วันเวลาปัจจุบัน 06 พ.ค. 2025, 02:26  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 29 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ค. 2009, 17:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างสมถภาวนาและวิปัสสนาภาวนา

1) สภาวะ (อาการของจิต)
สมถภาวนา: เป็นไปด้วยอำนาจของสมาธิ (จิตตั้งอยู่ในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือมีอารมณ์เป็นอันเดียว (เอกัคคตา))
วิปัสสนาภาวนา: เป็นไปด้วยอำนาจของปัญญา (รู้รูปนามขันธ์ ๕ รู้กฎอันเป็นไปตามธรรมดาของไตรลักษณ์)

2) ลักษณะ
สมถภาวนา: มีจิตตั้งมั่นไม่หวั่นไหวหรือความฟุ้งซ่าน
วิปัสสนาภาวนา: มีปัญญารู้แจ้งความจริงในสภาวธรรมทั้งปวง

3) กิจ
สมถภาวนา: สามารถข่มนิวรณ์ ๕ ได้
วิปัสสนาภาวนา: สามารถกำจัดความไม่รู้ (อวิชชา) ที่ปิดบังความจริงของสภาวธรรมทั้งปวงได้

4) สมาธิ
สมถภาวนา: ใช้สมาธิระดับอุปาจารสมาธิและอัปปนาสมาธิ
วิปัสสนาภาวนา: ใช้สมาธิระดับขณิกสมาธิ

5) องค์ธรรม
สมถภาวนา: ใช้เอกัคคตาเจตสิก
วิปัสสนาภาวนา: ใช้ปัญญาเจตสิก

6) ประเภทของธรรม
สมถภาวนา: จัดอยู่ในประเภทโลกียธรรมเมื่อไม่ได้เจริญบ่อยๆ หรือไม่ได้ทำจนเป็นวสี ย่อมเสื่อมได้
วิปัสสนาภาวนา: จัดอยู่ในประเภทโลกุตตรธรรมเมื่อได้เจริญจนถึงวิปัสสนาขั้นสูง คือ มัคคจิตย่อมไม่เสื่อม

7) จิต
สมถภาวนา: จัดเป็นมหัคคตจิต (จิตที่ฌานลาภีบุคคลผู้ประเสริฐเข้าถึงได้)
วิปัสสนาภาวนา: จัดเป็นโลกุตตรจิต(จิตที่พ้นจากกามภูมิและอรูปภูมิ)มีนิพพานเป็นอารมณ์

8) นิมิต
สมถภาวนา: นิมิต ๓ คือ บริกรรมนิมิต อุคคหนิมิตและปฏิภาคนิมิต
วิปัสสนาภาวนา: ไม่มีนิมิตอย่างใดอย่างหนึ่ง

9) ทวาร
สมถภาวนา: ใช้เพียง ๔ ทวาร คือ จักขุทวาร โสตทวาร กายทวาร และมโนทวาร
วิปัสสนาภาวนา: ใช้ได้ทั้ง ๖ ทวารคือ ปัญจทวารและมโนทวาร

10) ปหาน
สมถภาวนา: ละกิเลสด้วยอำนาจของการข่มด้วยองค์ฌานเป็นการสงบชั่วขณะ ประดุจหินทับหญ้า เรียกว่า วิกขัมภนปหาน
วิปัสสนาภาวนา: ละกิเลสชนิดที่ถาวรด้วยอำนาจของโลกุรตรมรรคหรือมัคคจิตเรียกว่า สุมจเฉทปหาน ละกิเลสเด็ดขาดไม่ต้องขวนขวายเพื่อดับอีก เรียกว่า ปฏิปัสสัทธิปหาน กิเลสดับเสร็จแล้ว คือ นิพพานเรียกว่า นิสสรณปหาน

11) อารมณ์
สมถภาวนา: ใช้อารมณ์บัญญัติ หรือสิ่งภายนอกร่างกายอย่างใดอย่างหนึ่งในอารมณ์ ๔๐ อย่างมีกสิณ ๑๐ เป็นต้น
วิปัสสนาภาวนา: ใช้อารมณ์ปรมัตถ์ คือ รูป-นาม พิจารณาขันธ์ ๕ อินทรีย์ ๖ (ในบุคคลธรรมดา) หรือสติปัฏฐาน ๔ (ในพระเสขะ) อันเป็นที่ตั้งที่เกิดของวิปัสสนา เรียกว่า วิปัสสนาภูมิ ๖ มีขันธ์ ๕ เป็นต้น

12) การเพ่ง(ฌาน)
สมถภาวนา: อารัมมณูปนิชฌาน การเพ่งด้วยจิตยึดมั่นในอารมณ์ ได้แก่ ฌานสมาบัติ
วิปัสสนาภาวนา: ลักขณูปนิชฌาน การเพ่งพินิจลักษณะอารมณ์ให้เห็นไตรลักษณ์

13) ผลปรากฏ (ปัจจุปัฏฐาน)
สมถภาวนา: ไม่หวั่นไหวไปตามอารมณ์ต่างๆ
วิปัสสนาภาวนา: มีความรู้ และความเห็น ตรงตามเป็นจริง

14) เหตุใกล้ (ปทัฏฐาน)
สมถภาวนา: มีความสุขความพอใจในความสงบเมื่อใจเป็นสุขแล้วย่อมไม่ดิ้นรนกวัดแกว่งไปในกามคุณอารมณ์ทั้งหลาย
วิปัสสนาภาวนา: มีสติและสัมปชัญญะ (ปัญญา) รู้รูปนามในปัจจุบัน

15) จริต
สมถภาวนา: มีจริต ๖ อย่างคือ ราคจริต โทสจริต โมหะจริต ศรัทธาจริต พุทธิจริต และวิตกจริต การทำสมถต้องอารมณ์ให้เหมาะกับจริตนิสัยของผู้นั้น
วิปัสสนาภาวนา: มีจริต ๒ ประเภท คือ ตัณหากับทิฏฐิ ในจริตทั้ง ๒ นี้ แยกย่อยออกไปอีกอย่งละ ๒ คือ ตัณหาจริตที่มีปัญญาอ่อน กับมีปัญญากล้า และทิฏฐิจริตที่มีปัญญาอ่อนกับทิฏฐิจริต มีปัญญากล้า

16) บุคคล
สมถภาวนา/วิปัสสนาภาวนา:
- เป็นบุคคลที่ปฏิสนธิด้วยไตรเหตุ
- ไม่เคยทำอนันตริยกรรม ๕
- ไม่ประกอบด้วยนิยตมิจฉาทิฏฐิ

17) วิธีปฏิบัติ
สมถภาวนา: ใช้สติกำหนดหรือจับอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งใน ๔๐ อย่าง โดยให้จิตนิ่งอยู่ในอารมณ์นั้นๆ เพียงอารมณ์เดียวจนความสงบของจิตจะเกิดขึ้น
วิปัสสนาภาวนา: ใช้สติกำหนดตามทวารทั้ง ๖ ที่ปรากฏในขณะปัจจุบันกำหนดรู้พิจารณาอยู่เฉพาะการเกิดขึ้นและการดับไปของรูป-นาม

18) ผลและอานิสงส์ที่ได้รับ
สมถภาวนา:
    - เข้าฌานสมาบัติได้
    - ได้อภิญญา ๕
    - ทำให้จิตใจเกิดความสงบเยือกเย็นเป็นสุข จึงเป็นเหตุให้ผู้ปฏิบัติติดอยู่กับความสงบความสุข ไม่สามารถใช้ปัญญาในการกำหนดรู้ทุกข์และทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่า ความสงบที่เข้าถึงนั้น คือ พระนิพพาน
    - ได้รูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๔
    - ไปเกิดในสุคติพรหมโลก แต่ยังไม่พ้นไปจากสังสารวัฏฏ์ ต้องกลับมาเกิดใหม่อีกใน ๓๑ ภูมิ
วิปัสสนาภาวนา:
    - เข้าผลสมาบัติได้
    - ได้อภิญญา ๖
    - ได้วิชชา ๘
    - ปัญญารู้ความจริงตามสภาวธรรม เรียกว่า วิปัสสนาญาณ
    - ได้มรรคผล นิพพาน คือไม่ต้องกลับมาเกิดอีกใน ๓๑ ภูมิ หรือในสังสารวัฎฎทุกข์ คือ ความเกิด แก่ เจ็บ ตาย อันเป็ฯจุดประสงค์สูงสุดอย่างแท้จริงในพระพุทธศาสนา

19) ผู้ค้นพบ
สมถภาวนา: มีอยู่ก่อนการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
วิปัสสนาภาวนา: พระพุทธเจ้าเป็นผู้ทรงค้นพบ

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


แก้ไขล่าสุดโดย Supareak Mulpong เมื่อ 25 ก.ค. 2009, 12:21, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ค. 2009, 18:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2009, 17:25
โพสต์: 281

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ให้ความรู้มีประโยชน์ดี สาธุๆๆ

.....................................................
เราจะเดินให้สุดทาง http://www.thai.dhamma.org


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ค. 2009, 14:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:
เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างสมถภาวนาและวิปัสสนาภาวนา


19) ผู้ค้นพบ

สมถภาวนา: มีอยู่ก่อนการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
วิปัสสนาภาวนา: พระพุทธเจ้าเป็นผู้ทรงค้นพบ






โลกุตตรกุศลจิต

พระไตรปิฎก เล่มที่ 34

ๆลๆ

[๒๕๓] สมถะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นคงแห่งจิต ความไม่ส่ายไปแห่งจิต
ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ ความตั้งใจชอบ
สมาธิสัมโพชฌงค์
อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า
สมถะ มีในสมัยนั้น.




"สมถะภาวนา ที่มีอยู่ก่อนการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า" คือ อย่างเดียวกันกับ สมถะที่"เป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค" ที่ชื่อว่า สมาธินทรีย์ สมาธิพละ ความตั้งใจชอบ(สัมมาสมาธิ) สมาธิสัมโพชฌงค์ นี้....จริงๆหรือ???


สมถะที่"เป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค"นี้.... พระพุทธองค์ไปนำของฤาษีทั้งสองมาใส่ไว้ในอริยมรรคจริงๆหรือ???

แล้ว ตกลงว่า สมถะของอาฬารดาบส-อุทกดาบส เป็นอย่างเดียวกับ สัมมาสมาธิในองค์อริยมรรค ซึ่ง ก็คือ เอกัคคตาจิตที่มีองค์แห่งอริยมรรคทั้งเจ็ดห้อมล้อม...จริงๆหรือ???

ท่าน ฤาษีทั้งสองท่านมีองค์แห่งอริยมรรคทั้งเจ็ดแล้ว ตั้งแต่เมื่อใด???... เพราะ อริยมรรคนี้ พระพุทธเจ้าเป็นผู้ตรัสรู้เป็นบุคคลแรกในยุคนั้น

อย่าลืมว่า องค์แห่งอริยมรรคทั้งเจ็ด เริ่มต้นด้วยอนาสวะสัมมาทิฏฐิ(ตรงกับ ธัมมวิจัยสัมโพชฌงค์)....ถ้าปราศจากอนาสวะสัมมาทิฏฐิเสียแล้ว องค์แห่งอริยมรรคอื่นๆก็ไม่มีทางเกิดขึ้นได้เลย. ท่านฤาษีทั้งสองมี ธัมมวิจัยสัมโพชฌงค์ จริงหรือ???....




ท่านผู้ใดพอจะแสดง หลักฐานจากพระไตรปิฎฏว่า ท่านฤาษีทั้งสองมี ธัมมวิจัยสัมโพชฌงค์ ได้บ้างไหมครับ???



ปล..ขอเป็นหลักฐานจากระดับพระไตรปิฎก...

ไม่ขอ เป็นหลักฐานจากคัมภีร์รุ่นหลังพุทธกาล หรือ อาจารย์รุ่นหลังพุทธกาล น่ะครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ค. 2009, 14:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


สมาธิในองค์มรรค หรือ สัมมาสมาธิ เป็นสมาธิที่เกิดหลังจากมรรคองค์แรกเกิด คือสัมมาทิฏฐิ ส่วนสมาธิของพวกฤาษี ไม่ถือเป็นสมาธิในองค์มรรค์ เป็นสมาธินอกศาสนาพุทธครับ

จะกล่าวได้ว่า สมถะ ที่เกิดก่อนการตรัสรู้ ไม่ใช่ สัมมาสมาธิ ครับ

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ค. 2009, 15:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:
สมาธิในองค์มรรค หรือ สัมมาสมาธิ เป็นสมาธิที่เกิดหลังจากมรรคองค์แรกเกิด คือสัมมาทิฏฐิ ส่วนสมาธิของพวกฤาษี ไม่ถือเป็นสมาธิในองค์มรรค์ เป็นสมาธินอกศาสนาพุทธครับ

จะกล่าวได้ว่า สมถะ ที่เกิดก่อนการตรัสรู้ ไม่ใช่ สัมมาสมาธิ ครับ




ลองอ่านดูดีๆอีกครั้งหนึ่ง

อ้างคำพูด:

19) ผู้ค้นพบ

สมถภาวนา: มีอยู่ก่อนการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า

วิปัสสนาภาวนา: พระพุทธเจ้าเป็นผู้ทรงค้นพบ




บทความนี้ นำ คำว่า"สมถะ" มาวางเทียบกับคำว่า"วิปัสสนา"


ทำไปทำมา กลายเป็นว่า คำว่า สมถะ ที่นำมาวางเทียบกับ คำว่า วิปัสสนา นี้...เป็น สมถะแบบของพระฤาษีนอกพระศาสนาไปเสียเฉยๆ

แล้ว ไปเอา "สมถะแบบของพระฤาษีนอกพระศาสนา" มาวางเทียบกับ "วิปัสสนาแบบที่พระพุทธองค์ทรงสอนไว้" ทำไม....


ทำไม ถึงไม่นำ "สมถะแบบที่พระพุทธองค์ทรงสอนไว้" มาวางคู่(ไม่ใช่การเปรียบเทียบ) กับ "วิปัสสนาแบบที่พระพุทธองค์ทรงสอนไว้" ล่ะครับ???



ประเด็นการนำเสนอแบบ"ผิดฝา-ผิดตัว"นี้ จะพบเห็นบ่อยมาก
โดยมากจะมาจากกลุ่มนักวิปัสสนา

คือ เล่นเอา "สมถะที่ผิด" ไปวางเทียบกับ "วิปัสสนาที่ถูก"...แล้ว มักจะสรุปว่า สมถะเป็นสิ่งไม่ดี (สมถะนั้นๆ มันจะไปดีได้อย่างไร ก็มันเป็นสมถะที่ผิดน่ะครับ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ค. 2009, 17:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ทำไม ถึงไม่นำ "สมถะแบบที่พระพุทธองค์ทรงสอนไว้" มาวางคู่(ไม่ใช่การเปรียบเทียบ) กับ "วิปัสสนาแบบที่พระพุทธองค์ทรงสอนไว้" ล่ะครับ???


การแสดงนี้เพื่อให้เห็นความชัดเจนในทุกแง่ทุกมุมระหว่าง สมาธิ กับ วิปัสสนา โดดๆ ถึงจะเป็นสมาธิในพุทธศาสนาก็ไม่ได้แตกต่างไปจากนี้หรอกนะครับ

การปฏิบัติเพื่อมรรคผลในพุทธศาสนา มีทั้ง สมถะนำวิปัสสนา วิปัสสนานำสมถะ และทำคู่ๆ กับไป ไม่มีปรากฎให้นั่งสมาธิอย่างเดียว ทั้งนี้แล้วแต่ภาวะของบุคคลที่มีความแตกต่างกัน

viewtopic.php?f=2&t=24268

อย่างไรก็รบกวนพิจรณาด้วยนะครับ

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ค. 2009, 17:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2009, 17:25
โพสต์: 281

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:
อ้างคำพูด:
ทำไม ถึงไม่นำ "สมถะแบบที่พระพุทธองค์ทรงสอนไว้" มาวางคู่(ไม่ใช่การเปรียบเทียบ) กับ "วิปัสสนาแบบที่พระพุทธองค์ทรงสอนไว้" ล่ะครับ???


การแสดงนี้เพื่อให้เห็นความชัดเจนในทุกแง่ทุกมุมระหว่าง สมาธิ กับ วิปัสสนา โดดๆ ถึงจะเป็นสมาธิในพุทธศาสนาก็ไม่ได้แตกต่างไปจากนี้หรอกนะครับ

การปฏิบัติเพื่อมรรคผลในพุทธศาสนา มีทั้ง สมถะนำวิปัสสนา วิปัสสนานำสมถะ และทำคู่ๆ กับไป ไม่มีปรากฎให้นั่งสมาธิอย่างเดียว ทั้งนี้แล้วแต่ภาวะของบุคคลที่มีความแตกต่างกัน

viewtopic.php?f=2&t=24268

อย่างไรก็รบกวนพิจรณาด้วยนะครับ



ขอบคุณนะที่เป็นห่วง ในที่นี้คงไม่มีใครทำสมถะอย่างเดียวหรอกครับ เพราะตำราที่สอนก็สอนให้ทำควบคู่ แต่ผมเข้าใจเจตนาดีครับ สำหรับคนไม่ทำสมถะก็จะกล่าวในแง่วิปัสนาอย่างเดียว และสมถะก็เป็นเครื่องอยู่ที่กั้นกิเลสได้ดีมากๆครับ

.....................................................
เราจะเดินให้สุดทาง http://www.thai.dhamma.org


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ค. 2009, 21:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


คุณ Supareak Mulpong



อ้างคำพูด:
การแสดงนี้เพื่อให้เห็นความชัดเจนในทุกแง่ทุกมุมระหว่าง สมาธิ กับ วิปัสสนา โดดๆ


คำว่า "โดดๆ" นี่ล่ะ คือ ปัญหา...

คือ ไปแยกขาด สมถะ(สมาธิ) ไว้ส่วนหนึ่ง...ไป แยกขาด วิปัสสนา(ปัญญา) ไว้อีกส่วนหนึ่ง

เป็นลักษณะ "โดดๆ"

โดย ลืมไปว่า ในอริยมรรคที่มีองค์แปดนั้น มีทั้ง สมถะ และ วิปัสสนา ประกอบกันเป็น วิชชาภาคิยะ(ธรรมอันเป็นส่วนภาคแห่งวิชชา)... องค์แห่งอริยมรรคทั้งแปด นั้น ร้อยเรียง รองรับ และ รวมลง กันเป็นอริยมรรค ...ที่ไม่อาจจะแยกขาด สมถะ ออกจาก วิปัสสนา ได้อย่างเด็ดขาดเลย


นอกจากจะแยกขาด สมถะ ออกจาก วิปัสสนา แล้ว...ยังไม่พอ

ยังเอา สมถะที่ไม่เป็นไปสู่สัมมาสมาธิ (เช่น สมถะ ของพระฤาษีนอกพระศาสนา) มาวางในลักษณะ"เปรียบเทียบ" กับ วิปัสสนา...
แล้ว สรุปเอาเอง ว่า สมถะ=ไม่ดี วิปัสสนา=ดี



อ้างคำพูด:
ถึงจะเป็นสมาธิในพุทธศาสนาก็ไม่ได้แตกต่างไปจากนี้หรอกนะครับ


ผมก็บอกไปแล้วไงครับว่า

คุณ ก็ลองหาพระสูตรที่ตรัสแสดงว่า อาฬารดาบส-อุทกดาบส มีอนาสวะสัมมาทิฏฐิ ที่เป็นต้นทางแห่งอริยมรรคทั้งเจ็ดซึ่งมารายล้อมเอกัคคตาจิต ยังให้บังเกิด สัมมาสมาธิ ในองค์แห่งอริยมรรค ...มาให้ผมชมหน่อย



อ้างคำพูด:
การปฏิบัติเพื่อมรรคผลในพุทธศาสนา มีทั้ง สมถะนำวิปัสสนา วิปัสสนานำสมถะ และทำคู่ๆ กับไป ไม่มีปรากฎให้นั่งสมาธิอย่างเดียว


พระสุปฏิปันโน ที่ผมศึกษาคำสอนของท่าน
ไม่ว่าจะเป็น หลวงปู่มั่น หลวงปู่ชา หลวงตามหาบัว หรือ ท่านพุทธทาส ....ก็ไม่มีท่านใดสอนให้นั่งสมาธิอย่างเดียวหรอก

คุณอย่าไปกล่าวมั่ว

และ ผมเคยถามมาแล้วว่า เจริญวิปัสสนาล้วนๆอย่างเดียวจนบรรลุอรหัตตผลโดยไม่มีสมถะปรากฏขึ้นเลย(ที่อธิบายกันแปลกๆว่า สมถะ คือ ฌาน นั้น พระอรหันต์ท่านนั้นๆอยากได้ฌาน จึงมาฝึกเอาภายหลังจากบรรลุอรหัตตผลแล้ว) นั้นอยู่ในแนวทางไหน ใน4แนวทางสู่อรหัตตผล(ใน ยุคนัทธวรรค)....
เห็นตอบกันมา ไม่เคลียร์เลย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ค. 2009, 22:55 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ก็เขาตั้งธง..ใว้แล้ว..ก็ตั้งหน้าตั้งตา..วิ่งหาธง..ของเขา..อย่างเดียว..อย่างอื่น..เขาไม่สน..หรอกคุณตรงประเด็น..


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ค. 2009, 23:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3832

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
ก็เขาตั้งธง..ใว้แล้ว..ก็ตั้งหน้าตั้งตา..วิ่งหาธง..ของเขา..อย่างเดียว..อย่างอื่น..เขาไม่สน..หรอกคุณตรงประเด็น..


นี่

อยู่ในมือหมอแล้ว

หมอมือนุ่มด้วย

ก็สุดแล้วแต่วาสนาของเขาแล้วล่ะ
:b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ค. 2009, 07:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


อย่าได้ตีความให้สับสนสิครับ การแสดงคุณลักษณะ คุณสมบัติของ สมถะ และ วิปัสสนา ในที่นี้ ไม่ได้บอกว่าอะไรดี อะไรไม่ดี และก็ไม่ได้ว่าไปถึงเรื่องอริยมรรค

ทำนำมาเสนอเป็น FACT SHEET หรือ WHITE PAPER เพื่อผู้ที่ศึกษาจะได้ทำความเข้าใจ เป็นข้อมูลตรงไปตรงมา

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ค. 2009, 07:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว



เพราะภาษาที่ใช้ในการบัญญัติคำนี่แหละพาวุ่นวาย ..

สมถะคืออะไร สมถะคือผลของการทำสมาธิ ผลของการทำสมาธิคืออะไร จิตสงบลงไปชั่วขณะหนึ่ง

ทีนี้เกิดการแบ่งแยกเรื่องของระดับสมาธิขึ้นมา

บางสำนักแยกว่า ต้อง อัปปนาสมาธิเท่านั้น ถึงจะเป็นสมถะ

บางสำนักบอกว่า ต้องอุปจาระกับอัปปนาเท่านั้นป็นสมถะ

แล้วขณิกะ หลายๆที่กลับมองข้ามไป อย่าลืมว่า สมาธิสามารถสะสมกำลังได้

จากขณิกะก็สามารถกลายเป็นอุปจาระและเป็นอัปปนาสมาธิได้

ขณิกะก็จัดว่าเป็นสมถะ เพราะเพียงขณิกะก็ทำให้จิตสงบลงไปได้ชั่วขณะหนึ่งถึงแม้จะเวลาสั้นๆก็ตาม

สมถะถึงต้องคู่กับวิปัสสนา ไม่ใช่ วิปัสสนามาโดดๆ หรือ สมถะมาโดดๆ

เหมือนคำว่า วิปัสสนาเหมือนกัน บางที่ทำเป็นของวิเศษไปเลย ในการสื่อความหมาย

ทั้งๆที่วิปัสสนานั้นใช้ความหมายสั้นๆได้ว่า การดูตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้น ณ ขณะนั้นๆ

( คือ ปัจจุบัน ) เท่านั้นเอง ไม่ได้มีวิเศษพิศดารอะไรเลยแม้แต่สักนิดเดียว :b1:

การเฝ้าดูตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้น การเอาจิตจดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง

ก็สามารถทำให้เกิดสมาธิขึ้นมาได้ อย่างน้อยก็ขณิกสมาธิละ ..

แต่บางคนอาจจะเกิดมากกว่านั้น นั่นก็ขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยหรือกุศลที่แต่ละคน

สร้างสั่งสมมาไม่เท่ากันนั่นเองค่ะ :b16:

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ค. 2009, 21:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.พ. 2009, 20:42
โพสต์: 699


 ข้อมูลส่วนตัว


มามาดวิชาการแบบนี้ ไม่ถูกจริตนายสยาม ต้องพลศักดิ์ใช่ป่ะ แต่อาตมุยเคยเห็นว่า แพ้ทางเด็กโข่ง... :b32: :b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ค. 2009, 13:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3832

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


แน่น๊อนน
rolleyes


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ส.ค. 2009, 14:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ย. 2008, 22:30
โพสต์: 222

ที่อยู่: เวียนว่ายในวัฏสงสาร (-_-!)

 ข้อมูลส่วนตัว


smiley ชอบคุณ walaiporn ตอบจัง ใช้ภาษาง่ายๆ เข้าใจง่ายดี เพราะ กระผมก้แพ้ ศัพย์แสงยากๆ อ่านดีไรปวดหัวทุกที :b28:

.....................................................
ขอประสบความสุขทั้งทางโลกและทางธรรม


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 29 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร