วันเวลาปัจจุบัน 06 พ.ค. 2025, 04:47  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 17 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ค. 2009, 23:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


สติ หมายถึง การระลึกได้ แปลเป็นภาษาคนต่อไปได้ว่า ลากมาหรือดึงมา สติเป็นธรรมชาติอันหนึ่งที่มีเฉพาะในตัวคนเท่านั้น มีมากไม่ต้องเจริญหรือไม่ต้องสร้างมันขึ้นมาใดๆ อีกทั้งสิ้น ทุกคนมีสติอยู่แล้วมันทำหน้าที่ของมันตลอดเวลา ตั้งแต่เราตื่นขึ้นมาจนถึงหลับ คือ ทำหน้าที่ระลึก หรือลาก หรือดึงความทรงจำที่เป็นสัญญาที่เก็บอยู่แล้วในใจแล้วแต่ว่าในใจของผู้นั้นจะเก็บบวกหรือลบ หรือกุศล อกุศล ไว้ในใจมากว่ากัน อันใหนมีมากกว่า สติก็จะดึง หรือระลึก หรือลากเอาอันนั้นออกมารับการกระทบสัมผัสจากภายนอก ถ้ามีลบมาก ก็ดึงเอาลบออกมารับ ถ้ามีบวกมากก็ดึงเอาบวกออกมารับ จากนั้นก็จะมีการคิดปรุ่งแต่งต่อไป จากนั้นจะไปสู่การกระทำผลจะออกมาตามที่เหตุทำไว้เช่น มีเสียงด่ากระทบหู ถ้าใจเราเก็บเอาอกุศลไว้มาก สติก็จะระลึก หรือลากเอาอกุศลออกมารับเสียงด่า ทำให้เกิดความไม่พอใจแสดงออกมาจะอาจจะไปทำร้ายคนด่าได้ แต่ถ้าในใจเก็บข้อมูลที่เป็นกุศล (บวก) ไว้มาก สติก็จะระลึกหรือลากเอากุศลเหล่านั้นออกมารับเสียงด่า แล้วมองเห็นเสียงด่านั้นเป็นคำตักเตือนทันที มองเห็นคุณค่าของเสียงด่านั้น นี่คือหน้าที่ของสติ มันทำหน้าที่อย่างนี้ การเจริญสติที่ทำกันมานั้นไม่ถูกต้อง ที่ถูกต้องจะต้องเจริญความรู้ที่ดับทุกข์ได้ หรือปัญญา ให้สติลากออกมาต้อนรับการกระทบสัมผัส เพื่อแก้ไขปัญญหารือทุกข์ตั้งแต่ที่ถูกกระทบสัมผัสหรือที่ที่มันเกิด ซึ่งตรงกับคำสอนของพระพุทธเจ้าว่า ทุกข์เกิดที่ใหนดับที่นั่น

ปัญญา หมายถึง ความรู้ที่ดับทุกข์ได้ ความรู้ที่ดับทุกข์ไม่ได้ไม่ใช่เป็นปัญญาทางธรรม เป็นเพียงความรอบรู้เท่านั้น

ปัญญาในพระธรรมคำสอนของพระพทธเจ้าหมายถึงพระธรรมในส่วนที่เป็นผล ไม่ใช่ส่วนที่เห็นเหตุ คำว่าเอาปัญญาไปดับทุกข์ จะต้องรู้และเข้าใจต่อไปว่าปัญญาที่เป็นความรู้ที่ดับทุกข์ได้นั้น มีต้นตอหรือแหล่งกำเนิด หรือเหตุปัจจัยของการเกิดอยู่ที่ใหน

ปัญญาเกิดได้อย่างไร ปัญญาที่เป็นความรู้ที่ดับทุกข์ได้นั้น เกิดจากความจริงที่เป็นความจริงของโลกและชีวิตเท่านั้น ความจริงๆ ที่เป็นต้นตอของปัญญา

ความจริงของโลกและชีวิต คือ กฏธรรมชาติ 2 กฏ ที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ คือ กฎไตรลักษณ์ หรืออนิจจัง ทุกขัง อนัตตา หรือ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป และ กฎของเหตุและปัจจัย หรือ อิทัปปัจจยตาปฏิจจสมุทปบาท กฎนี้แหละ เป็นต้นตอหรือแม่เหตุปัจจัยของปัญญา ปัญญาจะเกิดกับความจริงเท่านั้น อวิชชาจะเกิดจากความพอใจไพอใจ หรือความเชื่อ ความเชื่อเป็นเหตุปัจจัยหรือต้นตอของอวิชชา

เมื่อเรารู้จักที่มาที่ไปของสติปัญญาแล้วจะเห็นว่า การปฏิบัติธรรมโดยการเจริญสติปัญญาโดยตรงอย่างที่มีการสอนการปฏิบัติกันในปัจจุบันนี้ไม่ถูกต้องตามธรรม ไม่ถูกเหตุถูกปัจจัย เมื่อรู้เหตุของสติปัญญาแล้ว การปฏิบัติก็จะเริ่มเจริญปัญญา ไม่ต้องเจริญสติเพราะมีอยู่แล้ว แต่คนเราขาดปัญญาจึงจำเป็นต้องเจริญปัญญามาดับทุกข์หรือแก้ปัญหา

การเจริญปัญญาที่ถูกต้อง ต้องเจริญที่เหตุของการเกิดปัญญา เหตุปัจจัยของการเกิดปัญญาหรือสัมมาทิฏฐิ นั้นคือ พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าที่พระองค์ตรัสไว้เป็นทางสายเอก คือ การวิปสสนาภาวนา พิจารณาขันธ์ 5 อินทรีย์ 6 ให้รู้ให้เห็นสิ่งทั้งปวงที่มากระทบสัมผัสตามตัวเรา ความเป็นจริงของโลกและสิ่งมีชีวิตว่า สิ่งทั้งปวงไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ไม่มีตัวตนเป็นของตัวเอง พิจรณาให้รู้ให้เห็นตามความเป็นจริงอย่างนี้จนเป็นปกตินิสัยในชีวิตประจำวันแล้วจะมีปัญญาหรือสัมมาทิฏฐิเกิดขึ้น รู้เท่าทันความจริงของโลกและชีวิต ดับความพอใจ (โลภ) ไม่พอใจ (โกรธ) ทันที อย่างนี้เรียกว่าสัมมาทิฏฐิ ปัญญาเกิดขึ้น มรรคมีองค์แปดเกิดขึ้น องค์ธรรมอื่นๆ จะเกิดมาจนครบโพธิปักขยิธรรม 37 ประการ แล้วมีปญญาดับทุกข์แก้ไขปัญญหากับตังเองได้อย่างถาวร

เมื่อมีปัญญา รู้แจ้ง รู้จริง เกิดขึ้นในใจตลอดเวลาแล้ว ปัญญาจะเกิดขึ้นเข้ามาแทนที่อวิชชา เมื่อมีอะไรมากระทบสัมผัสเรา สติก็จะระลึกหรือดึงหรือลากเอาเอาความจริงที่เป็นปัญญาที่เก็บอยู่ในใจ ใจเป็นสัญญา (ความจำ) ออกมารับกระทบสัมผัส ปัญหาหรือทุกข์ก็จะถูกแก้ไขหรือดับที่มันเกิดทันที ยกตัวอย่างเช่น มีเสียงด่ามากระทบหู สติก็จะลากหรือระลึกเอาปัญญาหรือความจริงออกมารับเสียงด่าว่าไม่เที่ยง ปัญญาจะทำหน้าที่พิจารณาว่าเสียงด่าเกิดดับ คนด่าก็เกิดดับ คนถูกด่าก็เกิดดับ หรือพูดง่ายๆ ว่าคนด่าก็ตาย คนถูด่าก็ตาย เช่นกัน แล้วปัญญาจะสั่งให้ยิ้มกับคนด่าทันที เพราะความน่ามืดที่เกิดจากความพอใจไม่พอใจถูกดับไปก่อนแล้ว ถ้าเราไม่ฝึกเจริญความจริงไว้ในใจแล้วก็จะไม่มีปัญญาออกมารับเสียงด่า สติก็จะลากเอาความเชื่อที่เป็นความพอใจไม่พอใจที่เก็บเป็นอวิชชาอยู่ในใจออกมารับกระทบกับเสียงด่า ความพอใจไม่พอใจเกิดขึ้นทำให้เราควบคุมตัวเองไม่ได้

ความจริงแล้ว คำว่าสติปัญญาในพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้านั้นเป็นคำตรัสย่อๆ ของพระพุทธเจ้าใช้ตรัสกับอริยบุคคล ตรัสอย่างนี้ อริยบุคคลเข้าใจได้ จะเอาคำว่าสติปัญญาไปปฏิบัติหรือเจริญโดยตรงไม่ได้ไม่ถูกธรรม วิธีปฏิบัติหรือเจริญปัญญาที่ถูกต้องนั้นต้องเอาพระธรรมที่เป็นเหตุของการได้ปัญญามาปฏิบัติก่อน จนมีปัญญาเกิดขึ้นแล้วเก็บไว้ในใจจนเป็นปกตินิสัยประจำวันแล้ว ปัญญาก็จะเข้าไปแทนอวิชชา (ความหลง) อยู่ในใจของเรา ใจเราก็เต็มไปด้วยปัญญารู้จริง รู้แจ้ง เมื่อมีอะไรมากระทบสัมผัส สติก็จะลากหรือระลึกเอาปัญญาออกมากระทบแล้วแก้ปัญญหาหรือดับทุกข์ได้ กระบวนการเจริญสติปัญญาเต็มรูปแบบตามคำสอนของพระพุทธเจ้าต้องปฏิบัติอย่างนี้

สรุป การเจริญสติปัญญาที่ถูกต้องตรงตามคำสอนของพระพุทธเจ้านั้น ต้องปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา พิจารณาขันธ์ 5 อนทรีย์ 6 ตามทางสายเอกที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้นั่นเอง

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


แก้ไขล่าสุดโดย Supareak Mulpong เมื่อ 21 ก.ค. 2009, 19:25, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2009, 10:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


พระพุทธเจ้าท่านพยายามตรัสธรรมให้บริษัท ๔ นำปฏิบัติได้ทุกบริษัท
ทำไมคุณจึงพยายามแยกว่า การปฏิบัติธรรมข้อนี้ของอริยะ ข้อนี้ของคนธรรมดา
ตกลงว่าคุณเข้าใจการปฏิบัติธรรมแล้วหรือยัง
ผมตามอ่านก็เห็นการปฏิบัติของคุณแค่เดินคิดนั่งคิด คุณมองการพิจารณาของ
พระพุทธเจ้าท่านแค่การนั่งคิดเดินคิดหรือครับ
คุณพยายามจะนำธรรมของพระองค์หนีไปจากบริษัท ๔ ด้วยจำกัดว่านี่ควร นี่ไม่ควร
นี่ของพระอริยะ นี่ของคนบวช ทำนองนี้ทั้งนั้นเลย

วรรคแรกกระทู้นี้ผมก็สลดแล้ว ว่าทำไมถึงได้เลอะไปขนาดนั้น ลองดูความคิดง่ายๆ
ว่าการเจริญวิปัสสนาหรือสติปัฏฐาน ทำได้ทุกบริษัท
พระมีขาจงกรมได้ อุบาสกอุบาสิกา ก็ทำได้
พระฝึกสติได้ โยมก็ฝึกสติได้
พระพุทธเจ้าบอกนั่งตัวตรง พระหรือโยมก็นั่งได้

แย่... สลดตั้งแต่วรรคแรกเลย

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2009, 11:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


การรปฏิบัติธรรมที่ถูกต้องตรงตามคำสอนของพระพุทธเจ้าที่บันทึกไว้ในพระไตรปิฎก จำนวน 45 เล่ม ต้องศึกษาพระธรรมคำสอนของพระองค์ท่านให้จบ 84,000 ประธรรมขันธ์แล้วเข้าใจคำสอนของพระองค์ท่านด้วยว่า พระธรรมคำสอนสูตรนั้นๆ เป็นพระธรรมคำสอนในส่วนที่เป็นผลหรือเป็นการปฏิบัติหรือเป็นเหตุ คำสอนสูตรนั้นพระองค์สตรัสสอนผู้ใด สอนอริยบุคคลหรือสอนคนธรรมดาทั่วไป และคำสอนสูตรนั้นพระองค์ตรัสเป็นคำย่อหรือเป็นคำเต็ม ถ้าเป็นคำย่อแล้วคำเต็มว่าอย่างไร ต้องรู้และเข้าใจพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าในพระไตรปิฏกถึงขั้นนี้ก่อน การปฏิบัติของท่านจึงจะถูกต้องตามจริง มีผลออกมา มีปัญญาดับทุกข์ได้ ถ้าไม่เข้าใจพระธรรมคำสั่งสอนจนถึงระดับนี้แล้ว ก็จะนำพระธรรมคำสั่งสอนที่ไม่ถูกเหตุ ไม่ถูกผล ไม่ถูกบุคคล ไปปฏิบัติ ผลออกมาตามเหตุ ก็คือ ได้เพียงแต่หลบทุกข์ชั่วคราวเท่านั้น ไม่มีปัญญาดับทุกข์ได้

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2009, 13:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
โสตาปันนสูตร

รู้การเกิดดับแห่งอินทรีย์ ๕ เป็นโสดาบัน

[๙๑๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน? คือ สุขินทรีย์ ๑ ทุกขินทรีย์ ๑ โสมนัสสินทรีย์ ๑ โทมนัสสินทรีย์ ๑ อุเปกขินทรีย์ ๑ อินทรีย์ ๕ ประการนี้แล.

[๙๑๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด อริยสาวกรู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งอินทรีย์ ๕ ประการนี้ ตามความเป็นจริง อริยสาวกนี้เราเรียกว่าเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า.

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2009, 13:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3832

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ต้องทุบอีกนาน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2009, 13:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
โสตาปันนสูตร
การรู้อินทรีย์ ๖ ของพระโสดาบัน

[๙๐๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๖ ประการนี้ ๖ ประการเป็นไฉน? คือ จักขุนทรีย์ ๑ โสตินทรีย์ ๑ ฆานินทรีย์ ๑ ชิวหินทรีย์ ๑ กายินทรีย์ ๑ มนินทรีย์ ๑ อินทรีย์ ๖

[๙๐๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด อริยสาวกรู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งอินทรีย์ ๖ ประการนี้ ตามความเป็นจริง เมื่อนั้น เราเรียกอริยสาวกนี้ว่าเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า.

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2009, 13:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค

[๔๖๑] ปุถุชนเจริญวิปัสสนา ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการเท่าไร เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ด้วยอาการเท่าไร พระเสขะเจริญวิปัสสนา ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการเท่าไร เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ด้วยอาการเท่าไร ท่านผู้ปราศจากราคะเจริญวิปัสสนา เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการเท่าไร เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ด้วยอาการเท่าไร ฯ

ปุถุชนเจริญวิปัสสนา ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ ๙ เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ด้วยอาการ ๙ พระเสขะเจริญวิปัสสนา เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ ๑๐ เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ด้วยอาการ ๑๐ ท่านผู้ปราศจากราคะเจริญวิปัสสนา เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ ๑๒ เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ด้วยอาการ ๑๒ ฯ

[๔๖๒] ปุถุชนเจริญวิปัสสนา ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ ๙ เป็นไฉน เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ด้วยอาการ ๙ เป็นไฉน ฯ

ปุถุชนเจริญวิปัสสนา ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความเป็นของไม่เที่ยง ๑ เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความเป็นของเที่ยง ๑ เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความเป็นทุกข์ ๑ เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความเป็นสุข ๑ เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความเป็นอนัตตา ๑ เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความเป็นอัตตา ๑ เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความสิ้นไป ๑เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความเป็นก้อน ๑ เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความเสื่อมไป ๑ เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความประมวลมา ๑ เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความแปรปรวน ๑ เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความยั่งยืน ๑ เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยเป็นสภาพหานิมิตมิได้ ๑ เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยเป็นสภาพมีนิมิต ๑ เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยเป็นสภาพไม่มีที่ตั้ง ๑ เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยเป็นสภาพมีที่ตั้ง ๑ เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยเป็นสภาพสูญ ๑ เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความยึดมั่น ๑ปุถุชนเจริญวิปัสสนา ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ ๙ เหล่านี้ เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ด้วยอาการ ๙ เหล่านี้ ฯ

พระเสขะเจริญวิปัสสนา ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ ๑๐ เป็นไฉน ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ด้วยอาการ ๑๐ เป็นไฉน ฯ

พระเสขะเจริญวิปัสสนา ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความเป็นของเที่ยง ฯลฯ เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความเป็นสภาพสูญ เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความยึดมั่น เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งญาณ เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ซึ่งสิ่งมิใช่ญาณ พระเสขะเจริญวิปัสสนา ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ ๑๐เหล่านี้ เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ด้วยอาการ ๑๐ เหล่านี้ ฯ

ท่านผู้ปราศจากราคะเจริญวิปัสสนา ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ ๑๒ เป็นไฉน เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ด้วยอาการ ๑๒ เป็นไฉน ฯ

ท่านผู้ปราศจากราคะเจริญวิปัสสนา ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความเป็นของเที่ยง ฯลฯเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งญาณ เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ซึ่งสิ่งมิใช่ญาณเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความไม่เกี่ยวข้อง เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความเกี่ยวข้อง เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความดับ เป็นผู้ฉลาดใน ความไม่ตั้งไว้ซึ่งสังขาร ท่านผู้ปราศจากราคะเจริญวิปัสสนา ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ ๑๒ เหล่านี้ เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ด้วยอาการ ๑๒ เหล่านี้บุคคลผู้มีตนอันเว้นแล้ว ย่อมให้อินทรีย์ประชุม ด้วยสามารถความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งอารมณ์ รู้จักโคจร และแทงตลอดธรรมอันมีความสงบเป็นประโยชน์ ฯลฯ ย่อมให้ธรรมทั้งหลายประชุมลง รู้จักโคจร และแทงตลอดธรรมอันมีความสงบเป็นประโยชน์ ฯ

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2009, 13:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค

[๑๒๘] การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน ของพระเสขะและของท่านผู้ปราศจากราคะ มีความต่างกันอย่างไร ฯ

สังขารุเปกขาของปุถุชนเป็นกุศล แม้ของพระเสขะก็เป็นกุศล แต่ของท่านผู้ปราศจากราคะเป็นอัพยากฤต การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน ของพระเสขะและของท่านผู้ปราศจากราคะ มีความต่างกันโดยสภาพเป็นกุศลและอัพยากฤตอย่างนี้ ฯ

[๑๒๙] การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน ของพระเสขะและของท่านผู้ปราศจากราคะ มีความต่างกันอย่างไร ฯ

สังขารุเปกขาของปุถุชน ปรากฏดีในกาลนิดหน่อย (ในเวลาเจริญวิปัสสนา) ไม่ปรากฏดีในกาลนิดหน่อย แม้สังขารุเปกขาของพระเสขะ ก็ปรากฏดีในการนิดหน่อย สังขารุเปกขาของท่านผู้ปราศจากราคะ ปรากฏดีโดยส่วนเดียวการน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน ของพระเสขะและของท่านผู้ปราศจากราคะ มีความต่างกันโดยสภาพที่ปรากฏและโดยภาพที่ไม่ปรากฏอย่างนี้ ฯ

[๑๓๐] การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน ของพระเสขะและของท่านผู้ปราศจากราคะ มีความต่างกันอย่างไร ฯ

ปุถุชนย่อมพิจารณา เพราะเป็นผู้ยังไม่เสร็จกิจจากสังขารุเปกขา แม้พระเสขะก็พิจารณาเพราะเป็นผู้ยังไม่เสร็จกิจจากสังขารุเปกขา ส่วนท่านผู้ปราศจากราคะย่อมพิจารณาเพราะเป็นผู้เสร็จกิจจากสังขารุเปกขา การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชนของพระเสขะและของท่านผู้ปราศจากราคะ มีความต่างกันโดยสภาพที่ยังไม่เสร็จกิจและโดยสภาพที่เสร็จกิจแล้วอย่างนี้ ฯ

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2009, 13:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๒๑ ขุททกนิกาย มหานิทเทส

[๓๗๒] คำว่า โมหะย่อมไม่มีแก่มุนีผู้หลุดพ้นแล้วด้วยปัญญา ความว่า มุนีใด เจริญ อริยมรรคมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น โมหะ เป็นสภาพอันมุนีนั้นข่มเสียแล้วตั้งแต่กาลเบื้องต้น เมื่อมุนีนั้นถึงความเป็นพระอรหันต์แล้ว โมหะ กิเลสเป็นเครื่องร้อยกรอง นิวรณ์ กามสัญญา พยาบาทสัญญา วิหิงสาสัญญา ทิฏฐิสัญญา เป็นสภาพอันพระอรหันต์ละเสียแล้ว มีรากอัน ตัดขาดแล้ว ทำไม่ให้มีที่ตั้งดังตาลยอดด้วน ให้ถึงความไม่มีในภายหลัง มีความไม่เกิดขึ้นต่อไป เป็นธรรมดา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า โมหะย่อมไม่มีแก่มุนีผู้หลุดพ้นแล้วด้วยปัญญา.

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2009, 14:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี

สัญญา เป็นไฉน ?

การจำ กิริยาที่จำ ความจำ อันเกิดแต่สัมผัสแห่งมโนวิญญาณธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สัญญามีในสมัยนั้น.

สติ เป็นไฉน?

สติ ความตามระลึก ความหวนระลึก สติ กิริยาที่ระลึกความทรงจำ ความไม่เลื่อนลอย ความไม่ลืม สติ สตินทรีย์ สติพละ สัมมาสติ อันใดนี้เรียกว่า สติ

กำลังคือภาวนา เป็นไฉน?

การเสพ การเจริญ การทำให้มาก ซึ่งกุศลธรรมทั้งหลาย อันใด นี้เรียกว่า กำลังคือ ภาวนา.

วิปัสสนา เป็นไฉน?

ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิอันใด นี้เรียกว่า วิปัสสนา.

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2009, 17:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี

สัญญา เป็นไฉน ?
การจำ กิริยาที่จำ ความจำ อันเกิดแต่สัมผัสแห่งมโนวิญญาณธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สัญญามีในสมัยนั้น.


ตรงนี้อธิบายถึงสัญญาในสมัย ไม่ไช่อธิบายสัญญาล้วนๆที่ไม่ปะปน

สติ เป็นไฉน?
สติ ความตามระลึก ความหวนระลึก สติ กิริยาที่ระลึกความทรงจำ ความไม่เลื่อนลอย ความไม่ลืม สติ สตินทรีย์ สติพละ สัมมาสติ อันใดนี้เรียกว่า สติ [/quote]

นี่อธิบายสติ อ่านเจอของคุณพูดซะสติกับสัญญาเป็นอันเดียวกันเลย คุณคงอ่านเจอตรงที่แดงๆไว้ซิ ตรงนั้นหมาย
ถึงสภาวะที่รู้สัญญา แต่ไม่ไช่สัญญา คือสัญญาถูกสติรู้ และตรงนี้เองบอกอีกว่า ที่คุณบอกว่าไม่ต้องสร้างสติ
มีอยู่แล้วมากมาย ไอ้นั่นสติทั่วๆไป สัตว์เดรัจฉานมันก็มี มันรู้ตัวมัน แต่ที่เขาเจริญสติกัน สติตรงท้ายๆไง
สตินทรีย์ สติพละ สัมมาสติ ต่างจากที่คุฯเข้าใจ


Supareak Mulpong เขียน:
กำลังคือภาวนา เป็นไฉน?
การเสพ การเจริญ การทำให้มาก ซึ่งกุศลธรรมทั้งหลาย อันใด นี้เรียกว่า กำลังคือ ภาวนา.


อันนี้อธิบายภาวนาตามนัยอภิธรรม หรือเรียกอีกอย่างว่า ทุบแผ่นดิน คือทำดีเป็นภาวนาหมด แต่ถ้าไม่เจริญสติ
ทำดีอย่างอื่นให้ตายก็ไม่หลุดพ้น (สติปัฏฐานนะ ไม่ไช่สติที่อื่น)

Supareak Mulpong เขียน:
วิปัสสนา เป็นไฉน?
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิอันใด นี้เรียกว่า วิปัสสนา.


ตรงนี้อธิบายตามนัยที่เรียกว่าผล คือผลของการปฏิบัติ เช่น สติปัฏฐาน ผลจะออกมาเป็นวิปัสสนา วิปัสสนาก็คือ...
เขาอธิบายนัยนี้
ตามนัยอื่นก็มีที่ไม่ไช่เอาเป็นผล เอาเป็นประธานก็ได้ เช่น กรรมฐาน ๒ มี
๑.สมถะ และ ๒.วิปัสสนา

เอ...ท่าทางจะแย่ ถ้าคุณตีความแบบนี้

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2009, 17:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:
การรปฏิบัติธรรมที่ถูกต้องตรงตามคำสอนของพระพุทธเจ้าที่บันทึกไว้ในพระไตรปิฎก จำนวน 45 เล่ม ต้องศึกษาพระธรรมคำสอนของพระองค์ท่านให้จบ 84,000 ประธรรมขันธ์


มีตรงไหนกล่าวไว้ มีความคิดคุณคนเดียว คิเองเออเอง แม้พระพุทธองค์ก็ไม่ทรงตรัสไว้ว่าต้องศึกษาขนาดนี้
ตัวอย่างเยอะไปในพระไตรปิฎก เช่น บวชตอนแก่กลัวไม่ทันกาล ก็ขอเรียวิปัสสนาธุระเลย เข้าป่าบรรลุธรรมไป
ไม่เห็นต้องเรียนมาก แต่พระโปฐิละ ทรงความรู้มาก กว่าจะบรรลุ แก่เลย พระอานนท์เถระเอง ฟังธรรมทุกข้อ
ของพระพุทธเจ้า ไปบรรลุพระอรหันต์สมัยพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว ข้อนี้อย่างแรงนะที่เข้าใจผิด


Supareak Mulpong เขียน:
แล้วเข้าใจคำสอนของพระองค์ท่านด้วยว่า พระธรรมคำสอนสูตรนั้นๆ เป็นพระธรรมคำสอนในส่วนที่เป็นผลหรือเป็นการปฏิบัติหรือเป็นเหตุ คำสอนสูตรนั้นพระองค์สตรัสสอนผู้ใดสอนอริยบุคคลหรือสอนคนธรรมดาทั่วไป และคำสอนสูตรนั้นพระองค์ตรัสเป็นคำย่อหรือเป็นคำเต็ม ถ้าเป็นคำย่อแล้วคำเต็มว่าอย่างไร ต้องรู้และเข้าใจพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าในพระไตรปิฏกถึงขั้นนี้ก่อน การปฏิบัติของท่านจึงจะถูกต้องตามจริง มีผลออกมา มีปัญญาดับทุกข์ได้ ถ้าไม่เข้าใจพระธรรมคำสั่งสอนจนถึงระดับนี้แล้ว ก็จะนำพระธรรมคำสั่งสอนที่ไม่ถูกเหตุ ไม่ถูกผล ไม่ถูกบุคคล ไปปฏิบัติ ผลออกมาตามเหตุ ก็คือ ได้เพียงแต่หลบทุกข์ชั่วคราวเท่านั้น ไม่มีปัญญาดับทุกข์ได้


ผมไม่รู้ว่าจำกัดของคำที่คุณพูดมาจะอย่างไร ช่วยดูคุณสมบัติผมหน่อยว่าตีความคำสอนพอได้หรือยัง

ภาษาบาลี แปลได้ แต่งได้ พูดได้ เคยเข้ารับใช้ภิกษุลังกาตอนมาทำปริญญาที่เมืองไทยโดยใช้ภาษานี้สื่อสาร
พระสูตร ผมแปลบาลีเองไม่ต่ำกว่า 300 สูตร สมัยนั้นอายุ 14-15 ปี
พระอภิธรรม ศึกษาของมหาวิทยาลัยสงฆ์ , อภิธัมมโชติกวิทยาลัย

อาจารย์ที่แนะแนวกรรมฐาน หลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวัน , ดร.ศิริ กรินชัย ,วัดภัททันตะอาสภาราม ฯลฯ และ
ในบอร์ดนี้มีอีก ๑ คนที่เป็นวิปัสสนาจารย์ผม :b12:

ผมพอรู้วิธีอ่านหรือตีความในภาษาหรือคัมภีร์หรือยังครับ

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2009, 18:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ก.พ. 2008, 09:18
โพสต์: 635

อายุ: 0
ที่อยู่: กองทุกข์

 ข้อมูลส่วนตัว www


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
"ผู้ที่ฝึกจิต ย่อมนำความสุขมาให้"
คิดเท่าไหรก็ไม่รู้ หยุดคิดจึงจะรู้

http://www.luangta.com
รูปภาพ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2009, 19:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ชาติสยาม เขียน:
ต้องทุบอีกนาน



:b32:


แค่อ่านคำว่า สติ เป็นตัวลาก ก็ขำกลิ้งละ ขนาดเราเองไม่ได้รู้อะไรมากมาย

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ค. 2009, 21:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2009, 08:46
โพสต์: 405

แนวปฏิบัติ: ดูจิต-อานา
ชื่อเล่น: ขวานผ่าซาก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ถ้าผมอ่านหมดแล้วจำไ้ด้บ้าง ไม่ได้บ้าง จะเข้าถึงธรรมไหมครับ

:b5:

.....................................................
สุ จิ ปุ ลิ...(หัวใจนักปราชญ์)

ปัจจุบันธรรม

โยนิโส มนสิการ
สติ สัมปชัญญะ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 17 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร