลักขณูปนิชฌานเ พราะเข้าไปเพ่งพระนิพพานอันมีลักษณะเป็นสุญญตะ อนิมิตตะ และอัปปณิหิตะ.
คำที่เหลือในสูตรนี้ พีงเข้าใจโดยนัยดังกล่าวไว้แล้วในหนหลังนั้นแล.


แม้แต่อรรถาจารย์ ก็ยังเข้าใจในพระสูตร พระอภิธรรม ถึงสมถะวิปัสสนาอันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ในพระธรรมเทศนา

กามโภคี เขียน:
ผมยกที่อรรถกถาท่านอธิบายมาให้ดู สติปัญญาคุณที่อธิบายมา ผมขอไม่อ่าน เพราะผิดจากอรรถกถาตั้ง
แต่ต้น ผมไม่อ่านดีกว่า กลัวจำไปผิดๆ
อนึ่ง ผมไม่เชื่อสติปัญญาของคุณมากกว่าการอธิบายของอรรถหถาจารย์ เพราะอรรถกถาจารย์ท่าน
เกิดหลังพุทธกาลไม่นาน ความใกล้งเคียงย่อมมีอยู่มากกว่า


แม้แต่อรรถาจารย์ท่านก็ยังย่ำยี ปานนี้

อรรถกถาจารย์ถูกย่ำยีอย่างไร ?
เพราะคำว่าวิปัสสนาในบริบทนี้ กับวิปัสสนาในตำราพองยุบนั้นมีความหมายแตกต่างกัน
ในตำราพองยุบไม่เอาฌาน
แต่ในบริบทของอรรถกถาจารย์นี้ประกอบด้วยฌาน ที่เรียกว่าลักขณูปณิชฌาน


โพสต์ เมื่อ: 24 ส.ค. 2009, 22:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว



เนื้อความย๊าวยาว .. :b9:

แต่ใจความล่างน่ะ " พองยุบไม่เอาฌาน "

มีบันทึกไว้ที่ไหนหรือคะ คุณเช่นนั้นพอจะนำมาให้อ่านได้หรือเปล่าคะ :b14:

เพราะไม่เคยเจอครูบาฯ ท่านไหนเคยกล่าวไว้เลยว่า พองยุบไม่เอาฌาน :b1:

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสต์ เมื่อ: 24 ส.ค. 2009, 22:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เพื่อความรู้อันถูกต้อง เพื่อเพิ่มพูนสุตตมยปัญญาท่านให้เจริญ โดยไม่ฉวยเอาคำว่า “วิปัสสนา” ไปใช้แต่ชื่อเพียงอย่างเดียวโดยไม่เอาสภาวะธรรมที่ถูกต้องไปด้วย
แต่มาแสดงวิปัสสนาแบบใหม่ไปกับพอง ๆ ยุบๆ ชื่อว่าวิปัสสนาแต่เนื้อหาเป็นพองยุบ

อรรถกถาอปรอัจฉราสังฆาตวรรค เขียน:
วิปัสสนา มรรค และผล ชื่อว่าลักขณูปนิชฌาน.
ก็วิปัสสนาชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน….


ท่านกามโภคี พึงทำความเข้าใจว่า

มรรค และผล เป็นจิต
คือโลกุตตรมรรคจิต โลกุตตรผลจิต โดยมรรคจิต และผลจิต ต่างก็มีลักขณูปฌิชฌานเจือในจิตเหมือนกัน

ลักขณูปณิชฌานได้แก่ สมถะหรือสมาธิที่เป็นอนิมิตตะ อัปปณิหิตตะ หรือสุญญตะ ในฌาน 4
วิปัสสนา มรรค และผล ชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน

วิปัสสนานี้ย่อมเป็นจิตด้วย และย่อมมีสมถะหรือสมาธิที่เป็นอนิมิตตะ หรืออัปปณิหิตตะ หรือสุญญตะด้วย
เพราะการจัดหมวดหมู่สิ่งใดให้เป็นหมู่เดียวกันต้องมีสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ที่เหมือนกันอยู่ภายใน
ดังนั้น จิตวิปัสสนา มรรค และผลจะชื่อว่าลักขณูปนิชฌานได้ต้องมีลักขณูปนิชฌานเหมือนกัน

มรรคจิต และผลจิตประกอบด้วย ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน
หรือปฐมฌาน ฯลฯ ปัญจมฌาน ชนิดอนิมิตตะ อัปปณิหิตตะ และสุญญต
ดังนั้นวิปัสสนาจิตจึงต้องมีปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน
หรือปฐมฌาน ฯลฯ ปัญจมฌาน ชนิดอนิมิตตะ อัปปณิหิตตะ และสุญญตะด้วย จึงจะสามารถจัดหมวดหมู่เข้าด้วยกันได้

ทั้งมรรคจิต และผลจิต ต่างก็ว่างจากอารัมณูปณิชฌาน คือกามสัญญา รูปสัญญา และอรูปสัญญา อันเป็นโลกียะฌาน(เช่นพรหมวิหาร 4 ในอรรถกถานี้เป็นตัวอย่าง)

มรรคจิต และผลจิต ต่างกันตรงไหน
มรรคจิต เป็นโลกุตตรกุศลจิตโดยความเป็นเหตุ
ผลจิต เป็นวิบากแห่งโลกุตตรกุศลจิต โดยความเป็นผล

วิปัสสนาจิต และมรรคจิต ต่างกันตรงไหน
อรรถกถากล่าวว่า.. เพราะกิจในการเข้าไปเพ่งลักษณะแห่งวิปัสสนา ย่อมสำเร็จด้วยมรรค
ดังนั้นวิปัสสนาจิตแม้มีลักขณูปนิชฌานก็ตามที แต่มีที่สำเร็จเป็นมรรคจิตได้ก็มี ล้มเหลวไม่สำเร็จก็มี
เพราะลักขณูปนิชฌาน ไม่ใช่เป็นตัวชี้วัดความสำเร็จหรือล้มเหลวเป็นมรรคจิต


อรรถกถานี้ ก็ย่อมแสดงว่า ปุถุชนผู้ปฏิบัติสมถะวิปัสสนา เพ่งลักษณะแห่งวิปัสสนา มีสภาวะ 2 ประการคือ
สำเร็จ หรือ ล้มเหลว

ซึ่งปุถุชนผู้ปฏิบัติธรรม มีอนิจจสัญญา หรือทุกขังสัญญา หรืออนัตตสัญญา อันเป็นอนิมิตตะสมาธิ หรืออัปปณิหิตตสมาธิ หรือสุญญตสมาธิ จะสำเร็จหรือล้มเหลว ต้องสำเร็จด้วยมรรคเสมอ

ดังนั้นเมื่อวิปัสสนาในบริบทนี้เป็นองค์ธรรมเจือกับจิต เป็นคุณภาพของจิตที่เป็นเหตุ แต่ไม่สมบูรณ์พร้อมที่จะเป็นมรรคได้จึงเรียกว่าวิปัสสนาจิตที่ล้มเหลวในการก่อ มรรคจิต

วิปัสสนาในบริบทนี้ จะสมบูรณ์พร้อมที่จะเป็นมรรคจิตได้ หรือเรียกว่า วิปัสสนาจิตที่ก่อเป็นมรรคจิตได้สำเร็จ หาใช่สำเร็จด้วยลักขณูปนิชฌานไม่
แต่ความสำเร็จนั้นขึ้นอยู่กับองค์ธรรมอีกประการหนึ่งคือ อัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ หรืออัญญิณทรีย์ หรือ อัญญาตาวินทรีย์
เพราะ อนัญญตัญญัสสมีตินทรีย์ ทำลายสังโยชน์ 3 อัญญินทรีย์ ทำลายสังโยชน์ เบื้องต่ำ5 เบื้องสูง5

ปุถุชนถึงแม้จะเจริญอรหัตมรรค มีใจส่งไปในพระธรรมเทศนา ไม่ข้องในกามสัญญา รูปสัญญา อรูปสัญญา มีความยินดีในธรรม ก็ชื่อว่าเจริญวิปัสสนาจิต มีลักขณูปนิชฌาน แต่จะก่อมรรคจิตได้หรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์แห่งอินทรีย์ 3 ในวิปัสสนาจิตนั้น

อย่างไรก็ตาม วิปัสสนาจิตที่สำเร็จเป็นมรรคจิตได้ย่อมเข้าสู่กระแสพระนิพพานได้
แต่วิปัสสนาจิตที่ล้มเหลว ก็ยังเป็นกุศลจิตทีทำให้กิเลสสังโยชน์นั้นบางเบาลงไปเรื่อย ๆ เพื่อการก่อมรรคจิตในกาลต่อ ๆ ไป มีคุณมีอานิสงส์ต่อผู้เจริญวิปัสสนาสืบต่อไป

ดังนั้นวิปัสสนาจิต จะได้ชื่อว่าลักขณูปนิชฌาน แบบเดียวกับมรรคจิตและผลจิต จึงต้องประกอบด้วย ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน หรือปฐมฌาน ฯลฯ ปัญจมฌาน ชนิดอนิมิตตะ อัปปณิหิตตะ และสุญญตะ
อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค
จึงกล่าวได้ว่าวิปัสสนา มรรค ผล เป็นลักขณูปนิชฌาน ในพระศาสนานี้

อ้างคำพูด:
ธรรมะ ของพระอริยเจ้า นั้นนำมาสอนปุถุชนให้ปฏิบัติเป็นพระอริยะเจ้า ไม่ได้เอาไว้สอนพระอริยะเจ้าเพื่อปฏิบัติ เพราะท่านปฏิบัติเสร็จกิจแล้ว


โพสต์ เมื่อ: 24 ส.ค. 2009, 23:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:

เนื้อความย๊าวยาว .. :b9:

แต่ใจความล่างน่ะ " พองยุบไม่เอาฌาน "

มีบันทึกไว้ที่ไหนหรือคะ คุณเช่นนั้นพอจะนำมาให้อ่านได้หรือเปล่าคะ :b14:

เพราะไม่เคยเจอครูบาฯ ท่านไหนเคยกล่าวไว้เลยว่า พองยุบไม่เอาฌาน :b1:


กามโภคี เขียน:
ถูกครับ ผมไม่เอาฌาน ผมเอากิเลสออก โดยที่สุดของการปฏิบัติ ฌานก็ต้องล่ะ ส่วนจิตผมจะเป็นอย่างไรรูปหรืออรูป ผมก็ดูมันไปตามจริงที่มันเป็น ใช่หรือไม่ มันก็เป็นไปของมันอยู่แล้ว ผมปฏิบัติเพื่อเข้าใจ
ไตรลักษณ์ เข้าใจในอริยสัจอย่างปัจจักข์ญาณ ไม่อยากได้รูปหรืออรูปหรอกครับ

วิธีของสุทธวิปัสสนา ไม่ต้องทำฌานจิตเพื่อรูปาวจรหรืออรูปาวจร แต่กำหนดรู้สภาวะของรูปนามสลับ
กันไปตามที่ปรากฏ เมื่อแทงตลอดไตรลักษณ์ด้วยสภาวะรูป ก็จะอนุมานไปถึงนามได้ เมื่อแทงตลอด
ไตรลักษณ์ด้วยสภาวะนาม ก็จะอนุมานไปถึงรูปได้


คุณ walaiporn ก็คงต้องไปถาม ผู้มีิมิจฉาทิฏฐิผู้นี้ หรือวิปัสสนาจารย์ทึ่สั่งสอนดูแลผู้นี้เองว่าดูแลอย่างไร
พองๆ ยุบๆ วิปัสสนึก


โพสต์ เมื่อ: 25 ส.ค. 2009, 00:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
walaiporn เขียน:


กามโภคี เขียน:
ถูกครับ ผมไม่เอาฌาน ผมเอากิเลสออก โดยที่สุดของการปฏิบัติ ฌานก็ต้องล่ะ ส่วนจิตผมจะเป็นอย่างไรรูปหรืออรูป ผมก็ดูมันไปตามจริงที่มันเป็น ใช่หรือไม่ มันก็เป็นไปของมันอยู่แล้ว ผมปฏิบัติเพื่อเข้าใจ
ไตรลักษณ์ เข้าใจในอริยสัจอย่างปัจจักข์ญาณ ไม่อยากได้รูปหรืออรูปหรอกครับ

วิธีของสุทธวิปัสสนา ไม่ต้องทำฌานจิตเพื่อรูปาวจรหรืออรูปาวจร แต่กำหนดรู้สภาวะของรูปนามสลับ
กันไปตามที่ปรากฏ เมื่อแทงตลอดไตรลักษณ์ด้วยสภาวะรูป ก็จะอนุมานไปถึงนามได้ เมื่อแทงตลอด
ไตรลักษณ์ด้วยสภาวะนาม ก็จะอนุมานไปถึงรูปได้


คุณ walaiporn ก็คงต้องไปถาม ผู้มีิมิจฉาทิฏฐิผู้นี้ หรือวิปัสสนาจารย์ทึ่สั่งสอนดูแลผู้นี้เองว่าดูแลอย่างไร
พองๆ ยุบๆ วิปัสสนึก




อ๋อ ... ค่ะ .... :b1:

คุณกามคงลืมเขียนกระมังคะว่า นี่เป็นแนวทางในการปฏิบัติของเขา

อย่าไปว่ากล่าวละเมิดถึงครูบาฯเลยค่ะ ท่านไม่ได้มารู้เรื่องอะไรด้วย :b8:

อย่างตัวเองนี่ เอา ฌาณ ค่ะ คือ นำกำลังของฌาณมาใช้
เพื่อสมาธิจะได้ตั้งมั่นอยู่ได้นานๆ การทำวิปัสสนามันก็ชัดเจนขึ้น ....

คงต้องบอกว่า ใครถนัดแบบไหนทำแบบนั้นมากกว่ามังคะ
พอทำได้แบบไหน ก็เลยนำแบบที่ทำได้มาแนะนำคนอื่นๆอีกที
ถึงได้มีหลายสาย หลายแขนงแตกต่างกันไปไงคะ :b1:

ตัวเองเป็นพวกไม่มีรูปแบบค่ะ ไม่ได้ยึดสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
แต่อะไรที่เห็นว่าทำแล้วเกิดประโยชน์ได้ ก็จะนำมาพลิกแพลงใช้
เอานะคะ ... บางทีคำพูดอาจจะมีตกหล่นกันไปบ้าง
อโหสิต่อกันนะคะ ...

แต่ขออย่างหนึ่งค่ะ อย่านำครูบาฯมาละเมิดกันเลยค่ะ
จะมีผลต่อการปฏิบัติกันเปล่าๆ ... ขอบคุณค่ะ :b8:

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสต์ เมื่อ: 25 ส.ค. 2009, 00:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
อย่าไปว่ากล่าวละเมิดถึงครูบาฯเลยค่ะ ท่านไม่ได้มารู้เรื่องอะไรด้วย


ใครอ้างครูอาจารย์
อ้างคำพูด:
อย่าเลย ห่วงตัวเองเถิดครับ ผมมีวิปัสสนาจารย์ดูแลผมอยู่ครับ


อ้างคำพูด:
พระโสภณมหาเถระ ท่านชำนาญในเนตติปกรณ์ แล้วถ่ายทอดให้ท่านพระอาสภมหาเภระ
ท่านอาสภมหาเถระประสิทธิ์ประสาทให้ท่านญาณสิทธิภิกขุตามแนวทางเนตติปกรณ์
ท่านญาณสิทธิภิกขุอบรมสั่งสอนคุณปู่คุณย่าผมตามแนวทางนี้
คุณปู่คุณย่าผมสั่งสอนผมตามแบบแผนนี้ ก็ไม่น่าผิดอะไร


และสุดท้ายคำพูดนี้ ใครล่วงเกินครูอาจารย์

อ้างคำพูด:
อย่าเชื่อเพราะคนพูดเป็นพระหรือเป็นคนน่านับถือครับ เรามีปัญญาที่จะรู้เข้าใจ มี ศรัทธา วิริยะ สติ
สมาธิ ปัญญา พร้อมที่ฝึกได้เหมือนๆกันทุกคน
คุณลองพิจารณานะครับว่า ที่ผมพูดถูกหรือไม่ ตามเหตุผล อย่าตามทิฏฐิครับ


และใครที่กล่าวว่าพระไตรปิฏกไม่น่าเชื่อถือ

ถึงแม้จะกล่าวว่าเป็นการปฏิบัติโดยแนวทางของเ้ค้าเอง ก็อย่ากล่าวอ้างว่าเป็นสิ่งที่พระพุทธองค์ตรัสสอน
เป็นการกล่าวตู่พระพุทธองค์

จึงจำเป็นต้อง อบรม ให้รู้ว่า พระธรรมที่ปรากฏในพระไตรปิฏก ไม่อาจาจะนำคัมภีร์ใดๆ ที่แต่งขึ้นโดยมติอาจารญ์รุ่นหลังมาซึ่งผิดๆ ถูกๆ มางัด แล้วเที่ยวประกาศว่านี่คือสิ่งที่พระพุทธองค์ตรัสสอน

โปรดเข้าใจตามนี้
จนกว่า ผู้มีมิจฉาทิฏฐิจะยอมรับความจริงว่า สิ่งที่เค้ารู้มานั้นเป็นเพียง มติอาจารย์ ซึ่งขัดกับหลักธรรมคำสอนในพระไตรปิฏก ซึ่งไม่อาจกล่าวได้ว่าพลิกแพลงเอง ก็คือถูกต้อง
การถูกต้องหรือไม่ถูกต้อง ก็อาศัยพระธรรมและหลักการปฏิบัติที่พระพุทธองค์ตรัสสอน ไม่ใช่บัญญัติเองเออเอง มั่วเองแล้วประกาศว่าถูกต้อง


แก้ไขล่าสุดโดย เช่นนั้น เมื่อ 25 ส.ค. 2009, 01:09, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสต์ เมื่อ: 25 ส.ค. 2009, 01:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
อ้างคำพูด:
อย่าไปว่ากล่าวละเมิดถึงครูบาฯเลยค่ะ ท่านไม่ได้มารู้เรื่องอะไรด้วย


ใครอ้างครูอาจารย์
อ้างคำพูด:
อย่าเลย ห่วงตัวเองเถิดครับ ผมมีวิปัสสนาจารย์ดูแลผมอยู่ครับ


อ้างคำพูด:
พระโสภณมหาเถระ ท่านชำนาญในเนตติปกรณ์ แล้วถ่ายทอดให้ท่านพระอาสภมหาเภระ
ท่านอาสภมหาเถระประสิทธิ์ประสาทให้ท่านญาณสิทธิภิกขุตามแนวทางเนตติปกรณ์
ท่านญาณสิทธิภิกขุอบรมสั่งสอนคุณปู่คุณย่าผมตามแนวทางนี้
คุณปู่คุณย่าผมสั่งสอนผมตามแบบแผนนี้ ก็ไม่น่าผิดอะไร


และสุดท้ายคำพูดนี้ ใครล่วงเกินครูอาจารย์ก่อน

อ้างคำพูด:
อย่าเชื่อเพราะคนพูดเป็นพระหรือเป็นคนน่านับถือครับ เรามีปัญญาที่จะรู้เข้าใจ มี ศรัทธา วิริยะ สติ
สมาธิ ปัญญา พร้อมที่ฝึกได้เหมือนๆกันทุกคน
คุณลองพิจารณานะครับว่า ที่ผมพูดถูกหรือไม่ ตามเหตุผล อย่าตามทิฏฐิครับ


และใครที่กล่าวว่าพระไตรปิฏกไม่น่าเชื่อถือ

ถึงแม้จะกล่าวว่าเป็นการปฏิบัติโดยแนวทางของเ้ค้าเอง ก็อย่ากล่าวอ้างว่าเป็นสิ่งที่พระพุทธองค์ตรัสสอน
เป็นการกล่าวตู่พระพุทธองค์




อื่มมม .... เข้าใจแล้วค่ะ ...
ขอบคุณที่นำรายละเอียดมาให้อ่าน ถึงบอกว่าข้อความย๊าวยาว

ใครสร้างเหตุอย่างไร ย่อมได้รับผลเช่นนั้นค่ะ :b8:
วิบากกรรมหนอ .....

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 118 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร