วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 15:29  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 118 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6 ... 8  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ส.ค. 2009, 13:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


เอ... เมื่อกี้อะไรแว๊บๆว่าใครนะปฏิบัติแบบโลกุตรจิต แบบอรหัตตมรรคจิต
พยากรณ์ความเป็นพระอรหันต์เลยเชียว
เฮ่อ...ลบออกไปทำไมกันนะ

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ส.ค. 2009, 14:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
เพราะท่านขาดความรู้องค์ธรรมทั้งหลายน๊ะครับ
เช่นนั้น บอกให้น๊ะครับ ไม่ว่าท่านจะปฏิบัติอะไรก็ตาม เช่นพองๆ ยุบ น๊ะครับ


คุณบอกมาซิครับ อธิบายมาซิครับ ว่าขาดตัวไหน อย่างไรถึงว่าขาด พูดลอยๆไม่เหมาะกับคนที่มี
ความรู้ความเข้าใจเลย ปรับบทหน่อยครับ ไม่ใช่ว่าคนอื่น แต่ปรับสิ่งที่ว่าเข้ากับบทที่จะนำมาอ้างไม่ได้

เช่นนั้น เขียน:
จิตน๊ะครับ จิตก็ได้แก่ กามาวจร รูปาวจร อรูปวจร และโลกุตตรฌาน
(ภาคปฏิบัตินะครับท่าน)


ผู้ปฏิบัติไม่จำเป็นต้องรู้เรื่องพวกนี้ก็ได้ ถ้ารู้เรื่องพวกนี้ คนเรียนอภิธรรมคงบรรลุกันหมดแล้ว
และเวลาปฏิบัติ ก็ไม่ต้องมานั่งนึกตรึกตรงเรื่องพวกนี้ด้วย เพราะการปฏิบัติวิธีไหน ก็ต้องอยู่กับ
ปัจจุบัน

และที่คุณบอกมาทั้งหมดนี้ ถ้าคุณปฏิบัติจริงๆ คุณจะรู้เลยว่า ต้องวางก่อน ไม่เอามาคิดมารู้ตอนปฏิบัติ
ถ้าเอามาคิดตอนนั้น ก็ส่ายไปอารมณ์ของปริยัติแล้วครับ สภาวะปรมัตถ์ในเวลาปรากฏในขณะปฏิบัติ
ไม่มีชื่อหรอก
ที่คุณบอกนะ บัญญัติกันเพื่อรู้่เวลาศึกษาครับ เพื่อความเข้าใจตรงกัน

เช่นนั้น เขียน:
ท่านเริ่มปฏิบัติธรรม ท่านบอกท่านภาวนา ท่านไม่เอาฌาน ก็แสดงว่า จิตท่านไม่ใช่รูปาวจร ไม่ใช่อรูปวจร และไม่ใช่โลกุตตรฌาน


ถูกครับ ผมไม่เอาฌาน ผมเอากิเลสออก โดยที่สุดของการปฏิบัติ ฌานก็ต้องล่ะ ส่วนจิตผมจะเป็นอย่างไรรูปหรืออรูป ผมก็ดูมันไปตามจริงที่มันเป็น ใช่หรือไม่ มันก็เป็นไปของมันอยู่แล้ว ผมปฏิบัติเพื่อเข้าใจ
ไตรลักษณ์ เข้าใจในอริยสัจอย่างปัจจักข์ญาณ ไม่อยากได้รูปหรืออรูปหรอกครับ

เช่นนั้น เขียน:
ท่านเริ่มปฏิบัติธรรมเจริญวิปัสสนาด้วย กามาวจรจิต ท่านจะยอมรับความจริงข้อนี้หรือเปล่าครับ


ถูกครับ เจริญสติด้วย กามาวจรจิต แต่เป็นประเภท กามาวจรโสภณจิตและกามาวจรมหาวิปากจิต
ซึ่งจัดอยู่ใน กามาวจรกุศลจิต ถ้าแบบนี้ยอมรับ แต่ในขณะเจริญสตินั้น จะไม่ยินดียินร้ายใน
สภาวะของจิตที่รู้อารมณ์สภาวะต่างๆ กำหนดรู้ด้วยสติสัมปชัญญะ จะดวงไหน แบบไหน ก็มีหน้าที่
รู้ภาวะเท่านั้น เห็นตามจริงเท่านั้น


คุณละครับ เจริญสติด้วยจิตแบบไหน หวังว่าคงไม่ใช่กามาวจรจิตนะครับ



เช่นนั้น เขียน:
ส่วนสติเช่นนั้นเป็นอย่างไร ก็ติดไว้ก่อนอีกเช่นเดิม


๒ ข้อนะครับ ข้อนี้ที่ติดอยู่กับ ที่ทำตัวหนาไว้ครับ เป็น ๒ พอดี

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ส.ค. 2009, 22:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดียามค่ำครับคุณกามโภคี

สาธุครับ ที่ท่านกามโภคี ไม่ได้หลอกตัวเอง ท่านเป็นบุคคลที่น่าสรรเสริญครับ เช่นนั้นกล่าวจากใจจริงน๊ะครับ ท่านเป็นบุคคลที่กล้าบอกว่า จิตท่านเป็นกามาวจรกุศลจิต และไม่เอาฌาน

อ้างคำพูด:
ถูกครับ ผมไม่เอาฌาน ผมเอากิเลสออก โดยที่สุดของการปฏิบัติ ฌานก็ต้องล่ะ ส่วนจิตผมจะเป็นอย่างไรรูปหรืออรูป ผมก็ดูมันไปตามจริงที่มันเป็น ใช่หรือไม่ มันก็เป็นไปของมันอยู่แล้ว ผมปฏิบัติเพื่อเข้าใจไตรลักษณ์ เข้าใจในอริยสัจอย่างปัจจักข์ญาณ ไม่อยากได้รูปหรืออรูปหรอกครับ


อ้างคำพูด:
ถูกครับ เจริญสติด้วย กามาวจรจิต แต่เป็นประเภท กามาวจรโสภณจิตและกามาวจรมหาวิปากจิต
ซึ่งจัดอยู่ใน กามาวจรกุศลจิต ถ้าแบบนี้ยอมรับ แต่ในขณะเจริญสตินั้น จะไม่ยินดียินร้ายใน
สภาวะของจิตที่รู้อารมณ์สภาวะต่างๆ กำหนดรู้ด้วยสติสัมปชัญญะ จะดวงไหน แบบไหน ก็มีหน้าที่
รู้ภาวะเท่านั้น เห็นตามจริงเท่านั้น


เช่นนั้นเพียงต้องการคำตอบจากท่านเพียงเท่านี้เองครับ ถ้าไม่อย่างนั้น ก็คงสนทนากันไม่รู้เรื่องต่อไปเพราะท่าน เคยถามเช่นนั้นว่า "รู้รูปหรือกายแบบนี้เป็นกามสัญญาตรงไหน" ถ้าท่านไม่ยอมรับว่าจิตท่านเป็นกามาวจรกุศลจิต และไม่เอาฌาน ก็คงแสดงเรื่องเกี่ยวกับ "กามสัญญา", เรื่องวิปปัลลาส 4, เรืองนิวรณ์, เรื่องมรรคปฏิปทาของพองยุบ ที่ท่านปฏิบัติ และอีกหลายเรื่องได้

คืนนี้ ก็จะจิบน้ำชาไป พิมพ์ไป เท่าที่สังขารจะอำนวยนะครับ ก็จะเริ่มที่ กามสัญญา ก่อนน่าจะเหมาะสมสำหรับภูมิธรรมที่ท่านมีครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ส.ค. 2009, 22:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กามสัญญา

อ้างคำพูด:
พองหนอ ยุบหนอ ตรงไหนบอกว่ากามสัญญาครับ พอง คืออาการที่ท้องค่อยๆพองขึ้น รูแบบนี้
เป็นกามเหรอครับ รู้รูปหรือกายแบบนี้เป็นกามสัญญาตรงไหน พระพุทธองค์แนะนำแบบนี้ไว้นะครับ
รู้ตามจริง มันพองก็ว่าพองไงครับ
คำว่าหนอ ตรงไหนบอกว่ากามสัญญา หนอแล้วจบ คำว่าหนอเองก็ไม่ส่อไปใน
ทางดีหรือร้ายเลย แม้แต่พระอุทานของพระพุทธเจ้า ยังมีคำว่าหนอเลย หนอคำนี้ไม่มีอคติ


กามสัญญาไม่ได้เกี่ยวกับพองหรือยุบแต่เพียงอย่างเดียว แต่เกี่ยวกับจิตที่ใช้ในการดูพองดูยุบต่างหากถ้าเป็นกามาวจรไม่บรรลุรูปฌาน อรูปฌาน หรือโลกุตตรฌาน จิตท่านมีกามสัญญาเพราะชนิดของจิต การเพ่งพองยุบด้วยกามาวจรจิตไม่เอาฌานนี่แหละ เรียกว่ามีกามสัญญา

แม้ว่าท่านจะเพ่งพองๆ ยุบๆ อย่างไร รู้ด้วยอาการอย่างไร ท่านก็รู้แค่ปัจจุบัน คือ ท่านอาจจะรู้แล้วไม่ยินดีไม่ยินร้ายไม่ใส่ใจแต่ ไม่ได้ประหานกิเลสด้วยมรรค จิตที่เป็นกามาวจรจิต เมื่อรู้ก็ย่อมดับ ดับแล้วก็เกิด แต่กิเลสมันไม่ดับเมื่อกามาวจรสติของท่านยังดูกามอยู่
กามาวจรจิตที่แล่นไปรับรู้ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส จิตก็จำรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสในปัจจุบันขณะ เรียกว่าจำกาม

ดูพอง-ยุบแล้วเห็นทุกข์ อุปธิย่อมเกิดขึ้น
ดูพอง-ยุบแล้วมีปิติสุขเกิดขึ้น อุปธิย่อมเกิดขึ้น
ดูพอง-ยุปแล้วมีอทุกขมสุขเวทนาเกิดขึ้น อุปธิย่อมเกิดขึ้น

เพราะจิตท่านเป็นกามาวจรโสภณจิตและกามาวจรมหาวิปากจิตซึ่งจัดอยู่ในกามาวจรกุศลจิต(โลกียะจิต) เป็นจิตที่ไม่สงัดจากกาม ชุ่มด้วยกามสัญญา ท่านไม่ได้เปลี่ยนคุณภาพจิตของท่านเป็นรูปาวจร หรือ อรูปาวจร หรือ โลกุตตระจิต

ดังนั้น พระสูตรที่เคยแสดงไว้ ดังนี้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่ไม่ควรมนสิการ ที่ปุถุชนมนสิการเป็นไฉน?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อปุถุชนนั้นมนสิการธรรมเหล่าใดอยู่ กามาสวะก็ดี ภวาสวะก็ดี อวิชชาสวะก็ดี ที่ยังไม่เกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเจริญขึ้น ธรรมที่ไม่ควรมนสิการเหล่านี้ที่เขามนสิการอยู่

จึงเป็นเหตุให้เกิดทุกข์

ไม่ว่ากุศลจิต หรือกุศลวิบากจิต และหรืออกุศลจิต หรืออกุศลวิบากจิตเกิดขณะพองยุบ จิตเหล่านี้ก่อให้เกิดอุปธิเพื่อภพต่อไป

เมื่อปุถุชนมีจิตอันชุ่มอยู่ในกิเลสตัณหา เมื่อเดินก็รู้ว่าเดิน เมื่อนั่งก็รู้ว่านั่ง จิตย่อมมีรูปขันธ์ เป็นอารมณ์ พัวพันในรูป อันเป็นกามสัญญา จิตของปุถุชนผู้นั้น ย่อมเป็นมิจฉาสมาธิอันเป็นไปด้วยอำนาจแห่งโมหะเป็นมูลเหตุ เอกัคคตารมณ์ย่อมมีแม้แต่อกุศลจิตครับ เอกัคคตาเจตสิกมีในจิตทุกดวงอยู่แล้วครับ จิตที่เป็นมิจฉาสมาธิ พัวพันในกามสัญญา ขณะนั้น ไร้สติ ไร้สัมปชัญญะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ส.ค. 2009, 16:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
กามสัญญาไม่ได้เกี่ยวกับพองหรือยุบแต่เพียงอย่างเดียว แต่เกี่ยวกับจิตที่ใช้ในการดูพองดูยุบต่าง

หาก
ถ้าเป็นกามาวจรไม่บรรลุรูปฌาน อรูปฌาน หรือโลกุตตรฌาน จิตท่านมีกามสัญญาเพราะชนิดของจิต การ

เพ่งพองยุบด้วยกามาวจรจิตไม่เอาฌานนี่แหละ เรียกว่ามีกามสัญญา

ครับ ถูกต้องเกี่ยวกับจิตที่เป็นผู้รู้อาการพองยุบ
คุณคิดว่าไม่มีวิธีอื่นหรือครับที่ทำให้จิตพ้นจากกามสัญญาได้
ถ้าคุณคิดเช่นนั้น คุณกำลังคิดผิดครับ จะด้วยเหตุผลอะไรที่คุณคิดเช่นนั้น ลองอ่านตรงนี้ก่อน

การปฏิบัติเพื่อหลุดพ้นจากอาสวะ ตามนัยแห่งมหาสติปัฏฐานสูตรไม่มีแบ่งแยกไว้ว่า อะไรต้องเป็น
รูปาวจรจิต อรูปาวจรจิต หรือโลกุตรจิต แต่อธิบายวิธีไว้ มีหลักประกอบที่สำคัญไว้แน่ชัด ทั้งไม่กำหนด
ว่าจะต้องเป็นจิตอย่างที่คุณกล่าว แต่ในนั้นจะมีระบบที่เป็นไปตามวิถีทางที่ปฏิบัติ


การที่คุณกล่าวว่าต้องเป็น รูป อรูป นั้น ถูกในส่วนหนึ่ง แต่ไม่ทั้งหมด เพราะ......
คนที่ทำฌานแล้วทำวิปัสสนาต่อ ถ้าไม่ตลอดรอดฝั่งจนถึงมรรคผล เมื่อออกจากฌานแล้ว ก็ไม่ต่างจาก
ผู้ที่มิได้ทำฌานเป็นเลย ทั้งจิตก่อนที่ทำฌาน จิตก็เป็นอย่างสูงได้แค่กุศลจิต
ข้อนี้ดูพระเทวทัตเป็นตัวอย่างครับ เว้นในพระอริยบุคคลบางระดับเท่านั้น ที่จะละกามสัญญาได้เด็ดขาด


ส่วนโลกุตรจิตนั้น ไม่ต้องพูดถึงเพราะไม่สามารถนำมาปฏิบัติได้ เนื่องจากเป็นสภาวะของมรรคผล
เกิดขึ้นในขณะบรรลุ เรียกเป็นรูปธรรมว่า จิตขณะนั้นมีนิพพานเป็นอารมณ์ เมื่อมีนิพพานเป็นอารมณ์แล้ว
รูปนามไม่เกิดขึ้น การพิจารณาไตรลักษณ์หรืออื่นๆตามวิปัสสนา ก็จะไม่มี เพราะรูปนามเป็นอารมณ์ของ
วิปัสสนา เมื่อไม่มี กิจที่จะต้องพิจารณาก็ไม่มี ข้อนี้ตรองให้ดีๆครับ


การปฏิบัติกรรมฐานเพื่อเจริญปัญญานั้น ท่านแยกวิธีไว้ ๒ แนวทางคือ
๑.สมถยานิก และ ๒.วิปัสสนายานิก

การที่คุณพูดถึง รูปาวจร อรูปาวจร เป็นวิธีของสมถะยานิก ในวิปัสสนายากนิก ไม่จำเป็นต้องทำฌาน
เพื่อให้เกิดจิตเช่นนั้นก่อน แต่จะสามารถระงับนิวรณ์และเข้าถึงวิสุทธิ์แห่งจิตได้ ด้วยสมาธิที่เกิดมาเป็น
ขณะๆ แต่มีสภาวะกำลังและคุณภาพทัดเทียมกับอุปจารสมาธิในเบื้องต้น และในเบื้องปลาย สมาธินั้นจะ
พัฒนากำลัง (สมาธิพละ) สูงขึ้น กล้าขึ้น มีคุณภาพทัดเทียมกับอัปปันนาสมาธิ สมาธิข้อหลังนี้ เป็น
สมาธิที่จะใช้ก่อนการเกิดขึ้นของมรรคจิตเท่านั้น

การปฏิบัติแบบสมถยานิก และ วิปัสสนายานิก ทั้ง ๒ วิธีนี้ ละกามสัญญาได้ ตราบเท่าที่ยังอยู่ใน
กรรมฐานหรือผ่านมรรคผลชั้นสูงไปเลยเท่านั้น มีหลักฐานจากอรรถกถามาคันทิยสูตรดังนี้


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต (อรรถกถามาคันทิยสูตร)

บทว่า สญฺญาวิรตฺตสฺส แก่บุคคลผู้คลายสัญญาได้แล้ว คือ สัญญามีกามสัญญาเป็นต้น
จะได้แล้วด้วยภาวนาอันมีเนกขัมสัญญาเป็นหัวหน้า. ด้วยบทนี้ท่านประสงค์เอาสมถยานิก
(มีสมถะเป็นยาน) อันเป็นอุภโตภาควิมุต (พ้นแล้วทั้งสองฝ่าย).

บทว่า ปญฺญาวิมุตฺตสฺส แก่บุคคลผู้หลุดพ้นแล้วด้วยปัญญา คือหลุดพ้นแล้วจากกิเลสทั้งปวงด้วย
ภาวนาอันมีวิปัสสนาเป็นหัวหน้า ด้วยบทนี้ท่านประสงค์เอาพระสุกขวิปัสสก


ในอรรถกถานี้ หมายเอาที่การบรรลุพระอรหัตตผล แต่บังเอิญเหลือเกิน สิ่งที่ท่านอธิบายมา แยกแบ่ง
เหตุและผลของการปฏิบัติทั้ง ๒ วิธีมา
จุดประสงค์ตรงนี้ ท่านหมายอธิบายคำว่า สญฺญาวิรตฺตสฺส คือผู้ที่คลายสัญญาได้
ท่านก็อธิบายครั้งแรกว่า.... หมายเอาสมถยานิก ซึ่งเป็นอุภโตภาควิมุต คือหลุดพ้นด้วยเหตุ ๒ อย่างคือ ด้วยฌานจิตและดำเนินทางของวิปัสสนาต่อไป (ทำสมถฌานแล้วดำเนินต่ิอในวิปัสสนาวิธี)
และท่านอธิบายการหลุดพ้นอีกอย่างหนึ่งของบุคคลบางจำพวก คือพวกนี้จะหลุดพ้นด้วยภาวนาอันมี
วิปัสสนาเป็นหัวหน้า ท่านเรียกว่าสุกขวิปัสสโก ในที่นี้บางคัมภีร์จะเรียกวิธีนี้ว่า สุทธวิปัสสนา คือ
ปฏิบัติวิปัสสนาวิธีล้วนๆ โดยไม่ทำการฝึกจิตตามแนวของสมถยานิกก่อน


การปฏิบัติตามแนวพอง-ยุบนั้น จัดอยู่ในพวกหลัง คือสุกขวิปัสสก ถ้ายังไม่ถึงพระอรหันต์จะเรียกวิธีนี้ว่า วิปัสสนายานิก สุทธวิปัสสนา หรือ ปัญญาวิมุต(เมื่อหลุดพ้นแล้ว)

วิธีการโดยย่อ

วิธีของรูปาวจร อรูปาวจร จะทำฌานจิตเพื่อให้สภาวะธรรมเกิดแล้วพิจารณาตามสภาวะที่เริ่มเปลี่ยนไป
กล่าวคือ กำหนดรู้จิตก่อน กำหนดรู้จิตในขณะที่เป็นมหัคคต กำหนดรู้จิตเมื่อพ้นจากมหัคคต พูดง่ายๆว่าเอาสภาวะนามเป็นเครื่องมือในการพิจารณา เมื่อบรรลุมรรคผลแล้ว สามารถน้อมอนุมานไตรลักษณ์ที่ประจักแจ้งนั้นมาสู่รูปได้ ข้อนี้มีปรากฏในมหาสติปัฏฐานสูตร ข้อจิตตานุปัสสนาฯ

วิธีของสุทธวิปัสสนา ไม่ต้องทำฌานจิตเพื่อรูปาวจรหรืออรูปาวจร แต่กำหนดรู้สภาวะของรูปนามสลับ
กันไปตามที่ปรากฏ เมื่อแทงตลอดไตรลักษณ์ด้วยสภาวะรูป ก็จะอนุมานไปถึงนามได้ เมื่อแทงตลอด
ไตรลักษณ์ด้วยสภาวะนาม ก็จะอนุมานไปถึงรูปได้


ขณะจิตที่ละกามสัญญาในแต่ละวิธี

ในสมถยานิก ละกามสัญญาในขณะที่จิตเป็น รูปาวจร และ อรูปาวจร ทันที
ในสุทธวิปัสสนา หรือ วิปัสสนายานิก จะละเป็นลำดับไป นับตั้งแต่เริ่มสติ และ สมาธิ จิต เริ่มกำหนดรู้สภาวะต่างๆโดยความเป็นกลางตามที่จะได้อธิบาย

จะได้อธิบายถึงขั้นตอนการละกามสัญญาของผูปฏิบัติแนวพอง-ยุบต่อไป


เช่นนั้น เขียน:
แม้ว่าท่านจะเพ่งพองๆ ยุบๆ อย่างไร รู้ด้วยอาการอย่างไร ท่านก็รู้แค่ปัจจุบัน คือ ท่านอาจจะรู้แล้วไม่ยินดีไม่ยินร้ายไม่ใส่ใจแต่ ไม่ได้ประหานกิเลสด้วยมรรค จิตที่เป็นกามาวจรจิต เมื่อรู้ก็ย่อมดับ ดับแล้วก็เกิด แต่กิเลสมันไม่ดับเมื่อกามาวจรสติของท่านยังดูกามอยู่
กามาวจรจิตที่แล่นไปรับรู้ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส จิตก็จำรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสในปัจจุบันขณะ เรียกว่าจำกาม


คุณยังไม่เข้าใจระบบวิธีของวิธีนี้เลย
แล้วพูดด้วยว่ามรรคไม่ได้ประหารกิเลส ข้อนี้ถ้าไม่ถึงมรรคญาณ ไม่มีการประหารทั้งนั้น นอกจาก
ตทังคะ และ วิกขัมภนะ กด ข่ม ไว้ ถ้าถึงมรรคก็เป็นอริยบุคคล ตอนนั้นจะประหารกิเลสอะไรก็ตาม
ชั้นของอริยะไป ไม่ใช่ว่า รูปาวจรจิตหรืออรูปาวจรจิต จะทำหน้าที่กำหนดประหารกิเลสได้


พระอภิธรรมปิฎก วิภังคปกรณ์
บรรดาสัญญา ๓ นั้น กามสัญญา เป็นไฉน
ความจำ กิริยาที่จำ สภาพที่จำ อันเกี่ยวด้วยกาม นี้เรียกว่า กามสัญญา


วิธีการกำหนดรู้อาการพองยุบ เป็นการกำหนดรู้สัญญาด้วยปริญญา ๓ กล่าวคือ กำหนดละเป็นขณะ
ไปตามกำลังของวิริยะ สติ สมาธิ และปัญญา ที่เกิดพร้อมกับจิต ในญาตปริญญานั้น อาจมีผลให้ตกไปสู่
กามสัญญาได้ แต่เมื่อเข้าเขตวิปัสสนาญาณแล้ว กามสัญญาย่อมหายไป เพราะขณะนั้นจิตผู้ปฏิบัติ ย่อม
พบแต่ปรากฏของสภาวะธรรมที่เป็นปรมัตถ์เท่านั้น เช่น ท้องพองก็ไม่รู้สึกถึงสีหรือสัณฐาน จะรู้แต่อาการ
ตึงหย่อนอ่อนแข็ง ซึ่งเป็นสภาวะของธาตุทั้ง ๔ อย่างแท้จริง สมาธิในระดับนี้ จะไม่ใช่อุปจารสมาธิ แต่
มีคุณชาติเทียบเท่าอุปจารสมาธิ สติก็แก่กล้าทัดเทียมกับสมาธิ ตรงนี้เองครับที่ละกามสัญญาได้ แต่ไม่
สิ้นเชิง

วิธีกำหนด ตามนัยพระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส

ญาตปริญญาเป็นไฉน? มุนีย่อมรู้สัญญา คือ ย่อมรู้ ย่อมเห็นว่า นี้กามสัญญา
นี้พยาปาทสัญญา นี้วิหิงสาสัญญา นี้เนกขัมมสัญญา นี้อัพยาปาทสัญญา นี้อวิหิงสาสัญญา
นี้รูปสัญญา นี้สัททสัญญา นี้คันธสัญญา นี้รสสัญญา นี้โผฏฐัพพสัญญา นี้ธัมมสัญญา
นี้เรียกว่า ญาตปริญญา.


เห็นหนอ(รูป) ยินหนอ(เสียง) กลิ่นหนอ (กลิ่น) รสหนอ(รส) ถูกหนอ(โผฏฐัพพะ) คิดหนอ(ธรรม)

ตามญาตปริญญา ถ้ามุนีกำหนดรู้ว่า นี้กามสัญญา แสดงว่า ใบางคราวจิตก็มีกามสัญญาเจือปนอยู่
ในทางปฏิบัติ ผู้ปฏิบัติใหม่ด้วยวิธีนี้ สติและสมาธิ ยังไม่แก่กล้าพอ จิตย่อมจะตกไปในอำนาจของกาม
สัญญาคือจำได้หมายรู้ในรูป จิตยังไม่สามารถเห็นรูปนามที่เป็นปรมัตถ์ได้

ตีรณปริญญาเป็นไฉน? มุนีทำความรู้อย่างนี้แล้ว ย่อมพิจารณาสัญญาโดยความ
เป็น ของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นของลำบาก เป็นอาพาธ
เป็นของอื่น (เป็นของไม่มีอำนาจ) เป็นของชำรุด เป็นเสนียด เป็นอุบาทว์ เป็นภัย เป็น
อุปสรรค เป็นของหวั่นไหว เป็นของแตกพัง ฯลฯ เป็นเหตุเกิดแห่งทุกข์ เป็นของดับไป เป็น
ของชวนให้แช่มชื่น เป็นอาทีนพ เป็นนิสสรณะ นี้เรียกว่า ตีรณปริญญา.


เมื่อสติสมาธิแก่กล้าแล้ว ผู้ปฏิบัติย่อมเห็นไตรลักษณ์ปรากฏแจ้งชัดโดยอาการต่างๆ ตามนัย
ของไตรลักษณ์ หมายถึงผู้มีวิปัสสนาญาณอย่างกล้า สามารถกำหนดรู้รูปนามที่ปรากฏอยู่
โดยความเป็นสภาวะปรมัตถ์ซึ่งเป็นอารมณ์ของวิปัสสนาอย่างแท้จริง
(สัมมสนญาณอย่างแก่ถึงอาทีนวญาณ)

ปหานปริญญาเป็นไฉน? มุนีพิจารณาอย่างนี้แล้ว ย่อมละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป
ให้ถึงความไม่มีในภายหลัง ซึ่งฉันทราคะในสัญญา



ในขณะนี้เองอินทรีย์ของผู้ปฏิบัติย่อมรวบรวมกำลัง เพื่อมุ่งสู่ทางดับทุกข์อย่างแท้จริง
ตรงกับตามนัยของวิสุทธิมรรค (นิพพิทาญาณถึงผลญาณ)

วิธีการกำหนดรู้มีอธิบายย่อๆไว้ในอรรถกถาคุหัฏฐกสูตรที่ ๒

พึงกำจัดความพอใจในที่สุดทั้งสอง(มีผัสสะและเหตุเกิดแห่งสัมผัสสะเป็นต้น)
กำหนดรู้ผัสสะแล้วไม่ยินดีในธรรมทั้งปวงมี รูปเป็นต้น
ฯลฯ เป็นนักปราชญ์ไม่ติดอยู่ในรูปที่ได้เห็น
และเสียงที่ได้ฟังเป็นต้น.กำหนดรู้สัญญาแล้ว
พึงข้ามโอฆะเป็นมุนี ไม่ติดอยู่ในอารมณ์ที่ควรหวง
แหน
ถอนลูกศรคือ กิเลสออกเสีย ไม่ประมาทเที่ยวไปอยู่ ย่อมไม่ปรารถนาโลกนี้และโลกหน้า
ฉะนี้แล.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อุโภสุ อนฺเตสุ คือในการกำหนด ๒ อย่าง
มีผัสสะและเหตุเกิดแห่งผัสสะเป็นต้น. บทว่า วิเนยฺย ฉนฺทํ ได้แก่ พึงกำจัด
ความกำหนัดด้วยความพอใจเสีย. บทว่า ผสฺสํ ปริญฺญาย กำหนดรู้ผัสสะ
ความว่า กำหนดรู้นามรูปทั้งสิ้น ด้วยปริญญา ๓ คือ กำหนดรู้ผัสสะมีจักขุสัม-
ผัสสะเป็นต้น กำหนดรู้อรูปธรรมทั้งปวงอันประกอบด้วยผัสสะนั้นโดยทำนอง
เดียวกับผัสสะนั้นเอง และกำหนดรู้รูปธรรมด้วยสามารถเป็นวัตถุ ทวาร และ
อารมณ์ของอรูปธรรมเหล่านั้น
. บทว่า อนานุคิทฺโธ คือไม่ยินดีในธรรม
ทั้งปวงมีรูปเป็นต้น
. ฯลฯ บทว่า น ลิมฺปตี ทิฏฺเฐสุ เตสุ นักปราชญ์
ไม่ติดอยู่ในรูปที่ได้เห็นและเสียงที่ได้ฟัง ความว่า นักปราชญ์ถึงพร้อมด้วย
ปัญญาเห็นปานนั้น ไม่ติดด้วยการติด ๒ อย่างแม้อย่างเดียว ในธรรมคือรูป
ที่ได้เห็นและเสียงที่ได้ฟัง ชื่อว่าเป็นผู้ไม่ติด ถึงความผ่องแผ้วในที่สุดเหมือน
อากาศฉะนั้น.

คาถาว่า สญฺญา ปริญฺญา กำหนดรู้สัญญามีความสังเขปดังต่อไปนี้.
กำหนดรู้มิใช่เพียงคำพูดอันไร้ประโยชน์ ที่แท้กำหนดรู้แม้
สัญญามีกามสัญญาเป็นต้นด้วย กำหนดรู้นามรูปโดยทำนองเดียวกับสัญญาหรือ
โดยนัยที่กล่าวแล้วในตอนก่อนด้วยปริญญา ๓ อย่าง พึงข้ามโอฆะแม้ ๔ อย่าง
ได้ด้วยปฏิปทานี้
ฯลฯ พระผู้มี-
พระภาคเจ้าทรงจบเทศนาลงด้วยธรรมเป็นยอดคือพระอรหัต ทรงบัญญัติไว้
เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติธรรมเท่านั้น
มิใช่ให้เกิดมรรคหรือผลด้วยเทศนานี้
เพราะทรงแสดงแก่พระขีณาสพ.


วรรคแรกอธิบายลักษณะการกำหนดรู้ การกำหนดพองหนอ ยุบหนอ เป็นต้น ก็จะ
ทำจิตตามนัยนั้น และวิธีก็ตามนัยแห่งปริญญา ๓


กำหนดรู้มิใช่เพียงคำพูดอันไร้ประโยชน์อย่างเดียวเท่านั้น ที่แท้กำหนดรู้แม้
สัญญามีกามสัญญาเป็นต้นด้วย ตรงนี้ไงครับ แม้มีกามสัญญาก็สามารถผ่าน
โอฆะสงสารได้ แต่การกำหนดต้องไปตามปริญญา ๓ ที่อธิบายข้างต้น


ในวรรคท้าย ยังบอกอีกว่า ทรงบัญญัติการกำหนดไว้เพื่อเป็นแนวทางการปฏิบัติ
เมื่อจบพระธรรมเทศนานี้ไม่มีใครได้บรรลุมรรคผล เพราะที่ฟังอยู่เป็นพระขีณาสพอยู่แล้ว

เช่นนั้น เขียน:
ดูพอง-ยุบแล้วเห็นทุกข์ อุปธิย่อมเกิดขึ้น

ดีครับ เห็นทุกข์ เท่ากับเห็นไตรลักษณ์และอริสัจ (ทุกขลักษณะและ ทุกขอริยสัจ)

เช่นนั้น เขียน:
ดูพอง-ยุบแล้วมีปิติสุขเกิดขึ้น อุปธิย่อมเกิดขึ้น


ดีครับ จะได้ดูการเกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไปของปีติ สุข ว่าไตรลักษณ์อย่างไร (ในสมถยานิกก็เกิด)

เช่นนั้น เขียน:
ดูพอง-ยุปแล้วมีอทุกขมสุขเวทนาเกิดขึ้น อุปธิย่อมเกิดขึ้น

ถ้าปฏิบัติอย่างถูกต้องตามหลักวิธี(ปริญญา ๓) อทุกขมสุขเวทนา ก็ไม่เกิดขึ้น เกิดวางเฉยด้วยปัญญา
(สังขารุเบกขาญาณหรือฉฬงฺคุเปกฺขา องค์ธรรมคือ ตัตรมัชฌัตตตาเจตสิก)

ส่วนอุปธิ ไม่ว่าปฏิบัติแบบไหน ก็ไม่พ้น ฌาณจิตทั้งรูปาวจรอรูปาวจร ถ้าไม่เข้ามรรคผลชั้นสูง ก็ไม่พ้น
เพราะ.....พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค อภิสมัยสังยุตต์ มหาวรรค สัมมสสูตรที่ ๑


ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอนาคตกาล ฯลฯ ในปัจจุบัน
กาล ย่อมเห็นอารมณ์อันเป็นที่รักเป็นที่ชื่นใจในโลกนั้น ฯลฯสมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น
ชื่อว่าย่อมละตัณหาได้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด ย่อมละตัณหาได้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่า
นั้นชื่อว่าย่อมละอุปธิได้
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดย่อมละอุปธิได้ สมณะหรือพราหมณ์
เหล่านั้นชื่อว่าย่อมละทุกข์ได้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดย่อมละทุกข์ได้ สมณะ
หรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าย่อมพ้นจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์
โทมนัสและอุปายาส เรากล่าวว่า สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นย่อมพ้นจากทุกข์
ได้ ดังนี้ ฯ


ตามที่อ้างมา ที่จะละตัณหาได้ก็สภาวะของอนาคามีบุคคลขึ้นไป วิธีไหนแบบไหน ถ้าละตัณหาไม่ได้
อุปธิมีอยู่ทั้งนั้น

ในการปฏิบัติแบบพอง-ยุบนั้น ขันธ์ ธาตุ อายตนะ ฯลฯ สรุปคือรูปนาม ยังเป็นสภาวะอารมณ์ที่ต้องกำหนดอยู่เพราะแม้ผ่านถึงมรรคผลของ สกิทาคามี ก็ไม่สามารถละอุปธิได้

เช่นนั้น เขียน:
เพราะจิตท่านเป็นกามาวจรโสภณจิตและกามาวจรมหาวิปากจิตซึ่งจัดอยู่ใน
กามาวจรกุศลจิต(โลกียะจิต) เป็นจิตที่ไม่สงัดจากกาม ชุ่มด้วยกามสัญญา ท่านไม่ได้เปลี่ยนคุณภาพจิต
ของท่านเป็นรูปาวจร หรือ อรูปาวจร หรือ โลกุตตระจิต

อธิบายย่อๆแล้วครับ อ่านดีๆ วิธีการกำหนดด้วยจิตที่ยังมีกามสัญญาจนถึงขณะละกามสัญญา
และ คุณเข้าใจอะไรผิดหรือเปล่า โลกุตรจิต เกิดเฉพาะตอนเข้ามรรคผลนะครับ และรูปนามดับ
จะเอาอะไรมาพิจารณาละครับ

เช่นนั้น เขียน:
ดังนั้น พระสูตรที่เคยแสดงไว้ ดังนี้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่ไม่ควรมนสิการ ที่ปุถุชนมนสิการเป็นไฉน?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อปุถุชนนั้นมนสิการธรรมเหล่าใดอยู่ กามาสวะก็ดี ภวาสวะก็ดี อวิชชาสวะก็ดี ที่ยัง
ไม่เกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเจริญขึ้น ธรรมที่ไม่ควรมนสิการเหล่านี้ที่เขามนสิการอยู่
”จึงเป็นเหตุให้เกิดทุกข์

ตามแนวพอง-ยุบ ปฏิบัติตามนัยสติปัฏฐาน ๔ มีรูปนามเป็นอารมณ์ สิ่งที่พระพุทธเจ้าแนะนำไว้ คิดว่าควรมนสิการหรือเปล่าครับ คุณจะอ้าง ก็พิจารณาหน่อยครับ

เช่นนั้น เขียน:
ไม่ว่ากุศลจิต หรือกุศลวิบากจิต และหรืออกุศลจิต หรืออกุศลวิบากจิตเกิดขณะพองยุบ จิตเหล่านี้ก่อให้เกิดอุปธิเพื่อภพต่อไป

รูปาวจร อรูปาวจร ถ้าไม่ถึงมรรคผล ก็ยังไม่พ้นอุปธิครับ และมรรคผลที่ถึง ต้องมรรคผลของอนาคามี
ขึ้นไปด้วย ทุกวันนี้ ถ้าคุณปฏิบัติแบบที่คุณว่า แล้วยังไม่ถึงอนาคามี คุณก็ไม่พ้นอุปธิเช่นกันครับ แม้คุณ
เชื่อว่าคุณใช้จิตที่เป็นรูปาวจรอรูปาวจรในการปฏิบัติ แล้วนอกเวลาปฏิบัติละครับ ก่อนปฏิบัติละครับ จิต
เป็นรูปาวจรหรืออรูปาวจรหรือเปล่า ถ้าเป็นอนาคามีแล้ว ก็จะไม่ว่าเลย เพราะหลุดจากอุปธิจริงๆ

เช่นนั้น เขียน:
เมื่อปุถุชนมีจิตอันชุ่มอยู่ในกิเลสตัณหา เมื่อเดินก็รู้ว่าเดิน
เมื่อนั่งก็รู้ว่านั่ง จิตย่อมมีรูปขันธ์ เป็นอารมณ์ พัวพันในรูป อันเป็นกามสัญญา จิตของปุถุชนผู้นั้น ย่อม
เป็นมิจฉาสมาธิอันเป็นไปด้วยอำนาจแห่งโมหะเป็นมูลเหตุ
เอกัคคตารมณ์ย่อมมีแม้แต่อกุศลจิตครับ เอกัคคตาเจตสิกมีในจิตทุกดวงอยู่แล้วครับ จิตที่เป็นมิจฉา
สมาธิ พัวพันในกามสัญญา ขณะนั้น ไร้สติ ไร้สัมปชัญญะ
[/quote]

ข้อนี้คุณว่ามากไป บ่งความไม่ฉลาดทางอารมณ์ออกมาเลย บอกความไม่รู้จริงออกมาด้วย
ที่ตรัสไว้ตรงนี้ ท่านแสดงถึง สัมโมหสัมปชัญญะ รู้พร้อมแบบโมหะ เป็นการรู้แบบคนที่ไม่เจริญสติ
ปัฏฐาน คือเวลาจะเดินจะนั่ง ถามเขาเขาก็รู้ว่าเดินว่านั่ง แต่รู้แบบนี้ไม่ได้เอากิเลสออก
ในการ
ปฏิบัติที่กำหนดเป็นขณะตามอิริยาบท จัดเป็นอสัมโมหะสัมปชัญญะ รู้พร้อมแบบไม่หลง คือได้ปัจจุบันที่
ปรากฏด้วย และในขณะกำหนดนั้น ก็ไม่มีความอยากแบบกามตัณหา ภวตัณหา วิภวะตัณหา ตามพระ
สูตรที่อ้างมา เขาบอกว่าชุ่มด้วยตัณหานะครับ ตอนนั้น ละตัณหาด้วยตทังควิมุตอยู่ครับ เช่น เดินอยู่ คน
ทั่วไป ก็รู้ว่าเดิน แต่สติ จิต อาจอยู่ที่ตา มัวมองรูปไป ในคนที่เจริญสติปัฏฐาน เขาเดินกำหนดว่า เดิน
หนอ ถูกอิริยาบถ สติจิตก็อยู่ที่อาการเคลื่อนไปของเท้า ไม่ตาลอยรับรู้ที่อื่น เพราะการเคลื่อนไปของ
เท้า คือ การเดินที่ปรากฏ สติและจิตเขากำหนดรับรู้อยู่


ลักษณะของขันธ์ ๕ เป็นอารมณ์ของวิปัสสนา ตามนัย ลักขณูปนิสัชฌาน (เข้าไปรู้ลักษณะ)
วิปัสสนาทั้งหมด มีรูปนาม(รูปนามปรมัตถ์)เป็นอารมณ์ การพิจารณาไตรลักษณ์ของผู้ปฏิบัติที่ยังไม่ถึง
มรรคผลและผู้ที่ปฏิบัติมรรคผลได้แล้วบางระดับ ต้องใช้รูปนามเป็นอารมณ์สลับกันไป เพราะ ไตรลักษณ์
ปรากฏที่รูปนาม อยู่กับรูปกับนามทุกอย่าง ถ้าไม่มีรูปนาม ก็ไม่มีไตรลักษณ์เกิด มีรูปนามเมื่อไร
ไตรลักษณ์เกิดเมื่อนั้น ส่วนผู้ที่ได้มรรคผลเบื้องปลาย ๒ ระดับ จะใช้นาม คือ สภาวะธรรมในการ
กำหนดรู้ไตรลักษณ์ เช่น พระอนาคามี เมื่อปฏิบัติเพื่อความเป็นอรหันต์ จะใช้สภาวะของฌาน(นาม)
เพราะต้องละกามสัญญาที่ละเอียดยิ่ง
ตรงนี้เองที่ทำให้ท่านเมื่อละจะอุบัติที่พรหมโลก

อนึ่ง รูปาวจรจิต อรูปาวจรจิต ก็ยังพัวพันธ์ในขันธ์ ๕ คือ สูขอันเกิดแต่ฌาน ถ้ามีสุข
เวทนาขันธ์เกิดแล้ว เจตสิก ๕๒ ดวง เว้น เวทนาเจตสิกและสัญญาเจตสิก จัดเป็นสังขาร ฉนั้น
เอกัคคตาเจตสิกก็จัดเป็นสังขารในขันธ์ ๕ ด้วย นี่ไง รูปาวจรที่คุณว่า ทำไมพัวพันกับขันธ์ละครับ
อีกอย่าง อรูปาวจรจิตไม่ใช่ทุกอย่างที่นำมาเป็นเครื่องพิจารณาทางวิปัสสสนาได้ ข้อนี้มีในพระสูตร
เพราะอรูปวจรจิตบางอย่างขาดขันธ์ใดขันธ์หนึ่งในขันธ์ ๕ ไป


การกำหนดรู้การเดิน จิตรู้อาการเท้าเคลื่อนไป รู้อาการของรูปขาดสติหรือครับ
ทำทุกอริยาบถด้วยการกำหนดรู้ ให้ทันปัจจุบันอารมณ์ขณะนั้นตามนัยสติปัฏฐานสูตร
ถ้าเรียกว่าขาดสติสัมปชัญญะ จะมีวิธีไหนถึงมรรคผลนิพพาน คุณเที่ยวมาว่าเขาว่า
พัวพันในกามสัญญา ก็ดูหน่อยก่อนจะว่า วิธีเขาละกันแบบไหนปฏิบัติแบบไหน
ยังไม่รู้ลึกซึ้งเลยว่าเขาไปแบบไหน ก็เที่ยวว่าไป ระวังนะครับ ตำหนิคนปฏิบัติ บาปแรง
และอีกประการหนึ่ง ใครละกามสัญญาได้ นั่นก็พระอนาคามีแล้วครับ ปฏิบัติวิธีอะไร
ถ้าไม่ถึงอนาคามี ก็ยังอยู่กับกามสัญญาอยู่นั่นเอง

ต้นเหตุคือการกำหนดรู้ตามปริญญา ๓ และวิธีที่ปฏิบัติตามนัยสติปัฏฐานสูตร จะมีผลออกมาอย่างที่คุณ
ว่ามิจฉาสมาธิ กามสัญญา ไรสติ สัมปชัญญะได้อย่างไร

เมื่อเดินอยู่ก็รู้ว่า(รา)เดินอยู่ เดินหนอ เป็นอสัมโมหะสัมปชัญยะ ได้ปัจจุบันขณะ
ก็หรือว่ากายดำรงอยู่อาการใด ก็รู้ชัดอาการนั้น พองหนอ - ยุบหนอ ท้องก็เป็นส่วนของกาย
ลมที่ดันกะบังลมให้ท้องพองยุบ ก็เป็นวาโยโผฏฐัพพรูป
ถูกหนอ ผัสสะที่กำหนดรู้ เป็นการรู้ความใสของกายธาตุ สัมผัสที่รู้คือ โผฏฐัพพธาตุ
คิดหนอ กำหนดรู้ที่จิตนึกคิดที่เป็นมโนวิญญาณธาตุ เป็นการรับรู้ธาตุคือ สัมปฏิจฉนจิตที่เกิดก่อน
ปัญจทวาราวัชนจิตและธรรมธาตุคือมโนสัมผัส

การรู้อาการตึงหย่อนของท้อง เป็นลักษณะของวาโยเรียกว่า วิตถัมภนลักขณา
การกำหนดรู้เย็นร้อนอ่อนแข็งเมื่อกำหนด ถูกหนอ เป็นการกำหนดรู้ลักษณะพิเศษของธาตุ เช่น
แข็ง เป็นลักษณะพิเศษของปฐวีธาตุ คือ กักขฬัตตลักขณา


ทั้งหมดที่เป็นตัวอย่างนี้ เป็นวิปัสสนาที่ผู้เจริญสติด้วยวิธีพองยุบจะประสบเมื่อเข้าเขตวิปัสสนาอย่างแก่กล้าแล้ว ถึงตรงนี้ ยังคิดว่าปฏิบัติแนวทางนี้จะไม่หลุดพ้นอีกหรือครับ

ระวังนะครับ ทุกวิธีการที่ทำกันอยู่ ล้วนมีสติปัฏฐาน ๔ เป็นแม่บท จะกล่าวจะว่าตำหนิ ระวังจะไปขัด
มรรคผลตัวเองเข้า มันจะไม่ดี จะช้าไปนะครับ วิธีพอง-ยุบ มีมานานแล้ว นับสืบทางสายของพระ
โมคคัลลีบุตรผู้ทำสังคายนายุคก่อนที่พระพุทธศานาจะเข้ามาสู่สุวรรณภูมิไม่นาน สืบๆมาจนถึง
ท่านโสภณมหาเถระ(พระมหาสี สยาดอร์) ผู้ต้นตำหรับทางนี้ แต่เปลี่ยนเรื่องภาษาในการกำหนด
เท่านั้นเอง ลองตรองดูครับ ถ้าไม่ใช่สิ่งที่พิสูจน์มรรคผลได้ เขาคงไม่พยายามสืบทอดรักษาไว้หรอก
ครับ ประวัติที่มาของวิธีพองยุบ ถ้าสนใจใคร่รู้ หาอ่านเองนะครับ ผมมีคัมภีร์ตำราประวัติไว้เล่าให้เฉพาะ
ผู้ที่ศรัทธาในแนวทางนี้เท่านั้น

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ส.ค. 2009, 01:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดียามดึกมาก คุณกามโภคี
ท่านก็ยังคง ชอบกามาวจรจิตดวงนี้มาก และไม่เอาฌาน ซี่งเมื่อคืนก่อนได้ แสดงเรื่องกามสัญญา ให้ท่านเกิดโยนิโสมนสิการ แต่เพราะ สัญญาวิปัลลาส ทิฐิวิปัลลาส จิตตวิปัลลาส ท่านจึงยกมหาสติปัฏฐานสูตรมาอธิบาย ตามอัตตโนมติของผู้แต่งคัมภีร์

คืนนี้ เช่นนั้น ก็จะแสดงต่อให้ท่าน โยนิโสมนสิการ เกี่ยวกับ ความวิปัลลาส

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗
ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
คาถาธรรมบท ภิกขุวรรคที่ ๒๕
…..
……..ดูกรภิกษุ เธอจงเพ่ง และอย่าประมาท จิตของเธอ
หมุนไปในกามคุณ เธออย่าเป็นผู้ประมาทกลืนก้อนโลหะ
อย่าถูกไฟเผาคร่ำครวญว่านี้ทุกข์ ฌานไม่มีแก่ผู้ไม่มีปัญญา
ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่มีฌาน ฌานและปัญญามีอยู่ในผู้ใด ผู้นั้น
แลอยู่ในที่ใกล้นิพพาน…….




วิปัลลาส 4 สัญญาวิปัลลาส ทิฐิวิปัลลาส จิตตวิปัลลาส

ท่านมีสัญญาวิปัลลาส ทิฐิวิปัลบลาส จิตตวิปัลลาส อย่างไร

เช่นนั้น เขียน:
เพื่อประหาน ความวิปัลลาส ทั้ง 4
[๔๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัญญาวิปลาส จิตวิปลาส ทิฐิวิปลาส ๔
ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน คือ…..


สัญญาวิปลาส จิตวิปลาส ทิฐิวิปลาสในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง ๑


อ้างคำพูด:
พองหนอ ยุบหนอ รู้สภาวะรูปที่พองหายไป รูปที่ยุบปรากฏและดับไป พองมาแทน สลับไปมา
ก็รู้ว่าไม่เที่ยง วิธีพองยุบนี่ตัวเปิดสันตติเลยนะครับ เพิกอนิจจลักษณะให้ปรากฏเลย


ในการนี้ไม่ใช่การใช้ปัญญารู้จักไตรลักษณ์ เพราะเห็นพยับแดดก็รู้จักไตรลักษณ์ได้ (จิตที่เป็นกามาวจรจิต เมื่อรู้ก็ย่อมดับ ดับแล้วก็เกิด แต่กิเลสมันไม่ดับเมื่อกามาวจรสติของท่านยังดูกามอยู่ )สิ่งที่ท่านควรรู้คือจิตท่านตอนนี้เป็นจิตอะไร กุศล หรืออกุศล

โลกียะกุศล อันเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ หรือโลกุตตระกุศล อันเป็นทางเข้าถึงซึ่งความดับทุกข์

ท่านต้องการพ้นทุกข์ แต่จิตยังชุ่มกาม มีสัญญาในกาม การเพ่งพองยุบด้วยกามาวจรจิตไม่เอาฌานนี่แหละ เรียกว่าท่านมีกามสัญญา จึงเรียกว่าท่านมีสัญญาวิปลาส

สัญญาที่ท่านควรเจริญคือเจริญอริยะสัจจ์ 4
เช่นท่านพาหิยะ ท่านจุลปันถกเป็นตัวอย่าง

เช่นนั้น เขียน:
สัญญาวิปลาส จิตวิปลาส ทิฐิวิปลาสในสิ่งที่ไม่ใช่ตนว่าเป็นตน ๑


อ้างคำพูด:
พองหนอ ยุบหนอ ขวาย่างหนอ ซ้ายย่างหนอ มีแต่รูปที่เคลื่อนไป กับ จิตที่รู้ (รูป+นาม) ไม่มีอะไร
เลย มีเท่านี้เอง รู้แบบนี้จัดเป็นวิปลาสเหรอครับ รู้แบบนี้ เขาเรียกว่ารู้จักอนัตตาแท้ครับ ไม่ใช่รู้เพราะ
อ่านมาฟังมา ปฏิบัติแบบนี้ รู้จริงนะครับ


พระพุทธเจ้าสอนให้มีทิฏฐิที่เป็นสัมมาทิฏฐิ คือ
รู้ว่านี่ทุกข์ นี่เหตุให้เกิดทุกข์ นี่ความดับทุกข์ นี่ทางเข้าถึงซึ่งความดับทุกข์

ทุกข์ เป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้ แต่ท่านกลับไปกำหนดรู้พองยุบ
เหตุให้เกิดทุกข์ เป็นสิ่งที่ละ แต่ท่านไปเจริญกามาวจรจิตอันเป็นเหตุให้เกิดทุกข์
ความดับทุกข์ เป็นสิ่งที่ควรทำให้เข้าใจแจ่มแจ้ง แต่ท่านไปทำความแจ่มแจ้งในพองยุบ
ทางเข้าถึงซึ่งความดับทุกข์ เป็นสิ่งที่ควรเจริญ แต่ท่านไปเจริญตามรู้พองยุบ เจริญตามรู้รูปนามคือขันธ์ 5
อย่างนี้เรียกว่าท่านมีทิฐิวิปลาส

เช่นนั้น เขียน:
สัญญาวิปลาส จิตวิปลาส ทิฐิวิปลาสในสิ่งที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข ๑


อ้างคำพูด:
รู้ว่าตั้งอยู่ไม่ได้ทนอยู่ไม่ได้(ทุกข์) เพราะถูกการบีบคั้นด้วยการเปลี่ยนจากพองเป็นยุบตลอดเวลา
พองมากบ้างน้อยบ้าง รู้ตามจริงแบบนี้ วิปลาสเหรอครับ


นี่คือจิตวิปลาส เพราะท่านสร้างจิตอันเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ เพื่อภพต่อไป
เวลามีอยู่ ทำไมไม่ทำโสดาปัตติมัคค สกทาคามีมัคค อนาคามีมัคค และอรหัตตมัคโดยตรงเลยละครับ ปล่อยเวลาให้เนิ่นอยู่ทำไม
อย่างนี้แหละเรียกว่าท่านมีจิตวิปลาส ท่านวิปลาสจากทางพระนิพพาน

เช่นนั้น เขียน:
สัญญาวิปลาส จิตวิปลาส ทิฐิวิปลาสในสิ่งที่ไม่งามว่างาม ๑


อ้างคำพูด:
ท้องที่พองยุบแล้วกำหนดรู้ตามจริงไม่ปรุงแต่งเพิ่ม ขวาย่างหนอ ซ้ายย่างหนอ ก็รู้อาการตามจริง
ไม่ปรุงแต่งเพิ่ม คุณว่าคนปฏิบัติจะมองว่างามเหรอครับ ผู้ปฏิบัติมาแบบนี้ ผมยังไม่เคยเจอบอกว่า
งามเลย มีแต่รูปที่เคลื่อนไปกับใจที่รู้ เมื่อไม่ปรุงแต่เพิ่มไป ก็มีเท่านี้ งามหรือไม่งาม ไม่มีเลย


การปรุงแต่ง ไม่ใช่ท่านปรุงแต่ง สิ่งที่ปรุงแต่งคือ กามาวจรอกุศลมูล หรือกามาวจรกุศลมูลในจิตใจท่านต่างหากที่ปรุงแต่งให้เสร็จสรรพ
การพัวพันจดจ่อในพองยุบวันแล้ววันเล่าของท่าน ก่อให้ท่านชอบกัมมัฏฐานนี้ ชอบแนวทางนี้ขึ้นมา
พองยุบที่ไม่งาม แต่จิตท่านปรุงแต่งว่างาม
จึงกล่าวว่าทิฐิวิปลาสในสิ่งที่ไม่งามว่างาม

การชอบสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ที่ไม่ใช่ความดับ ไม่ใช่อรรถไม่ใช่ธรรม ย่อมเป็นทิฐิวิปลาสในสิ่งที่ไม่งามว่างาม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ส.ค. 2009, 09:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗
ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
คาถาธรรมบท ภิกขุวรรคที่ ๒๕
ดูกรภิกษุ เธอจงเพ่ง และอย่าประมาท จิตของเธอ
หมุนไปในกามคุณ เธออย่าเป็นผู้ประมาทกลืนก้อนโลหะ
อย่าถูกไฟเผาคร่ำครวญว่านี้ทุกข์ ฌานไม่มีแก่ผู้ไม่มีปัญญา
ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่มีฌาน ฌานและปัญญามีอยู่ในผู้ใด ผู้นั้น
แลอยู่ในที่ใกล้นิพพาน…….


ศึกษาให้ถึงแก่นหน่อยคุณเช่นนั้น เพราะไม่อ่านอรรถกถากระมัง ถึงได้วนเวียนกล่าวตู่คนอื่น
อยู่ร่ำไป ตรงนี้ก็บอกภูมิรู้และภูมิปฏิบัติท่านอีกแล้ว(ว่ารู้และปฏิบัติแค่ไหน)

ตามพระพุทธพตน์ที่คุณอ้างมานี้ ท่านตรัสถึงฌาน ๒ อันได้แก่

๑.อารัมมณูปนิชสัชฌาน การเข้าไปรู้บัญญัติ
๒.ลักขณูปนิชสัชฌาน การเข้าไปรู้ลักษณะ

ในอารัมมฯ ตรัสหมายถึง การปฏิบัติตามแนวแห่งสมถะ
ในลักขณูฯ ตรัสหมายถึง การปฏิบัติตามแนวแห่งวิปัสสนา

ท่านไม่ตรัสหมายถึงฌานจิตที่เป็นรูปาวจรหรืออรูปาวจรอย่างเดียว แต่ตรัสวิธีปฏิบัติต่างหาก

ในอารัมมณูปนิชสัชฌานนั้น จะนำอารมณ์ที่จิตรู้อยู่ เช่นจิตรู้กสิณ ก็เข้าไปรู้อย่างติดต่อแล้วทำให้เป็น
อารมณ์ เรียกว่าบริกรรม มีผลให้นิวรณ์ระงับ แต่ยังไม่เห็นแจ้งในไตรลักษณฺ์และอริสัจได้
ในลักขณูปนิชสัชฌาน จะปรับจิตให้เข้าไปรู้ถึงลักษณะของรูปนาม เพราะลักษณะของรูปนามเป็น
อารมณ์ของวิปัสสนาโดยแท้ มีผลให้รู้ตามจริงถึงลักษณะของรูปนาม(คือนามรูปปรมัตถ์)

ในฌาน ๒ อย่างนี้ บางคนทำอารัมฯก่อนแล้วละไปทำลักขณู (สมถปุพฺพคมวิปสฺสนา)
ในฌาน ๒ อย่างนี้ บางคนทำลักขณูก่อนแล้วยังอารัมณูฯให้เกิด (วิปัสฺสนาปุพฺพคมา ปจฺฉา สมโถ)

สรุปคือ ท่านหมายถึงคนที่ไม่ปฏิบัติ สมถะวิปัสสนา หาใช่มุ่งให้ทำฌานจิตเพียงอย่างเดียว ข้อที่ผม
อธิบายพองยุบไปในโพสที่แล้ว เป็นลักขณูปนิชสัชฌานและอารัมมณูฯสลับกัน (ยุคนัย นัยคู่)


เช่นนั้น เขียน:
วิปัลลาส 4 สัญญาวิปัลลาส ทิฐิวิปัลลาส จิตตวิปัลลาส
ท่านมีสัญญาวิปัลลาส ทิฐิวิปัลบลาส จิตตวิปัลลาส อย่างไร
เช่นนั้น เขียน:
เพื่อประหาน ความวิปัลลาส ทั้ง 4
[๔๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัญญาวิปลาส จิตวิปลาส ทิฐิวิปลาส ๔
ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน คือ…..
สัญญาวิปลาส จิตวิปลาส ทิฐิวิปลาสในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง ๑


การรู้ตามความเป็นจริงของขันธ์ ๕ หรือรูปนาม ที่เข้าไปรู้โดยปรมัตถ์ จัดเป็นวิปลาสอย่างไร
อธิบายหน่อยครับ ข้อนี้จะอธิบายก็ได้ไม่อธิบายก็ได้ เพราะที่ถามไป ๒ ข้อยังไม่ตอบเลย

เช่นนั้น เขียน:
อ้างคำพูด:
พองหนอ ยุบหนอ รู้สภาวะรูปที่พองหายไป รูปที่ยุบปรากฏและดับไป พองมาแทน สลับไปมา
ก็รู้ว่าไม่เที่ยง วิธีพองยุบนี่ตัวเปิดสันตติเลยนะครับ เพิกอนิจจลักษณะให้ปรากฏเลย

ในการนี้ไม่ใช่การใช้ปัญญารู้จักไตรลักษณ์ เพราะเห็นพยับแดดก็รู้จักไตรลักษณ์ได้ (จิตที่เป็นกามาวจรจิต เมื่อรู้ก็ย่อมดับ ดับแล้วก็เกิด แต่กิเลสมันไม่ดับเมื่อกามาวจรสติของท่านยังดูกามอยู่ )สิ่งที่ท่านควรรู้คือจิตท่านตอนนี้เป็นจิตอะไร กุศล หรืออกุศล
โลกียะกุศล อันเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ หรือโลกุตตระกุศล อันเป็นทางเข้าถึงซึ่งความดับทุกข์


สภาวะพองยุบ เมื่อแรกปฏิบัติใหม่ ยังไม่เข้าถึงสภาวะปรมัตถ์ได้ เพราะสติและสมาธิยังไม่แก่กล้าพอ
ต่อเมื่อแก่กล้าแล้ว สามารถเข้าไปรู้สภาวะปรมัตถ์ได้ เมื่อนั้นจะเข้าใจและรู้จักไตรลักษณ์และกิจใน
อริยสัจ ๔ ทั้งนี้ย่อมไปตามลำดับ การรู้พองยุบธรรมดาก็ยังหยาบ
มองซิครับ มองการปฏิบัตเขาจนถึงที่สุดของการปฏิบัติทั้งระบบ อย่าติดแค่ตรงนี้ แม้การปฏิบัติแบบ
ยังฌานจิตก็เช่นกัน หากไม่ยกสู่วิปัสสนาด้วยการพิจารณา ก็จะติดอยู่ที่สมาธิเท่านั้น หาได้ปัญญาแต่
อย่างใดไม่ ถ้าคุณมองแค่ไหน คุณก็ได้แค่นั้น รู้แค่นั้น เข้าใจแค่นั้น

คุณพูดเหมือนเข้าใจจิตนะ แต่อ่านไปมาแล้วคลุมเคลือ จิตไม่อย่างไหนๆก็จะเกิดดับเสมอ กิเลสเป็น
เจตสิก ก็ย่อมเกิดดับตามจิตไป เพราะเป้นเจตสิก ที่มีสภาวะเกิดพร้อมจิตดับพร้อมจิต การปฏิบัติ
ด้วยการกำหนด เป็นการปฏิบัติเพื่อระงับเจตสิกบางตัวให้สงบแล้วเข้าไปรู้ลักษณะพิเศษของรูปนาม
โดยสภาวะปรมัตถ์ จิตและสติ อยู่กับสภาวะปรมัตถ์ตามวิธีการประหาร ๓ นัย จิตตอนนั้นเป็นกุศล
และสามารถรู้เห็นตามความเป็นจริงได้ ในขณะนั้น จิตจะปราศจากกามฉันทะนิวรณ์(ถ้ามีอยู่จะเห็นรูป
ปรมัตถ์ไม่ได้) ตอนนั้นจิตเรียกว่าสงัดกาม ฉนั้นจึงกล่าวไม่ได้ว่าสติและจิตรับรู้กามอยู่

ท่านไม่ตามรู้ขันธ์(ท่านเรียกว่าติดกาม) แล้วท่านปฏิบัติได้อย่างไร ในเมื่อมหาสติปัฏฐานสูตร ตรัสวิธี
ปฏิบัติไว้ไม่พ้นจากขันธ์(รูปนาม)เลย แต่วิธีในนั้นมีทั้งทำฌานจิตและไม่มี ข้อนี้ตอบผมหน่อย


เช่นนั้น เขียน:
ท่านต้องการพ้นทุกข์ แต่จิตยังชุ่มกาม มีสัญญาในกาม การเพ่งพองยุบด้วยกามาวจรจิตไม่เอาฌานนี่แหละ เรียกว่าท่านมีกามสัญญา จึงเรียกว่าท่านมีสัญญาวิปลาส


ดีแต่ว่าชาวบ้านที่ปฏิบัติถูกต้องว่าชุ่มกาม เหตุผลเขามี อธิบายตามหลักการในพระพุทธพจน์และอรรกถา
ได้อย่างแจ่มแจ้งถึงวิธีปฏิบัติต่างๆ มีที่มาที่ไป มีหลักฐาน นี่เหรือผลการปฏิบัติของท่านที่ได้อยู่


เช่นนั้น เขียน:
สัญญาที่ท่านควรเจริญคือเจริญอริยะสัจจ์ 4
เช่นท่านพาหิยะ ท่านจุลปันถกเป็นตัวอย่าง


วิธีพองยุบ ก็เจริญอริยสัจอยู่แล้ว เพราะเมื่อไตรลักษณ์ปรากฏแล้วในขณะปฏิบัติ ย่อมเห็นทุกขสัจได้
เมื่อรู้ทุกขสัจ อย่างอื่นก็จะรู้ตามมาตามกำลังของวิปัสสนาญาณที่ปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง
อนึ่งท่านพาหิยะและจูฬบันถก ไม่ปรากฏในบาลีปิฏกว่า ท่านได้ฌานจิตมาก่อน

เช่นนั้น เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
สัญญาวิปลาส จิตวิปลาส ทิฐิวิปลาสในสิ่งที่ไม่ใช่ตนว่าเป็นตน ๑


พองหนอ ยุบหนอ เมื่อวิปัสสนาเกิดในจิต ย่อมรู้เข้าใจแต่เพียงว่า มีเพียงรูปคืออาการพองยุบ
และจิตที่รู้(นาม)เท่านั้น แท้ที่จริงไม่มีอะไรเลย มีเพียงรูปนามที่เป็นไปอยู่ ไม่ใช่เราเขาเลย ไม่มีมึงกู
มีเพียงรูปที่เมื่อปรากฏแล้วหายไปกับจิตที่เกิดดับมารู้ตามการเกิดดับของรูปเท่านั้น มีปรากฏหลักฐาน
ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคว่า นามรูปานํ ยถาวทสฺสนํ ทิฏฺฐิวิสุทธิ นาม. การเห็นนาม(การรู้อารมณ์,น้อมไปรู้
อารมณ์)และรูป(การปวนแปรดับสลายไม่คงตัว) ชื่อว่าทิฏฐิวิสุทธิ(ความบริสุทธิ์ของความเห็น)
อย่าว่าคนอื่นลอยๆ เวลายกอะไรมาอ้าง ปรับบทให้แจ้งด้วย เข่น เขาเห็นสิ่งที่ไม่ใช่ตน
ว่าตน เขาเห็นอย่างไร
ผมอธิบายแล้วนะว่าวิธีพองยุบเขาละกันแบบไหน คุณไม่อ่าน หรืออ่านแล้วไม่เข้าใจ

เช่นนั้น เขียน:
พระพุทธเจ้าสอนให้มีทิฏฐิที่เป็นสัมมาทิฏฐิ คือ
รู้ว่านี่ทุกข์ นี่เหตุให้เกิดทุกข์ นี่ความดับทุกข์ นี่ทางเข้าถึงซึ่งความดับทุกข์
ทุกข์ เป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้ แต่ท่านกลับไปกำหนดรู้พองยุบ
เหตุให้เกิดทุกข์ เป็นสิ่งที่ละ แต่ท่านไปเจริญกามาวจรจิตอันเป็นเหตุให้เกิดทุกข์
ความดับทุกข์ เป็นสิ่งที่ควรทำให้เข้าใจแจ่มแจ้ง แต่ท่านไปทำความแจ่มแจ้งในพองยุบ
ทางเข้าถึงซึ่งความดับทุกข์ เป็นสิ่งที่ควรเจริญ แต่ท่านไปเจริญตามรู้พองยุบ เจริญตามรู้รูปนามคือขันธ์ 5อย่างนี้เรียกว่าท่านมีทิฐิวิปลาส


ถ้าท่านพูดแบบนี้ เหมือนท่านไม่รู้วิธีปฏิบัิติทุกอย่างอย่างแท้จริง ทั้งบอกได้ว่า ท่านไม่ได้ปฏิบัติอย่าง
จริงจังในทุกวิธีเลย เสียดายความรู้ท่านจริงๆ

การที่ปุถุชนจะเข้าไปรู้รูปนามที่เป็นปรมัตถ์อันเป็นเหตุให้แทงตลอดสัจจะ ๔ ได้ ต้องผ่านบัญญัติหรือ
ต้องรับรู้สภาวะของเทียมก่อน เพื่อฝึก สติ สมาธิ ให้แก่กล้าพอเพื่อเข้าถึงปรมัตถ์ อธิบายง่ายๆ

๑.สมถะ ต้องบริกรรมฯลฯ เพื่อให้เกิดฌานจิต แล้วยกจิตเข้าสู่กระแสวิปัสสนา ในขณะเริ่มทำ นั่นก็พึ่ง
บัญญัติหาใช่ปรมัตถ์ไม่
๒.วิปัสสนา ก็ต้องมีสติตามรู้กาย เวทนา จิต ธรรมที่เป็นบัญัญัติก่อน เมื่อสติสมาธิแก่กล้า เข้าสู่
วิปัสสนาญาณแล้ว จึงรู้รูปที่เป็นปรมัตถ์อันเป็นเหตุให้แทงตลอดสัจจะ ๔ ได้

ทั้ง ๒ อย่างมีหลักฐานยืนยันในฎีกาวิสุทธิมรรคว่า
ถามว่า บุคคลย่อมรับรู้สภาวะเนื่องด้วยบัญญัติได้หรือ
ตอบว่า จริงอยู่ในเบื้องแรกย่อมรับรู้โดยเนื่องบัญญัติ แต่เมื่อภาวนาเจริญแล้ว จิตย่อมล่วงบัญยัติ
ดำรงอยู่ในสภาวะเดียว

ข้อนี้ตรงกับอภิธรมปิฏกข้อว่าด้วยการพิจารณาตามลำดับข้อที่ ๕ และ ๖ คือ เมื่อปฏิบัติไปตามลำดับ
แล้วจะถึง ๕.ปณฺณตฺติสมติกฺกมนโต (โดยการก้าวล่วงบัญญัติ ) และ ๖. อนุปุพฺพมุญฺจนโต (โดยการ
ปล่อยลำดับ)

ในทางสมถะ คือการบริกรรมเพื่อรวมจิต เช่น กรรมฐานที่พระอุปัชฌาย์ให้ในเวลาบรรชาอุปสมบทว่า
เกสา โลมา นะขา ทันตา ตะโจ เหล่านี้ล้วนเป็นบัญญัติทั้งสิ้น
ในทางวิปัสสนา เช่น พองหนอยุบหนอ เบื้องแรกย่อมรับรู้คำที่เป็นบัญญัติติก่อน เมื่อไกล้เขตวิปัสสนา
แล้ว ย่อมประสบกับสภาวะปรมัตถ์สลับไป เมื่อนั้นกำหนดโดยภาษาจะค่อยๆละไปเองตามลำดับ เพราะ
ประสบกับสภาวะที่ไม่อาจมีบัญญัติเรียกได้จริง

เช่นนั้น เขียน:
แต่ท่านไปเจริญตามรู้พองยุบ เจริญตามรู้รูปนามคือขันธ์ 5อย่างนี้เรียกว่าท่านมีทิฐิวิปลาส


ท่านเองที่วิปลาส การเจริญวิปัสสนา ล้วนมีขันธ์ ๕ เป็นอารมณ์ทั้งนั้น ท่านลองไปดูที่มหาสติปัฏฐาน
สูตรครับ มีข้อไหนพ้นจากขันธ์ ๕ บ้าง เพราะไตรลักษณ์และอริยสัจ นับเนื่องอยู่ในขันธ์ ๕ ทั้งนั้น ข้อนี้บอกได้เลยว่า ท่านรู้ไม่จริง ปฏิบัติไม่จริง คนที่รู้จริงปฏิบัติจริง จะเข้าใจเลย ไม่พ้นจากขันธ์ ๕
ทั้งนั้น จะปฏิบัติจะพิจารณา ไม่พ้นจากขันธ์ ๕ เลย เพราะไตรลักษณ์และสัจจะเนื่องที่นั่นเอง


เช่นนั้น เขียน:
นี่คือจิตวิปลาส เพราะท่านสร้างจิตอันเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ เพื่อภพต่อไป
การพิจารณาโดยโยนิโสมนสิการแบบนี้ เป็นการสร้างเหตุแห่งทุกข์เหรอครับ แล้วพระ
พุทธองค์ทรงแนะให้พิจารณาทำไม เช่น เรามีความเกิด แก่ ตายเป็นธรรมดา ถ้าคิดว่าการทำความ
เข้าใจแบบนี้เป็นเหตุแห่งทุกข์ คุณค้านวิธีการในพระพุทธเจ้าแล้วครับ

เช่นนั้น เขียน:
เวลามีอยู่ ทำไมไม่ทำโสดาปัตติมัคค สกทาคามีมัคค อนาคามีมัคค และอรหัตตมัคโดยตรงเลยละครับ ปล่อยเวลาให้เนิ่นอยู่ทำไมอย่างนี้แหละเรียกว่าท่านมีจิตวิปลาส ท่านวิปลาสจากทางพระนิพพาน


ก็กำลังทำอยู่ ไม่ใช่เมื่อทำแล้วจะได้เลยที่ไหน และเมื่อยังไม่ได้ก็คงยังต้องเป็นปุถุชนอยู่ ท่านพูดหมือน
ง่าย เลยคิดมักง่าย ท่านคิดอย่างไร ทำอย่างกับท่านพอเริ่มปฏิบัติแล้วเข้าสภาวะโสดาบันได้เลยอย่าง
นั้น

เช่นนั้น เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
สัญญาวิปลาส จิตวิปลาส ทิฐิวิปลาสในสิ่งที่ไม่งามว่างาม ๑

การปรุงแต่ง ไม่ใช่ท่านปรุงแต่ง สิ่งที่ปรุงแต่งคือ กามาวจรอกุศลมูล หรือกามาวจรกุศลมูลในจิตใจท่านต่างหากที่ปรุงแต่งให้เสร็จสรรพ

จิตที่รับรู้อาการสภาวะตามจริง มีเจตสิกตรงไหนมาปรุง อยู่กับปัจจุบันที่ปรากฏว่าไม่งาม จะเห็นว่างาม
ได้อย่างไร และในสภาวะนั้น จะงามหรือไม่ ไม่ได้อยู่ในจิตที่พิจารณาตามกำหนดรู้อยู่ ถ้าท่านบอกว่า
เห็นว่างาม ท่านต้องอธิบายได้ว่า เจตสิกตัวไหนมาปรุงให้ว่างาม
การที่ท่านเหมาว่า คนปฏิบัติธรรมด้วยจิตที่เป็นกามมาวจรกุศลนั้นปฏิบัติผิด ท่านมองแค่วาเดียวแล้ว
เริ่มเขาก็เริ่มกันตรงนี้ก่อน แล้วจะดำเนินไปตามลำดับ รูปหรืออรูปที่ท่านว่า ก็เริ่มด้วยกามาจรกุศลฯก่อน
แต่ตามลำดับจะปรับไปเองตามวิธีปฏิบัติ เหตุผลไม่มีเลยคุณ


เช่นนั้น เขียน:
การพัวพันจดจ่อในพองยุบวันแล้ววันเล่าของท่าน ก่อให้ท่านชอบกัมมัฏฐานนี้ ชอบแนวทางนี้ขึ้นมา
พองยุบที่ไม่งาม แต่จิตท่านปรุงแต่งว่างามจึงกล่าวว่าทิฐิวิปลาสในสิ่งที่ไม่งามว่างาม
การชอบสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ที่ไม่ใช่ความดับ ไม่ใช่อรรถไม่ใช่ธรรม ย่อมเป็นทิฐิวิปลาสในสิ่งที่ไม่งามว่างาม


เขาปฏิบัติเพื่อละ มองเขาไม่สุดทาง ถ้าพูดแบบนี้วิธีไหนก็จดจ่อกับวิธีที่เขาปฏิบัติทั้งนั้น ไม่ว่าจะใช้อะไร
ก็ถือว่าจดจ่อทั้งนั้น และเขาไม่ได้ชอบ เขากำหนดรู้เฉยๆ ไม่ได้ศัพท์อีกแล้วคุณ และที่เขาจอจ่อกับ
สภาวะ เขาไม่ได้พัวพัน เขามีวิริยะเจตสิก คือพยายามในการกำหนดรุ้ รั้งจิตไม่ให้หลุดจากสภาวะที่
ปรากฏอยู่
ส่วนวิธีพองยุบ แรกๆก็พองยุบอยู่ล่ะ หลังจากนั้น พองยุบหายไปเอง ละบริกรรมกำหนดต่างๆเอง มีแต่ดูรู้
เท่านั้น ไม่รู้จริงแล้วมาพูด
พูดแบบนี้ก็ว่าพระพุทธเจ้าอีกแล้ว ท่านให้มีความเพียรปฏิบัติ อย่างเช่น ควรพิจารณาเนืองๆว่า........
แบบนี้ถือว่าพัวพันหรือเปล่า การปฏิบัติวิปัสสนาตามนัยสติปัฏฐานก็คล้ายกัน ต้องจดจ่อกับสภาวะ
ต้องปฏิบัติทุกวัน พองยุบที่รู้เห็นอยู่จะหายไปเองตามลำดับโยนิโสฯ ไม่ใช่เขาหยุดกันที่ตรงนั้น
เข้าใจคำว่าขึ้นบันไดหรือข้ามน้ำด้วยเรือไหมครับ บันไดขึ้นทีละขั้น ข้ามขั้นมันเหนือยแล้วอาจพลัดตก
เมื่อขึ้นแล้วก็ไม่ได้ถอดบันไดยกไปด้วย ข้ามน้ำก็เช่นกัน อาศัยเรือ ไม่ว่ายเอง เมื่อข้ามได้แล้วถึงฝั่ง
ก็ไม่แบกเรือไปด้วยหรอก

จะด้วยเหตุผลใดๆ คุณไม่ยกเหตุผลที่สอดคล้องกับพระพุทธวจนะหรือคัมภีร์ที่ปรากฏในยุคต้นๆมาได้เลย
ล้วนแต่อ้างมาลอยๆโดยไม่ปรับบทว่าเข้ากันได้กับที่ยกมาอย่างไร ดูแล้วก็วนๆอยู่กับคำที่ว่าคนอื่นเขา
ทำไม่ถูก วิปลาส ยึดติด
เรื่องกามสัญญาผมก็หาหลักฐานมาแล้ว คุณก็ยังมาว่ากามมาวจรฯอีก ทั้งที่เขามีวิธีละไปตามระบบเอง
แล้วที่อ้างๆมานั้น พระอริยยุคต้นรจนาไว้ทั้งนั้น
เรื่องวิปลาสก็ปรับให้เข้ากับที่อ้างมาไม่ได้ เอามาตั้งแล้วว่าเขา ลืมนึกไปเหรอครับว่า วิธีตามนัยสติ
ปัฏฐานนั้น เป็นวิธีละวิปลาสทั้งนั้น

คุณก็วนๆอยู่แค่นี้เอง ไม่เห็นจะมีหลักฐานมาปรับว่าพองยุบผิดได้สนิดตรงไหนเลย ดูตัวอย่างผมปรับบท
ซิครับ ปรับทั้งสมถนัยและวิปัสสนานัยเลยในเวลายกมาอ้าง ไม่ใช่ยกมาแล้วปรับไม่ได้ อ่านข้างบนซิ
ที่คุณปรับมาเรื่องวิปลาสว่างาม จิตที่รู้ในเวลาปฏิบัติวางเฉยไม่ปรุง คุณยังว่ากามมาวจรจิตปรุงอีก แถไป
ได้ พูดเหมือนว่าต้องฌานจิตอย่างเดียวถึงทำได้ ทั้งที่จริงวิธีปฏิบัติมีทั้งทำฌานจิตและไม่ต้องทำฌาน
จิตก่อน เรื่องนี้พูดสองครั้งแล้วในเรื่องผู้มีกามสัญญาออก คืออุภโตภาควิมุตและสุทธวิปัสนา อีกครั้ง
ก็ตรง อารัมมณูฯและลักขณูปฯ คุณก็ยังวนๆว่าไม่ถูก ไม่ใช่ วิปลาส มีเหตุผลหน่อยครับ

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ส.ค. 2009, 00:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


นิวรณ์ 5

สวัสดียามค่ำครับ คุณกามโภคี

พระพุทธองค์ ตรัสสอน นิวรณ์ละได้ ด้วยปฐมฌาน ไม่ว่าจะเป็น รูปฌาน หรือ อรูปฌาน หรือโลกุตรฌาน ต่างก็ละนิวรณ์ เสียก่อน แต่เพราะท่านไม่เอาฌาน เมื่อท่านเจริญกามาวจรสติ ท่านดูกาม จำกามจิตท่านสั่นไหวไปตามกาม

จิตจึงยังมีนิวรณ์5 ครอบงำเป็นเครื่องเศร้าหมองแห่งใจทำปัญญาให้ทุรพล


อ้างคำพูด:
แต่ที่คุณอ้างมา ยังสรุปไม่ได้ว่าการนั่งสมาธิแล้วทำจิตให้นิ่งไม่ใช่เป็นการเจริญสัมมาสมาธิ
เพราะฌานก็นิ่ง และฌานก็ตรงในมรรค ๘ ข้อสัมมาสมาธิ ในมรรค ๘ ก็บอกว่าฌานเลย
แสดงว่าจิตต้องไม่ซัดส่ายไปในอารมณ์อื่นนอกจากรรมฐาน
และ บุคคลนั่งขัดสมาธิ แล้วทำจิตนิ่งๆในสภาวะบางอย่าง เช่น ดูอาการของท้องที่พองยุบ
เมื่อมีเสียง จิตเขาก็ไปรับรู้เสียงนั้น แบบนี้ก็นิ่ง นิ่งในขณะสภาวะหนึ่งๆ



จิตยังเป็นกามาวจร จดจ่อในกามาวจรขณะนั่งนิ่ง ๆ ต้องเรียกว่านั่งนิ่ง ๆ ไม่ใช่จิตนิ่ง เพราะจิตคุณสั่นไหวไปตามกาม

อ้างคำพูด:
ก็กำหนดว่า เห็นหนอ เมื่อเห็น แล้วพอรูปนั้นหายไป ก็ไม่ได้ตามดู เวลาเห็น ก็ไม่ใด้สนใจว่า
รูปอะไร สีอะไร สัณฐานอย่างไร สักว่าเห็นแบบที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนพาหิยะไง
ตอนนั้นพาหิยะท่านก็ไม่ได้เป็นพระอรหันต์ ท่านก็ยังมีตัณหาทิฏฐิอยู่ด้วย
พอท่านทำตามก็บรรลุได้เรากำหนดรู้ด้วยใจที่เป็นกลางตามแนวสติปัฏฐาน ๔ ละอภิชฌาและโทมนัส คือกำหนดแบบไม่มี
ยินดียินร้าย หลักคือ สติ สัมปชัญญะ สมาธิทันปัจจุบันขณะที่สภาวะมากระทบ
กำหนดแบบนี้มีทิฏฐิตัณหาตรงไหนครับ


เพราะไม่ได้กำจัดนิวรณ์ 5 ราคะ โทสะ โมหะไม่ได้ถูกกำจัด จิตจึงเป็น กามาวจรอกุศลขณะดูพองยุบ
การกล่าวว่า...กำหนดรู้ด้วยใจที่เป็นกลางตามแนวสติปัฏฐาน ๔ ละอภิชฌาและโทมนัส คือกำหนดแบบไม่มียินดียินร้าย หลักคือ สติ สัมปชัญญะ สมาธิ ทันปัจจุบันขณะที่สภาวะมากระทบ ... จึงไม่ได้เกิดขึ้นจริง เพราะจิตท่านออกจากบ่วงกามไม่ได้ แค่นิวรณ์ 5 ท่านยังสลัดออกไม่ได้

“ภิกษุนั้นละนิวรณ์ ๕ เหล่านี้ อันเป็นเครื่องเศร้าหมองแห่งใจ ทำปัญญาให้ทุรพล
ได้แล้ว สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิด
แต่วิเวกอยู่ บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก
ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ
และเสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า
ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุข
ละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่.”

คืนนี้ ก็จะแสดงนิวรณ์ 5 ที่ท่านคุ้นเคยและเพียรมนสิการตลอดเวลา เพราะความวิปัลลาส


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ส.ค. 2009, 00:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑
สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
ฐานิยสูตร

นิวรณ์ ๕ เกิดเพราะมนสิการถึงธรรมเป็นที่ตั้งแห่งนิวรณ์
[๔๓๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กามฉันท์ที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่ง เพราะกระทำมนสิการมากถึงธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งกามราคะ.
[๔๓๙] พยาบาทที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความ
เจริญไพบูลย์ยิ่ง เพราะกระทำมนสิการมากถึงธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งพยาบาท.
[๔๔๐] ถีนมิทธะที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความ
เจริญไพบูลย์ยิ่ง เพราะกระทำมนสิการมากถึงธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งถีนมิทธะ.
[๔๔๑] อุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเป็นไป
เพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่ง เพราะกระทำมนสิการมากถึงธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งอุทธัจจกุกกุจจะ.
[๔๔๒] วิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความ
เจริญไพบูลย์ยิ่ง เพราะกระทำมนสิการมากถึงธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งวิจิกิจฉา.

1.กามฉันท์นิวรณ์ แห่งพองๆ ยุบๆ

กัมมัฏฐานพองยุบที่ไม่งาม แต่จิตท่านปรุงแต่งว่างาม
การชอบสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ที่ไม่ใช่ความดับไม่ใช่อรรถไม่ใช่ธรรม ย่อมเป็นทิฐิวิปลาสในสิ่งที่ไม่งามว่างาม นี่คือกามฉันทะนิวรณ์ของท่าน
กามราคะคือเครื่องกั้นจิต เพราะท่านปฏิเสธฌาน ท่านจึงไม่สามารถเปลี่ยนคุณภาพจิตเป็นจิตพรหมจรรย์ได้
ปัญญาในพระพุทธศาสนาหรือวิปัสสนาคือเพื่อการละหรือเปลี่ยนไม่ใช่แค่ปัญญาในการรู้เท่านั้น
แต่เพราะท่านยัง ยินดีในการรู้ ยังมีความตรึกธรรมอันเป็นที่ตั้งของความตรึกและความรำคาญ
ซึ่งเป็นการปฏิบัติสวนทางกับคำสอนของพระพุทธองค์

2.พยาบาท (ปฏิฆะ)
พยาบาทนิวรณ์ หรือปฎิฆะของท่านคือ เพราะท่านไม่เอาฌาน ท่านมองพองๆยุบ รู้เวทนาปวด บ้าง เจ็บบ้าง กำหนดไปตามรูป นามนั้น ท่านจึงต้องคอยประคองจิตไว้ที่พองๆ ยุบ อันเป็นธรรมที่ตั้งของความตรึกและความรำคาญท่านเห็นปิยรูปสาตรูปอันแปรปรวนเป็นอื่น วิญญาณจึงหมุนเวียนไปตามความแปรปรวนแห่งปิยรูปสาตรูป ความสะดุ้ง และ ความเกิดขึ้นแห่งธรรม ที่เกิดแต่ความหมุนเวียนไปตามความแปรปรวน แห่งปิยรูปสาตรูปย่อมครอบงำจิตของท่าน ท่านย่อมหวาดเสียว มีความลำบาก มีความห่วงใย และสะดุ้งเพราะความถือมั่น

3. ถีนะมิทธะ
ถีนะของท่านคือการปล่อยให้กามาวจรกุศลวิบากเกิดสืบต่อไปเป็นภวังค์ โดยไม่ยกจิตขึ้นสู่มัคคจิต
เพราะจิตท่านเป็นกามาวจรโสภณจิตและกามาวจรมหาวิปากจิต

ดังนั้น กามาวจรมหาวิปากจิต เกิดต่อเนื่องกันนานเมื่อใด เรียกว่าท่านมีถีนะมิทธะ เพราะไม่ได้ทำเหตุคือมัคค เป็นการเสวยผลของกามาวจรกุศลวิบากจิต ถ้าต่อเนื่องกันนานเมื่อใดท่านก็จะเคลิ้มๆ หลับ เพราะการเสวยผลวิบาก

4. อุทธัจจะกุกกุจะ
อ้างคำพูด:
เช่นนั้น เขียน:
เหล่าสัตว์ผู้ถูกมิจฉาทิฐิกำจัด มีจิตฟุ้งซ่าน มีความสำคัญผิด


เมื่อกำหนดรู้ตามจริงโดยสติ สัมปชัญญะ ไม่ได้ปรุงเพิ่มเติม ไม่ได้ชอบหรือไม่ชอบ ไม่มีอะไรพอใจ
หรือไม่พอใจ รู้ว่า พองหนอ....(ดับ) ยุบหนอ....(ดับ) เป็นขณะอยู่อย่างนี้ จิตอยู่ในขณะสภาวะนั้น
ไม่ฟุ้งซ่านเลยครับ เพราะเห็นแต่เกิดดับๆอยู่อย่างนั้น จะฟุ้งได้อย่างไร บริกรรมช่วยให้จิตมีอารมณ์
อยู่กับรูปนามดีขึ้น ใจที่รู้อาการของท้องที่พองขึ้นยุบลงนั้น ตรงนี้เรียกว่าเห็นสภาวะรูปตามจริง


กามาวจรจิตของท่านฟุ้งไปตามเกิดดับ แล้วท่านจะมาบอกว่าไม่ฟุ้งซ่าน ศาสนานี้เขาสอนให้ละขันธ์ ให้ละรูปนาม ไม่ใช่ให้จิตมาอยู่กับรูปนาม
พระพุทธองค์สอนให้จิตยินดีในธรรมมีปีติในธรรม
การปฏิบัติพอง ๆ ยุบ ๆ ของท่าน สวนทางกับพระธรรมเทศนา ฟุ้งซ่านไปรูปนาม รำคาญไปตามเวทนานี่เรียกว่า อุทธัจจะกุกกุจะนิวรณ์

5. วิจิกิจฉา
เพราะท่านไม่เอาฌาน ท่านไม่เชื่อในฌานอันเป็นที่ตั้งของปัญญา ท่านจึงไม่เชื่อในโลกุตตรฌาน มีความสงสัยในโลกุตตรฌานจึงเจริญกามาวจรจิต อันมีกามสัญญา นี่เรียกว่าวิจิกิจฉานิวรณ์

สมาธิสูตร
ผู้มีใจตั้งมั่นย่อมรู้ตามความเป็นจริง
[๑๖๕๔] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเจริญสมาธิ ภิกษุผู้มีใจ
ตั้งมั่นแล้ว ย่อมรู้ตามความเป็นจริง ย่อมรู้อะไรตามความเป็นจริง ย่อมรู้ตามความเป็นจริงว่า
นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เธอทั้งหลายจงเจริญสมาธิ ภิกษุ
ผู้มีใจตั้งมั่นแล้ว ย่อมรู้ตามความเป็นจริง ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลาย
พึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธ-
*คามินีปฏิปทา.
Quote Tipitaka:
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=19&A=9906&w=%CA%C1%D2%B8%D4%CA%D9%B5%C3

เมื่อฌานคือสัมมาสมาธิ เมื่อท่านไม่เอาฌาน ย่อมไม่เจริญสัมมาสมาธิ
การรู้ตามเป็นจริงย่อมไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้
ดังนั้น การปฏิบัติพองๆ ยุบๆ จึงไม่ใช่วิธีที่พระพุทธองค์ตรัสให้ปฏิบัติ เพราะปฏิบัติแบบพองยุบจึงเป็นการเจริญนิวรณ์ 5 ให้พอกพูน


อ้างคำพูด:
อธิบายหน่อยครับว่า ยินดีอย่างไร ยินร้ายอย่างไร
ต้องมีเหตุผลครับ เพราะการที่เรารู้ว่าท้องพองอยู่ ยุบอยู่ เป็นการรับรู้ปกติ ไม่ได้ชอบหรือไม่ชอบที่พองหรือยุบมันจะพองจะยุบ ก็แค่รู้ว่ามันพองหรือยุบ สติปัฏฐาน ๔ ข้ออิริยาบทบรรพว่า
เมื่อยืนอยู่ก็รู้ว่ายืนอยู่ เมื่อเดินอยู่ก็รู้ว่าเดินอยู่ เมื่อนั่งอยู่ก็รู้ว่านั่งอยู่ เมื่อนอนอยู่ก็รู้ว่านอนอยู่
การปฏิบัตินัยเดียวกันเมื่อท้องพองอยู่ก็รู้ว่าพองอยู่ เมื่อท้องยุบอยู่ก็รู้ว่ายุบอยู่
ตกลงการรับรู้อิริยาบทแบบนี้เป็นการยินดียินร้ายเหรอครับ
ถ้าเป็นพระพุทธเจ้าตรัสให้ปฏิบัติทำไมครับ


พระพุทธเจ้าตรัสไม่ได้ตรัสให้ปฏิบัติกัมมัฎฐานพองๆยุบๆ ไว้ที่ไหนในพระไตรปิฎกเลย ท่านตู่เอาข้างเดียว
ถ้าไม่ยินดียินร้ายแล้วท่านจะไปนั่งดูพองดูยุบไปให้เสียเวลาทำไม
ยิ่งตามดูตามรู้ด้วยกามาวจรจิตอย่างนี้ นิวรณ์ 5 ย่อมครอบงำ แล้วดวงตา ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ที่ไหนจะเกิดในจิตได้

กามสัญญาในกามาวจรกุศลจิต ย่อมเป็นเหตุให้เกิดกามาวจรกุศลวิบาก
รูปสัญญาในรูปาวจรกุศลจิต ย่อมเป็นเหตุให้เกิดรูปาวจรกุศลวิบาก
อรูปสัญญาในอรูปาวจรกุศลจิต ย่อมเป็นเหตุให้เกิดอรูปาวจรกุศลวิบาก
มรรคมีองค์ 8 ในจิตต่างหากที่ควรเจริญเพื่อเป็นเหตุแห่งโลกุตตระฌานจิตหรือโลกุตตระกุศลจิต 4


ท่านหวังผลเป็นโลกุตตระ แต่ท่านทำเหตุเป็นกามาวจรกุศลและเสวยผลกามาวจรกุศลอยู่ การหวังมรรคผลโดยวิธีพองยุบของท่านไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้

ท่านต้องทำเหตุให้ตรงกับผลครับ
จิตเหตุอย่างไรได้ผลอย่างนั้นครับท่าน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ส.ค. 2009, 07:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
พระพุทธองค์ ตรัสสอน นิวรณ์ละได้ ด้วยปฐมฌาน ไม่ว่าจะเป็น รูปฌาน หรือ อรูปฌาน หรือโลกุ
ตรฌาน ต่างก็ละนิวรณ์ เสียก่อน แต่เพราะท่านไม่เอาฌาน เมื่อท่านเจริญกามาวจรสติ ท่านดูกาม จำ
กามจิตท่านสั่นไหวไปตามกามจิตจึงยังมีนิวรณ์5 ครอบงำเป็นเครื่องเศร้าหมองแห่งใจทำปัญญาให้
ทุรพล

เท่านี้ก็รู้ว่าคุณไม่ได้อ่านในสิ่งที่ผมอธิบายเลย ถ้าอ่าน จะเข้าใจว่าเขาละนิวรณ์ได้อย่างไร
วิธีละนิวรของผู้ปฏิบัติวิปัสสนาโดยสมถะนำและวิปัสสนาล้วนมีระบบต่างกันตามที่ได้อธิบายไปแล้ว
อ่านหรือยังครับ ผมแยกไว้ให้แล้ว ไม่ใช่แต่ฌานเท่านั้นที่ละนิวรณ์ได้
สมถะนำหน้าวิปัสสนา ละนิวรณ์ด้วยฌานจิต
วิปัสสนานำหน้า ละด้วยญาตปริญญา
การละด้วยการกำหนดรู้(ญาตปริญญา) คือการกำหนดรู้ด้วยไม่ยินดี(อภิชฌา)ยินร้าย(โทมนัส)
อภิชฌา มีโลภะเป็นองค์ธรรม และ โทมนัส มีโทสะเป็นองค์ธรรม สมดังวินิฉัยของอรรถกถาจารย์ว่า
(อรรถกถามหาสติปัฏฐานสูตร)
พึงเห็นการเชื่อมความดังนี้ว่า นำออกเสียซึ่งอภิชฌา และโทมนัสในโลกนั้น . ก็เพราะในที่นี้ กามฉันท์รวมเข้ากับศัพท์ว่า อภิชฌา พยาบาทรวมเข้ากับศัพท์ว่าโทมนัส ฉะนั้น จึงควรทราบว่า
ทรงอธิบาย การละนิวรณ์ด้วยการทรงแสดงธรรมอันเป็นคู่ที่มีกำลังนับเนื่องในนิวรณ์.

การกำหนดรู้ละนิวรณ์ได้ด้วยแบบนี้อย่างนี้
คุณไม่รู้จักนิวรณ์ดี ที่พระพุทธองค์ตรัสให้ละ ๒ อย่างนี้ในเวลาปฏิบัติ เพราะ ๒ อย่างนี้เป็นเหตุให้นิวรณ์
อื่นตามมา ถ้าละ ๒ อย่างนี้ได้ อีก ๓ อย่างไม่เกิด
อ้างคำพูด:
แต่ที่คุณอ้างมา ยังสรุปไม่ได้ว่าการนั่งสมาธิแล้วทำจิตให้นิ่งไม่ใช่เป็นการเจริญสัมมาสมาธิ
เพราะฌานก็นิ่ง และฌานก็ตรงในมรรค ๘ ข้อสัมมาสมาธิ ในมรรค ๘ ก็บอกว่าฌานเลย
แสดงว่าจิตต้องไม่ซัดส่ายไปในอารมณ์อื่นนอกจากรรมฐาน
และ บุคคลนั่งขัดสมาธิ แล้วทำจิตนิ่งๆในสภาวะบางอย่าง เช่น ดูอาการของท้องที่พองยุบ
เมื่อมีเสียง จิตเขาก็ไปรับรู้เสียงนั้น แบบนี้ก็นิ่ง นิ่งในขณะสภาวะหนึ่งๆ

ตรงนี้ที่บอกไป หมายถึงว่า ยังบอกไม่ได้ว่าเป็นสัมมาสมาธิหรือไม่ เพราะไม่มีอะไรบอกได้นอกจาก
สภาวะจิตเท่านั้น ในปุถุชน นิ่งอยู่ อาจมีนิวรณ์หรือไม่มีก็ได้ ในพระอรหันต์ แม้เดินอยู่ก็ไม่มีนิวรณ์
ตรงนี้เป็นแค่ความเห็น อย่าหลงประเด็นครับ
จิตยังเป็นกามาวจร จดจ่อในกามาวจรขณะนั่งนิ่ง ๆ ต้องเรียกว่านั่งนิ่ง ๆ ไม่ใช่จิตนิ่ง เพราะจิตคุณสั่นไหวไปตามกาม
ไม่ได้อ่านวิธีเขา ก็ว่าเขาไปทั่ว กลับไปอ่านของผมก่อน อธิบายอย่างไร เป็นมาอย่างไร แล้วจะรู้ว่า
นิวรณ์มันหลุดหายไปตรงไหน
เช่นนั้น เขียน:
เพราะไม่ได้กำจัดนิวรณ์ 5 ราคะ โทสะ โมหะไม่ได้ถูกกำจัด จิตจึงเป็น กามาวจรอกุศลขณะดูพองยุบ

การละความพอใจ(อภิชฌา)และไม่พอใจ(โทมนัส)ด้วยญาตปริญญา เป็นการละแบบตทังคปหาน(ละได้
ชั่วคราว)ในเวลาที่ปฏิบัติอยู่ คุณอธิบายมาหน่อยว่า ราคะโทสะโมหะ มีได้อย่างไร
ผมเอาเหตุผลทางพระพุทธวจนะมาอ้างแล้วนะครับในโพสผมที่แล้ว
เช่นนั้น เขียน:
การกล่าวว่า...กำหนดรู้ด้วยใจที่เป็นกลางตามแนวสติปัฏฐาน ๔ ละอภิชฌาและโทมนัส คือกำหนดแบบไม่มียินดียินร้าย หลักคือ สติ สัมปชัญญะ สมาธิ ทันปัจจุบันขณะที่สภาวะมากระทบ ... จึงไม่ได้เกิดขึ้นจริง เพราะจิตท่านออกจากบ่วงกามไม่ได้ แค่นิวรณ์ 5 ท่านยังสลัดออกไม่ได้

จะเกิดขึ้นจริงหรือไม่ อยู่ที่ว่า ล่วงความยินดียินร้ายได้หรือไม่ ถ้าล่วงได้ตามหลักวิธีที่พระพุทธเจ้าแสดง
ไว้ในมหาสติปัฏฐานสูตร ก็เกิดขึ้นจริงได้ ในการกำหนดแต่ละครั้ง ถ้าละยินดียินร้ายได้ ก็ละนิวรณ์ได้เป็น
ขณะๆไปตามที่กำหนดรู้นั้นๆ
ท่านมองแค่ว่าต้องฌานจิตจึงละนิวรณ์ได้ ท่านมองผิดแล้ว พลาดอย่างแรง
เช่นนั้น เขียน:
ภิกษุนั้นละนิวรณ์ ๕ เหล่านี้ อันเป็นเครื่องเศร้าหมองแห่งใจ ทำปัญญาให้ทุรพลได้แล้ว สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน

อ่านดีๆ ที่คุณอ้างมา ทรงแสดงตามลำดับเลยนะครับ ละนิวรณ์ก่อนเข้าปฐมฌาน ดูดีๆ ละนิวรณ์
ก่อนถึงฌานจิต แสดงว่าต้องมีธรรมอื่นที่ละนิวรณ์ได้ด้วย คุณสะดุดขาตัวเองอีกแล้ว อ่านไม่เป็นนะครับ
แบบนี้
เช่นนั้น เขียน:
คืนนี้ ก็จะแสดงนิวรณ์ 5 ที่ท่านคุ้นเคยและเพียรมนสิการตลอดเวลา เพราะความวิปัลลาส

ยังไม่รู้จักนิวรณ์เลย จะมาแสดงให้เขารู้ สำคัญตัวเองผิดไปมากเลย สงสัยจะหลงว่าตัวเองได้ภูมิอริยะ
แล้วแน่แท้ แสดงให้ตัวเองเถิดครับ ยินดียินร้ายกำลังครอบงำตัวเองถึงขนาดยังไม่รู้ตัวอีก
คุณค้านคำสอนพระพุทธเจ้ามากนะครับ มองหรืออ่านไม่ดี ก็เที่ยวเข้าใจผิดไป ทั้งไม่รับในเหตุผลที่เขา
อ้างมาตรงตามคำสอน แสดงถึงความใจแคบและการถือมั่นมาก

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ส.ค. 2009, 10:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑
สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
ฐานิยสูตร

นิวรณ์ ๕ เกิดเพราะมนสิการถึงธรรมเป็นที่ตั้งแห่งนิวรณ์
ฯลฯ


ยกมาซะอย่างดีเลยคุณ แต่ไม่ได้เรื่องเลย พระพุทธองค์ก็บอกอยู่ว่า เพราะมนสิการถึงธรรมเป็นที่ตั้งแห่ง
นิวรณ์ ที่เขาปฏิบัตินั้น เป็นธรรมที่ตั้งแห่งนิวรณ์หรือ กำหนดรู้ตามนัยสติปัฏฐานสูตรและญาตปริญญา พิจารณาขันธ์(นามรูป)ตามนัยแห่งตีรณปริญญา
ถ้าตรงนี้เป็นการมนสิการธรรมเป็นที่ตั้งแห่งนิวรณ์ คุณค้านวิธีของพระพุทธองค์อีกครั้งแล้ว

เช่นนั้น เขียน:
1.กามฉันท์นิวรณ์ แห่งพองๆ ยุบๆ
กัมมัฏฐานพองยุบที่ไม่งาม แต่จิตท่านปรุงแต่งว่างาม

มีตรงไหนที่ผมหรือผู้ปฏิบัติด้วยวิธีนี้บอกว่างาม คุณหามา ดีแต่มากล่าวตู่ เพ่งโทษคนอื่นะครับเนี่ย
อภิชฌาวิสมโลภะครอบไปเต็มๆเลยคุณ

เช่นนั้น เขียน:
การชอบสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ที่ไม่ใช่ความดับไม่ใช่อรรถไม่ใช่ธรรม ย่อมเป็นทิฐิวิปลาสในสิ่งที่ไม่งามว่างาม นี่คือกามฉันทะนิวรณ์ของท่าน

ว่าโดยที่สุด ในความดับ ชอบหรือไม่ชอบ ก็ต้องละไป เพราะต้องไม่ยินดีหรือยินร้ายทั้งปวง
ตรงนี้อธิบายไม่ชัดในคำที่คุณกล่าวหาคนอื่นว่า เห็นในสิ่งไม่งามว่างาม
เช่นนั้น เขียน:
กามราคะคือเครื่องกั้นจิต เพราะท่านปฏิเสธฌาน ท่านจึงไม่สามารถเปลี่ยนคุณภาพจิตเป็นจิตพรหมจรรย์ได้

การปฏิเสธฌาน ไม่ใช่กามราคะ พระจักขุบาลท่านก็ไม่ได้ฌาน เป็นสุกขวิปัสสกะ ท่านทำวิปัสสนาล้วน
ท่านพูดแบบนี้ไม่รู้จริง สาวกหลายท่านที่ดำเนินแนวทางไปในวิธีแห่งสุกขวิปัสสกะ หาใช่ต้องมาทำฌาน
จิตเท่านั้น
เช่นนั้น เขียน:
ปัญญาในพระพุทธศาสนาหรือวิปัสสนาคือเพื่อการละหรือเปลี่ยนไม่ใช่แค่ปัญญาในการรู้เท่านั้น

ถ้าไม่รู้ในอรรถในธรรมแบบท่าน ก็ละไม่ได้หรอก ในการปฏิบัติ การจะละได้ต้องรู้ก่อน เพราะถ้าไม่รู้
ก็จะไม่รุ้ว่าละอะไร ไปตามระบบครับ ญาต แปลว่ารู้ ตีรณะ แปลว่าพิจารณา และ ปหาน แปลว่าละ
ตามระบบของปริญญา ๓
เช่นนั้น เขียน:
แต่เพราะท่านยัง ยินดีในการรู้ ยังมีความตรึกธรรมอันเป็นที่ตั้งของความตรึกและความรำคาญซึ่งเป็นการปฏิบัติสวนทางกับคำสอนของพระพุทธองค์

ยินดีตามญาตปริญญา ตรึกในธรรมที่พ้นจากกามวิตก สวนทางกับของพระพุทธเจ้าตรงไหนครับ
อธิบายมานะครับข้อนี้ หลายครั้งผมถามหรือให้อธิบาย คุณก็ไม่อธิบาย ได้แต่ออกมาว่า อ้างไปเรื่อย
ปรับให้เข้ากับข้อปฏิบัติจริงๆก็ไม่ได้

เช่นนั้น เขียน:
2.พยาบาท (ปฏิฆะ)
พยาบาทนิวรณ์ หรือปฎิฆะของท่านคือ เพราะท่านไม่เอาฌาน ท่านมองพองๆยุบ รู้เวทนาปวด บ้าง เจ็บบ้าง กำหนดไปตามรูป นามนั้น

คนไม่เอาฌาน ไม่เห็นจะแปลกเลย ฌานในความหมายท่านคือฌานจิต ผมไม่เอาแบบนี้หรอก
ผมเอาแบบนี้ครับ ลักขณูปนิสัชฌาน เข้าไปรู้ลักษณะของรูปนาม
การรู้สภาวะพองยุบ หรือเวทนาต่างๆ มีปรากฏในมหาสติปัฏฐานสูตร ผิดตรงไหนครับ
กาเย กายานุปสฺสี รู้ว่าพองยุบ, เวทนาสุ เวทนานุปสฺสี เมื่อยหนอ ปวดหนอ,จิตฺเต จิตฺตานุปสฺสี คิด
หนอ , ธมฺเม ธมฺมานุปสฺสี ถูกหนอ กำหนดผัสสะ
แบบนี้ไม่ถูกตรงไหนครับ

เช่นนั้น เขียน:
ท่านจึงต้องคอยประคองจิตไว้ที่พองๆ ยุบ อันเป็นธรรมที่ตั้งของความตรึก

ประครองจิตไว้ในสมัยที่ควรประครอง คือการพยายามให้จิตอยู่ในอารมณ์นั้นๆตามสมถะ
แต่วิธีการพองยุบ นำคำว่า ยุบหนอ พองหนอ หรือคำอื่นๆที่ตรงตามสภาวะที่เกิด มาช่วยในการ
ประครองจิต ข้อนี้เป็นการประครองจิตตามวิธีประครองเพื่อไม่ให้ตกไปสู่นิวรณ์ธรรม คุณอ่านไม่ถึงเหรอ
ครับ
อนึ่ง การปฏิบัติวิธีนี้ หาใช่ยึดมั่นถือมั่นอยู่ที่อาการพองยุบของท้องเท่านั้น การกำหนดรู้จะกระจายไป
ตามฐานทั้ง ๔ ตามนัยมหาสติปัฏฐานสูตร ถ้าคุณคิดว่าเขารู้เฉพาะตรงอาการพองยุบ คุณเข้าใจผิดมาก
คำกำหนดต่างๆ เขาใช้สมถะเข้ามาช่วยในการเจริญสติครับ คุณรู้ไม่ทันพระเถระผู้ให้กำเหนิดวิธีพองยุบ
แล้วละ เขาทำแบบนัยคู่ คือ สมถะวิปัสสนาไปพร้อมกัน
เช่นนั้น เขียน:
และความรำคาญท่านเห็นปิยรูปสาตรูปอันแปรปรวนเป็นอื่น วิญญาณจึงหมุนเวียนไปตามความแปรปรวนแห่งปิยรูปสาตรูป ความสะดุ้ง และ ความเกิดขึ้นแห่งธรรม ที่เกิดแต่ความหมุนเวียนไปตามความแปรปรวน แห่งปิยรูปสาตรูปย่อมครอบงำจิตของท่าน ท่านย่อมหวาดเสียว มีความลำบาก มีความห่วงใย และสะดุ้งเพราะความถือมั่น

ถ้าปฏิบัติไปตามนัยปริญญา ๓ และมหาสติปัฏฐานสูตรแล้ว ไม่มีความรำคาญแห่งจิต เพราะยังไม่ล่วง
รู้ไปถึงปิยรูปสาตรูปเลย การที่วิญญาณต้องหมุนเวียนไปตามความแปรปวนฯ ก็ต้องเป็นปกติอย่างนั้นเอง
คุณลืมไปแล้วหรือ วิญญาณคือจิต เมื่อมีรูป จิตก็ต้องเข้าไปรับรู้ นามรูปเป็นของอาศัยกันเกิด ดับพร้อม
กัน เมื่อเดิน รู้ว่าเดิน ก็คือการที่วิญญาณหรือจิตนี้รู้ตาม เมื่อกลับมานั่ง ก็ต้องรู้ตามไป เพราะจิตเป็นผู้รู้
สภาวะทั้งปวง คุณกลับไปเรียนอภิธรรมใหม่เถิดจะกระจ่าง

และเมื่อรับรู้ตามปริญญา ๓ และมหาสติปัฏฐานสูตร ข้อที่คุณว่าสะดุ้งนั้นหรือ ฯลฯ ไม่มีเกิดขึ้น วิธีนี้พระ
พุทธองค์ทรงสอนมา คงไม่ใช่วิธีที่จะทำให้สะดุ้งนะครับ

เช่นนั้น เขียน:
3. ถีนะมิทธะ
ถีนะของท่านคือการปล่อยให้กามาวจรกุศลวิบากเกิดสืบต่อไปเป็นภวังค์ โดยไม่ยกจิตขึ้นสู่มัคคจิต
เพราะจิตท่านเป็นกามาวจรโสภณจิตและกามาวจรมหาวิปากจิต
ดังนั้น กามาวจรมหาวิปากจิต เกิดต่อเนื่องกันนานเมื่อใด เรียกว่าท่านมีถีนะมิทธะ เพราะไม่ได้ทำเหตุคือมัคค เป็นการเสวยผลของกามาวจรกุศลวิบากจิต ถ้าต่อเนื่องกันนานเมื่อใดท่านก็จะเคลิ้มๆ หลับ เพราะการเสวยผลวิบาก

การกำหนดรู้โดยล่วงความยินดียินร้าย(อภิชฌาและโทมนัส) ไม่ก่อให้เกิดถีนะมิทธะได้ เพราะ ๒ อย่าง
ที่ล่วงไปได้ เป็นการระงับนิวรณ์ที่เหลือไปในตัว แต่เป็นชั่วคราว ผู้ที่ละได้จริงๆคือพระอรหันต์
การยกสู่มรรคจิต ทำได้เฉพาะตอนบรรลุมรรคผลเท่านั้น เพราะมรรคจิตเกิด ผลจิตจะตามมาทันที
จากนั้นจะก้าวสู่อริยภูมิ คุณพูดแบบนี้ คุณไม่เข้าใจการปฏิบัติจริงๆ ถ้ายกกันง่ายแบบคุณว่า อริยะเต็ม
เมืองไปแล้ว
การกำหนดโดยล่วงอภิชฌาและโทมนัส คุณอธิบายมาว่าเป็นกามาวจาจิตตรงไหน ผมจะแนะให้
เวลากำหนด จิตจะมีสมาธิเป็นขณะสั้นๆ แต่สภาวะสมาธิตอนนั้นคุณภาพถึงอุปจารเลย นิวรณ์ระงับ
เป็นขณะไป

เช่นนั้น เขียน:
4. อุทธัจจะกุกกุจะ
กามาวจรจิตของท่านฟุ้งไปตามเกิดดับ แล้วท่านจะมาบอกว่าไม่ฟุ้งซ่าน ศาสนานี้เขาสอนให้ละขันธ์ ให้ละรูปนาม ไม่ใช่ให้จิตมาอยู่กับรูปนาม
พระพุทธองค์สอนให้จิตยินดีในธรรมมีปีติในธรรม
การปฏิบัติพอง ๆ ยุบ ๆ ของท่าน สวนทางกับพระธรรมเทศนา ฟุ้งซ่านไปรูปนาม รำคาญไปตามเวทนานี่เรียกว่า อุทธัจจะกุกกุจะนิวรณ์

จิตเกิดดับในทุกเหล่าสัตว์ จิตของพระขีณาสพก็เกิดดับ การเกิดดับของจิตไม่ใช่การฟุ้ง ถ้าคุณว่าใช่ คุณไม่เข้าใจอีกแล้ว และถ้าคุณว่าการตามรู้การเกิดดับนี้เป็นการฟุ้ง คุณก็ไม่เข้าใจและปฏิบัติไม่ถึง ถ้ากล่าวว่าการรู้การเกิดดับ เป็นการฟุ้งไปของจิต แล้วการเห็นการเกิดดับของรูปนาม(กายจิต) จะเรียกว่าอุทยัพยญาณ(ปัญญาหยั่งเห็นการเกิดขึ้นดับไปของรูปนาม)ได้อย่างไร
คุณปฏิบัติไม่ถึงละซิ ยังไม่เห็นจิตที่เกิดดับอยู่ การเห็นดับ ไม่ใช่ความคิดหายไปแล้วนั่นคือเห็นดับนะ
คุณไม่เข้าใจคำสอนพระพุทธเจ้าจริงๆ
เช่นนั้น เขียน:
5. วิจิกิจฉา
เพราะท่านไม่เอาฌาน ท่านไม่เชื่อในฌานอันเป็นที่ตั้งของปัญญา ท่านจึงไม่เชื่อในโลกุตตรฌาน มีความสงสัยในโลกุตตรฌานจึงเจริญกามาวจรจิต อันมีกามสัญญา นี่เรียกว่าวิจิกิจฉานิวรณ์

คุณฟุ้งซ่านหรือครับ ผมไม่เอาฌาน แต่ผมไม่ได้บอกว่าไม่เชื่อ
วิธีการของผมไม่ต้องทำฌานจิต ผมก็ไม่เอาฌานไง และวิธีดำเนินไปมีหลายวิธีไม่จำเป็นต้องทำฌาน
จิตก่อนเลย คุณรู้แง่มุมเดียวเท่านั้น แล้วเที่ยวไปว่าคนอื่นมากกว่า
ผมไม่เคยสงสัยในโลกุตรฌานด้วย เพราะผมไม่เคยถึง เมื่อไม่ถึง ผมก็ไม่รู้ แล้วผมจะสงสัยทำไม
อบ่าบอกนะว่าคุณถึง เพราะฌานประเภทนี้มีในพระอริยบุคคลเท่านั้น

เช่นนั้น เขียน:
สมาธิสูตร
ผู้มีใจตั้งมั่นย่อมรู้ตามความเป็นจริง
[๑๖๕๔] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเจริญสมาธิ ภิกษุผู้มีใจ
ตั้งมั่นแล้ว ย่อมรู้ตามความเป็นจริง ย่อมรู้อะไรตามความเป็นจริง ย่อมรู้ตามความเป็นจริงว่า
นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เธอทั้งหลายจงเจริญสมาธิ ภิกษุ
ผู้มีใจตั้งมั่นแล้ว ย่อมรู้ตามความเป็นจริง ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลาย
พึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธ-
*คามินีปฏิปทา.

พระสูตรนี้แสดงในแง่มุมที่ทำฌานแล้วพัฒนาไปสู่วิปัสสนาวิถี หาใช่บอกให้ต้องทำฌานก่อนทุกคน
การทำฌานง่ายในบางคนยากในบางคน คุณยกมาอ้างไม่ได้
ในมหาสติปัฏฐานสูตร พระพุทธเจ้ายืนยันว่าได้มรรคผลแน่ ไม่มีบอกว่าต้องทำเานจิตก่อนเลย
คุณทำไมไม่เอามาอธิบายบ้างละครับ

เช่นนั้น เขียน:
เมื่อฌานคือสัมมาสมาธิ เมื่อท่านไม่เอาฌาน ย่อมไม่เจริญสัมมาสมาธิ
การรู้ตามเป็นจริงย่อมไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้
ดังนั้น การปฏิบัติพองๆ ยุบๆ จึงไม่ใช่วิธีที่พระพุทธองค์ตรัสให้ปฏิบัติ เพราะปฏิบัติแบบพองยุบจึงเป็นการเจริญนิวรณ์ 5 ให้พอกพูน

ฌานที่เป็นสัมมาสมาธิ ต้องแวดล้อมด้วยมรรคอื่น หาใช่ฌานจิตอย่างเดียวไม่ คุณรู้ไม่ถึงอีกแล้ว และ
การปฏิบัติตามแนวทางของสติปัฏฐาน กายานุปัสสนาสติฯจนถึงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน สมาธิอยู่
ที่ระดับอุปจาระ อันเป็นองค์สมาธิของทุติยฌานบางอาจารย์กล่าวถึงอัปปันนาเลย(มีในอรรถกถาของ
มหาสติปัฏฐานสูตรและปฏิสัมภิทามรรค)

การที่กำหนดพองหนอ ยุบหนอฯ สติสมาธิถ้าแก่กล้าแล้ว ขณะหนึ่งที่กำหนดนั้น สมาธิจะมีคุณภาพดัง
อุปจาระ แต่จะเกิดเป็นขณะไป ในตอนนั้นจิตเป็นอุปจาระ ก็ละนิวรณ์ไปเป็นขณะๆที่กำหนด
คำบริกรรมที่ช่วย ก็เป็นการห้ามจิตไม่ให้ส่ายไปนอกอิริยาบถหรือสภาวะธรรมที่ปรากฏอยู่ ข้อนี้ไม่ต่าง
จากการบริกรรมของสมถะวิธี วิธีการพองยุบนั้นไปเป็นคู่ คือบางขณะเป็นสมถะ บางขณะเป้นวิปัสสนา
ล้วน เพราะปรับสติสมาธิให้สมดุลย์กัน วิธีของสมถะจะเข้าฌาน แล้วจะออกจากฌานที่แนบแน่นเกิน
เหลือแค่อุปจารฌาน เพราะสติจะรู้สภาวะลำบากในฌานจิตที่แนบแน่นจนเกินไป แล้วพิจารณารู้
สภาวะของนาม คุณสังเกตดู วิธีการเริ่มต้นต่างกัน แต่วิธีการพิจารณาอาศัยสภาวะจิตคล้ายกัน

เช่นนั้น เขียน:
พระพุทธเจ้าตรัสไม่ได้ตรัสให้ปฏิบัติกัมมัฎฐานพองๆยุบๆ ไว้ที่ไหนในพระไตรปิฎกเลย ท่านตู่เอาข้างเดียว

ท่านไม่ได้ตรัสว่าต้องกำหนดพอง-ยุบหรอกครับ แต่การกำหนดเป็นคำๆนี้ เป็นอุบายสอนเพื่อให้
มีสติสมาธิที่ดีขึ้น แต่อุบายนี้ไม่พ้นไปจากหลักการที่พระองค์วางไว้เลย
ถ้าเรากำหนดรู้แบบไม่มีคำมาช่วย คนที่สติสมาธิยังไม่ดีพอจะฟุ้งซ่านไป และก็จะเข้าไม่ถึงรูปนาม
ที่เป็นปรมัตถ์ เป็นอุบายแบบวิธีกสิณนั่นเอง คุณตีความไม่เป็นเอง ลองคิดง่ายๆ พระพุทธองค์
บอกสอนว่า การเดินจงกรมมีอานิสงส์มาก ท่านหามาหน่อยว่า พระองค์สอนเดินอย่างไร การกำหนด
หรือปฏิบัติตามแนวอื่นก็เช่นกัน หลวงพ่อหลวงปู่ทั้งหลายทำกัน แม้แต่หลวงปู่ดูล ท่านก็มีอุบายไปต่าง
หาก แต่อุบายเหล่านั้นไม่พ้นจากหลักการที่พระพุทธเจ้าวางไว้เลย คุณรู้จักแค่ประเด็นเดียว
เห็นแค่ประเด็นเดียว อย่าเพิ่งไปว่าของคนอื่นไม่ถูก ต้องเข้าไปรู้อุบายเขาก่อน


เช่นนั้น เขียน:
ถ้าไม่ยินดียินร้ายแล้วท่านจะไปนั่งดูพองดูยุบไปให้เสียเวลาทำไม
ยิ่งตามดูตามรู้ด้วยกามาวจรจิตอย่างนี้ นิวรณ์ 5 ย่อมครอบงำ แล้วดวงตา ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ที่ไหนจะเกิดในจิตได้

การที่เขากำหนดกัน หาใช่กำหนดหยุดอยู่ที่ท้องไม่ เขารับรู้สภาวะที่ปรากฏอยู่ เวลานั่งสมาธิ ท้องพอง
ยุบชัดที่สุด เขาก็รู้ตรงนั้น เวลาเดิน ขาที่ก้าวชัดที่สุดเขาก็รู้ตรงนั้น(เดินหนอ) ทั้งนี้ตามนัยของ
มาหาสติปัฏฐานสูตรว่า กายตั้งอยู่ด้วยอาการอย่างไรก็รู้อาการอย่างนั้น
ท่านตรัสคลุมไว้เลย
หมายถึง อาการเป็นไปอย่างไร ก็รู้ตามแบบนั้น ส่วนจิตที่กำหนดรู้ ก็ตามญาตปริญญา โดยนำบริกรรม
มาช่วยเพื่อไม่ให้หลงไปในยินดียินร้ายเท่านั้น และเพื่อเพิ่มสมาธิในการกำหนดด้วย
เช่นนั้น เขียน:
กามสัญญาในกามาวจรกุศลจิต ย่อมเป็นเหตุให้เกิดกามาวจรกุศลวิบาก
รูปสัญญาในรูปาวจรกุศลจิต ย่อมเป็นเหตุให้เกิดรูปาวจรกุศลวิบาก
อรูปสัญญาในอรูปาวจรกุศลจิต ย่อมเป็นเหตุให้เกิดอรูปาวจรกุศลวิบาก
มรรคมีองค์ 8 ในจิตต่างหากที่ควรเจริญเพื่อเป็นเหตุแห่งโลกุตตระฌานจิตหรือโลกุตตระกุศลจิต 4

ผมอธิบายเรื่องละกามสัญญาแล้วในโพสก่อนๆ ไม่ได้อ่านกระมัง ถึงไม่รู้วิธีว่าเขาละกันอย่างไร
ตอนไหน อ่านบ้างก่อนที่จะมาสนทนา เพราะไม่อ่านไม่คิดตาม เลยพูดไปเรื่อย
การทำงานของมรรคมี ๒ อย่าง คือปุพพภาคมรรค และ อริยมรรค
ในขณะปฏิบัติอยู่ ของทุกวิธีการเป็นปุพพภาคมรรคทั้งหมด ในขณะเข้ามรรคผลเป็นอริยมรรค
ฉนั้น การปฏิบัติตามนัยสติปัฏฐานสูตร หรือ ปริญญา ๓ ในทุกอุบายวิธี จัดเป็นมรรคทั้งนั้น แต่เป็น
ปุพพภาคมรรค
เราต้องพูดตั้งแต่เหตุ ท่านพูดถึงโลกุตรจิตบ้าง โลกุตรมรรคบ้าง ท่านพูดเหมือนง่าย พูดเหมือนเริ่มทำ
แล้วจะเข้าไปโลกุตรมรรคได้เลย ท่านมักง่ายจริงๆ เพราะว่าเข้าใจจิตที่เป็นโลกุตรนั้นนำมาปฏิบัติ
เพื่อบรรลุได้ในเบื้องต้นของปุถุชน ข้อนี้ให้สังวรให้ดี โลกุตรจิต เป็นผลของการปฏิบัติ หาใช่จิตที่จะ
นำมาปฏิบัติเพื่อละกิเลสไม่

เช่นนั้น เขียน:
ท่านหวังผลเป็นโลกุตตระ แต่ท่านทำเหตุเป็นกามาวจรกุศลและเสวยผลกามาวจรกุศลอยู่ การหวังมรรคผลโดยวิธีพองยุบของท่านไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้
ท่านต้องทำเหตุให้ตรงกับผลครับ
จิตเหตุอย่างไรได้ผลอย่างนั้นครับท่าน

ในเวลาปฏิบัติ ไม่มีหวังด้วยซ้ำ ต้องละวางอีกด้วย ไม่เช่นนั้น อภิชฌาก็มาถึงจิตได้
เหตุที่ปฏิบัติตามนัยของสติปัฏฐานและปริญญา ๓ จะเป็นเหตุเสวยผลของกามาวจรไม่ได้ เพราะพระ
พุทธเจ้าตรัสอานิสงส์ไว้ทายพระสูตรชัดเจนว่าบรรลุอนาคามีหรือพระอรหันต์ได้ ท่านค้านคำสอนอีกแล้ว
แต่ที่คิดว่าเป็นกามาวจรนั้น เพราะคุณต่างหากที่ไม่เข้าใจอย่างถ่องแท้ถึงวิธีการปฏิบัติ ทั้งยังไม่ได้ศึกษา
ในแง่มุมอื่นๆ เป็นการปิดตาตัวเองในการศึกษาและปฏิบัติตามหลักศาสนาอย่างแท้จริง
ยอมรับเถิดครับว่าเรียนรู้มาน้อย แล้วคราวหลังก็พิจารณาก่อนที่จะว่าวิธีการใด
ขอให้สังวรไว้ พระธรรม ๘๔๐๐๐ ขันธ์ หยิบยกตรงไหนมาก็ปฏิบัติหลุดพ้นได้ทั้งนั้น ไปสร้างอุบายไหน
ถ้าไม่หลุดไปจากหลักการเดิม ก็หลุดพ้นได้ และวิธีหลุดพ้นนั้น หาใช่จะต้องทำฌานจิตอย่างเดียว
บางครั้งทำฌานก่อนแล้วดำเนินตามวิปัสสนาวิธี
บางครั้งวิปัสสนาวิธีไปเลย เมื่อมีนิวรณ์ปรากฏ ก็ใช้สมถะวิธีกำจัดไป
ไม่จำเป็นต้องเริ่มที่ฌานจิตแบบที่คุณว่าเพียงอย่างเดียว
กามสัญญาและนิวรณ์ที่คุณว่า ก็ละด้วยปริญญา(ญาตปริญญา)ไปแล้ว คุณไม่อ่านวิธีที่ผมอธิบายเอง
ส่วนคำบริกรรม ก็อธิบายแล้วว่า ช่วยสมาธิเท่านั้น เมื่อปราศจากนิวร์แล้ว ถึงเขตวิปัสสนาอย่างแท้จริง
คำพวกนี้จะหายไปเอง จะกำหนดไม่ได้เลย ต่อเมื่อสมาธิสติหย่อนลง ก็จะบริกรรมช่วย วิธีนี้เป็นการ
ใช้สมถะและวิปัสสนาคู่กันไป(นัยคู่)
อนึ่ง ตามแนวสติปัฏฐานทั้ง ๔ มียืนยันเรื่องถึงสมาธิ ไตรลักษณ์และมรรคอริยสัจไว้ในอรรถกถาของ
มหาสติปัฏฐานสูตร
สรุปง่ายๆ ไม่ว่าวิธีอะไร ถ้าไม่หลุดจากหลักการของมหาสติปัฏฐาน ๔ และ ปริญญา ๓ วิธีนั้นๆหลุด
พ้นได้ ทั้งนี้จะช้าหรือเร็ว ขึ้นอยู่กับบุญวาสนาที่สั่งสมมาด้วย เพราะเป็นเหตุเบื้องต้น

ขอให้สังวรก่อนที่จะว่าวิธีการอื่น

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ส.ค. 2009, 10:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ตรงประเด็น เขียน:
ใจจริง อยากเข้ามาสนทนา กับทั้งสองท่านน่ะครับ

แต่ อ่านแล้ว ตาลาย ...




ผมเสนอว่า

ลองลิสต์ ประเด็นที่เห็นไม่ตรงกัน ออกมา เป็นข้อๆ

แล้ว ศึกษาร่วมกัน ไปทีละข้อ ทีละข้อๆ

ข้อไหนเห็นตรงกันแล้ว หรือ เห็นไม่ตรงกันแต่ไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจน(หรือ ไม่ต้องการข้อสรุป)... ก็ผ่านไป
แล้ว นำข้อใหม่มาวาง



ถ้า ว่างๆ ผมจะลองมาลิสต์ แยกเป็นประเด็นๆ ให้

จะได้เกิดประโยชน์ต่อผู้ศึกษาท่านอื่นด้วย



เห็นด้วยครับ

โดยเฉพาะกับคนที่ทำงาน

อ่านได้เป็นช่วงๆ

พองานเข้าก็เงยหน้าสั่งงาน

ไม่มีเวลาอ่านยาวๆครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ส.ค. 2009, 15:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ส.ค. 2009, 09:11
โพสต์: 23

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ยาวมากมากกกกกกกกก
:b23: :b23: :b23:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ส.ค. 2009, 23:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดียามดึกครับ ท่านกามโภคี

“เรามีการประชุมพระสาวกผู้แสวงหา คุณใหญ่ครั้งเดียว ภิกษุที่ประชุมกันมี ๑๒๕๐ รูป เราผู้ปราศจากมลทินรุ่งเรือนอยู่ใท่ามกลางภิกษุสงฆ์ เราให้สิ่งที่ปรารถนาทุกอย่างเหมือนแก้วมณีให้สิ่งที่ต้องการทั้งปวง ฉะนั้น เราประกาศจตุราริยสัจเพื่ออนุเคราะห์แก่สัตว์ทั้งหลาย ผู้หวังผล ผู้แสวงหาธรรมเครื่องละความพอใจในภพ”

ท่านกามโภคี ปฏิบิติกัมมัฏฐานพองๆ ยุบๆ ด้วยความปรารถนาใด ด้วยความหวังใด?


ด้วยความรู้ที่เลอะเลอะ เลือนๆ เต็มไปด้วยอัตโนมติตามคัมภีร์ที่แต่งขึ้นภายหลัง จึงเข้าใจ ปรมัตถ์ เป็นประการอื่น และถือเอาพองๆ ยุบๆ เป็นการปฏิบัติด้วยความเป็นสีลพตปรามาส ว่าเป็นทางแห่งปรมัตถ์


อ้างคำพูด:
รูปเคลื่อน จิตรู้ รูปคือรูป จิตเป็นนาม ๒ อย่างนี้เองปรมัตถ์ อาการเคลื่อนไหว กับจิตที่รู้ สองอย่าง
ในอภิธรรม จิต เจตสิก เป็นนาม รูปเป็นรูป ตามนัย รูป ๒๘ คุณเข้าใจตรงนี้หรือยัง นี่อารมณ์ปรมัตถ์
นะครับ ที่เอาบัญญัติมาช่วย ก็เพิ่มสติ สมาธิ เมื่อแก่กล้าแล้วจะละเอง เพราะว่า สติสมาธิถ้ายังไม่แก่
กล้า ไม่มีทางเห็นปรมัตถ์ได้ครับ ต้องแก่กล้า และรู้ทันปัจจุบันกำหนดด้วย


ทางปรมัตถ์ในพระพุทธศาสนาคือทางสู่มัคค 4 ผล 4 และนิพพานครับ
ไม่ใช่จิต เจตสิก รูป นิพพานตามตำรา ที่แต่งขึ้นเอาเองในชั้นหลังๆ

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗
ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
นาลกสูตรที่ ๑๑


เจ้าศากยะทั้งหลายได้ทอดพระเนตรเห็นอสิตฤาษีร้องไห้ จึงตรัสถามว่า ถ้าอันตรายจักมีในพระกุมารหรือหนอ…..
อสิตฤาษียังปีติอันไพบูลย์ให้เกิดแก่เจ้าศากยะทั้งหลายแล้ว ออกจากพระราชวัง ไปประพฤติพรหมจรรย์ เมื่อจะอนุเคราะห์หลานของตน ได้ให้หลานสมาทานในธรรมของพระผู้มีพระภาคผู้มีความเพียรไม่มีบุคคลผู้เสมอ แล้วกล่าวว่าในกาลข้างหน้า
“ เจ้าได้ยินเสียงอันระบือไปว่า พุทโธ ดังนี้ไซร้ พระผู้มี
พระภาค ได้ทรงบรรลุพระสัมโพธิญาณแล้ว ย่อมทรงเปิด
เผยทางปรมัตถธรรม เจ้าจงไปทูลสอบถามด้วยตนเอง ใน
สำนักของพระองค์ แล้วประพฤติพรหมจรรย์ในสำนักพระผู้มี
พระภาคพระองค์นั้นเถิด อสิตฤาษีนั้นผู้มีปรกติเห็นนิพพาน
อันบริสุทธิ์อย่างยิ่งในอนาคต มีใจเกื้อกูลเช่นนั้น ได้สั่งสอน
นาลกดาบส นาลกดาบสเป็นผู้สั่งสมบุญไว้ รักษาอินทรีย์
รอคอยพระชินสีห์อยู่ นาลกดาบสได้ฟังเสียงประกาศในการ
ที่พระชินสีห์ทรงประกาศธรรมจักรอันประเสริฐ ได้ไปเฝ้า
พระชินสีห์ผู้องอาจกว่าฤาษีแล้ว เป็นผู้เลื่อมใส ได้ทูลถาม
ปฏิปทาอันประเสริฐของมุนีกะพระชินสีห์ ผู้เป็นมุนีผู้
ประเสริฐ ในเมื่อเวลาคำสั่งสอนของอสิตฤาษีมาถึงเข้า
ฉะนี้แล ฯ

Quote Tipitaka:
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_name.php?name=%B9%D2%C5%A1%CA%D9%B5%C3&book=9&bookZ=33


เมื่อได้รู้ว่า ทางปรมัตถ์ เป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคได้ทรงเปิดเผย ด้วยทรงประกาศ อริยสัจจ์4 แก่ผู้หวังผล คือ มรรค ผล และนิพพาน อันเป็นธรรมเพื่อละความพอใจในภพ

ท่านกามโภคี ตั้งแต่ เริ่มพรรณา กามสัญญา, ความวิปัลลาส แห่งพองๆ ยุบๆ และ นิวรณ์5 แห่งพองๆ ยุบๆ ที่ท่านมนสิการ เช่นนั้นเพียงกล่าวถึงจิตอันเป็นกามาวจร ของท่าน ไม่ได้บอกให้ท่านเจริญรูปฌาน หรืออรูปฌาน ท่านคิดเองเออเองไปถึงไหนกันล่ะครับ

คืนนี้ ก็จะแสดง มิจฉามรรค แห่งพองๆ ยุบๆ และมรรคปฏิปทาอันเป็นสัมมามรรค


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ส.ค. 2009, 23:47 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


สาธุ..ขยันจริง...ขยันแล้ว..อย่าลืมใช้ปัญญารักษาใจ..ด้วยเน้อ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 118 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6 ... 8  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 0 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร