วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 13:55  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 79 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มิ.ย. 2009, 18:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 10
สมาชิก ระดับ 10
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 พ.ย. 2008, 12:29
โพสต์: 814

ที่อยู่: กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
สำหรับคำถามที่ทุกท่านกรุณาถามจะขอนำไปตอบในเดือนหน้านะงับ เนื่องจากช่วงนี้มีภาระมาก ขอบคุงงับ
:b39:
คุณจูกัดเหลียงขงเบ้ง อย่ามาเหนื่อยกับการมาตอบในเรื่องนี้มากเกินไปเลยครับ ตอบเท่าที่พอเราตอบได้
ไปเหนือ่ยกับปฏิบัติกรรมฐานให้มากๆจะดีกว่านะครับ เพราะปฏิบัติและทฤษฏีที่คุณและหลายๆคนตอบไป มันย่อมจะสนับสนุน หรืองัดกัน ด้วยตัวของมันเอง หากใช่มันก้จะไปในทิศทางเดียวหรือส่งเสริมแนวคิดแนวปฏิบัติของเราให้ชัดเจนขึ้น ไม่งั้นจะกลายเป็นว่าเหนื่อยจากงานทางโลกแล้วไม่พอ ยังต่อมาขบคิดเรื่องที่เราตอบไป และเรื่องที่ผู้รู้ฝากถามมาอีก ปวดหัว 2 ต่อเลยนะ :b10: :b23: :b23: :b40:

อีกอย่างที่คนในนี้ตอบมา แสดงว่าเขาต้องศึกษามาดีพอสมควร ถึงได้อธิบายมาในลักษณะนี้ แต่เราก็ควรฟังหูไว้หูก่อน แล้วจึงค่อยพิสูจน์ตาม ถือว่าไม่เสียหลาย :b16:

.....................................................
"มีสติเป็นเรือนจิต ใช้ชีวิตเป็นเรือนใจ ใช้ปัญญาเป็นแสงสว่างส่องทางเดินไปเถิด จะได้ล้ำเลิศในชีวิตของท่าน มีความหมายอย่างแท้จริง"
ในการปฏิบัติธรรม หลวงพ่อท่านบอกว่า ให้ตัดปลิโพธกังวลใจทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น ลูก สามี ภรรยา ความวุ่นวายทั้งหลายทั้งปวง อย่าเอามาเป็นอารมณ์ จากหนังสือ: เจริญกรรมฐาน7วันได้ผลแน่นอน หัวข้อ12: ระงับเวรด้วยการแผ่เมตตา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มิ.ย. 2009, 23:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 เม.ย. 2009, 22:00
โพสต์: 407

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โดยคุณ อินทรีย์5
"เราก็ควรฟังหูไว้หูก่อน แล้วจึงค่อยพิสูจน์ตาม ถือว่าไม่เสียหลาย"

เป็นคำกล่าวของบัณฑิตโดยแท้ครับ เช่นในสมัยหนึ่งพระพุทธองค์ทรงตรัสกับพระสารีบุตรว่าที่พระพุทธองค์แสดงธรรมมานี้ พระสารีบุตรเชื่อหรือไม่เชื่ออย่างไร ซึ่งพระสารีบุตรท่านได้บอกว่า จะขอรับไว้ก่อน และจะลองปฏิบัติดู เมื่อได้ผลอย่างไรแล้วจึงจะตัดสินใจว่าจริงหรือไม่จริง เชื่อหรือไม่เชื่อ เมื่อพระสารีบุตรกล่าวจบแล้วพระพุทธองค์ได้สรรเสริญพระสารีบุตรเป็นอย่างมากครับ
อันนี้เป็นตัวอย่างของความสมดุลกันระหว่าง ปัญญา กับ ศรัทธา ที่ต้องเสมอกัน เป็นสิ่งที่ชาวพุทธทั้งหลายควรจะยึดถือเป็นหลักปฏิบัติ

ขอความเจริญในธรรมจงมีแ่ด่ท่านทั้งหลายนะครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มิ.ย. 2009, 05:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 มี.ค. 2009, 20:48
โพสต์: 744


 ข้อมูลส่วนตัว


อินทรีย์5 เขียน:
อ้างคำพูด:
สำหรับคำถามที่ทุกท่านกรุณาถามจะขอนำไปตอบในเดือนหน้านะงับ เนื่องจากช่วงนี้มีภาระมาก ขอบคุงงับ
:b39:
คุณจูกัดเหลียงขงเบ้ง อย่ามาเหนื่อยกับการมาตอบในเรื่องนี้มากเกินไปเลยครับ ตอบเท่าที่พอเราตอบได้
ไปเหนือ่ยกับปฏิบัติกรรมฐานให้มากๆจะดีกว่านะครับ เพราะปฏิบัติและทฤษฏีที่คุณและหลายๆคนตอบไป มันย่อมจะสนับสนุน หรืองัดกัน ด้วยตัวของมันเอง หากใช่มันก้จะไปในทิศทางเดียวหรือส่งเสริมแนวคิดแนวปฏิบัติของเราให้ชัดเจนขึ้น ไม่งั้นจะกลายเป็นว่าเหนื่อยจากงานทางโลกแล้วไม่พอ ยังต่อมาขบคิดเรื่องที่เราตอบไป และเรื่องที่ผู้รู้ฝากถามมาอีก ปวดหัว 2 ต่อเลยนะ :b10: :b23: :b23: :b40:

อีกอย่างที่คนในนี้ตอบมา แสดงว่าเขาต้องศึกษามาดีพอสมควร ถึงได้อธิบายมาในลักษณะนี้ แต่เราก็ควรฟังหูไว้หูก่อน แล้วจึงค่อยพิสูจน์ตาม ถือว่าไม่เสียหลาย :b16:



สาธุ

.....................................................
“เวลาทำสมาธิ ให้ระลึกลมหายใจเข้าออก ให้รู้ลมหายใจเข้าออก ไม่ต้องบังคับลมหายใจ ตามรู้ลมหายใจเข้าออก สงบก็รู้ ไม่สงบก็รู้ สงบก็ไม่ยินดี ไม่สงบก็ไม่ยินร้าย ไม่เอาทั้งสงบและไม่สงบ เอาแค่รู้ตามความเป็นจริงของสภาวธรรมปัจจุบันนั้น”

ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อคลายกำหนัด
เป็นไปเพื่อไม่ประกอบสัตว์ไว้
เป็นไปเพื่อไม่สั่งสมกิเลส
เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มักน้อย
เป็นไปเพื่อสันโดษ
เป็นไปเพื่อความสงัดจากหมู่คณะ
เป็นไปเพื่อปรารภความเพียร
เป็นไปเพื่อความเป็นคนเลี้ยงง่าย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.ค. 2009, 11:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 เม.ย. 2009, 22:00
โพสต์: 407

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ท่านจูกัดเหลียง อย่าลืืมมาปิดกระทู้ด้วยนะครับจะได้เป็นธรรมทานแก่คนทั่วไป


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.ค. 2009, 19:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




T120509_03C_r.gif
T120509_03C_r.gif [ 13.24 KiB | เปิดดู 3323 ครั้ง ]
ขงเบ้งเทพแห่งกลยุทธ์ เขียน:
สำหรับคำถามที่ทุกท่านกรุณาถามจะขอนำไปตอบในเดือนหน้านะงับ เนื่องจากช่วงนี้มีภาระมาก ขอบคุงงับ



เข้าเดือนใหม่แล้วงับ ท่านข้งเบ้ง คุณอายะรออยู่นะงับ

โดยเฉพาะที่ว่า

(...ผมตอบว่า ไม่จำเป็นเลยก็ได้ เพราะว่า การที่เข้าไปรู้ของสติปฐาน 4 ที่แท้จริงแล้วหมายถึง การไปรู้ว่ากายเคลื่อน จิตเป็นอย่างไร ไม่ใช่ไปรู้ พุท-โธ ก้าว-หนอ พองหนอ-ยุบหนอ)

ช่วยสอบทานกันให้ชัดเจนที ว่ารู้อะไรกันแน่ รู้สติปัฏฐานหรือว่ารู้พุทโธ หรือรู้พองหนอ ยุบหนอ เอากันชัดๆ
ตรงประเด็นไปเลย จะเป็นประโยชน์แก่ผู้ปฏิบัติกรรมฐานต่อไป

นโมพุทธายะมามะมามา มาถกปัญหากับเค้าต่อนะงับ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 07 ก.ค. 2009, 08:43, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ค. 2009, 07:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


มีประเด็นเกี่ยวกับ การเดินจงกรมมาเสนอ และ ขอรับทราบความคิดเห็นน่ะครับ

จาก

๙. จังกมสูตร

[๒๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ในการจงกรม ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน คือ

ภิกษุผู้เดินจงกรมย่อมเป็นผู้อดทนต่อการเดินทางไกล ๑
ย่อมเป็นผู้อดทนต่อการบำเพ็ญเพียร ๑
ย่อมเป็นผู้มีอาพาธน้อย ๑
อาหารที่กิน ดื่ม เคี้ยว ลิ้มแล้วย่อมย่อยไปโดยดี ๑
สมาธิที่ได้เพราะการเดินจงกรมย่อมตั้งอยู่ได้นาน ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ในการเดินจงกรม ๕ ประการนี้แล ฯ

จบสูตรที่ ๙




คือ ในปัจจุบันเราจะได้ยินบ่อยๆถึงคำกล่าวที่ว่า สมาธิที่ดีที่เอื้อต่อการเกิดปัญญาต้องเป็นสมาธิที่ทรงตัวอยู่ชั่วสั้นๆ(เรียกว่า ขณิกสมาธิ)....

ถ้าเป็นสมาธิที่ทรงตัวอยู่นานแล้ว จะถูกเรียกว่า สมาธิแช่ ซึ่งมักจะถูกกล่าวว่า เป็นเหตุให้ไม่เกิดปัญญา


แต่ จากพระสูตรที่รัสแสดงอานิสงส์ของการเดินจงกรมนี้ มีข้อหนึ่งที่ตรัสว่า

สมาธิที่ได้เพราะการเดินจงกรมย่อมตั้งอยู่ได้นาน ๑

ปัญหาคือ คำว่า อานิสงส์ จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ มีความหมาย
อานิสงส์ ผลแห่งความดี, ผลแห่งบุญกุศล, ประโยชน์, ผลดี

ซึ่งถ้าตรัสแสดง สมาธิที่ได้จากการเดินจงกรมซึ่งตั้งอยู่ได้นาน นั้น เป็นอานิสงส์ ......บ่งชี้ว่า สมาธิที่ตั้งอยู่ได้นานเป็นสิ่งที่ดี!!!....

แล้ว จะไม่ขัดแย้งกับความเชื่อในปัจจุบัน ที่ว่า สมาธิที่ทรงตัวอยู่นานไม่ดี หรือ?


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ค. 2009, 08:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




2%20%28118%29.gif
2%20%28118%29.gif [ 15.15 KiB | เปิดดู 3333 ครั้ง ]
มามะมามา ท่านขงเบ้งเทพแห่งกลยุทธ์ ได้คุณตรงประเด็นเข้าร่วมถกปัญหาอีกคนแล้ว
จะให้ดี มีตัวแทนจากเว็บพลังจิต
จากลานธรรมเสวนาด้วย กรณีจงกรมจะสมบูรณ์ทีเดียว หรือ ใครที่พบเห็นที่อื่น สำนักอื่นๆ
แนะนำยังไง
เข้ามาสนทนากันแบบเปิดใจกว้างรับฟังเหตุผลกันก็เชิญนะครับ
นโมพุทธายะมามะมามา มาถกปัญหาจงกรมกันท่านขงเบ้ง ประเด็นน่าสใจนะงับ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ค. 2009, 10:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.ค. 2009, 21:32
โพสต์: 82

ที่อยู่: นครศรีธรรมราช

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: เลือกเอาเถิดค่ะ เลือกให้ถูกกับจริตของเรา :b8:
บางคนชอบนั่ง
บางคนชอบนอน
บางคนชอบยืน
บางคนชอบเดิน
แต่ไม่ว่าชอบแบบไหน ก็เป็นหนทางที่จะเห็นธรรมของพระพุทธเจ้าทั้งสิ้น
ขอเพียงมีความตั้งมั่นในผลของการปฏิบัติ และไม่คลางแคลงสงสัย สติ และใจ
ร่วมด้วยศีลเป็นพื้นฐานแรก ทำไปเถอะค่ะ อย่าท้อ :b51: :b52: :b53:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ค. 2009, 21:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




email17.gif
email17.gif [ 6.37 KiB | เปิดดู 3291 ครั้ง ]
อ้างคำพูด:
ในปัจจุบัน เราจะได้ยินบ่อยๆถึงคำกล่าวที่ว่า สมาธิที่ดีที่เอื้อต่อการเกิดปัญญาต้องเป็นสมาธิที่ทรงตัวอยู่ชั่วสั้นๆ (เรียกว่า ขณิกสมาธิ)....

ถ้าเป็นสมาธิที่ทรงตัวอยู่นานแล้ว จะถูกเรียกว่า สมาธิแช่ ซึ่งมักจะถูกกล่าวว่า เป็นเหตุให้ไม่เกิดปัญญา

แต่ จากพระสูตรที่รัสแสดงอานิสงส์ของการเดินจงกรมนี้ มีข้อหนึ่งที่ตรัสว่า

สมาธิที่ได้เพราะการเดินจงกรมย่อมตั้งอยู่ได้นาน ๑

ปัญหาคือ คำว่า อานิสงส์ จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ มีความหมาย
อานิสงส์ ผลแห่งความดี, ผลแห่งบุญกุศล, ประโยชน์, ผลดี

ซึ่งถ้าตรัสแสดง สมาธิที่ได้จากการเดินจงกรมซึ่งตั้งอยู่ได้นาน นั้น เป็นอานิสงส์ ...บ่งชี้ว่า สมาธิที่ตั้งอยู่ได้นานเป็นสิ่งที่ดี

แล้ว จะไม่ขัดแย้งกับความเชื่อในปัจจุบัน ที่ว่า สมาธิที่ทรงตัวอยู่นานไม่ดี หรือ?


แล้ว จะไม่ขัดแย้งกับความเชื่อในปัจจุบัน ที่ว่า สมาธิที่ทรงตัวอยู่นานไม่ดี หรือ?



เมื่อ...เข้าใจธรรมะเบี่ยงเบนไปเสียอย่างนั้น จึงยากที่จะเห็นสัจธรรม จึงเมื่อได้ยินคำพูดว่า ->


ในการปฏิบัติธรรมชั้นสูงขึ้นไป ที่ถึงขั้นที่จะให้เกิดญาณรู้แจ้งเห็นจริง จนกำจัดอาสวะกิเลสได้ ก็ยิ่งต้อง
การจิตที่สงบนิ่ง ผ่องใส มีสมาธิแน่วแน่ยิ่งขึ้น ถึงขนาดระงับการรับรู้ ทางอายตนะต่างๆได้หมด
เหลืออารมณ์ที่กำหนดไว้ทำการแต่เพียงอย่างเดียว เพื่อกำจัดกวาดล้างตะกอนที่นอนก้นทั้งหลาย
ไม่ให้มีโอกาสขุ่นอีกต่อไป


ยิ่งร้องว่า เป็นไปไม่ได้ๆ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ค. 2009, 17:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


ที่ผมยกประเด็น "สมาธิที่ทรงตัวอยู่ได้นาน" ที่พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า เป็นอานิสงส์(ผลดี)ของการเดินจงกรม มาลงในกระทู้นี้

เพราะ เคยรับทราบแนวคิดที่ว่าสมาธิต้องทรงตัวชั่วครู่เท่านั้นจึงจะเกิดปัญญา(แนวคิดนิยมสมาธิสั้น หรือ ขณิกสมาธินิยม) ...

คือ ท่านเชื่อว่า สมาธิที่ทรงตัวสืบเนื่องกันไป ไม่ใช่ลักษณะชั่วครู่นั้น เป็นลักษณะที่เรียกว่า สมาธิแช่ ทำให้มีผล คือ เฉื่อย ชา และ ทำให้ไม่เห็นธรรม ...ท่านเห็นว่า อุเบกขาในสมาธิ(ที่ทรงตรัสว่ามีสติบริสุทธิ์) เป็นอย่างเดียวกันกับ อาการเฉื่อย ชา(ถีนมิทธะ)

เลยอยากรับทราบ ความเห็นของ ท่าน จขกท.ในประเด็นนี้

ผมเสนอคำถามนี้มาหลายครั้งแล้ว ยังไม่เคยเห็นนักขณิกสมาธินิยมท่านใดอธิบายได้เลยว่า ทำไมพระพุทธองค์ถึงตรัส "สมาธิที่ทรงตัวอยู่ได้นาน" ว่าเป็น ผลดี(อานิสงส์)ของการเดินจงกรม....

ถ้า"สมาธิที่ทรงตัวอยู่ได้นาน"ปิดกั้นการเกิดปัญญา จริง...พระพุทธองค์ต้องไม่ทรงตรัสเช่นนี้สิ ใช่ไหมครับ?


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ค. 2009, 19:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


ก่อนอื่นต้องเข้าใจขณิกสมาธิก่อน เพราะถ้าไม่เข้าใจสมาธิลักษณะนี้ ก็จะไม่เข้าใจพระพุทธพจน์ที่
อ้างมาว่า สมาธิทรงตัวได้นานเป็นผลมาจากการเดินจงกรม

สมาธิทั้ง ๓ แบบ คือ ขณิกะ อุปจาระ และอัปปันนา อย่าได้เข้าใจเป็นระดับหรือเป็นขั้นๆของสมาธิตามที่
อธิบายกันทั่วไป แท้จริงแล้วเมื่อปฏิบัติ จะพบว่า สมาธิทั้ง ๓ แบบนี้ ไม่ไช่สมาธิที่จะกล่าวได้เลยว่า แบบ
ไหนดีกว่ากัน สูงกว่ากัน เพราะสมาธิทั้ง ๓ ระดับนี้ มีสภาวะที่เอื้องต่อการปฏิบัติในแต่ละวิธี
ขณิกสมาธิ ที่อธิบายกันทั่วๆไป ไม่ค่อยตรงนักตามความหมายของการปฏิบัติ อธิบายส่วนมาก็ว่า สมาธิชั่ว
ขณะ หรือสมาธิน้อยๆ ไม่ประติดประต่อ หรือประติดประต่อ แต่เป็นสมาธิไม่แนบแน่น
อุปจารสมาธิและอัปปันนาสมาธิ อธิบายไว้ส่วนมากชอบแล้ว ไม่ค่อยมีปัญหาในเวลานำมาปฏิบัติจริง

ปัญหามีอยู่ที่ขณิกสมาธิ ตามที่คุณตรงฯอ้างพระพุทธพจน์มาก็ถูกต้อง ในส่วนตัวผม ผมว่ายังถูกไม่หมด
เพราะพระองค์ตรัสนั้น เราทุกท่านยังตกลงที่สุดไม่ได้ว่า ทรงประสงค์สมาธิแบบไหน

โดยความจริงจากการปฏิบัติ การเดินจงกรมนั้นไม่สามารถทำสมาธิได้ถึงฌานจิตเลย ในขณะที่จงกรมนั้นไม่สามารถยังฌานจิตให้เกิดขึ้นได้เลย และเมื่อปฏิบัติไปเรื่อยๆ ย่อมจะรู้ได้ว่า ฌานจิตเป็นอุปการะสำหรับ
อิริยาบทที่นิ่งเท่านั้น ในเมื่อการเดินไม่ไช่การนิ่ง ย่อมแสดงให้เห็นว่า คำว่าสมาธิที่ตั้งอยู่นานที่เป็น
อานิสงส์ของจงกรมนั้น ต้องมีหลังจากการเดินจงกรมแล้ว ในพระพุทธพจน์นี้ เข้าใจได้ว่า ทรงหมายถึง
เมื่อเดินจงกรมแล้ว ไปปฏิบัติสมถะต่อ ก็ทำให้เกิดฌานจิตได้ง่ายและอยู่ได้นาน เพราะอย่างที่กล่าวแล้ว
ในอิริยาบทยืน ฌานจิตเกิดไม่ได้เลย อิริยาบทนิ่งเท่านั้นจึงเกิดได้ ตรงนี้เข้าได้กับคำว่า สมถะเป็น
อุปการะแก่วิปัสสนาหรือวิปัสสนาเป็นอุปการะช่วยให้สมถะดีขึ้น หรือ สมถะเบื้องหน้าวิปัสสนาเบื้อง
ปลาย (ตามความหมายคือ สมถะวิปัสสนาเป็นอุปการะแก่กัน)

คำถามมีต่อไปว่า ขณิกสมาธิเป็นอย่างไร ตอบง่ายว่า สมาธิที่เกิดขึ้นขณะหนึ่ง
ขณิกสมาธิ ไม่ไช่สมาธิชั้นแรกหรือชั้นต่ำ หรือสมาธิที่คุณประโยชน์น้อย แต่หากเป็นสมาธิที่อยู่ในระดับ
ที่ช่วยให้หลุดพ้นเช่นเดียวกับสมาธิอื่นๆ เพียงแต่ เราต้องรู้จักวิธีทำให้สมาธิชนิดนี้มีกำลังมากและไว
และทำให้เป็นอุปการแก่การปฏิบัติในแบบต่างๆ ยกตัวอย่างให้เห็นเป็นรูปธรรม ขณิกสมาธิที่ทำถูกวิธี
แล้ว ก็ดุจหมัดซ้ายของเขาทราย แกแลกซี่นั้นเอง ตรงเป้า ไว และหนักหน่วง การรับรู้สภาวะธรรมที่เกิด
ขึ้นในการปฏิบัติก็จะตรงเป้า เรียกว่าทันปัจจุบันธรรม ไวหมายถึงไม่เผลอ หนักหน่วงหมายถึงความถี่
ของการเกิดขณิกสมาธิที่ไวโดยที่ไม่มีกิเลสมาแทรกได้

วิธีที่จะทำให้ขณิกสมาธิได้แบบนี้ เท่าที่ปฏิบัติพบ เห็นจะมีสติกับสัมปชัญญะเท่านั้น ที่จะทำให้สมาธิ
ชั้นนี้มีกำลังมาก ความเข้าใจของผมในแง่นี้เอง ทำให้หมดความสงสัยเรื่องสายการปฏิบัติแบบกำหนด
ยุบหนอพองหนอ เพราะสายนี้รู้วิธีนำสติและสัมปชัญญะมาผนวกกับสมาธิขณิกะ ทำให้เห็นปัจจุบันธรรม
ได้ เห็นไตรลักษณืได้เมื่อสติสัมปชัญญะสมาธิขณิกเสมอกันได้ดุลย์กัน ทำให้สามารถโยนิโสคือการ
เห็นรูปนามได้ตามความจริงได้
เมื่อเข้าใจตามนี้แล้ว ก็จะเข้าใจได้ว่า สมาธิในระดับฌานจิตนั้น ไม่สามารถเห็นสัจจะได้เลย หากจะเห็น
ก็คงต้องออกจากฌานจิตแล้วมาโยนิโส เพราะจริงแล้ว ฌานจิตเป็นเครื่องระงับนิวรณ์ธรรมอันเป็นบาท
ของวิปัสสนา

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ค. 2009, 21:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีครับ ท่านกามโภคี



อ้างคำพูด:
ขณิกสมาธิ ที่อธิบายกันทั่วๆไป ไม่ค่อยตรงนักตามความหมายของการปฏิบัติ


เห็นด้วยครับ

และ มีความเห็นเพิ่มมากกว่านั้นว่า การแบ่งสมาธิเป็นขณิกะ อุปจาระ อัปปานา นั้น ....ถ้าเป็นสิ่งที่สำคัญชนิดที่เรียกว่า ต้องรู้ ถ้าไม่รู้ไม่พ้นทุกข์ พระพุทธองค์ท่านคงแสดงไว้ในระดับพระสูตรแล้ว. คงไม่ต้องรอให้อาจารย์รุ่นหลังพุทธกาลมาจัดแบ่งหรอก

ปล... บางท่านอาจจะไม่ทราบว่า การแบ่งสมาธิ เป็นขณิกะ อุปจาระ อัปปานา นั้น ไม่มีในระดับพระสูตร โดยตรง


จึงมาสู่จุดที่เรียกว่า ไม่รู้จะใช้พระพุทธพจน์ไหนเป็นตัวตัดสินที่แน่นอน...ว่า อย่างไรเรียกขณิกะ อุปจาระ อัปปานา...เพราะ พระพุทธเจ้าไม่ได้ตรัสเอาไว้โดยตรงนั่นเอง



ในคัมภีร์รุ่นหลังพุทธ มีการกล่าวถึง จิตตวิสุทธิ.
ซึ่ง คำว่า จิตตวิสุทธิในระดับพระสูตรเอง(พระสูตรว่าด้วยรถเจ็ดผลัด) ก็ไม่ได้ระบุชัดเจนอีกว่า เป็นสมาธิระดับไหนกันแน่?

ต่างกับ อริยะสัมมาสมาธิ ซึ่งทรงแสดงในระดับพระสูตรอย่างชัดเจนว่า เป็นระดับ เอกัคคตาจิต(มหาจัตตารีสกสูตร และ ปริกขารสูตร ๆลๆ) หรือ แสดงด้วย รูปฌาน๑-๔ในสัจจบรรพแห่งมหาสติปัฏฐานสูตร(บางพระสูตรจะกล่าวรวม ปัจจเวกขณนิมิตไว้ด้วย)


แม้นในคัมภีร์รุ่นหลังพุทธกาลเอง ก็กล่าวเอา อุปจาระสมาธิ และ อัปปานาสมาธิ เป็นจิตตวิสุทธิ "โดยตรง" .... แต่ อาจ"อนุโลม"ขณิกะสมาธิที่มีคุณภาพดีพอเป็นจิตตวิสุทธิได้ด้วย

พูดให้กระชับคือ อุปจาระสมาธิ และ อัปปานาสมาธิ เป็นจิตตวิสุทธิ โดยตรง....
ขณิกะสมาธิ นั้นเพียงอยู่ในลักษณะ"อนุโลม"ให้เป็นจิตตวิสุทธิ



แต่ ชาวพุทธปัจจุบัน ทำตรงกันข้าม คือ ให้ขณิกะสมาธิเป็นจิตตวิสุทธิ. แต่กลับไปบอกว่า สมาธิที่ไม่ใช่ขณิกะสมาธิ(อุปจาระ และ อัปปปานา)เป็นสมาธิแช่ ทำให้เฉื่อย ชา และ ย่อมไม่ใช่จิตตวิสุทธิ...ไปเสียอย่างนั้นล่ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ค. 2009, 21:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อน่ะครับ



อ้างคำพูด:
เราทุกท่านยังตกลงที่สุดไม่ได้ว่า ทรงประสงค์สมาธิแบบไหน


หลังจากพระพุทธองค์ปรินิพพานไปแล้ว พระองค์ไม่ได้ตั้งใครเป็นศาสดาต่อจากพระองค์
แต่ ทรงให้ ธรรมวินัยที่พระองค์ทรงแสดงไว้(ปัจจุบันอยู่ในรูปพระพุทธพจน์แปลไทย)เป็นศาสดา

ดังนั้น เราต้องถือตามพระพุทธพจน์เป็นหลักครับ

สมาธิที่พระพุทธองค์ทรงประสงค์ ก็คือ "อริยะสัมมาสมาธิ" ที่ทรงแสดงด้วยเอกัคคตาจิต(ใน มหาจัตตารีสกสูตร และ ปริกขารสูตร) หรือ "สัมมาสมาธิในอริยมรรคของภิกษุในธรรมวินัยนี้" ที่ทรงแสดงด้วยองค์แห่งรูปฌาน๑-๔ (ใน สัจจบรรพ แห่ง มหาสติปัฏฐานสูตร)

ส่วน สมาธินั้นๆ จะมาจากแนวทางใดในแนวทางที่พระอานนท์สรุปไว้ใน ยุคนัทธวรรค ยุคนัทกถา ก็ได้ทั้งนั้น....ไม่จำกัดว่า จะใช้ สมถะนำหน้าวิปัสสนา วิปัสสนานำหน้าสมถะ หรือ สมถะวิปัสสนาควบคู่กันไป



อ้างคำพูด:
โดยความจริงจากการปฏิบัติ การเดินจงกรมนั้นไม่สามารถทำสมาธิได้ถึงฌานจิตเลย


ผมเองก็ไม่ได้กล่าวในประเด็นว่า เดินจงกรมเป็นฌานจิตได้ หรือ ไม่ได้ น่ะครับ

เพียงแต่นำ พระพุทธพจน์ที่ตรัสว่า สมาธิจากการเดินจงกรมทรงอยู่ได้นาน(และ เป็นสิ่งที่ดี)


อ้างคำพูด:
สมาธิในระดับฌานจิตนั้น ไม่สามารถเห็นสัจจะได้เลย หากจะเห็น
ก็คงต้องออกจากฌานจิตแล้วมาโยนิโส


ตรงจุดนี้ มีข้อมูลไม่ตรงกันครับ

ท่านเจ้าคุณ พระพรหมคุณาภรณ์ ท่านสรุปประมวลไว้ดังนี้

“..ในฌานเจริญวิปัสสนาหรือบรรลุมรรคผล ได้หรือไม่ ?

-มักมีผู้สงสัยว่า ในฌาน จะเจริญวิปัสสนาได้หรือไม่ หรือว่าจะใช้ปัญญาพิจารณาสิ่งใดๆได้หรือไม่ ?

ผู้ที่เข้าใจว่าไม่ได้ มักอ้างเรื่ององค์ฌานว่า ในปฐมฌานมีวิตก และวิจาร พอจะคิดอะไรได้บ้าง แต่ฌานสูงขึ้นไปมีอย่างมากก็เพียง ปีติ สุข และเอกัคคตา จะคิดจะพิจารณาได้อย่างไร ?

ความจริงองค์ฌาน เป็นเพียงองค์ประกอบที่เป็นเกณฑ์ตัดสินว่า ภาวะจิตนั้นเป็นฌานหรือไม่ และเป็นฌานขั้นใด มิใช่หมาย ความว่า ในฌานมีองค์ธรรมเพียงเท่านั้น

อันที่จริงนั้น ในฌานมีองค์ธรรมอื่นๆ อีกมาก ดังที่ท่านบรรยายไว้ทั้งในพระสูตรและพระอภิธรรม (ชั้นเดิม) เช่น
ม.อุ. 14/158/118 กล่าวถึงฌานตั้งแต่ปฐมฌานถึงอากิญจัญญายตนะทุกชั้น ล้วนมี องค์ธรรม เช่น ฉันทะ อธิโมกข์ วิริยะ สติ อุเบกขา มนสิการ เป็นต้น
ใน อภิ.สํ.34/139/44-274/108 แสดงองค์ธรรมทั้งหลายในฌานต่างๆ ทุกระดับ
โดยเฉพาะใน ฌานที่เป็นโลกุตระ - (สงฺคณี อ. 336 ว่าเป็นฌานอัปปนาชั่วขณะจิตเดียว) มีทั้งอินทรีย์ 5 คือ สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา
มีองค์มรรคครบทั้ง 8 มีสมถะและวิปัสสนาและองค์ธรรมอื่นอีกมาก (อภิ.สํ. 34/196/83)”


ๆลๆ

”....ในภาวะแห่งฌานที่ปฏิบัติถูกต้อง เมื่อจิตเป็นสมาธิแน่วแน่แล้ว จิตแนบสนิทกับอารมณ์หนึ่งเดียว สติยิ่งกำหนดชัดเจน ทำให้จิตเหมาะที่จะใช้งานได้ดียิ่งขึ้น
ไม่ใช่เป็นจิตที่เคลิบเคลิ้มเลือนหายหมดความรู้สึก ไม่ใช่อย่างที่ฝรั่งเรียกว่า Trance

โดยเฉพาะฌานที่ 4 จะมีคำแสดงลักษณะว่า “อุเปกขาสติปาริสุทธิ จตุตถชฌาน” แปลว่า จตุตถฌานอันมีอุเบกขาเป็นเครื่องให้สติบริสุทธิ์

และคำสรุปท้ายฌาน 4 เมื่อใช้เพื่อบรรลุวิชชาจะมีว่า “เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องใส ไร้มลทิน ปราศจากสิ่งมัวหมอง นุ่มนวล ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้แล้ว จึงน้อมจิตนั้นไป (นำเอาจิตไปใช้) เพื่อ....” (เช่น ที.สี.9/132/102 และดาษดื่นในพระไตรปิฎกเกือบทุกเล่ม, คำอธิบายดู อภิ.วิ.35/683/352, วิสุทธิ.1/214)….”


ดังนั้น รูปฌาน๑-๔ ที่เป็นสัมมาสมาธิ นั้น สามารถเจริญวิปัสสนาได้แน่นอน และ ดีกว่าสภาวะจิตปกติที่ไม่ปราศจากกามเสียด้วย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ค. 2009, 21:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


ตรงประเด็น เขียน:
ต่อน่ะครับ
โดยเฉพาะฌานที่ 4 จะมีคำแสดงลักษณะว่า “อุเปกขาสติปาริสุทธิ จตุตถชฌาน” แปลว่า จตุตถฌานอันมีอุเบกขาเป็นเครื่องให้สติบริสุทธิ์

และคำสรุปท้ายฌาน 4 เมื่อใช้เพื่อบรรลุวิชชาจะมีว่า “เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องใส ไร้มลทิน ปราศจากสิ่งมัวหมอง นุ่มนวล ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้แล้ว จึงน้อมจิตนั้นไป (นำเอาจิตไปใช้) เพื่อ....” (เช่น ที.สี.9/132/102 และดาษดื่นในพระไตรปิฎกเกือบทุกเล่ม, คำอธิบายดู อภิ.วิ.35/683/352, วิสุทธิ.1/214)….”[/color]

ดังนั้น รูปฌาน๑-๔ ที่เป็นสัมมาสมาธิ นั้น สามารถเจริญวิปัสสนาได้แน่นอน และ ดีกว่าสภาวะจิตปกติที่ไม่ปราศจากกามเสียด้วย


ที่ตัวแดงๆนั่นครับ การน้อมจิต ก็คือการปรับจิตให้เป็นวิปัสสนา เมื่อถูกกวนโดยกิเลสคือนิวรณ์ก็ใช้สมถะทำ
ให้สงบได้ เมื่อสงบควรแก่การงานแล้ว ก็น้อมไปในวิปัสสนาญาณ หาใช่ดำรงค์อยู่ในฌานจิต

อนึ่ง ฌานจิตทุกประเภทมีลักษณะที่ไม่เห็นไตรลักษณ์ ส่วนพระพุทธพจน์ต่างๆนั้น ท่านแสดงโดยลำดับไป
“เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องใส ไร้มลทิน ปราศจากสิ่งมัวหมอง นุ่มนวล ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้แล้ว... ตรงนี้คืออารมณ์สมถะ
จึงน้อมจิตนั้นไป (นำเอาจิตไปใช้) เพื่อ.... ตรงนี้เริ่มทำวิปัสสนา

ตรงประเด็น เขียน:
ต่อน่ะครับ
โดยเฉพาะฌานที่ 4 จะมีคำแสดงลักษณะว่า “อุเปกขาสติปาริสุทธิ จตุตถชฌาน” แปลว่า จตุตถฌานอันมีอุเบกขาเป็นเครื่องให้สติบริสุทธิ์


อุเปกขาสติปาริสุทธิ จตุตถชฌาน” แปลว่า จตุตถฌานอันมีอุเบกขาเป็นเครื่องให้สติบริสุทธิ์ตรงนี้
หมายถึง ทำให้สติในวิปัสสนาบริสุทธิ์(ซึ่งจะเกิดหลังจากสมถะแล้ว) เพราะสติหรือการรู้ตัวนี้ ในสัตว์ทั่ว
ไปก็มี เวลาสัตว์เดินมันก็รู้ว่าเดิน แต่สติของสัตว์นั้นไม่ใช่สติที่บริสุทธิ์ เพราะไม่สามารถเห็นไตรลักษณ์
ได้ ต่างจากสติที่มาจากสมถะหรือวิปัสสนา

อนึ่ง ขณิกสมาธินั้นเมื่อฝึกดีแล้วจะเป็นสมาธิที่มีกำลังเท่ากับสมาธิของฌานจิตเลย อุปมาง่ายๆเหมือน
กับปรมณูที่เล็กนิดเดียว แต่สามารถทำลายล้างได้พอๆกับระเบิดธรรมดาทั่วไป

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ค. 2009, 23:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีเช่นกันครับคุณตรงฯ
รู้สึกว่าสนทนากับคุณแล้ว ผมชอบนะ ตรงที่ไม่ค่อยอ้างหลวงพ่อต่างๆมา ส่วนมากจะอ้างที่ปรากฏใน
คัมภีร์ ผมชอบเพราะคัมภีร์เป็นกลาง แต่ของหลวงพ่อหลวงปูนั้น ท่านประสบมาไม่เหมือนกัน ท่านก็จะ
อธิบายไปตามแนวทางที่ท่านพบมา เรื่องก็กลายเป็นใครชอบแนวไหนก็จะไปแนวนั้นมากกว่า หาที่จบ
ได้ยาก พาลหมองกันอีก

ตรงประเด็น เขียน:
สวัสดีครับ ท่านกามโภคี
และ มีความเห็นเพิ่มมากกว่านั้นว่า การแบ่งสมาธิเป็นขณิกะ อุปจาระ อัปปานา นั้น ....ถ้าเป็นสิ่งที่สำคัญชนิดที่เรียกว่า ต้องรู้ ถ้าไม่รู้ไม่พ้นทุกข์ พระพุทธองค์ท่านคงแสดงไว้ในระดับพระสูตรแล้ว. คงไม่ต้องรอให้อาจารย์รุ่นหลังพุทธกาลมาจัดแบ่งหรอก


ข้อนี้ชอบอยู่ ในอนุพุทธก็มีเยอะ ฟังธรรมแล้วบรรลุ ยังไม่ทันเรียนรู้เลยเรื่องสมาธิ

ตรงประเด็น เขียน:
แม้นในคัมภีร์รุ่นหลังพุทธกาลเอง ก็กล่าวเอา อุปจาระสมาธิ และ อัปปานาสมาธิ เป็นจิตตวิสุทธิ "โดยตรง" .... แต่ อาจ"อนุโลม"ขณิกะสมาธิที่มีคุณภาพดีพอเป็นจิตตวิสุทธิได้ด้วย
พูดให้กระชับคือ อุปจาระสมาธิ และ อัปปานาสมาธิ เป็นจิตตวิสุทธิ โดยตรง....
ขณิกะสมาธิ นั้นเพียงอยู่ในลักษณะ"อนุโลม"ให้เป็นจิตตวิสุทธิ


เรื่อวิสุทธิ ๗ ยกไว้ ไม่มีบอกตรงๆ แต่ตรงนี้น่าจะสนทนากันมากกว่า เพราะจะได้ประโยชน์มาก

อุปจารสมาธิและอัปปันนาสมาธิ เป็นจิตวิสุทธิ์ของสมถยานิก คือผู้ที่ปฏิบัติสมถะ
ส่วนขณิกสมาธินั้นเป็นจิตวิสุทธิ์ของวิปัสสนายานิก คือผู้ที่ปฏิบัติวิปัสสนาล้วนๆ(สุทธวิปัสสนา)
ข้อนี้สมเหตุผลอยู่ คำที่ผมพิมพ์นี้สรุปตามแนววิสุทธิมรรค แต่ที่ผมนำมาสรุปให้ฟังเพราะว่าสอดคล้อง
กับเหตุผล ในผลสุดท้ายของสมาธิแบบอุปจาระ อัปปันนา ในสมถะนั้น ที่เห็นได้ชัดคือนิวรณ์ธรรมสิ้นไป
ในวิปัสสนาเช่นเดียวกัน ในผลสุดท้ายของการปฏิบัติวิปัสสนาขณะที่ขณิกสมาธิดำเนินอยู่ นิวรณ์ธรรม
ก็สิ้นไปเช่นเดียวกัน
อนึ่ง ขณิกสมาธิเมื่อประกอบด้วยวิปัสสนาญาณระดับสูงแล้ว พลัง ความแน่น ในขณะที่เกิดแต่ละครั้ง
จะมีแรงเท่ากับอุปจารสมาธิ การเกิดขึ้นของสมาธิแรกและสมาธิหลังของขณิกสมาธิจะเป็น
จังหวะ ระยะ ความแน่น สม่ำเสมอกัน แม้จะต้องรับรู้ลักษณะของรูปนามต่างๆ จิดแม้มีการเปลี่ยนแปลง
ไปตามภาวะรูปนามที่รับรู้ ก็จะเกิดขึ้นสม่ำเสมอ มีจังหวะระยะที่สม่ำเสมอ ความหนักแน่นก็พอดีกัน
สมาธิขณะหลังที่เกิดเหมือนกับว่าไม่ต่างจากสมาธิขณะแรกที่เกิด ซึ่งก็จะมีลักษณะที่ไม่ต่างจากสมาธิ
ในอุปจาระ
ระดับอัปปันนานั้น ที่บริสุทธิ์เป็นจิตวิสุทธิ์ เพราะไม่มีอารมณ์อื่นเจือปนกับอารมณ์ที่จิตยึดไว้จนเกิดฌาน
จิต และตรงนี้เองทำให้รู้ว่า จิตที่ยึดอารมณ์บัญญัติของอัปปันนานั้น ไม่สามารถรับรู้ลักษณะของรูปนาม
ได้ จิตที่รับรู้ลักษณะหรืออาการของรูปนามได้(รู้ปรมัตถ์)ต้องเป็นจิตที่หน่วงอารมณ์ไม่เกินกว่าอุปจาระ

ผมขอแสดงข้อคิดเห็นอารมณ์ของอัปปันนาไว้หน่อย ไม่เจตนาล่อเป้าให้เป็นข้องเถียง แต่เท่าที่รู้ มัน
จริงดังนี้ อัปปันนาสมาธินั้นมีลักษณะคล้ายหรือเหมือน

นิจจัง เพราะเที่ยงอยู่ในอารมณ์บัญญัติอารมณ์เดียว(เอกัคคตารมณ์)
สุขัง เพราะมีแต่สุขในสภาวะวะของเอกัคคตารมณ์
อัตตา เพราะเป็นการบังคับจิตด้วยบริกรรมให้หยุดอยู่ที่อารมณ์บัญญัติอารมณ์เดียว

อ่านแล้วอาจรุนแรง แต่ลักษณะนี้จริงๆ ถ้าสงสัย ลองทำฌานดูเถิดครับ จะกระจ่างทีเดียว ตรงนี้เอง
ที่ฤาษีชีไพรไม่พบวิมุติ บ้างก็เข้าใจว่าวิมุต พรามณ์ที่เขียนคัมภีร์ปรมาตมันก็คงทำสมถะแล้วพบสุข
ตรงนี้ เลยพาลคิดว่าเหล่านี้เป็นอัตตา
การที่จะเห็นอนุปัสสนาทั้ง ๓ มีอนิจจานุปัสสนานั้น ต้องสมาธิจิตไม่เกินไปกว่าอุปจาระเลย อุปมา
ง่ายๆ คนหลับสนิดสมมติให้เป็นอัปปันนา หลับๆตื่นๆๆเป็นอุปจาระ แค่เคลิ้มๆ เป็นขณิก ลองพิจารณา
ว่าถ้าโจรมาล้อมบ้านเพื่อจะปล้น ใครจะรู้ตัวก่อนกัน

ผมยังไม่พบขณิกในพระไตรปิฏกเลย แต่เราจะรู้จักขณิกได้ในมหาสติปัฏฐานสูตร เพราะอิริยาบทที่ให้
เรากำหนดรู้นั้น ไม่สามารถทำได้ในอัปปันนา ทำได้ในอุปจารลงมา ขณิกนั้น เป็นสมาธิที่สาวกบัญญัติ
ตามคัมภีร์ต่างๆเพื่อให้ง่ายต่อการปฏิบัติ แท้จริง การปฏิบัติวิปัสสนาโดยไม่ใส่ใจในแบบสมถะนั้น เริ่ม
ทีเดียวก็จะเป็นขณิกะ คือสมาธิเกิดไม่สม่ำเสมอ เกิดเป็นขณะ (ในช่วงนามรูปปริเฉท,ปัจจัยปริคหะ)
แต่ในระดับนี้เอง นิวรณ์ก็เบาบางมาก มีเข้ามาบ้างก็แต่น้อย ไล่ง่าย และขณิกที่สาวกบัญญัตินี้เอง จะมี
กำลังกล้าขึ้นเป็นแน่น สม่ำเสมอต่อเมื่อวิปัสสนาญาณแก่กล้า(ช่วงอุทัพพยญาณขึ้นไป) ตอนนี้เองที่
ขณิกมีกำลังดุจอุปจาระนั่นเอง
แท้จริงเมื่อปฏิบัติจนวิปัสสนาญาณเริ่มแก่กล้าแล้ว ก็จะเข้าใจเองว่า การเรียกขณิกก็เหมือนเรียกอุปจาร
นั่นเอง เพียงแต่ผู้ที่ไม่เข้าใจเรื่องภาษาบัญญัติจะไม่รู้ถึงชื่อหรือวิธีเรียก แต่ถ้าส่งอารมณ์แล้ว จะรู้สมาธิ
คนนั้นได้เลยว่าพอกันหรือเท่ากันกับอุปจาระ(แต่ไม่ถึงอัปปันนา)

ในประเด็นนี้ผมรวมๆที่พบมากตามคัมภีร์ทั้งหลังพุทธกาลไม่นานและหลังพุทธกาล ๒๐๐๐ กว่าปี เลย
ไม่อยากยกบาลีมาอ้าง ดูเป็นการไม่เหมาะ แต่จริงแล้วท่านที่แต่ง ท่านก็อธิบายความหมายตามพระไตร
ปิฎกทั้งนั้น และส่วนมาก ชื่อผู้แต่งผู้รจนา ก็พระอรหันต์ทรงคุณส่วนมากเสียด้วย เรื่องมาใส่สีให้หมอง
คงไม่มีแน่

[/quote]แต่ ชาวพุทธปัจจุบัน ทำตรงกันข้าม คือ ให้ขณิกะสมาธิเป็นจิตตวิสุทธิ. แต่กลับไปบอกว่า สมาธิที่ไม่ใช่ขณิกะสมาธิ(อุปจาระ และ อัปปปานา)เป็นสมาธิแช่ ทำให้เฉื่อย ชา และ ย่อมไม่ใช่จิตตวิสุทธิ...ไปเสียอย่างนั้นล่ะ[/quote]

คนที่กล่าวเช่นนี้คือคน ๒ จำพวกนี้ครับ
๑.ไม่รู้เพราะไม่ปฏิบัติ เรียกว่า อัปปฏิบัติ อวิชา
๒.ไม่รู้เพราะปฏิบัติผิด เรียกว่า มิจฉาปฏิบัติ อวิชา

เพราะเมื่อปฏิบัติแล้ว ปฏิบัติถูกแล้ว จะเข้าใจว่า อุปจาระและอัปปันนานั้นมีวิธีการดำเนินต่อยอดไปอีก
ไม่ไช่หยุดแค่สมาธิเพียงเท่านี้ และขณิกสมาธินี้ก็เป็นส่วนหยาบของอุปจาระ
คนที่กล่าวแบบที่คุณยกมานั้น ผมว่าใจแคบ ไม่ศึกษาปฏิบัติให้มากก่อนแล้วมาพูด แค่ตามคัมภีร์ก็มีให้
อ่านแล้วว่าอย่างไรเป็นอย่างไร และส่วนมากจะเป็นพวกยึดครูบาอาจารย์มาก เรียกว่าหลงครูก็ได้
ส่วนขณิกนั้นก็เป็นจิตวิสุทธิ์ตามที่ผมสรุปรวมๆมานั่นแหละครับ

อนึ่ง วิธีดูเรื่องจิตวิสุทธิ์นี้ ในความเห็นผม อย่าได้หาเหตุเรื่องสมาธิเลย ลองวัดที่ผลการปฏิบัติดีกว่า
การที่ปฏิบัติจนเห็นไตรลักษณ์โดยปัจจักขญาณ นั่นแหละเรียกว่าจิตวิสุทธิ์ เพราะจิตเข้าใจความจริง
ของทุกสิ่งโดยปัจจักข์แล้ว แต่ก็นะ กว่าจะเห็น ก็เข้าใจเรื่องสมาธิพอดีนั่นเอง

รบกวนให้คุณตรงประเด็นอ่านมากเลย
อนุโมทนาครับที่ขยันหาความรู้เป็นเหตุปัจจัยของพระนิพพาน

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 79 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร