วันเวลาปัจจุบัน 05 พ.ค. 2025, 21:19  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 30 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




51.jpg
51.jpg [ 84.64 KiB | เปิดดู 6039 ครั้ง ]
อ่านบทความธรรมะ ที่เจ้าคุณพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต ป.ธ.๙) เขียนเผยแผ่

ทางหนังสือฉบับหนึ่ง (เฉพาะวันอาทิตย์) เป็นบางตอน อ่านแล้วได้ข้อคิดทางธรรมมากมาย

จึงอยากแบ่งปันให้สมาชิกลานธรรมได้อ่านบ้าง จึงลอกมาลงไว้ตรงนี้อีกที ใครอ่านแล้วก็ผ่าน

ไป :b16:

ที่ว่าให้ข้อคิดทางธรรม ก็คือว่า อ่านแล้วเนี่ยจะยิ่งเข้าใจพระพุทธศาสนา คือการเข้าใจเข้าถึงธรรมชาติ

ซึ่งได้แก่ มนุษย์ หรือ ตนเองนี่เอง

อ่านแล้วจะพลอยเข้าใจหลักการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานว่า มุ่งหมายถึงการรู้เข้าใจตนเองหรือธรรมชาตินี้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 20 ก.ย. 2009, 19:33, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 10:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รออ่านค่ะ

สวัสดีตอนสายค่ะ...คุณกรัชกาย

ธรรมะสวัสดีค่ะ

รูปภาพ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 10:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ่านตอนนี้ก่อน


มนุษย์ : ปัจจัยพิเศษในธรรมชาติ


แนวคิดและถ้อยคำสื่อสารสมัยใหม่ ที่รับต่อทอดมาจากฝรั่งว่า มนุษย์ทำอย่างนั้นทำอย่างนี้
ต่อธรรมชาติ
ถ้าไม่ระวัง ไม่ใช้อย่างรู้เท่าทัน จะพราง จะบัง หรือแม้กระทั่งบิดเบนความคิดของเราออกจากความ
เป็นจริง
ไป ๆ มาๆ คนสมัยนี้ ก็เลยมองเหมือนว่า มนุษย์เป็นอะไรอีกประเภทหนึ่งต่างหากที่ไม่ใช่ ไม่เป็น
ธรรมชาติ แล้วมาทำอะไรๆ อย่างเป็นมิตรบ้าง เป็นศัตรูบ้าง เป็นต้น ต่อธรรมชาตินั้น

ไม่ต้องไปเสียเวลาพูดถึงการที่ฝรั่งยอมรับความผิดพลาด ในการที่พวกเขาได้มองมนุษย์เป็นส่วนหนึ่ง
ของธรรมชาติ อันเป็นข้อที่เขาย้ำกันนักในเรื่องการอนุรักษ์ธรรมชาติ หรือการรักษาสิ่งแวดล้อม ในบัดนี้

เรามองง่ายๆ ในแง่เป็นวิธีสื่อสาร ที่พึงรู้เท่าทัน ขอให้เข้าใจว่า มนุษย์ก็เป็นธรรมชาติอย่างหนึ่ง
หรือ ส่วนหนึ่ง


ที่ว่ามนุษย์ทำอย่างนั้น ทำอย่างนี้ต่อธรรมชาติ ก็หมายความว่า ธรรมชาติส่วนที่มีชื่อเรียกว่า มนุษย์ทำอย่างนั้น ทำอย่างนี้ต่อธรรมชาติส่วนอื่น หรือ ส่วนที่เหลือ หรือ ที่จริงคือสำแดงอาการเป็นปัจจัยต่อมวลธรรมชาตินั้น

แล้วก็ต้องมองต่อไปอีกด้วยว่า ธรรมชาติส่วนที่เป็นมนุษย์นั้น ก็ไหลระคนปนคละเป็นเหตุเป็นผลร่วมไป
ในกระบวนและระบบของธรรมชาติทั้งมวลด้วย


แต่ทั้งนี้ มนุษย์นั้นเป็นธรรมชาติส่วนพิเศษ ที่มีคุณสมบัติอันวิเศษ คือ ปัญญา พร้อมด้วยเจตนา คือ
เจตจำนงที่ดี หรือ ร้าย แฝงอยู่ในศักยภาพที่อาจพัฒนาให้คลี่คลายขยายออกมาได้ ซึ่งจะเป็นปัจจัย
อันยิ่งใหญ่ ที่ผลักดันผันแปรกระบวน และ ระบบแห่งธรรมชาติ ให้ปรากฏผลรวมแห่งโลกที่เป็นไปได้
ต่างๆ จนสุดที่จะคิดคาดหมาย


เป็นที่หวังแบบพุทธว่า ด้วยปัญญาสว่างแจ้งหยั่งเห็นทั่วตลอด ซึ่งสนองเจตนาอันเปี่ยมคุณความดีที่แผ่สากล แห่งจิตใจที่ไร้พรหมแดน ของมนุษย์ที่ได้พัฒนาตนทั่วรอบแล้ว ธรรมชาติส่วนมนุษย์ จะเป็นปัจจัยผลักผัน
ให้มวลธรรมชาติทั้งระบบ ปรับแปรไปเป็นโลกที่มีสันติสุขอย่างยั่งยืน

โดยภาวะที่เป็นธรรมชาติส่วนพิเศษ มนุษย์ได้มีขอบเขตแห่งความเคลื่อนไหวในระบบเหตุปัจจัยอย่างซับซ้อนกว้างขวาง จนเหมือนเป็นแดนแห่งความสัมพันธ์ซ้อนขึ้นมาอีกระบบหนึ่งต่างหาก ดังที่เรียกว่า เป็นโลกมนุษย์หรือสังคม ซึ่งมีมนุษย์แต่ละคน อันเรียกว่าบุคคล เป็นส่วนรวม

แต่ที่แท้นั้น มันหาได้เป็นแดนต่างหากจริงไม่ เพราะมนุษย์ที่มาเป็นบุคคล ซึ่งเป็นหน่วยแห่งสังคมนั้น
ตัวจริงของเขาก็คือ เป็นชีวิต ที่เป็นหน่วยแห่งธรรมชาตินั่นเอง


มนุษย์มากมายในบัดนี้ แปลกแยกหลงเพริดเตลิดไกล จนมองตัวเองหยั่งไม่ถึงชีวิตที่เป็นธรรมชาติ
ทำให้ไม่สามารถแก้ปมที่เรียกว่า ปัญหาชีวิตและสังคม เพราะไม่สามารถโยงปัจจัยทางสังคมให้
ถึงธรรมชาติ
เรื่องนี้ ก็ได้เกิดเป็นปัญหาในการมองและการศึกษาเข้าใจธรรมในพระพุทธศาสนาด้วย



ขอรวบรัดแสดงหลักเลยว่า ท่านผู้รู้แจ้งระบบสัมพันธ์ทั่วตลอด เมื่อจะสร้างสรรค์แก้ปัญหาของชีวิต และ สังคม ท่านตระหนักถึงปัจจัยที่โยงกันทั่วในระบบของธรรมชาติตลอดมาถึงแดนที่เรียกว่า สังคม ท่านจึงวางวิธีปฏิบัติจัดการ ที่จะเอาปัจจัยวิเศษในธรรมชาติส่วนมนุษย์คือปัญญาที่สว่างและเจตนาที่สะอาด บูรณาการเข้าไป
ในกระบวนปัจจัยของธรรมชาติที่เกี่ยวข้องทั้งหมด เพื่อร่วมเคลื่อนไหวผลักดันให้กระบวนปัจจัยนั้นคืบเคลื่อน
ไปสู่การออกผลที่พึงต้องการ

วิธีการและการจัดการทางสังคม ในการนำเอาปัจจัยธรรมชาติอันวิเศษของมนุษย์ (ปัญญาสูง+เจตนาใส) บูรณาการเข้าไปในกระบวนปัจจัยของธรรมชาติที่เกี่ยวข้องทั้งหมด เพื่อผลักดันให้เกิดผลที่พึงต้องการนี้
มีคำพระเรียกว่า "วินัย" (ไม่พึงหดความหมายไปตามภาษาไทย)


นี่เป็นเรื่องสำคัญยิ่งยวดที่จะต้องช่วยกันทำให้ชัด เพื่อให้พระพุทธศาสนาอำนวยประโยชน์สุขสม
จุดหมาย เฉพาะอย่างยิ่ง ในยามที่ความเข้าใจคลาดเคลื่อนสับสนแผ่ขยายกว้างออกไป


วันอาทิตย์ ที่ 12 ก.ค. 52

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 10:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


วิธีการและการจัดการทางสังคม
ในการนำเอาปัจจัยธรรมชาติอันวิเศษของมนุษย์ (ปัญญาสูง+เจตนาใส)
บูรณาการเข้าไปในกระบวนปัจจัยของธรรมชาติที่เกี่ยวข้องทั้งหมด

เพื่อผลักดันให้เกิดผลที่พึงต้องการนี้
มีคำพระเรียกว่า "วินัย" (ไม่พึงหดความหมายไปตามภาษาไทย)


นี่เป็นเรื่องสำคัญยิ่งยวดที่จะต้องช่วยกันทำให้ชัด
เพื่อให้พระพุทธศาสนาอำนวยประโยชน์สุขสม
จุดหมาย เฉพาะอย่างยิ่ง ในยามที่ความเข้าใจคลาดเคลื่อนสับสนแผ่ขยายกว้างออกไป


สาธุ สาธุ สาธุค่ะ

ธรรมะสวัสดีค่ะ

รูปภาพ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 10:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ท่านว่า “มองธรรมถูกทางมีสุขทุกที่” จริงของท่าน หากเรารู้เข้าใจธรรมะก็เข้าใจตนเองไปด้วย

เพราะตนเองก็เป็นธรรมะ หรือเป็นธรรมชาติ เมื่อเข้าใจตนเอง จะไปไหนอยู่ที่ไดก็มีความสุข ท่านก็ว่า

ของท่านเป็นตอนๆไป


ส่วนตัวกรัชกายจะมอง (มองอย่างคนบ้า :b1:) ด้านตรงข้ามกับท่าน “มองธรรมผิดทางก็มีทุกข์ทุกที่”

เช่นเดียวกัน

มองธรรมผิดทางก็มีทุกข์ทุกที่ มีตัวอย่างมากมายจะค่อยๆแทรกทีละเล็กละน้อย เพื่อให้เห็นด้านครงข้าม

เช่นสองตัวอย่างนี้ มองธรรมผิดทาง

http://www.youtube.com/watch?v=yMvbgckInow


http://www.baghdadfilmfestival.org/viewLA6dvXMsu4k.html

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ค. 2009, 13:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ม.ค. 2009, 02:20
โพสต์: 1387

ที่อยู่: สัพพะโลก

 ข้อมูลส่วนตัว


ท่านกรัชกาย ก็ช่างสรรหามาให้ดู :b32:
เพิ่งเคยเห็น :b12: โดยเฉพาะคลิปวีดีโอ อันที่สอง :b14: :b12:

อนุโมทนา สาธุครับ :b8:

.....................................................
ผู้มีจิตเมตตาจะไม่มีศัตรู ผู้มีสติปัญญาจะไม่เกิดทุกข์.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ส.ค. 2009, 08:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มองธรรมถูกทางมีสุขทุกที่



วิธีปฏิบัติต่อความสุข (รวมทั้งต่อความทุกข์) ที่ตรัสไว้ ๔ ข้อ คือ

๑. ไม่เอาทุกข์ทับถมตนที่มิได้ถูกทุกข์บีบอัด

๒. ไม่ละทิ้งความสุขที่ชอบธรรม

๓. ไม่สยบหมกมุ่น (แม้แต่) ในความสุขที่ชอบธรรมนั้น

๔. เพียรพยายามทำเหตุแห่งทุกข์ให้หมดสิ้นไป -(โดยนัย คือ เพียรปฏิบัติให้ลุถึงสุขที่ประณีตขึ้นไป

จนสูงสุด)


สาระของเรื่องนี้ใหญ่ครอบคลุมพระพุทธศาสนาทั้งหมด


ข้อที่ ๑. ไม่เอาทุกข์ทับถมตนที่ไม่ได้โดนทุกข์


ตามเรื่องเดิม พระพุทธเจ้าตรัสสนทนากับพวกนิครนถ์ จึงเน้นไปที่การบำเพ็ญตบะ

ของเขา คือ การทรมานตัวเอง เช่น จะโกนศีรษะ แทนที่จะใช้มีดโกน ก็ถอนผมทีละเส้น

จะนอนก็ใช้เตียงหนามหรือติดตะปูไว้ทิ่มแทงตัว


ถ้าดูที่คนทั่วไป ก็เช่นคนที่นั่งนอนนิ่งอยู่ดีๆ ไม่มีใครมาทำร้ายตัวเลย ก็เก็บเอาอาการกิริยาและถ้อยคำ

ที่ขัดตาขัดหู จากคนโน้นคนนี้มาคิดปรุงแต่งไปต่างๆ ให้หงุดหงิดขัดเคืองใจทำร้ายตัวเอง

ที่ตื้นกว่านั้น ก็อย่างคนดื่มสุราอัดยาเสพติด ทั้งที่ตัวเองก็เป็นปกติดีอยู่ กลับไปเอาสารที่ร่างกายไม่ได้

ต้องการ แถมมีพิษภัยเป็นโทษต่อชีวิตร่างกาย สมัครใจเองเอามันมาใส่เข้าไปในร่างกาย แล้วก็ทำลาย

สุขภาพและคุณภาพของตัวเองเหมือนกับโดยตั้งใจและโดยเต็มใจ


ตัวอย่างอื่นยังมีอีกเยอะ เช่น คนขับรถซึ่ง หรือคนทำอะไรเสียงๆ โดยไม่มีเหตุผล เป็นต้น มีมาก

แต่ในขั้นลึก ปุถุชนทั่วไปนี่แหละ มักเอาทุกข์มาใส่ตัวอยู่เรื่อย หมายความว่า เป็นธรรมดาของสังขาร

ที่ว่า มันไม่เที่ยง เป็นทุกข์ คงอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ ผันแปรไป เป็นอนัตตา

เรารู้ทันความจริง เราก็ดำเนินชีวิตให้ดี ทุกข์ตามธรรมชาติก็มีของมันไป เราก็ไม่เอามันเข้ามา

เป็นทุกข์ ที่จะทับถมตัวเรา เราก็โล่งเบาไปขั้นหนึ่ง



แต่นี่ตรงข้าม คนมักปฏิบัติไม่ถูกต้อง ไม่เอาปัญญาที่รู้เท่าทันมารักษาตัวให้เป็นอิสระไว้ จึงเอาทุกข์ที่มีอยู่

ในธรรมชาตินั่นเอง มาปรุงแต่งเป็นทุกข์ในใจของตัว กลายเป็นเอาทุกข์มาทับถมตนเองกันมากมาย


แม้แต่โลกธรรมทั้งหลาย ถ้าเราเอาปัญญาที่รู้เท่าทันมาวางใจให้ถูกต้อง แทนที่จะบอบช้ำหรือเสียหาย

ก็สามารถเอาประโยชน์จากมันได้

เริ่มต้นก็มองเป็นประสบการณ์ที่เราได้เรียนรู้ ว่า อ้อนี่ เราได้เห็นแล้วไง ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า เราอยู่ใน

โลก จะต้องเจอโลกธรรมเป็นธรรมดา เราก็เจอจริงๆ ความจริงมันก็เป็นอย่างนี้เอง เราได้เห็น ได้รู้แล้ว

เมื่อมองเป็นประสบการณ์สำหรับศึกษา เราเริ่มวางใจต่อมันถูกต้อง ตั้งหลักได้ ไม่ไปรับกระทบเอามา

เป็นทุกข์ข้างใน ทับถมใจตัวเอง


ยิ่งกว่านั้น เราก้าวต่อไป โดยคิดจะฝึกตนเอง พอทำใจว่าจะฝึกตัวเรา จะมองทุกอย่างในแง่มุมใหม่

เริ่มด้วยมองเป็นบททดสอบ คือ ทดสอบใจและทดสอบสติปัญญาความสามารถ ไม่ว่าดีหรือร้ายเข้ามา

เราก็ได้ทุกที

อย่างน้อยก็ทำให้เราเข้มแข็งยิ่งขึ้น เหนือกว่านั้นก็ได้ฝึกฝน ได้พัฒนาตัว ยิ่งขึ้นไป โดยใช้เป็นบทเรียน

เป็นต้น

เฉพาะอย่างยิ่ง ทุกข์เป็นแบบฝึกหัด เป็นเครื่องฝึกสติ ฝึกปัญญา ฝึกการแก้ปัญหา เป็นต้น

แม้แต่เคราะห์ ซึ่งเป็นโลกธรรมที่ร้าย ก็กลายเป็นโอกาสที่ตัวเราจะได้ฝึกฝนพัฒนา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ส.ค. 2009, 12:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว



ข้อที่ ๒ ไม่ละทิ้งสุขที่ชอบธรรม




อันได้แก่สุขที่เราควรได้ควรมี ตามเหตุปัจจัย ซึ่งเรามีสิทธิ์จะได้ เช่น ถ้าเป็นความสุขทางวัตถุ

ก็เน้นที่ผลจากการประกอบอาชีพการงานด้วยความขยันหมั่นเพียร โดยชอบธรรม

พึงระวังมิให้สุขของเราเกิดมีโดยตั้งอยู่บนความทุกข์ของผู้อื่น ไม่ให้เป็นความสุขที่เบียดเบียน ก่อความเดือด

ร้อนแก่ใครๆ จึงจะเป็นความสุขที่ชอบธรรม เราสุข ผู้อื่นก็ไม่ทุกข์

ถ้าให้ดียิ่งกว่านั้น ก็ให้เป็นสุขด้วยกัน เป็นสุขที่เผื่อแผ่ ซึ่งช่วยให้เกิดความสุขขยายกว้างขวางออกไป

คนเรานี้จะต้องรู้จักพัฒนาความสุข ไม่ใช่ว่าชอบความสุข อยากมีความสุขนัก

แต่ขาดความรู้เข้าใจ ไม่รู้จักความสุขเลย ได้แค่อยู่อย่างพร่ามัวกับความยึดถือด้วยโมหะ

ในภาวะอย่างหนึ่งว่าเป็นความสุข แล้วก็ใช้เวลาทั้งชีวิตตะเกียกตะกายวิ่งไล่ไขว่คว้า ไม่ทันถึงความสุข

นั้น ชีวิตก็จบไปก่อน


โดยวิธีพูดอย่างหนึ่ง ซึ่งสอดคล้องกับหลักพระพุทธศาสนา การพัฒนาความสุขนั่นแหละคือ

การศึกษา กรรมที่เรียกว่า การปฏิบัติธรรม จึงก้าวไปในสุต และผ่านความสุขต่างๆ หลายแบบ

และหลายขั้น หลายระดับ ดังที่ท่านจัดแบ่งไว้นานานัย

กล่าวรวบรัดไว้ที่นี้เป็นสุข ๓ คือ

๑.สุขแบบแข่งแย่ง หรือชิงกัน

๒. สุขแบบประสาน หรือสุขด้วยกัน

๓. สุขแบบอิสระ

แม้แต่ผู้มีสุขที่ไม่ตั้งอยู่บนความทุกข์ของผู้อื่น ส่วนมากก็ยังตั้งอยู่ในขั้นมีสุขแบบแข่งแย่ง หรือชิงกัน

ซึ่งโดยทั่วไปเป็นความสุขเนื่องด้วยวัตถุ อันจะต้องได้ต้องเอา

ถ้าเขาได้เราก็เสีย ถ้าเราได้เขาก็เสีย ถ้าเขาสุขเราก็ทุกข์ ถ้าเราสุขเขาก็ทุกข์

พอเราได้มาเราสุข คนอื่นเสียหรืออดเขาก็ทุกข์ แต่พอเขาได้เราเสียหรืออด เขาสุขเราก็ทุกข์

เป็นความสุขที่ไม่เอื้อกัน ยังก่อปัญหา


เมื่อพัฒนาจิตใจขึ้นไป พอมีความรักแท้ คือ เมตตา ที่ต้องการให้คนอื่นเป็นสุข เราก็เริ่มมีความสุขแบบ

ประสาน คือ เราทำให้เขาสุข เราก็สุขด้วย เหมือนความรักของพ่อแม่ ที่อยากให้ลูกเป็นสุข แล้วก็พยายาม

ทำอะไรๆ เพื่อให้ลูกเป็นสุข และมีความสุขเมื่อเห็นลูกเป็นสุข

เมื่อเราพัฒนาจิตใจ โดยแผ่ขยายเมตตาหรือธรรมอื่น เช่น ศรัทธา เราก็มีความสุขเพิ่มขึ้นโดยที่คนอื่นก็มี

ความสุขด้วย เป็นความสุขจากการให้ ที่เจริญในธรรม ซึ่งทำให้โลกมีสันติสุข เริ่มตั้งแต่ในครอบครัวไปเลย

นี่พูดพอเป็นแนว ในเรื่องการพัฒนาความสุข ซึ่งจะต้องก้าวต่อไป ในความสุขที่ชอบธรรม ขึ้นไปจนถึงความ

สุขที่เป็นอิสระ อันบรรจบเป็นจุดหมายของวิธีปฏิบัติต่อความสุขที่ครบตลอดทั้งสี่ข้อ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ส.ค. 2009, 12:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว



ข้อ ๓. ไม่สยบมัวเมาในความสุขแม้ที่ประณีต



แม้ว่า ความสุขที่ชอบธรรมนั้น เรามีสิทธิ์เสพ ไม่ต้องไปสละละทิ้ง แต่ท่านก็ให้ระวัง เพราะแม้แต่

ในการเสพความสุขที่ชอบธรรมนั้น เราก็อาจปฏิบัติผิดได้

จุดพลาดอยู่ตรงที่ว่า เราเสพสุขชอบธรรมที่เรามีสิทธิ์เสพนี่แหละ แต่ถ้าเราเกิดไปติดเพลินหลงมัวเมา

ความสุขก็จะกลายเป็นปัจจัยของความทุกข์ และทำให้เกิดโทษได้

ข้อสำคัญ คือ ทำให้เกิดความประมาท


สุข แปลว่า คล่อง ง่าย สะดวก

เมื่อมีสุข จะทำอะไรก็ทำได้ง่าย ได้คล่อง ได้สะดวก

ความสุขจึงเป็นโอกาส มีอะไรควรทำก็รีบทำจะได้ผลมาก

ดังนั้น ยามสุขเมื่อเราไม่ประมาท ก็ทำการดีงามสร้างสรรค์ได้มากที่สุด

ความสุขก็เป็นโลกธรรมอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นอนิจจัง เกิด-ดับ มี-หมด กลับกลายได้

ถ้าเรารู้ทันความจริง และไม่ประมาท เมื่อโชคหรือโลกธรรมที่ดีมีมา เราเป็นสุข เราก็ใช้โชค เช่น

ลาภ ยศ เป็นเครื่องมือเพิ่มพูนแผ่ขยายความสุขคือใช้มันทำความดี ช่วยเหลือเกื้อกูลเพื่อนมนุษย์

ทำให้ความสุขขยายจากตัวเรา แผ่กว้างออกไปสู่ผู้คนมากมายในโลก

นี่ก็คือ ใช้ความสุขเป็นโอกาสสร้างสรรค์แผ่ขยายความสุข

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ส.ค. 2009, 12:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว



ข้อที่ ๔ เพียรทำเหตุแห่งความทุกข์ให้หมดสิ้นไป คือ พัฒนาความสุขที่ประณีต และสูงยิ่งๆขึ้นไป

จนถึงภาวะไร้ทุกข์ หรือบรมสุข



ความสุขทุกระดับที่พูดมาเป็นสุขสัมพันธ์ ยังมีเชื้อทุกข์ ผันผวนผกผันได้ ท่านจึงให้ปฏิบัติอย่างที่ว่า

มาแล้ว คือ ไม่ติดเพลินแม้แต่ในสุขที่ชอบธรรม คือ ไม่ให้ประมาท เพื่อจะได้ก้าวต่อไป นั่นก็

คือ ให้พัฒนาการมีความสุขต่อไป จนถึงความสุขสูงสุด

ความสุขสูงสุด ก็คือความสุขที่ไม่เหลือเชื้อแห่งทุกข์ จึงเรียกว่าบรมสุข ก็คือภาวะไร้ทุกข์นั่นเอง

ซึ่งย่อมถึงได้ด้วยการทำเหตุแห่งทุกข์ให้หมดสิ้นไป อันเป็นวิธีปฏิบัติข้อ ๔ ที่เป็นข้อสุดท้ายนี้

นี่คือสุขแท้ของจิตที่เป็นอิสระ ซึ่งเกิดจากปัญญาสว่างแจ้ง อันเป็นความสุขเต็มอิ่ม ที่มีประจำอยู่ในตัว

ตลอดทุกที่ทุกเวลา ไม่ต้องแสวงหาอีกต่อไป


สำหรับบุคคลผู้เช่นนี้ ชีวิตที่เป็นอยู่ก็ดำเนินด้วยปัญญา ที่ทำการไปให้ทันกันถึงกัน กับกระบวนแห่งเหตุ

ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ให้ได้ผลดีที่สุด

ส่วนในจิตใจก็มีความรู้ทั่วทัน เป็นอิสระ อิ่มเต็มด้วยความสุข

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ส.ค. 2009, 17:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วันอาทิตย์ที่ผ่านมา ท่านขึ้นหัวข้อใหม่ เหมาะกับสังคมไทยยุคปัจจุบัน ท่านให้ชื่อตอนนี้ว่า =>


วาสนาสร้างเองได้


ทั้งวันเกิด และ วันขึ้นปีใหม่
เป็นอันว่าดีทั้งนั้น ที่ว่าดีก็เพราะเราทำให้ดีนั่นเอง

ที่ว่าทำให้ดี ทำอย่างไร ก็เริ่มตั้งแต่ทำใจให้ดี ทำใจให้ดี ให้ร่าเริงเบิกบานแจ่มใส

และตั้งใจดีคิดดี ท่านเรียกว่า เป็นมโนกรรมที่เป็นบุญเป็นบุญกุศล ตอนนี้แหละมงคลเกิดขึ้นทันที

ทีนี้พอใจดี สบายใจผ่องใสเบิกบาน คิดในทางที่ดี และตั้งใจดีว่าจะทำอะไรๆ ที่เป็นเรื่องดีๆ

แล้วต่อไปก็พูดดี ต่อจากนั้นที่สำคัญก็ทำออกมาข้างนอกดี นี่แหละเป็นมงคลที่แท้จริง


ทำบุญวันเกิดให้เป็นการเริ่มต้นที่ดี

วันเกิดนั้นเป็นเรื่องธรรมดาของชีวิต ทุกคนที่มีชีวิตยืนยาวมาจนบัดนี้ ก็เริ่มจากการเกิดทั้งนั้น

แต่สำหรับชาวพุทธเราไม่ว่าจะปรารภ หรือ นึกถึงอะไรก็ตาม ก็จะทำให้เป็นบุญเป็นกุศล คือ ทำให้เป็น

เรื่องดีไปหมด


ในการทำให้ดีนั้น สำหรับวันเกิดเราก็มองหาความหมายก่อน โดยทั่วไปก็จะมองว่า

การทำบุญวันเกิดนั้นเป็นการเริ่มต้นที่ดี เพราะวันเกิดก็ คือ วันเริ่มต้นของชีวิต ในแต่ละรอบปี

การทำบุญวันเกิดก็ คือ การเริ่มต้นอายุในรอบปีต่อไป ด้วยการทำความดี โดยเริ่มต้นดีด้วย

การทำบุญ ทำกุศลเรียกว่า เป็นนิมิตให้เกิดความสุขความเจริญ นี้ก็อย่างหนึ่ง



วันเกิด คือ วันที่เตือนใจให้เกิดกันให้ดีๆ

ความหมายอีกอย่างหนึ่งก็คือ เราพูดว่าวันเกิดก็เกิดกันมาตั้งนานแล้วนี่ จะเกิดอย่างไรอีก

แต่ทางพระท่านบอกว่า เราเกิดอยู่เรื่อยๆ เวลานี้เราก็เกิดอยู่ตลอดเวลา

ถ้าเราไม่เกิดอยู่เรื่อยๆ เราก็อยู่ไม่ได้ การเกิดนี้มีทั้งรูปธรรม และนามธรรม


ในกรณีนี้การเกิดทางนามธรรมกลับเห็นง่าย คือ การเกิดทางจิตใจ ซึ่งเราก็พูดกันอยู่เสมอ เช่นเกิดความสุข

เกิดความสดชื่น เกิดปีติ เกิดความเบิกบานใจ เกิดเมตตา เกิดศรัทธา เกิดทั้งนั้น

ที่เราเป็นอยู่นี้เดี๋ยวก็เกิดอันโน้น เดี๋ยวก็เกิดอันนี้ คือเกิดกุศลหรืออกุศลในใจ ในทางไม่ดีก็เกิด

ความโกรธ เกิดความเกลียด เกิดความกลัว อย่างนี้ไม่ดี เรียกว่าเกิดอกุศล เมื่อถึงวันเกิดก็เลยเป็น

เครื่องเตือนใจ สำหรับชาวพุทธว่าให้เกิดดีๆ นะ คือเกิดกุศลในใจ เราก็มาตั้งใจทำใจให้เกิดความสุข

เกิดปีติ เกิดศรัทธา เกิดเมตตา เกิดความสดชื่น เกิดความอิ่มใจ เกิดความแจ่มใส เกิดความเบิกบานใจ

ถ้าเกิดอย่างนี้เรื่อยๆ ต่อไปก็จะมีความสุข และความเจริญอย่างแน่นอน



ฉะนั้น วิธีดำเนินชีวิตอย่างหนึ่งก็คือ เกิดให้ดี โดยทำใจของเราให้เกิดกุศล และการเกิดที่ประเสริฐสุดก็คือ

การเกิดของกุศลนี้แหละ

เมื่อใดใจเกิดกุศล จะเป็นด้านความรู้สึกที่สบาย ผ่องใส เอิบอิ่ม เบิกบานใจก็ตาม เป็นคุณธรรม เช่น

เมตตา ไมตรีก็ตาม หรือเป็นความคิดที่ดีจะทำโน่นทำนี่ ที่เป็นการสร้างสรรค์ ช่วยเหลือกัน ร่วมมือกัน

เอื้อเฟื้อกันก็ตาม เกิดอย่างนี้แล้วมีแต่ดีทั้งนั้น

นี่แหละ คือ วันเกิดที่ว่า มีความหมายเป็นการเริ่มต้นที่ดี เมื่อเกิดอย่างนี้แล้ว ต่อไปก็ออกสู่

การกระทำ มีการปฏิบัติที่ดีไปหมด

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ส.ค. 2009, 18:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(ต่อ)


เราสร้างวาสนา แล้ว วาสนาก็สร้างเรา


ถ้าใจของเราเกิดอย่างนี้บ่อยๆ จิตก็จะคุ้นเป็นนิสัย คือ คนเรานี้ อยู่ด้วยความเคยชินเป็นส่วนใหญ่

เราไม่ค่อยรู้ตัวหรอกว่า ที่เราอยู่กันนี้เราทำอะไรๆ ไปตามความเคยชิน

ไม่ว่าจะพูดกับใคร จะเดินอย่างไร เวลามีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นเราจะตอบสนองอย่างไร ฯลฯ

เรามักจะทำตามความเคยชิน

ทีนี้ก่อนจะมีความเคยชิน ก็ต้องมีการสั่งสมขึ้นมา คือ ทำบ่อยๆ บ่อยจนทำได้โดยไม่รู้ตัว

แต่ทีนี้ท่านเตือนว่า

ถ้าเราปล่อยไปอย่างนี้ มันจะเคยชินแบบไม่แน่นอนว่า จะร้ายหรือจะดี และ เราก็จะไม่เป็นตัว

ของตัวเอง ท่านก็เลยบอกว่าให้มีเจตนาตั้งใจสร้างความเคยชินที่ดี

ความเคยชิน ที่เกิดขึ้นนี้ ท่านเรียกว่า “วาสนา” ซึ่งเป็นความหมายที่แท้และดั้งเดิม

ไม่ใช่ความหมายในภาษาไทยที่เพี้ยนไป

วาสนาก็ คือ ความเคยชิน ตั้งแต่จิตใจ ตลอดจนการแสดงออกที่กลายเป็นลักษณะประจำตัว

ใครมีความเคยชินอย่างไร ก็เป็นวาสนาของคนนั้น อย่างนั้น และเขาก็จะทำอะไร ๆ ไปตามวาสนาของเขา

หรือ วาสนาก็จะพาเขาไปให้ทำอย่างนั้นๆ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ส.ค. 2009, 12:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(ต่อ)

วาสนาสร้างเองได้


เวลาพบเห็นอะไร ใครสั่งสมจิตใจชอบมาทางไหน ก็ไปทางนั้น เช่น มีของเลือก ๒-๓ อย่าง

คนไหนชอบสิ่งไหนก็จะหันเข้าหาแต่สิ่งนั้น แม้แต่ไปตลาดไปร้านค้า ไปที่นั่นมีร้านค้าหลายอย่าง

อาจจะเป็นห้างสรรพสินค้า เดินไปด้วยกัน

คนหนึ่งชอบหนังสือก็ไปเข้าร้านหนังสือ

อีกคนไปเข้าร้านขายของเครื่องใช้ เครื่องครัว เป็นต้น

แต่อีกคนหนึ่ง ไปเข้าร้านขายของฟุ่มเฟือย

อย่างนี้แหละเรียกว่า วาสนาพาให้ไป คือใครสั่งสมมาอย่างไรก็ไปตามนั้น และวาสนานี้แหละจะเป็นตัวการ

ที่ทำให้ชีวิตของเราผันแปรไปตามนั้น พระท่านมองวาสนาอย่างนี้

เพราะฉะนั้น วาสนาจึงเป็นเหตุเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เราเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ โดยไม่รู้ตัว

ท่านก็เลยบอกว่าให้เราตั้งใจสร้างวาสนาให้ดี เพราะวาสนานั้นสร้างได้

คนไทยเราชอบพูดว่า วาสนานี้แข่งกันไม่ได้ แต่พระบอกว่าไห้แก้ไขวาสนา ให้เราปรับปรุงวาสนา เพราะมันอยู่

ที่ตัวเรา ที่สร้างมันขึ้นมา

แต่การแก้ไขอาจจะยากสักหน่อย เพราะความเคยชินนี้แก้ยากมาก แต่แก้ได้ปรับปรุงได้

ถ้าเราทำก็จะมีผลดีต่อชีวิตอย่างมากมาย

ขอให้จำไว้เป็นคติประจำเลยว่า “วาสนามีไว้แก้ไข ไม่ใช่มีไว้แข่งขัน”


ถ้าคิดเป็น ก็พลิกวาสนาได้


บางคนเกิดมาจน บอกว่าตนมีวาสนาไม่ดี หรือบางทีบอกว่าเราไม่มีวาสนา พูดอย่างนี้ยังไม่ถูก

คนจนวาสนาดีก็มี วาสนาไม่ดีก็มี คนมีก็อับวาสนาได้

ถ้าเกิดมาจนแล้วมัวแต่หดหู่ ระย่อ ท้อแท้ใจ ได้แต่ขุ่นมัว เศร้าหมอง คิดอย่างนี้อยู่เรื่อยก็แน่นอนละว่า

วาสนาไม่ดี เพราะคิดเคยชินในทางไม่ดี จนความท้อแท้อ่อนแอกลายเป็นลักษณะประจำตัว


แต่ถ้าเกิดมาจนแล้วคิดถูกทางว่า ก็ดีนี่ เราเกิดมาจนนี่แหละเจอแบบฝึกหัดยาก

พระท่านว่า คนนี้เป็นสัตว์พิเศษ จะประเสริฐได้ด้วยการฝึก เพราะเราจนเราจึงมีเรื่องยากลำบากที่จะต้องทำ

มีปัญหาให้ต้องคิดและเพียรพยายามแก้ไขมาก นี่แหละคือได้ทำแบบฝึกหัดมาก


เมื่อเราทำแบบฝึกหัดมาก เราก็จะยิ่งพัฒนามาก ได้พัฒนาทักษะให้ทำอะไรได้ชำนิชำนาญ

พัฒนาจิตใจให้เข้มแข็งอดทน มีความเพียรพยายาม ใจสู้ จะฝึกสติฝึกสมาธิก็ได้ทั้งนั้น

และสำคัญเยี่ยมคือ ได้ฝึกปัญญาในการคิดหาทางแก้ไขปัญหา


คนที่เกิดมาร่ำรวยมั่งมี ถ้าไม่รู้จักคิด ไม่หาแบบฝึกหัดมาทำ มัวแต่หลงเพลิดเพลินในความสุขสบาย

นั่นแหละจะเป็นวาสนาไม่ดี ต่อไปจะกลายเป็นคนอ่อนแอ ทำอะไรไม่เป็น ปัญญาก็ไม่พัฒนา

กลายเป็นคนเสียเปรียบ

เพราะฉะนั้น ใครจะได้เปรียบหรือเสียเปรียบ จะดูที่ฐานะข้างนอก ว่ารวยว่าจน เป็นต้น ยังไม่แน่

คนที่รู้จักคิด คิดเป็น คิดถูกต้อง สามารถพลิกความเสียเปรียบเป็นความได้เปรียบ

แต่คนที่คิดผิดกลับพลิกความได้เปรียบเป็นความเสียเปรียบ และทำวาสนาให้ตกต่ำไปเลย


จึงต้องจำไว้ให้แม่นว่า ไม่มีใครเสียเปรียบหรือได้เปรียบอย่างสัมบูรณ์

ถ้าคิดเป็นก็พลิกความเสียเปรียบให้เป็นความได้เปรียบได้ แต่อย่าเอาเปรียบกันเลย เรามาสร้างวาสนากัน

ให้ดีจะดีกว่า

พระพุทธเจ้าและพระอรหันต์นั้นเป็นผู้ที่พ้นจากอำนาจของวาสนา

พระพุทธเจ้าทรงละกิเลสพร้อมทั้งวาสนาได้หมด หมายความว่า พระองค์ไม่อยู่ได้อำนาจความเคยชิน

แต่อยู่ด้วยสติปัญญา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ส.ค. 2009, 12:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(ต่อ)



มาสร้างวาสนาดีๆ ที่จะให้มีความสุข


ทีนี้เรื่องของคนสามัญก็คือ พยายามแก้ไขวาสนาที่ไม่ดี และปรับปรุงสร้างวาสนาให้เป็นไปในทางที่ดี

คือการที่เราตั้งใจ ทำจิตใจให้เกิดเป็นกุศลอยู่เสมอ

จิตใจของเรา จะไปตามที่มันเคยชิน อย่างคนที่เคยชินในทางปรุงแต่งไม่ดี

ไปนั่งไหน เดี๋ยวก็ไปเก็บเอาอารมณ์ที่ผ่านมา ที่กระทบกระทั่ง ทางตา ทางหู ทางจมูก

ทางลิ้น แล้วนำมาครุ่นคิด กระทบกระทั่งตัวเอง ทำให้ไม่สบาย

ที่นี้ ถ้าเรารู้ตัวมีสติก็ยั้งได้

ถ้าคิดอะไรไม่ดีขึ้นมาก็หยุด แล้วเอาสติไปจับ คือ ไปนึกระลึกเอาสิ่งที่ดีขึ้นมา


ระลึกขึ้นมาแล้วทำจิตให้สบายปรุงแต่งในทางที่ดี ต่อไปจิตก็จะเคย

พอไปนั่งไหนอยู่เงียบๆ จิตก็จะสบายนึกถึงเรื่องที่ดีๆ แล้วก็มีความสุข

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




21.jpg
21.jpg [ 94.73 KiB | เปิดดู 6066 ครั้ง ]
(ต่อ)


วาสนาสร้างเองได้


คนเรานี้สร้างความสุขได้ สร้างวาสนาให้แก่ตัวเองได้ สร้างวิถีชีวิตได้ ดือการกระทำอย่างที่ว่ามานี้

คือให้มีการเกิดบ่อยๆ ของสิ่งที่ดีงาม เพราะฉะนั้น การเกิดจึงเป็นนิมิต หมายความว่าให้ชาวพุทธได้คติ

หรือได้ประโยชน์จากวันเกิด

ถ้าเรานำวิธีปฏิบัติทางพระไปใช้จริงๆ วันเกิดจะมีประโยชน์แน่นอน จะเป็นบุญเป็นกุศล ทำให้เกิดความเจริญ

งอกงาม อย่างน้อยก็เตือนตนเองว่าเราจะให้เกิดแต่กุศลนะ เราจะไม่ยอมาให้เกิดอกุศล เช่น ใจที่ขุ่นมัว

เศร้าหมองเราไปเอาทั้งนั้น

จิตใจที่ดีต้องเกิดห้าอย่างนี้เป็นประจำ

เพราะฉะนั้น จึงมีหลักที่แสดงพัฒนาการของจิตใจว่า จิตใจชาวพุทธหรือจิตใจที่ดี ต้องมีคุณสมบัติ

๕ อย่าง คือ

๑. มีปราโมทย์ ความร่าเริงเบิกบานใจ

๒. มีปีติ ความอิ่มใจ

๓.มีปัสสัทธิ ความสงบเย็นผ่อนคลาย สบายใจ

๔. มีสุข ความคล่องใจ โปรงใจ ไม่มีอะไรมาบีบคั้นหรือระคายเคือง

๕. มีสมาธิ ความมีใจแน่วแน่ สงบ มั่นคง ไม่หวั่นไหว ไม่ถูกอารมณ์ต่างๆ มารบกวน

ถ้าทำใจมีคุณสมบัติ ๕ อย่างนี้ได้ ก็จะเป็นจิตใจที่เจริญงอกงามในธรรม

สภาวะจิต ๕ ประการนี้ โปรดจำไว้ว่าให้มีเป็นประจำ พระพุทธเจ้าตรัสบ่อยๆว่า เมื่อปฏิบัติธรรมถูกต้องแล้ว

พิสูจน์ได้อย่างหนึ่ง คือ เกิดสภาพจิต ๕ ประการนี้

ถ้าใครไม่เกิดแสดงว่า การปฏิบัติธรรมยังไม่ก้าวหน้า คือ ต้อง มี ๑ ปราโมทย์ ๒ ปีติ ๓ ปัสสัทธิ

๔. สุข ๕. สมาธิ


พอธรรมห้าตัวนี้ มาแล้วปัญญาก็จะผ่องใส แล้วจะคิดจะทำอะไรก็จะเดินหน้าไป ตลอดจนการปฏิบัติธรรม

ก็จะก้าวไปสู่โพธิญาณได้ด้วยดี

เพราะฉะนั้น ในวันเกิดก็ขอให้ได้อย่างน้อย ๒ ประการ คือ เริ่มต้นดี และให้เกิดสิ่งที่ดี

ก็คุ้มเลย ชีวิตจะเจริญงอกงามมีความสุขแน่นอน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 04 ก.ย. 2009, 19:13, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 30 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร