วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 18:34  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 79 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.ค. 2009, 17:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


“ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะอาศัยปฐมฌานก็ได้
อาศัยทุติยฌานก็ได้ ตติยฌานก็ได้ จตุตถฌานก็ได้ อากาสานัญจายตนะก็ได้
วิญญานัญจายตนะก็ได้ อากิญจัญญายตนะก็ได้ เนวสัญญานาสัญญายตนะก็ได้”

(ฌานสูตร ใน องฺ.นวก.23/240/438)


ความต่อจากนี้ในพระสูตรนี้ และความในพระสูตรอื่นอีก ๓ แห่ง
-มหามาลุงกโยวาทสูตร (ม.ม.13/157/159)
-อัฏฐกนาครสูตร (ม.ม.13/18/17)
-ทสมสูตร องฺ.เอกาทสก. 24/223/372 )

บรรยายวิธีใช้ฌานสมาบัติแต่ละขั้นๆ ในการพิจารณาให้เกิดปัญญารู้แจ้งสังขารตามความเป็นจริง
(คือ ที่เรียกว่า เจริญวิปัสสนา)

(รายละเอียดยึดยาว ใครมีหนังสือพุทธธรรมเปิดดูหน้า 323 เป็นต้นไป)

(ต้องการดูความหมาย เอกัคคตาจิต เปิดไปหน้า 874)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.ค. 2009, 18:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอเรียนถาม คุณกามโภคีเพิ่มอีกบางประเด็นน่ะครับ


## สัมมาสมาธิของภิกษุในธรรมวินัยนี้ ซึ่งแสดงด้วยองค์แห่ง"รูปฌาน๑-๔" ดังปรากฏใน สัจจบรรพแห่งมหาสติปัฏฐานสูตร หาก ดำรงอยู่"ช่วงเวลาสั้นๆ" เช่น ในกรณีของท่านผู้ที่ตรัสรู้อย่างรวดเร็ว .....จะจัดว่าเป็น

อัปปนาสมาธิเพราะเป็นสมาธิระดับฌาน

หรือ เป็น

ขณิกสมาธิเพราะทรงตัวอยู่ช่วงเวลาสั้นๆ

หรือ เป็น

ทั้ง อัปปนาสมาธิ และ ขณิกสมาธิ พร้อมๆกันในขณะเดียว

ครับ?



ปล... คำจำกัดความของอัปปานาสมาธิ คือ

อัปปนาสมาธิ สมาธิแน่วแน่, จิตตั้งมั่นสนิท เป็นสมาธิในฌาน
(ข้อ ๒ ในสมาธิ ๒, ข้อ ๓ ในสมาธิ ๓)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.ค. 2009, 21:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จขกท.ไปแล้วไปลับไม่กลับมา :b29:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.ค. 2009, 21:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 มี.ค. 2009, 20:48
โพสต์: 744


 ข้อมูลส่วนตัว


ตรงประเด็น เขียน:
ขอเรียนถาม คุณกามโภคีเพิ่มอีกบางประเด็นน่ะครับ


## สัมมาสมาธิของภิกษุในธรรมวินัยนี้ ซึ่งแสดงด้วยองค์แห่ง"รูปฌาน๑-๔" ดังปรากฏใน สัจจบรรพแห่งมหาสติปัฏฐานสูตร หาก ดำรงอยู่"ช่วงเวลาสั้นๆ" เช่น ในกรณีของท่านผู้ที่ตรัสรู้อย่างรวดเร็ว .....จะจัดว่าเป็น

อัปปนาสมาธิเพราะเป็นสมาธิระดับฌาน

หรือ เป็น

ขณิกสมาธิเพราะทรงตัวอยู่ช่วงเวลาสั้นๆ

หรือ เป็น

ทั้ง อัปปนาสมาธิ และ ขณิกสมาธิ พร้อมๆกันในขณะเดียว

ครับ?



ปล... คำจำกัดความของอัปปานาสมาธิ คือ

อัปปนาสมาธิ สมาธิแน่วแน่, จิตตั้งมั่นสนิท เป็นสมาธิในฌาน
(ข้อ ๒ ในสมาธิ ๒, ข้อ ๓ ในสมาธิ ๓)




จิตตรัสรู้ต้องเข้าอัปปนางับ

.....................................................
“เวลาทำสมาธิ ให้ระลึกลมหายใจเข้าออก ให้รู้ลมหายใจเข้าออก ไม่ต้องบังคับลมหายใจ ตามรู้ลมหายใจเข้าออก สงบก็รู้ ไม่สงบก็รู้ สงบก็ไม่ยินดี ไม่สงบก็ไม่ยินร้าย ไม่เอาทั้งสงบและไม่สงบ เอาแค่รู้ตามความเป็นจริงของสภาวธรรมปัจจุบันนั้น”

ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อคลายกำหนัด
เป็นไปเพื่อไม่ประกอบสัตว์ไว้
เป็นไปเพื่อไม่สั่งสมกิเลส
เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มักน้อย
เป็นไปเพื่อสันโดษ
เป็นไปเพื่อความสงัดจากหมู่คณะ
เป็นไปเพื่อปรารภความเพียร
เป็นไปเพื่อความเป็นคนเลี้ยงง่าย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.ค. 2009, 21:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


ผมต้องขอออกตัวก่อนนะครับ การตอบของผมเองนั้น ไม่ไช่สิ่งที่ผมปัจจักข์มาแต่ได้รวมๆมาจากคัมภีร์ต่างๆ
และการอธิบายความของวิปัสสนาจารย์ต่างๆท่านบางท่านผมก็ได้บอกไปบ้างแล้วว่าใคร

ข้อที่ ๑

ทั้ง ๒ ความเห็นผมว่ายังนึกภาพไม่ค่อยออก แต่ลองอ่านของผมบ้างนะครับ
แล้วลองดูว่าเข้าอันไหนได้ เข้าใจว่าหมายถึงวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า

วิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า
หมายถึง ผู้ที่เจริญอุปจารสมาธิและอัปปันนาสมาธิแล้วจึงปฏิบัติวิปัสสนา เรียกว่าสมถยานิก
กล่าวคือผู้ที่ได้สมถฌานนั้น เมื่อก่อนการปฏิบัติวิปัสสนา ได้ทำสมาธิจนจิตเป็นอุปจาระและอัปปนา
ตามลำดับ อยู่ในฌานนั้นครู่หนึ่ง เมื่อฌานจิตนั้นแน่วแน่ดีแล้ว ก็สละอารมณ์ฌานนั้น ด้วยวิธี
ปรับสมาธิ(อินทรีย์)ให้เป็นแบบขณิกถึงอุปจาระไม่เกินกว่านี้ เพื่อให้สติสมดุลย์กับสมาธิ
จากนั้นพิจารณา คือการดูความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปของสภาวะจิตและเจตสิกที่เป็น
องค์ฌาน กล่าวคือดูไตรลักษณ์ของ ปีติ เป็นต้น ในขณะที่จิตสละอัปปันนานั้น ปีติ วิจารณ์
วิตก จะเกิดขึ้นเป็นลำดับ โดยอาการที่ปรากฏนั้นจะ เกิด ตั้งอยู่ ดับไป ลักษณะนี้คือการ
ทำอารัมณูปนิชสัชฌานก่อน จากนั้นจึงพลิกกลับมาเป็นลักษณูปนิชชสัชฌาน คือทำบริกรรม
อารมณ์เพื่อให้ลักษณะของนามเกิด แล้วจึงมาดูความจริงตามไตรลักษณ์ที่ลักษณะของ
นามคือจิต เจตสิกที่เป็นองค์ฌานเกิดดับ เกิดดับๆ เมื่อดู เห็น รู้ ลักษณะนี้แล้ว ก็เท่ากับได้
รู้ความจริงของสภาวะรูปด้วยโดยอนุมาน

ที่อธิบายนี้จากอรรถกถาของธรรมทายาทสูตร

สังเกตนะครับ ตรงนี้เองที่เขากล่าวกันว่าฌานไม่เกิดปัญญา เพราะเขาว่าต้องออกจากฌานก่อน
และต้องออกจริงๆครับ มียืนยันในอภิธรรมปิฏกและวิสุทธิมรรคมากที่ แต่ในคัมภีร์บอกว่าออกก็จริง
แต่คัมภีร์เหล่านั้นก็บอกว่า ในฌานๆ ตกลงว่าออกอย่างไร ในความเห็นผม ผมว่าไม่ออกเลยทีเดียว
เพราะถ้าออกก็มองไม่เห็นองค์ฌานที่พิจารณาเกิดดับๆอยู่ เพียงแต่ค่อยๆถอยออก จะออก็ไม่ไช่ออกเลย
เมื่อจิตจะคลายจากองค์ฌานแล้ว ก็กลับเข้าไปทำฌานจิตต่ออีก และก็ถอยออกมาดูอีก เหมือนตอนแรก
อยู่ในบ้าน ค่อยๆออกมานอกตัวบ้าน มองดูทั่วไป เมื่อถอยหลังจะออกประตูรั้วบ้านก็กลับเข้าไปเริ่ม
ตั้งต้นใหม่ในบ้าน ถ้าถามว่าอยู่ที่ไหน ก็ตอบบ่าที่บ้าน ทั้งที่จริงไม่อยู่ในตัวบ้าน

ถามว่า ทำไมต้องออก อันนี้ต้องอธิบายนะครับ อินทรีย์ ๕ ที่อนุเคราะห์สมถะและวิปัสสนานั้น ไม่ไช่ว่า
ต้องมีครบเท่านั้น แต่ต้องสมดุลย์กัน ในฌานจิตนั้น สมาธินทรีย์จะล้ำหน้ากว่าสตินทรีย์มาก เมื่อไม่
สมดุลย์กัน ก็จะทำให้สติทำงานได้ไม่ดี เพราะสติลักษณะคือตื่นหรือระลึก สมาธิลักษณะคือตั้งมั่น
ถ้าตั้งมั่นเกิด ก็ขาดดุลย์เรื่องการตื่นหรือระลึก เพราะการระลึกนั้นรูปแบบคือไปตามสิ่งที่เห็นที่รู้
เมื่อตั้งมั่นเกินไป ก็ตามเห็นตามรู้ได้ไม่ถนัด การเห็นไตรลักษณ์ก็จะไม่ชัดเจนตาม การออกจากฌาน
แล้วมาเจริญวิปัสสนาแบบนี้ เรียกว่าการยกสู่วิปัสสนา หรือการพลิก ตรงนี้ถ้าวิปัสสนาจารย์เขารู้และเชื่อ
มั่นว่าเราทำฌานจิตได้จริงๆ เขาแนะวิธีนี้ไปได้เลย เพราะจะง่ายแล้ว นิวรณ์ก็ไม่เกิดแล้วขณะอยู่
ในฌานจิต

ตัวอย่างที่ยกมาคือตัวอย่างการออกจากหลายๆที่ เช่นวิสุทธิมรรค อภิธรรมปิฎก และอภิธัมมัตถะวิภาวินฎีกา
อันแรกนี้มาจากอานาปานะแบบสมถะแล้วยกสู่วิปัสสนา

ก็แล ภิกษุผู้มีจตุกฌานหรือปัญจกฌานเกิดแล้วอย่างนี้ เป็นผู้
ใคร่จะเจริญกรรมฐานโดยวิธีสัลลักขณา (คือวิปัสนา) และวิวัฏฏนา
(คือมรรค) แล้วบรรลุปาริสุทธิ (คือผล) ในอานาปานสติภาวนานี้
(ต่อไป) ย่อมทำฌานนั้นแลให้ถึงความเป็นวสีด้วยอาการ ๕ แคล่ว
คล่องแล้ว กำหนดนามรูปเริ่มตั้งวิปัสนา ถามว่า เริ่มตั้งอย่างไร ?
ตอบว่า อันโยคาวจรภิกษุนั้นออกจากสมาบัติแล้ว
ย่อมเห็นได้ว่า
กรัชกายและจิตด้วย เป็นสมุทัยแห่งลมอัสสาสะปัสสาสะทั้งหลาย เปรียบ
เหมือนเมื่อเตา (สูบ) ของช่างทอง ถูกชักสูบอยู่ ลมอาศัยสูบและ
ความพยายามที่ควรแก่การนั้นของบุรุษ (ประกอบกัน) ย่อมเข้าออก
ได้ฉันใด ลมอัสสาสะปัสสาสะก็อาศัยกายและจิต (ประกอบกัน)
เข้าออกได้ฉันนั้นเหมือนกันแล* ต่อนั้นเธอย่อมกำหนดลงได้ว่า ลม
อัสสาสะปัสสาสะและกายด้วย เป็นรูป จิตและธรรมที่สัมปยุตกับจิตนั้น
ด้วย เป็นอรูป นี้เป็นความสังเขปในการกำหนดนามรูปนั่น ส่วนการ
กำหนดนามรูปโดยพิสดารจักมีแจ้งข้างหน้า

อันนี้บอกอานิสงส์ของสมาธิว่า สามารถทำให้มีวิปัสสนาเป็นอานิสงส์ได้ โดยการออก

[มีวิปัสสนาเป็นอานิสงส์]
(๒) ทั้งการเจริญอัปปนาสมาธิ ทั้งการเจริญอุปจารสมาธิ โดย
นัยแห่งการได้ช่องในที่คับแคบ๒ แห่งพระเสขะและปุถุชนทั้งหลาย ผู้
เจริญ (สมาธิ) ด้วยประสงค์ว่า ออกจากสมาบัติแล้วจักทำวิปัสสนาทั้ง
จิตที่ยังตั้งมั่นอยู่ ชื่อว่ามีวิปัสสนาเป็นอานิสงส์
เพราะสมาธินั้นเป็น
ปทัฏฐาน (เหตุใกล้ที่สุด) แห่งวิปัสสนา เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระ
ภาคเจ้าจึงตรัสไว้ว่า "ดูกรภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายพึงเจริญสมาธิ
เถิด ภิกษุผู้มีจิตตั้งมั่นแล้ว ย่อมรู้ตามความเป็นจริง "๓

ข้อนี้บอกวิธีตรงๆเลย

วิปัสนาวิธีแห่งสมถยานิกะ
พระโยคาวจรผู้ใคร่จะทำทิฏฐิวิสุทธินั้นให้ถึงพร้อม (ว่าด้วย) ผู้
ที่เป็นสมถยานิกะก่อน ออกจากรูปาวจรฌาน และอรูปวจรฌานที่เหลือ
อันใดอันหนึ่ง ยกเว้นเนวสัญญานาสัญญายตนะ๒ แล้วพึงกำหนดจับ
องค์ฌานทั้งหลายมีวิตกเป็นต้น และธรรมทั้งหลายที่สัมปยุตกับองค์ฌาน
นั้น
โดยลักษณะและรสเป็นอาทิ ครั้นกำหนดจับได้แล้วพึงกำหนดลง
ว่าทั้งหมดนั่นเป็นนาม ด้วยอรรถว่าเป็นสิ่งที่น้อมไปได้

ตรงนี้บอกเหตุการณ์ขณะที่ออกจากฌานแล้วมองเห็นได้ดี ขณะเกิดนิพพิทาญาณ

คำว่า นิพฺพทาสหคตา (แปลว่า สหรคตด้วยนิพพิทาญาณ) ได้แก่
บุคคลผู้ได้ปฐมฌานนั้นออกจากฌานแล้ว สหรคตด้วยวิปัสสนาญาณกล่าวว่า
นิพพิทา จริงอยู่ครั้นเมื่อการแตกไปแห่งองค์ของฌาณกำลังเป็นไป วิปัสสนา
ญาณ ย่อมเบื่อหน่าย ย่อมเดือดร้อน เพราะฉะนั้น จึงตรัสเรียกว่า นิพพิทา-
ญาณ ดังนี้.

อีกอันหนึ่งอรรถกถากล่าวถึงตรงๆเลยว่า อยู่ในฌาน ดูสภาวะธรรมไม่ได้

พระสูตรว่า เธอยินดีในฌานนั้น ความว่า ออกจากฌานแล้วจึงยังความ
ยินดีในฌานให้สำเร็จได้ มิใช่หมายถึงความยินดีในฌานในขณะที่กำลัง
เข้าฌานมีฌานเป็นอารมณ์อยู่ เพราะฉะนั้น พระสูตรนี้จึงมิใช่ข้ออ้างว่า
ผู้กำลังเข้าฌานซึ่งมีฌานนั้นเป็นอารมณ์มีความยินดีในฌานนั้นได้ เพราะ
กำลังเข้าฌานก็มีอารมณ์ของฌานนั้นแล้ว จะมีอารมณ์เกิดขึ้นมาพร้อม ๆ
กันอีกไม่ได้ ดังนี้แล.


จากตัวอย่างที่ยกมาบอกลักษณะของวิปัสสนาที่มีสมถะเบื้องหน้าได้อย่างดี
และบอกถึงการออกจากฌานเพื่อส่องสภาวะธรรมด้วย เพราะฌานจิตนั้นมี
อุปจาระและอัปปันนาเป็นสมาธิหลัก แต่เมื่อยกเป็นวิปัสสนาแล้วต้องอาศัย
ขณิกสมาธิ คือปรับสมาธิให้เกิดเป็นขณะๆไป ไม่ให้เกิดไวหรือถี่จนเกินไป
เมื่อสมาธิอันเป็นเหตุให้เกิดขององค์ฌานเริ่มไม่ปรากฏชัดเจน ก็ทำฌานจิต
อีก และสลับทำไปเช่นนี้ไปเรื่อยๆจนถึงจุดของมรรคและผลได้ตามนัยอรรถกถา

อนึ่งผมขอวินิฉัยคำว่า ขณิก หน่อย คำว่า ขณิกะ นี้ เป็นศัพท์ที่บอกเรื่องระยะของ
เวลา ไม่ใช่บอกความหยาบความละเอียด ใช้กำหนดเรื่อความสั้นยาวของกาลเวลา
ขณะยังบอกแสดงจำนวนครั้งได้ เช่น ๖-๗ ขณะจิตเป็นต้น ฉนั้นเรื่องจะบอกว่าสมาธิ
ระดับนี้ความหยาบหรือละเอียดน้อยกว่าอัปปันนาดูจะไม่สมเหตุผล
ตัวอย่างของผู้ที่ใหม่ในการปฏิบัติสายพองยุบ เช่นเมื่อตาเห็นรูป ก็กำหนดในใจว่า
เห็นหนอ คำว่าเห็นเป็นการรู้สภาวะกระทบกันของรูป ใจที่รู้ว่าเห็น(กระทบ)นั้นเป็นนาม
ในตอนนี้เองสมาธิเกิดแล้ว ๑ ขณะที่กำหนด คือเมื่อลงหนอก็เป็นสมาธิ
๑หนอก็ ๑ ขณะ หนอตัวนี้เองเป็นตัวที่จิตยึดเป็นอารมณ์ ยังเป็นสมถะอยู่ ในลำดับต้นสมาธิ
อันนี้ยังหยาบ ต่อเมื่อสมาธิดีขึ้น พร้อมสติที่ดีขึ้น อินทรีย์สมดุลย์กันแล้ว ก็จะรับรู้สภาวะโดยไม่ต้อง
กำหนดเลย เห็นหนอก็จะหายไป แต่ตอนที่รับรู้สภาวะโดยไม่ต้องกำหนดนั้น สมาธิที่เป็นขณิกะก็มี
แต่ไม่ต้องมีบริกรรมช่วยจิตในการกำหนดเลย รับรู้(ไม่ต้องกำหนด)ตามการเห็นสภาวะที่เกิดดับ
กี่ครั้ง ขณิกะก็เกิดมาทุกครั้ง แต่สมาธิที่เกิดมา เป็นลักษณะที่เกิดเป็นคราวๆระยะๆ สม่ำเสมอ
มีความละเอียดมีความบิรสุทธิ์ที่เรียกว่าจิตวิสุทธิ์เลยทีเดียว สมาธิขณะหลัง เท่า เหมือน สมาธิ
ลำดับแรก เป็นสายไปไม่เว้นห่าง ไม่ทิ้งช่วงดุจเหมือนรอยจุดเลย ...........................

อีกข้อหนึงการที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสเรื่องฌานไว้หลายที่ เช่น สงัดจากกามคุณ บรรลุ
ปฐมฌาน มีวิตก ฯลฯ ย่อมเห็น รูป เวทนา ฯลฯ

ทั้งนี้ทรงแสดงตามลำดับสภาวะธรรมที่กำหนดเห็นได้ ไม่ใช่ทรงแสดงตามลำดับการปฏิบัติ
แต่ทรงแสดงตามลำดับของผลการปฏิบัติ พระอรรถกถาจารย์และผู้รจนาคัมภีร์วิสุทธิมรรค
จึงขยายความว่า ออกจากฌานแล้วพึงกำหนดจับ.....ฯลฯ เป็นต้น

ข้อที่ ๒

ตามพระพุทธพจน์นั้นมีข้อที่น่าสังเกตหลายประการ ดังนี้

๑.ท่านวัจฉะท่านเป็นพระอนาคามีบุคคลแล้ว ท่านย่อมรู้ว่าทำอย่างไรจึงบรรลุที่สุดแห่งทุกข์ได้
เพราะปกติถ้าเป็นพระอริยบุคคลแล้ว ย่อมรู้สิ่งที่เป็นทางไป เรียกว่ามัคคามัคคญาณทัสนวิสุทธิ์
คำว่า ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมที่ยิ่งขึ้นไป นั้น หมายเอานอกจากความเป็นพระอรหันต์
ได้แก่อภิญญาต่างๆที่พระอเสขะพึงมีพึงบรรลุ เพราะท่านแสดงเองแล้วว่าของพระเสขะท่านได้แล้ว
ด้วย ๒ ประการ คือ ญาณ หมายถึงปัญญาอย่าง ๑ และ วิชชา หมายถึง อภิญญา ในที่นี้ผมคิดว่าท่าน
ถามถึงอภิญญาหรือวิชชาที่ไม่ไช่อาสวักขยญาณมากกว่า

๒.ตรงคำที่พระพุทธองค์ตรัสบอกนั้น ทรงแสดงไม่ไช่เป็นคู่ๆของการบรรลุ จากเหตุผลในข้อที่ ๑
เอง ทรงให้เจริญทั้งสมถะและวิปัสสนา ตรงนี้เราเข้าใจอยู่แล้วว่า สมถะเป็นบาทของอภิญญา
วิปัสสนาเป็นบาทของปัญญา ตามหน้าที่ เมื่อวัจฉะถามถึงอภิญญา(ตามความเข้าใขของผม)
พระพุทธเจ้าก็ทรงหมายเอาประโยชน์ ๒ ประการคือ สมถะเป็นบาทของอภิญญา วิปัสสนา
เป็นบาทของปัญญา(ความเป็นพระอรหันต์)

๓.คำที่พระพุทธองค์ตรัสว่า จักเป็นไปเพื่อแทงตลอดธาตุหลายประการ คำนี้เองที่พระองค์
ตรัสให้เจริญสมถะคู่กันไป เพราะเจริญวิปัสสนาผลย่อมออกมาทางอาสวักขยญาณ หาก
มีสมถะด้วย การแทงตลอดอภิญญา(ความรู้ที่ยิ่ง,กว่า)ก็จักเกิดด้วย เข้าใจว่าทรงอนุเคราะห์ท่านวัจฉะ
ด้วยแนะให้ทำสมถะ

๔.สมถะที่พระองค์แสดงแนะให้ทำคู่กันไปนี้ ในสภาวะที่สุดจะเป็นสมาบัติเรียกว่า นิโรธสมาบัติ
เพราะสมถะฌานของพระอนาคามีขึ้นไปจะเป็นนิโรธสมาบัติ แต่ของดาบสทั้ง ๒นั้น ไม่มีการนำมรรคเข้า
มาในกระบวนการ ก็จบลงที่สมาธิอัปปันนาเพียวๆ เป็นสมาบัติ ๘ ธรรมดาไป มีโลกียเป็นอารมณ์ ยังมีวิบาก
แต่ในสมถะฌานของอนาคามีที่เป็นนิโรธ จะไม่มีวิบาก เพราะมีพระนิพพานเป็นอารมณ์(ตามบัญญัติภาษา)


ต้องบอกอีกครั้ง ผมยังไม่ถึงที่สุดในความรุ้เรื่องพวกนี้ เหล่านี้รวบรวมมาพอที่จะหาได้ไกล้เคียงกับ
ภาษาปฏิบัติมากที่สุดเท่าที่ผมหาได้ ยังไม่ยุติว่าอย่างไรจึงถูกต้อง ข้อนี้ต้องปฏิบัติเพื่อรู้กันต่อไป
ความรู้สึกผมตอนนี้ยังกล้าๆกลัวๆที่จะพูดเรื่องแบบนี้เลย แต่ด้วยเจตนาที่บริสุทธิ์ ก็เป็นอันว่า พูดบ้างก็ได้หรอก

ถ้ามีอะไรจะพูดคุยแนะนำกัน อาจจะช้าหน่อย วันหยุดผมไปธุระกลับเย็ม ว่างแล้วจะเข้ามาพูดคุยด้วย
เผื่อจะมีอะไรสนทนากัน

อนุโมทนาครับ

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.ค. 2009, 22:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


ตรงประเด็น เขียน:
ขอเรียนถาม คุณกามโภคีเพิ่มอีกบางประเด็นน่ะครับ
## สัมมาสมาธิของภิกษุในธรรมวินัยนี้ ซึ่งแสดงด้วยองค์แห่ง"รูปฌาน๑-๔" ดังปรากฏใน สัจจบรรพแห่งมหาสติปัฏฐานสูตร หาก ดำรงอยู่"ช่วงเวลาสั้นๆ" เช่น ในกรณีของท่านผู้ที่ตรัสรู้อย่างรวดเร็ว .....จะจัดว่าเป็น
อัปปนาสมาธิเพราะเป็นสมาธิระดับฌาน
หรือ เป็น
ขณิกสมาธิเพราะทรงตัวอยู่ช่วงเวลาสั้นๆ
หรือ เป็น
ทั้ง อัปปนาสมาธิ และ ขณิกสมาธิ พร้อมๆกันในขณะเดียว
ครับ?
ปล... คำจำกัดความของอัปปานาสมาธิ คือ

อัปปนาสมาธิ สมาธิแน่วแน่, จิตตั้งมั่นสนิท เป็นสมาธิในฌาน
(ข้อ ๒ ในสมาธิ ๒, ข้อ ๓ ในสมาธิ ๓)


ข้อนี้พิจารณาตามที่ผมได้ให้ความเห็นไว้ในเรื่องที่ถามผม ๒ ข้อ แต่ตามที่เข้าใจ
เป็นอัปปันนา(ในฌานของสัจจบรรพ) เกิดขึ้นไม่กี่ขณะ พอพิจารณาได้สำหรับติกขะบุคคล

แต่ท่านที่บรรลุเร็วนั้น เช่นฟังธรรมแล้วบรรลุ ส่วนมากจะพิจารณาปีติครับ คือเห็นไตรลักษณ์ในปีติ
ซึ่งปีตินี้ได้มีทั้งสมถะและวิปัสสนา ถ้าเวลาว่าง ผมจะรวมข้อความทำนองนี้มาลองให้อ่าน ตอนนี้
ทำหนังสือทำมืออยู่ครับ หลายเล่มเลย วิปัสสนาทั้งนั้น ไม่ทำไว้เดี๋ยวฮาร์ดดิสก์พังก็ซวยเลย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.ค. 2009, 22:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 10
สมาชิก ระดับ 10
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 พ.ย. 2008, 12:29
โพสต์: 814

ที่อยู่: กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนากับทั้ง 2 ท่านเห็นถามตอบกันแค่สองคน ...... :b16:
เพียงแต่อยากจะบอกว่าในเว็บลานธรรม มีผู้รู้อีก 2 ท่านที่รู้ดีในเรื่อง :"สมถะ"ก็คือ
K วิชา กับ K วสวัตตี ส่วน K เฉลิมศักดิ์ เขาชอบเป็น"พหูสูตร"มากกว่า

แต่ยังมีอีกเวปนึงคือเวปพลังจิต เค้าสอนวิธีการเข้าถึงฌาณ 1-4 ด้วยกสิณแสงสว่าง ตามนี้
(ก๊อปลิ้งค์นี้ทั้งหมดไปวางนะ)
http://board.palungjit.com/f126/เล่าประสบการณ์ตรง-และเทคนิควิธีการฝึกกสิณแสงสว่าง-จนถึงฌานสี่-1625.html
เผื่อจะเป็นประโยชน์ต่อคุณกามโภคและคุณตรงประเด็น รวมถึงผุ้ชอบสมถะแบบเพ่งกสิณ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ค. 2009, 00:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


อินทรีย์5 เขียน:
อนุโมทนากับทั้ง 2 ท่านเห็นถามตอบกันแค่สองคน ...... :b16:
เพียงแต่อยากจะบอกว่าในเว็บลานธรรม มีผู้รู้อีก 2 ท่านที่รู้ดีในเรื่อง :"สมถะ"ก็คือ
K วิชา กับ K วสวัตตี ส่วน K เฉลิมศักดิ์ เขาชอบเป็น"พหูสูตร"มากกว่า

แต่ยังมีอีกเวปนึงคือเวปพลังจิต เค้าสอนวิธีการเข้าถึงฌาณ 1-4 ด้วยกสิณแสงสว่าง ตามนี้
(ก๊อปลิ้งค์นี้ทั้งหมดไปวางนะ)
http://board.palungjit.com/f126/เล่าประสบการณ์ตรง-และเทคนิควิธีการฝึกกสิณแสงสว่าง-จนถึงฌานสี่-1625.html
เผื่อจะเป็นประโยชน์ต่อคุณกามโภคและคุณตรงประเด็น รวมถึงผุ้ชอบสมถะแบบเพ่งกสิณ


ขอบคุณมากครับที่แนะนำ การปฏิบัติเห็นจะต่างกัน ขึ้นอยู่กับการสังสม ผมไม่ค้านของใครง่ายๆ เพียงแต่เสนอ
แง่มุมออกไป ตรงไหนผมบอกเองได้ ก็จะไม่อ้างอิง ตรงไหนผมไม่ถึง ไม่รู้ ก็จะอ้างอิง ถ้ามาแบบค้านกันผมว่า
ไม่ถูกต้อง เพราะพระอรหันต์เองเวลาท่านบรรลุ ท่านยังเห็นสภาวะคนละอย่างเลย

เรื่องสมถะผมทำอานาปานะ เพราะยกเข้าวิปัสสนาได้ง่าย ปกติจะทำสติปัฏฐานครับ ถ้าฟุ้งเหลือทน ก็จะทำอานาแก้ไปเป็นคราวๆ

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ค. 2009, 07:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


เรื่อง การจัดแบ่งสมาธิ เป็น ขณิกะ อุปจาระ อัปปานา นั้น

มันเป็นลักษณะการจัดแบ่งเป็น
A ขณิกะ
B อุปจาระ
C อัปปานา

การจัดแบ่งที่ดี ถ้าเป็นA(ขณิกะ) ในขณะนั้นต้องไม่ควรเป็นC(อัปปานา)
และ ถ้าเป็นC(อัปปานา) ในขณะนั้นต้องไม่ควรเป็นA(ขณิกะ)


เรื่อง ที่ว่ามีสมาธิชนิดที่เป็นทั้ง C(อัปปานา) และ ในขณะเดียวกันก็เป็นA(ขณิกะ)ด้วย นั้น ผมสังเกตุเห็นมานานแล้ว
และ เคยไปอ่านพบจุดที่มีกล่าวตรงนั้นไว้ ดังนี้

"โดยเฉพาะใน ฌานที่เป็นโลกุตระ (สงฺคณี อ. 336 ว่าเป็นฌานอัปปนาชั่วขณะจิตเดียว)
มีทั้งอินทรีย์ 5 คือ สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา
มีองค์มรรคครบทั้ง 8 มีสมถะและวิปัสสนาและองค์ธรรมอื่นอีกมาก (อภิ.สํ. 34/196/83)”


คำว่า "ชั่วขณะจิตเดียว"นี้ คือ คำจำกัดความของ ขณิกะ น่ะครับ
มันก็เลยเกิดสภาพที่เรียกว่า เป็นทั้งC(อัปปานา) และ ในขณะเดียวกันก็เป็นA(ขณิกะ)ด้วย




ผมเห็นว่า เกี่ยวกับเรื่อง อย่างไรเรียกว่าสมาธิประเภทไหนนี้ ในระดับพระสูตรที่เป็นพระพุทธพจน์ดั้งเดิม นั้น มีรายละเอียดในลักษณะคำจำกัดความที่ชัดเจนสูงมากอยู่แล้ว เช่น
อย่างไรเรียก อริยะสัมมาสมาธิ(มหาจัตตารีสกสูตร ปริกขารสูตร)
อย่างไรเรียก สัมมาสมาธิของภิกษุในธรรมวินัยนี้(สัจจบรรพ แห่ง มหาสติปัฏฐานสูตร)
อย่างไรเรียก ปฐมฌาน ทุติยฌาน ๆลๆ (หลายต่อหลายพระสูตร)

คือ ในระดับพระสูตรมีความชัดเจนมาก




แต่ เวลาที่ผมคุยกับคนอื่น ที่เขาใช้การจัดแบ่งประเภทสมาธิตามคัมภีร์รุ่นหลังพุทธกาล ผมก็คุยตามที่เขาใช้กัน เช่นกัน.

เพียงแต่ จะพยายามชักชวนกันให้กลับไปใช้สิ่งที่เป็นพระพุทธพจน์โดยตรงในระดับพระสูตร เพราะเห็นว่ารัดกุมกว่าในคัมภีร์รุ่นหลังพุทธกาล


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ค. 2009, 07:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ถ้ามาแบบค้านกันผมว่าไม่ถูกต้อง


ผมเห็นว่า การแสดงความคิดเห็นที่ไม่ตรงกัน(ค้าน) นั้นมีประโยชน์ ทำให้มีมุมมองที่หลากหลาย
แต่ ต้องค้านแบบมีหลักเกฌฑ์ มีเหตุผล มาแสดงการค้าน และ ไม่แสดงอาการที่ไม่เหมาะสมต่อผู้ร่วมสนทนา

ความจริง ที่ผมคุยกับคุณกามโภคีนี้ ก็หาใช่ว่าจะเห็นไม่ตรงกันทั้งหมด

สังเกตุดีๆ หลายจุดเห็นตรงกัน




ผมขออนุญาต ลองสรุปประเด็นการสนทนาในเรื่อง "ฌาน กับ การเจริญปัญญา" ก่อนน่ะครับ
(ถ้าผมสรุปผิด ช่วยบอกด้วยครับ)

1.ฌานเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ในการภาวนาสำหรับบางท่านที่มีจริตนิสัยในด้านนี้(สมถะยานิก=เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า และ เจริญสมถะกับวิปัสสนาคู่เคียงกันไป) ..ตรงนี้น่าจะเห็นตรงกัน

2.โดยที่ หาใช่ว่าผู้ที่ได้ฌานจะไม่สามารถเจริญปัญญาได้...ตรงนี้น่าจะเห็นตรงกัน เพราะเห็นคุณกามโภคีก็กล่าวว่า อาจารย์ของคุณบางท่านก็สอนต่อยอดให้แก่ผู้ที่ได้ฌานด้วย

3.เพียงแต่ คุณกามโภคีเห็นว่า ในขณะที่จิตเป็นฌาน(ไม่ว่าจะเป็นสัมมาสมาธิ หรือ มิจฉาสมาธิ ก็ตาม) จะไม่สามารถพิจารณาอรรถธรรมได้เลย ต้องออกจากฌานเสียก่อนจึงจะพิจารณาอรรถธรรมได้....
ใน ขณะที่ข้อมูลของผม(และ ที่คุณกรัชกายนำมาลง) บ่งชี้ว่า ในฌานที่เป็นไปในทางแห่งสัมมาสมาธิสามารถพิจารณาอรรถธรรมได้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ค. 2009, 08:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


กามโภคี เขียน:

เรื่องสมถะผมทำอานาปานะ เพราะยกเข้าวิปัสสนาได้ง่าย ปกติจะทำสติปัฏฐานครับ ถ้าฟุ้งเหลือทน ก็จะทำอานาแก้ไปเป็นคราวๆ



สาธุครับ :b8:

ในพระสูตร กล่าวไว้ว่า

"อานาปานสติที่เจริญให้มากแล้ว ย่อมยังให้สติปัฏฐานสี่บริบูรณ์...ๆลๆ โพชฌงค์เจ็ดบริบูรณ์ ...ๆลๆวิชชาและวิมุติบริบูรณ์"



อานาปานสตินั้น ถ้าเจริญให้ถูกต้องตามหลักจริงๆ ที่เป็นลักษณะ4ฐาน16ขั้น ดังใน

http://smartdhamma.googlepages.com/home ... uddhadhasa

ในการเจริญเช่นนี้ จะมีการเจริญสติปัฏฐานสี่ไปในตัวเอง และ มีสมบูรณ์พร้อมทั้งสมถะ และ วิปัสสนา ในตัว

ขั้นกายานุปัสสนา สมถะเด่น
ขั้นเวทนานุปัสสนา และ จิตตานุปัสสนา สมถะ และ วิปัสสนา พอๆกัน
ขั้นธัมมานุปัสสนา วิปัสสนาเด่น


ขอเสนอเว็บนี้ มาให้ท่านทั้งหลายลองศึกษาดู

ท่านพุทธทาสท่านประมวลไว้อย่างดีเยี่ยม เป็นลักษณะนำหลักปริยัติมาอธิบายในแบบที่สามารถนำมาปฏิบัติได้เลย
ท่านพุทธทาสท่านเชี่ยวชาญในอานาปานสติภาวนามาก


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ค. 2009, 14:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


เห็นคุณกามโภคีพูดถึง ท่านมหาสีสยะดอ :b8: :b8: :b8:


ผมเองก็ไม่ทราบชัดหรอกว่า วิปัสสนาแนวพม่าเข้ามาเมืองไทยกี่สาย

แต่ ส่วนตัว ผมเคารพท่านมหาสีสยะดอมาก....

ส่วนหนึ่งมาจาก ผมเคยอ่าน ปุจฉา-วิสัชชนาธรรม ที่วิสัชชนาโดยหลวงปู่ มั่น ภูริทัตโต มีผู้กราบเรียนถามท่านว่า การปฏิบัติ ยุบหนอง-พองหนอ ถูกต้องไหม?.... หลวงปู่ท่านตอบชัดเจนครับว่า ถูกต้องแน่นอน เป็นกุศโลบายหนทางหนึ่ง.(หนังสือเล่มนี้ ผมย้อนกลับไปหา แล้วหาไม่พบ เพราะผมย้ายบ้านหลายครั้ง และ บางครั้งคุณแม่ของผมก็เก็บแล้วหาไม่เจอ หรือ เอาไปให้คนอื่นแล้ว).นอกจากนี้ ลูกศิษย์หลวงปู่มั่น บางท่าน ก็กล่าวสรรเสริญท่านมหาสีสยะดอเอาไว้มาก เช่น ที่หลวงปู่บุญญฤทธิ์ท่านกล่าวไว้

จาก หนังสือ เสียงธรรมจากบรัสเซลล์ เบลเยี่ยม
โดย หลวงปู่บุญฤทธิ์ บัณฑิโต (จันทรสมบูรณ์)

เมื่อพระพุทธศาสนาแผ่จากลังกามาในมอญ ในเขมรและจนมาถึงไทยเลยเชื่อกันว่าคนสมัยนี้ไม่มีบุญเสียแล้วที่จะเจริญโลกุตรมรรคผลให้เกิดขึ้นได้ก็เลยไม่คิดที่จะทำกัน จนกระทั่งมาถึงยุคของเราตั้งแต่สมัย ร.๕ เป็นต้นมาจนถึง ร.๙ หลวงปู่มั่นจึงบังเกิดขึ้น ตั้งใจทำจริงๆ รักษาศีลโดยเฉพาะวินัยโดยเคร่งครัด ศีลเป็นพื้นฐานของสมาธิ สติเป็นพื้นฐานจองปัญญา แล้วก็ของเก่าพร้อม จึงสำเร็จขึ้นมาได้

ในยุคเดียวกันของพม่าก็มีมหาสียาดอ รุ่นเดียวกัน คนนี้ทีแรกก็เป็นชาวนา ทีแรกไม่สนใจพุทธ อะไรยังไม่ถึงเวลา มันก็ยังไม่เป็นหรอก สนใจไปวัดไปวาก็ไม่ไป พอถึงเวลาวันหนึ่งคุยกับเมียว่าลองไปดูสักทีว่าเป็นอย่างไร ก็ไปฟังเทศน์ ดูเหมือนจะเรื่องสติปัฏฐาน อันเดียวพอเลย กลับมาบ้านก็พิจารณาแต่สติ ตัวกระทบผัสสะ กระทบตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เดี๋ยวนี้ดูตัวนั้น ได้ยินเดี๋ยวนี้ เห็นเดี๋ยวนี้ รู้เดี๋ยวนี้ กระทบตัวกระทบสำคัญมาก เหลือบเห็นกระทบตา อยากได้ ได้ยินกระทบ ดูตัวนี้ ธรรมชาติของตัวกระทบ รู้ กระทบรู้สึก สติดูตัวเกิดดับ สำเร็จเป็นโสดาบันตั้งแต่เป็นชาวนา ก็เลยบวชภาวนาไปเรื่อยๆ

พระ ๒ องค์นี้มาค้ำจุนศาสนาไว้ ถึงได้มีการตื่นภาวนากันขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทย



ปล... ส่วนตัวผมเอง ก็เชื่อมั่นว่า ท่านมหาสีสยาดอบรรลุคุณธรรมขั้นสูงเช่นกัน น่ะครับ

ผมเอง มีสายเลือดในตัวเป็นสายเลือดพม่าเกือบครึ่งหนึ่ง

คุณปู่ของผมเป็นพม่า(แท้ๆ) ชอบนุ่งโสร่ง เลยล่ะครับ เดิมเคยอยู่แถวยะไข่.คุณย่าของผมเป็นลูกครึ่งไทย-มอญอยู่ในไทย. คุณปู่ทำงานให้บริษัทอีสต์เอเชียติกของอังกฤษในพม่า และ ค้าไม้ให้อังกฤษ จึงต้องไปๆมาๆ ไทยกับพม่า.ลุงของผมเกิดในพม่า ตอนเด็กๆคุณลุงก็เรียนหนังสือที่มัณฑะเลย์ ตอนโตจึงย้ายตามครอบครัวมาไทย.คุณพ่อของผมเกิดในไทยจึงเป็นคนไทย(แต่ ก็มีชื่อพม่าเหมือนกัน).

คุณปู่ คุณย่า ของผมจะเคารพท่านมหาสีสยาดอมากๆ.ตอนเด็กๆ ผมเห็นท่านจะไปทำบุญที่วัดมหาธาตุบ่อยๆ. คุณพ่อผมท่านก็เคารพท่านมหาสีสยาดอมากเช่นกัน.

ผมเองยังมีพระสิวลียืน เป็นงาช้างแกะสลักแบบพม่า(ศิลปะละเอียดมาก)ที่คุณย่าของผมบอกว่า ท่านมหาสีสยาดอ อธิษฐานจิตให้.ทุกวันนี้ ผมยังบูชาพระองค์นี้อยู่ในห้องพระของผม :b1:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ค. 2009, 22:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณตรงประเด็น ผมขอสรุปเรื่องสมาธิของผม อันนี้เอาของผมเอง ไม่อ้างอิงดีกว่า

สมาธิมี ๒ ระดับเท่านั้น คือ (ยึดตามหลักการ)
๑.อุปจารสมาธิ สมาธิที่ไกล้สมาธิที่แน่วแน่
๒.อัปปันนาสมาธิ สมาธิที่แน่วแน่

ลักษณะการเกิด (ตามความเห็นผม)
๑.เกิดสม่ำเสมอ
๒.เกิดสม่ำเสมอ

เรื่องสมาธิคุณคงเข้าใจ เรื่องลักษณะผมจะบอกความเห็นผมหน่อย ลักษณะการเกิดคือ ระยะของความถี่และทรงตัว
ที่ว่าเกิดไม่สม่ำเสมอนั้น หมายถึง เกิดบ่อยบ้าง(ถี่) บางทีแน่วแน่มา บางทีไม่แน่วแน่ บางทีเกิดสม่ำเสมอ แต่ไม่
แน่วแน่และแน่วแน่สลับกันมา

ส่วนเกิดสม่ำเสมอ คือ เกิดเป็นระยะถี่ สมาธิแน่วแน่ ไม่มีสลับ เกิดเป็นขณะๆ แบบเว้นวรรค .........
และแต่ละครั้งจะแน่วแน่ สมาธิที่เกิดขณะหลังเท่าเทียมกับขณะแรก เหมือนกันทุกประการ

ก็เลยสรุปอออกมา สมาธิทั้ง ๒ ระดับ มีลักษณะการเกิดได้ทั้ง ๒ อย่าง แม้ในวิปัสสนาก็มีอัปปันนาสมาธิได้
ถ้าเกิดในรูปที่สม่ำเสมอ เพราะมาไม่ถี่จนพิจารณาอะไรไม่ได้ มีช่องให้พิจารณาได้
แม้จะแน่วแน่ก็ตาม เมื่อเป็นขณะๆ ก็สามารถพิจารณาได้ เพราะธรรมชาติจิตไวมาก สลับไปมาทำงานอย่างมีระ
บบ(อริยมรรคประกอบ) ก็สามารถทำได้ คือแม้จะแน่วแน่ (อัปปันนา) ก็สามารถทำวิปัสสนาได้

ขณิกะหรือลักษณะสม่ำเสมอ ............. อันนี้ไม่เสมอ ___ _ _ ____ _ ___ ____ ___
อันที่ไม่สม่ำเสมอ ช่วงที่ติดยาวจะทำอะไรไม่ได้เลย

จบเรื่องสมาธิของผมเท่านี้ ไม่อยากพูดมาก มันจะยาว ไม่ถนัดพิมพ์

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ค. 2009, 23:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


เพิ่งจะรู้ว่าคุณตรงเป็นเชื้อมอญ ผมก็พอจะมีบ้าง มอญพระประแดง ปู่เป็นมอญผสมจีนที่พระประแดง
เรื่องสายพม่า น่าคิดนะครับ ก่อนถึงสุวรรณภูมิทางบก ถึงพม่าก่อน และพม่าติดกับอินเดีย ย่อมง่ายที่จะถ่ายทอดกัน
ตามประวัติ วิธีของพม่า ท่านว่ารับจากพระโมคคัลีบุตรติสสะเถระ สมัยที่มาสืบศาสนาที่สุวรรณภูมิ แล้วทอดกันมา
เป็นระยะ วิธีการ เช่น พองหนอ ยุบหนอ นี่ บางอย่างประยุกต์เพื่อรองรับคนที่สติ สมาธิยังอ่อน หาใช้พอกพูนบัญญัติ
ผมก็ทำสายนี้ พอวิปัสนาญาณเริ่มเกิด มันจะละเองโดยปริยาย

ผมก็ไม่รู้ว่าคุณปฏิบัติแบบไหน ถ้าทางสายเดียวกับผม แล้วปฏิบัติถูกต้อง ไม่นานคุณจะตีคัมภีร์โดยไม่ต้องอ้างอิงก็ไม่ผิดจากความหมายเลย เพียงแต่เป็นภาษาปฏิบัติเท่านั้นเอง หนังสือทางสายนี้ผมมีมาก ทำมือเองทั้งนั้น
ความรู้เยอะมาก ได้แต่อ่าน เวลาปฏิบัติต้องทิ้ง แล้วเชื่อครูซะ ไม่ยากนำมาฟุ้ง

อนึ่ง ถ้าแนวเดียวกับผม คุณตั้งใจจริงที่จะหลุดพ้น อาจารย์พร้อมหนังสือผมมีเป็นธรรมทานเสมอครับ

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.ค. 2009, 07:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


กามโภคี เขียน:

ผมก็ไม่รู้ว่าคุณปฏิบัติแบบไหน



ผมปฏิบัติ แบบ เจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่ กันไป (แนวทางที่3 ใน4แนวทาง ที่พระอานนท์แสดงในยุคนัทธวรรค) เวลาภาวนาตามรูปแบบใช้อานาปานสติ เวลาในชีวิตประจำวันทั่วๆไปใช้สติตามรู้กายใจลงในปัจจุบันขณะ.
แต่ ความจริง ผมเคารพคำสอนของทุกครูบาอาจารย์(ถ้าคำสอนนั้นๆไม่ไปขัดแย้งกับพระพุทธพจน์ดั้งเดิมอย่างจังเบอร์เข้า) ไม่ว่าจะเป็น พระป่าสายอีสาน สวนโมกข์ คุณยาย ก.เขาสวนหลวง พระอาจารย์ไพศาล ๆลๆ .

ขอบคุณ คุณกามโภคีมากๆน่ะครับ ที่สละเวลามาสนทนาด้วย


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 79 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร