วันเวลาปัจจุบัน 06 พ.ค. 2025, 06:37  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 90 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ค. 2009, 20:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


งั้นรบกวนถามคุณ murano หน่อยนะครับว่า นั่งสมาธิแบบที่คุณได้กรุณาแนะนำมานั้นมันทำให้ความโมโห ลดลงไปได้อย่างไรครับ

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ค. 2009, 21:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:
ถ้าคุณรินเป็นคอมพิวเตอร์ ผมจะ upload ข้อมูลให้ :b12: มันต้องเรียนก่อน คิดตาม แล้วถึงจะปฏิบัติ ทีแรกก็จะคิดว่ามันยาก (ก็ไม่ได้บอกว่ามันง่ายนะ) ต่อๆ ไปก็จะรู้เองว่าไม่ได้ยากอย่างที่คิด


มีคนมาขอกรรมฐาน บอกเดินจงกรมอย่างนี้ กำหนดแบบนี้ นั่งแบบนี้ กำหนดแบบนี้
ใส่ใจแบบนี้ ไม่ได้บอกเรื่องไตรลักษณ์เลย บอกต่อว่า มาส่งอารมณ์บ้างนะ

จะถือว่าไม่ได้เรียนหรือเปล่าครับ .... :b12: :b12: :b12:
อย่างไหนเรียกว่าเรียนครับ พระสารีบุตรไม่เห็นเรียนอะไรเลย พระโมคคัลลานะก็ไม่ได้เรียน
บวชเสร็จรับกรรมฐาน เข้าถ้ำเลย ยิ่งพระสารีบุตรด้วย ฟังคำพระอัสสชิก็บรรลุโสดาบันเลย
ไม่เห็นพระอัสชิบอกเรื่องไตรลักษณ์เลย มีหลายรูปด้วย

ผมว่ามัวหาหนังสืออ่าน แล้วมาคิด กว่าจะปฏิบัติ ช้าไปหรือเปล่า อ่านมากคิดมาก
เดี๋ยวจะเข้าใจตัวเองว่าบรรลุแล้วจะเผลอสติไปว่าคนโน่นคนนี้ว่าไม่รู้ไม่เป็น
จะไม่ดีเอานะครับ

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ค. 2009, 21:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3832

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


หลวงพ่อที่แนะนำ 3 ท่านนะ จำชื่อท่านไว้ให้ดี
แล้วตามหาท่านนะ ตามร่องรอยของท่านไป
3 ท่านนี้สอนธรรมะง่าย เน้นปฏิบัติ
หลวงพ่อพุธ ฐานิโย
หลวงพ่อสุรศักดิ์ เขมรังสี
หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชโช

อ่าน 3 เล่มนี้ก่อนนะ แล้วเดี๋ยวจะมี road map ของตัวเอง
http://00.w-file.net/pramote/books/newcomer_thai.pdf
http://00.w-file.net/pramote/books/patibudtham.pdf
http://www.kanlayanatam.com/Myimage-ind ... islife.htm
http://www.kanlayanatam.com/Myimage-ind ... book70.htm
http://www.kanlayanatam.com/Mybookneanam/patibattam.htm

อ่านหนังสือสบายใจกว่าเนาะ


แก้ไขล่าสุดโดย ชาติสยาม เมื่อ 19 ก.ค. 2009, 21:56, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ค. 2009, 21:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3832

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


เราก็เคยเป้นอย่างนี้แหละ
แล้วมาโดนอย่างนี้

เป๊ะๆเลยนะ :b32:

"ลูกกระท้อนหนา ถ้าจะให้หวาน ค่อยๆทุบรับทาน หวานขึ้นมาได้"

ว่าแต่คนทุบ อย่าทุบเพลินนะ :b32:
แล้วก็เห็นชอบทุบมาตั้งนานนม ได้กินหวานมั่งหรือยังเนียะ :b32: :b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ค. 2009, 22:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


พระโมคลาและพระสารีบุตรเป็นพราหมณสำเร็จฌานขั้นสูง หากจะเอามาเทียบกันคนธรรมดานั้นคงไม่ได้นะครับ ถ้าจะหากรณีที่ไกล้เคียง ก็ต้องไปดูการสำเร็จมรรคผลของชาวบ้านธรรมดา รบกวนพิจารณาด้วยนะครับ

ผู้ตั้งกระทู้นี่มีความเข้าใจว่าสมาธิสามารถลดโมหะโทสะได้ เจตนาของเขาจริงๆ ก็คือต้องการขัดเกลานิสัย เมื่อเราเห็นพิจารนาแล้วว่า หากชี้ทางให้ไปทำสมาธิ ทั้งๆ ที่รู้ว่า สมาธิแก้อุปนิสัยเหล่านี้ไม่ได้ ก็จะถือเป็นการชี้ทางส่งเดชเท่านั้น ท่านผู้รู้ทั้งหลายลองพิจารณาด้วยนะครับ

ผมมีกลุ่มตัวอย่างกลุ่มหนึ่ง ปฏิบัติสมถกรรมฐานมากว่า 30 ปี ไม่มีไครที่มีนิสัยเปลี่ยนแปลงเลย มีเสียงเข้าหูแล้วเคยโมโหอย่างไรก็โมโหอย่างนั้น ถ้าหา case ได้ลองถามแบบเปิดใจนะครับ เพราะส่วนมากจะไว้ตัว กลัวคนต่อว่าว่าทำสมาธิมาตั้งนานแล้วไม่ได้อะไร

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ค. 2009, 22:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




96.jpg
96.jpg [ 135.75 KiB | เปิดดู 3507 ครั้ง ]
สงสัยไมนั่งเกิน 30 นาทีต้องบวชชี ไม่เข้าใจ :b1:

ขอความเห็นคุณชาติสยามหน่อย :b16: ได้กินของหวานมาบ้างแล้วคงพอให้ความกระจ่างได้ :b32:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 06 ต.ค. 2009, 19:57, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ค. 2009, 23:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3832

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:
ผู้ตั้งกระทู้นี่มีความเข้าใจว่าสมาธิสามารถลดโมหะโทสะได้ เจตนาของเขาจริงๆ ก็คือต้องการขัดเกลานิสัย เมื่อเราเห็นพิจารนาแล้วว่า หากชี้ทางให้ไปทำสมาธิ ทั้งๆ ที่รู้ว่า สมาธิแก้อุปนิสัยเหล่านี้ไม่ได้ ก็จะถือเป็นการชี้ทางส่งเดชเท่านั้น ท่านผู้รู้ทั้งหลายลองพิจารณาด้วยนะครับ

ผมมีกลุ่มตัวอย่างกลุ่มหนึ่ง ปฏิบัติสมถกรรมฐานมากว่า 30 ปี ไม่มีไครที่มีนิสัยเปลี่ยนแปลงเลย มีเสียงเข้าหูแล้วเคยโมโหอย่างไรก็โมโหอย่างนั้น ถ้าหา case ได้ลองถามแบบเปิดใจนะครับ เพราะส่วนมากจะไว้ตัว กลัวคนต่อว่าว่าทำสมาธิมาตั้งนานแล้วไม่ได้อะไร


อย่างนี้นะ

เปรียบว่าใจเราเป้นเด็ก

เด็กก้ต้องซุกซนตามประสาเด็ก ธรรมชาติของเด็ก
ซุกซนไปเรื่อยเปื่อย

จะเปรียบเป็นเด็กสองครอบครัวนะ
บ้านแรก เข้มงวดกับลูกทุกกระเบียดนิ้วเลย เด็กเรียบร้อยมาก ได้อย่างใจ ไม่มีไหวติง

บ้านที่สอง ปล่ิอยเด็กหกคะเมนตีลังก้าซุกซนไปตามประสาเด็ก
แต่ก้ไม่ปล่อยนะ คอยดูอยู่
เด็กมันก็ไปเล่นเรื่อยเปื่อย ปรากฏว่าหกล้มร้องไห้แงๆ มันด็เจ็บ
คราวนี้ก้จำได้ว่าถ้าเราวิ่งไม่ระวัง มันก็หกล้ม
เด็ก็เรียนรู้ไปตามธรรมชาติว่าทำยังไงเจ็บก็ไม่ทำ
ทำยังไงมีความสุข ทำยังไงสบาย มันก้จะค่อยๆเรียนรู้สั่งสมประสบการณ์ไป
แต่พ่อแม่บ้านนี้ไม่ปล่อยนะ ดูตลอด ถ้าเวลาเด็กเกินเลยนี่ก้จะดุ
ถ้ามันเริ่มบานปลายนอกขอบเขต พ่อแม่บ้านนี้ก้ค่อยจะลงมือบังคับลูก
เรียกว่าให้ซนอย่างมีขอบเขต


เด็กบ้านแรกนี่แหละ มิจฉาสมาธิ คือมีทิฐิว่าจิตใจนี้บงการได้ บังคับบัญชาได้
เลยกดมันเอาไว้ ไม่ให้มันชั่ว บังคับให้มันทำดี
เด็กบ้านนี้ เมื่อไหร่อยู่ในสายต่อพ่อแม่ ใจอยู่ในสมาธิล่ะก็
เรียบร้อยอย่างกับกระดาษ A4 เรียงกันอยู่ในรีม
แต่เมื่อไรห่ที่ไม่อยู่ในสายตาพ่อแม่ ไม่อยู่ในสมาธิ สมาธิเอาไม่อยู่ล่ะก้
โหย เจ้าประคุณ ภูเขาไฟระเบิดสะหนั่นหวั่นไหว


บ้านที่สองคือสัมมาสมาธิ คือเรียนรู้ไปตามความป้นจริงว่าใจเรามันซุกซน
มีอยากดี อยากเลว แต่เราก็ค่อยๆเรียนรู้ให้ทันไป ว่าดีแล้วสบาย ซนแล้วเจ็บ
ทำอย่างนั้นแสบร้อน ทำอย่างนี้เย็นสบาย ก็เรียนรู้ไปตามสมรรถนะของเขา
โดยที่เรามีศีลมาทำหน้าที่เป้นพ่อแม่เรา คอยบังคับในกรณีที่มันจะออกนอกลู่นอกทาง
กล่าวคือเราปล่อยให้ความดีความเลวมันอยู่ในใจ
ไม่ปล่อยมันออกมาทางกาย ออกมาเป้นวาจา ไปทำร้ายใครอะไรมาก
เพราะฉะนั้นเด็กบ้านนี้จะอยู่กับโลกของความเป็นจริงได้ ดีก็รับมือได้ ชั่วก้รับมือได้


แต่เด็กบ้านแรกนี้มันผิดธรรมชาติ จะเอาแต่ดี ไม่เอาชั่ว มีชั่วก็กดไว้เสียจมมิด
กดไว้ได้ก็ดีใจว่าไม่มีความเลว ไม่มีความโกรธ หลอกตัวเองไปอีก
หลอกตัวเองนานเข้าก็เลยเข้าใจว่าตัวไม่มีความโกรธ มีทิฐิว่าใจเรานี้บังคับได้
ถ้าจะไม่โกรธ ก้คือกดความโกรธเอาไว้ แล้วเข้าใจว่านี่คือวิธีจัดการกับความโกรธ
ซึ่งไม่จริง ไม่มีใครไม่โกรธ ธรรมชาติปกติมนุษย์ต้องโกรธ

คนไม่โกรธเหรอ นู่นนน...............น พระอรหันต์นู่นนนนนน....นน
ขนาดพระอนาคามียังมีกระทบกระทั่งทางใจนะ ยังมีหงุดหงิด (ปฏิฆะ)

เด็กบ้านแรกมันไม่เรียนรู้ธรรมชาติตรงนี้ไง แล้วไปพยามบังคับธรรมชาติ
ส่วนเด็กบ้านหลังมันเรียนไปตามธรรมชาติ แล้วก็เลยรู้วิธีอยู่กับธรรมชาติ

สมาธิก็แบบนี้แหละ
สมาธิมีสติ เรียนรู้ไปตามความเป็นจริง ก็เป้นสัมมาสมาธิ มีผลคือถอดถอนกิเลสได้
ีup level ขึ้นไปเรื่อยๆได้

สมาธิที่ไม่มีสติ ดัดแปลงความจริง บงการความจริง ผลคือข่มกิเลสได้ชั่วคราว
มีได้เลื่อนขั้นไปไหนเลย มีแต่"กดอยู่"กับ"กดไม่อยู่"แค่นั้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ค. 2009, 23:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3832

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
สงสัยไมนั่งเกิน 30 นาทีต้องบวชชี ไม่เข้าใจ :b1:
ขอความเห็นคุณชาติสยามหน่อย :b16: ได้กินของหวานมาบ้างแล้วคงพอให้ความกระจ่างได้ :b32:


:b32: :b32: :b32:
หยิกนิด สะกิดหน่อย เท่านั้นเอง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ค. 2009, 02:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
บ้านที่สองคือสัมมาสมาธิ คือเรียนรู้ไปตามความป้นจริงว่า...


อย่างไรที่จะเรียกได้ว่ารู้ตามความเป็นจริงละครับ... เท่าที่ผมรู้มา ไอ้ตัวที่บดบังไม่ให้เราเห็นตามความเป็นจริงคือโมหะ หรือเรียกกันว่าอวิชชา (เป็นเจตสิกตัวหนึ่งติดกับเรามาตั้งแต่เกิด) ถ้าจะให้ห็นตามความเป็นจริงอย่างคุณว่า ต้องดับโมหะให้ได้ก่อนเท่านั้น สมาธิที่ได้จึงจะถือว่าเป็นสัมมาสมาธิ (คือสมาธิที่ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิด คือ ไม่มีเจตสิกกลุ่มโมหะเกิดขึ้นมาประกอบกับจิต) อยู่ดีๆ ไปทำสมาธิ ก็จะได้มิจฉาสมาธิ บำเพ็ญลงนรกดีๆ นี่เอง ตั้งหน้าตั้งตาลงไปเองด้วย ไม่มีไครห้าม

ดับโมหะก็ต้องใช้อโมหะ หรือเรียกกันทั่วๆ ไปว่า ปัญญา (เป็นเจตสิกที่เป็นอริกัน) ถ้าจะทำให้เกิดปัญญา ก็ต้องทำวิปัสสนาภาวานา (ไม่ใช่วิปัสสนากรรมฐาน) และก็ต้องทำทุกวันจนกว่าปัญญาจะไล่ตามโมหะทัน ... ไครว่ามีทางอื่นก็แนะนำด้วย

ก็แปลว่า จะทำสมาธิได้ต้องจบวิปัสสนามาก่อน ... แล้วจะวิปัสสนาได้อย่างไรถ้าไม่รู้จักไตรลักษณ์ ...

เมื่อโมหะดับ คิดอะไรทำอะไรก็ไม่ผิดไม่หลง เพราะโมหะไม่มีมาปรุงแต่งอารมณ์แล้ว จึงเรียกได้ว่าสัมมาทิฏฐิเกิด ตอนนี้ทำอะไรก็ไม่หลง เพราะความหลงตามปัญญาไม่ทันแล้ว สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ (ศีล) ก็จะเกิดขึ้นเองโดยอัตโนมัติ ไม่ต้องไปหามาจากใหน ต่อมาเมื่อเราเกิดสิติ ก็ถือว่าเป็นสัมมาสติ และเมื่อภาวะธรรมต่างๆ เหล่านี้เกิด นิวรณ์ธรรมทั้งหลายก็จะอ่อนกำลังลง เพราะองค์ธรรมเหล่านี้ล้วนเป็นศัตรูกับกิเลสนิวรณ์ทั้งสิ้น เมื่อเราฝึกสมาธิ สมาธิที่ได้ก็จะเป็นสัมมาสมาธิ ต่อจากนี้ เราก็สามารถปฏิบัติธรรมในขั้นที่สูงขึ้นไปได้

แปลว่า ถ้าดับโมหะได้แค่อย่างเดียว องค์ธรรมอื่นๆ ก็จะเกิดตามมาเองเป็นปฏิกริยาลูกโซ่ ผู้ดับโมหะได้ เมื่อพิจารณากาย ตามหลักสติปฐานสี่ ละความยึดถือในกายลงไปได้ ก็ถือได้ว่าสำเร็จเป็นโสดาบันบุคคล หรือสำเร็จเป็นอริยะบุคคลแล้ว

บุคคลบางคนสามารถดับโมหะได้โดยทันทีหลังจากที่พระพุทธองค์ได้ตรัสสอน หรือโดยพระอริยะสาวกองค์ใดๆ ก็ดี เพราะมีเหตุหลัก 3 ประการ คือ เป็นบุคคลที่สั่งสมเหตุปัจจัยที่จะทำให้บรรลุมรรคผลได้มาก่อนในอดีต เป็นบุคคลที่มีปัญญาติดตัวมาตั้งแต่เกิด และพระอรหันต์มีญานวิเศษในการหยั่งรู้ใจคน จึงสามารถล่วงรู้ได้ว่าบุคคลผู้นั้นเข้าใจพระธรรมและมีองค์ธรรมต่างๆ ในตัวเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง จึงสามารถสอนได้ตามภาวะบุคคล

พระพุทธองค์จึงวางแนวทางปฏิบัติสำหรับฆราวาสว่า "ทาน ศีล ภาวนา" (ภาวนา ในที่นี้คือการทำวิปัสสนาภาวนา) เมื่อภาวนาได้แล้วจึงไปเรียนเรื่อง "ศีล จิต ปัญญา"

ผมพามาถึงตรงนี้แล้ว ไครไม่คิดตามไม่ศึกษาตามก็ไม่รู้จะว่าอย่างไรแล้ว ขึ้นสวรรค์ก็เรื่องของคุณ ผมไม่ได้ขึ้นด้วยกับคุณ ลงนรกก็เรื่องของคุณ ผมไม่ได้ลงนรกด้วยกับคุณ ไปนิพพานก็เรื่องของคุณ ผมก็ไม่ได้ไปด้วยกับคุณด้วย จะทำอย่างที่ทำๆ กันอยู่ก็ตามใจ ไม่ได้มีใครห้าม

"ธรรมนี้ละเอียด รู้ได้เฉพาะบัณฑิต ปฏิบัติได้เฉพาะตน"

ความหมายแท้จริงของ “มรรค” หายสาบสูญจากโลกนี้ไปกว่า 1,400 ปีแล้ว นับตั้งแต่พระอรหันต์องค์สุดท้ายได้ดับขันปรินิพพานไปจากโลก จนกระทั่งมีผู้ศึกษาพระไตรปกฏิกและปฏิบัติธรรมจนได้โสดาปฏิผล เมื่อ พ.ศ. 2525 และได้เริ่มประมวลธรรมและนำมาเผยแพร่ ในช่วงระยะเวลาดังกล่าว โลกขาดอริยะบุคคลไม่มีแม้นแต่ผู้เดียว เพราะขาดผู้ชี้ทางที่ถูกต้อง คือประตูสู่นิพพาน ดังนั้น คุณอันยิ่งใหญ่ที่ทำให้เราในยุคนี้พบทางสู่นิพพานจึงขออุทิศให้กับ คุณสินทพ ทรวงแก้ว ผู้ซึ่งถือได้ว่า เป็นบุคคลคนแรกในรอบ 1,400 ปีที่สามารถตีความพระไตรปิฏกได้ถูกต้องตามครรลองคลองธรรม

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ค. 2009, 05:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อพูดถึงปฏิบัติกรรมฐานหรือการปฏิบัติธรรม หรือจะเรียกมันว่าอะไรสุดแล้วแต่ :b16:

ไม่ใช่ผู้รู้มากมาย แต่เท่าที่สังเกตนักธรรมบ้านเราเนี่ย มักยกศัพท์ธรรมศัพท์ใดศัพท์หนึ่งขึ้นมาพูด

เช่นว่า สัมมาสมาธิบ้าง สัมมาสติบ้าง สติตัวเดียวโดดๆบ้าง ปัญญาบ้าง หรือ สัมปชัญญะเป็นต้นบ้าง พูดๆๆ

ครั้นมีผู้ซักถามความเข้าใจเนื้อหาสาระศัพท์บาลี หน้าที่ของศัพท์แต่ละศัพท์ๆ ที่ตนกล่าวนั้นๆ ส่วนใหญ่มัก

ไม่เข้าใจ แล้วพูดทำไมกัน :b9:

ในบางรายเข้าใจศัพท์ความหมายหน้าที่ของมัน พ้นวิสัยคนออกนอกจักรวาลไปเลย :b16:



นึกถึงคำพูดของท่านเจ้าคุณพระพรหมคุณาภรณ์ที่ว่า

พุทธธรรม ถ้ารู้แจ้งเข้าใจจริงแล้ว เมื่อพูดชี้แจงอธิบาย แม้จะไม่ใช้คำศัพท์ธรรมคำบาลีสักคำเดียว
ก็เป็นพุทธธรรม
แต่ตรงข้าม ถ้าไม่รู้ไม่เข้าใจ หรือรู้ผิดเข้าใจผิด แม้จะพูดออกมาทุกคำล้วนศัพท์บาลี ก็หาใช่
พุทธธรรมไม่ กลายเป็นแสดงลัทธิอื่นที่ตนสับสนหลงผิดไปเลีย

อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ที่รู้เข้าใจด้วยกันแล้ว คำศัพท์กลับเป็นเครื่องหมายรู้ที่ช่วยสื่อถึงสิ่งที่เข้าใจได้
โดยสะดวก พูดกันง่าย เข้าใจทันที หรือ
แม้สำหรับผู้ศึกษาประสงค์จะเข้าใจ หากอดทนเรียนรู้ คำศัพท์สักหน่อย คำศัพท์เหล่านั้นแหละ
จะเป็นสื่อแห่งการสอนที่ช่วยให้เข้าใจพุทธธรรมได้รวดเร็ว


หากจะชี้แจงสั่งสอนกันโดยไม่ใช้คำศัพท์เลย ในที่สุดก็จะต้องมีศัพท์ธรรมภาษาอื่น รูปอื่น ชุดอื่น
เกิดขึ้นใหม่อยู่ดี แล้วข้อนั้นอาจจะไปสู่ความสับสนยิ่งขึ้น


โดยนัยนี้ คำศัพท์ อาจเป็นเครื่องสื่อนำไปสู่ความเข้าใจพุทธธรรมก็ได้ เป็นกำแพงกั้นไม่ให้เข้าถึง
พุทธธรรมก็ได้
เมื่อเข้าใจเช่นนี้แล้ว พึงนำศัพท์ธรรมมาใช้ประโยชน์อย่างรู้เท่าทัน คือ รู้เข้าใจ ใช้ถูกต้อง
รู้กาลควรใช้ ไม่ควรใช้ ให้สำเร็จประโยชน์ แต่ไม่ยึดติดถือคลั่ง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ค. 2009, 05:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คำว่า “ปฏิบัติธรรม” ความหมายเดิม ได้แก่ การนำเอาธรรมไปใช้ในการดำเนินชีวิต หรือ การดำเนินชีวิตตามธรรม

แต่ปัจจุบันเข้าใจเลื่อนกลายแคบกว่าของเดิม คือเช้าใจ “ปฏิบัติธรรม” ในความหมายว่า เป็นการฝึกอบรมทางจิตปัญญาขั้นหนึ่งระดับหนึ่งโดยเฉพาะ ซึ่งมีลักษณะเป็นรูปแบบ และทำไปตามแบบแผนที่ได้กำหนดวางไว้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ค. 2009, 07:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




oba41.gif
oba41.gif [ 18.27 KiB | เปิดดู 3631 ครั้ง ]
ชาติสยาม เขียน:
กรัชกาย เขียน:
สงสัยไมนั่งเกิน 30 นาทีต้องบวชชี ไม่เข้าใจ :b1:
ขอความเห็นคุณชาติสยามหน่อย :b16: ได้กินของหวานมาบ้างแล้วคงพอให้ความกระจ่างได้ :b32:
หยิกนิด สะกิดหน่อย เท่านั้นเอง


:b32: สมแล้วที่คุณรินรส พูดว่า (ตอนนี้เพิ่งเริ่มฝึกทำสมาธิด้วยการหาหนังสือมาอ่านแล้ว ฝึกปฏิบัติตาม แต่พออ่านหนังสือของครูบาอาจารย์บางท่าน รวมทั้งอ่านในเว็บธรรมะ (ตอนแรกคิดว่าอ่านมาก ๆ ก็จะรู้มาก) แต่จริง ๆ แล้วกลับทำให้สับสนค่ะ )

เข้าใจและเห็นใจจริงๆ แต่ก็ทำอะไรไม่ได้มาก ทำเท่าที่ทำได้ เพราะมีหลายความคิดความเห็นอย่าง
ที่เห็นๆอยู่จริงๆ ผู้ใหม่ในธรรมแต่มีศรัทธาย่อมสับสนดังว่า

เอาง่ายๆ ตรงนี้ มีบางรายบอกว่า นั่งเกิน 30 นาทีจะต้องบวชชี ด้วยคำแนะนำเพียงเท่านี้ ผู้เริ่มต้น
ธรรมปฏิบัติเกิดวิตกวิจารณ์แล้ว บางคนไม่กล้านั่งเกิน เพราะไม่อยากบวชชี :b32:
อาจมีบางรายสงสัยว่า อิฉันนั่งได้ ๑-๒ ชั่วโมง มิต้องไปบวชเป็นภิกษุณีหรอ :b9: ซึ่งก็ทำให้เกิดความสงสัยในขณะปฏิบัติทั้งสิ้น

การปฏิบัติธรรม หรือ ฝึกจิต ปฏิบัติกรรมฐาน (พูดให้หลายๆอย่าง กันยึดติด) มิใช่ทำด้วยความงมงายไร้เหตุผล ขั้นต่ำจะต้องรู้ว่าทำเพื่ออะไร จะไปไหน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ค. 2009, 07:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


[quote="Supareak Mulpong"]


ก็แปลว่า จะทำสมาธิได้ต้องจบวิปัสสนามาก่อน ... แล้วจะวิปัสสนาได้อย่างไรถ้าไม่รู้จักไตรลักษณ์ ...

เมื่อเราฝึกสมาธิ สมาธิที่ได้ก็จะเป็นสัมมาสมาธิ ต่อจากนี้ เราก็สามารถปฏิบัติธรรมในขั้นที่สูงขึ้นไปได้

quote]


สวัสดีค่ะ :b8:

คุณเป็นคนที่ติดรูปแบบและติดตัวหนังสือนะคะ ..



แปลว่า จะทำสมาธิได้ต้องจบวิปัสสนามาก่อน ... แล้วจะวิปัสสนาได้อย่างไรถ้าไม่รู้จักไตรลักษณ์ ...


คุณเข้าใจคำว่า ไ วิปัสสนา " ว่าอย่างไรคะ? การทำวิปัสสนาไม่จำเป็นต้องรู้จักไตรลักษณ์ก่อนหรอกค่ะ เพราะการทำวิปัสสนาคือการดูตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้น เมื่อดูตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้นได้ จึงจะเห็นตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้นได้ นั่นคือ ไตรลักษณ์ ..

คุณอ่านดีๆนะคะ ดูกับเห็น ... คุณคิดว่ามันแตกต่างกันไหมคะ?

เรื่องคำศัพท์หรือการบัญญัติคำ หลายๆคนเรื่องการปฏิบัติไม่มีปัญหา แต่มาตกม้าตายตรงยึดมั่นถือมั่นในคำเรียกต่างๆนี่แหละ เหมือนกับคำว่า " วิปัสสนา " บางคนให้ค่าให้ความหมายคำศัพท์ซะเลิศเลอ ให้ความหมายซะดูจนว่าการทำวิปัสสนานี่เป็นของที่ยากเย็นยิ่งนัก ซึ่งคนธรรมดาๆทั่วไปไม่สามารถจะทำได้ ทั้งๆที่ วิปัสสนานั้น เป็นเพียงการดูตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้น ณ ขณะนั้นๆเท่านั้นเอง เพียงแต่ว่าคนๆนั้นจะดูทันไหมหรือโดนกิเลสมันลากไปกินเอา แต่ส่วนมากจะโดนกิเลสลากไปกินเอาเพราะไม่ได้เจริญสติปัฏฐาน

เรื่องการทำสมาธิก็เหมือนกัน การทำสมาธิก็ส่วนการทำสมาธิ วิปัสสนาก็ส่วนวิปัสสนา มันทำงานคนละหน้าที่กัน คนละขณะกัน

การปฏิบัติมีขั้นด้วยหรือคะ ถ้าปฏิบัติมีขั้นนั่นคือเรามีการแบ่งเขาเราอยู่ อันนี้ยังละสักกายะทิฏฐิไม่ได้นะคะ ก็ว่าๆตามตำรานะคะอันนี้ เขามีกล่าวไว้ว่า บุคคลใดที่คิดว่าตัวเองเป็นอริยะ แต่บุคคลนั้นยังมีการแบ่งเขาแบ่งเราอยู่ ยังยึดมั่นถือมั่นในสิ่งที่ตนเองคิดว่าตนเองรู้อย่างเหนียวแน่น ยังมีการกล่าวว่าการปฏิบัติแนวทางของตนเองดีที่สุด ถูกที่สุด ของคนอื่นๆผิดทาง ยึดติดคำศัทพ์บัญญัติอย่างเหนียวแน่นฯลฯ อันนี้แค่ยกตัวอย่างมาเล็กๆน้อยๆนะคะ เพราะใครที่ยังมีคุณสมบัติพวกนี้อยู่ นี่คือไม่ใช่อริยะ แต่คนๆนี้โดนอุปกิเลสมันหลอกเอา ก็ว่าตามตำราเหมือนกันค่ะ แค่คำว่า แบ่งเขาเรา นี่ก็เห็นภาพชัดแล้วแหละค่ะ ไม่ต้องไปดูตรงอื่นๆ



ดับโมหะก็ต้องใช้อโมหะ หรือเรียกกันทั่วๆ ไปว่า ปัญญา (เป็นเจตสิกที่เป็นอริกัน) ถ้าจะทำให้เกิดปัญญา ก็ต้องทำวิปัสสนาภาวานา (ไม่ใช่วิปัสสนากรรมฐาน) และก็ต้องทำทุกวันจนกว่าปัญญาจะไล่ตามโมหะทัน ... ไครว่ามีทางอื่นก็แนะนำด้วย


วิปัสสนาภาวนาคืออะไรคะ แล้ววิปัสสนากรรมฐานคืออะไรคะ คุณพอจะอธิบายรายละเอียดให้ฟังหน่อยได้ไหมคะ?


ผมพามาถึงตรงนี้แล้ว ไครไม่คิดตามไม่ศึกษาตามก็ไม่รู้จะว่าอย่างไรแล้ว ขึ้นสวรรค์ก็เรื่องของคุณ ผมไม่ได้ขึ้นด้วยกับคุณ ลงนรกก็เรื่องของคุณ ผมไม่ได้ลงนรกด้วยกับคุณ ไปนิพพานก็เรื่องของคุณ ผมก็ไม่ได้ไปด้วยกับคุณด้วย จะทำอย่างที่ทำๆ กันอยู่ก็ตามใจ ไม่ได้มีใครห้าม


คุณกล่าวมาตั้งเยอะ เข้าใจนะคะว่าคุณมีเจตนาหวังดีต่อคนอื่นๆ แต่คุณคงลืมไปกระมังว่า กุศลแต่ละคนสร้างสั่งสมมาไม่เท่ากัน ทุกคนย่อมรู้แตกต่างกันไป การปฏิบัติจึงมีหลากหลายแนวทาง ตามเหตุปัจจัยที่ได้กระทำกันมา แล้วที่สำคัญคือ การที่ใครจะเชื่อใครหรือไม่เชื่อใครนั้น นั่นขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยที่เขาได้เคยสร้างหรือเคยกระทำร่วมกันมาด้วยนะคะ อย่าลืมสิคะ ไม่ใช่เราเห็นว่าสิ่งนี้ดี ถ้าเปรียบเทียบกับอาหาร เราเห็นว่าอาหารนี้ดีมีประโยชน์ รสชาติดี ความที่ว่าเราเป็นคนมีน้ำใจอยากให้คนอื่นๆได้ลิ้มรสอาหารนี้ก็อยากแบ่งปันให้คนอื่นๆได้ทานกันบ้าง บอกเขาแล้ว บางคนก็ลองชิม บางคนก็ปฏิเสธ แต่ผู้หวังดีเมื่อเห็นเขาปฏิเสธ ยังคงมีความหวังดีอยู่ ก็พยายามยัดเยียดให้เขากิน เคยเห็นเด็กทานยาไม๊คะ ทำไมเด็กบางคนถึงทานยาง่าย บางคนทำไมถึงทานยายาก บางทีต้องจับบีบปากแล้วกรอกยาลงไป การปฏิบัติเราจะไปทำแบบนั้นไม่ได้ เขาไม่ทำ เขาไม่สนใจ นั่นมันล้วนมีเหตุปัจจัย สิ่งที่เราคิดว่าดีที่สุด ถูกที่สุด มันก็เป้นเพียงแค่ความคิดของคนๆหนึ่งเท่านั้นเอง มันเป็นความถูกในความคิดของคนๆนั้น แต่จะใช่ถูกต้องตามความเป็นจริงหรือไม่ นั่นมันเป็นอีกเรื่องหนึ่ง

การที่คุณมาต่อว่าคนอื่นๆด้วยลักษณะแบบนี้ก็ไม่ถูกต้องเป็นการสร้างเหตุใหม่ที่เป็นอกุศลไปเปล่าๆ แทนที่จะได้กุศลกับได้อกุศลไปบันทึกไว้ในจิตแทน วางใจให้เป็นกลางๆสิคะ อย่าให้อุปทานในตัวที่เรามีอยู่ มาอยู่เหนือเหตุและผลสิคะ อ่านดๆนะคะ เหตุและผล ไม่ใช่ เพียงแค่เหตุผล ตามที่คุณเอ่ยอ้างมานะคะ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ค. 2009, 07:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
"ธรรมนี้ละเอียด รู้ได้เฉพาะบัณฑิต ปฏิบัติได้เฉพาะตน"

ความหมายแท้จริงของ “มรรค” หายสาบสูญจากโลกนี้ไปกว่า 1,400 ปีแล้ว นับตั้งแต่พระอรหันต์องค์สุดท้ายได้ดับขันปรินิพพานไปจากโลก จนกระทั่งมีผู้ศึกษาพระไตรปกฏิกและปฏิบัติธรรมจนได้โสดาปฏิผล เมื่อ พ.ศ. 2525 และได้เริ่มประมวลธรรมและนำมาเผยแพร่ ในช่วงระยะเวลาดังกล่าว โลกขาดอริยะบุคคลไม่มีแม้นแต่ผู้เดียว เพราะขาดผู้ชี้ทางที่ถูกต้อง
คือประตูสู่นิพพาน ดังนั้น คุณอันยิ่งใหญ่ที่ทำให้เราในยุคนี้พบทางสู่นิพพาน จึงขออุทิศให้กับ คุณสินทพ ทรวงแก้ว ผู้ซึ่งถือได้ว่า เป็นบุคคลคนแรกในรอบ 1,400 ปีที่สามารถตีความ
พระไตรปิฏกได้ถูกต้องตามครรลองคลองธรรม


“สินทพ ทรวงแก้ว” เป็นใครหรอขอรับ คุณ Supareak ท่านผู้นี้หรือที่รู้มรรค (ตามความหมายของคุณ) ที่แท้จริง อีกทั้งตีความพระไตรปิฎกได้ถูกต้องแม่นยำ
ที่เห็นๆ เหมือนเป็นโสดา (ตามความหมายของคุณ) ด้วย

มีคำถามขอรับ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านทั่วๆไป :b16:

คุณสินทพ ทรวงแก้ว เป็นใคร อยู่ไหน ยังมีชีวิตอยู่ไหมขอรับ

มรรค ที่แท้ ตามความเข้าใจของคุณต้องยังไงขอรับ

พระไตรปิฎกที่คุณสินทพ ตีความเนี่ย ตีมาจากบาลี หรือ ตีเอาจากที่เขาแปลๆมาให้อ่านๆกันทั่วๆไปขอรับ
เอาตรงๆชัดๆ :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ค. 2009, 11:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
การดูตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้น

ก็ไอ้นี่แหละไตรลักษณ์

1. รู้จักไตรลักษณ์ ไม่ได้แปลว่าเห็นไตรลักษณ์ พอรู้ไตรลักษณ์โดยสังเขปแล้วก็ปฏิบัติ จนเห็นไตรลักษณ์ เห็นไตรลักษณ์ก็คือเห็นธรรม ไม่เห็นธรรมแล้วไปปฏิบัติธรรมก็ตาบอดคลำช้างดีๆ นี่เอง

2. ทำไมต้องใชศัพท์เทคนิค - ก็เพราะมันไม่สามารถอธิบายให้เห็นชัดได้ตรงไปตรงมา ถ้าต่อความยาวสาวความยืดก็จะไม่จบ เหตุที่พระพุทธองค์ทรงท้อที่จะเผยแพร่ธรรมเมื่อพบสัจจะธรรม ก็เพราะเหตุนี้แหละ (เลยเลือกจะสอนเฉพาะคนที่มีปัญญาก่อน) ที่เขียนไปเพราะเห็นมีผู้คงแก่เรียนจำนวนหนึ่งที่พอจะเข้าใจอภิธรรมได้ (แต่สงสารเจ้าของกระทู้ ถามเรื่องเบื้องต้นแต่มาเจออภิธรรม :b5: ) ซึ่งอาจจะอธิบายกันต่อๆ ไปได้ สำหรับผู้ที่อ่านแล้วไม่เข้าใจ ถ้าทิ้งไปเฉยๆ ไม่ตามต่อ ก็น่าเสียดาย ถ้าจะให้อธิบาย มันก็ต้องเป็นคนต่อคน อย่างที่ผมพยายามจะยิงคำถามถามเจ้าของกระทู้นี้ตั้งแต่ต้น จะรักษาคนไข้ต้องซักประวัติก่อนถึงจะหทางรักษา และที่ให้ไปใส่บาตรสร้างมหากุศลก็เพราะให้ไปสั่งสมเหตุปัจจจัย วันนี้ไม่รู้เรื่องวันหน้าก็รู้เรื่องเอง

3. คุณสินทพ ทรงแก้วยังมีชวิตอยู่ ปัจจุบันอยู่ในจังหวัดลำพูน หมายเลขติดต่อ 053-511984 บ้านเลขที่ 206 ถใอินยงยศ อ.เมือง จ.ลำพูน 51000 ถ้าจะสะดวกโทรไปนัดแล้วไปหาแกที่บ้าน เพราะเรื่องมันยาว ผมเข้าออกบ้านนี้ครึ่งปี กว่าจะรู้เรื่องรู้ราว ถ้าอยากรู้เรื่องในพระไตรปิฎกก็ต้องอ่าน อ่านไปสักสองสามรอบ เอาชุดที่มี 45 เล่ม ที่แปลเป็นไทยแล้ว ฉบับสยามรัฐก็ได้ ถ้าอ่านได้ คุณก็อาจจะเป็นคนหนึ่งที่ตีความพระไตรปิฎกได้ แล้วก็ลองไปถามๆ ดูว่าไครอ่านพระไตรปิฎกจบมาแล้วบ้าง (ผมถามพระทุกรูปที่ผมรู้จัก ยังไม่เจอสักรูป)

อ้างคำพูด:
การปฏิบัติมีขั้นด้วยหรือคะ ...

ไปดูเรื่องปฏิจจสมุปบาท ผมทำตามที่ได้อ่านมาจากพระไตรปิฎก ทำตามพระพุทธเจ้าบอก ไม่ได้ทำตามวิธีของตนเอง

อ้างคำพูด:
วิปัสสนาภาวนาคืออะไรคะ แล้ววิปัสสนากรรมฐานคืออะไรคะ คุณพอจะอธิบายรายละเอียดให้ฟังหน่อยได้ไหมคะ?


พระพุทธองค์กล่าวว่า มนุษย์จะประเสริฐได้ด้วยการฝึก หากไม่ได้รับการฝึกแล้วก็ไม่ได้ต่างอะไรกับเดรัจฉาน

เอาศัพท์ไปหน่อยยนะ จะเรียนเคมี ฟิสิกส์ ชีวะ ไม่เอาลาติน มันก็จะลำบากในภายภาคหน้านะ
ภาวานา - เจริญ, ฝึก

วิธีการง่ายๆ ตื่นเช้ามา ลืมตามองเห็นเพดาน ก็พูดในใจว่า เพดานนี้ไม่เที่ยงเกิดดับ ตัวเรานี้ก็ไม่เที่ยงเกิดดับ เข้าห้องน้ำหยิบแปรงฟันขึ้นมาก็บอกตัวเองว่า ไอ้นี่ก็ไม่เที่ยงเกิดดับ ... ทำอย่างนี้ไปเรื่อยๆ ซักวันละชั่วโมงก่อนไปทำงาน แค่นี้แหละที่จะให้ทำ

เอาความหมายนัยปรมัติไปหน่อย เดี๋ยวจะว่ามั่ว พระสารีบุตรบอกว่า "ยังปัญญาให้เกิดขึ้นตามจิตทุกครั้งเมื่อจิตเกิดขึ้นมาเสวยอารมณ์ให้เหมือนกับรอยเท้าที่เดินตามจิต" วิธีการพูดหรือสอนตัวเองในใจหรือจะออกเสียงก็ดี จะกระตุ้นให้ปัญญาเจตสิกเกิด เมื่อทำบ่อยๆ ปัญญาอิยทรีย์จะแก้กล้า จนปัญญาเกิดขึ้นเองได้เหมือนอัตโนมัติ เหมือนคนเล่นเปียโนหรือคนพิมพ์สัมผัส ทำเหมือนไม่ได้ทำ ตั้งใจเหมือนไม่ได้ตั้งใจ ไม่ได้ให้ไปนั่งหลับตาภาวนา ถ้าไปนั่ง เจอถีนนิวรณ์เล่นงาน เดี๋ยวก็หลับ จะกดนิวรณ์เดี๋ยวก็ไปติดสมถะอีก

สุดท้าย ตั้งแต่พวกผมสอนธรรมกันมา บอกดีๆ ไม่เคยมีไครฉุกคิดเอาไปศึกษาติมตามต่อหรอกครับ ถึงมีก็น้อยมาก มีแต่เอาของเก่ามารบกัน ไม้สุดท้ายที่จะงัดมาก็ต้องวิธีนี้แหละ (กรรมมีเจตนาเป็นตัวกระทำ) และที่ผมเอามาบอก มาจากพระไตรปิฎกทั้งหมด ไม่มีความเห็นส่วนตัวปนมาเลย ลองไปค้นๆ ดูกันเองนะครับ

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 90 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron