วันเวลาปัจจุบัน 06 พ.ค. 2025, 02:59  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 13 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ส.ค. 2009, 22:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2009, 08:46
โพสต์: 405

แนวปฏิบัติ: ดูจิต-อานา
ชื่อเล่น: ขวานผ่าซาก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คือดูลมหายใจอยู่แล้วตึงอะคับ

มันคืออะไรคับ มันตึงที่จมูกมากเลยครับ และก็เลยไปถึง ศีรษะครับ

ใครช่วยบอกทีนะครับ

จะแก้อย่างไงดีครับ tongue

.....................................................
สุ จิ ปุ ลิ...(หัวใจนักปราชญ์)

ปัจจุบันธรรม

โยนิโส มนสิการ
สติ สัมปชัญญะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ส.ค. 2009, 07:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


นำ โอวาทธรรม ของครูบาอาจารย์ผู้ล่วงลับมาฝากครับ

น่าจะใกล้เคียงกับที่ ท่าน จขกท ถาม



วิสัชนาธรรม การทำสมาธิ โดย หลวงพ่อชา สุภัทโท

http://www.agalico.com/board/showthread.php?t=1218


ปุจฉา ตามใบหน้า ตามจมูก บางทีมันปวด

วิสัชณา อ๋อ...อันนี้เรื่องปวด มันก็แก้ยากนะ กำหนดมันจนเกินไปมั้ง



ปุจฉา ครับ ถูกต้อง

วิสัชณา อย่าไปกำหนดมันมากสิ นั่งเฉย ๆ ซะ นั่งเฉย ๆ ให้มันมีความรู้สึกอยู่นั่นแหละ อย่าไปบีบมันเกินไป แม้กระทั่งลมหายใจเรานี่ก็ลำบากนะ ถ้าเราเดินไปเดินมา ไม่ไปควบคุมมันก็ไม่เท่าไร มันก็สบาย ถ้าเราไปนั่ง จะกำหนดลมหายใจให้มันถูกต้อง อะไรต่ออะไรวุ่นวาย บางทีก็เลยหายใจไม่ถูกต้อง ก็เพราะว่ามันบีบเกินไป เมื่อเราถอนมาอยู่เฉย ๆ ซะก็ไม่เป็นไร

ลมหายใจนี่ก็ลำบากนะ บางทีก็หายใจไม่ถูก...มันยาวเกินไป มันสั้นเกินไป เลยวุ่นวาย อันนี้ก็เพราะเรากำหนดมันเกินไป ไปบีบมันเกินไป มันถึงเป็นอย่างนั้น ก็เหมือนเด็ก ๆ น่ะแหละ สอนให้มันนั่ง สอนทีไรเฆี่ยนทุกทีน่ะ เด็กมันจะมีความฉลาดขึ้นมามั้ย ไปบังคับมันจนเกินไป

อันนี้ก็เหมือนกัน ถ้าเรามาคิดดูว่า เมื่อเราเดินจากบ้านไปสวน หรือเดินจากบ้านไปทำงาน ทำไมมันไม่รำคาญเพราะลม ก็เพราะเราไม่ไปยึดอะไรมัน เพราะเราปล่อยตามเรื่องมัน อวัยวะส่วนใด ๆ ที่มันปวดน่ะ เพราะเราไปเพ่ง ไปกำหนดมันเกินไป แก้วใบนี้น่ะเรายึดมาดูเสียก่อน รู้แล้วก็วางมัน นี่เรียกว่าอย่าไปยึดมั่น คือยึดอย่าให้มันมั่น ยึดมาดูรู้เรื่องแล้วก็วางมันสบาย อันนี้ก็เหมือนกันฉันนั้น ที่มันเจ็บปวดจากสภาวะแถวนี้ เพราะไปกำหนดมันมาก ถอยออกมาบ้าง อย่าขยับเข้าไปให้มันมาก เพ่งจนเจ็บ เพ่งจนปวด มันก็ไม่ได้ตรงนั้น เคยเป็นทุกทีมั้ยน่ะ

นั่นแหละ ถอยกลับเสียบ้าง ทำสบาย ๆ ทำความรู้สึกไว้เท่านั้น อย่าไปกำหนดเกินไป แต่ทำความรู้สึกไว้ ทำด้วยการปล่อยวาง ทำอะไรด้วยการปล่อยวาง ไม่ได้ทำด้วยการฝึกให้มันแน่น...แล้วก็สบาย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ส.ค. 2009, 08:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


ผมเองก็เคยเป็นครับ
กำหนดลมหายใจแล้ว ตึงศีรษะและหน้าตา

อาศัยทำตามที่ พระสุปฏิปันโน ท่านแนะนำมา

ตอนหลังเลยรู้สึกตัวได้เวลาเผลอตั้งใจมากเกินไป... ก็ผ่อนเสีย ในลักษณะ ดูลมหายใจ สบายๆ





ใน พระสูตรที่ตรัสแสดงถึง อิทธิบาทภาวนา นั้น ลองอ่านดูน่ะครับ

http://www.larndham.net/cgi-bin/stshow. ... &lend=7013


ท่านแสดงไว้ว่า

1.ไม่ย่อหย่อนเกินไป

2.ไม่ต้องประคองเกินไป

3.ไม่หดหู่ในภายใน

4.ไม่ฟุ้งซ่านไปในภายนอก

5.เบื้องหน้าฉันใด เบื้องหลังก็ฉันนั้น เบื้องหลังฉันใด เบื้องหน้าก็ฉันนั้น

6.เบื้องล่างฉันใด เบื้องบนก็ฉันนั้น เบื้องบนฉันใด เบื้องล่างก็ฉันนั้น

7.กลางวันฉันใด กลางคืนก็ฉันนั้น กลางคืนฉันใด กลางวันก็ฉันนั้น





ในการเจริญภาวนา ตามหลักอิทธิบาทนั้น

คำว่า "ไม่ต้องประคองเกินไป" ซึ่งในพระสูตรกล่าวถึงว่า เป็นเหตุให้เกิดอุทธัจจะ ดังนี้


[๑๑๘๑] ก็ฉันทะที่ต้องประคองเกินไปเป็นไฉน?

ฉันทะที่ประกอบด้วยอุทธัจจะ สัมปยุตด้วยอุทธัจจะ นี้เรียกว่า ฉันทะที่ต้องประคองเกินไป.




เมื่อก่อน ผมเองก็งง ว่า อุทธัจจะ นั้นผมเข้าใจว่าจำกัดเฉพาะความฟุ้งซ่าน คือ คิดมาก เท่านั้น

ไม่เคยคิดว่า จะมีความหมายถึง ความเครียดเกร็ง ได้ด้วย


และ ขอเสนอเพิ่ม
จาก อรรถกถา โสณสูตร

".....บทว่า อจฺจารทฺธํ ได้แก่ ความเพียรที่ตึงเกินไป.
บทว่า อุทฺธจฺจาย สํวตฺตติ ความว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้ฟุ้งซ่าน.

บทว่า อติลีนํ ได้แก่ หย่อนเกินไป.
บทว่า โกสชฺชาย ได้แก่ เพื่อความเป็นผู้เกียจคร้าน.

บทว่า วิริยสมตํ อธิฏฺฐาหิ ความว่า ***เธอจงดำรงสมถะที่สัมปยุตด้วยวิริยะไว้ให้มั่น***. หมายความว่า จงประกอบวิริยะเข้ากับสมถะ.
บทว่า อินฺทฺริยานญฺจ สมตํ ปฏิวิชฺฌ ความว่า เธอจงดำรงสม่ำเสมอ คือภาวะที่เสมอกันแห่งอินทรีย์ทั้งหลายมีศรัทธาเป็นต้นไว้ให้มั่น.

ในข้อนั้น

ภิกษุผู้ประกอบศรัทธาเข้ากับปัญญา ประกอบปัญญาเข้ากับศรัทธา

ประกอบวิริยะเข้ากับสมาธิ และประกอบสมาธิเข้ากับวิริยะ

ชื่อว่าเป็นผู้ดำรงภาวะที่เสมอกันแห่งอินทรีย์ทั้งหลายวันไว้มั่น.

ส่วน สติมีประโยชน์ต่อธรรมทั้งปวง สตินั้นเฉพาะที่มีกำลังย่อมควรแม้ในกาลทุกเมื่อ..."







ท่านเจ้าคุณพระพรหมคุณาภรณ์ ท่าน กล่าวถึง วิริยะที่มากเกินไป(ซึ่งในพระสูตรแสดงว่าทำให้เกิดอุทธัจจะ) ไว้ดังนี้

ถ้าวิริยะแรงไป ก็จะ เครียด และ ฟุ้งซ่าน โน้มไปทางล้ำเลยเขต




วิริยะที่มากเกินไป เวลาภานานั้น ทำให้เกิดอุทธัจจะ คือ ความรู้สึก เครียด ตึง และ อาจจะทำให้ปวดหัว.... ดังนั้น ควรผ่อนความตั้งใจลงบ้าง

ส่วน วิริยะที่น้อยเกินไป ในเวลาภาวนานั้น ทำให้เกิดถีนมิทธะ คือ จะเผลอหลับ หรือ จิตตกภวังค์... ดังนั้น ควรเพิ่มความตั้งใจขึ้น



องค์ธรรม ที่จะทำให้เรารับทราบว่า ขณะนี้เราตั้งใจมากไป หรือ ตั้งใจน้อยไป คือ สติ

สติจึงจำเป็นในกาลทุกเมื่อ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ส.ค. 2009, 09:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2009, 08:46
โพสต์: 405

แนวปฏิบัติ: ดูจิต-อานา
ชื่อเล่น: ขวานผ่าซาก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


tongue ขอบคุณคับ

แต่ก็เป็นแบบนี้มาเป็นปีแล้ว ครับ

ไม่เคยถามใครดูซักที :b9:

.....................................................
สุ จิ ปุ ลิ...(หัวใจนักปราชญ์)

ปัจจุบันธรรม

โยนิโส มนสิการ
สติ สัมปชัญญะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ส.ค. 2009, 15:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


หลัก ในการเจริญอิทธิบาทภาวนา


อ้างคำพูด:
1.ไม่ย่อหย่อนเกินไป

2.ไม่ต้องประคองเกินไป

3.ไม่หดหู่ในภายใน

4.ไม่ฟุ้งซ่านไปในภายนอก

5.เบื้องหน้าฉันใด เบื้องหลังก็ฉันนั้น เบื้องหลังฉันใด เบื้องหน้าก็ฉันนั้น

6.เบื้องล่างฉันใด เบื้องบนก็ฉันนั้น เบื้องบนฉันใด เบื้องล่างก็ฉันนั้น

7.กลางวันฉันใด กลางคืนก็ฉันนั้น กลางคืนฉันใด กลางวันก็ฉันนั้น




ความเห็นส่วนตัวน่ะครับเสนอ
ในภาษาที่ใช้ในปัจจุบัน


1.หย่อนเกินไปเพราะเกียจคร้าน(โกสัชชะ)...ก็ ขันให้ตึงขึ้น

2.ตึงเกินไปเพราะเครียดเกร็ง(อุทธัจจะ)....ก็ คลายให้หย่อนลง

3.ถ้าจิตหดหู่จมอยู่ภายใน(ถีนมิทธะ)...ก็ นำออกมาไว้ข้างนอก

4.ถ้าจิตฟุ้งซ่านไปภายนอก(ในกามคุณ๕).... ก็ นำมาตั้งไว้ด้วยดีในภายใน

5.มีสติพิจารณาสืบเนื่อง....ทั้ง อดีต และ อนาคต

6.มีสติพิจารณาอยู่ในกาย... เบื้องบนแต่พื้นเท้าขึ้นมา เบื้องล่างแต่ปลายผมลงไป

7.เจริญอิทธิบาทอยู่ ..... ทั้งกลางวันและกลางคืน



ใครทำได้เช่นนี้เนืองๆ จะเป็นผู้ที่มีสมาธิจิตเยี่ยมยอด
เพราะ อิทธิบาทภาวนา นี้ ท่านผู้รู้บอกว่า เป็นหลักแห่งสมาธิ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ส.ค. 2009, 15:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3832

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ตอนแรกผมเป็นพวก"ปวดตา" นั่งหลับตาแต่ดันปวดตา
ก็ทราบภายหลังว่า "ไม่ได้ให้ใช้ตา ให้ใช้ใจ"



กับอีกอันคือลมหายใจนี่น่ะครับ
ผมสับสนสองอย่าง คือ ตกลงว่าเราต้องบังคับลมหายใจ หรือปล่อยตามปกติ
ก็ทราบต่อมาภายหลังว่า "รู้อยู่เฉยๆ" ก็แปลว่าไม่ต้อง "ทำ" อะไรทั้งนั้น
"สั้นก้รู้ ยาวก็รู้ รู้อยู่เฉยๆ"
คือไม่ต้องไปช่วยตัวเองหายใจ ให้ปล่อยไปตามปกติ
ผมก็เลยปล่อยเลย กะว่าจะไม่หายใจละ ตายเป้นตาย
แล้วก็ปล่อยลมหายใจ ปรากฏว่ามันก็หายใจเองได้
แล้วปกติ ร่างกายเรามันก็หายใจของมันเองโดยที่เราไม่ต้องไปมีส่วนข้องแวะอยู่แล้ว
เช่นตอนหลับ มันก็หายใจของมันเอง หรือระหว่างวันมันก็หายใจของมันเอง
แต่พอมานั่งสมาธิแล้วเราไปวุ่นวายกับมัน ทำให้หายใจแล้วเหนื่อย
หายใจทั้งวันไม่เคยเหนื่อย นั่งสมาธิ 5 นาที เหนื่อยมาก เพราะเราไปวุ่นวายกับลมหายใจ

แต่บางคนปล่อยไม่ได้เลยจริง ไม่สามารถจะปล่อยให้หายใจตามปกติได้
ท่านให้หันไปท่อง"พุทธโธ" แล้วไม่ต้องไปยุ่งกับลมหายใจ ให้เอาใจจดจ่ออยู่กับพุทธโธ


สรุปแล้ว ส่วนตัวผม ปล่อยทุกอย่างเลย
:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ส.ค. 2009, 15:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 เม.ย. 2009, 19:55
โพสต์: 548

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


moddam เขียน:
tongue ขอบคุณคับ

แต่ก็เป็นแบบนี้มาเป็นปีแล้ว ครับ

ไม่เคยถามใครดูซักที :b9:


เดี๋ยวนะครับ เห็นว่าเป็นปี ผมก็เลยสงสัย
หมายถึง
ตึงตอนที่ทำสมาธิ แต่พอออกแล้วหาย
หรือ...ตึงตอนที่ทำสมาธิ แต่พอออกก็ยังตึงอยู่
หรืออีกแบบ...ตอนทำไม่ตึง แต่ตอนออกดันตึง...

เพราะ สองเคสแรก
ก็ตามที่คุณตรงประเด็น และคุณชาติสยาม ชี้แนะไปแล้ว

แต่พอดีเพื่อนผมเขาเจอ เคส 3 น่ะครับ และตึงตลอดเวลา...
ผมก็เลยไม่รู้จะว่ายังไง
เพราะจากการสอบถาม คือตอนทำสมาธิ มันเป็นปกติ
ดูมันจะสงบ และนิ่งดี ไม่มีอาการเกร็ง หรือตึงใด ๆ เลย
แต่พอออกสมาธิแล้ว ตึงว่ะ...

:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ส.ค. 2009, 19:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2009, 08:46
โพสต์: 405

แนวปฏิบัติ: ดูจิต-อานา
ชื่อเล่น: ขวานผ่าซาก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ผมบอกตรงๆเลยก็ได้ครับ ตึงแบบนี้มา 9 ปีแล้วครับ

จะมีอาการตึงที่จมูก ไล่ไปจนถึงหน้าผาก และเลยไปที่บริเวณศีรษะตอนต้น

ตั้งแต่ปฏิบัติมาก็ตึงตลอด และตลอดเวลา ยิ่งถ้ากำหนดทั้งวันก็ตึงทั้งวัน แต่ตอนนี้ก็ชินแล้วครับ เพราะเป็นมาหลายปีแล้ว

แต่้ไม่รู้ว่าเป็นเพราะอะไรครับ :b16: tongue

.....................................................
สุ จิ ปุ ลิ...(หัวใจนักปราชญ์)

ปัจจุบันธรรม

โยนิโส มนสิการ
สติ สัมปชัญญะ


แก้ไขล่าสุดโดย moddam เมื่อ 02 ส.ค. 2009, 20:50, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ส.ค. 2009, 19:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
แต่ตอนนี้ก็ชอนแล้วครับ

แต่ไม่รู้ว่าเป็นเพราะอะไรครับ



เป็นเพราะ ชอบ คือจิตมันยึดหรืออุปาทานไว้แล้ว :b16:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ส.ค. 2009, 20:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.พ. 2009, 20:42
โพสต์: 699


 ข้อมูลส่วนตัว


ลองหาวิธีแก้ดูไม๊ เช่นว่า... มองไปข้างหน้า มองไปในความมืด แต่ให้รับรู้ลมหายใจตลอด น่าจะช่วยให้ เพ่ง ได้น้อยลง ลองดูซิ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ส.ค. 2009, 20:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3832

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ผมว่าตึงๆตลอดเวลาแบบนี้ น่าจะเป็นความเจ็บไข้ของกายแล้วล่ะ
รอคุณหมอมาดูเนาะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ส.ค. 2009, 07:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 เม.ย. 2009, 19:55
โพสต์: 548

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


yahoo เขียน:

แต่พอดีเพื่อนผมเขาเจอ เคส 3 น่ะครับ และตึงตลอดเวลา...
ผมก็เลยไม่รู้จะว่ายังไง
เพราะจากการสอบถาม คือตอนทำสมาธิ มันเป็นปกติ
ดูมันจะสงบ และนิ่งดี ไม่มีอาการเกร็ง หรือตึงใด ๆ เลย
แต่พอออกสมาธิแล้ว ตึงว่ะ...

:b8: :b8: :b8:


รบกวนใครทราบช่วยตอบ case นี้ด้วยนะครับ...
คือตอนนั่งมันบอก เป็นปกติ แต่ตอนที่ออก มันบอกว่าตึงครับ...


แก้ไขล่าสุดโดย yahoo เมื่อ 03 ส.ค. 2009, 15:12, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ส.ค. 2009, 10:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2009, 08:46
โพสต์: 405

แนวปฏิบัติ: ดูจิต-อานา
ชื่อเล่น: ขวานผ่าซาก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ของผมตึงแบบมีใยแมงมุม มีจุดศูนย์กลางอยู่ที่จมก

แต่เป็นเฉพาะด้านบนนะครับ คือปไปจรดกึ่งกลางกระหม่อม

smiley

.....................................................
สุ จิ ปุ ลิ...(หัวใจนักปราชญ์)

ปัจจุบันธรรม

โยนิโส มนสิการ
สติ สัมปชัญญะ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 13 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร