วันเวลาปัจจุบัน 04 พ.ค. 2025, 04:16  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 56 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มิ.ย. 2009, 19:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(พุทธธรรมหน้า 893)


อริยสัจ ๔

อริยสัจ ๔ เป็นหลักธรรมสำคัญที่ครอบคลุมคำสอนทั้งหมดในพระพุทธศาสนา

ดังนั้น มีข้อควรทราบบางประการเกี่ยวกับอริยสัจ ๔ ดังต่อไปนี้

ฐานะและความสำคัญของอริยสัจ

“ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย รอยเท้าของสัตว์ทั้งหลาย ที่เที่ยวไปบนผืนดินทั้งสิ้นทั้งปวง

ย่อมประชุมลงในรอยเท้าช้าง

รอยเท้าช้างนั้น กล่าวได้ว่าเป็นยอดเยี่ยมในบรรดารอยเท้าเหล่านั้น

โดยความมีขนาดใหญ่ฉันใด

กุศลธรรมทั้งสิ้นทั้งปวง ก็สงเคราะห์ในอริยสัจ ๔ ฉันนั้น”

(ม.มู.12/340/349)


“ภิกษุทั้งหลาย การรู้การเห็นของเราตามความเป็นจริง ครบ ๓ ปริวัฏ ๑๒ อาการ

ในเรื่องอริยสัจ ๔ เหล่านี้ ยังไม่บริสุทธิ์แจ่มชัดตราบใด

ตราบนั้น เราก็ยังปฏิญาณไม่ได้ว่า เราได้บรรลุอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ...”


(ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร, วินย. 4/16/21 และสํ.ม.19/1670/530)


“ภิกษุทั้งหลาย เพราะไม่ตรัสรู้ ไม่เข้าใจอริยสัจ ๔

ทั้งเราและเธอจึงได้วิ่งแล่นเร่ร่อนไป (ในชาติทั้งหลาย) สิ้นกาลนานอย่างนี้”


(ที.ม.10/86/107)


“ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาค ตรัสอนุปุพพิกถาแก่อุบาลีคฤหบดี กล่าวคือ

เรื่องทาน เรื่องศีล เรื่องสวรรค์ เรื่องโทษความบกพร่อง ความเศร้าหมองแห่งกาม

และเรื่องอานิสงส์ในเนกขัมมะ

ครั้นพระองค์ทรงทราบว่า อุบาลีคฤหบดี มีจิตพร้อม มีจิตนุ่มนวล มีจิตปราศจากนิวรณ์

มีจิตปลาบปลื้ม มีจิตเลื่อมใสแล้ว จึงทรงประกาศสามุกกังสิกาธรรมเทศนา

ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย กล่าวคือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค”


(ม.ม.13/74/67 ฯลฯ)


“บุคคลครองชีวิตประเสริฐ อยู่กับพระผู้มีพระภาค ก็เพื่อการรู้ การเห็น การบรรลุ

การกระทำให้แจ้ง การเข้าถึงสิ่งที่ยังไม่รู้ ยังไม่เห็น ยังไม่บรรลุ ยังไม่กระทำให้แจ้ง

ยังไม่เข้าถึง (กล่าวคือข้อที่ว่า) นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”

(องฺ.นวก.23/217/399)


:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41:


สามุกกังสิกาธรรมเทศนา แปลกันว่า พระธรรมเทศนาที่สูงส่ง หรือ ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย

ทรงเชิดชู หรือ เป็นพระธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทรงยกขึ้นแสดง

ไม่เหมือนเรื่องอื่น ๆ ที่มักตรัสต่อเมื่อมีผู้ทูลถาม หรือ สนทนาเกี่ยวข้องไปถึง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 11 ธ.ค. 2010, 16:20, แก้ไขแล้ว 4 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มิ.ย. 2009, 19:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มีสิ่งหนึ่งที่ถือว่า เป็นลักษณะของคำสอนในพระพุทธศาสนา คือ การสอนความจริงที่เป็นประโยชน์

กล่าวคือความจริงที่นำมาใช้ให้เป็นประโยชน์แก่ชีวิตได้

ส่วนสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ แม้เป็นความจริงก็ไม่สอน และ อริยสัจนี้ถือว่า เป็นความจริง

ที่เป็นประโยชน์ในที่นี้

โดยเหตุนี้ พระพุทธเจ้าจึงไม่ทรงสนพระทัย และ ไม่ยอมทรงเสียเวลาในการถกเถียงปัญหา

ทางอภิปรัชญาต่างๆ

มีพุทธพจน์ที่รู้จักกันมากแห่งหนึ่งว่า ดังนี้




“ถึงบุคคลผู้ใดจะกล่าวว่า พระผู้มีพระภาคยังไม่ตอบปัญหา (พยากรณ์) แก่เราว่า

“โลกเที่ยงหรือ โลกไม่เที่ยง โลกมีที่สุด หรือ โลกไม่มีที่สุด

ชีวะอันนั้น สรีระก็อันนั้น หรือ ชีวะก็อย่าง สรีระก็อย่าง

สัตว์หลังจากตายมีอยู่ หรือ ไม่มีอยู่

สัตว์หลังจากตายจะว่ามีอยู่ก็ใช่ จะว่าไม่มีอยู่ก็ใช่ หรือว่าสัตว์หลังจากตาย จะว่ามีอยู่ก็ไม่ใช่

ไม่มีอยู่ก็ไม่ใช่” ดังนี้ ตราบใด

เราก็จะไม่ครองชีวิตประเสริฐ (พรหมจรรย์) ในพระผู้มีพระภาค ตราบนั้น

ตถาคตก็จะไม่พยากรณ์ความข้อนั้นเลย และบุคคลนั้นก็คงตายไปเสียก่อนเป็นแน่

เปรียบเหมือนบุรุษ ถูกยิงด้วยลูกศรอาบยาพิษที่อาบยาไว้อย่างหนา มิตรสหาย ญาติสาโลหิต

ของเขา ไปหาศัลยแพทย์ผู้ชำนาญมาผ่า

บุรุษผู้ต้องศรนั้นพึงกล่าวว่า “ตราบใด ที่ข้าพเจ้ายังไม่รู้จักคนที่ยิงข้าพเจ้าว่า เป็นกษัตริย์

เป็นพราหมณ์ เป็นแพศย์ หรือเป็นศูทร มีชื่อว่าอย่างนี้ มีโคตรว่าอย่างนี้ ร่างสูง เตี้ย

หรือปานกลาง ดำ ขาว หรือคล้ำ อยู่บ้าน นิคม หรือนครโน้น

ข้าพเจ้าจะยังไม่ยอมให้เอาลูกศรนี้ออกตราบนั้น

ตราบใด ข้าพเจ้ายังไม่รู้ว่า ธนูที่ใช้ยิงข้าพเจ้านั้น เป็นชนิดมีแล่ง หรือ ชนิดเป็นเกาทัณฑ์

สายที่ใช้ยิงนั้นทำด้วยปอ ด้วยผิวไม้ไผ่ ด้วยเอ็น ด้วยป่าน หรือ ด้วยเยื่อไม้

ลูกธนูที่ใช้ยิงนั้น ทำด้วยไม้เกิดเอง หรือ ไม้ปลูก หางเกาทัณฑ์ เขาเสียบด้วยขนปีกแร้ง

หรือนกตะกรุม หรือเหยี่ยว หรือนกยูง หรือนกสิถิลหนุ

เกาทัณฑ์นั้น เขาพันด้วยเอ็นวัว เอ็นควาย เอ็นคาง หรือเอ็นลิง

ลูกธนูที่ใช้ยิงเรานั้นเป็นชนิดไร ข้าพเจ้า จะไม่ยอมให้เอาลูกศรออก ตราบนั้น”

บุรุษนั้น ยังไม่ทันได้รู้ความที่ว่านั้นเลย ก็จะต้องตายไปเสียโดยแน่แท้ ฉันใด...

บุคคลนั้น ก็ฉันนั้น”


“แน่ะมาลุงกยบุตร เมื่อมีทิฐิว่า โลกเที่ยง แล้วจะมีการครองชีวิตประเสริฐ (ขึ้นมา)

ก็หาไม่ เมื่อมีทิฐิว่า โลกไม่เที่ยง แล้วจะมีการครอบชีวิตประเสริฐ (ขึ้นมา) ก็หาไม่

เมื่อมีทิฐิว่า โลกเที่ยง หรือว่าโลกไม่เที่ยงก็ตาม

ชาติก็ยังคงมีอยู่ ชราก็ยังคงมีอยู่ มรณะก็ยังคงมีอยู่

โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ก็ยังคงมีอยู่ ซึ่ง (ความทุกข์เหล่านี้แหละ) เป็นสิ่งที่เรา

บัญญัติให้กำจัดเสียในปัจจุบันทีเดียว ฯลฯ”


“ฉะนั้น เธอทั้งหลาย จงจำปัญหาที่เราไม่พยากรณ์ ว่าเป็นปัญหาที่ไม่พยากรณ์ และ จงจำปัญหา

ที่เราพยากรณ์ ว่าเป็นปัญหาที่พยากรณ์เถิด

อะไรเล่าที่เราไม่พยากรณ์ คือ ความเห็นว่า โลกเที่ยง โลกไม่เที่ยง ฯลฯ เพราะเหตุไร

เราจึงไม่พยากรณ์ เพราะข้อนั้น ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่เป็นหลักเบื้องต้นแห่งชีวิตประเสริฐ

ไม่เป็นไปเพื่อนิพพิทา เพื่อวิราคะ เพื่อนิโรธ เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อนิพพาน

อะไรเล่าที่เราพยากรณ์ คือ ข้อว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขมสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา

เพราะเหตุไร เราจึงพยากรณ์ เพราะประกอบด้วยประโยชน์

เป็นหลักเบื้องต้นแห่งชีวิตประเสริฐ เป็นไปเพื่อนิพพิทา เพื่อวิราคะ เพื่อนิโรธ

เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน”


(ม.ม. 13/150-152/147-153)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 06 ก.พ. 2010, 16:40, แก้ไขแล้ว 4 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มิ.ย. 2009, 19:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อีกแห่งหนึ่งพระพุทธเจ้าตรัสว่า สิ่งที่พระองค์ตรัสรู้มีมากมาย แต่ทรงนำมาสอนเพียงเล็กน้อย

เหตุผลที่ทรงกระทำเช่นนั้น ก็เพราะทรงสอนแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ ใช้แก้ปัญหาได้

และสิ่งที่ประกอบด้วยประโยชน์แก้ปัญหาได้นั้น ก็คืออริยสัจ ๔

ทำนองเดียวกับที่ตรัสในพุทธพจน์ข้างต้นนั้น ดังความในบาลีว่า



สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่าสีสปาวัน ใกล้พระนครโกสัมพี

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหยิบใบประดู่ลายจำนวนเล็กน้อยถือไว้ด้วยฝ่าพระหัตถ์

แล้วตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า


“ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายสำคัญว่าอย่างไร ใบประดู่ลายเล็กน้อยที่เราถือไว้ด้วยฝ่ามือกับใบที่อยู่

บนต้นทั้งป่าสีสปาวัน ไหนจะมากกว่ากัน ?


“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ใบประดู่ลายจำนวนเล็กน้อย ที่พระผู้มีพระภาคทรงถือไว้ด้วยฝ่าพระหัตถ์

มีประมาณน้อย ส่วนที่อยู่บนต้นในสีสปาวันนั่นแลมากกว่าโดยแท้


“ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่เรารู้ยิ่งแล้วมิได้บอกแก่เธอทั้งหลายมีมากมายกว่า

เพราะเหตุไร เราจึงมิได้บอก เพราะสิ่งนั้นไม่ประกอบด้วยประโยชน์ มิใช่หลักเบื้องต้น

แห่งพรหมจรรย์ ไม่เป็นไปเพื่อนิพพิทา เพื่อวิราคะ เพื่อนิโรธ เพื่อความสงบ

เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อนิพพาน


“ภิกษุทั้งหลาย อะไรเล่าที่เราบอก เราบอกว่านี้ทุกข์ เราบอกว่านี้ทุกขสมุทัย เราบอกว่า

นี้ทุกขนิโรธ เราบอกว่านี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เพราะเหตุไร เราจึงบอก ก็เพราะข้อนี้ประกอบ

ด้วยประโยชน์ ข้อนี้เป็นหลักเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ ข้อนี้เป็นไปเพื่อนิพพิทา เพื่อวิราคะ

เพื่อนิโรธ เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อนิพพาน ฉะนั้นเราจึงบอก เพราะฉะนั้นแล

ภิกษุทั้งหลายเธอพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ

นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”

“สํ.ม. 19/1712-3/548-9)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 26 มิ.ย. 2010, 13:27, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มิ.ย. 2009, 19:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




m209015.jpg
m209015.jpg [ 103.61 KiB | เปิดดู 7324 ครั้ง ]
อริยสัจ ๔ เป็นหลักธรรมจำเป็นทั้งสำหรับบรรพชิตและคฤหัสถ์

พระพุทธเจ้าจึงย้ำให้ภิกษุทั้งหลายสอนให้ชาวบ้านรู้เข้าใจอริยสัจ

ดังบาลีว่า




“ภิกษุทั้งหลาย ชนเหล่าหนึ่งเหล่าใดที่พวกเธอพึงอนุเคราะห์ก็ดี

เหล่าชนที่พอจะรับฟังคำสอนก็ดี ไม่ว่าเป็นมิตร เป็นผู้ร่วมงาน เป็นญาติ

เป็นสาโลหิตก็ตาม พวกเธอพึงชักชวน พึงสอนให้ดำรงอยู่ ให้ประดิษฐานอยู่ในการตรัสรู้

ตามเป็นจริง ซึ่งอริยสัจ ๔ ประการ”


(สํ.ม. 19/1706/544)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 06 ก.พ. 2010, 16:43, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มิ.ย. 2009, 20:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ความหมายของอริยสัจ


“ภิกษุทั้งหลาย อริยสัจ ๔ ประการเหล่านี้แล เป็นของแท้อย่างนั้น ไม่คลาดเคลื่อนไปได้

ไม่กลายเป็นอย่างอื่น ฉะนั้น จึงเรียกว่า อริยสัจ…


“ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเป็นอริยะ ในโลกพร้อมทั้งเทวะ ทั้งมาร ทั้งพรหม ในหมู่ประชาชน

พร้อมทั้งสมณะและพราหมณ์ พร้อมทั้งเทพและมนุษย์ ฉะนั้น จึงเรียกว่าอริยสัจ

(เพราะเป็นสิ่งที่ตถาคตผู้เป็นอริยะ ได้ตรัสรู้และได้แสดงไว้)”


(สํ.ม.19/1707-8/545)



“ภิกษุทั้งหลาย เพราะได้ตรัสรู้อริยสัจ ๔ นี้ตามเป็นจริง

พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงได้นามเรียกว่าเป็นอริยะ”


(สํ.ม.19/1703/543)


:b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42:


คัมภีร์วิสุทธิมรรค อ้างความในบาลี มาแสดงความหมายของอริยสัจ รวมได้ ๔ นัยคือ

๑. สัจจะที่พระอริยะตรัสรู้

๒. สัจจะของพระอริยะ

๓. สัจจะที่ทำให้เป็นอริยะ

๔. สัจจะอย่างอริยะคือแท้แน่นอน


สำหรับความหมายของอริยสัจแต่ละข้อ พึงทราบตามบาลีดังนี้


“ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แล เป็นทุกขอริยสัจ คือ ชาติ (ความเกิด) ก็เป็นทุกข์

ชรา (ความแก่) ก็เป็นทุกข์ พยาธิ (ความเจ็บไข้) ก็เป็นทุกข์

มรณะ (ความตาย) ก็เป็นทุกข์

การประจวบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์

การพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รักก็เป็นทุกข์ ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์

โดยย่ออุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์


“ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นทุกขสมุทัยอริยสัจ คือ ตัณหาที่ทำให้มีภพใหม่

ประกอบด้วยความเพลินและความติดใจ คอยเพลิดเพลินอยู่ในอารมณ์นั้นๆ

ได้แก่ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา


“ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นทุกขนิโรธอริยสัจ คือ การที่ตัณหานั้นแลดับไปได้

ด้วยการสำรอกออกหมดไม่เหลือ การสละเสียได้ สลัดออก พ้นไปได้

ไม่หน่วงเหนี่ยวพัวพัน


“ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ คือ อริยมรรคมีองค์แปดนี้แล

ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ”



(เช่น ในธัมมจักรกัปปวัตตสูตร วินย. 4/14/16 ฯลฯ)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 27 ก.ย. 2009, 15:08, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มิ.ย. 2009, 20:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.พ. 2009, 04:12
โพสต์: 1067


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: อนุโมทนาสาธุค่ะ อาจารย์ดีใจที่กลับมาแล้ว
อริยสัจจ์สี่ เป็นธรรมค่อนข้างลึกซึ้ง ต้องใช้เวลาศึกษา
โดยละเอียด ช่วงนี้คนไร้สาระ จิตใจเตลิดไปมาก ไปนั่ง
สมาธิช่วยก็ชักจะเริ่มติดอีกแล้วค่ะ

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
...นฺตถิตัณหา สมานที...
ห้วงน้ำใหญ่โต เสมอด้วยตัณหาไม่มี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มิ.ย. 2009, 20:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ช่วงนี้คนไร้สาระ จิตใจเตลิดไปมาก ไปนั่ง
สมาธิช่วย ก็ชักจะเริ่มติดอีกแล้วค่ะ



ไม่พึงกังวลในข้อนี้ครับ ติดดี ดีกว่าติดในสิ่งที่ไม่ดี

หมั่นทำไปเรื่อยๆ ทั้งในการใช้ชีวิตประจำวัน ตามดูรู้ทันพฤติกรรมของกายและความดิด

ชีวิตมีอยู่เท่านี้ ไม่มีอะไรนอกจากนี้ เมื่อรู้เท่าทันแล้วก็ใช้ชีวิตอยู่บนโลกใบนี้แหละตราบชั่ว

อายุขัยของเรา มิใช่รู้แล้วจะหนีไปอยู่นอกโลก :b1:



ชีวิตประกอบด้วยขันธ์ ๕ เท่านั้น

ไม่มีสิ่งใดอื่นอีกนอกเหนือจากขันธ์ ๕ ไม่ว่าจะแฝงอยู่ในขันธ์ ๕ หรืออยู่ต่างหากจากขันธ์ ๕

ที่จะมาเป็นเจ้าของหรือควบคุมขันธ์ ๕ ให้ชีวิตดำเนินไป

ในการพิจารณาเรื่องชีวิต เมื่อยกเอาขันธ์ ๕ ขึ้นเป็นตัวตั้งแล้ว ก็เป็นอันครบถ้วนเพียงพอ


ขันธ์ ๕ เป็นกระบวนการที่ดำเนินไปตามกฎแห่งปฏิจจสมุปบาท คือ มีอยู่ในรูปกระแส

แห่งปัจจัยต่างๆ ที่สัมพันธ์เนื่องอาศัยสืบต่อกัน ไม่มีส่วนใดในกระแสคงที่อยู่ได้

มีแต่การเกิดขึ้นแล้วสลายตัวไปพร้อมกับที่เป็นปัจจัยให้มีการเกิดขึ้นแล้วสลายตัวต่อๆไปอีก

ส่วนต่างๆ สัมพันธ์กัน เนื่องอาศัยกัน เป็นปัจจัยแก่กัน

จึงทำให้กระแสหรือกระบวนการนี้ดำเนินไปอย่างมีเหตุผลและคุมเป็นรูปร่างต่อเนื่องกัน


ในภาวะเช่นนี้ ขันธ์ ๕ หรือ ชีวิต จึงเป็นไปตามกฎแห่งไตรลักษณ์ คือ

อยู่ในภาวะแห่ง อนิจจตา ไม่เที่ยง ไม่คงที่

อนัตตตา ไม่มีส่วนใดที่มีตัวตนแท้จริง และไม่อาจยึดถือเอาเป็นตัวตนได้

ทุกขตา ถูกบีบคั้นด้วยการเกิดขึ้นและสลายตัวอยู่ทุกขณะ

และ พร้อมที่จะก่อให้เกิดความทุกข์ได้เสมอ

ในกรณีที่มีการเข้าไปเกี่ยวข้องด้วยความไม่รู้ (= อวิชชา - หากเกี่ยวข้องด้วยความรู้เข้าใจ

เป็นวิชชา)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 27 ก.ย. 2009, 15:15, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มิ.ย. 2009, 20:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.พ. 2009, 04:12
โพสต์: 1067


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: อนุโมทนาสาธุค่ะ อาจารย์ ขอบพระคุณที่ชี้แนะ
จริง ๆมีคำถามคอยจะถามอาจารย์มานานแล้วแต่เผอิญ
ตอนนี้มีธุระด่วนต้องไปก่อน ไว้พรุ่งนี้คนไร้สาระจะรบกวน
ถามปัญหาค่ะ วันนี้สวัสดีค่ะอาจารย์

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
...นฺตถิตัณหา สมานที...
ห้วงน้ำใหญ่โต เสมอด้วยตัณหาไม่มี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มิ.ย. 2009, 20:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ม.ค. 2009, 02:20
โพสต์: 1387

ที่อยู่: สัพพะโลก

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
ผู้มีจิตเมตตาจะไม่มีศัตรู ผู้มีสติปัญญาจะไม่เกิดทุกข์.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มิ.ย. 2009, 20:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขยายความออกไปอีกเล็กน้อย


๑.ทุกข์ แปลว่า ความทุกข์ หรือ สภาพที่ทนได้ยาก ได้แก่ ปัญหาต่างๆของมนุษย์

กล่าวให้ลึกลงไปอีก หมายถึง สภาวะของสิ่งทั้งหลายที่ตกอยู่ในกฎธรรมดาแห่งความไม่เที่ยง

เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ซึ่งประกอบด้วยภาวะบีบคั้น กดดัน ขัดแย้ง ขัดข้อง มีความบกพร่อง

ไม่สมบูรณ์ในตัวเอง ขาดแก่นสาร และความเที่ยงแท้ ไม่อาจให้ความพึงพอใจเต็มอิ่มแท้จริง

พร้อมที่จะก่อปัญหา สร้างความทุกข์ขึ้นมาได้เสมอ ทั้งที่เกิดเป็นปัญหาขึ้นแล้ว และที่อาจเกิดปัญหาขึ้นมา

เมื่อใดเมื่อหนึ่ง ในรูปใดรูปหนึ่ง แก้ผู้ที่ยึดติดถือมั่นไว้ด้วยอุปาทาน

๒. ทุกขสมุทัย เรียกสั้นๆว่า สมุทัย แปลว่า เหตุแห่งทุกข์ หรือ สาเหตุให้ทุกข์เกิดขึ้น ได้แก่

ความอยากที่ยึดถือเอาตัวตนเป็นที่ตั้ง โดยอาการที่มีเราซึ่งจะเสพเสวย ที่จะได้จะเป็น จะไม่เป็นอย่างนั้น

อย่างนี้ ทำให้ชีวิตถูกบีบคั้นด้วยความเร่าร้อน ร่านรน กระวนกระวาย ความหวงแหน เกลียดชัง หวั่นกลัว

หวาดระแวง ความเบื่อหน่าย หรือความคับข้องติดขัดในรูปใดรูปหนึ่งอยู่ตลอดเวลา

ไม่อาจปลอดโปร่งโล่งเบา เป็นอิสระ สดชื่น เบิกบานได้อย่างบริสุทธิ์สิ้นเชิง ไม่รู้จักความสุขชนิดที่เรียกว่า

ไร้ไฝฝ้าและไม่อืดเฟ้อ

๓. ทุกขนิโรธ เรียกสั้นๆว่า นิโรธ แปลว่า ความดับทุกข์ ได้แก่ ภาวะที่เข้าถึง เมื่อกำจัดอวิชชา

สำรอกตัณหาสิ้นแล้ว ไม่ถูกตัณหาย้อมใจหรือฉุดลากไป ไม่ถูกบีบคั้นด้วยความรู้สึกกระวนกระวาย

ความเบื่อหน่าย หรือความคับข้องติดขัดอย่างใดๆ หลุดพ้นเป็นอิสระ ประสบความสุขที่บริสุทธิ์ สงบ

ปลอดโปร่งโล่งเบา ผ่องใส เบิกบาน เรียกสั้นๆว่า นิพพาน

๔. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เรียกสั้นๆว่า มรรค แปลว่า ปฏิปทาที่นำไปสู่ความดับทุกข์ หรือข้อปฏิบัติให้

ถึงความดับทุกข์ ได้แก่ อริยอัฏฐังคิกมรรค หรือทางประเสริฐมีองค์ประกอบแปด คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ

สัมมาสมาธิ ที่เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา เพราะเป็นทางสายกลาง ซึ่งดำเนินไปพอดีที่จะให้ถึงนิโรธ

โดยไม่ติดข้องหรือเอียงไปหาที่สุดสองอย่าง คือ กามสุขัลลิกานุโยค (ความหมกมุ่นในกามสุข)

และอัตตกิลมถานุโยค (การประกอบความลำบากแก่ตน คือ บีบคั้นทรมานตนเองให้เดือดร้อน เช่น อดข้าว

อดน้ำ เป็นต้น)


:b42: :b41: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:

หากต้องการศึกษาอริยสัจโดยตรง โดยไม่สะดุดกับข้อความอื่นๆในระหว่าง ข้ามไปนี่เลย =>

viewtopic.php?f=7&t=32347

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 06 มิ.ย. 2010, 12:28, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มิ.ย. 2009, 16:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว



อริยสัจข้อที่ ๒ สมุทัย องค์ธรรมได้แก่ คัณหา

เพื่อให้มองเห็นกิเลส คือ อวิชชากับตัณหาชัดยิ่งขึ้น ว่ามีความละเอียดซับซ้อนเพียงใด

จะนำคำอธิบายมาเสริมอีกสักเล็กน้อยก่อน



อวิชชา ความไม่รู้, ไม่รู้ตามเป็นจริง

ภาวะที่เป็นอวิชชา ก็คือการไม่มองเห็นไตรลักษณ์ โดยเฉพาะความเป็นอนัตตา

ตามแนวปฏิจจสมุปบาท คือ ไม่รู้ตระหนักว่า

สภาพที่ถือกันว่าเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขานั้น เป็นเพียงกระแสแห่งรูปธรรมนามธรรม

ส่วนย่อยต่าง ๆ มากมาย ที่สัมพันธ์เนื่องอาศัยเป็นเหตุปัจจัยสืบต่อกัน โดยอาการเกิดสลายๆ

ทำให้กระแสนั้น อยู่ในภาวะที่กำลังแปรรูปอยู่ตลอดเวลา



แม้อวิชชาจะเป็นกิเลสพื้นฐาน เป็นที่ก่อตัวของกิเลสอื่นๆ

แต่ในขั้นแสดงออกเป็นพฤติกรรมต่างๆ ตัณหาย่อมเป็นตัวชักจูง

เป็นตัวบงการและแสดงบทบาทที่ใกล้ชิดเห็นได้ชัดเจนกว่า

ดังนั้น ในทางปฏิบัติ เช่น ในอริยสัจ ๔ จึงกำหนดว่า ตัณหาเป็นเหตุให้เกิดทุกข์

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 27 ก.ย. 2009, 15:29, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มิ.ย. 2009, 16:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ดูความละเอียดของตัณหาภายในจิตใจ



ตัณหา ๓ (อยากได้, อยากเป็นอยู่, อยากให้ดับสูญ) ก็คือ

อาการแสดงออกของตัณหาอย่างเดียวกัน และมีอยู่เป็นสามัญโดยครบถ้วนในชีวิตประจำวัน

ของบุถุชนทุกคน

แต่จะเห็นได้ ต่อเมื่อวิเคราะห์ดูสภาพการทำงานของจิตในส่วนลึก

เริ่มแต่ มนุษย์ไม่รู้ไม่เข้าใจ และ ไม่รู้จักมองสิ่งทั้งหลาย ในรูปของกระบวนการแห่งความสัมพันธ์กัน

ของเหตุปัจจัยต่างๆ ตามธรรมชาติ

จึงมีความรู้สึกมัวๆ อยู่ว่ามีตัวตนของตนอยู่ในรูปใดรูปหนึ่ง

มนุษย์จึงมีความอยากที่เป็นพื้นฐานสำคัญ คือ ความอยากมีอยู่เป็นอยู่ หรือ อยากมีชีวิตอยู่

ซึ่งหมายถึงความอยากให้ตัวตนในความรู้สึกมัวๆ นั้นคงอยู่ยั่งยืนต่อไป

แต่ความอยากเป็นอยู่นี้ สัมพันธ์กับความอยากได้ คือ ไม่ใช่อยากเป็นอยู่เฉยๆ

แต่อยากอยู่เพื่อเสวยสิ่งที่อยากได้ คือ เพื่อเสวยสิ่งที่จะให้สุขเวทนาสนองความต้องการ

ของตนต่อไป

จึงกล่าวได้ว่า ที่อยากเป็นอยู่เพราะอยากได้ เมื่ออยากได้

ความอยากเป็นอยู่ก็ยิ่งรุนแรงขึ้น เมื่อความอยากเป็นอยู่รุนแรง อาจเกิดกรณีที่หนึ่ง คือ

ไม่ได้สิ่งที่อยากทันอยาก จึงเกิดปฏิกิริยาขึ้น คือ ภพ หรือ ความมีชีวิตเป็นอยู่ในขณะ

นั้น ไม่เป็นที่น่าชื่นชม ชีวิตขณะนั้นเป็นที่ขัดใจ ทนไม่ได้ อยากให้ดับสูญไปเสีย

ความอยากให้ดับสูญจึงติดตามมา

แต่ทันทีนั้นเอง ความอยากได้ ก็แสดงตัวออกมาอีก จึงกลัวว่าถ้าดับสูญไปเสีย

ก็จะไม่ได้เสวยสุขเวทนาที่อยากได้ต่อไป ความอยากเป็นอยู่จึงเกิดตามติดมาอีก

ในกรณีที่สอง ไม่ได้สิ่งที่อยาก หรือ กรณีที่สาม ได้ไม่เต็มขีดที่อยาก ได้ไม่สมอยาก

หรือ กรณีที่สี่ ได้แล้วอยากได้อื่นต่อไป




กระบวนการก็ดำเนินไปในแนวเดียวกัน

แต่กรณีที่นับว่า เป็นพื้นฐานที่สุดและครอบคลุมกรณีอื่นๆ ทั้งหมดก็คือ

อยากยิ่งๆขึ้นไป

เมื่อกำหนดจับลงที่ขณะหนึ่งขณะใดก็ตาม

จะปรากฏว่า มนุษย์กำลังแส่หาภาวะที่เป็นสุขกว่าขณะที่กำหนดนั้นเสมอไป

บุถุชนจึงปัด หรือ ผละทิ้งจากขณะปัจจุบันทุกขณะ

ขณะปัจจุบันแต่ละขณะ เป็นภาวะชีวิตที่ทนอยู่ไม่ได้ อยากให้ดับสูญหมดไปเสีย

อยากให้ตนพ้นไป ไปหาภาวะที่สนองความอยากได้ต่อไป

ความอยากได้ อยากอยู่ อยากไม่อยู่

จึงหมุนเวียนอยู่ตลอดเวลา ในชีวิตประจำวันของมนุษย์บุถุชน

แต่เป็นวงจรที่ละเอียดชนิดทุกขณะจิต อย่างที่แต่ละคนไม่รู้ตัวเลยว่า

ชีวิตที่เป็นอยู่แต่ละขณะของตนก็ คือ

การดิ้นรน ให้พ้นไปจากภาวะชีวิตในขณะเก่า และแส่สิ่งสนองความต้องการในภาวะชีวิตใหม่อยู่

ทุกขณะนั่นเอง


เมื่อสืบสาวลงไป ย่อมเห็นได้ว่า ตัณหาเหล่านี้ สืบเนื่องมาจากอวิชชานั่นเอง กล่าวคือ

เพราะไม่รู้สิ่งทั้งหลายตามที่มันเป็น

ไม่รู้จักมัน ในฐานะกระบวนการแห่งเหตุปัจจัย ที่สัมพันธ์ต่อเนื่องกัน จึงเกิดความเห็นผิดพื้นฐาน

เกี่ยวกับเรื่องตัวตนขึ้นมาในรูปใดรูปหนึ่ง คือ เห็นว่า

สิ่งทั้งหลายมีตัวมีตน เป็นชิ้นเป็นอัน เป็นแน่นอนตายตัว ซึ่งจะยั่งยืนอยู่ได้ (= สัสสตทิฐิ - ความเห็น

ว่าเที่ยง ว่ายั่งยืนตายตัว)

หรือไม่ก็เห็นว่า สิ่งทั้งหลายแตกดับสูญ สิ้นสลายตัวหมดไปได้เป็นสิ่งๆ เป็นชิ้นๆ เป็นอันๆไป

(อุจเฉททิฐิ- ความเห็นว่าขาดสูญ ตัดขาดลอยตัว สูญสิ้นดับหาย)


มนุษย์บุถุชนทุกคน มีความเห็นผิดในรูปละเอียดอยู่ในตัวทั้งสองอย่าง จึงมีตัณหา ๓ อย่างนั้น

คือ

เพราะเข้าใจมืดมัวอยู่ในจิตส่วนลึกว่า สิ่งทั้งหลายมีตัวตนยั่งยืนแน่นอนเป็นชิ้นเป็นอัน

จึงเกิดความอยาก ในความเป็นอยู่ หรือภวตัณหาได้


และในอีกด้านหนึ่ง ด้วยความไม่รู้ไม่แน่ใจ ก็เข้าใจไปได้อีกแนวหนึ่งว่า

สิ่งทั้งหลายเป็นตัวเป็นตน เป็นชิ้นเป็นอันแต่ละส่วนละส่วนไป มันสูญสิ้นหมดไป

ขาดหายไปได้ จึงเกิดความอยาก ในความไม่เป็นอยู่ หรือ วิภวตัณหาได้

ความเห็นผิดทั้งสองนี้ สัมพันธ์กับตัณหาในรูปของการเปิดโอกาสหรือช่องทางให้


:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41:


ถ้ารู้เข้าใจ เห็นเสียแล้วว่า สิ่งทั้งหลายเป็นกระแสเป็นกระบวนการแห่งเหตุปัจจัย

ที่สัมพันธ์ต่อเนื่องกัน

ก็ย่อมไม่มีตัวตน ที่จะยั่งยืนตายตัวเป็นชิ้นเป็นอันได้ และก็ย่อมไม่มีตัวตนเป็นชิ้นเป็นอัน

ที่จะหายจะขาดสูญไปได้ ตัณหาก็ไม่มีฐานที่ก่อตัวได้

ส่วนตัณหานั้น ก็ย่อมสืบเนื่องมาจากความเห็นผิดทั้งสองนั้นด้วย เพราะกลัวว่าตัวตน

หรือสุขเวทนาก็ตามจะขาดสูญ สิ้นหายหมดไปเสีย จึงเร่าร้อนแส่หาสุขเวทนาแก่ตน

และเพราะเห็นว่าสิ่งทั้งหลาย มันเป็นตัวเป็นตนเป็นชิ้นเป็นอัน แน่นอนคงตัวอยู่ได้

จึงดิ้นรนไขว่คว้า กระทำย้ำให้หนักแน่นให้มั่นคงอยู่ให้ได้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 27 ก.ย. 2009, 15:42, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มิ.ย. 2009, 16:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตัณหา คห.บนเห็นยากสักหน่อย ดูง่ายๆ หยาบๆ บ้าง



ในรูปที่หยาบ ตัณหาแสดงอาการออกมาเป็นการดิ้นรนแส่หาสิ่งสนองความต้องการต่างๆ

การแส่หาภาวะชีวิตที่ให้สิ่งสนองความต้องการเหล่านั้น ความเบื่อหน่ายสิ่งที่มีแล้ว ได้แล้ว

เป็นแล้ว

ความหมดอาลัยตายอยาก ทนอยู่ไม่ได้โดยไม่มีสิ่งสนองความต้องการใหม่ๆเรื่อยๆไป

ภาพที่เห็นได้ชัดก็คือ มนุษย์ที่เป็นตัวของตัวเองไม่ได้ ถ้าปราศจากสิ่งสนองความต้องการทาง

ประสาททั้ง ๕ แล้ว ก็มีแต่ความเบื่อหน่ายว้าเหว่ทนไม่ไหว ต้องเที่ยวดิ้นรนไขว่คว้าสิ่งสนอง

ความต้องการใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา เพื่อหนีจากภาวะเบื่อหน่ายตัวเอง

ถ้าขาดสิ่งสนองความต้องการ หรือไม่ได้ตามที่ต้องการเมื่อใด ก็ผิดหวัง หมดอาลัยตายอยาก

เบื่อตัวเอง ชังตัวเอง ความสุขความทุกข์จึงขึ้นต่อปัจจัยภายนอกอย่างเดียว

เวลาว่าง จึงกลับเป็นโทษเป็นภัยแก่มนุษย์ได้ทั้งส่วนบุคคลและสังคม

ความเบื่อหน่าย ความซึมเศร้า ความว้าเหว่ ความไม่พอใจ จึงมีมากขึ้น

ทั้งที่มีสิ่งสนองความต้องการมากขึ้น และการแสวงหาความปรนปรือทางประสาทสัมผัสต่างๆ

จึงหยาบและร้อนแรงยิ่งขึ้น

การติดสิ่งเสพติดต่างๆก็ดี การใช้เวลาว่างทำความผิดความชั่วของเด็กวัยรุ่นก็ดี

ถ้าสืบค้นลงไปในจิตใจอย่างลึกซึ้งแล้ว จะเห็นว่าสาเหตุสำคัญ ก็คือ ความทนอยู่ไม่ได้

ความเบื่อหน่ายจะหนีไปให้พ้นจากภพ ที่เขาเกิดอยู่ในขณะนั้นนั่นเอง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 27 ก.ย. 2009, 15:45, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มิ.ย. 2009, 16:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ก.พ. 2008, 09:18
โพสต์: 635

อายุ: 0
ที่อยู่: กองทุกข์

 ข้อมูลส่วนตัว www


ขอบคุณครับ

อริยสัจ 4 นั้นสำคัญมากจริงๆนะครับ cheesy

:b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39:

.....................................................
"ผู้ที่ฝึกจิต ย่อมนำความสุขมาให้"
คิดเท่าไหรก็ไม่รู้ หยุดคิดจึงจะรู้

http://www.luangta.com
รูปภาพ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มิ.ย. 2009, 16:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ถึงอย่างนั้นก็ยังมองอวิชชาตัณหาภายในใจไม่ออก ก็พึงเทียบเคียงตัวอย่างนี้ดู


---ใจมันดิ้นๆไม่อยากอยู่กับที่ค่ะ
ถึงกับอยากเปลี่ยนที่ทำงานเลยทีเดียว

งานที่ทำคือดีไซเนอร์ออกแบบภายในค่ะ
เมื่อก่อนทำงานอยู่กรุงเทพ แต่ตอนนี้ทำงานอิสระอยู่บ้านค่ะ
คิดว่าอยู่ที่บ้านแล้วจะมีความสุขกว่ากรุงเทพ
ไม่ต้องเจอรถติด ปัญหาเครียดๆต่างๆ ได้อยู่กับครอบครัว

แต่ทำอยู่บ้านก็เจอปัญหาค่ะ ทำงานคนเดียวก็เบื่ออีก
เหตุผลต่างๆประดังเข้ามา ว่าอยากหาประสบการณ์เพิ่มบ้าง อยากมีเพื่อนบ้าง
ทีนี้ใจมันดิ้นรน อยากไปทำงานประจำอีกแล้ว
แต่ไม่ทำกรุงเทพค่ะ ขอเป็นที่ต่างจังหวัด ใกล้ๆบ้าน จะได้กลับบ้านเสาร์อาทิตย์
เลยเลือกไปทำที่บริษัทแห่งหนึ่ง แต่ต้องทำงาน 6 วัน แถมไม่ได้หยุดเสาร์อาทิตย์ด้วย

รู้สึกว่า เอ นี่เราต้องการอะไรกันแน่เนี่ย อยู่บ้านไม่ได้มีความสุขที่สุดหรอกเหรอ
เหมือนไม่ว่า จะอยู่ที่ไหนก็โดนทุกข์บีบคั้นให้ดิ้นไปดิ้นมา หาทางออกไม่ได้
แต่จะให้ทำอยู่บ้านต่อไปก็กลัวว่า จะไม่มีงานเข้ามาอีก

ตอนนี้เลยมึนๆน่ะค่ะ ว่าสรุปจะเอาไงกับชีวิตดีหนอ ทำประจำ หรือฟรีแลนด์เหมือนเดิมดี

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 56 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร