วันเวลาปัจจุบัน 05 พ.ค. 2025, 11:55  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 31 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ส.ค. 2009, 19:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ส.ค. 2009, 20:12
โพสต์: 13

โฮมเพจ: http://www.collectionoflove.spaces.live.com
แนวปฏิบัติ: มีเป้าหมายว่าอยากเป็นผู้มีสติอยู่เสมอ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ เขียน blog
สิ่งที่ชื่นชอบ: นิทานสีขาว (ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา, ต้นส้มแสนรัก (โจเซ่ วาสคอนเซลอส)
ชื่อเล่น: เรียกปลาทองก็ได้นะ
อายุ: 0
ที่อยู่: สวนหลวง กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


จะเป็นคนที่สวดมนต์ทุกคืน ซึ่งครั้งหนึ่งก็ใช้เวลาเป็นชั่วโมง (สวดหลายบท) สามารถสวดอย่างเป็นสมาธิตามปกติ

เคยหลายครั้งที่พยายามจะนั่งสมาธิ แต่เมื่อนั่งจะเกิดอาการปวดหลังทันที กำหนดปวดหนอ แต่แพ้ความปวด ไม่เคยสามารถนั่งต่อได้เลย จึงใช้วิธีเมื่อสวดมนต์เสร็จ ตอนนอนจะกำหนดพอง-ยุบ จนหลับไป

ตามปกติเวลานั่งทำงานอยู่ที่บ้าน ก็จะนั่งขัดสมาธิทำงานบนโต๊ะญี่ปุ่นตัวเล็กๆ อยู่แล้วทำได้ครั้งละ 1-3ชั่วโมงโดยไม่ปวดหลัง

สรุปว่าจะปวดเฉพาะตอนนั่งสมาธิ และปวดทันทีที่นั่งด้วย

วันก่อนไปถวายสังฆทาน ขอคำแนะนำจากหลวงพ่อว่าเป็นเพราะอะไร หลวงพ่อบอกว่า เพราะยังไม่ได้ไปรับการฝึกจริงหรือคะ ไม่เคยรู้มาก่อนว่า การนั่งสมาธิต้องไปรับการฝึกก่อน หรือมีวิธีอื่นที่จะทำให้เราสามารถนั่งสมาธิได้อย่างคนอื่นคะ

.....................................................
เราไม่สามารถรั้งสิ่งใดไว้ได้ ทำได้เพียง "รัก" ในขณะที่ยังมีมันอยู่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ส.ค. 2009, 19:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.พ. 2009, 20:42
โพสต์: 699


 ข้อมูลส่วนตัว


ลองนั่งพิงดูซิ...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ส.ค. 2009, 20:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


ควรเริ่มจากน้อยๆไปก่อนครับ
ควรจะประมาณ 30 นาทีก่อนก็ได้ เมื่อร่างกายปรับได้แล้ว
สมาธิ สติ พร้อมอีกหน่อยแล้ว ก็จะมีอาการลดลงจนหายไป
ไม่ควรนั่งเกินบัลลังค์ละ 1 ชั่วโมงครับ

อนุโมทนาครับที่รักการปฏิบัติธรรม

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ส.ค. 2009, 21:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2009, 08:46
โพสต์: 405

แนวปฏิบัติ: ดูจิต-อานา
ชื่อเล่น: ขวานผ่าซาก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


นั่งไม่ได้ ก็ เดิน

เดินไม่ได้ ก็ ยืน

ยืนไม่ได้ ก็นอน

นอนแล้วยังทำไม่ได้ก็ เลิกทำเหอะครับ

ในเมื่อไม่ได้ซะท่านึง cool

.....................................................
สุ จิ ปุ ลิ...(หัวใจนักปราชญ์)

ปัจจุบันธรรม

โยนิโส มนสิการ
สติ สัมปชัญญะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ส.ค. 2009, 22:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณปลาทอง เช่นนั้นอนุโมทนานะครับที่มีฉันทะในการใส่ใจสนใจในธรรม

การนั่งขัดสมาธิ และการมีจิตเป็นสมาธิ ไม่เหมือนกัน
การปฏิบัติธรรม เราให้ความสำคัญกับความรู้ที่ถูกต้องก่อนครับ หลังจากนั้นจึงค่อยปฏิบัติธรรมโดยให้จิตเป็นสัมมาสมาธิครับ

ดังนั้นการนั่งนิ่งๆ หรือนั่งขัดสมาธิแล้วทำจิตให้นิ่งๆ จึงไม่เรียกว่า การเจริญสัมมาสมาธิ
สิ่งที่เราต้องการคือจิตเป็นสัมมาสมาธิ หรือคือจิตที่เป็นกุศล สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย

ขณะคุณปลาทองสวดมนต์ ขณะนั้น คุณปลาทอง ก็มีสัมมาสมาธิ ในกามาวจรกุศลสมาธิ คุณปลาทองก็สวดได้เป็นปรกติ

แต่ในขณะที่คุณปลาทอง รู้สึกปวดหลัง นั่นเป็นผลจากอกุศลวิบากจิตที่คุณปลาทองเสวยอยู่ครับ
ดังนั้นการไปมัวแต่กำหนดที่ผล ว่าปวดหนอ ปวดหนอ หรือกำหนดพอง ๆ ยุบๆ ย่อมไม่ใช่เป็นการทำเหตุที่ถูกต้องในการเจริญสัมมาสมาธิครับ

ดังปรากฏในคำสอนของพระพุทธองค์น๊ะครับว่า

สัมมาสมาธิเป็นไฉน ?
ก็ภิกษุผู้อริยะบุคคลในศาสนานี้ ปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน มีสติปรากฏไม่เผลอเรอ มีกายสงบระงับ ไม่กระวนกระวาย มีใจตั้งมั่น มีอารมณ์อันเดียว ไม่ยินดียินร้าย ต่อรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และธัมมารมณ์ และใจเรานั้นก็สงัดจากกาม สงัดจาก อกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว

จิตเป็นสมาธิ บรรลุปฐมฌาน มีวิตก วิจาร ปีติ สุข และเอกคาตารมณ์

ละวิตก วิจาร เข้าสู่ทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะ
วิตกวิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติ สุข และเอกคตารมณ์

เธอมี อุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยทั้งหลาย สรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข และเอกคตารมณ์

เธอบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัส โทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ มีเอกคตารมณ์ เสวยอุเบกขาอยู่เป็นอารมณ์เดียว

อันนี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ ฯ

การทำเหตุเพื่อให้ จิตเป็นสัมมาสมาธิ จึงต้องเป็นการทำให้จิตสงัดจากกามสงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายครับ

ต่อเมื่อใดไม่ว่านั่ง ยืน เดิน นอน หรือทำการงานก็ตาม จิตนั้นสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน และจตุตถฌานตามลำดับ
อย่างนี้เรียกว่าจิตเป็นสัมมสมาธิ ครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ส.ค. 2009, 08:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 มิ.ย. 2009, 21:25
โพสต์: 191


 ข้อมูลส่วนตัว


-ขออนุโมทนาด้วยนะคร้า

น้องนุ่นเป็นกำลังใจให้นะคร้า

.....................................................
ศัตรูของคนเราที่แท้จริงแล้ว คือ โลภ โกรธ หลง
ต้องแก้ด้วยมี ศีล สมาธิ ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ส.ค. 2009, 09:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 ส.ค. 2007, 09:17
โพสต์: 239

ที่อยู่: สุโขทัยธานี

 ข้อมูลส่วนตัว




-1-1.png
-1-1.png [ 49.36 KiB | เปิดดู 6696 ครั้ง ]
moddam เขียน:
นั่งไม่ได้ ก็ เดิน
เดินไม่ได้ ก็ ยืน
ยืนไม่ได้ ก็นอน
นอนแล้วยังทำไม่ได้ก็ เลิกทำเหอะครับ
ในเมื่อไม่ได้ซะท่านึง cool


(เห็นด้วยกับ ข้อความด้านบน)

*********************
ตะแง๊ว ก็ฝึกมาจากสายพอง-ยุบ เช่นกัน ปีแรกๆก็ทำสมาธิได้ดีอยู่...จิตแว๊บไปก็ดึงกลับมา(สนุกกับการดึง) แต่ระยะหลังๆ ไม่ได้เน้นทำสมาธิเท่าไหร่ ทำก่อนนอนเล็กน้อยไม่ได้ตั้งท่าทางอะไร นอนดูลม ดูความคิด ดูกาย-ใจเคลื่อนไหวไปจนหลับแบบสบายๆ ไม่เพ่ง ไม่เผลอ(เผลอเองก็ไม่ว่ากัน)

เน้นการเจริญสติ รู้ตัว ในระหว่างวันเพิ่มขึ้น..ถือว่าเป็นการเขี่ยขยะออกจากเส้นทางเราเนืองๆ..เดินไปใหนมาไหน หรือหากต้องเดินไปทานข้าวระหว่างวันหรือเดินกลับที่พัก ก็เลี่ยงการขึ้นวิน หันมาเดินดูกายเราเคลื่อนไหวเอา

นั่งไม่ได้ก็เดินนะคะ เดินดูการเคลื่อนไหวดีกว่า
:b8:
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ส.ค. 2009, 11:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
ดังนั้นการนั่งนิ่งๆ หรือนั่งขัดสมาธิแล้วทำจิตให้นิ่งๆ จึงไม่เรียกว่า การเจริญสัมมาสมาธิ

สัมมาสมาธิเป็นไฉน ?
ก็ภิกษุผู้อริยะบุคคลในศาสนานี้ ปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน มีสติปรากฏไม่เผลอเรอ มีกายสงบระงับ ไม่กระวนกระวาย มีใจตั้งมั่น มีอารมณ์อันเดียว ไม่ยินดียินร้าย ต่อรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และธัมมารมณ์ และใจเรานั้นก็สงัดจากกาม สงัดจาก อกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว

จิตเป็นสมาธิ บรรลุปฐมฌาน มีวิตก วิจาร ปีติ สุข และเอกคาตารมณ์

ละวิตก วิจาร เข้าสู่ทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะ วิตกวิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติ สุข และเอกคตารมณ์
เธอมี อุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยทั้งหลาย สรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข และเอกคตารมณ์
เธอบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัส โทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ มีเอกคตารมณ์ เสวยอุเบกขาอยู่เป็นอารมณ์เดียว
อันนี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ ฯ



ตกลงนิ่งหรือไม่นิ่งครับที่เป็นสัมมาสมาธิ เพราะตามพระสูตรที่ยกมานั้น ฌานเลยครับ แล้วก็นิ่งด้วย

คำว่านิ่งในความหมายของการปฏิบัติ ถ้าสมถะ นิ่งจริงๆ นิ่งในอารมณ์บัญญัติ และฌานจะเกิดไม่ได้
ถ้าอิริยาบทยังไม่นิ่ง ไม่ว่าจะยืน เดิน นั่ง นอน ต้องนิ่งครับ ไม่งั้นฌานไม่เกิดแน่

ถ้าวิปัสสนา นิ่งในขณะหนึ่งๆครับ นิ่งในขณะที่จิตรับรู้สภาวะที่เกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไป นั้นๆ

ส่วนที่ไม่นั่งนิ่งๆ ระวังนะครับ อินทรีย์ ๕ อย่างแรก ตา หู จมูก ลิ้น กาย ไม่สำรวมระวังจะไม่ทันกิเลส
นะครับ
อีกอย่างครับที่แนะนำ สาวกของพระพุทธเจ้า ร้อยละ 99 เลยก็ว่าได้ที่บรรลุในอิริยาบทนิ่งครับ
แม้แต่พระพุทธองค์เอง ก็ยังทรงบรรลุโพธิญาณในอิริยาบทนั่งเลยครับ

ข้อนี้ขอให้ตรองหน่อครับ จักเป็นประโยชน์แก่พวกเราเอง

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


แก้ไขล่าสุดโดย กามโภคี เมื่อ 15 ส.ค. 2009, 11:08, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ส.ค. 2009, 11:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


moddam เขียน:
นั่งไม่ได้ ก็ เดิน

เดินไม่ได้ ก็ ยืน
ยืนไม่ได้ ก็นอน
นอนแล้วยังทำไม่ได้ก็ เลิกทำเหอะครับ
ในเมื่อไม่ได้ซะท่านึง
cool



เข้าไปตั้งจิตเมตตาในเพื่อนผู้ประพฤติธรรมก่อนครับ

หาวิธีให้เขา แนะนำให้เขา ก่อนที่จะบอกให้เลิกทำครับ

อย่างน้อยเจ้าของกระทู้สนใจปฏิบัติ ศรัทธาอินทรีย์ก็มีอยู่แล้วครับ
ถ้าพบคนแนะนำได้ หาทาง มีวิธีอย่างชาญฉลาด ก็คงถึงจุดหมายได้ครับ

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ส.ค. 2009, 11:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กามโภคี เขียน:
ตกลงนิ่งหรือไม่นิ่งครับที่เป็นสัมมาสมาธิ เพราะตามพระสูตรที่ยกมานั้น ฌานเลยครับ แล้วก็นิ่งด้วย


ตามพระสูตร ที่ยกมา จิตเป็นสัมมาสมาธิ เพราะจิตที่เป็นฌานในพุทธพจน์ คือ จิตเป็นสัมมาสมาธิ เป็นกุศลจิตที่สงัดจากกาม และสงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย

การปฏิบัติธรรม คือการเปลี่ยนคุณภาพจิตให้ดีขึ้นประณีตขึ้น จนในที่สุดบรรลุการเข้าถึงนิพพาน ซึ่งไม่ใช่เป็นการทำให้เกิดนิพพาน

โดยเปลี่ยนจากจิตที่เป็นกามาวจรอกุศลจิต เป็นกามาวจรกุศลจิต สำหรับชาวบ้านทั่วๆ ไป

โดยเปลี่ยนจากจิตที่เป็นกามาวจรกุศลจิต เป็นรูปาวจรกุศลจิต หรือ
โดยเปลี่ยนจากจิตที่เป็นรูปาวจรกุศลจิต เป็นอรูปาวจรกุศลจิต

โดยการเปลี่ยนกามาวจรกุศลจิต หรือรูปาวจรกุศลจิต หรืออรูปาวจรกุศลจิต เป็นโลกุตตรกุศลจิต

ซึ่งการเปลี่ยน หมายถึงการเปลี่ยนคุณภาพของจิตด้วยการอบรมจิต

ดังนั้นจิตที่นิ่ง นั้นไม่มีจริง ในพุทธพจน์กล่าวว่า จิตเป็นเอกกัคคตารมณ์ หรือเอกัคคตาจิต และจิตที่ตั้งมั่นเป็นสมาธิ ไม่มีจิตนิ่ง

พึงทำความเข้าใจว่า จิตนิ่งไม่มีหรอก นอกจากจะนิ่งตามความหมายดังต่อไปนี้
จิตเป็นกุศล นิ่งจากบาปจากอกุศล


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ส.ค. 2009, 11:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จิตที่ตั้งมั่น จิตที่สงบ

อันความนิ่ง จิตนิ่งจริง สิ่งอยากรู้
เด็กน้อยหนู สิ่งนี้ หามีไม่
อกุศล หรือกุศล ดลจิตใจ
เกิดดับไป ดับแล้วเกิด กำเนิดกรรม

ขันธ์ทั้งห้า จากปรุงแต่ง แห่งวิบาก
ล้วนมาจาก บาปบุญ หนุนอุปถัมภ์
บุญปรุงแต่ง บาปปรุงแต่ง ด้วยแรงกรรม
ที่ชักนำ ความเกิดดับ สับเปลี่ยนกัน

ถ้าบุญเที่ยง จิตย่อมเที่ยง มีเพียงบุญ
บุญย่อมหนุน ให้ชีวี นี้สุขสันต์
แต่ว่าบุญ มีวันหมด ลดทุกวัน
ดวงจิตนั้น จึงมินิ่ง จริงจริงแล

ถ้าบาปเที่ยง จิตย่อมเที่ยง เพียงแรงบาป
ทุกข์กำซาบ เพราะบาปปรุง ยุ่งแน่แท้
แต่บาปก็ มีวันหมด ลดผันแปร
เกิดดับแน่ ไม่นิ่งแท้ แต่อย่างใด

ที่กล่าวมา ของไม่นิ่ง อิงไตรลักษณ์
เป็นตามหลัก อนิจจัง ทุกขังไซร้
แล้วท่านจะ หาความนิ่ง จริงที่ใด
เพราะมันไม่ นิ่งได้ ดังหมายปอง

แต่จิตนี้ ถ้าฝึกดี เริ่มที่เหตุ
เลือกประเภท โลกุตตระ ละความหมอง
ละสังโยชน์ โกรธรัก นักยึดครอง
ดับเหตุข้อง เวียนเกิดตาย หลายวัฏฏา

จิตอย่างนี้ นิ่งจากบาป ที่หยาบชั่ว
ไม่เกลือกกลั้ว มัวเมา เขลาตัณหา
ทำเหตุจิต ให้ผ่องใส ในมรรคา
ปฏิปทา แน่วแน่ แต่นิพพาน

จิตของใคร อบรมไว้ ได้คงมั่น
มิไหวหวั่น โลกีย์ มีกัมมัฏฐาน
ตบะมั่น อุเบกขา มาโดยฌาน
ปัญญาญาณ นำวิมุติ ผุดผ่องใจ


แก้ไขล่าสุดโดย เช่นนั้น เมื่อ 15 ส.ค. 2009, 12:09, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ส.ค. 2009, 12:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สัมมาสมาธิเป็นไฉน ?
ก็ภิกษุผู้อริยะบุคคลในศาสนานี้ ปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน มีสติปรากฏไม่เผลอเรอ มีกายสงบระงับ ไม่กระวนกระวาย มีใจตั้งมั่น มีอารมณ์อันเดียว ไม่ยินดียินร้าย ต่อรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และธัมมารมณ์ และใจเรานั้นก็สงัดจากกาม สงัดจาก อกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว

จิตเป็นสมาธิ บรรลุปฐมฌาน มีวิตก วิจาร ปีติ สุข และเอกคาตารมณ์

ละวิตก วิจาร เข้าสู่ทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะ วิตกวิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติ สุข และเอกคตารมณ์
เธอมี อุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยทั้งหลาย สรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข และเอกคตารมณ์
เธอบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัส โทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ มีเอกคตารมณ์ เสวยอุเบกขาอยู่เป็นอารมณ์เดียว

อันนี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ส.ค. 2009, 12:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กามโภคี เขียน:
แม้แต่พระพุทธองค์เอง ก็ยังทรงบรรลุโพธิญาณในอิริยาบทนั่งเลยครับ


นึกขึ้นมาได้ ว่ามีการอ้างถึง พระพุทธองค์

พึงทำความเข้าใจว่า พระพุทธองค์ ได้ฌานจิตเป็นสัมมาสมาธิเช่นกัน มีพระสัมมาสัมโพธิญาณและสัพพัญญุตาญาณตั้งอยู่ครับ

พิจารณาที่คุณภาพจิตครับ ไม่ได้พิจารณาที่อิริยาบถครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ส.ค. 2009, 16:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


แหม๋คุณ เช่นนั้น

อ้างคำพูด:
การนั่งนิ่งๆ หรือนั่งขัดสมาธิแล้วทำจิตให้นิ่งๆ จึงไม่เรียกว่า การเจริญสัมมาสมาธิ


ช่วยอธิบายหน่อยครับ อย่าทิ้งขว้าง

เพราะการนั่งขัดสมาธิแล้วทำจิตนิ่งๆ ผมว่าเป็นการเจริญสัมมาสมาธิได้
คำว่านิ่ง คือนิ่งอยู่ในขณะๆสภาวะเท่านั้น เมื่อสภาวะใดเกิดขึ้น ก็รับรู้ คือเข้าไปนิ่งที่ขณะสภาวะนั้นๆ
เหมือนคำว่า เมื่อเดินอยู่ก็รู้ว่าเดินอยู่ เมื่อนั่งอยู่ก็รู้ว่านั่งอยู่ คือขณะนั้นสภาวะปรากฏอย่างไรก็ไป
รู้สภาวะนั้น พร้อมสติสัมปชัญญะไง นี้เรียกว่าเอกัคคตาจิตหรือเอกัคคตารมณ์

แต่ที่คุณอ้างมา ยังสรุปไม่ได้ว่าการนั่งสมาธิแล้วทำจิตให้นิ่งไม่ใช่เป็นการเจริญสัมมาสมาธิ
เพราะฌานก็นิ่ง และฌานก็ตรงในมรรค ๘ ข้อสัมมาสมาธิ ในมรรค ๘ ก็บอกว่าฌานเลย
แสดงว่าจิตต้องไม่ซัดส่ายไปในอารมณ์อื่นนอกจากรรมฐาน
และ บุคคลนั่งขัดสมาธิ แล้วทำจิตนิ่งๆในสภาวะบางอย่าง เช่น ดูอาการของท้องที่พองยุบ
เมื่อมีเสียง จิตเขาก็ไปรับรู้เสียงนั้น แบบนี้ก็นิ่ง นิ่งในขณะสภาวะหนึ่งๆ

ยังไม่ต้องพูดหลังจากนิ่ง มีคำถามช่วยอธิบายให้หน่อย ที่ว่านั่งสมาธิแล้วทำจิตให้นิ่งในความ
หมายของคุณที่ว่าไม่ใช่สัมมาสมาธินั้น อย่างไร เพราะผมยังไม่เคยเจอที่ไหนเลยว่า
จิตไม่นิ่งแล้วเป็นสมาธิ ว่างก็เข้ามาตอบครับ

อนึ่ง คำว่า เอกัคคตาจิต คือ จิตที่มีอารมณ์อันเลิศเดียว

เอกัคคตาจิต เป็นคำที่สรุปเอกัคคตารมณ์มาแล้ว ถ้าพูดว่าเอกัคคตารมณ์ จะต้องขึ้นคำว่าจิตมา
ถ้าพูดเอกัคคตาจิต ไม่ต้องขึ้นคำว่าจิตมา ตามหลักภาษานะครับ

และที่เขาพูดคำว่านิ่งกัน ก็หมายความง่ายๆว่า มีสมาธิ ไม่ต้องคิดเกินนี้ครับ เพราะจริงๆก็อย่าง
ที่คุณเข้าใจ จิตไม่มีนิ่ง แต่เขาพูดว่านิ่ง เป็นแสลงของคำว่าสมาธินั่นเอง อย่าคิดมาก

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ส.ค. 2009, 16:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
พราะการนั่งขัดสมาธิแล้วทำจิตนิ่งๆ ผมว่าเป็นการเจริญสัมมาสมาธิได้
คำว่านิ่ง คือนิ่งอยู่ในขณะๆสภาวะเท่านั้น เมื่อสภาวะใดเกิดขึ้น ก็รับรู้ คือเข้าไปนิ่งที่ขณะสภาวะนั้นๆ


จิตเป็นสัมมาสมาธิ เป็นกุศลจิต สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย เป็นจิตที่มีคุณภาพ เกิดดับ เกิดดับ ตามสามัญญลักษณะ ไม่มีนิ่ง

สัมมาสมาธิ เป็นความตั้งมั่น จิตที่ตั้งมั่นครับ

[๕๘๘] สัมมาสมาธิ เป็นไฉน
ความตั้งอยู่แห่งจิต ฯลฯ ความตั้งใจชอบ สมาธิสัมโพชฌงค์ อันเป็น
องค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อันใด นี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ

อ้างคำพูด:
เมื่อสภาวะใดเกิดขึ้น ก็รับรู้ คือเข้าไปนิ่งที่ขณะสภาวะนั้นๆ
เหมือนคำว่า เมื่อเดินอยู่ก็รู้ว่าเดินอยู่ เมื่อนั่งอยู่ก็รู้ว่านั่งอยู่ คือขณะนั้นสภาวะปรากฏอย่างไรก็ไป
รู้สภาวะนั้น พร้อมสติสัมปชัญญะไง นี้เรียกว่าเอกัคคตาจิตหรือเอกัคคตารมณ์


เมื่อปุถุชนมีจิตอันชุ่มอยู่ในกิเลสตัณหา เมื่อเดินก็รู้ว่าเดิน เมื่อนั่งก็รู้ว่านั่ง จิตย่อมมีรูปขันธ์ เป็นอารมณ์
พัวพันในรูป อันเป็นกามสัญญา จิตของปุถุชนผู้นั้น ย่อมเป็นมิจฉาสมาธิอันเป็นไปด้วยอำนาจแห่งโมหะเป็นมูลเหตุ เอกัคคตารมณ์ย่อมมีแม้แต่อกุศลจิตครับ เอกัคคตาเจตสิกมีในจิตทุกดวงอยู่แล้วครับ จิตที่เป็นมิจฉาสมาธิ พัวพันในกามสัญญา ขณะนั้น ไร้สติ ไร้สัมปชัญญะ

สัมมาสมาธิคือการละกามสัญญา ละสัญญาในรูปขันธ์ เจริญอนัตตาสัญญาอบรมจิตทำลายกิเลสสังโยชน์เป็นเบื้องหน้า

ท่านกามโภคีเข้าใจองค์ธรรมผิดแล้วครับ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 31 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 0 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร