วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 21:57  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 118 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5 ... 8  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 15:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2009, 17:25
โพสต์: 281

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กามโภคี เขียน:
dhama เขียน:
แชร์หน่อยนะครับ ดูมันยุบ และพอง เฉยๆได้มั้ยครับ โดยไม่ต้องกล่าวในใจก็น่าจะดีนะครับแค่เห็นลักษณะอาการ ความเป็นอนิจจัง


บริกรรมหรือกำหนด เป็นเพียงวิธีฝึกครับ ถ้าสติสมาธิดีแล้ว ละได้เองครับ
จะเริ่มที่กำหนดแบบรู้เฉยๆก็ได้ ถ้าไม่เคยมา รู้แบบกำหนดบริกรรมก่อนก็ได้

เมื่อปรมัตถ์ปรากฏ จะละบัญญัติเองเลย ไม่ต้องบริกรรมช่วย ก็เห็นไตรลักษณ์ได้ชัดเจน
ในคนใหม่จะฟุ้ง อุบายท่านโกเอ็นก้า ยังเอาอานาปานะสติมาช่วยสติสมาธิก่อนเลยท่านดามา
ต่อเมื่อสติสมาธิดีแล้ว รู้เฉยๆครับ


ตอนนี้ผมใช้อาณาปานสติเป็นประจำครับผมว่าอาณาปาณมีครบทั้งหมดเลยนะครับทั้งสมถะและวิปัสนา ส่วนท่านไหนจะแบบไหนผมว่ามันดีทั้งนั้นสุดท้ายมันลงมาที่เดียวกัน เพียงแต่อันไหนมันถูกจังหวะชีวิตใครจะเจอแบบไหนคุณว่าจริงมั้ยครับ

.....................................................
เราจะเดินให้สุดทาง http://www.thai.dhamma.org


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 16:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
คุณกามโภคี ไม่ได้แก้ซักกะอย่าง ท่านก็ยังคงพัวพันอยู่ในกามสัญญาตั้งแต่ต้นจนจบ จิตมีอารมณ์ที่รูปขันธ์ที่กายอันพองๆ ยุบๆ ทั้งๆที่ อาการพองๆ ยุบๆ ก็เป็นรูปที่มีจิตเป็นสมุฐาน อันมีเจตนากระทำ
ท่านต้องการทุกข์ ท่านก็ทำเหตุให้เกิดทุกข์ ต่อไป
มีรูปเป็นอารมณ์ มีขันธ์เป็นอารมณ์ ผลก็คือวัฏฏะนั้นย่อมยาว


คุณอ่านหรือยัง ทำความเข้าใจหรือยัง เพ่งที่ว่าคุณกลัวเสียที่หาเหตุผลมาตำหนิวิธีการของคนอื่นไม่ได้
มากกว่า หามาซิครับพระสูตรที่ว่าพองหนอยุบหนอทำไม่ถูก แล้ววิธีไหนทำถูก ถ้าบอกว่าดูที่จิตมันคิดไป
นั้นก็ไม่เป็นการไปมั่วอยู่กับสังขารเจตสิกเหรอครับ

บอกกรรมวิธีมาซิครับว่ามันพัวพันอย่างไร ที่ผมบอกไปก็อารมณ์ของวิธีการเจริญสติทั้งนั้น มีรูปนาม
เป็นอารมณ์ กายเป็นรูป เวทนา จิต ธรรม เป็นนาม กำหนดช่วยสติสมาธิก่อน เมื่อสติสมาธิดีแล้ว
บัญญัติจะหายไปเอง ไม่ต้องกำหนดก็รู้ แล้วเวลาเขากำหนดอยุ่ เขาก็กำหนดกันเฉยๆ ใจเป็นกลาง
ไม่ได้ปรุงแต่งอะไรเพิ่มเติมเลย
ไม่ใช่ทำวิธีแบบคุณแล้วมาเพ่งเล็งว่าของคนอื่นไม่ถูก ตรงนี้บอกได้เลยว่า วิธีที่คุณปฏิบัติ มันบรรเทา
อภิชฌา(การเพ่งโทษ)ไม่ได้เลย วิธีไหนกันแน่ที่ทำให้ใจไม่เป็นกลาง ลองคิดดูครับ

เมื่อรูปหรือกายเคลื่อน จิตรู้สึกขณะนั้น ในคนสมาธิสติยังไม่พร้อม นำบริกรรมมาช่วยบ้าง
ไม่ใช่ไปยึดที่บริกรรมนั้นเลย บริกรรมเพื่อเพิ่มสมาธิ ในคนที่สมาธิดี สติดี จะไม่บริกรรมก็ได้
แล้วขันธ์ ๕ ที่ดูอยู่รู้อยู่ตามจริง ก็เป็นอารมณ์ของวิปัสสนาด้วย ตกลงคุณเข้าใจวิปัสสนาหรือยังกันแน่
ผมชักสงสัยแล้ว

รูปเคลื่อน จิตรู้ รูปคือรูป จิตเป็นนาม ๒ อย่างนี้เองปรมัตถ์ อาการเคลื่อนไหว กับจิตที่รู้ สองอย่าง
ในอภิธรรม จิต เจตสิก เป็นนาม รูปเป็นรูป ตามนัย รูป ๒๘ คุณเข้าใจตรงนี้หรือยัง นี่อารมณ์ปรมัตถ์
นะครับ ที่เอาบัญญัติมาช่วย ก็เพิ่มสติ สมาธิ เมื่อแก่กล้าแล้วจะละเอง เพราะว่า สติสมาธิถ้ายังไม่แก่
กล้า ไม่มีทางเห็นปรมัตถ์ได้ครับ ต้องแก่กล้า และรู้ทันปัจจุบันกำหนดด้วย

ในเมื่อสติปัฏฐานมี ๔ ฐาน เราก็ดูได้ทั้งกาย เวทนา จิต และ ธรรม ทำไมคุณคิดว่าดูสิ่งเหล่านี้แบบนี้
ไม่ถูกละครับ

คำว่ารูป ก็มีจิตเป็นสมุฏฐานได้ มีนามเองเป็นสมุฎฐานได้ เช่น เดินไปกินน้ำ จิตมันสั่งไปแล้วว่าต้องการ
น้ำ เวลาปฏิบัติ กำหนด อยากหนอ คือรู้ว่าจิตอยากกินน้ำ วิธีนี้รู้กระทั้งจิตที่สั่ง คุณเห็นหรือยังจิตที่สั่ง
อันนี้เรียกว่า รูปมีจิตเป็นสมุฏฐาน แล้วมันเป็นกามสัญญาตรงไหน เรารู้ทันจิตเราเองว่าเป็นไปอย่างไร
ในขณะปัจจุบัน กามตรงไหนครับ รู้เฉยๆ ไม่ได้ปรุงแต่งเพิ่ม

แล้วบอกอีกจิตมีอารมณ์ที่รูปขันธ์ที่กายอันพองๆ ยุบๆ ทั้งๆที่ อาการพองๆ ยุบๆ ก็เป็นรูปที่มีจิตเป็นสมุฐาน อันมีเจตนากระทำ
คุณคิดได้ไง ผมบอกตรงไหนว่าบังคับเขาพอง-ยุบ เขาเป็นอยู่แล้ว ดูรู้เขาเฉยๆ ไม่ได้เจตนาจะให้เขา
พองเขายุบเลย ตามสภาวะรูปธาตุ เขาทำงานกันเอง รักษาอินทรีย์ธาตุเขาเอง เขาก็พองก็ยุบของเขา
เอง ไม่มีเจตนาไปบังคับเขาพองยุบเลย



เช่นนั้น เขียน:
อ้างคำพูด:
อภิชฌา องค์ธรรมคือ โลภะ
โทมนัส องค์ธรรมคือ โมหะ มีโมหะเป็นสมุฏฐาน


เขียนผิดเขียนใหม่ก็ได้น๊ะครับท่าน


แบบนี้ดีกว่า ง่ายดี ผมว่าคุณไม่ลึกเท่าไรแล้ว แถนอกทางไปเรื่อยแล้ว
เพราะหลงจึง อยาก(โภละ)
เพราะหลง เมื่อไม่ได้ หรือได้มาไม่ดีที่ใจหวัง(โลภะ) ก็มีใจโทมนัส หรือโทสะ

อภิชฌา พระพุทธเจ้าใช้คำว่า กามฉันทะ ส่วน โทมนัส พระองค์ใช้คำว่า พยาบาท
ข้อนี้วินิจฉัยตามคัมภีร์เนตติปกรณ์ ผมไม่ได้พูดลอยๆ

ตามอภิธรรมจะเป็นแบบนี้
อภิชฌา องค์ธรรมคือ โลภะเจตสิก
โทมนัส องค์ธรรมคือ โทสะเจตสิก

แต่เมื่อปฏิบัติ องค์ที่เป็นสาเหตุให้เกิดสองตัวนี้คือโมหะ คือหลง และ โมหะนี้เกิดพร้อมกับ
โลภะและโทสะ เพราะต้องหลงก่อนจึงโลภะและโทสะได้ ผมถึงได้กล่าวแบบนั้น
หลงคือ ไม่รู้เห็นตามความจริง

เช่นนั้น เขียน:
อ้างคำพูด:
พองหนอ ยุบหนอ เห็นหนอ ยินหนอ รสหนอ รู้หนอ ฯลฯ ไม่ได้อยากให้พองเกิด
หรือไม่ได้อยากให้เสียงเกิดเลย มันมีอยู่แล้วปกติ แล้วมันเกิดมา ก็รู้ตามจริงว่ามันพองมันยุบ
รูปที่เห็นก็เหมือนกัน อยู่เฉยๆมันก็เห็น เพราะมีตาและรูป มีจักขุประสาท เมื่อเห็นก็เห็นหนอ
ไม่ได้อยากให้เห็น หรือ เมื่อรู้เห็น ก็ไม่ได้ไม่พอใจมันเลย รู้มันเฉยๆเท่านั้น วางใจเป็นกลาง
คุณคิดว่าวางใจเมื่อกำหนดรู้แบบนี้เป็นโลภหรือโทสะเหรอครับ


โมหะครับ โมหะ ฟุ้งโดยเจตนาครับ ออกจากมรรคปฏิปทาครับ จิตเป็นอกุศลครับ


ฟุ้งตรงไหนครับ รู้สภาวะขณะนั้นฟุ้งเหรอครับ เข้าใจฟุ้งอย่างไรครับ
ฟุ้งคืออาการที่จิตสัดส่ายไปโดยไม่รู้ขณะปัจจุบันที่เกิดกับจิต นี่เรียกว่าฟุ้ง
การรู้อิริยาบถในขณะที่ได้ปัจจุบัน ฟุ้งเหรอครับ คุณไปจำใครเขามา ทำไมไม่ลองลำดับแล้วคิดเอง
ปฏิบัติเองละครับ จะรู้จักฟุ้งไวกว่านี้อีก และที่สำคัญ ถ้าเจตนาบังคับได้ ไม่ใช่ฟุ้งครับ ฟุ้งนี่ บังคับไม่ได้

ลองดูอันนี้
พองหนอ ยุบหนอ

เห็นชอบเพราะ เห็นว่า มีเพียงรูปที่เคลื่อนอยุ่ และนามคือจิต รู้อยู่เท่านั้น ตัวตนไม่มี
ดำริชอบเพราะ กำหนดรู้ด้วยใจเป็นกลาง ปราศจากามฉันทะ (เนกขัมมสังกัปปะ)
วาจาชอบ เพราะ ไม่ได้ผิดมิจฉาวาจาเลย ไม่ได้โกหก ไม่ได้ส่อเสียด ไม่ได้หยาบ ไม่ได้เพ้อเจ้อ
เพราะตอนกำหนด มันพองจริงๆยุบจริง
การงานชอบ เพราะไม่ใช่เป็นกิจกรรมที่ทำให้ใครเดือดร้อน
อาชีวะชอบ เพราะทำเช่นนี้ไม่เป็นการเลี้ยงชีพที่ผิดเลย เป็นกลางกับทุกสภาวะ รู้เฉยๆครับ
พยายามชอบ เพราะ กำหนดรู้ด้วยใจที่เป็นกลางแต่ละครั้ง ละความถือตัวตนออกไป(ยังอกุศลเก่าให้
หมด) และรู้อาการสภาวะตามจริง (ยังกุศลใหม่ให้เกิด) ใส่ใจรู้ตามทุกขณะๆ (พยายาม)
ระลึกชอบ เพราะมีการระลึกรู้อิริยาบถและสภาวะต่างๆทาง กาย เวทนา จิต ธรรม ในขณะนั้นๆ(ปัจจุบัน)
สมาธิชอบ เพราะจิตตั้งอยู่ในสภาวะที่รู้นั้น ไม่สัดส่ายเพราะความอยากหรือไม่อยาก ชอบหรือไม่ชอบ
ปราศจากนิวรณ์มีกามฉันทะเป็นต้น

ถึงตรงนี้ คุณจะยังว่า ออกจากมรรคปฏิปทาอีกหรือไม่ ถ้ายังออกอยุ่ ต้องหาเหตุผลมาครับ ไม่ใช่แค่พูด



เช่นนั้น เขียน:
ธรรมเป็นอกุศล เป็นไฉน?
อกุศลจิต สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยอุทธัจจะ มีรูปเป็นอารมณ์ หรือมีเสียงเป็นอารมณ์ มีกลิ่นเป็นอารมณ์ มีรสเป็นอารมณ์ มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์ มีธรรมเป็นอารมณ์
หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้น
ในสมัยใด ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร
อุเบกขา เอกัคคตา วิริยินทรีย์ สมาธินทรีย์ มนินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ มิจฉาสังกัปปะ
มิจฉาวายามะ มิจฉาสมาธิ วิริยพละ สมาธิพละ อหิริกพละ อโนตตัปปพละ อุทธัจจะ โมหะ
อหิริกะ อโนตตัปปะ สมถะ ปัคคาหะ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัย
เกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอกุศล.


เมื่อไม่ฟุ้ง ก็ไม่ใช่แบบที่คุณอ้างมาหรอกครับ
อุธัจจะ คือความที่จิตขึ้นไปรับอารมณ์โดยขาดสติ เมื่อเห็น กำหนด เห็นหนอ ตัดเลย ไม่ปรุงต่อ
ไม่รับรู้ รู้แค่ว่าเห็น จะสีสรรแบบไหนก็ไม่รู้ ตอนนั้น จิตมีแค่ผัสสะกระทบ คือ ตาและรูป จิตไม่ยกสู่
อารมณ์เลย คือดับไปแค่นั้นหาบไปแค่นั้น ตามขณะที่กระทบอยู่ ตรงนี้ครับที่ไม่ฟุ้ง คือรู้แค่กระทบ
เวทนา สัญญา สังขาร ยังไม่ทันเกิดเลย ดับไปแล้วขณะนั้น

ยังจะฟุ้งตรงไหน

เช่นนั้น เขียน:
จิตท่านพัวพันในกามสัญญาตามที่ท่านหนออยู่นั่นล่ะครับ เวทนารู้สิ่งใด สัญญาจำสิ่งนั้น วิญญาณก็รู้ในสิ่งนั้น การบอกว่าไม่ถึงสัญญา จึงผิดสภาวะธรรมครับ ท่านเข้าใจองค์ธรรมผิดแระครับ ท่านขณะท่านหนอ เห็นหนอ ท่านไม่มีสัญญาขันธ์หรือครับ ท่านมีสัญญาขันธ์หรือเปล่าครับ
ถ้าไม่มีสัญญาท่านจะเห็นหนอ ยินหนอ รู้หนอ ได้อย่างไรครับ
อกุศลกรรม คือก็มีโมหะมูลจิตนะครับ
ดังนั้นการยินหนอ รู้หนอแล้วดับเลยไม่ถึงสัญญาเลยจึงไม่สามารถทำได้จริงครับ


จิตรู้นะครับ ไม่ใช่เวทนารู้ คุณเข้าใจผิดแล้ว
บอกหน่อยครับ เอาชัดๆ พอเห็น กำหนดว่าเห็นหนอ เป็นกามสัญญา เป็นอย่างไร จิตยินดียินร้ายตรง
ไหน บอกชัดๆครับ อย่าอ้างพุทธพจน์แบบวัวพันหลัก

รูปกระทบ วิญญาณ(จิต)รู้ สัญญาจำได้ว่ารูป แต่ไม่ได้หมายถึงจำได้ขนาดว่ารูปอะไร ตัวอะไร สีอะไร
สัณฐานแบบไหน
หมายแค่ว่า รูป ตามความหมายผมคือ ไม่จำได้หมายรู้ไปมากกว่านี้
สัญญาตรงนี้ไม่เป็นเหตุให้สังขารทำงานครับ คือไม่เกิดการปรุงแต่ง
ในอารมณ์เพิ่ม เมื่อไม่มีอะไรปรุงเพิ่ม ก็ไม่เป็นเหตุให้ความสุขทุกข์เกิด เวทนาก็ไม่มีเกิดครับ ส่วนที่เฉย
นั้น เฉยเพราะกำหนดรู้ตามจริง เฉยไม่อยู่ภายไต้เวทนาของคนธรรมดา เฉยแบบสังขารุเบกขาญาณ
เฉยเพราะรู้จักไตรลักษณ์ของรูปนามครับ

เช่นนั้น เขียน:
ท่านขณะท่านหนอ เห็นหนอ ท่านไม่มีสัญญาขันธ์หรือครับ ท่านมีสัญญาขันธ์หรือเปล่าครับ
ถ้าไม่มีสัญญาท่านจะเห็นหนอ ยินหนอ รู้หนอ ได้อย่างไรครับ


ในความหมายของผมอธิบายไปแล้วข้าบนนี้เอง ว่าสัญญาแค่ไหนแบบไหน มีก็ได้ครับ มีแบบที่ผม
อธิบายไง มีแค่รู้ว่า รูป เสีบง กลิ่น รส สัมผัส มีแค่นี้ ไม่รู้ถึงสี สัณฐาน หรืออย่างอื่นอีก เรียกว่า
อัพโพหาริกครับ มี เหมือนไม่มี

เช่นนั้น เขียน:
อกุศลกรรม คือก็มีโมหะมูลจิตนะครับ
ดังนั้นการยินหนอ รู้หนอแล้วดับเลยไม่ถึงสัญญาเลยจึงไม่สามารถทำได้จริงครับถูกแล้วครับ โดยองค์ธรรมของอกุศลจิตดวงที่12 จึงเป็นตามที่ท่านบอกล่ะครับ เจตนาฟุ้งไงล่ะครับ
อกุศลจิตก็ เกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไป เหมือนกันกับกุศลจิตล่ะครับ เมือมนสิการด้วยอกุศลจิต ผลที่ได้ก็คือ ภพหรือวัฏฏ์ อันยาวต่อไป อวิชชาสวะทั้งนั้นครับ


สุต.ขุ.ปฏิ.

อตีตานุธาวนํ จิตฺตํ วิกฺเขปานานุปติตํ.
จิตที่คำนึงถึงอตีดย่อมตกไปสู่ความฟุ้งซ่าน

แล้วกำหนดอยู่กับปัจจุบัน คือ เมื่อเห็นก็กำหนดเห็น เมื่อพองก็กำหนดพอง ผมถามหน่อย จิตตอนนั้น
คำนึงถึงอตีดเหรอครับ เมื่อไม่คำนึงอตีดอยู่กับปัจจุบัน ก็ไม่ฟุ้ง จากนั้นไม่ต้องพูดถึงเรื่อง อกุศลจิต
ไม่ใช่ไม่รู้ แต่ ไม่อยากพูดถึงอภิธรรม เดี๋ยวเรื่องจะมั่ว หลุดประเด็นไป เพราะตอนนี้ประเด็นอยู่ที่
วิธีปฏิบัติพองยุบ

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 16:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


dhama เขียน:
ตอนนี้ผมใช้อาณาปานสติเป็นประจำครับผมว่าอาณาปาณมีครบทั้งหมดเลยนะครับทั้งสมถะและวิปัสนา ส่วนท่านไหนจะแบบไหนผมว่ามันดีทั้งนั้นสุดท้ายมันลงมาที่เดียวกัน เพียงแต่อันไหนมันถูกจังหวะชีวิตใครจะเจอแบบไหนคุณว่าจริงมั้ยครับ


ถูกแล้วครับ วิธีเริ่มอาจแตกต่างกัน แต่จบลงที่สติปัฏฐานครับ
อานาปานะสติ เหมาะแก่การปฏิบัติทุกวิธีครับ เป็นจุดเริ่มที่ดีมาก

ในผมเองเอาเป็นกรรมฐานรอง คือ เมื่อสมาธิด้อยกว่าสติ ผมก็จะใช้วิธีอานาปานะช่วย เช่นกัน

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 17:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธัมมารมณ์ ทั้งหลาย ......ทุกข์


วิธีไหนๆก็มีรูปนามครับ นาม คือ จิต (วิญญาณ) รูปก็คือสภาวะที่แตกสลายไป สองอย่างนี้ไม่ว่าวิธี
ปฏิบัติแบบไหนก็มี แต่จะครบหรือไม่นั้นเป็นอีกเรื่อง เพราะ นามบางอย่างเป็นเจตสิก ไม่ใช่เกิดได้
ทุกครั้ง แล้วแต่สภาวะ ข้อสำคัญ อย่ายึดมั่น ดูดีๆ ขันธ์ ๕ ไม่ใช่ตัวทุกข์ตรงๆนะครับ

สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานขันธา ทุกขา ว่าโดยย่ออุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นตัวทุกข์

เมื่อไม่มีอุปาทาน กำหนดรู้ตามสภาวะไม่ยึดมั่นถือมั่น แล้วจะทุกข์อย่างไร ถ้าการทำในใจว่า พองหนอ
เป็นกลางแบบนี้เป็นอุปาทาน ใครพูดออกมาไม่แย่กว่าเหรอครับ แม้แต่ดูใจใจว่าคิดอะไร ก็ไม่ต่างกับ
กำหนดในใจหรอกครับ ที่เขาบอกพองหนอ จิตจะได้ไม่ส่าย ถ้าดูเฉยๆ อาจตามเรื่องราวที่จิตคิดอยู่
ไปครับ เขาช่วยเรื่องสติสมาธิต่างหาก หาได้ยึดมั่นถือมั่นไม่

เช่นนั้น เขียน:
การรับรู้โดยทิฐิ ตัณหา มานะว่าเป็นอัตตา ก่อให้เกิดอุปธิ นั้นคือ.... สมุทัย เหตุแห่งทุกข์


เมื่อกำหนดรู้ตามจริง ไม่ปรุงแต่งเพิ่ม ก็ไม่มีตัณหาหรอกครับ เพราะไม่มี อยากได้ อยากให้เป้ หรือไม่ให้
เป็น รู้เฉยๆครับ

เช่นนั้น เขียน:
ในกาลใดแลท่านไม่มี ในกาลนั้นท่านย่อมไม่มีในโลกนี้ ย่อมไม่มีในโลกหน้า ย่อมไม่มีในระหว่างโลกทั้งสอง ........นิโรธ


เมื่อกำหนดรู้ เช่น พองหนอ รูปนามที่กำหนด (กาย+จิต) ดับไปเป็นขณะพร้อมกัน ไม่ทันที่กิเลสตัณหา
อุปาทานเข้ามาได้ ตอนนั้นครับ เรียก ตทังคปหาร คือประหารได้ชั่วขณะ ต่อเมื่อหลุดพ้นจากอาสวะแล้ว
จะเป้นนิโรธครับ

เช่นนั้น เขียน:
เพราะละอัตตา ว่ามีว่าเป็น จึงชื่อว่าเป็นผู้สักว่าเห็น เป็นผู้สักว่าฟัง.... คือไม่พัวพันในอุปธิอันก่อให้เกิดภพ เป็นที่ตั้งแห่งอัตตา นี้คือมรรคปฏิปทา


อธิบายย่อๆไปแล้วว่ามรรคอย่างไร ดูโพสที่แล้วครับ

เช่นนั้น เขียน:
พระธรรมบทนี้ ว่างแล้วจากการพัวพันในนามรูป อันก่อให้เกิดอัตตา เมื่อละอัตตาทั้งมวล ก็บรรลุมรรค ผล นิพพาน ท่านพาหิยะจึงมีนิพพานเป็นอารมณ์ และบรรลุนิพพานในท้ายที่สุด


คำว่าพัวพันคือ มีตัณหา เพราะ ตัณหา คือ ยางเหนียว หรือ กิเลสเป็นเครื่องร้อยรัด หรือเหตุแห่งทุกข์
เมื่อกำหนดรู้แบบไม่มีตัณหา ก็ไม่มีอะไรจะมายึดถือให้เป็นทุกข์(อุปาทานขันธ์)

เช่นนั้น เขียน:
การตามดูตามรู้ พองๆ ยุบ อันเป็นรูปขันธ์เนื่องด้วยตน เป็นไปกับตน ย่อมเป็นปปัญจธรรม ธรรมอันเป็นเครื่องเนิ่นช้า


การตามรู้อิริยาบถ เป็นการตามรู้ความเป็นไปทางกาย เนื่องด้วยกาย คุณพูดแบบนี้คุณปฏิเสธ
คำสอนพระพุทธเจ้าเหรอครับ บาปนะ เพราะมีอยู่ในสติปัฏฐานสูตรนะครับ

กาย เวทนา จิต ธรรม คือ ขันธ์ ๕ เลยนะครับ

รูป กาย
เวทนา เวทนา
วิญญาณ จิต
สัญญา สังขาร ธรรม

ดูดีๆ ใจเย็น ใช้เหตุผลครับ

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 19:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3832

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ศึกวันทรงชัย

ราชดำเนินยังไม่มันปานนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 เม.ย. 2009, 19:55
โพสต์: 548

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ชาติสยาม เขียน:
ศึกวันทรงชัย

ราชดำเนินยังไม่มันปานนี้


จุ๊ ๆ อย่าส่งเสียงรบกวนคนข้างเคียงสิ่เพื่อน...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีครับ

อะไรจะปานนั้น

คุณพี่เช่นนั้นครับ ต้องการพี่เลี้ยงช่วยให้น้ำไหมครับ



ผมว่างงานครับ
cool


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ส.ค. 2009, 11:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
การตามรู้อิริยาบถ เป็นการตามรู้ความเป็นไปทางกาย เนื่องด้วยกาย คุณพูดแบบนี้คุณปฏิเสธ
คำสอนพระพุทธเจ้าเหรอครับ บาปนะ เพราะมีอยู่ในสติปัฏฐานสูตรนะครับ


เมื่อท่านกามโภคี ไร้ความรู้เรื่ององค์ธรรมในจิตทำงานอย่างไร
ขาดความเข้าใจเรื่องอุทธัจจะกุกกุจะอันเป็นนิวรณ์
และอุทธัจจะ อันเป็นสัมปยุตธรรมในจิตอันเป็นอกุศล แตกต่างกันอย่างไร
อีกทั้งยังไม่เข้าใจ ว่าการรู้อิริยาบถในสติปัฏฐาน 4 ภาวนา เป็นอย่างไร
อีกทั้งยังอ้างเนตติปกรณ์ซึ่งรจนาโดยพระอรหันตเถระพระมาหสังกัจจายนะ อีกคัมภีร์หนึ่ง

เช่นนั้นต้องถามท่านสั้นๆ ง่าย และท่านพึงตอบให้กระจ่างด้วย อรรถในธรรมสงเคราะห์ลงในอริยะสัจจ์ 4ซึ่งท่านก็คงได้ศึกษามาสมควรแก่ภูมิของท่าน ว่า

"ตอนนี้ ท่านเพ่งพองยุบอยู่ไหม? เห็นพองยุบชัดไหม? "


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ส.ค. 2009, 15:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
เมื่อท่านกามโภคี ไร้ความรู้เรื่ององค์ธรรมในจิตทำงานอย่างไร
ขาดความเข้าใจเรื่องอุทธัจจะกุกกุจะอันเป็นนิวรณ์
และอุทธัจจะ อันเป็นสัมปยุตธรรมในจิตอันเป็นอกุศล แตกต่างกันอย่างไร
อีกทั้งยังไม่เข้าใจ ว่าการรู้อิริยาบถในสติปัฏฐาน 4 ภาวนา เป็นอย่างไร
อีกทั้งยังอ้างเนตติปกรณ์ซึ่งรจนาโดยพระอรหันตเถระพระมาหสังกัจจายนะ อีกคัมภีร์หนึ่ง


คนอื่นมีความเห็นไม่ตรงกับท่าน ท่านก็ใจกว้างหน่อย อย่าเพิ่งว่าเขาไร้ความรู้ซิครับ

ผมไม่จำเป็นต้องรู้จักอุทธัจจะฯ ว่าจะเป็นมาแบบไหน รู้วิธีละอุทธัจจะฯก็พอ อุทธัจจะฯไม่ว่าจะ
สัมปยุตด้วยกุศลหรืออกุศล โดยที่สุดแล้วไม่พึงประสงค์ของการปฏิบัติทั้งนั้น เพราะปฏิบัติโดยที่สุด
คือละทั้งกุศลและอกุศล

ภาวนาครับ
รู้สึกได้โดยไม่ต้องน้อมคิดว่า สิ่งที่กำลังยืน เดิน นั่ง นอน เคลื่อนไหว และหยุดนิ่งอยู่นั้น เป็นสักว่ารูป ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา แต่อย่างใด และที่สำคัญผู้ปฏิบัติจะรู้ถึงจิตที่อาศัยอยู่กับรูปและเป็นผู้รู้รูปด้วย
พอจะใช่หรือยังครับ แบบนี้เลยที่ผมทำอยู่ นี่แค่ความหมายแคบๆนะครับ ภาวนา กว้างกว่านี้มาก

พระโสภณมหาเถระ ท่านชำนาญในเนตติปกรณ์ แล้วถ่ายทอดให้ท่านพระอาสภมหาเภระ
ท่านอาสภมหาเถระประสิทธิ์ประสาทให้ท่านญาณสิทธิภิกขุตามแนวทางเนตติปกรณ์
ท่านญาณสิทธิภิกขุอบรมสั่งสอนคุณปู่คุณย่าผมตามแนวทางนี้
คุณปู่คุณย่าผมสั่งสอนผมตามแบบแผนนี้ ก็ไม่น่าผิดอะไร

และที่สำคัญ ท่านโสภณมหาเถระ ท่านชำนาญในวิธีการพอง-ยุบด้วยซิ ที่ผมเอามาอ้าง
ก็จำมาจากอธิบายเนตติปกรณ์ของท่านโสภณมหาเถระ(เรื่องอุทธัจจะฯและอภิชฌาโทมนัส)
ผมไม่เก่งขนาดรู้เอง ก็ต้องอ้างคัมภีร์ จะอ้างสภาวะที่ปฏิบัติอยู่ คุณก็ปิดไม่รับ แล้วจะให้อ้างอะไร
ผมก็ต้องอ้างคัมภีร์ครับ

เช่นนั้น เขียน:
"ตอนนี้ ท่านเพ่งพองยุบอยู่ไหม? "


ผมตามรู้กายครับ หมายถึงตามรู้สภาวะทางกาย ความเป็นไปของอาการทางกาย สภาวะกระทบกาย
ส่วนคำว่าเพ่งตามความหมายของคุณ ไม่ใช่วิธีพึงประสงค์ของการปฏิบัติด้วยวิธีนี้

อนึ่ง ใครที่ใช้คำว่าเพ่งกับการกำหนดด้วยวิธีพองยุบ ผมกล้าพูดได้เลย เขาคนนั้นไม่รู้จักวิธีพองยุบ
โดยแท้จริง เพราะคนที่ปฏิบัติตามแนวพองยุบ ไม่เพ่งเลยครับ และไม่ได้ตามเห็นที่ท้องพองยุบที่เดียว

เช่น เมื่อท้องพอง รู้ว่าพอง เมื่อยุบ รู้ว่ายุบ เมื่อเดินนั่งอาจมีอาการเมื่อย ปวด เหน็บ ชา ก็รู้ว่า เมื่อย ปวด
หรือเหน็บชา เมื่อปฏิบัติไป อาจมีเบื่อ ท้อ ก็รู้จิตตอนนั้นว่า เบื่อท้อ เมื่อมีเสียงมากระทบ ก็รู้ว่า เสียง หรือ
ได้ยินครับ เป็นต้น

บาลีใช้คำว่า อนุปสฺสนา แปลว่า ตามเห็น และ ลักษณูปนิชสัชฌาน หมายถึง การเข้าไปรู้ลักษณะ
ของรูปขันธ์นามขันธ์ ฌานตัวนี้ไม่ได้แปลว่าเพ่ง ใครแปลเพ่ง แสดงว่าคนนั้นไม่เคยปฏิบัติแบบนี้จริง
เพราะถ้าปฏิบัติแบบนี้จริง จะต้องแปลออกมาว่า รู้ หรือ รู้สึก

ฌาน มาจาก ญา หรือ ชาหรือ ฌา ธาตุ แปลว่า รู้ ครับ

เช่นนั้น เขียน:
เห็นพองยุบชัดไหม?


ไม่เห็นพองยุบเลย

แล้วคุณละครับ เวลาพิมพ์คำสนทนากับผม สติอยู่ที่ไหนครับ เล่าให้ฟังบ้างครับ แลกเปลี่ยนกันครับ

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ส.ค. 2009, 22:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดียามดึก ครับคุณกามโภคี

กามโภคี เขียน:
ผมไม่จำเป็นต้องรู้จักอุทธัจจะฯ ว่าจะเป็นมาแบบไหน รู้วิธีละอุทธัจจะฯก็พอ อุทธัจจะฯไม่ว่าจะ
สัมปยุตด้วยกุศลหรืออกุศล โดยที่สุดแล้วไม่พึงประสงค์ของการปฏิบัติทั้งนั้น เพราะปฏิบัติโดยที่สุด
คือละทั้งกุศลและอกุศล


อ้างคำพูด:
อนึ่ง ใครที่ใช้คำว่าเพ่งกับการกำหนดด้วยวิธีพองยุบ ผมกล้าพูดได้เลย เขาคนนั้นไม่รู้จักวิธีพองยุบโดยแท้จริง เพราะคนที่ปฏิบัติตามแนวพองยุบ ไม่เพ่งเลยครับ และไม่ได้ตามเห็นที่ท้องพองยุบที่เดียว
เช่น เมื่อท้องพอง รู้ว่าพอง เมื่อยุบ รู้ว่ายุบ เมื่อเดินนั่งอาจมีอาการเมื่อย ปวด เหน็บ ชา ก็รู้ว่า เมื่อย ปวด
หรือเหน็บชา เมื่อปฏิบัติไป อาจมีเบื่อ ท้อ ก็รู้จิตตอนนั้นว่า เบื่อท้อ เมื่อมีเสียงมากระทบ ก็รู้ว่า เสียง หรือได้ยินครับ เป็นต้น


ได้อ่านคำตอบของท่านแล้วก็ชื่นใจครับ ที่ท่านยอมรับว่าท่านไม่รู้เรื่องนิวรณ์ 5 เลย และท่านก็ไม่มีความเข้าใจเรื่องสมถะ และฌาน และอริยะสัจจ์ 4 เลยแม้แต่นิดเดียว ท่านถึงปฏิเสธฌาน และทำวิปัสสนึก

เช่นนั้นถึงถามท่านให้ท่านสงเคราะห์ลงอริยะสัจจ์ให้เห็นเป็นภูมิธรรมของท่าน และท่านก็ทำไม่ได้
ท่านคิดว่า ฌานคือการเพ่ง สมถะคือฌาน ตามความรู้ผิดๆ ถูกๆ นอกพระไตรปิฏก

เมื่อขาดความรู้เรื่องนิวรณ์ 5 ซึ่ง จิตของท่านก็ยังคงมีนิวรณ์ 5 กลุ้มรุมจิต ท่านซึ่งท่านยังละไม่ได้
อภิชฌา โทมนัสในโลกท่านย่อมละไม่ได้เช่นกัน จิตของท่านก็ยังคงเป็นกามาวจรจิตอยู่นั่นเอง

ด้วยเหตุนี้ท่านจึงกล่าวไว้ในตอนต้นของการสนทนาระหว่างท่าน และเช่นนั้น เกี่ยวกับ จิตนิ่ง เพราะขาดความเข้าใจเรื่องสมถะ ฌาน และจิตอย่างถูกต้องตามพระธรรมเทศนาของพระพุทธองค์อยู่นั่นเอง

อ้างคำพูด:
กระทู้เลขที่ 24925 นั่งสมาธิไม่ได้
ตกลงนิ่งหรือไม่นิ่งครับที่เป็นสัมมาสมาธิ เพราะตามพระสูตรที่ยกมานั้น ฌานเลยครับ แล้วก็นิ่งด้วย
คำว่านิ่งในความหมายของการปฏิบัติ ถ้าสมถะ นิ่งจริงๆ นิ่งในอารมณ์บัญญัติ และฌานจะเกิดไม่ได้
ถ้าอิริยาบทยังไม่นิ่ง ไม่ว่าจะยืน เดิน นั่ง นอน ต้องนิ่งครับ ไม่งั้นฌานไม่เกิดแน่
ถ้าวิปัสสนา นิ่งในขณะหนึ่งๆครับ นิ่งในขณะที่จิตรับรู้สภาวะที่เกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไป นั้นๆ
ส่วนที่ไม่นั่งนิ่งๆ ระวังนะครับ อินทรีย์ ๕ อย่างแรก ตา หู จมูก ลิ้น กาย ไม่สำรวมระวังจะไม่ทันกิเลส
นะครับ
อีกอย่างครับที่แนะนำ สาวกของพระพุทธเจ้า ร้อยละ 99 เลยก็ว่าได้ที่บรรลุในอิริยาบทนิ่งครับ
แม้แต่พระพุทธองค์เอง ก็ยังทรงบรรลุโพธิญาณในอิริยาบทนั่งเลยครับ
ข้อนี้ขอให้ตรองหน่อครับ จักเป็นประโยชน์แก่พวกเราเอง


เช่นนั้นจะค่อยๆ คลายทิฐิของท่าน ไปทีละน้อยๆ
ท่านโยนิโสมนสิการ ตรงนี้ก่อนนะครับ

สิ่งที่ท่านเรียกว่านิ่ง คือกายนิ่ง นั่งนิ่ง ตานิ่ง หูนิ่ง ลิ้นนิ่ง
พระพุทธองค์ พระสาวกของพระพุทธองค์ นั่งนิ่ง กายนิ่ง

จิตของท่านทั้งหลายนั้น นิ่งหรือเปล่า จิตของท่านทั้งหลายเหล่านั้นเป็นฌานเป็นญาณไหม
กายท่านนิ่ง จิตไม่ได้นิ่งตามนะครับ เกิดฌานเกิดญาณ ตลอดเวลา

จิตท่านทั้งหลายนั้น ละ นิวรณ์ ด้วยปฐมฌาน

"ภิกษุนั้น ละนิวรณ์ ๕ เหล่านี้ อันทำใจให้เศร้าหมอง ทำปัญญาให้
ทรามได้แล้ว สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย แล้วบรรลุปฐมฌาน
ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่
"

แม้จิตละนิวรณ์ 5 ตั้ง 5 อย่าง จิตนิ่งๆ ทำได้หรือครับ ถ้า ไม่เกิดฌานเกิดญาณ ตลอดเวลา

ทำความเข้าใจตรงนี้ให้ตรงเสียก่อน

ว่ากายนิ่งจิตไม่นิ่งตาม ฌานเกิดญาณเกิดตลอดเวลา ท่านจะรับความจริงข้อนี้ได้ก่อนหรือเปล่า


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ส.ค. 2009, 22:31 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


บันเทิงธรรม..มีธรรมะเป็นความบันเทิง..

คนรู้น้อย..บันเทิงน้อย...คนรู้มาก..บันเทิงมาก..

คนรู้น้อย..ก็เลยไม่รู้จะเอาอะไร..ไปยุ่งกะเขา

คนรู้น้อย..ไม่ยุ่ง..(..โชคดี..ที่รู้น้อย..รู้แค่เอาตัวรอด)

คนรู้มาก..ยุ่งจริง..(..โชคดี..ที่รู้มาก..รู้ใว้ช่วยตัวและคนอื่น ๆ ให้รอด )

มีแต่..โชคดี..โชคดี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ส.ค. 2009, 22:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 ส.ค. 2007, 09:17
โพสต์: 239

ที่อยู่: สุโขทัยธานี

 ข้อมูลส่วนตัว




.jpg
.jpg [ 131.14 KiB | เปิดดู 4687 ครั้ง ]
:b5: :b9:
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ส.ค. 2009, 00:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
สวัสดียามดึก ครับคุณกามโภคี
อนึ่ง ใครที่ใช้คำว่าเพ่งกับการกำหนดด้วยวิธีพองยุบ ผมกล้าพูดได้เลย เขาคนนั้นไม่รู้จักวิธีพองยุบโดยแท้จริง เพราะคนที่ปฏิบัติตามแนวพองยุบ ไม่เพ่งเลยครับ และไม่ได้ตามเห็นที่ท้องพองยุบที่เดียว
เช่น เมื่อท้องพอง รู้ว่าพอง เมื่อยุบ รู้ว่ายุบ เมื่อเดินนั่งอาจมีอาการเมื่อย ปวด เหน็บ ชา ก็รู้ว่า เมื่อย ปวด
หรือเหน็บชา
เมื่อปฏิบัติไป อาจมีเบื่อ ท้อ ก็รู้จิตตอนนั้นว่า เบื่อท้อ เมื่อมีเสียงมากระทบ ก็รู้ว่า เสียง หรือได้ยินครับ เป็นต้น


เช่นนั้น เขียน:
ท่านถึงปฏิเสธฌาน และทำวิปัสสนึก


ที่เน้นสี ดูดีๆ ใช่ กาย เวทนา จิต ธรรม หรือเปล่าครับ ผมไม่ใช้ภาษาปริยัติ คุณยังมองไม่ออกเลย

ยถา ยถา วา ปนสฺส กาโย ปณิหิโต โหติ ตถา ตถา นมฺปชานาติ
เธอตั้งกายไว้ด้วยอาการอย่างใดๆ ก็รู้ชัดอาการอย่างนั้นๆ

ท้อง(ส่วนหนึ่งของกาย)พองก็รู้ว่าพอง ยุบก็รู้ว่ายุบ

สุขํ วา เวทนํ เวทยมาโน สุขํ เวทนํ เวทยามีติ ปชานาติ ทุกฺขํ วา เวทนํ เวทยมาโน ทุกฺขํ เวทนํ เวทยา
มีติ ปชานาติ
เสวยสุขเวทนาอยู่ ก็รู้ชัดว่า เราเสวยสุขเวทนา หรือ เสวยทุกขเวทนา ก็รู้ชัด
ว่า เราเสวยทุกขเวทนา

เมื่อยปวดเหน็บชาก็รู้ว่าเมื่อยปวด ฯลฯ

สราคํ วา จิตฺตํ สราคํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ วีตราคํ วา จิตฺตํ วีตราคํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ สโทสํ วา
จิตฺตํ สโทสํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ
จิตมีราคะ ก็รู้ว่าจิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะ ก็รู้ว่าจิต ปราศจากราคะ จิตมีโทสะ
ก็รู้ว่าจิตมีโทสะ ฯลฯ

เมื่อปฏิบัติไป อาจมีเบื่อ ท้อ ก็รู้จิตตอนนั้นว่า เบื่อท้อ

ส่วน เมื่อมีเสียงมากระทบ ก็รู้ว่า เสียง หรือได้ยิน เป็นธรรมครับ
กำหนดสภาวะที่กระทบอายตนะ (อายตนะ ๑๒ ภายใน ๖ ภายนอก ๖)

มองอย่างไรก็เป็นการเจริญสติปัฏฐาน คงจะคนละอันกับวิปัสสนึกที่คุณเข้าใจแน่เลย

เช่นนั้น เขียน:
เช่นนั้นถึงถามท่านให้ท่านสงเคราะห์ลงอริยะสัจจ์ให้เห็นเป็นภูมิธรรมของท่าน และท่านก็ทำไม่ได้
ท่านคิดว่า ฌานคือการเพ่ง สมถะคือฌาน ตามความรู้ผิดๆ ถูกๆ นอกพระไตรปิฏก


ทุกข์ พึงกำหนดรู้ อ่านข้างบนครับ กำหนดรู้ทั้งนั้นเลย ทั้ง ๔ ฐาน
เหตุแห่งทุกข์ พึงละ กำหนดรู้โดยละพอใจหรือไม่พอใจ ในรูปนามที่ปราฏอยู่
ความดับทุกข์ พึงกระทำให้แจ้ง กำหนดโดยไม่ปรุงแต่งเพิ่ม
กำหนดตามจริงของสภาวะ(อ่านข้างบน พองก็รู้พองฯ) ทิฏฐิตัณหาอุปาทานก็ไม่มี
ตรงที่ไม่มีทิฏฐิ ตัณหา อุปาทาน ตรงนั้นละความดับทุกข์
มรรค พึงให้เจริญ
เห็นชอบเพราะ เห็นว่า มีเพียงรูปที่เคลื่อนอยุ่ และนามคือจิต รู้อยู่เท่านั้น ตัวตนไม่มี
ดำริชอบเพราะ กำหนดรู้ด้วยใจเป็นกลาง ปราศจากามฉันทะ (เนกขัมมสังกัปปะ)
วาจาชอบ เพราะ ไม่ได้ผิดมิจฉาวาจาเลย ไม่ได้โกหก ไม่ได้ส่อเสียด ไม่ได้หยาบ ไม่ได้เพ้อเจ้อ
เพราะตอนกำหนด มันพองจริงๆยุบจริง
การงานชอบ เพราะไม่ใช่เป็นกิจกรรมที่ทำให้ใครเดือดร้อน
อาชีวะชอบ เพราะทำเช่นนี้ไม่เป็นการเลี้ยงชีพที่ผิดเลย เป็นกลางกับทุกสภาวะ รู้เฉยๆครับ
พยายามชอบ เพราะ กำหนดรู้ด้วยใจที่เป็นกลางแต่ละครั้ง ละความถือตัวตนออกไป(ยังอกุศลเก่าให้
หมด) และรู้อาการสภาวะตามจริง (ยังกุศลใหม่ให้เกิด) ใส่ใจรู้ตามทุกขณะๆ (พยายาม)
ระลึกชอบ เพราะมีการระลึกรู้อิริยาบถและสภาวะต่างๆทาง กาย เวทนา จิต ธรรม ในขณะนั้นๆ(ปัจจุบัน)
สมาธิชอบ เพราะจิตตั้งอยู่ในสภาวะที่รู้นั้น ไม่สัดส่ายเพราะความอยากหรือไม่อยาก ชอบหรือไม่ชอบ
ปราศจากนิวรณ์มีกามฉันทะเป็นต้น

นอกพระไตรปิฎกตรงไหนครับ อันนี้อริยสัจเลย คนมีปัญญาจักมองเห็นเองครับ หรือคุณมองไม่เห็น
ว่าวิธีนี้เป็นอริยสัจอย่างไร

อนึ่ง ผมไม่แปลฌานว่าเพ่งนะครับ
อ้างคำพูด:
ฌานตัวนี้ไม่ได้แปลว่าเพ่ง ใครแปลเพ่ง แสดงว่าคนนั้นไม่เคยปฏิบัติแบบนี้จริงเพราะถ้าปฏิบัติแบบนี้จริง จะต้องแปลออกมาว่า รู้ หรือ รู้สึก

คำนี้ครับของผม ผมพูดถึงลักษณูปนิสัชฌาน ส่วนอย่างอื่นจะแปล
อย่างไรว่ากันใหม่ แต่วิธีที่ผมปฏิบัติ คือคำนี้ (ผมอธิบายไปโพสนู้นแล้ว)

เช่นนั้น เขียน:
ได้อ่านคำตอบของท่านแล้วก็ชื่นใจครับ ที่ท่านยอมรับว่าท่านไม่รู้เรื่องนิวรณ์ 5 เลย และท่านก็ไม่มีความเข้าใจเรื่องสมถะ และฌาน และอริยะสัจจ์ 4 เลยแม้แต่นิดเดียว

เมื่อขาดความรู้เรื่องนิวรณ์ 5 ซึ่ง จิตของท่านก็ยังคงมีนิวรณ์ 5 กลุ้มรุมจิต ท่านซึ่งท่านยังละไม่ได้
อภิชฌา โทมนัสในโลกท่านย่อมละไม่ได้เช่นกัน จิตของท่านก็ยังคงเป็นกามาวจรจิตอยู่นั่นเอง


คนรู้วิธีฆ่าปลวก ก็ต้องรู้จักปลวก คนรู้จักวิธีฆ่านิวรณ์ ก็ต้องรู้จักนิวรณ์ เป็นเรื่องธรรมดา
ผมบอกว่าผมรู้แต่วิธีละนิวรณ์(ประเด็นตรงนั้น คำว่า อุทธัจจะ) คุณคิดว่าผมจะรู้จักนิวรณ์หรือไม่
คนเขาไม่อวดอ้าง เขาก็ตอบไปแบบถนอมๆ คุณก็ยังเอามาพูดเป็นว่าคนอื่นเขารับอีก
(นิดหน่อยก็เอาเน๊าะ ขอให้ได้คุย)

เช่นนั้น เขียน:
ด้วยเหตุนี้ท่านจึงกล่าวไว้ในตอนต้นของการสนทนาระหว่างท่าน และเช่นนั้น เกี่ยวกับ จิตนิ่ง เพราะขาดความเข้าใจเรื่องสมถะ ฌาน และจิตอย่างถูกต้องตามพระธรรมเทศนาของพระพุทธองค์อยู่นั่นเอง

อ้างคำพูด:
กระทู้เลขที่ 24925 นั่งสมาธิไม่ได้
ตกลงนิ่งหรือไม่นิ่งครับที่เป็นสัมมาสมาธิ เพราะตามพระสูตรที่ยกมานั้น ฌานเลยครับ แล้วก็นิ่งด้วย
คำว่านิ่งในความหมายของการปฏิบัติ ถ้าสมถะ นิ่งจริงๆ นิ่งในอารมณ์บัญญัติ และฌานจะเกิดไม่ได้
ถ้าอิริยาบทยังไม่นิ่ง ไม่ว่าจะยืน เดิน นั่ง นอน ต้องนิ่งครับ ไม่งั้นฌานไม่เกิดแน่
ถ้าวิปัสสนา นิ่งในขณะหนึ่งๆครับ นิ่งในขณะที่จิตรับรู้สภาวะที่เกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไป นั้นๆ
ส่วนที่ไม่นั่งนิ่งๆ ระวังนะครับ อินทรีย์ ๕ อย่างแรก ตา หู จมูก ลิ้น กาย ไม่สำรวมระวังจะไม่ทันกิเลส
นะครับ
อีกอย่างครับที่แนะนำ สาวกของพระพุทธเจ้า ร้อยละ 99 เลยก็ว่าได้ที่บรรลุในอิริยาบทนิ่งครับ
แม้แต่พระพุทธองค์เอง ก็ยังทรงบรรลุโพธิญาณในอิริยาบทนั่งเลยครับ
ข้อนี้ขอให้ตรองหน่อครับ จักเป็นประโยชน์แก่พวกเราเอง


เช่นนั้นจะค่อยๆ คลายทิฐิของท่าน ไปทีละน้อยๆ
ท่านโยนิโสมนสิการ ตรงนี้ก่อนนะครับ

สิ่งที่ท่านเรียกว่านิ่ง คือกายนิ่ง นั่งนิ่ง ตานิ่ง หูนิ่ง ลิ้นนิ่ง
พระพุทธองค์ พระสาวกของพระพุทธองค์ นั่งนิ่ง กายนิ่ง


อย่าเลย ห่วงตัวเองเถิดครับ ผมมีวิปัสสนาจารย์ดูแลผมอยู่ครับ

ตรงนี้ไงที่บอกให้ห่วงตัวเอง เพราะ ฌาน ต้องกายนิ่ง ถ้าคุณทำฌานจิตเป็น คุณจะรู้ว่า สมาธิในฌานจะ
เสียไปเพราะอิริยาบถที่ไม่นิ่ง การทำฌานจิต กายต้องดำรงอยุ่ในอิริยาบถเดียว จะอิริยาบทไหนก็
อิริยาบถนั้น จิตที่นิ่ง หมายถึงจิตที่เกิดดับต่อกันเป็นสายไป แต่มีเหตุปัจจัยประกอบตามเหมือนกัน ข้อนี้ในสมถะวิธี คุณคงไม่เคยทำฌานจิตกระมัง
ส่วนในวิปัสสนาวิธี จะนิ่งในขณะสภาวะที่รู้อยู่
ส่วนสัมมาสมาธิ เบื้องต้นจะเป็นฌานจิต ในสติปัฏฐานสูตรก็อธิบายแบบนั้น แต่หลังจากนั้นจะอาศัย
สมาธิจากฌานดำเนินตามวิปัสสนาวิธี แนะนำให้ไปทวนสติปัฏฐานดีๆครับ
ถ้าคุณเข้าใจที่ผมอธิบายมา คุณจะไม่อ้างข้อความนี้มาเลย

เช่นนั้น เขียน:
จิตของท่านทั้งหลายนั้น นิ่งหรือเปล่า จิตของท่านทั้งหลายเหล่านั้นเป็นฌานเป็นญาณไหม กายท่านนิ่ง จิตไม่ได้นิ่งตามนะครับ เกิดฌานเกิดญาณ ตลอดเวลา


อ่านที่ผมขยายเรื่องนิ่งใหม่ครับ แค่คำว่านิ่งคุณยังเอามาอ้างเลย คำนี้นิยามคุณกับผมไม่ตรงกันเท่านั้น
เอง ก็เลยเป็นพิพาท ผมมองตรงนี้ออกไปแล้ว เลยละ ไม่ใส่ใจ ไม่คิดว่าคุณจะเอากลับมาพิพาทอีก
งงเลย ประเด็นไปเรื่องพองยุบแล้ว

เช่นนั้น เขียน:
แม้จิตละนิวรณ์ 5 ตั้ง 5 อย่าง จิตนิ่งๆ ทำได้หรือครับ ถ้า ไม่เกิดฌานเกิดญาณ ตลอดเวลา
ทำความเข้าใจตรงนี้ให้ตรงเสียก่อน ว่ากายนิ่งจิตไม่นิ่งตาม ฌานเกิดญาณเกิดตลอดเวลา ท่านจะรับความจริงข้อนี้ได้ก่อนหรือเปล่า

คุณคงคิดว่าผมเข้าใจว่าจิตนิ่งอยู่ดวงเดียวกระมัง
นิยามผม จิตเกิดดับๆ อาศัยเหตุปัจจัยเดียวกัน จิตคนละดวงแต่มีสภาวะเหมือนกัน
นี่ล่ะนิ่งของผม นิ่งแบบปฏิบัติไปเห็นมา

ตรงนี้สรุปว่า คนละนิยามเลยสวนทางกัน สังเกตคำผมซิ
ถ้าสมถะ นิ่งจริงๆ นิ่งในอารมณ์บัญญัติ
อารมณ์บัญญัติคืออาศัย บริกรรม เช่นจิตแรก
อาศัยบริกรรมพุทโธ แล้วดับไป จิตต่อไปก็อาศัยบริกรรมที่สืบมาทางสัญญาเจตสิกจากดวงแรก

นี่ละ อาศัยเหตุปัจจัยเดียวกัน ดับเกิดดับ อาศัยไปแบบนี้ นิ่งตามความหมายนี้

ส่วนในวิปัสสนาวิธี จะนิ่งในขณะสภาวะที่รู้อยู่
อธิบายดังนี้ รู้ตรงไหน นิ่งอยู่ตรงนั้นเป็นขณะไป ย้ายไปนิ่งอยู่ในสภาวะที่จิตรู้ คือรู้สภาวะไหน
ย้ายไปนิ่งในสภาวะนั้น เมื่อย้ายไป เหตุปัจจัย
ก็แต่กต่างกันไป โดยไม่ต้องประครองให้มีเหตุปัจจัยเดียวกันสืบไปตามสัญญาเจตสิก

ตอบผมหรือยัง เวลาคุณพิมพ์คำตอบ สติคุณอยู่ที่ไหน ติดผมอีกแล้ว

การสนทนา ขอให้ใช้เหตุผล ในเมื่อผมอ้างอิงคัมภีร์ที่มาได้ การจะคัดค้านเขาว่าไม่ใช่ ก็ควรจะอ้าง
อิงหลักฐานมาเช่นกันครับ
การบอกว่าไม่ตรง ไม่ใช่ เป็นวิปัสสนึก ต้องบอกด้วยว่า ไม่ตรง ไม่ใช่
เป็นวิปัสสนึกอย่างไร เช่น บอกว่าเขาจิตท่านยังมีนิวรณ์กลุ้มรุมจิต ทำนองนี้ คุณต้องอธิบายให้กระ
จ่างแจ้งว่า วิธีปฏิบัติของเขามีนิวรณ์ปนตรงไหนอย่างไร ไม่ใช่พูดลอยๆ

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ส.ค. 2009, 00:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


เพื่อนสมาชิกที่เคารพครับ

ขอบคุณที่แวะมาเตือนครับ ผมเข้าใจดี
ตามจริงแล้ว ผมไม่ได้มีโทสะหรืออารมณ์ที่ขุ่นมัวเลยในหัวข้อกระทู้นี้
เนื่องจากเหตุผล ๒ ประการคือ

๑.ผมไปตามเหตุผลที่ปรากฏในพระไตรปิฎก ส่วนหนึ่งผมนำมาจากการตีความของท่าน
โสภณมหาเถระ (มหาสี สยาดอร์) ส่วนหนึ่งได้รับถ่ายทอดมาจากวิปัสสนาจารย์

๒.ผมรู้สึกภูมิใจดีใจ ที่ได้มีโอกาสอธิบายถึงวิธีการปฏิบัติสติปัฏฐาน ๔ ตามแนวพอง-ยุบ
ซึ่งวิธีการนี้ ถูกบุคคลบางพวกตำหนิว่า ไม่ใช่วิธีการที่ถูกต้อง ผิดจากคำสอน โดยที่บุคคล
เหล่านั้นไม่เคยได้ทดลองปฏิบัติตามแนวทางนี้อย่างแท้จริงและจริงจัง คำที่บุคคลเหล่านั้น
สักแต่พูดออกมา ไม่เป็นการยุติธรรมสำหรับผู้ที่ปฏิบัติสติปัฏฐาน ๔ ด้วยวิธีพอง-ยุบเลย
กลับทำให้ผู้ปฏิบัติลังเลในการปฏิบัติของตนที่ทำอยู่ หรือจะโดยที่สุดอย่างไรก็ตาม
เมื่อมีกระทู้นี้เกิดขึ้นมา ก็เป็นโอกาสที่ดีที่ผมจะได้อธิบาย

แม้บางคำที่ผมสนทนาไป อาจจะดูเหมือนส่ายไปตามอำนาจโทสะบ้าง นั่นเป็นลีลาการพูด
โดยปกติผมในชีวิตประจำวันเลย

ขอบคุณครับที่ห่วงใย

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ส.ค. 2009, 13:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดียามบ่าย ครับคุณกามโภคี

เพราะท่านขาดความรู้องค์ธรรมทั้งหลายน๊ะครับ
เช่นนั้น บอกให้น๊ะครับ ไม่ว่าท่านจะปฏิบัติอะไรก็ตาม เช่นพองๆ ยุบ น๊ะครับ

จิตน๊ะครับ จิตก็ได้แก่ กามาวจร รูปาวจร อรูปวจร และโลกุตตรฌาน
(ภาคปฏิบัตินะครับท่าน)

ท่านเริ่มปฏิบัติธรรม ท่านบอกท่านภาวนา ท่านไม่เอาฌาน ก็แสดงว่า จิตท่านไม่ใช่รูปาวจร
ไม่ใช่อรูปวจร และไม่ใช่โลกุตตรฌาน

ท่านเริ่มปฏิบัติธรรมเจริญวิปัสสนาด้วย กามาวจรจิต ท่านจะยอมรับความจริงข้อนี้หรือเปล่าครับ

ส่วนสติเช่นนั้นเป็นอย่างไร ก็ติดไว้ก่อนอีกเช่นเดิม


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 118 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5 ... 8  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร