วันเวลาปัจจุบัน 19 พ.ค. 2025, 05:52  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 21 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ค. 2009, 20:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว



มีคำพูดคำชักชวนให้ฝึกสมาธิ ว่าเป็นเหตุให้ความจำดี ไม่หลงๆลืมๆ จำเก่ง เรียนหนังสือเก่ง ฯลฯ

ด้วยว่า การฝึกจิตฝึกสมาธิ มิใช่เฉพาะแต่สมาธิเท่านั้นที่เจริญขึ้นๆ แม้สติปัญญา เป็นต้น ก็เจริญขึ้นด้วย


ดูคำถามของสังคารวพราหมณ์ และคำตอบของพระพุทธเจ้า




สังคารวพราหมณ์ กราบทูลพระพุทธเจ้าว่า
ท่านพระโคดมผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุ อะไร

เป็นปัจจัยให้ ในบางคราว มนต์ทั้งหลาย แม้ที่ได้สาธยายมาแล้วตลอดเวลายาวนาน ก็ไม่แจ่มแจ้ง

ไม่ต้องกล่าวถึงมนต์ที่มิได้สาธยาย

และอะไรเป็นเหตุ อะไรเป็นปัจจัยให้ ในบางคราว มนต์ทั้งหลาย แม้ที่มิได้สาธยายตลอดเวลายาว

นาน ก็แจ่มแจ้ง ไม่ต้องกล่าวถึงมนต์ที่ได้สาธยาย


พระพุทธเจ้าตรัสตอบว่า
พราหมณ์ ในเวลาใด บุคคลมีใจกลุ้มรุมด้วยกามราคะ

ถูกกามราคะครอบงำอยู่ และไม่รู้ชัดตามเป็นจริง ซึ่งทางออกแห่งกามราคะที่เกิดขึ้นแล้ว ในเวลานั้นเขา

ย่อมไม่รู้ชัด มองไม่เห็นตามเป็นจริง แม้ซึ่งประโยชน์ตน แม้ซึ่งประโยชน์ผู้อื่น แม้ซึ่งประโยชน์

ทั้งสองฝ่าย มนต์ทั้งหลาย แม้ที่ได้สาธยายมาตลอดเวลายาวนาน ก็ย่อมไม่แจ่มแจ้ง ไม่ต้องกล่าว

ถึงมนต์ที่มิได้สาธยาย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 23 ก.ค. 2009, 19:08, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ค. 2009, 21:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.พ. 2009, 00:03
โพสต์: 111


 ข้อมูลส่วนตัว


มองไปเห็นแต่ภาชนะที่เคลือบสี มีสาหร่ายปกคลุม และน้ำยังกระเีพื่อมอีก
ตอนนี้ขอแหวกสาหร่าย ให้เห็นน้ำบ้างก็ยังดี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ค. 2009, 19:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว



ความแตกต่างกันระหว่าง สมาธิ กับ ปัญญา หรือ สมาธิ (สมถะ) กับ วิปัสสนา มีคำถามกันทุกบอร์ด
ที่นี่ก็ถาม



http://www.pantip.com/cafe/religious/to ... 14921.html


เค้าสงสัย+ความเข้าใจผิด ดังนี้ =>

ได้ยินหลายๆคนพูด ถึง สมาธิ วิปัสสนากรรมฐาน ต่างกันยังไงคะ

คือ คำว่า สมาธิ พอจะเข้าใจค่ะ หมายถึง การมีสติ รู้ตัวทุกขณะ ใช่มั๊ยคะ
แล้วคำว่า ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ต่างจากสมาธิ ยังไงคะ
คือจริงๆ ดิฉัน เคยไปปฏิบัติธรรม มาแล้วค่ะ ยังไม่รู้เลยว่า ที่ไปทำมา เรียกสมาธิ
หรือวิปัสสนากรรมฐาน
แต่คิดว่า น่าจะเป็นการทำสมาธิมากกว่านะ คือ นั่งขัดสมาธิ แล้วหลับตา ให้รู้ลมหายใจเข้าออก



เค้าเข้าใจ สมาธิ ว่าได้แก่ การนั่งขัดสมาด หลับตาบริกรรมภาวนาลมหายใจ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ค. 2009, 17:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


นั่งสมาธิ คำพูดสั้นๆ พูดในฐานคนเข้าใจกันว่า นั่งเจริญสมาธิ หรือนั่งทำสมาธิ เป็นต้น

คือว่า บุคคลนั้น ใช้อิริยาบถนั่งเจริญสมาธิ (ยืน เดิน นั่ง ได้หมด)

(แต่ก็ยังมีองค์ธรรมอื่นๆ เป็นต้นว่า สติ สัมปชัญญะหรือปัญญา หรือที่เรียกอีกชื่อหนึ่งว่าวิปัสสนา

(วิปัสสนาเป็นชื่อหนึ่งของปัญญา จะเจริญขึ้นๆไปด้วยกัน)

เมื่อเรียกสั้นๆ จึงพาให้คนหลงเข้าใจผิดว่า คนนั่งเอาขาขวาทับขาซ้าย มือขวาทับมือซ้ายวางซ้อน

กันบนตัก ว่านั่งสมาธิ แล้วก็ว่า คนนั่งท่านี้แหละเป็นสมาธิ อันที่จริงไม่ถูก

ต้องแยกกัน นั่งก็คือท่านั่ง สมาธิก็คือสมาธิ คนละส่วนกัน

ที่เห็นนั่งอยู่นั่น เป็นส่วนกาย หรือ รูปธรรม

ส่วนสมาธิ มองด้วยตาเนื้อไม่เห็น เพราะเป็นนามธรรม

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 22 ก.ย. 2009, 16:48, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ค. 2009, 18:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตามหลักท่านพูดไว้อย่างไร




ท่านั่ง - หลักการอยู่ที่ว่า อิริยาบถใดก็ตามที่ทำให้ร่างกายอยู่ในภาวะผ่อนคลายสบายที่สุด

แม้ปฏิบัติอยู่นานๆ ก็ไม่เมื่อยล้า และทั้งช่วยให้การหายใจคล่องสะดวก

ก็ใช้อิริยาบถนั้น

การณ์ปรากฏว่า อิริยาบถที่ท่านผู้สำเร็จนับจำนวนไม่ถ้วน

ได้พิสูจน์กันมาตลอดกาลนานนักหนาว่า

ได้ผลดีที่สุดตามหลักการนั้นก็คือ อิริยาบถนั่งในท่าที่เรียกกันว่าขัดสมาธิ (ขัดสะหมาด) หรือ

ที่เรียกกันว่า นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง คือ

ให้ร่างกายท่อนบนตั้งตรง กระดูกสันหลัง ๑๘ ข้อ มีปลายจดกัน

ท่านว่าการนั่งอย่างนี้ หนังเนื้อและเอ็นไม่ขด ลมหายใจก็เดินสะดวก

เป็นท่านั่งที่มั่นคง เมื่อเข้าที่ดีแล้ว จะมีดุลยภาพอย่างยิ่ง กายจะเบาไม่รู้สึกเป็นภาระ

นั่งอยู่ได้แสนนานาโดยไม่มีทุกขเวทนารบกวน

ช่วยให้จิตเป็นสมาธิได้ง่ายขึ้น กรรมฐานไม่ตก แต่เดินหน้าได้เรื่อย


(ตามที่สอนสืบๆ กันมา ยังมีเพิ่มอีกว่า ให้ส้นเท้าชิดท้องน้อย ถ้าไม่เอาขาไขว้ก้น

(ขัดสมาธิเพชร) ก็เอาขาขวาทับขาซ้าย วางมือบนตักชัดท้องน้อย มือขวาทับมือซ้าย

นิ้วหัวแม่มือจดกัน หรือนิ้วชี้ขวาจดหัวแม่มือซ้าย

แต่รายละเอียดเหล่านี้ ขึ้นต่อดุลยภาพแห่งร่างกายของแต่ละบุคคลด้วย

ผู้ที่ไม่เคยนั่งเช่นนี้ หากทนหัดทำได้ก็คงดี

แต่ถ้าไม่อาจทำได้ ก็อาจนั่งบนเก้าอี้ให้ตัวตรงสบาย หรือ อยู่ในอิริยาบถอื่นที่สบายพอดี )


มีหลักการสำทับอีกว่า ถ้ายังนั่งไม่สบาย มีอาการเกร็งหรือเครียดพึงทราบว่า

ปฏิบัติไม่ถูกต้อง พึงแก้ไขเสียให้เรียบร้อย ก่อนปฏิบัติต่อไป

ส่วนตาจะหลับหรือลืมก็ได้ สุดแต่สบาย และใจไม่ซ่าน

ถ้าลืมตา ก็อาจทอดลงหรือมองที่ปลายจมูกให้เป็นที่สบาย *


เมื่อนั่งเข้าที่สบายดีพร้อมแล้ว ก่อนจะเริ่มปฏิบัติ

ปราชญ์บางท่านแนะนำว่า ควรหายใจยาวลึกๆ และช้าๆ เต็มปอดสักสองสามครั้ง

พร้อมกับตั้งความรู้สึกให้ตัวโล่งและสมองโปร่งสบายเสียก่อน

แล้วจึงหายใจ โดยกำหนดตามวิธี

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 22 ก.ย. 2009, 16:54, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.ค. 2010, 19:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขยาย คห. บนที่มีเครื่องหมาย *

* อานาปานสติเป็นกรรมฐานอย่างเดียว

ในบรรดาข้อปฏิบัติเป็นอันมากในมหาสติปัฏฐานสูตร ที่มีคำแนะนำกำหนดเกี่ยวกับอิริยาบถว่า

ให้พึงนั่งอย่างนี้

ส่วนกรรมฐานอย่างอื่น ย่อมเป็นไปตามอิริยาบถต่างๆ ที่เข้าเรื่องกัน

หากจะมีการนั่ง ก็ย่อมเป็นไป เพราะความเหมาะสมกันโดยอนุโลม กล่าวคือ เมื่อกรรมฐานใดนั่งปฏิบัติ

ได้ดี และในเมื่อการนั่งอย่างนี้ เป็นท่านั่งที่ดีที่สุด ก็เป็นธรรมดาอยู่เองที่พึงนั่งอย่างนี้

ยกตัวอย่าง เช่นการเพ่งกสิณ และการพิจารณาธรรมารมณ์ต่าง ๆ นานๆ เป็นต้น เหมือนคนจะเขียน

หนังสือ ท่านั่งย่อมเหมาะดีกว่ายืน หรือนอน เป็นต้น พึงเข้าใจความหมายของการนั่งอย่างนี้ มิใช่มอง

เห็นการนั่งเป็นสมาธิไป

พูดอีกอย่างหนึ่ง การนั่งแบบคู้บัลลังก์นี้ เป็นท่านั่งที่ดีที่สุดแก่สุขภาพและการงาน ดังนั้น เมื่อจะนั่ง

หรือในกรณีจะทำอะไรที่ควรจะต้องนั่ง ท่านก็แนะนำให้นั่งท่านี้เหมือนที่แนะนำว่า เมื่อจะนอนก็ควร

จะนอนแบบสีหไสยา หรือเมื่อจะเดินอยู่ลำพังก็ควรเดินแบบจงกรม ดังนี้ เท่านั้นเอง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 21 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร