วันเวลาปัจจุบัน 06 พ.ค. 2025, 04:52  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 38 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสต์ เมื่อ: 21 ก.ค. 2009, 23:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


สัมมาสมาธิในองค์แห่งอริยมรรค(อริยะสัมมาสมาธิ) เป็นเอกสิทธิ์เฉพาะในพระศาสนานี้เท่านั้น

ย่อมเป็นผลมาจากการเจริญภาวนาตามหลักแห่งสติปัฏฐาน



เสนอ อ่านพระสูตรนี้

ทันตภูมิสูตร ที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์


http://84000.org/tipitaka/read/byitem.p ... agebreak=0

ทรงแสดงแก่ท่าน สมณุทเทสอจิรวตะ(พระพุทธองค์ทรงเรียกท่านว่า อัคคิเวสสนะ)


พระสูตรนี้ค่อนข้างยาว เริ่มจากการสนทนาระหว่างท่านสมณุทเทสอจิรวตะ กับ พระราชกุมารชยเสนะ ในประเด็นที่ว่า

Quote Tipitaka:
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่ พึง สำเร็จเอกัคคตาแห่งจิต ได้ ฯ


http://84000.org/tipitaka/read/byitem.p ... agebreak=0

ถ้ามีเวลาว่าง ลองค่อยๆอ่านบทสนทนาระหว่าง ท่านสมณุทเทสอจิรวตะ กับ พระราชกุมารชยเสนะ
และ ในสุดท้าย พระราชกุมารชยเสนะ ก็สรุปด้วยภาวะมุมมองแห่งตนเอง(ที่ยังคงข้องกับกามอยู่) ว่า ประเด็นนี้ เป็นไปไม่ได้...
คือ ไม่มีทางที่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ จะสำเร็จเอกัคคตาแห่งจิต ได้...

Quote Tipitaka:
ข้าแต่ท่านอัคคิเวสสนะผู้เจริญ ข้อที่ภิกษุไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่พึงสำเร็จเอกัคคตาแห่งจิต นั่นไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่โอกาส ต่อนั้น พระราชกุมารชยเสนะ ทรงประกาศความไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่โอกาส แก่สมณุทเทสอจิรวตะแล้ว ทรงลุกขึ้นจากอาสนะเสด็จหลีกไป ฯ


http://84000.org/tipitaka/read/byitem.p ... agebreak=0

ท่านสมณุทเทสอจิรวตะ จึงมาทูลให้พระพุทธองคฺทรงทราบ และ พระพุทธองค์ก็ทรงแสดงธรรม ชี้เหตุผลกับท่าน :b8:



ใน พระพุทธเทศนานั้น บรรยายตั้งแต่ เหตุที่พระราชกุมารไม่อาจจะคาดหยั่งถึงการสำเร็จเอกัคคตาแห่งจิตได้ เพราะยังคงเสพกามอยู่

Quote Tipitaka:
ดูกรอัคคิเวสสนะ พระราชกุมารจะพึงได้ความ
ข้อนั้นในภาษิตของเธอนี้แต่ที่ไหน ข้อที่ความข้อนั้นเขารู้ เขาเห็น เขาบรรลุ
เขาทำให้แจ้งกันได้ด้วยเนกขัมมะ แต่พระราชกุมารชยเสนะยังอยู่ท่ามกลางกาม
ยังบริโภคกาม ถูกกามวิตกกิน ถูกความเร่าร้อนเพราะกามเผา ยังขวนขวายในการ
แสวงหากาม จักทรงรู้ หรือจักทรงเห็น หรือจักทรงทำให้แจ้งความข้อนั้นได้
นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้ ฯ


http://84000.org/tipitaka/read/byitem.p ... agebreak=0


และ ต่อจากนั้น ทรงแสดงถึงธรรมขั้นสูงๆต่อไป คือ เนกขัมมะ คือ การออกจากกาม(ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต)

ต่อด้วย การเป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยปาติโมกขสังวร

ต่อด้วย การเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย เป็นเหตุให้ละนิวรณ์๕ได้

เมื่อละนิวรณ์๕ได้แล้ว ก็ต่อด้วย การพิจารณากายในกาย (ตลอดจน เวทนา จิต ธรรม)มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ (ตรงนี้ ไม่ได้แสดงชัดเจนว่า นี่เป็นสมาธิระดับใด แต่ ผมเข้าใจว่าน่าจะหมายถึง บรรลุรูปฌานที่๑แล้ว เพราะถัดจากท่อนนี้ไปก็ทรงบรรยายถึงทุติยฌานแล้ว)

http://84000.org/tipitaka/read/byitem.p ... agebreak=0

ต่อมาทรงแสดง สติปัฏฐานสี่ ว่าคือ หลักผูกใจของอริยสาวก เปรียบด้วยเสาตะลุงใหญ่เอาไว้ล่ามคอช้างป่า

http://84000.org/tipitaka/read/byitem.p ... agebreak=0




# พระสูตรในตอนต่อจากนี้ น่าสนใจนมากครับ

http://84000.org/tipitaka/read/byitem.p ... agebreak=0

ทรงแสดงถึง

Quote Tipitaka:
"พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ แต่อย่าตรึกวิตกที่เข้าประกอบกับกาย" (ตลอดจน เวทนา จิต ธรรม)


จึงยังให้เกิด

Quote Tipitaka:
"เธอย่อมเข้าทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งใจภายใน มีความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะสงบวิตกและวิจาร ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่".


การพิจารณาเห็นกายในกาย แต่ไม่ตรึกวิตกที่เข้าประกอบกับกาย(ตลอดจน เวทนา จิต ธรรม) ซึ่งบรรยายว่า วิตก-วิจาร สงบไป จึงบรรลุถึงทุติยฌาน



ต่อจากนั้นทรงแสดงถึง

Quote Tipitaka:
"ย่อมเป็นผู้วางเฉยเพราะหน่ายปีติ มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย เข้าตติยฌาน"


ซึ่งนี่ คือ การละวางปีติอย่างมีสติ จึงบรรลุตติยฌาน



ต่อจากนั้นทรงแสดงถึง

Quote Tipitaka:
" ย่อมเข้าจตุตถฌานอันไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ ฯ"


ซึ่งนี่คือ การละวางสุขที่เกิดขึ้น จิตจึงลุถึงจตุตฌานที่มีสติบริสุทธิ์

หลังจากนั้นจึงทรง แสดงถึง วิชชาสามประการ ๆลๆ



# # พระสูตรนี้น่าสนใจมาก

เพราะ ทรงตรัสแสดงถึง ความสัมพันธ์ของสติปัฏฐาน กับ รูปฌาน๑-๔ โดยตรง (ตรงกับ คำว่า"เอกัคคตาแห่งจิต" ที่ เป็นประเด็นสนทนาระหว่าง ท่านสมณุทเทสอจิรวตะกับพระราชกุมารชยเสนะ ในตอนต้นพระสูตร)....

ซึ่ง นี่คือ สัมมาสมาธิในองค์แห่งอริยมรรค อันเป็นผลจากการเจริญสติปัฏฐาน


โพสต์ เมื่อ: 26 ก.ค. 2009, 20:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อก่อน เคยมีผู้ถามผมบ่อยๆว่า

1.สัมมาสมาธิ ไม่จำเป็นต้องเป็นสมาธิระดับฌานได้ไหม?

2.สัมมาสมาธิ ถ้าเป็นสมาธิระดับฌาน จะไปเกี่ยวข้องอะไรกับการเจริญสติปัฏฐาน?
(เพราะ ผู้ถามเชื่อว่า ฌาน คือ ภาวะที่ต้องปราศจากสติ ไม่สามารถพิจารณาอะไรได้เลย ซึ่ง ไม่น่าจะเป็นผลของการเจริญสติปัฏฐานได้)

........................................



ลองพิจารณากันดูน่ะครับ



## 1.สัมมาสมาธิ ไม่จำเป็นต้องเป็นสมาธิระดับฌานได้ไหม?

ใน มหาจัตตารีสกสูตร ที่แสดงการร้อยเรียงของอริยมรรค แสดง สัมมาสมาธิด้วยเอกัคคตาจิต(สมาธิระดับฌาน)ที่แวดล้อมด้วยองค์แห่งอริยมรรคอีกเจ็ดอย่าง

และ

ใน สัจจบรรพแห่งมหาสติปัฏฐาน แสดงไว้ว่า


สัมมาสมาธิ เป็นไฉน

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจาก
อกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่

เธอบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะ
วิตกวิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่

เธอมีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน
ที่พระอริยทั้งหลาย สรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข

เธอบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัส
โทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ อันนี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ ฯ



นอกจากนี้ ยังมีอีกหลายพระสูตร ที่ระบุ สัมมาสมาธิ ไปในทิศทางนี้

ประเด็นนี้ เคยเสวนากันในกระทู้เก่า มามากแล้ว ขอผ่านไปเลยแล้วกัน




## 2.สัมมาสมาธิ ถ้าเป็นสมาธิระดับฌาน จะไปเกี่ยวข้องอะไรกับการเจริญสติปัฏฐาน?

(เพราะ ผู้ถามเชื่อว่า ฌาน คือ ภาวะที่ต้องปราศจากสติ ไม่สามารถพิจารณาอะไรได้เลย ซึ่ง ไม่น่าจะเป็นผลของการเจริญสติปัฏฐานได้)

เสนอให้ย้อนกลับไปอ่าน ทันตภูมิสูตร ที่ ๕

ทันตภูมิสูตร ที่ ๕


[๓๙๘] ตถาคตจึงแนะนำเธอให้ยิ่งขึ้นไปว่า

ดูกรภิกษุ มาเถิด
เธอจงเป็นผู้พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ แต่อย่าตรึกวิตกที่เข้าประกอบกับกาย
จงเป็นผู้พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ แต่อย่าตรึกวิตกที่เข้าประกอบกับเวทนา
จงเป็นผู้พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ แต่อย่าตรึกวิตกที่เข้าประกอบกับจิต
จงเป็นผู้พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ แต่อย่าตรึกวิตกที่เข้าประกอบกับธรรม
เธอย่อมเข้าทุติยฌานมีความผ่องใสแห่งใจภายใน มีความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะสงบวิตกและวิจาร
ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่

ย่อมเป็นผู้วางเฉย เพราะหน่ายปีติมีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย เข้าตติยฌาน ...

ย่อมเข้าจตุตถฌานอันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุข ละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้
มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่



พระสูตรนี้ เป็นอีกพระสูตรหนึ่ง
ที่ทรงแสดงชัดเจนว่า สัมมาสมาธิ เป็น รูปฌาน๑-๔ ที่บังเกิดจากการเจริญสติปัฏฐาน

และ สังเกตุให้ดี
จะเห็นว่า ตลอดในรูปฌานทั้งสี่ ที่เกิดจากการเจริญสติปัฏฐานนี้ ล้วนแต่ มีสติสัมปชัญญะอยู่ตลอด
โดยเฉพาะ ในรูปฌานที่๔ ที่แสดงว่า มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา


โพสต์ เมื่อ: 26 ก.ค. 2009, 20:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


ใน สัทธาสูตร ทรงแสดงว่า สมาธินทรีย์ เป็นผลสืบเนื่องมาจาก สตินทรีย์




และ ใน พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
สูตรที่ ๘ วิภังคสูตรที่ ๑
ความหมายของอินทรีย์ ๕

ทรงแสดง สมาธินทรีย์ด้วย รูปฌานสี่

ภิกษุทั้งหลาย
อิทรีย์ ๕ อย่างเหล่านี้ มีอยู่ ฯลฯ คือ
สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ และปัญญินทรีย์

ภิกษุทั้งหลาย สัทธินทรีย์ จะเห็นได้ในที่ใดเล่า
สัทธินทรีย์ เห็นได้ใน โสดาปัตตยังคะสี่

ภิกษุทั้งหลาย วิริยินทรีย์ จะเห็นได้ในที่ใดเล่า
วิริยินทรีย์ เห็นได้ใน สัมมัปปธานสี่

ภิกษุทั้งหลาย สตินทรีย์ จะเห็นได้ในที่ใดเล่า
สตินทรีย์ เห็นได้ใน สติปัฏฐานสี่

ภิกษุทั้งหลาย สมาธินทรีย์ จะเห็นได้ในที่ใดเล่า
สมาธินทรีย์ เห็นได้ใน ฌานสี่

ภิกษุทั้งหลาย ปัญญินทรีย์ จะเห็นได้ในที่ใดเล่า
ปัญญินทรีย์เห็นได้ใน อริยสัจสี่

ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้แล อินทรีย์ ๕
มหาวาร สํ ๑๙ ๒๕๙/๘๕๒-๘๕๗



ซึ่ง นี่จะไปสอดคล้องกับ ใน มหาจัตตารีสกสูตร และ ทันตภูมิสูตรที่๕ เช่นกัน

ในเมื่อ รูปฌาน๑-๔ นี้ บังเกิดจากการเจริญสติปัฏฐานนั่นเอง

แล้ว ยังจะเชื่อกันอีกหรือว่า ในรูปฌานทั้งสี่ ที่เป็นสัมมาสมาธิ จะไม่สามารถพิจารณาธรรมได้???


โพสต์ เมื่อ: 26 ก.ค. 2009, 20:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.พ. 2009, 20:42
โพสต์: 699


 ข้อมูลส่วนตัว


ช่วงแรกๆ ที่เพิ่งหาความรู้เรื่องฌาณ ไปหาเจอหลายที่ ที่บอกว่า ฌาณ 4 นั้น ดับหมด ไม่สามารถใช้ความคิดได้ เราก็รู้สึกทะแม่งๆ ทันที

เพราะฌาณ 4 นั้น ประกอบอุเบกขาและเอกัคคตา ทำไมถึงไปตีความว่า ดับ อุเบกขาอาจจะตีความว่า จิตวางเฉยต่อสังขาร ทำไห้ไม่รับรู้ร่างกายได้ (แต่เราไม่คิดอย่างนั้นนะ) แต่เอกัคคตา (จิตแน่วแน่เป็นหนึ่ง) ไปตีความว่า ไม่มีความคิดได้ยังไง จิตแน่วแน่เป็นหนึ่งก็แสดงว่า คิดเรื่องเดียว และเป็นอุเบกขา คือเรื่องที่คิดนั้น ไม่ก่อให้เกิดอารมณ์ใดๆ เช่น คิดเรื่องซากศพแล้วสยอง อันนี้ก็ไม่ใช่ฌาณ 4

ในฌาณ 4 สามารถคิดพิจารณาสิ่งต่างๆ ได้แน่นอน
ที่มีผู้เขียนว่าดับหมดนั้น เข้าใจว่า เพราะในความสงบระดับนั้น เมื่อพ้นจากนิมิต ไม่มีสิ่งใดปรากฎให้เห็นอีกแล้ว หากปล่อยจิตไว้อย่างนั้น พักหนึ่ง จิตจะดับเข้าภวังค์ไป... เพราะฉะนั้นจึงเข้าใจไปว่า นี่คือสภาวะของฌาณ 4 แต่หากหาอะไรให้จิตทำ เช่นพิจารณาธรรมะต่างๆ หรืออื่นๆ จิตจะไม่เข้าภวังค์


โพสต์ เมื่อ: 27 ก.ค. 2009, 10:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


ก็มัวแต่ไปอ่านไปคิด ทำเลย...อย่าช้า
แล้วจะรู้เองว่าเป็นอย่างไร...ข้อนี้หมดสงสัยสำหรับผู้ปฏิบัติ
บทและพยัญชนะมีไว้เป็นแนวทางเท่านั้น
ปฏิบัติมีไว้ให้เข้าถึงความหมายของบทและพยัญชนะ
อ่านหรือคิดเข้าถึงไม่ได้

แค่เอกัคคตาจิต ถ้าไม่ปฏิบัติก็ไม่รู้จริง
แค่คำว่าพิจารณา ถ้าไม่ปฏิบัติก็ไม่รู้จริง

๒ คำนี้ถ้าคิดก็จะขัดกันเอง เช่น
เอกัคคตาจิต หมายถึง มีอารมณ์เดียว
การพิจารณา หมายถึง การรู้เห็น เข้าใจ ในแง่มุมต่างๆ

ถ้าลงว่ามีอารมณ์เดียว ก็จะไปเห็นหลายสภาวะต่างๆไม่ได้ เช่น ขณะนั่งรถไป มุ่งมองที่บ้านหลังหนึ่ง
หลังเดียวแล้วไม่มองอย่างอื่น ก็ต้องหันหน้าเพื่อเพื่อมุ่งมองแต่บ้านหลังนั้น ถ้าไม่มอง สายตาก็จะ
หลุดจากบ้านหลังนั้น ตอนนั้นอารมณ์ก็หลุดจากความเป็นหนึ่ง
หรือมองดูอะไรสักอย่าง ถ้ามุ่งมองโดยไม่พลิก ก็ไม่เห็นสิ่งอื่น ถ้าพลิก ก็หลุดจากความเป็นหนึ่ง

แล้วพอจะจับเอกัคคตากับพิจารณาเข้ามารวมกัน ก็เป็นหนึ่งไม่ได้ เพราะพิจารณาต้องเห็น ต้อง
ส่งอารมณ์ไปในลักษณะต่างๆ เช่น พิจารณาสภาวะลักษณะ เห็นสภาวะลักษณะ เป็นต้น ในแต่
ละลักษณะของรูปนามต่างกันออกไป เช่น รูปมีสีปรากฏ เสียงมีการสั่นสะเทือนปรากฏ ในขณะ
ที่กำลังอยู่ในเอกัคคตาจิต ถ้ารู้รูปอยู่ เมื่อมีสภาวะอื่นปรากฏ การย้ายไปพิจารณาสภาวะอื่นก็จะทำ
ให้เอกัคคตาจิตเปลี่ยนไป ในขณะที่เปลี่ยนอยู่ ก็จะไม่เป็นเอกัคคตาจิตเลย

หรือ เช่น พิจารณาสามัญญลักษณะอยู่ เมื่อจิตเป็นเอกัคคตาในสภาวะรูปนามที่ปรากฏในอนิจจะอยู่
หากจะพิจารณาทุกข์ ถ้าต้องย้ายจากเอกัคคตาจิตไปรู้สภาวะทุกข์ ก็จะไม่เป็นเอกัคคตาจิตเลย ถ้าไม่
ย้ายจิตไป ก็จะไม่เห็นสภาวะของทุกข์

หรือ เช่นการอ่านหนังสือ ถ้าเราอ่านเข้าใจ พิจารณาตาม ตอนนั้นเป็นสมาธิที่มีลักษณะเกิดดับสั้นๆ
ก็จะอ่านหรือพิจารณาได้ง่าย เพราะสมาธินี้อนุเคาระห์การพิจารณาหรือทำความเข้าใจ


เหมือนกับการเลือกซื้อไข่ ถ้าดูฟองเดียว ก็เหมือนเอกัคคตาจิต ถ้าวางฟองเก่าแล้วหยิบฟองใหม่
ขึ้นมาพิจารณา ก็เท่ากับมีการเปลี่ยนอารมณืที่จิตหน่วงอยู่ สภาวะเอกัคคตาเปลี่ยนไปทันที

แท้จริงแล้วนัยนี้ นิดเดียวเอง นิดเดียวจริงๆ แต่เพราะมัวอ่านอยู่ ต้องทำให้ถึงทั้งอารมณ์ฌาน
และอารมณ์ของวิปัสสนา แล้วจะรู้เองว่า สมาธิแบบไหนทำอย่างไรได้

อนึ่ง สมาธิในสติปัฏฐานสูตร บางอย่างถึงฌาน บางอย่างไม่ถึงฌาน บางอย่างเป็นได้ในอารมณ์
ของปฐมฌานเท่านั้น บางอย่างเกิดแว๊บเดียวแล้วดับไปพร้อมจิต
สัมมาสมาธิในอริยมรรค ในอินทรียร์ ๕ เมื่อเป็นมรรคสมังคี จะเกิดไม่นาน วูบเดียว ไม่กี่ขณะจิต

ข้อนี้ลองให้ปฏิบัติครับ สนุกกว่าคิด วิธีลองปฏิบัติง่ายๆก็มีครับ แต่จะยอมรับเหตุผลที่ลองหรือไม่
เป็นอีกเรื่องหนึ่งครับ

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสต์ เมื่อ: 27 ก.ค. 2009, 13:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.พ. 2009, 20:42
โพสต์: 699


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอแย้งคุณ กามโภคี นะ

อย่าลืมว่า เอกัคคตา มีในทุกรูปฌาณและอรูปฌาณ หากเอกัคคตา (จิตแน่วแน่เป็นหนึ่ง) มีความหมายว่า 1 สภาวะ แล้วใย...
ฌาณ 1 มีวิตก วิจาร ปิติ สุข และ เอกัคคตา
ฌาณ 2 มีปิติ สุข และ เอกัคคตา
ฌาณ 3 มีสุข และ เอกัคคตา

เอกัคคตา ไม่ได้มีความหมายว่า 1 สภาวะหรือ 1 อารมณ์ ไม่เช่นนั้นจะมีวิตก วิจาร ปิติ (อาการเวอร์ๆ ต่างๆ) และสุข ได้อย่างไร
อย่างที่บอก เอกัคคตาคือการ คิดเรื่องเดียว คำว่าคิดเรื่องเดียวนั้น ย่อมมีรายละเอียดมากมาย เราอาจใช้ฌาณ 4 ในการขบคิดว่า จะทาสีบ้านอย่างไร จึงรวดเร็วที่สุดก็ได้

สมาธิวิปัสสนาในระดับสูง ที่มุ่งผลเพื่อให้ได้วิปัสสนาญาณต่างๆ จึงต้องวิปัสสนาในฌาณ 4 เพราะในฌาณ 4 นั้นมี อุเบกขา เข้ามา ทำให้สิ่งที่พิจารณานั้น ไม่ถูกบดบังด้วยอารมณ์ต่างๆ เช่น หากพิจารณาในฌาณ 3 หากแง่มุมที่พิจารณานั้นถูกจริตตนเอง ก็จะเกิดความพึงพอใจ ความยินดี สิ่งที่พิจารณานั้น ก็อาจไม่ถูกต้องตามจริงนัก...


เพิ่มเติม: เราเข้าใจว่า การให้ความหมายว่า เอกัคคตาคือ 1 สภาวะนั้น เหตุก็เป็นแบบที่ว่ามาคือ จิตเข้าภวังค์ในฌาณ 4 ซึ่งเป็นภวังค์ขั้นสูง (ภวังคุปัจเฉก) ภวังค์ระดับนี้ หากเข้าเป็นเวลายาวนานโดยพระอริยะ จะเรียกว่า นิโรธสมาบัติ

เมื่อเกิดเหตุที่จิตดับจำศีลอยู่ จึงเกิดการพยายามค้นหาว่า เหตุใดฌาณ 4 จึงเป็นเช่นนั้น และเพราะว่า ฌาณ 4 ประกอบด้วยอุเบกขาและเอกัคคตา จึงตีความไปว่า อุเบกขาคือการวางเฉย ทำให้สังขารดับ เอกัคคตาคือ 1 สภาวะ ทำให้จิตดับ โดยลืมไปว่า เอกัคคตานั้น มีในทุกฌาณ


เพิ่มเติม 2: ที่เราไม่คิดว่า อุเบกขาในฌาณ 4 ทำให้สังขารดับนั้น เพราะในทางธรรมนั้น เขาไม่ใช้คำในหลายความหมาย หากจะให้ความหมายว่า ดับ ก็น่าจะใช้คำว่า นิโรธ ไปเลย ไม่ใช่ใช้คำว่า อุเบกขา เพื่อให้ตีความหมายต่อว่า ดับ
ภาษาธรรมไม่ใช่ภาษากฎหมาย...

ในการใช้ธรรมฤทธิ์ต่างๆ เข้าใจว่า เขาก็ใช้กันในฌาณ 4 เช่น ในกรณีรักษาตนเองของพระบางรูปนั้น เมื่อป่วยก็รู้ว่าป่วย เป็นไข้ก็รู้ว่าเป็นไข้ แต่ด้วยอุเบกขาทำให้อาการป่วยนั้น ไม่ไปกระทบกับสภาวะเอกัคคตา จึงสามารถใช้ความเป็นเอกัคคตานั้น รักษาตนเองได้
เรื่องวางเฉยอะไรนี่ ต้องรู้ด้วยตนเอง อธิบายลำบาก... แต่ไม่ใช่ดับแน่


โพสต์ เมื่อ: 27 ก.ค. 2009, 14:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีครับ ท่านกามโภคี



อ้างคำพูด:
ก็มัวแต่ไปอ่านไปคิด ทำเลย...อย่าช้า
แล้วจะรู้เองว่าเป็นอย่างไร...ข้อนี้หมดสงสัยสำหรับผู้ปฏิบัติ
บทและพยัญชนะมีไว้เป็นแนวทางเท่านั้น
ปฏิบัติมีไว้ให้เข้าถึงความหมายของบทและพยัญชนะ
อ่านหรือคิดเข้าถึงไม่ได้


อนุโมทนา กับท่านใดก็ตามที่พากเพียรปฏิบัติน่ะครับ :b8:
และ ก็เป็นความจริงที่ว่า การสิ้นสงสัยจะบังเกิดด้วยการปฏิบัติจนเห็นแจ้งเท่านั้น

แต่ ในสถานการณ์ปัจจุบัน ที่มีความคิดเห็นในเรื่อง สมถะ-วิปัสสนา ของแต่ล่ะสำนัก แตกต่างกันอย่างสุดขั้ว...ผู้ปฏิบัติตามแนวทางของแต่ล่ะสำนัก ย่อมเห็นแตกต่างกันสุดขั้ว เช่นกัน...ดังนั้น การเสวนาในประเด็น สมถะ-วิปัสสนา คงไม่สามารถใช้แนวทางการปฏิบัติของแต่ล่ะสำนัก(หรือ ของแต่ละคน)เป็นหลักได้...เพราะ มันแตกต่างกันอย่างสุดขั้ว มาตั้งแต่ต้นแล้ว

ผมจึงเห็นความสำคัญของพระพุทธพจน์แปลไทย ซึ่งจะช่วยเป็นหลักสำคัญให้ความคิดเห็นที่แตกต่างกันนี้ มีจุดร่วมที่ยอมรับร่วมกันได้...ในลักษณะแห่งมหาปเทส นั่นเอง.



อ้างคำพูด:
๒ คำนี้ถ้าคิดก็จะขัดกันเอง เช่น

เอกัคคตาจิต หมายถึง มีอารมณ์เดียว
การพิจารณา หมายถึง การรู้เห็น เข้าใจ ในแง่มุมต่างๆ



คำว่า เอกัคตตาจิต กับคำว่า พิจารณา นั้นไม่ขัดกันหรอก...ถ้าเป็น เอกัคคตาจิตที่เป็นไปในทางแห่งอริยมรรค

แต่ถ้าเป็น เอกัคตตาจิตของฤาษีนอกพระศาสนา ล่ะก็ ...เอกัคคตาจิตแบบนี้ ไม่สามารถพิจารณาอะไรได้แน่นอน


ประเด็น มันอยู่ตรงที่ว่า

ถ้าขึ้นชื่อว่า เป็นเอกัคคตาจิต(ฌาน)แล้ว ทุกๆชนิด จะต้องไม่สามารถมีสติ จะต้องไม่สามารถพิจารณาอะไรได้ทั้งสิ้น จริงหรือเปล่า???

ถ้าเป็นเอกัคคตาจิต(ฌาน) แบบชนิดที่ สามารถมีสติ และ สามารถพิจารณาอะไรได้อยู่ ...."เอกัคคตตาจิต"แบบนี้ย่อมไม่ขัดกับ คำว่า "พิจารณา"หรอก



ลองอ่าน อินทริยภาวนาสูตร

http://202.44.204.76/cgi-bin/stshow.pl? ... tart=10862

ดูกรอานนท์
นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง
เธอทั้งหลายจงเพ่งฌาน อย่าได้ประมาท อย่าได้เป็นผู้เดือดร้อนในภายหลัง
นี้เป็นคำพร่ำสอนของเราแก่พวกเธอ ฯ



ในพระสูตรนี้ กล่าวถึง" การเจริญอินทรีย์อันไม่มีวิธีอื่นยิ่งกว่า ในวินัยของพระอริยะ" ในท้ายพระสูตรตรัสสรุปด้วยคำว่า "เพ่งฌาน"

การเพ่งฌาน แบบในพระสูตรนี้ ไม่จำป็นต้อง ตาดับ หูดับ ๆลๆ เสียด้วยซ้ำ(พระพุทธองค์ทรงปฏิเสธการเจริญอินทรีย์แบบปาราสิยาพราหมณ์ ที่ต้อง ตาดับ หูดับ)

กล่าวคือ เมื่อ อายตนะภายในรับทราบรูป เสียง กลิ่น รส กายสัมผัส ธรรมารมณ์ จิตตั้งมั่นเป็นกลางไม่ไหลไปกับอารมณ์
คือ ไม่ไหลไปเป็นชอบใจ ไม่ไหลไปเป็นไม่ชอบใจ ไม่ไหลไปเป็นชอบใจปนไม่ชอบใจ..
จิต ตั้งมั่นเป็นกลาง ได้อย่างทันทีที่อายตนะภายในรับทราบรูป เสียง กลิ่น รส กายสัมผัส ธรรมารมณ์
(ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งดับความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ อันเกิดขึ้นแล้วอย่างนี้ ได้เร็วพลันทันที โดยไม่ลำบาก.... เปรียบเทียบต่างๆ)

ลักษณะ ที่จิตตั้งมั่นเป็นกลาง ไม่ไหลไปกับอารมณ์ อย่างรวดเร็วและไม่ลำบาก ทันทีที่มีการกระทบของอายตนะภายในกับ รูป เสียง ๆลๆ เป็นผลจากสติที่เข้มแข็ง.... เป็นกระบวนการทางสมถะ ที่ตรัสระบุด้วยคำว่า"เพ่งฌาน"



ในพระสูตรนี้ พระพุทธองค์ทรงตรัสถึงคำว่า"รู้ชัด"คือ มีสติระลึกได้ เอาไว้ ดังนี้

[๘๕๗] ดูกรอานนท์ ประการอื่นยังมีอีก
ภิกษุเกิดความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจขึ้น เพราะได้ยินเสียงด้วยโสต เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า เราเกิดความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจขึ้นแล้วเช่นนี้ ก็สิ่งนั้นแล เป็นสังขตะ หยาบ อาศัยการเกิดขึ้น ยังมีสิ่งที่ละเอียด ประณีต นั่นคืออุเบกขาๆลๆ



การเพ่งฌาน(เจริญเอกัคคตาจิต) ในพระสูตรนี้ เป็นความหมายแห่งสัมมาสมาธิ เพราะ มีสัมมาสติเป็นเหตุนำ
(ลอง อ่านเปรียบเทียบ กับ การที่สำรวมอินทรีย์ เจริญสติปัฏฐาน แล้วบังเกิดเป็นฌาน ใน ทันตภูมิสูตรที่๕ดู ทั้งสองพระสูตรนี้ เป็นไปในทิศทางเดียวกัน คล้ายๆกัน)

ฌาน(เอกัคคตาจิต) ในพระสูตรนี้ บังเกิดสืบเนื่องไปกับ การ"รู้ชัด"(สติ).... แล้ว จะไปกล่าวว่า เอกัคคตาจิตต้องไม่สามารถพิจารณาอะไรเลยได้อย่างไร???


โพสต์ เมื่อ: 27 ก.ค. 2009, 15:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


อารมณ์อันเดียว คือ ความที่จิตมีอารมณ์เดียว หรือ เอกัคคตารมณ์

จิตที่มีอารมณ์เดียว คือ เอกัคคตาจิต

เอกัคคตาจิต(ฌาน)
ปรากฏในพระสูตรที่ตรัสถึง สัมมาสมาธิ ที่แสดงด้วยองค์แห่งฌาน(ในมหาสติปัฏฐานสูตร สัจจบรรพ)
ปรากฏในพระสูตรที่ตรัสถึง สมาธินทรีย์ว่า เป็นเอกัคคตาจิต(ในสัทธาสูตร)ที่นำไปสู่ปัญญิณทรีย์
ปรากฏในพระสูตรที่ตรัสถึง อริยะสมาธิ ว่าเป็นเอกัคคตาจิต(ในปริกขารสูตร)ที่มีองค์แห่งอริยมรรคอีกเจ็ดเป็นบริขาร
ปรากฏในพระสูตรที่ตรัสถึง เพราะมีสัมมาสมาธิ(เอกัคคตาจิตที่ห้อมล้อมด้วยองค์อริยมรรคอีกเจ็ด)จึงเป็นเหตุให้สัมมาญาณะบริบูรณ์(มหาจัตตารีกสูตร)



เป็นที่น่าเสียดายว่า ในปัจจุบัน คำว่า เอกัคคตตาจิต(ฌาน)จะถูกจำกัดไว้แต่เพียง เอกัคคตาจิตแบบของพระฤาษีนอกศาสนา เช่น จากการเข้าไปเพ่งกสิณ เข้าไปสงบเฉยๆและไม่เกิดปัญญา เท่านั้น....

โดย มองว่า เอกัคคตาจิต ที่ปรากฏในพระสูตรต่างๆ ล้วนแต่"เป็นแบบเดียว" หรือ "เหมือนกันทุกประการ" กับ เอกัคตาจิตแบบของพระฤาษีนอกศาสนา ทั้งสิ้น

ทำให้ ความหมายของ เอกัคคตาจิต ที่ปรากฏในพระสูตรถูกมองด้วยความเข้าใจผิด

และ บางท่านถึงกับเชื่อว่า สมาธิปิดกั้นการเกิดปัญญา และ ในการภาวนาต้องระวังไม่ให้มีสมถะ(เอกัคคตาจิต)เกิดขึ้น




ในระดับพระสูตร ยุคนัทธวรรค ยุคนัทธกถา

ท่านแสดงเรื่อง เอกัคคตารมณ์ที่ได้มาจากกระบวนการด้านปัญญา(วิปัสสนา)เอาไว้ ในบทว่า "การเจริญวิปัสสนา มีสมถะเป็นเบื้องหน้า"

ในพระสูตรนี้ ถ้า สมถะ ที่แสดงด้วย ความมีอามณ์เดียว เป็นแบบเดียวกับของพระฤาษีนอกพระศาสนาแล้ว...
ใครช่วยอธิบายทีว่า "ทำไม วิปัสสนาที่กล่าวว่าเป็นเอกสิทธิ์ของพระพุทธเจ้า จึงเป็นเหตุนำไปสู่ผล คือ สมถะที่เป็นแบบเดียวกับของพระฤาษีนอกพระศาสนาเข้า???"



...................................



ได้อ่านพบ โอวาทพระสุปฏิปันโนในยุคปัจจุบันที่ท่านกล่าวถึงเรื่องนี้ไว้

เผื่อว่าใครยังไม่เคยอ่าน


โอวาทธรรม หลวงปู่ ชา สุภัทโท :b8:


คนภาวนาเป็น มีอารมณ์เป็นอันเดียว

อารมณ์อันเดียวคืออะไร?

ไม่เอาเรื่องกับใคร เรียกว่าอารมณ์อันเดียว

มันเปลี่ยนจากอารมณ์อันเดียวของสมถกรรมฐาน สมถกรรมฐานเอาเรามาเรียนภาวนาพุทโธ ๆ ๆ ๆ อันเดียว มันน้อยไป ถ้ามันพลาดจากพุทโธแล้วมันไปที่ไหนก็ได้ .....

อารมณ์อันเดียวคืออารมณ์วิปัสสนานั่นแหละ ....ไม่มีชั่ว ไม่มีดี ....มีดี มีชั่ว แต่จิตของเราอยู่เหนือชั่วเหนือดีทั้งนั้น ฉะนั้นเป็นอารมณ์อันเดียวอย่างนี้

ปล่อยมันทิ้งไป เรื่องอนิจจังทุกขังอนัตตาหมดทั้งสิ้นอย่างนี้

นี้การปล่อยวางทั้งหมด นั้นเรียกว่าการภาวนาที่ถูกต้อง




เสนอ ให้ย้อนกลับไปอ่าน อินทริยภาวนาสูตร เปรียบเทียบกับ ที่หลวงปู่ชาแสดงไว้

อารมณ์อันเดียวนี้ ไม่จำเป็นว่าจะต้องรับรู้อย่างเดียวเท่านั้น...
แม้น รับรู้หลายอย่าง แต่ หากจิตตั้งมั่นไม่ไหลไปกับอารมณ์ที่หลากหลายเหล่านั้น

เช่น

แม้นรับรู้เรื่องราวที่น่าเสียใจ แต่ ไม่เสียใจไปด้วย... แม้นรับรู้เรื่องราวที่น่าดีใจ แต่ ไม่ดีใจไปด้วย... จิตตั้งมั่นเป็นกลางอยู่

แม้นรับรู้เรื่องราวที่น่าชัง แต่ จิตไม่ชังไปด้วย... แม้นรับรู้เรื่องราวที่น่าชอบ แต่ จิตไม่ชอบไปด้วย... จิตตั้งมั่นเป็นกลางอยู่

ก็เรียกว่า มีอารมณ์เดียว เช่นกัน


โพสต์ เมื่อ: 27 ก.ค. 2009, 15:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
โอวาทธรรม หลวงปู่ ชา สุภัทโท

คนภาวนาเป็น มีอารมณ์เป็นอันเดียว

อารมณ์อันเดียวคืออะไร?

ไม่เอาเรื่องกับใคร เรียกว่าอารมณ์อันเดียว

มันเปลี่ยนจากอารมณ์อันเดียวของสมถกรรมฐาน สมถกรรมฐานเอาเรามาเรียนภาวนาพุทโธ ๆ ๆ ๆ อันเดียว มันน้อยไป ถ้ามันพลาดจากพุทโธแล้วมันไปที่ไหนก็ได้ .....

อารมณ์อันเดียวคืออารมณ์วิปัสสนานั่นแหละ ....ไม่มีชั่ว ไม่มีดี ....มีดี มีชั่ว แต่จิตของเราอยู่เหนือชั่วเหนือดีทั้งนั้น ฉะนั้นเป็นอารมณ์อันเดียวอย่างนี้

ปล่อยมันทิ้งไป เรื่องอนิจจังทุกขังอนัตตาหมดทั้งสิ้นอย่างนี้

นี้การปล่อยวางทั้งหมด นั้นเรียกว่าการภาวนาที่ถูกต้อง





มี พระพุทธพจน์

ที่ตรัสแสดงถึง เอกัคคตาจิตซึ่งบังเกิดจากการปล่อยวาง(มีการปล่อยวางเป็นอารมณ์) ไว้ดังนี้


" กตมญฺจ ภิกฺขเว สมาธินฺทฺริยํ ฯ

อิธ ภิกฺขเว อริยสาวโก โวสฺสคฺคารมฺมณํ กริตฺวา ลภติ สมาธึ ลภติ จิตฺตสฺส เอกคฺคตํ ฯ อิทํ วุจฺจติ ภิกฺขเว สมาธินฺทฺริยํ ฯ


“..อินทรีย์คือสมาธิ (สมาธินทรีย์) เป็นไฉน ?

(คือ) อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ กำหนดเอาภาวะปล่อยวางเป็นอารมณ์แล้ว ได้สมาธิ ได้เอกัคคตาแห่งจิต นี้เรียกว่า อินทรีย์คือสมาธิ”






เอกัคคตาจิต นี้คือ สมาธินทรีย์...ซึ่ง เป็นเหตุนำไปสู่ปัญญิณทรีย์

จิตที่มีอารมณ์เดียวซึ่งเกิดจากการปล่อยวางนี้ จึงสามารถทำให้เกิดปัญญาได้...อย่างแน่นอน


โพสต์ เมื่อ: 27 ก.ค. 2009, 15:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


ตรงประเด็น เขียน:

ลองอ่าน อินทริยภาวนาสูตร
http://202.44.204.76/cgi-bin/stshow.pl? ... tart=10862
ดูกรอานนท์
นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง
เธอทั้งหลายจงเพ่งฌาน อย่าได้ประมาท อย่าได้เป็นผู้เดือดร้อนในภายหลัง
นี้เป็นคำพร่ำสอนของเราแก่พวกเธอ ฯ


ฌาน ๒
อารัมมณูปนิสัชฌาน เพ่งอารมณ์ (สมถะ)
ลักขณูปนิสัชฌาน เพ่งลักษณะ (วิปัสสนา)

ทรงให้เพ่งแบบนี้ครับ ลองคิดดูว่า ถ้ามีวิธีและผลเหมือนกัน จะแยกไว้ทำไม ๒ อย่าง

ตรงประเด็น เขียน:
กล่าวคือ เมื่อ อายตนะภายในรับทราบรูป เสียง กลิ่น รส กายสัมผัส ธรรมารมณ์ จิตตั้งมั่นเป็นกลางไม่ไหลไปกับอารมณ์
คือ ไม่ไหลไปเป็นชอบใจ ไม่ไหลไปเป็นไม่ชอบใจ ไม่ไหลไปเป็นชอบใจปนไม่ชอบใจ..
จิต ตั้งมั่นเป็นกลาง ได้อย่างทันทีที่อายตนะภายในรับทราบรูป เสียง กลิ่น รส กายสัมผัส ธรรมารมณ์


ขอรบกวนอธิบายคำว่าไม่ไหลไปในอารมณ์หน่อยครับ เพราะไม่ไหลของคุณอาจจะกว้าง
กว่าไม่ไหลของเอกัคคตาจิตแล้ว
โดยปกติจิตเสวยอารมณ์ได้ครั้งละ ๑ เท่านั้น จิตที่เกิดหลัง จะมีสภาวะเหมือนกับที่เกิดก่อนทุกประการ
ในขณะเป็นเอกัคคตาจิต หากจิตที่เกิดหลังมีสภาพต่างออกไปจากที่เกิดก่อน จัดว่าไหลไปในอารมณ์
อื่นแล้ว เช่น จิตมั่นอยู่บริกรรมว่าพุทโธ ย่อมจะต้องเป็นพุทโธไม่ว่าจะกี่ขณะก็ตาม เมื่อจิตหลุดไปจาก
บริกรรมแล้ว จัดว่าไหล หรือจิตที่ยึดปฏิภาคนิมิตอยู่ได้ ก็คือการที่จิตแรกมีนิมิตนั้นเป็นอารมณ์อยู่
เมื่อจิตที่เกิดหลังมีนิมิตเช่นเดียวกันเกิดตามมาอีก เหมือนแรกทุกประการ จิตก็จะเป็นเอกัคคตาอยู่
หากจิตส่ายไปพิจารณาอารมณ์อื่นแล้ว จิตแรกและจิตที่เกิดหลัง คุณคิดว่าเหมือนกันหรือไม่

เอกัคคตาจิต ไม่ใช่จิตที่จะยึดอยู่ในอารมณ์ใดนาน วูบเดียวก็จัดเป็นเอกัคคตาจิตได้ เป็นได้ทั้งเกิดมา
แค่ชั่วฟ้าแลบหรือนานมากก็ได้ ที่เขาเถียงกันมานานเพราะไม่เข้าใจว่า เอกัคคตาจิตนั้น มีได้แม้เพียง
เวลาเล็กน้อย แต่มุ่งคิดว่านั่งยาวกันเป็นเวลานานๆ เขาถึงได้ออกมาเถียงกันหนักหนาว่าพิจารณาอะไร
ไม่ได้ เพราะเงียบไป ตัวอย่างเรื่องเวลาของเอกัคคตาจิตก็คือ ในขณะที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงยมก
ปาฏิหาริย์ ทรงเข้ากสิณต่างๆเพื่อแสดงฤทธิ์ออกมา ดุจว่าน้ำไฟเกิดพร้อมกัน ซึ่งการเข้ากสิณฌานของ
พระองค์ไวมาก สลับเข้าออกกสิณฌานต่างๆไวมาก ตรงนี้เองทำให้ผมเชื่อว่า เวลาเล็กน้อย
เอกัคคตาก็มีได้ ฉนั้นผมเลยไม่สงสัยเรื่องในพระพุทธพจน์ที่แสดงว่ามีองค์คุณต่างๆในฌานทั้งหลาย
เพราะสลับกันได้ไว องค์คุณต่างๆบางอย่างก็เจือสมไปในตัว เช่น สติ สมาธิ เป็นของคู่กันเลย พูดถึงสมาธิ สติก็มีอยู่ แม้ไม่กล่าวถึงสติ ก็เข้าใจได้ว่า สติมีอยู่ เพราะอาศัยกันเกิด แต่ให้แยกจะแยกไม่ได้
แยกเมื่อไร สมาธิก็หายทันที

ขอบคุณครับ สำหรับการแนะนำพระสูตรดีๆ ว่างๆจักอ่าน ตอนนี้เร่งความเพียรในการปฏิบัติ
มากกว่าปกติอีก ๑ เท่าตัว และเร่งพิมพ์ต้นฉบับหนังสือทำมืออยู่
เลยไม่ค่อยได้อ่านศึกษาพระไตรปิฎก พอละจากบัลลังค์กรรมฐาน ละจาการพิมพ์ ก็จะเปิดเนตผ่อนคลาย
ที่เวบนี้เป็นประจำ

ผมอยากให้คุณตรงฯหาพระสูตรที่พระพุทธเจ้าสอนเดินจงกรมให้ผมหน่อย เอาตรงที่ท่านบอก
เลยว่า เดินอย่างไร มือวางอย่างไร กำหนดอย่างไรหรือพิจารณาอย่างไร วิธีเข้าปฐมฌาน เช่น
เข้าอย่างไร ละวิตกวิจารณ์อย่างไร เวลาละสองตัวนี้ ให้กำหนดอย่างไร

ผมเข้าใจว่า ที่ปรากฏในพระไตรปิฎกนั้น เป็นลำดับเทศนา แสดงไปตามลำดับๆ บันทึกตามลำดับๆ
การจะรู้วิธีเช่น การทำสมถะให้เป็นวิปัสสนา หรือการละวิตกวิจารณ์เป็นต้น คงต้องหาวิธีในอรรถกถา
หรือฎีการอื่นที่อธิบายไว้แล้วครับ

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสต์ เมื่อ: 27 ก.ค. 2009, 16:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


เฮ่อ...คุณตรงฯ (ตรงจริงๆ)
แหม๋เข้าใจหาพระสูตร อย่ามัววุ่นวายเลย
ผมยุบหนอพองหนอนี่ก็เอกัคคตาอยู่ บางทีผมอานาปานะสติแก้ฟุ้งซ่าน ผมก็เอกัคคตาจิตอยู่
เมื่อก่อนตอนอายุซัก ๒๐-๒๑ ปี ก็ เตโชๆ อยู่ ก็เอกัคคตาจิต

เวลายุบหนอพองหนอ เวลาที่รู้แต่ละขณะ นั่นก็เอกัคคตาจิตเป็นขณะๆไป
เวลาผมอานาฯ จิตหน่วงกับลมหายใจเป็นสายไป ก็เอกัคคตาจิต แต่ผมให้เกิดยาวหน่อย
เวลาผมเตโชๆ เมื่อก่อน ก็เอกัคคตาจิต แต่กอดนิมิตด้วย

ไม่ว่าจะสมถะ วิปัสสนา ก็เอกัคคตาจิตครับ แต่ระยะที่เกิด ไม่เกิดนานติดกันจนทำอะไรไม่
ได้เท่านั้นเอง ผมเข้าใจว่า สมาธิ หรือ เอกัคคตาจิตของพระพุทธเจ้าต่างจากของฤาษีก็ตรง
ที่ของฤาษีเกิดกันนานมากจนทำอะไรไม่ได้ แต่ของพระพุทธเจ้า ท่านคงไม่นานแบบฤาษีทำ

เอกัคคตาจิตที่พระองค์ตรัสไว้ตามที่ต่างๆ ท่านหมายถึงมีสภาพเดียว อารมณ์เดียว เมื่อย้ายไป
สู่อารมณ์อื่น ก็จะมีอารมณ์นั้นสภาพนั้น แต่ไม่สัดส่ายด้วยนิวรณ์ทั้งหลาย

ส่วนที่เขาเข้าใจกันว่า ฌาน ก็มีครับ หมายถึงฌานเพียวๆเลย ฌานแบบทำอะไรไม่ได้เลย
ตามความหมายที่ผมจะยกให้ดูข้างล่าง ทีนี้ คุณเข้าใจแบบของพระพุทธเจ้า อีกฝ่ายเข้าใจแบบฌาน
ของฤาษี ศัพท์แสงหรือก็คล้ายกัน บางทีอันเดียวกันอีก ก็อาจเข้าใจว่าเรื่องเดียวกัน ผมว่า อาจเถียง
กันในเรื่องเดียวกัน แต่คนละความหมายหรือเปล่า

มาดูที่ผมจะอธิบายนะครับ พวกแรกเข้าใจแบบคุณตรงฯ พวกที่สอง เข้าใจแบบนี้

ฌานแบบฤาษีที่มีก่อนพระพุทธเจ้าตรัสรู้ (นัย ๔)

วิตก บริกรรม
วิจารณ์ ประครองใจให้อยู่ในบริกรรม
ปีติ ความอิ่มในสมาธิ
สุข ความพอใจในอารมณ์
เอกัคคตา อารมณ์เดียว

เตโชๆๆ นี่ อันนี้ วิตก ในขณะทำกสิณอยู่ ระวังไม่ให้ใจไปนอกเตโชๆ อันนั้นอ่ะ วิจารณ์
เมื่อระวังสองอย่างแล้ว สมาธิมี ความอิ่มใจในสมาธิก็เกิดขึ้น เพราะสงบเพราะสมาธิ ใจก็เลย
พอใจ เป็นสุข จากนั้น ก็อยู่ที่สุขอย่างเดียว(เอกัคคตา)

พอละเอียดขึ้นอีก ต้องละ วิตก วิจารณ์ เพราะต้องทิ้งบริกรรมกับการระวัง ไม่งั้นไม่ละเอียดได้
พอละได้ ก็เป็น ปีติ สุข เอกัคคตา
ข้อสังเกต ในปฐมฌานนั้น มีเสียงเป็นเสี้ยนหนาม ตรงนี้บอกเลยว่า เสียงดังก็ทำให้การบริกรรม
กับการประครองจิตส่ายได้ (และก็จริงๆนะ)
พอจะเข้าเป็นทุติย- ก็ต้องละวิตก วิจารณ์ คือต้องละการมองวงกสิณ เช่นไฟ และ การบริกรรม
เพราะสองอย่างนี้หยาบมาก ถ้าละไม่ได้ ก็เข้าทุติยะไม่ได้
พอเข้าตติยะ ละเอียดอีก ต้องละปีติเพิ่มอีก เพราะปีติหยาบ ยังมีความรู้สึกอิ่มใจ ยังมีอาการทางกาย
พอเข้าจตุตถะ ละเอียดขึ้นอีก ต้องละสุข เหลือไว้คือ เอกัคคตา และ อุเบกขา(วางเฉย) เพราะสุข
ที่ใจรู้นั้นยังหยาบ
อันที่ ๔ นั่นแล ที่มานั่งเถียงกัน เพราะอีกฝ่ายบอกว่า มีอารมณ์เดียว คือเอกัคคตา อุเบกขา
(อันนี้ความจริงแล้ว เป็นองค์คุณเจือสมระหว่างอุเบกขากับเอกัคคตา เพราะถ้าไม่เฉย ก็ไม่มีอารมณ์
เดียว เพราะถ้ามีอารมณ์เดียว ก็เลยเฉย)

มาดูที่ความหมายของ เอกัคคตาจิตที่ผมเข้าใจ อาจเป็นพวกที่สามก็ได้

ผมยึดตามหลักสูตรของจุฬาลงกรณ์(วิทยาลัยสงฆ์และอภิธรรมโชติกวิทยาลัยครับ) เขาว่า

เอกัคคตาจิตมี ๓ ระดับ
๑.ขณิก ๒.อุปจาระ ๓.อัปปันนา

จบเลย ผมเข้าใจเลยว่า พระองค์หมายถึงอะไรในคำว่าเอกัคคตาจิต เลยไม่ต้องหาหลักฐานที่ไหนมา
ให้วุ่นวาย ที่เราเข้าใจถูกแล้ว เพราะเชื่อมานานว่า วิปัสสนาก็เอกัคคตา สมถะก็เอกัคคตา
แต่จะอธิบายเอกัคคตาแบบไหนอย่างไร ก็เพียงแต่ดูที่เหมาะที่ควรกันก็เท่านั้น

ขอบคุณคุณตรงมากครับ
ผมอยากให้คุณตรงปฏิบัติวิปัสสนาให้ถึงที่สุดจริงๆ คุณเป็นคนมีความรู้มาก
ได้ช่วยงานศาสนาในอนาคตได้ มีแง่มุมที่มาก จากที่คุยมาหลายเวลา ก็รู้ได้ว่าคุณ
รักเคารพศรัทธาคำสอนพระพุทธเจ้ามากขนาดไหน ตรงนี้เองที่บอกได้ว่า คุณช่วย
พระศาสนาได้มาก

อนุโมทนาครับ

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสต์ เมื่อ: 27 ก.ค. 2009, 19:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.พ. 2009, 20:42
โพสต์: 699


 ข้อมูลส่วนตัว


เพิ่มเติมอีกเล็กน้อย...

อันที่จริง ฌาณของพวกฤาษีและของพุทธนั้น ก็ไม่ได้แตกต่างกันเท่าไรหรอก มีวิธีการที่เรียกว่า เหมือนกันเลย... แต่ความต่างมันอยู่ตรงที่ว่า

เมื่อถึงฌาณ 4 พ้นนิมิตทั้งหลายแล้ว... ฤาษีหรือจะใช้คำว่า สมถะสมาธิ ก็ได้ จะปล่อยจิตให้ว่างอยู่อย่างนั้น ซึ่งจิตจะอยู่เฉยได้ไม่นาน ก็จะเข้าภวังค์ไป พระภิกษุบางรูปที่แก่กล้ามากๆ ก็สามารถเข้าภวังค์ได้ยาวนาน หรือที่เรียกว่า นิโรธสมาบัติ

แต่สำหรับทางพุทธ หรือจะใช้คำว่า วิปัสสนาสมาธิ ก็ได้ เมื่อถึงฌาณ 4 จะไม่ปล่อยจิตให้ว่างอย่างนั้น (คือไม่ให้เข้าภวังค์) จะเอาสภาวะในขณะนั้นมาพิจารณาธรรมต่างๆ จนเกิดเป็น วิปัสสนาญาณ ขึ้น

ฤาษีต่างๆ เมื่อเข้าสู่ทางพุทธ จึงบรรลุธรรมได้อย่างรวดเร็ว เพราะสิ่งที่ต้องปรับเปลี่ยนมีแค่ว่า อย่าปล่อยให้เข้าภวังค์เท่านั้น...
และนี่เป็นที่มาของคำว่า สมถะไม่ใช่ทางหลุดพ้น แต่กลายเป็นว่า เอามาใช้เพื่อโจมตีการทำสมาธิ ซึ่งถือเป็นความโง่เขลาอย่างยิ่ง เพราะ สมถะที่ไม่ใช่ทางหลุดพ้นนั้น คือสมถะในฌาณ 4 สมถะในภวังคุปัจเฉก ไม่ใช่การทำสมาธิแบบเราๆ ท่านๆ ที่ปฏิบัติกันอยู่


โพสต์ เมื่อ: 27 ก.ค. 2009, 19:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2009, 17:25
โพสต์: 281

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตรงประเด็น เขียน:
อารมณ์อันเดียว คือ ความที่จิตมีอารมณ์เดียว หรือ เอกัคคตารมณ์

จิตที่มีอารมณ์เดียว คือ เอกัคคตาจิต

เอกัคคตาจิต(ฌาน)
ปรากฏในพระสูตรที่ตรัสถึง สัมมาสมาธิ ที่แสดงด้วยองค์แห่งฌาน(ในมหาสติปัฏฐานสูตร สัจจบรรพ)
ปรากฏในพระสูตรที่ตรัสถึง สมาธินทรีย์ว่า เป็นเอกัคคตาจิต(ในสัทธาสูตร)ที่นำไปสู่ปัญญิณทรีย์
ปรากฏในพระสูตรที่ตรัสถึง อริยะสมาธิ ว่าเป็นเอกัคคตาจิต(ในปริกขารสูตร)ที่มีองค์แห่งอริยมรรคอีกเจ็ดเป็นบริขาร
ปรากฏในพระสูตรที่ตรัสถึง เพราะมีสัมมาสมาธิ(เอกัคคตาจิตที่ห้อมล้อมด้วยองค์อริยมรรคอีกเจ็ด)จึงเป็นเหตุให้สัมมาญาณะบริบูรณ์(มหาจัตตารีกสูตร)



เป็นที่น่าเสียดายว่า ในปัจจุบัน คำว่า เอกัคคตตาจิต(ฌาน)จะถูกจำกัดไว้แต่เพียง เอกัคคตาจิตแบบของพระฤาษีนอกศาสนา เช่น จากการเข้าไปเพ่งกสิณ เข้าไปสงบเฉยๆและไม่เกิดปัญญา เท่านั้น....

โดย มองว่า เอกัคคตาจิต ที่ปรากฏในพระสูตรต่างๆ ล้วนแต่"เป็นแบบเดียว" หรือ "เหมือนกันทุกประการ" กับ เอกัคตาจิตแบบของพระฤาษีนอกศาสนา ทั้งสิ้น

ทำให้ ความหมายของ เอกัคคตาจิต ที่ปรากฏในพระสูตรถูกมองด้วยความเข้าใจผิด

และ บางท่านถึงกับเชื่อว่า สมาธิปิดกั้นการเกิดปัญญา และ ในการภาวนาต้องระวังไม่ให้มีสมถะ(เอกัคคตาจิต)เกิดขึ้น




ในระดับพระสูตร ยุคนัทธวรรค ยุคนัทธกถา

ท่านแสดงเรื่อง เอกัคคตารมณ์ที่ได้มาจากกระบวนการด้านปัญญา(วิปัสสนา)เอาไว้ ในบทว่า "การเจริญวิปัสสนา มีสมถะเป็นเบื้องหน้า"

ในพระสูตรนี้ ถ้า สมถะ ที่แสดงด้วย ความมีอามณ์เดียว เป็นแบบเดียวกับของพระฤาษีนอกพระศาสนาแล้ว...
ใครช่วยอธิบายทีว่า "ทำไม วิปัสสนาที่กล่าวว่าเป็นเอกสิทธิ์ของพระพุทธเจ้า จึงเป็นเหตุนำไปสู่ผล คือ สมถะที่เป็นแบบเดียวกับของพระฤาษีนอกพระศาสนาเข้า???"



...................................



ได้อ่านพบ โอวาทพระสุปฏิปันโนในยุคปัจจุบันที่ท่านกล่าวถึงเรื่องนี้ไว้

เผื่อว่าใครยังไม่เคยอ่าน


โอวาทธรรม หลวงปู่ ชา สุภัทโท :b8:


คนภาวนาเป็น มีอารมณ์เป็นอันเดียว

อารมณ์อันเดียวคืออะไร?

ไม่เอาเรื่องกับใคร เรียกว่าอารมณ์อันเดียว

มันเปลี่ยนจากอารมณ์อันเดียวของสมถกรรมฐาน สมถกรรมฐานเอาเรามาเรียนภาวนาพุทโธ ๆ ๆ ๆ อันเดียว มันน้อยไป ถ้ามันพลาดจากพุทโธแล้วมันไปที่ไหนก็ได้ .....

อารมณ์อันเดียวคืออารมณ์วิปัสสนานั่นแหละ ....ไม่มีชั่ว ไม่มีดี ....มีดี มีชั่ว แต่จิตของเราอยู่เหนือชั่วเหนือดีทั้งนั้น ฉะนั้นเป็นอารมณ์อันเดียวอย่างนี้

ปล่อยมันทิ้งไป เรื่องอนิจจังทุกขังอนัตตาหมดทั้งสิ้นอย่างนี้

นี้การปล่อยวางทั้งหมด นั้นเรียกว่าการภาวนาที่ถูกต้อง




เสนอ ให้ย้อนกลับไปอ่าน อินทริยภาวนาสูตร เปรียบเทียบกับ ที่หลวงปู่ชาแสดงไว้

อารมณ์อันเดียวนี้ ไม่จำเป็นว่าจะต้องรับรู้อย่างเดียวเท่านั้น...
แม้น รับรู้หลายอย่าง แต่ หากจิตตั้งมั่นไม่ไหลไปกับอารมณ์ที่หลากหลายเหล่านั้น

เช่น

แม้นรับรู้เรื่องราวที่น่าเสียใจ แต่ ไม่เสียใจไปด้วย... แม้นรับรู้เรื่องราวที่น่าดีใจ แต่ ไม่ดีใจไปด้วย... จิตตั้งมั่นเป็นกลางอยู่

แม้นรับรู้เรื่องราวที่น่าชัง แต่ จิตไม่ชังไปด้วย... แม้นรับรู้เรื่องราวที่น่าชอบ แต่ จิตไม่ชอบไปด้วย... จิตตั้งมั่นเป็นกลางอยู่

ก็เรียกว่า มีอารมณ์เดียว เช่นกัน



ให้ความรู้ดีครับ สาธุๆๆ

.....................................................
เราจะเดินให้สุดทาง http://www.thai.dhamma.org


โพสต์ เมื่อ: 27 ก.ค. 2009, 19:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3832

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณหมอ คุณกามครับ

ถ้าเรามีจิตตั้งมั่นขึ้นมาเอง แต่มันไม่อยู่กับเรานาน
เราขาดหรือว่าเรามีอะไรเกินหรือเปล่าครับ


โพสต์ เมื่อ: 27 ก.ค. 2009, 22:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


คุณ กามโภคี ครับ


อ้างคำพูด:
ขอรบกวนอธิบายคำว่าไม่ไหลไปในอารมณ์หน่อยครับ เพราะไม่ไหลของคุณอาจจะกว้าง
กว่าไม่ไหลของเอกัคคตาจิตแล้ว


การไม่ไหลไปตามอารมณ์ นั้น ถือเอาตาม อินทริยภาวนาสูตรนั้นเลยครับ

บังเกิดอารมณ์ชอบใจ....ก็ไม่เอา
บังเกิดอารมณ์ไม่ชอบใจ....ก็ไม่เอา
บังเกิดอารมณ์ทั้งชอบใจปนไม่ชอบใจ....ก็ไม่เอา

ยืนดู ยืนรู้..ด้วยจิตที่เป็นกลาง

จิตมีกำลัง สามารถละวางอารมณ์ทั้งหลายได้อย่างรวดเร็ว...นี่คือ สมถะ...
นี่คือ กำลังของจิต...
พระพุทธองค์ท่านทรงเรียกว่า เพ่งฌาน


ขั้นนี้ ถึงแม้นจะยังไม่บังเกิดปัญญาเห็นแจ้งในไตรลักษณ์(วิปัสสนาญาณ)ก็ตาม
แต่ ก็เป็นต้นทางที่นำไปสู่การเห็นแจ้ง

เพราะ จิตที่ไหลไปกับอารมณ์ ย่อมฟุบบ้าง ย่อมฟูบ้าง ...ไม่เป็นกลาง...ไม่เป็นหนึ่ง..ย่อมไม่มีทางที่จะรู้ตามจริงได้

วิปัสสนาญาณ ที่เรียกว่า สัมมาญาณะ จึง ยืนอยู่บนพื้นฐานของ สัมมาสมาธิ ด้วยเหตุนี้
(เพราะ มีสัมมาสมาธิ สัมมาญาณะ จึงพอเหมาะ(บริบูรณ์)..มหาจัตตารีสกสูตร)



อ้างคำพูด:
เอกัคคตาจิต ไม่ใช่จิตที่จะยึดอยู่ในอารมณ์ใดนาน วูบเดียวก็จัดเป็นเอกัคคตาจิตได้ เป็นได้ทั้งเกิดมา
แค่ชั่วฟ้าแลบหรือนานมากก็ได้


ตรงนี้ เข้าใจตรงกัน
ผมไม่เห็นด้วยกับการกำหนดระยะเวลา ว่า เอกัคคตาจิตต้องทรงตัวอยู่นาน... มานานโขแล้ว



อ้างคำพูด:
สติ สมาธิ เป็นของคู่กันเลย พูดถึงสมาธิ สติก็มีอยู่ แม้ไม่กล่าวถึงสติ ก็เข้าใจได้ว่า สติมีอยู่ เพราะอาศัยกันเกิด แต่ให้แยกจะแยกไม่ได้
แยกเมื่อไร สมาธิก็หายทันที


ตรงนี้ เข้าใจตรงกัน
แต่ ชาวพุทธบางส่วน เขาอาจจะไม่เข้าใจเช่นนี้น่ะครับ




อ้างคำพูด:
ผมอยากให้คุณตรงฯหาพระสูตรที่พระพุทธเจ้าสอนเดินจงกรมให้ผมหน่อย เอาตรงที่ท่านบอก
เลยว่า เดินอย่างไร มือวางอย่างไร กำหนดอย่างไรหรือพิจารณาอย่างไร


ถ้าพบ จะมาบอก



อ้างคำพูด:
เฮ่อ...คุณตรงฯ (ตรงจริงๆ)
แหม๋เข้าใจหาพระสูตร อย่ามัววุ่นวายเลย


พระสูตร เป็นหลักฐานอันดับหนึ่งครับ
การศึกษาพระพุทธพจน์โดยตรงจากพระสูตร โดยไม่ต้องผ่านความเห็นของอาจารย์ใดๆ มีประโยชน์หลายแง่มุม...
โดยเฉพาะ สถานการณ์ที่ปรากฏในปัจจุบัน




อ้างคำพูด:
เวลายุบหนอพองหนอ เวลาที่รู้แต่ละขณะ นั่นก็เอกัคคตาจิตเป็นขณะๆไป
เวลาผมอานาฯ จิตหน่วงกับลมหายใจเป็นสายไป ก็เอกัคคตาจิต แต่ผมให้เกิดยาวหน่อย
เวลาผมเตโชๆ เมื่อก่อน ก็เอกัคคตาจิต แต่กอดนิมิตด้วย



เอกัคตตาจิตที่สงัดจากกามจากอกุศล มีอริยมรรคทั้งเจ็ดห้อมล้อม(อริยะสัมมาสมาธิ)

หาใช่ว่า เอกัคคตาจิตที่กล่าวถึงนี้ เป็นของที่จะเกิดขึ้นได้ง่ายๆ น่ะครับ

ลองอ่าน ท่านสัปปทาสเถระคาถา


๖. สัปปทาสเถรคาถา
สุภาษิตแสดงผลการเห็นโทษสังขาร

[๓๕๒] นับตั้งแต่เราบวชมาแล้วได้ ๒๕ ปี ยังไม่เคยได้รับความสงบใจ แม้ชั่ว
เวลาลัดนิ้วมือเลย เราไม่ได้เอกัคคตาจิต ถูกกามราคะครอบงำแล้ว
ประคองแขนทั้งสองร้องไห้คร่ำครวญเข้าไปสู่ที่อยู่ด้วยคิดว่า จักนำศาตรา
มา ชีวิตของเราจะมีประโยชน์อะไรเล่า ก็คนอย่างเราจะลาสิกขาเสีย
อย่างไรได้ ควรตายเสียเถิดคราวนี้ เราได้ฉวยเอามีดโกนขึ้นไปนอน
บนเตียง มีดโกนเล่มนั้นเราสะบัดดีแล้ว สามารถจะตัดเส้นเอ็นให้ขาดได้
ขณะนั้น โยนิโสมนสิการก็บังเกิดขึ้นแก่เรา โทษปรากฏแก่เรา ความ
เบื่อหน่ายในสังขารก็เกิดขึ้นแก่เรา เพราะความเบื่อหน่ายในสังขารนั้น
จิตของเราหลุดพ้นแล้ว ขอท่านจงดูความที่ธรรมเป็นธรรมดีเถิด วิชชา ๓
เราได้บรรลุแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว.



ท่าน สัปปทาสเถระ บวชอยู่นานถึง25ปี...แต่ ท่านไม่เคยประสบเอกัคคตาจิตประเภทนั้นเลย(ไม่น่าจะใช่เอกัคคตาจิตแบบเดียวกับที่คุณกล่าวน่ะครับ)

พอท่านจะฆ่าตัวตาย ทอดอาลัยในสังขารทั้งหลาย จิตท่านจึงหลุดพ้นในขณะจิตนั้น และ บรรลุวิชชา๓ประการ....ท่าน เป็นพระอรหันต์อุภโตภาควิมุต(เจโตวิมุต) :b8:




อ้างคำพูด:
ผมเข้าใจว่า สมาธิ หรือ เอกัคคตาจิตของพระพุทธเจ้าต่างจากของฤาษีก็ตรง
ที่ของฤาษีเกิดกันนานมากจนทำอะไรไม่ได้ แต่ของพระพุทธเจ้า ท่านคงไม่นานแบบฤาษีทำ


ต้องไม่ลืมว่า พระพุทธเจ้า และ พระอรหันตสาวก ที่ท่านเป็นอุภโตถาควิมุต สามารถเข้านิโรธสมาบัติได้โดยไม่ต้องออกจากสมาบัติเลย ครั้งล่ะนานหลายๆวันน่ะครับ

นิโรธสมาบัตินั้นล่ะครับ ยอดแห่งเอกัคคตาจิตทั้งมวล

สมาธิที่เป็นไปเพื่อสุขในปัจจุบัน(สมาธิประเภทที่๑ ในบาลีโรหิตัสวรรค ที่๕)นั้น ก็ หาใช่ว่า พระพุทธเจ้า และ พระอรหันตสาวก ท่านจะไม่รู้จักกันน่ะครับ

ยังมีคำกล่าวที่ว่า พระพุทธองค์ ทรงเป็น ฌานสีสี คือ นิยมในฌาน


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 38 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร