วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 18:38  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 90 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ค. 2009, 21:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


ลองทำง่ายๆ แบบนี้นะครับ ทำได้ไม่เลือกจริต

ตื่นเช้ามานึกถึงความตาย นึกว่าเราเกิดมาหนุ่มแก่เจ็บแล้วก็ต้องตาย หยิบแปรงฟันขึ้นมา ก็บอกว่าแปรงฟันี้ใหม่เดี๋ยวก็เก่าสุดท้ายก็ต้องแตกสลาย ยาสีฟันนี้ก็ใหม่เก่าแตกสลาย เห็นอ่างล้างหน้าก็บอกตัวเองว่าอ่างนี้ก็ไม่เที่ยงเกิดดับ ภาวนาทำนองนี้ทุกครั้งเมื่อตาไปมองเห็นอะไรเข้า เอาเฉพาะที่เห็นต่อหน้า ผ่านไปแล้วก็อย่าไปนึกถึงมัน แล้วมาพิจารณาตัวเองเป็นพักๆ ว่า เรานี้ก็ไม่ได้ต่างอะไรกับของพวกนี้ ไม่เที่ยงเกิดดับ พอหูได้ยินอะไรก็ว่า เสียงไม่เที่ยงเกิดดับ ลิ้นได้รสอะไรก็บอกว่ารสนี้ไม่เที่ยงเกิดดับ จมูกได้กลิ่นอะไรก็ว่ากลิ่นนี้ไม่เที่ยงเกิดดับ กายสัมผัสอะไรก็ว่าสัมผัสสนี้ไม่เที่ยงเกิดดับ ใจนึกคิดก็ว่า ความนึกคิดนี้ไม่เที่ยงเกิดดับ ตัวเราก็ไม่เที่ยงเกิดดับ ทำก่อนออกไปทำงาน ถ้าทำต่อๆ กันได้ซักวันละชั่วโมงก็จะดีมาก นอกนั้นก็ใช้ชีวิตปกติ

จะเรียกวิธีนี้ว่าอะไรก็ช่าง ทำไปเรื่อยๆ ทุกวัน อย่างเคร่งอย่าเครียด ทำได้ผลประการใดก็เอามาเล่าต่อๆ กันให้เป็นธรรมทานด้วยนะครับ

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ค. 2009, 22:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 เม.ย. 2009, 19:55
โพสต์: 548

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:
ลองทำง่ายๆ แบบนี้นะครับ ทำได้ไม่เลือกจริต

ตื่นเช้ามานึกถึงความตาย นึกว่าเราเกิดมาหนุ่มแก่เจ็บแล้วก็ต้องตาย หยิบแปรงฟันขึ้นมา ก็บอกว่าแปรงฟันี้ใหม่เดี๋ยวก็เก่าสุดท้ายก็ต้องแตกสลาย ยาสีฟันนี้ก็ใหม่เก่าแตกสลาย เห็นอ่างล้างหน้าก็บอกตัวเองว่าอ่างนี้ก็ไม่เที่ยงเกิดดับ ภาวนาทำนองนี้ทุกครั้งเมื่อตาไปมองเห็นอะไรเข้า เอาเฉพาะที่เห็นต่อหน้า ผ่านไปแล้วก็อย่าไปนึกถึงมัน แล้วมาพิจารณาตัวเองเป็นพักๆ ว่า เรานี้ก็ไม่ได้ต่างอะไรกับของพวกนี้ ไม่เที่ยงเกิดดับ ก่อนออกไปทำงาน ถ้าทำต่อๆ กันได้ซักวันละชั่วโมงก็จะดีมาก นอกนั้นก็ใช้ชีวิตปกติ

จะเรียกวิธีนี้ว่าอะไรก็ช่าง ทำไปเรื่อยๆ ทุกวัน อย่างเคร่งอย่าเครียด ทำได้ผลประการใดก็เอามาเล่าต่อๆ กันให้เป็นธรรมทานด้วยนะครับ


:b32: :b32: :b32:

จิตจะค่อย ๆ คลายจากความยึดเหนี่ยว...
เมื่อทำบ่อย ๆ จิต มีอาการทรงตัวอย่างเป็นอิสระ
จะเบาและลอยเด่นสว่าง

เดิมที่ ประหนึ่งเราเคยตั้งรับข้าศึกที่ในกำแพงเมือง
แต่กลยุทธนี้ ประหนึ่งจิตมันได้กำจัดไส้ศึก และเริ่มยัน
ข้าศึกออกไปนอกประตูเมือง และเริ่มตั้งป้อมสู้กันตรงประตู
เพียงเท่านี้ เมื่อเรารู้ว่าเป็นผู้ที่คุมเกมอยู่ตรงกำแพงเมืองได้แล้ว
ก็เริ่มเอาตำรา ปฏิจจสมุปบาท มากาง
และตรวจสอบดูว่าเส้นทางที่เราได้จากประสบการณ์
มันตรงกับที่พระพุทธองค์ทรงว่าไว้รึเปล่า...
ถ้าตรง แสดงว่า เรายังไม่ได้ออกนอกลู่นอกทาง...
เพราะนี่คือการพิจารณาการไล่ทวน ปฏิจจสมุปบาท ปัจจัตตัง และไตรลักษณ์
ด้วยประสบการณ์ตรงของจิต

ผมเข้าใจเป้าประสงค์ของคุณผิดรึเปล่าครับ
ถ้าผิด ก็ต้องขอโทษด้วย เพราะผมเดา...

:b14: :b14: :b14:
:b16: :b16: :b16:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ค. 2009, 23:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


ผม POST รายละเอียดลงอีกกระทู้หนึ่ง ลองอ่านดูนะครับ พอไม่อธิบายตามนัยอภิธรรมนี่ยาวเหยียด ฉบับนี้ผมคัดลอกเอามาจากของอาจารย์สินทพอีกที :b12:

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=24098

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


แก้ไขล่าสุดโดย Supareak Mulpong เมื่อ 21 ก.ค. 2009, 00:21, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ค. 2009, 23:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 21:22
โพสต์: 264

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
กระทู้มาไกลแล้ว

มีคำถามคุณรินรส เป็นไงบ้างครับ ได้คำตอบบ้างหรือยัง โดนใจบ้างไหม กระจ่างใจขึ้นบ้างหรือยัง

หายสับสนหรือยัง หรือ สับสนยิงกว่าเดิม ได้ข้อสรุปยังไงครับ ฯลฯ พูดมาเลยครับ ไม่ต้องเกรงใจใคร

ทั้งนั้น

มีอะไรที่ยังติดๆขัดๆอยู่ก็ว่าไป :b12:



:b5: ยอมรับว่ายังสับสนอยู่ค่ะ :b16:

:b10: และมีข้อสงสัยว่า สมมติว่าเราเจ็บขาเพราะขาหัก เลยหดหู่ใจเพราะจะเดินไปไหนลำบากหรือเดินไม่ได้ไปหลายวัน มี 3 อย่างเกิดขึ้นพร้อมกัน เราจะดูอะไรก่อนคะ ดูขาที่หัก ดูความรู้สึกเจ็บปวด หรือดูอารมณ์หดหู่ใจก่อน

:b10: และไม่เข้าใจคำว่า การรู้ธรรม (ธรรมานุปัสสนา) นี้เกิดขึ้นหลังจากการรู้กาย (กายานุปัสสนา) การรู้เวทนา (เวทนานุปัสสนา) และการรู้อารมณ์ (จิตตานุปัสสนา) ทั้ง 3 อย่าง หรือเกิดพร้อมกับการรู้อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้คะ


แก้ไขล่าสุดโดย รินรส เมื่อ 24 ก.ค. 2009, 23:04, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2009, 00:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


1. เข้าใจถาม.. ขาที่เจ็บเอาไปให้หมอดู :b12: ปวดเป็นอารมณ์ห้ามไม่ได้ ... ทุกข์เกิดที่ใจ ดับที่ใจ

2. จะปฏิบัติธรรมก็ต้องมองเห็นธรรมก่อน ที่คุณถามมานี่มันสำหรับผู้ที่มีดวงตาเห็นธรรมแล้ว เหมือนกับคุณจะถามว่าบนดาวอังคารเป็นอย่างไร ต่อให้เป็นมนุษย์ดาวอังคารมาเล่าเอง คุณก็จิตนาการไม่ออกหรอก ต้องไปให้ถึงดาวอังคารให้ได้แล้วจะรู้เอง

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2009, 07:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


ผมเห็นใจคุณรินรสเลย ผมเองก็มีส่วนทำให้กระทู้นี้เป็นสนามรบด้วย ต้องแก้ตัวหน่อยแล้ว

รินรส เขียน:
:b10: และมีข้อสงสัยว่า สมมติว่าเราเจ็บขาเพราะขาหัก เลยหดหู่ใจเพราะจะเดินไปไหนลำบากหรือเดินไม่ได้ไปหลายวัน มี 3 อย่างเกิดขึ้นพร้อมกัน เราจะดูอะไรก่อนคะ ดูขาที่หัก ดูความรู้สึกเจ็บปวด หรือดูอารมณ์หดหู่ใจก่อน


หลังจากพยาบาลตัวเองสมควรแล้ว ถ้าจะดำเนินตามแนวสติปัฏฐาน ๔

อาการตรงไหนชัด รู้ตรงนั้นก่อน เราต้องรู้ตรงที่ชัดเจน จะเห็นสภาวะง่ายที่สุด ถ้าตรงไหนไม่ชัด
เราไปเพ่งพยายามดู ก็จะเป็นการฝืน จะลำบากขึ้นมาอีกข้อ แต่ผม แนะนำให้รู้ใจที่กำลังหดหู่ก่อน
เพราะหดหู่เป็นนิวรณ์ที่ขวางการเห็นตามจริง วางเฉยในอารมณ์นั้นให้ได้ก่อน แล้วอันอื่นจะทำให้เห็นหรือ
ดูหรือรู้ได้ง่าย
หลังจากนั้นจึงไปดูทางกายว่า อาการหรือสภาวะอันไหนชัด เอาสติไปรู้ตรงนั้น
ถ้าไม่ไหว สมาธิไม่ดี ลองเพิ่มบริกรรมไป เช่น หดหู่หนอ ถ้าสติอยู่ที่เวทนาที่ปวดหรือเจ็บ ก็เลือกอย่างใดอย่าง
หนึ่งขึ้นมาช่วย เช่น ปวดหนอ เจ็บหนอ อย่าไปอยากให้หาย วางเฉยกับอาการที่เรารู้อยู่


รินรส เขียน:
:b10: และไม่เข้าใจคำว่า การรู้ธรรม (ธรรมานุปัสสนา) นี้เกิดขึ้นหลังจากการรู้กาย (กายานุปัสสนา) การรู้เวทนา (เวทนานุปัสสนา) และการรู้อารมณ์ (จิตตานุปัสสนา) ทั้ง 3 อย่าง หรือเกิดพร้อมกับการรู้อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้คะ


ในสติปัฏฐาน ไม่จำกัดว่าอะไรเกิดก่อนหลัง เราไม่มุ่งตรงนั้นมาก มุ่งตรงที่อะไรชัด รู้ตรงที่ชัด
เช่นกายนั่งอยู่เฉยๆ อารมณ์หรือธรรมก็มีได้ เอาสติอยู่ตรงที่เรารู้ชัดเจนที่สุดดีกว่าครับ ถ้าเรากำหลังรู้อะไรอยู่
แล้วมีที่ชัดกว่าเกิดขึ้น ก็ละอันเก่า ไปรู้อันใหม่ที่ชัดที่เกิดขึ้น ในกรณีคุณสงสัยว่ากายกับใจจะรู้อะไรก่อน
ผมแนะนำว่า ให้ไปรู้ที่ใจก่อน เพราะเมื่อใจวางเฉยได้ระดับหนึ่งแล้ว อย่างอื่นเช่นกาย เวทนา จะรู้ง่าย

เท่านี้พอเป็นตัวอย่างครับ การปฏิบัติ รายละเอียดจะมาก ต้องส่งความรู้สึกเพื่อปรับปรุงแก้ไขกันเรื่อยๆ
และต้องใช้เวลา สมจริงดังดำรัสว่า การล่วงทุกข์ด้วยความเพียรเล็กน้อยไม่มี

:b8: ขอประทานโทษ ที่มาทำกระทู้คุณเลอะหลายโพสเลย

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2009, 07:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 เม.ย. 2009, 19:55
โพสต์: 548

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:
ผม POST รายละเอียดลงอีกกระทู้หนึ่ง ลองอ่านดูนะครับ พอไม่อธิบายตามนัยอภิธรรมนี่ยาวเหยียด ฉบับนี้ผมคัดลอกเอามาจากของอาจารย์สินทพอีกที :b12:



ยินดีที่ได้รู้จักนะครับ...
:b8: :b8: :b8:
:b16: :b16: :b16:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2009, 08:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ยอมรับว่ายังสับสนอยู่ค่ะ

และมีข้อสงสัยว่า สมมติว่าเราเจ็บขาเพราะขาหัก เลยหดหู่ใจ เพราะจะเดินไปไหนลำบากหรือเดินไม่ได้ไปหลายวัน มี 3 อย่างเกิดขึ้นพร้อมกัน เราจะดูอะไรก่อนคะ ดูขาที่หัก
ดูความรู้สึกเจ็บปวด หรือ ดูอารมณ์หดหู่ใจก่อน



ขณะ รู้สึกเจ็บ ก็ดูเจ็บ (เห็นเจ็บ) รู้สึกหดหู่ ก็ดูหดหู่ (เห็นความรู้สึกหดหู่) ดูความคิดที่คิดว่า
ไปไหนลำบาก ...ฯลฯ ตามดูรู้ทันความคิด ความรู้สึกแต่ละขณะๆ ไม่ก่อนไม่หลัง อะไรกระทบรู้สึกก็อันนั้นก่อน

ธรรมชาตินามธรรมจะเกิดไม่พร้อมกันขณะหนึ่งๆสามสี่อย่าง ดูตัวอย่าง ขาหัก (ก่อนแล้ว) จึงรู้สึกเจ็บ
(ขณะจิตหนึ่ง),
หดหู่, (ขณะจิตหนึ่ง)
นึกเสียใจ, (ทำให้เสียงานเสียเงิน) (ขณะจิตหนึ่ง)
โกรธตนเอง, (ที่เดินซุ่มซ่ามจนหกล้มขาหัก) (ขณะจิตหนึ่ง) ฯลฯ
สังขารธรรมปรุงแต่งไปได้หลากหลาย

ขณะนั้นอารมณ์ใดชัดก็จับอารมณ์นั้น แต่ไม่ใช่ดูแช่ถึงขั้นว่า อะไรเกิดแล้วไม่รับรู้นะครับ
(ขั้นการฝึกเบื้องต้นจะเป็นทำนองนั้น อะไรเกิดทางทวารใด ก็รู้ทางทวารนั้นตามเรื่องนั้นๆ)


ภาคปฏิบัติ: ขั้นต้น ขาหักก็ไป รพ. พบแพทย์ ต่อไปเป็นหน้าที่ของหมอจะเข้าเฝือกหรือทำอะไรก็ว่า
ของท่านไป

ส่วนตัวเรา ก็ดูอารมณ์ตนเองแต่ละขณะๆไป ขณะนั้นคิดยังไง ก็อย่างนั้น จับปัจจุบันอารมณ์แต่ละขณะๆไป ตั้งแต่ออกจากบ้าน จนถึง รพ. ออกจาก รพ. จนกระทั่งวาระสุดท้ายของชีวิตที่อยู่บนโลก
ใบนี้ (ดูกันจนวันตายว่างั้น)



อ้างคำพูด:
และไม่เข้าใจคำว่า การรู้ธรรม (ธรรมานุปัสสนา) นี้เกิดขึ้นหลังจากการรู้กาย (กายานุปัสสนา) การรู้เวทนา (เวทนานุปัสสนา) และการรู้อารมณ์ (จิตตานุปัสสนา) ทั้ง 3 อย่าง หรือเกิดพร้อมกับการรู้อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้คะ



ประเด็นนี้เกิดจากความสับสนของผู้สอนเอง ที่คิดปรุงแต่งธรรมะให้เป็นไปตามความต้องการของตน
จึงเกิดความวุ่นวายขึ้น

คำถามท่อนนี้หากคุณรินรส อ่านคำตอบที่ผ่านมาเข้าใจแล้ว ประเด็นนี้จะตกไป

สมมุติกำลังนั่งภาวนาอยู่นะครับ โดยจับลมหายใจเข้า-ออก หรือ ท้องพองขึ้นยุบลง เป็นอารมณ์
(= กายานุปัสสนา)

ส่วนอีกสามฐานที่เหลือ ฐานใดปรากฏกระทบความรู้สึก ก็รับรู้ฐานนั้นด้วย (โดยละกายานุปัสสนาก่อน) รับรู้แล้วจบ ขณะหนึ่ง
ฐานใดไม่เกิด ก็ไม่เกิด (เรื่องของมัน) ไม่พึงบีบคั้นทำเพื่อให้มันเกิด
(มีโยคีบางคน บีบคั้นตนเอง เพื่อให้เกิดเวทนา เพื่อจะดูเวทนา ผิดแล้ว เป็นอัตตกิลมถานุโยคแล้ว)

สรุปง่ายๆก็ว่า ลมเข้าลมออก หรือ พองยุบเป็นอารมณ์หลัก (ฝ่ายกายานุปัสสนา) ที่เหลืออันใดปรากฏก็รับรู้ ไม่เกิดก็ไม่เกิด เราก็ภาวนาลมเข้า-ออก หรือ พองยุบไป ก็เท่านี้เอง :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2009, 11:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 21:22
โพสต์: 264

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตอนแรกคิดว่าการดูขาก็เป็นกายานุปัสสนาด้วย ถ้าดูจนรู้จะเข้าใจว่าขาหรือกายเป็นกลุ่มของธาตุที่มารวมกัน ไม่มีส่วนใดเป็นกาย (ทำนองนี้) เลยสงสัยค่ะ

ที่จริงมีคำถามอีกค่ะ (ก็คือไม่ใช่เลือกแบบใดแบบหนึ่ง แต่เกิดอะไรขึ้นก็รู้ทันมัน เพราะฉะนั้นก็ต้องใช้ทุกแบบใช่มั้ย เพราะแต่ละวันจะเกิดอะไรขึ้นมากมาย) แต่พออ่านคำแนะนำของคุณกามโภคีและคุณกรัชกายแล้ว ก็ไม่ต้องถามแล้วค่ะ


แก้ไขล่าสุดโดย รินรส เมื่อ 21 ก.ค. 2009, 12:47, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2009, 12:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.พ. 2009, 20:42
โพสต์: 699


 ข้อมูลส่วนตัว


รินรส เขียน:
ถ้าดูจนรู้จะเข้าใจว่าขาหรือกายเป็นกลุ่มของธาตุที่มารวมกัน ไม่มีส่วนใดเป็นกาย (ทำนองนี้)


จะทำอย่างนั้นได้ ต้อง ไม่ ตั้งใจทำ ถ้าตั้งใจทำก็จะเป็นการ แสร้ง ว่าเข้าใจ แต่จริงๆ ไม่ ซึ่งเมื่อถึงเวลาที่ต้องใช้ญาณนี้จริงๆ ก็จะรู้ว่าตนเองไม่ได้จริง
มันเป็นวิปัสสนาญาณระดับสูง (sorry, ยังไม่ได้ไปดูตำราว่า คือญาณอะไร) วิปัสสนาญาณหลายๆ ตัว โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับสังขาร จำเป็นต้องใช้สมาธิระดับฌาณ และเมื่อเวลาที่ได้ญาณนี้ ก็จะได้แบบไม่รู้ตัว (คือเมื่อเกิดเหตุขึ้น เราถึงจะรู้ว่า อ้อ เราได้ญาณนี้แล้ว)
ว่าง่ายๆ คือ วิปัสสนาญาณหลายๆ ตัว มันเป็น ผลต่อเนื่องมาจากฌาณ สมาธิที่ว่าเป็น หินทับหญ้า นั่นแหล่ะ เมื่อทับไปนานๆ หญ้าก็เริ่มตาย เมื่อหญ้าน้อยลงๆ ญาณทั้งหลายจึงค่อยๆ ปรากฎ

ยกตัวอย่างเช่น อุเบกขาญาณ นั่งพิจารณาวางเฉยๆ มานาน เจออะไรก็ข่มจิตข่มใจ วางเฉยๆ ทำจนชินเป็นนิสัย นานเข้าก็คิดว่าได้อุเบกขาญาณ วันหนึ่งแฟนทิ้ง ฟูมฟายใหญ่ กลายเป็นที่วางเฉยมานั้น ไม่ใช่ญาณ แต่เป็นการกดข่มจนเป็นนิสัย


เราเป็นขั้นเริ่มปฏิบัติ บางทีก็อย่ารู้มาก เรียนมัธยมก็อย่าเอาตำราปริญญาโทมาอ่าน พอทำไม่ได้ก็จะ ท้อถอย บั่นทอนตัวเองเสียเปล่า
ในขั้นต้นที่สุด แค่พยายามขจัด ความฟุ้งซ่าน แค่นั้นก็เพียงพอ และการขจัดความฟุ้งซ่านนั้น ไม่ต้องอ่านตำราใดๆ

บางคนอยากมีอภิญญา ถ้ามีฤทธิ์จะทำอย่างโน้นอย่างนี้ นั่งสมาธิไปก็ฟุ้งไป นึกครึ้มอกครึ้มใจ ยิ่งนั่งก็ยิ่งฟุ้ง พอฟุ้งมากเข้าก็เริ่มอิจฉาคนที่ทำได้ ก็ยิ่งฟุ้งหนักเข้าไปอีก ยิ่งพยายามก็ยิ่งห่างไกลจากสมาธิ...

การรู้มากจึงเป็นปัญหาของผู้เริ่มต้น


ปล. ถ้าชาติสยามอยากโดนทุบอีก เดี๋ยวอาตมาจะอัญเชิญฤาษีผู้ทรงหิดธิฤทธิ์มาทุบให้ เอาม๊ะ รับรองหวานฉ่ำ น่วมอร่อย ฤาษีท่านนี้ ข่าวว่า ยังนิรนามหาชื่อไม่ได้ อิอิ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2009, 12:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3832

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


murano เขียน:
ปล. ถ้าชาติสยามอยากโดนทุบอีก เดี๋ยวอาตมาจะอัญเชิญฤาษีผู้ทรงหิดธิฤทธิ์มาทุบให้ เอาม๊ะ รับรองหวานฉ่ำ น่วมอร่อย ฤาษีท่านนี้ ข่าวว่า ยังนิรนามหาชื่อไม่ได้ อิอิ


555
แหม รอจังหวะมานานล่ะสิ ฝากบัญชีกินดอกไว้นานแล้วใช่มั๊ย
อยากจะเบิกมาใช้แล้วล่ะสิ

ยังก่อน....

ฝากต่อไปเถิด ยังไม่ให้ปิดบัญชี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2009, 13:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 21:22
โพสต์: 264

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รินรส เขียน:
ตอนแรกคิดว่าการดูขาก็เป็นกายานุปัสสนาด้วย ถ้าดูจนรู้จะเข้าใจว่าขาหรือกายเป็นกลุ่มของธาตุที่มารวมกัน ไม่มีส่วนใดเป็นกาย (ทำนองนี้) เลยสงสัยค่ะ


พูดตามความหมายของคำว่า "กายานุปัสสนา" เท่านั้นเองค่ะ
ที่เอาคำนี้มาเพราะสงสัยว่าถ้าขาหัก เจ็บขา ไม่ต้องดูขาเหรอ ไปหาหมอให้หมอรักษาเลย แล้วค่อยตามดูอารมณ์ความรู้สึกที่เกิดจากขาหักเจ็บขาเหรอ แค่นี้จริง ๆ ค่ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2009, 14:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




m209063.jpg
m209063.jpg [ 100.37 KiB | เปิดดู 4868 ครั้ง ]
อ้างคำพูด:
"กายานุปัสสนา"


กายานุปัสสนา - กาย+อนุปัสสนา = กายานุปัสสนา การตามดูรู้ทันกาย,การพิจารณากาย
กาย ได้แก่ ร่ายกายทั้งองค์คาพยพ แล้วก็ไม่ได้ดูลึกถึงกับแยกแยะ เป็นธาตุดิน ธาตุน้ำ ฯลฯ
เพียงแต่พิจารณาดูการเคลื่อนไหวของมัน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 06 ต.ค. 2009, 20:03, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2009, 23:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:
พระโมคลาและพระสารีบุตรเป็นพราหมณสำเร็จฌานขั้นสูง หากจะเอามาเทียบกันคนธรรมดานั้นคงไม่ได้นะครับ ถ้าจะหากรณีที่ไกล้เคียง ก็ต้องไปดูการสำเร็จมรรคผลของชาวบ้านธรรมดา รบกวนพิจารณาด้วยนะครับ


ขอพระสูตรอ้างอิงหน่อยว่าท่านเป็นพราหมณ์ได้ฌานชั้นสูงมา อย่าได้พูดลอยลม

Supareak Mulpong เขียน:
ผู้ตั้งกระทู้นี่มีความเข้าใจว่าสมาธิสามารถลดโมหะโทสะได้ เจตนาของเขาจริงๆ ก็คือต้องการขัดเกลานิสัย เมื่อเราเห็นพิจารนาแล้วว่า หากชี้ทางให้ไปทำสมาธิ ทั้งๆ ที่รู้ว่า สมาธิแก้อุปนิสัยเหล่านี้ไม่ได้ ก็จะถือเป็นการชี้ทางส่งเดชเท่านั้น ท่านผู้รู้ทั้งหลายลองพิจารณาด้วยนะครับ


เจ้าของกระทู้เข้าใจถูกแล้ว อย่าบิดเบือนเขา เริ่มที่สมาธิ ก็มีส่วนอยู่ ไม่ไช่ไม่มีส่วน

Supareak Mulpong เขียน:
ผมมีกลุ่มตัวอย่างกลุ่มหนึ่ง ปฏิบัติสมถกรรมฐานมากว่า 30 ปี ไม่มีไครที่มีนิสัยเปลี่ยนแปลงเลย มีเสียงเข้าหูแล้วเคยโมโหอย่างไรก็โมโหอย่างนั้น ถ้าหา case ได้ลองถามแบบเปิดใจนะครับ เพราะส่วนมากจะไว้ตัว กลัวคนต่อว่าว่าทำสมาธิมาตั้งนานแล้วไม่ได้อะไร


เขาไม่ต่อยอดนอกจากนี้ไปซิครับ ถ้าต่อยอดไป ก็เจริญเรื่องอารมณ์มากๆ ที่คุณเห็น ไม่ไช่ที่ผมเห็น
แต่ที่คุณเห็นเป็นผม คุณอาจไม่กล่าวแบบนี้

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ค. 2009, 23:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 21:22
โพสต์: 264

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
อ้างคำพูด:
"กายานุปัสสนา"


กายานุปัสสนา - กาย+อนุปัสสนา = กายานุปัสสนา การตามดูรู้ทันกาย,การพิจารณากาย
กาย ได้แก่ ร่ายกายทั้งองค์คาพยพ แล้วก็ไม่ได้ดูลึกถึงกับแยกแยะ เป็นธาตุดิน ธาตุน้ำ ฯลฯ
เพียงแต่พิจารณาดูการเคลื่อนไหวของมัน



:b8: ขอบพระคุณค่ะ เข้าใจแล้วค่ะ :b16:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 90 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร