วันเวลาปัจจุบัน 22 ก.ค. 2025, 06:34  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 73 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสต์ เมื่อ: 31 มี.ค. 2009, 15:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




18ccd478e2ec218218d2dc7b7fb6edf0_raw.gif
18ccd478e2ec218218d2dc7b7fb6edf0_raw.gif [ 17.69 KiB | เปิดดู 3572 ครั้ง ]
คุณคนไร้สาระพิจารณาความรู้สึกที่เป็นกลางในสังขารทั้งหลายก่อนครับ

(สังขารุเปกขาญาณ - สังขาร+อุเปกขา+ญาณ)




สังขารุเปกขาญาณ ญาณอันเป็นไปโดยความเป็นกลางต่อสังขาร คือ เมื่อพิจารณาสังขารทั้งหลาย

ต่อไป ย่อมเกิดความรู้เห็นสภาวะของสังขารตามเป็นจริงว่ามันก็เป็นอยู่ เป็นไปของมันอย่างนั้น

เป็นธรรมดา

หรือ เป็นธรรมดาของมันอย่างนั้นเอง จึงวางใจเป็นกลางทำเฉยได้ ไม่ยินดียินร้าย ไม่ขัดใจติดใจ

ในสังขารทั้งหลาย

แต่นั้น ก็มองเห็นนิพพานเป็นสันติบท

ญาณจึงโน้มน้อมที่จะมุ่งแล่นไปยังนิพพาน เลิกละความเกี่ยวเกาะกับสังขารทั้งหลาย

ญาณข้อนี้ จัดเป็นสิขาปปัตตวิปัสสนา คือ วิปัสสนาที่ถึงจุดสุดยอด

และเป็นวุฏฐานคามินีวิปัสสนา คือ วิปัสสนาที่เชื่อมถึงมรรค อันเป็นที่ออกจากสิ่งยึด

หรือออกจากสังขาร

:b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42:

ศึกษาลิงค์นี้ครับ

http://www.dhammajak.net/board/viewtopi ... sc&start=0

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 03 ต.ค. 2009, 19:47, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสต์ เมื่อ: 31 มี.ค. 2009, 18:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
อันนี้เป็นคำถามค่ะ
จิตที่เกิดความรู้สึกเบื่อหน่าย มาก ๆ
เห็นแต่ภาระ และความยุ่งยาก ทุกข์ภัยในการกระทำ
ทุกอย่างแม้กระทั่งความคิดที่ผุดขึ้น เกิดจิตลักษณะนี้
เพราะเหตุใดค่ะ


เพราะเหตุปัจจัยขณะนั้นเป็นอย่างนั้น มันก็เป็นอย่างนั้น กล่าวคือธรรมชาติเป็นอย่างนั้น ก็เป็นอย่างนั้น
ไม่เป็นอย่างอื่น เราพึงรู้เห็นตามที่มันเป็น หมายความว่า ขณะใดรู้สึกว่าเบื่อก็รู้ว่าเบื่อ ความรู้สึกเบื่อนั้นดับ ก็เห็นมันดับ สรุปคือ เห็นความรู้สึกนึกคิด เกิด-ดับแต่ละขณะๆ


อ้างคำพูด:
นี่ใช่ไหมค่ะที่เรียกว่า ทางสายกลาง ใจไม่ไหล
ตามกิเลส แต่ก็ไม่ได้บังคับกดข่ม เพราะรู้และยอม
รับ ตามกฏไตรลักษณ์จริง ๆ


ดังกล่าวข้างต้นว่า เห็นความคิดเกิด-ดับ ของสังขารทั้งหลาย จึงจะเรียกว่า เห็นไตรลักษณ์
คือเราเห็นธรรมชาติเกิด-ดับๆๆๆ เพราะนาม-รูป เนี่ย เป็นไตรลักษณ์อยู่เองแล้ว (ไม่ใช่คิดว่า เป็น
ไตรลักษณ์) เมื่อเห็นนามรูปโดยไตรลักษณ์ละเอียดขึ้นๆ แล้วนิพพิทาก็เกิด อุปาทาน คือ ความยึดติดถือมั่น
ก็หมดไปเอง

ถึงจุดนั้นแล้วความรู้สึกต่อๆไปนี้จะเกิด


...ญาณอันเป็นไปโดยความเป็นกลางต่อสังขาร คือ เมื่อพิจารณาสังขารทั้งหลายต่อไป
ย่อมเกิดความรู้เห็นสภาวะของสังขารตามเป็นจริงว่า มันก็เป็นอยู่ เป็นไปของมันอย่างนั้นเป็นธรรมดา
หรือ เป็นธรรมดาของมันอย่างนั้นเอง จึงวางใจเป็นกลางทำเฉยได้ ไม่ยินดียินร้าย ไม่ขัดใจติดใจ ในสังขาร
ทั้งหลาย
แต่นั้น ก็มองเห็นนิพพานเป็นสันติบท ญาณจึงโน้มน้อมที่จะมุ่งแล่นไปยังนิพพาน เลิกละความเกี่ยวเกาะ
กับสังขารทั้งหลาย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสต์ เมื่อ: 01 เม.ย. 2009, 06:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.พ. 2009, 04:12
โพสต์: 1067


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

:b47: ขอบพระคุณเป็นอย่างสูงค่ะ และตามเข้าไปอ่าน
ในเว็ปที่คุณทำลิงค์ไว้ให้และกระทู้ผลของการปฏิบัติ
พอจะได้ความรู้และความ เข้าใจเพิ่มขึ้นค่ะ
คงต้องใช้เวลาเพราะว่าคนไร้สาระ
ไม่เคยเข้าสำนักปฏิบัติธรรมที่ไหนเลย หาอ่านเอาตาม
เว็ปและหนังสือ แม้การนั่งสมาธิ การสวดมนต์ เลย
ทำให้มีคำถามมากหน่อยหนึ่งค่ะ

:b47: ลักษณะอาการจิต ก็เห็นความเบื่อหน่าย ในสังขารต่างๆ
เหมือนคนตัดต้นไม้ไม่ขาด ค่ะ บางครั้งใจก็เห็นคล้อย
ตามความเป็นจริงไม่ติด แต่บางครั้งก็ติด แต่ไม่นาน
จะถอนตัวเร็ว เพราะเห็นภัยที่รออยู่เบื้องหลัง
เห็นความเป็นปัจจัย ซึ่งกัน เห็นแต่สภาวะที่เกิดขึ้น
ผุดมาจากความว่าง ล้วนแล้วเป็นมายาการ
ไม่มีแก่นสารสาระ ประมาณว่า.....
เห็นแต่ ยังไม่ยอมรับแบบทั้งใจ

:b47: อาการจิตก็ไม่ได้อยากรักษา ทั้งความดีและสลัดความชั่ว
โดยเฉพาะการวิ่งแสวงหาบุญต่าง ๆก็ไม่รู้สึกอย่างนั้นอีก
เพราะมองเห็นวิบากที่เกิดจากกรรมที่จะต้องเกิดขึ้นมาอีก
ไม่ว่าจะเป็นความดีหรือความชั่ว (เป็นพัก ๆ)
เคารพ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ด้วยจิตจริง ๆ

วันนี้ขออนุญาติถามหลายข้อหน่อยค่ะ

:b47: เมื่อนั่งสมาธิใหม่ๆ ประมาณ 1 ปีกว่า ๆ ผ่านมาแล้ว
จะรู้สึกได้ว่า จิตผ่านฌาน อะไรที่เขาเรียกกัน ช่วงระยะ
หลัง ๆ สมาธิจะเร็วและง่าย แต่เหมือนรู้สึกว่า สงบแล้ว
เป็นกลางไปเลย และบางครั้ง จิตจะเป็นสมาธิแม้
กระทั่งคุยกับคนอื่นอยู่ ไม่ได้มีท่าทาง
หรือพิธีกรรมอะไรเลย อย่างนี้ถือว่านอกหลู่นอกทาง
หรือเปล่าค่ะ

:b47: เมื่อเข้าสมาธิจนถึงระดับสงบ กายหายไปหมดเห็นแต่จิต
อย่างเดียว ทำไมจึงมีความคิดผุดขึ้นดับลง มีจิตตั้งมั่นอยู่
เหมือนคนยืน อยู่บนฝั่ง เห็นอะไร ๆ ลอยมากับน้ำแต่
ไม่ได้ชอบหรือเกลียด เมื่อถึงเวลาจนจิตถอนตัวออก
จากสมาธิเอง และรู้สึกว่า ไม่ได้ฟุ้งซ่าน เพราะไม่
ได้ไหลไปกับของที่ไหลมากัีบน้ำ
อาการลักษณะนี้เรียกว่าฟุ้งซ่านหรือเปล่าค่ะ

:b47: วันหนึ่งคนไร้สาระไปวัด ขณะที่นั่งรอพระให้พร คนอื่นๆ
ก็เตรียมสำรับ แต่ตามองเห็นอาการที่เขาเดิน เหมือน
สโลว์โมชั่น เหมือนเขาเอาภาพมาต่อๆ กันเรียงกันลักษณะ
ฟิลม์หนัง เห็นรูปหนึ่งขาดไป มีอีกรูปหนึ่งเกิดขึ้นใหม่แทน
เห็นอย่างนี้ประมาณ 2-3 นาที จากนั้นก็กลับสู่ภาวะปกติ
(เหตุการณ์นี้ผ่านมานานแล้วค่ะ)

:b47: เป็นความกรุณาอย่่างสูงค่ะคุณกรัชกาย คนไร้สาระ
กำลังพิจารณา สังขารุเปกขาญานตาม ที่คุณแนะนำ
คงต้องใช้เวลานิดหนึ่งค่ะ มีอะไรกรุณาแนะนำ
เพิ่มเติมด้วยค่ะ

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
...นฺตถิตัณหา สมานที...
ห้วงน้ำใหญ่โต เสมอด้วยตัณหาไม่มี


โพสต์ เมื่อ: 01 เม.ย. 2009, 19:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




961457njqoucs7zc.gif
961457njqoucs7zc.gif [ 175.99 KiB | เปิดดู 3570 ครั้ง ]
พึงทำความเข้าใจ “การมีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์ หรือ การเป็นอยู่ในปัจจุบัน” ให้ถูกต้องก่อนปฏิบัติ

กรรมฐาน


ความเป็นอยู่ในปัจจุบัน หมายถึงมีสติตามทันสิ่งที่รับรู้เกี่ยวข้อง หรือ ต้องทำอยู่ในเวลานั้นๆ

แต่ละขณะทุกๆ ขณะ



คำว่า “ปัจจุบัน” ในทางธรรมขั้นฝึกอบรมจิต หมายถึงขณะเดียวที่กำลังเกิดขึ้นเป็นอยู่

ถ้าจิตรับรู้สิ่งใดแล้ว เกิดความชอบใจหรือไม่ชอบใจขึ้น ติดข้องวนเวียนอยู่กับภาพของสิ่งนั้น

ที่สร้างซ้อนขึ้นในใจ ก็เป็นอันตกไปอยู่ในอดีต ตามไม่ทัน

หลงหลุดไปจากขณะปัจจุบันแล้ว หรือจิตหลุดลอยจากขณะปัจจุบัน ไปเกาะเกี่ยวกับภาพสิ่งที่ยัง

ไม่มา ก็เป็นอันฟุ้งไปในอนาคต


(นำมาพอได้ใจความพุทธธรรมหน้า 702)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 03 ต.ค. 2009, 19:53, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสต์ เมื่อ: 01 เม.ย. 2009, 20:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ลักษณะอาการจิต ก็เห็นความเบื่อหน่าย ในสังขารต่างๆ
เหมือนคนตัดต้นไม้ไม่ขาดค่ะ บางครั้งใจก็เห็นคล้อย
ตามไม่ติด แต่บางครั้งก็ติด แต่ไม่นานจะถอนตัวเร็ว
เพราะเห็นภัยที่รออยู่เบื้องหลัง เห็นความเป็นปัจจัย
ซึ่งกัน เห็นแต่สภาวะที่เกิดขึ้น ผุดมาจากความว่าง
ล้วนแล้วเป็นมายาการ ไม่มีแก่นสารสาระ ประมาณว่า
เห็นแต่ ยังไม่ยอมรับแบบทั้งใจ ว่าไม่มีทางไหนอีก


อาการจิต ก็เห็นความเบื่อหน่าย ในสังขารต่างๆ
เหมือนคนตัดต้นไม้ไม่ขาดค่ะ บางครั้งใจก็เห็นคล้อย
ตามไม่ติด แต่บางครั้งก็ติด


วงจรความคิดยังไม่เคยขาดครับ แต่เท่าที่เล่ามาก็ไม่เสียหาย พึงดูพิจารณาความรู้สึกนึกคิด ทั้งชอบใจ
ไม่ชอบใจเรื่อยๆไป

(ดูธรรมชาติครับ)

ความเป็นอนิจจัง ทุกข์ และอนัตตา เป็นลักษณะสามัญของสิ่งทั้งหลาย เป็นความจริงที่แสดงตัว
ของมันเองอยู่ตามธรรมดาตลอดทุกเวลา แต่คนทั่วไปก็มองไม่เห็น ทั้งนี้เพราะเป็นเหมือนมีสิ่งปิดบัง
คอยซ่อนคลุมไว้ ถ้าไม่มนสิการ คือ ไม่ใส่ใจพิจารณาอย่างถูกต้อง ก็มองไม่เห็น
สิ่งที่เป็นเหมือนเครื่องปิดบังซ่อนคลุม อนิจจังไว้ก็ คือ สันตติ

สันตติ บังอนิจจลักษณะ เพราะมิได้มนสิการความเกิดและความดับ หรือ ความเกิดขึ้นและความเสื่อมสิ้นไป
ก็ถูก สันตติ ความสืบต่อ หรือ ความเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ปิดบังไว้ อนิจจลักษณะจึงไม่ปรากฏ

(มีอธิบายต่อ)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสต์ เมื่อ: 01 เม.ย. 2009, 20:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(ต่อ)


สิ่งทั้งหลายที่เรารู้ เราเห็นนั้น ล้วนแต่มีความเกิดขึ้นและความแตกสลายอยู่ภายในตลอดเวลา

แต่ความเกิดดับนั้น เป็นไปอย่างหนุนเนื่องติดต่อกันรวดเร็วมาก คือ เกิด-ดับ- เกิด-ดับ เกิด-ดับ

ฯลฯ ความเป็นไปอย่างต่อเนื่อง อย่างรวดเร็วยิ่งนั้น

ทำให้เรามองเห็นเป็นว่า สิ่งนั้นคงที่ถาวร เป็นอย่างหนึ่งอย่างเดิม

ไม่มีความเปลี่ยนแปลง เหมือนอย่างตัวเราเอง หรือคนใกล้เคียงอยู่ด้วยกันมองเห็นกันเสมือน

ว่าเป็นอย่างเดิม ไม่เปลี่ยนแปลง

แต่เมื่อเวลาผ่านไปนาน สังเกตดู หรือไม่เห็นกันนานๆ เมื่อพบกันอีกจึงรู้ว่าได้มีเปลี่ยนแปลงไป

แล้วจากเดิม

แต่ตามความเป็นจริง ความเปลี่ยนแปลงนั้นเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาทีละน้อยและต่อเนื่อง

จนไม่เห็นช่องว่าง


ตัวอย่าง เปรียบเทียบพอให้เห็นง่ายขึ้น เช่น ใบพัดที่กำลังหมุนอยู่อย่างเร็วยิ่ง

มองเห็นเป็นแผ่นกลมแผ่นเดียวนิ่ง

เมื่อทำให้หมุนช้าลง ก็เห็นเป็นใบพัดกำลังเคลื่อนไหว แยกเป็นใบๆ เมื่อจับหยุดมองดู

ก็เห็นชัดว่าเป็นใบพัดต่างหากกัน 2 ใบ 3 ใบ หรือ 4 ใบ

หรือ เหมือนคนเอามือจับก้านธูป ที่จุดไฟติดอยู่แล้วแกว่งหมุนอย่างรวดเร็วเป็นรูปวงกลม

มองดูเหมือนเป็นไฟรูปวงกลม

แต่ความจริง เป็นเพียงธูปก้านเดียวที่ทำให้เกิดรูปต่อเนื่องติดเป็นพืดไป

หรือ เหมือนหลอดไฟฟ้าที่ติดไฟอยู่สว่างจ้า มองเห็นเป็นดวงไฟที่สว่างคงที่

แต่ความจริงเป็นกระแสไฟฟ้าที่เกิดดับไหลเนื่องผ่านไปอย่างรวดเร็ว

หรือ เหมือนมวลน้ำในแม่น้ำ ที่มองดูเป็นผืนหนึ่งผืนเดียว แต่ความจริงเป็นกระแสน้ำที่ไหลผ่านไปๆ

เกิดจากน้ำหยดน้อยๆ มากมายมารวมกัน และไหลเนื่อง

สิ่งทั้งหลายดังตัวอย่างเหล่านี้ เมื่อใช้เครื่องมือ หรือวิธีการที่ถูกต้อง มากำหนดแยกมนสิการ

เห็นความเกิดขึ้นและความดับไป จึงจะประจักษ์ความไม่เที่ยงแท้ ไม่คงที่ เป็นอนิจจัง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 03 ต.ค. 2009, 19:58, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสต์ เมื่อ: 01 เม.ย. 2009, 20:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
อาการจิตก็ไม่ได้อยากรักษา ทั้งความดีและสลัดความชั่ว
โดยเฉพาะการวิ่งแสวงหาบุญต่าง ๆก็ไม่รู้สึกอย่างนั้นอีก
เพราะมองเห็นวิบากที่เกิดจากกรรมที่จะต้องเกิดขึ้นมาอีก
ไม่ว่าจะเป็นความดีหรือความชั่ว (เป็นพัก ๆ)
เคารพ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ด้วยจิตจริงๆ


คิดอย่างไรเป็นอย่างไรก็อย่างนั้น ตามที่มันเป็น ดูความคิดดังกล่าวแต่ละขณะๆ เงียบ ๆ นิ่งๆ


อ้างคำพูด:
เมื่อนั่งสมาธิใหม่ๆ ประมาณ 1 ปีกว่า ๆ ผ่านมาแล้ว
จะรู้สึกได้ว่า จิตผ่านฌาน อะไรที่เขาเรียกกัน ช่วงระยะ
หลัง ๆ สมาธิจะเร็วและง่าย แต่เหมือนรู้สึกว่า สงบแล้ว
เป็นกลางไปเลย และบางครั้ง จิตจะเป็นสมาธิแม้
กระทั่งคุยกับคนอื่นอยู่ ไม่ได้มีท่าทาง
หรือพิธีกรรมอะไรเลย อย่างนี้ถือว่านอกหลู่นอกทาง
หรือเปล่าค่ะ


ไม่นอกลู่นอกทางหรอกครับ เป็นธรรมดา ลักษณะของจิตที่เป็นสมาธิจะมีลักษณะเช่นนั้น
เพียงแค่เราเพ่งดูวัสดุอะไรตรงหน้านิ่งๆ สมาธิพร้อมกับสหชาตธรรมที่เกิดร่วมกันก็รวมตัว
(สมาธิมากไป พึงปรับด้วยการจงกรมระยะต่ำๆมั่ง )

ฝากไว้ว่า ขณะที่ปฏิบัติกรรมฐาน ควรวางตำราไว้ชั่วคราว
หรือ แม้แต่ชื่อ ฌาน ชื่อ วิปัสสนา เป็นต้น ก็เช่นกัน ไม่ควรเก็บมาขบคิด
แต่หากความคิดเกิดขึ้น ก็พึงจับความคิดเช่นนั้น เป็นอารมณ์กรรมฐานเสีย คือ พึงกำหนดรู้ตามเป็นจริง


อ้างคำพูด:
เมื่อเข้าสมาธิจนถึงระดับสงบ กายหายไปหมดเห็นแต่จิต
อย่างเดียว ทำไมจึงมีความคิดผุดขึ้นดับลง เหมือนคนยืน
อยู่บนฝั่ง เห็นอะไร ๆ ลอยมากับน้ำแต่ไม่ได้ชอบหรือเกลียด
เมื่อถึงเวลาจนจิตถอนตัวออกจากสมาธิเอง และรู้สึกว่าเรา
ไม่ได้ฟุ้งซ่าน เพราะไม่ได้ไหลไปกับของที่ไหลมากับน้ำ
อาการลักษณะนี้เรียกว่าฟุ้งซ่านหรือเปล่าค่ะ


ไม่ใช่ฟุ้งซ่านครับ แต่เป็นการทำงานตามปกติของจิต ความคิดนั้นดับ ความคิดใหม่เกิด เกิดดับๆๆ
เป็นทอดๆไป
เมื่อกายหายก็ดูความคิดนั่นๆไป เมื่อกายคืนแล้วค่อยดูกายควบๆ ด้วย
อย่างกรณีนี้ใช้ได้ครับ


อ้างคำพูด:
วันหนึ่งคนไร้สาระไปวัด ขณะที่นั่งรอพระให้พร คนอื่นๆ
ก็เตรียมสำรับ แต่ตามองเห็นอาการที่เขาเดิน เหมือน
สโลว์โมชั่น เหมือนเขาเอาภาพมาต่อๆ กันเรียงกันลักษณะ
ฟิลม์หนัง เห็นรูปหนึ่งขาดไป มีอีกรูปหนึ่งเกิดขึ้นใหม่แทน
เห็นอย่างนี้ประมาณ 2-3 นาที จากนั้นก็กลับสู่ภาวะปกติ


อาการนี้ หากจำไม่ผิดก็คล้ายๆ อาการคุณแมวขาว ฯ ที่เคยเล่าว่าขณะขับรถแล้วเห็นรถบนท้องถนน
เป็นภาพสโลโมชั่น ชั่วขณะหนึ่ง แล้วก็กลับภาวะปกติ (= ความคิดขาด)
เห็นได้เป็นได้ครับ ไม่แปลก เมื่อสมาธิมาก สติสัมปชัญญะหย่อน


อ้างคำพูด:
คนไร้สาระพิจารณา สังขารุปกขาญานตาม ที่คุณแนะนำ
คงต้องใช้เวลานิดหนึ่งค่ะ


“สังขารุเปกขาญาณ” แปลว่า ญาณหรือปัญญาที่เป็นไปโดยความเป็นกลางต่อสังขารทั้งหลาย
(สังขาร+อุเปกขา+ญาณ) คนรู้ภาษาบาลีก็แปลออกรู้ได้ กรัชกายนำมาให้อ่านๆ แล้วจับสาระของศัพท์นั้น แล้วน้อมนำมาสอบอารมณ์ สอบความคิดตนว่า ขณะที่กระทบกับอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์ จิตเป็นกลาง
ตามดังสาระของศัพท์นั้นไหม

มิใช่ให้พิจารณาศัพท์นั้นครับ และก็มิใช่ศัพท์นี้เท่านั้น ข้อธรรมทุกๆข้อด้วย อ่านแล้วจับสาระให้ได้ แล้วถือเอา
สาระนั้น :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสต์ เมื่อ: 01 เม.ย. 2009, 21:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ค. 2006, 20:52
โพสต์: 1210

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
คนไร้สาระ:
จิตของผู้ที่ละสักกายะฏิฐิ ได้ ย่อมไม่ยินดีติดในกาม
แต่ยังถอนไม่หมด เพราะเท่าที่ทราบพระโสดาบันยัง
รักสวย รักงามอยู่

ยังมีใจหวั่นไหว กระเพื่อม ถึงจะโอนเอนไปบ้าง แต่จะ
ไม่นาน และไม่มากเท่ากับจิตปุถุชน

คำที่ว่ามีใจเสมือนแผ่นดิน ความหมายกว้างขวาง
ลึกซึ้งจริง ๆ เพราะจิตจะไม่ติดทั้งดีและเลว ด้วย
ความเห็นว่า ไม่มีอะไรเป็นตัวเป็นตน เห็นโทษ
ภัยของกิเลส ตัณหา จิตจึงถอนจากกิเลสและตัณหา
ออกได้


สาธุ

.....................................................
สัพเพ สังขารา อนิจจา
สัพเพ ธรรมา อนัตตา...


โพสต์ เมื่อ: 02 เม.ย. 2009, 19:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณคนไร้สาระ พิจารณาความคิด (ทุกข์) ทุกข์เพราะรักของคนๆหนึ่ง
ที่เกิดดับๆๆๆ ความคิดเรื่องนั้นดับ ความคิดเรื่องนี้เกิด สลับวนไปวนมา



เวลานี้ความเศร้าเบาบางลงแล้ว คงเหลืออยู่บ้างก็เวลาที่คิดถึงเรื่องเก่าๆ
แต่พอรู้สึกตัว ก็จะพยามตั้งสติรู้ และก็หายไป

ปัญหาความเศร้าในเวลานี้ เบาบางลงแล้ว คงเหลืออยู่บ้างก็เวลาที่คิดถึงเรื่องเก่าๆ
แต่พอรู้สึกตัว ก็จะพยามตั้งสติรู้และก็หายไป

แต่ปัญหาคือความรู้สึกผิด และสูญเสียความมั่นใจ
ในบางครั้งที่เราคิด คือ มันจะมีความโกรธขึ้นมาบ้าง แต่พอเรานึกถึงเหตุและผลที่เลิกกัน
หรือบางครั้ง เราไปอ่านเจอในเรื่องการวางตัวเกี่ยวกับความรัก เรากลับรู้สึกผิดขึ้นมาแทน เพราะเรารู้สึกว่า
ตัวเองเป็นต้นเหตุที่ทำให้ต้องเลิกกัน คือ หายโกรธแต่กลับมาจิตตก เพราะรู้สึกผิดแทน มันสลับกันไปมา
อย่างนี้...

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสต์ เมื่อ: 03 เม.ย. 2009, 02:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.พ. 2009, 04:12
โพสต์: 1067


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:
ขอบพระคุณอย่างสูงค่ะ ได้ความชัดเจนมากยิ่งขึ้น

ขออนุญาติเรียนถามสภาวะต่อค่ะ

:b47: กระแสของความคิดในจิตที่สามารถส่งให้ผู้อื่น
รับรู้ความคิดของเรา แบบได้ยินเป็นคำพูดของเราเสียงเรา
แต่เราไม่ได้พูดเลย แต่รู้สึกว่าไม่ได้มีความอยากในผลที่จะได้
จิตมีความตั้งใจ(สมาธิ ระดับอ่อน ๆ) เป็นแต่ความ
คิดบอกให้เขาทำในสิ่งนั้น และเขาก็ทำอย่างที่จิตเราคิดจริง ๆ
เหตุการณ์แบบนี้คือ ? (จริงๆ ก็ไม่ได้จะไปสนใจอะไรมากมาย
แต่ถ้าเป็นความรู้ไว้ก็ไม่น่าจะเสียหาย)

:b47: จิตไปรับรู้กระแสความคิดของคนอื่น ไม่ได้ตั้งใจ
แต่เป็นเช่นนี้บ่อย บางครั้งก็รู้สึกว่ารบกวนพอสมควร

:b47: ขณะที่ใช้ชีวิตประจำวันอยู่ ไม่ได้นั่งสมาธิ อยู่ๆ
จิตพลิกตัว ไปเห็นความว่าง ๆ โล่งๆ ปราศจากความคิดความปรุงแต่ง
จิตเกิดปิติท่วมท้น สภาวะเหมือนจิตหลุดโพล่งออกมาจากการเกาะ
เกี่ยวชั่วระยะหนึ่ง รู้สึกมีความสุขเหนือคำบรรยาย ขณะที่เกิดเหตุกาณ์นี้
รู้สึกเลยว่า ทั้งกายและจิตไม่มี มีแต่สภาวะโปร่ง ๆ เบา ๆ
เมื่อก่อนรู้สึกว่า นั่งสมาธิจิตสงบ ก็มีความสุขมากแล้ว แต่ครั้งนี้
ไม่เหมือนกัน ปีแรกที่นั้่งสมาธิ สุขถึงกับติดเลยค่ะ
อยู่คนเดียวทีวีไม่เคยเปิดดู เพลงไม่เคยฟัง
ครอบครัวพาไปเที่ยวก็ขอนั่งเฝ้ารถ แต่ความสุขครั้งนี้แปลก
กว่าทุกครั้ง (และรู้สึกได้อีกอย่างคือสภาวะนี้อยู่กับเรามาตลอด
และอยู่กับทุกคน แต่เหมือนมีอะไรบังไว้อยู่ตลอดเวลา เข้าใจว่า
คงเป็นกิเลสตัณหา พาให้ไม่เคยเห็น เพราะจิตไม่เคยหยุด
ปรุงแต่งเลย )

:b47: นี่เป็นอาการที่เรียกว่า สันตตินามขาด ใช่ไหมค่ะ อ่าน
และพิจารณาที่คุณกรัชกายได้อธิบายจากกระทู้ที่แล้ว
และเข้าใจว่า สันตติขาดนั้นเป็นได้ทั้งรูปและนาม ที่เห็นรูปขาด
จากกระทู้ที่แล้วคนไร้สาระถาม นามขาดคือความคิดปรุงแต่ง
ขาดที่สภาวะจิตปราศจากความคิดปรุงแต่ง เห็นทั้งสองส่วนไม่มี
ตัวไม่มีตน

:b47: ขอบพระคุณค่ะที่แนะนำเรื่อง การพิจารณา
สังขารุเปกขาญานและก็เข้าใจว่า คุณกรัชกายไม่
ได้แค่จะหมายความตามตัวหนังสือเท่านั้น
คนไร้สาระก็ไม่ทราบจะอธิบายอย่างไร

(ขอเขียนตามความรู้สึกในจิตได้แบบนี้ค่ะ)

สังขาร = ความคิดความปรุงแต่ง = เห็นความไม่เที่ยงอนิจจลักษณะ(เห็นความ เกิด-ดับ)
รุเปกขา = อุเบกขา = เห็นความเป็นกลางต่อสภาวะไม่ไหลไปไหลมา(ไม่อยากได้เวทนาที่พอใจ
ไม่ผลักไสเวทนาที่ไม่พอใจ)
ญาน = ความเห็นแจ้ง = ปัญญาที่จิตเห็นตามความเป็นจริงว่าทุกอย่าง เป็นไปตามกฏไตรลักษณ์ (อย่างนี้เรียกว่าจิตเข้าสู่กระแสความเป็นกลางใช่ไหมค่ะ)

:b47: ค่ะอาการของจิตเป็นลักษณะดังที่คุณกรัชกาย ยกตัวอย่าง
มองได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น มันเกิดๆ ดับ ๆ อย่างนั้น มีปัจจัยพร้อม
เมื่อไร ก็แว้บมาทันที และก็รู้ตัวว่า เผลอไปแล้ว บางครั้งก็เกิด
โทสะกับตัวเอง(เข้าใจว่าตรงนี้กำลังฝืนความเป็นจริง)

:b47: เมื่อได้อ่านข้อความที่คุณกรัชกายกรุณาโพสต์แนะนำให้
ก็พอมองวิถีการโคจรของจิตออกมากขึ้น ว่าจิตไม่สามารถทรง
สภาพอยู่ได้ มันจะวนไปเวียนมา(เข้าใจว่าเพราะจิตยังติดข้องอยู่)

:b47: ลักษณะนี้ที่เรียกว่า "ปฏิจจสมุปบาท " ใช่ไหมค่ะ
เป็นวัฏฏะวงจร ก่อให้เกิดทุกข์ เกิดภพ เกิดชาติ ชรา
มรณะ สืบกันเป็นสาย งั้นแสดงว่า ถ้าเราเห็นวงจรทุกข์
ความคิดผุดขึ้น มีสติความคิดขาด ภพชาติก็สั้น ไม่มีอารมณ์สืบต่อ
เป็นเช่นนี้จิตคล้อยตามความเป็นจริง มองเห็นทุกอย่างทุกสภาวะ
เป็นอย่างที่มันควรเป็น ไม่เป็นอย่างที่อยากให้เป็น


:b47: แสดงว่าการเห็นวงจร ปฏิจจสมุมปบาท การเกิดทุกข์ฺ
สมุทัย นิโรธ มรรค เป็นการตัดภพชาติให้สั้นลง (คนไร้สาระ
หมายถึงภพ ชาติ ในจิต ในปัจจุบัน ด้วย) ทุกข์จะน้อยตาม
ลงไปด้วย อย่างนี้ที่ค้าว่าพระโสดาบันมีความทุกข์น้อยเท่ากับ
การเอาหญ้าคา จุ่มน้ำแล้วสบัดอีก เหลือน้ำที่ติดปลายหญ้าเท่า
กับความทุกข์น้อยมาก ๆ ไม่เหมือนกับจิตปุถุชนที่มีความทุกข์
เท่ากับคลอง ที่ลึก 16 โยชน์ กว้าง 16 โยชน์ และการ
เกิดดับของจิตแต่ละครั้ง 7 ขณะจิตเร็วมาก พระโสดาบัน จึงเกิด
อีกแค่ 7 ชาติ เพราะวงจรปฏิจจสมุมปบาท ถูกตัดตอนให้สั้นลง
(อันนี้ฟังเค้ามาค่ะ)

:b47: อันนี้พอได้ไหมค่ะ ถ้าผิดพลาดคลาดเคลื่อน ช่วยกรุณาชี้แนะศิษย์คนนี้ด้วย
ขออภัยมีคำถามมากมายเหลือเกิน ถ้าคนไร้สาระได้พลาดพลั้งล่วงเกินอะไร
ไปก็ขอให้อโหสิกรรมด้วย เพราะเข้าใจว่า การกระทำใด ๆ
ล้วนเป็นเหตุเป็นปัจจัย ที่ก่อให้เกิดผัสสะ และเวทนา ได้ตลอดเวลา

:b8: :b8: :b8:
ขอกราบขอบพระคุณมาด้วยความเคารพยิ่ง

.....................................................
...นฺตถิตัณหา สมานที...
ห้วงน้ำใหญ่โต เสมอด้วยตัณหาไม่มี


โพสต์ เมื่อ: 03 เม.ย. 2009, 20:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
นี่เป็นอาการที่เรียกว่า สัตตินามขาด ใช่ไหมค่ะ
อ่านและพิจารณาที่คุณกรัชกายได้อธิบายจากกระทู้ที่แล้ว
และเข้าใจว่า สันตติขาดนั้นเป็นได้ทั้งรูปและนาม ที่เห็นรูปขาด
จากกระทู้ที่แล้วคนไร้สาระถาม นามขาดคือความคิดปรุงแต่ง
ขาดที่สภาวะจิตปราศจากความคิดปรุงแต่ง เห็นทั้งสองส่วนไม่มี
ตัวไม่มีตน



โดยสภาวะ อัตตาหรือตัวตนไม่มี แต่ความคิดว่ามีตัวตน หรือ เกิดความรู้สึกว่ามีตัวตนอย่างนี้เป็นไปได้
เมื่อจิตเกิดอุปาทาน เมื่อเห็นความคิด เป็นต้นนั้น ขาดวูบหรือดับลง เห็นความคิดอื่นอีกผุดขึ้น
(รอยต่อ) ช่วงนี้ เรียกว่า ความคิดขาด หรือ สันตติขาด (สันตติ ความสืบต่อ)


ข้อ สังเกต ขณะนั่งกำหนดนามรูปอยู่ มีอาการผงะไปข้างหลัง เป็นอาการสันตติขาด
ผงะงุบลงข้างหน้า อาการสัปหงก
แม้ผงะไปข้างหลังเอง เราอาจไม่เห็นความคิดนั้นขาดก็ได้ หากสติสัมปชัญญะอ่อนหรือไม่ละเอียดพอ
รูปนามเกิดดับทุกอิริยาบถครับ


อนึ่ง อาการดังกล่าวข้างต้น มีได้เกิดได้ (ไม่เสียหาย) แต่มีข้อที่พึงระวัง ก็คืออุปาทานจิตต่อภาวะนั้น
ต่อสิ่งนั้น ว่าสิ่งนั้นๆเอง ก็เป็นไตรลักษณ์เช่นกัน มีสภาพเกิดดับเช่นกัน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสต์ เมื่อ: 03 เม.ย. 2009, 20:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




06.jpg
06.jpg [ 125.97 KiB | เปิดดู 3568 ครั้ง ]
อ้างคำพูด:
ขอบพระคุณค่ะที่แนะนำเรื่อง การพิจารณา
สังขารุเปกขาญานและก็เข้าใจว่า คุณกรัชกายไม่
ได้แค่จะหมายความตามตัวหนังสือเท่านั้น
คนไร้สาระก็ไม่ทราบจะอธิบายอย่างไร

(ขอเขียนตามความรู้สึกในจิตได้แบบนี้ค่ะ)

สังขาร = ความคิดความปรุงแต่ง = เห็นความไม่เที่ยง (เห็นความ เกิด-ดับ)
รุเปกขา = อุเบกขา = เห็นความเป็นกลางต่อสภาวะไม่ไหลไปไหลมา(ไม่อยากได้เวทนาที่พอใจ
ไม่ผลักไสเวทนาที่ไม่พอใจ)
ญาน = ความเห็นแจ้ง = ปัญญาที่จิตเห็นตามความเป็นจริงว่าทุกอย่าง เป็นไปตามกฏไตรลักษณ์
(อย่างนี้เรียกว่าจิตเข้าสู่กระแสความเป็นกลางใช่ไหมค่ะ)



ครับสาธุ

หากการนั้นเป็นไปเพื่อความดับทุกข์ ก็เป็นกลาง ก็เป็นมัชฌิมาปฏิปทา

สอบอารมณ์ตนเองดูจากผัสสะที่กระทบทางอายตนะในการดำรงชีวิตประจำวันครับ

ปัญญา (ที่ถึงความเป็นอินทรีย์ ถึงความเป็นพละ) รู้ตามเป็นจริง หรือพูดอย่างง่าย

ได้แก่ ปัญญาที่หยั่งถึงความเกิดขึ้นและความเสื่อมสิ้นไป ทำลายกิเลสได้

อันจะให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ

สังขาร เครื่องแต่งคุณภาพของจิต หรือ เครื่องปรุงของจิต อันมีเจตนาเป็นตัวนำ

ซึ่งแต่งจิตให้ดี หรือชั่วหรือเป็นกลางๆ

ปรุงแปรการตริตรึกนึกคิดในใจ และการแสดงออกทางกายวาจา ให้เป็นไปต่างๆ

เป็นที่มาของกรรม เช่น ศรัทธา สติ หิริ โอตตัปปะ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ปัญญา

โมหะ โลภะ โทสะ มานะ ทิฐิ อิสสา มัจฉริยะ เป็นต้น

เรียกรวมอย่างง่ายๆว่า เครื่องปรุงของจิต เครื่องปรุงของความคิด หรือ เครื่องปรุงของกรรม


อุเบกขา ความวางทีเฉยดูอยู่ ดูอย่างสงบ หรือหมายถึงความมีใจเป็นกลาง

สามารถวางทีเฉยเรียบ นิ่งดูไป ในเมื่อจิตแน่วแน่อยู่กับงานแล้ว และสิ่งต่างๆ ดำเนินไปด้วยดี

ตามแนวทางที่จัดวางไว้หรือที่มันควรจะเป็น

ญาณ ความรู้ ความหยั่งรู้ ความรู้บริสุทธิ์ ความรู้ตรงตามสภาวะ หรือ ปัญญา

ที่ทำงานออกผลเป็นเรื่องๆ หรือมองเห็นตลอดสายในด้านหนึ่งๆ


:b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55:

ตัดคำอย่างนี้ครับ สังขารุเปกขา -รุ ที่สังขารุ ตัดอย่างนี้ครับ สังขาร+อุเปกขา

(ตัว ออ เป็นที่อาศัยของสะระอุ เฉยๆ เมื่อสนธิแล้วตัว ออ จะไม่เห็น)

(ญาณเป็นความรู้ระดับสุดยอดของปัญญามนุษย์ และเป็นผลสำเร็จสำคัญของมนุษย์

ญาณ ไม่ว่าจะเป็นโลกียญาณหรือโลกุตรญาณ เป็นส่วนผลักดันสำคัญให้เกิดความเจริญก้าวหน้า

ในอารยธรรมของมนุษย์ชาติ

ญาณ ที่ยิ่งใหญ่สูงสุดเรียกชื่อเฉพาะว่า โพธิ หรือ โพธิญาณ)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 03 ต.ค. 2009, 20:08, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสต์ เมื่อ: 03 เม.ย. 2009, 20:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ลักษณะนี้ที่เรียกว่า "ปฏิจจสมุปบาท " ใช่ไหมค่ะ
เป็นวัฏฏะวงจร ก่อให้เกิดทุกข์ เกิดภพ เกิดชาติ ชรา
มรณะ สืบกันเป็นสาย งั้นแสดงว่า ถ้าเราเห็นวงจรทุกข์
ความคิดผุดขึ้น มีสติความคิดขาด ภพชาติก็สั้น ไม่มีอารมณ์สืบต่อ
เป็นเช่นนี้จิตคล้อยตามความเป็นจริง มองเห็นทุกอย่างทุกสภาวะ
เป็นอย่างที่มันควรเป็น ไม่เป็นอย่างที่อยากให้เป็น



ถูกต้องครับ สติสัมปชัญญะเป็นตัวกั้นกระแส

จะนำกระบวนธรรม (ทางตา) แบบย่อให้พิจารณา

(แบบพิสดาร ก็ที่แสดงไว้ในปฏิจจสมุปบาทแบบทั่วไป ซึ่งเป็นกระบวนธรรมแบบสังสารวัฏโดย

สมบูรณ์)

ดังนี้

“อาศัยตาและรูปเกิดจักขุวิญญาณ ความประจวบแห่งธรรมทั้งสามนั้น เป็นผัสสะ

เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี

บุคคลเสวยอารมณ์ใด ย่อมหมายรู้อารมณ์นั้น (=สัญญา)

หมายรู้อารมณ์ใด ย่อมตริตรึกอารมณ์นั้น (=วิตักกะ)

ตริตรึกอารมณ์ใด ย่อมผันพิสดารซึ่งอารมณ์นั้น (=ปปัญจะ)

บุคคลผันพิสดารซึ่งอารมณ์ใด เพราะการผันพิสดารนั้นเป็นเหตุ ปปัญจสัญญาแง่ต่างๆ

(=สัญญาที่ซับซ้อนหลากหลาย) ย่อมผุดพลุ่งสุมรุมเขา ในเรื่องรูปทั้งหลาย

ที่พึงรู้ด้วยตา ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน”

(ม.มู. 12/248/226)


เพื่อให้เห็นง่าย เขียนให้ดู

กระบวนการรับรู้บริสุทธิ์----------กระบวนการรับรู้แบบเสพเสวยโลก

(กระแสปกติตามธรรมชาติ)------(เกิดมีผู้เสวย -สิ่งที่ถูกเสวย ผู้คิด-สิ่งถูกคิด)

อายตนะ+อารมณ์+วิญญาณ = ผัสสะ => เวทนา => สัญญา=> วิตักกะ=>ปปัญจะ =>

ปปัญจสัญญาแง่ต่างๆ

(ระหว่าง วิตักกะ กับ ปปัญจะ = สังขาร)

เมื่อเกิดปปัญจะสัญญาแล้ว ก็ยิ่งมีความตริตรึกนึกคิดได้มากกมาย และ กว้างขวางพิสดารยิ่งขึ้น

ทำให้เกิดกิเลสต่างๆ เช่น ชอบใจ ไม่ชอบใจ หวงแหน ริษยา เป็นต้น ปนเป

คลุกเคล้าไปกับความคิดนั้น


กระบวนธรรมดังกล่าวตัดแยกเป็น ๒ ตอน ตอนแรกตั้งแต่อายตนะภายในถึงเวทนา

-อายตนะ+อารมณ์+วิญญาณ = ผัสสะ => เวทนา

เป็นกระบวนการรับรู้บริสุทธิ์ ช่วงตอนนี้กระบวนธรรมเป็นกระแสบริสุทธิ์ตามธรรมชาติ

มีแต่องค์ธรรมที่เกิดขึ้นตามเหตุปัจจัย ยังไม่มีสัตว์ บุคคล ตัวตน เกี่ยวข้อง


ตอนปลาย ตัดแต่...สัญญา => วิตักกะ => ปปัญจะ => ปปัญจสัญญาแง่ต่างๆ

เกิดเป็นกระบวนธรรมแบบเสพเสวยโลก หรือกระบวนการสังสารวัฏ มารับช่วงไป

ตั้งแต่จุดเริ่มต้นของช่วงหลังนี้ จะไม่มีเพียงองค์ธรรมต่างๆ ที่เป็นเหตุปัจจัยแก่กันตามธรรมชาติ

เท่านั้น

แต่จะเกิดมีสัตว์บุคคลขึ้นมา กลายเป็นความสัมพันธ์ระหว่างผู้เสพเสวยกับสิ่งที่ถูกเสพเสวย

ผู้คิดและสิ่งที่ถูกคิด เป็นต้น

:b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53:

หมายเหตุ ... ตั้งแต่เวทนาเป็นทางแยก

อาจต่อด้วยกระบวนธรรมแบบวิวัฏฏ์ก็ได้

แบบสังสารวัฏ ก็ได้

ดูอีกครั้ง

อายตนะ+อารมณ์+วิญญาณ = ผัสสะ => เวทนา =>

ต่อจากเวทนา อาจแยกเป็นสองแบบ

เป็นกระบวนธรรมแบบสังสารวัฏฏ์ก็ได้ (ทุกข์)

เป็นกระบวนธรรมแบบวิวัฏฏ์ก็ได้ (ดับทุกข์)

หากเจริญสติปัฏฐานถูกวิธีแล้ว กระแสความคิดแยกเป็นวิวัฏฏ์ตรงนี้ครับ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 03 ต.ค. 2009, 20:14, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสต์ เมื่อ: 03 เม.ย. 2009, 20:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




3927.jpg
3927.jpg [ 31.42 KiB | เปิดดู 3566 ครั้ง ]
ดูการทำงานของกุศลธรรม หรือ จะเรียกว่า อินทรีย์ก็ได้ เรียกว่าพละก็ได้

เมื่อเจริญถึงที่แล้วเค้าจะทำงานร่วมกันสืบเนื่องกัน

สุดท้ายโยคีผู้นั้นจะสิ้นสงสัย เข้าใจธรรม มั่นใจในธรรมะ

สังเกตพุทธพจน์ท่อนสุดท้าย


:b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43:


ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญา

อินทรีย์ ๕ อย่างเหล่านี้ ส่งผลเป็นปัจจัยต่อเนื่องกัน กล่าวคือ

ศรัทธาทำให้เกิดความเพียร ความเพียรช่วยให้เกิดสติมั่นคง

เมื่อสติมั่นคงแล้ว กำหนดอารมณ์ก็จะได้สมาธิ

เมื่อมีสมาธิดีแล้ว ก็จะเกิดความเข้าใจ มองเห็นซึ้งถึงโทษของอวิชชาตัณหาที่เป็นเหตุแห่ง

สังสารวัฏ

มองเห็นคุณค่าของนิพพาน ซึ่งเป็นภาวะปราศจากความมืดแห่งอวิชชาและความทุรนทุกราย

แห่งตัณหา สงบประณีตดีเยี่ยม

ครั้นเมื่อรู้ชัดเข้าใจแจ่มแจ้งด้วยตนเองแล้ว

ก็จะเกิดมีศรัทธาที่เป็นศรัทธาอย่างยิ่งหรือยิ่งกว่าศรัทธา หมุนเวียนกลับเป็นสัทธินทรีย์อีก

ดังพุทธพจน์ว่า


“ดูกรสารีบุตร อริยสาวกนั่นแล เพียรพยายามอย่างนี้ ครั้นเพียรพยายามแล้ว ก็ระลึกอย่างนี้

ครั้นระลึกแล้ว ก็ตั้งจิตมั่นอย่างนี้

ครั้นตั้งจิตมั่นแล้วก็รู้ชัดอย่างนี้ ครั้นรู้ชัดแล้ว ก็เชื่อมั่นอย่างนี้ว่า

ธรรมทั้งหลายที่แต่ก่อนนี้ เราเพียงแต่ได้ยินได้ฟังเท่านั้น ย่อมเป็นดังนี้แล

ดังเราสัมผัสอยู่ด้วยตัว และเห็นแจ้งแทงตลอด ด้วยปัญญาอยู่ในบัดนี้




(สํ.ม. 19/1010-1022/297-300)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 03 ต.ค. 2009, 20:18, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.
โพสต์ เมื่อ: 04 เม.ย. 2009, 04:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.พ. 2009, 04:12
โพสต์: 1067


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:
กราบขอบพระคุณค่ะ


:b47: กรุณาอธิบายลักษณะวิธีที่เจริญสติ
อย่างถูกต้อง ที่เรียกกันว่า สัมมาสติ และมีสอง
คำที่ไม่ค่อยเข้าใจค่ะ วิตักกะ กับ ปปัญจะ
วิตักกะ = วิตก = จิตดำริ ?
ปปัญจะ = ปัจจัย = เหตุ ?

:b47: อาการจิตที่มีลักษณะ สังขารุเปกขาญาน
แบบนี้ใช้ได้่ไหมค่ะ

:b47: คนไร้สาระเจอเหตุการณ์กับคน คนหนึ่งคำพูดที่เค้า
พูด ทำให้โทสะ ไม่มี อยู่ๆ ก็ผุดขึ้นมา ยิ่งพูดเหมือนโกรธจะเพิ่ม
ขึ้น ร้อนวูบ ๆ ขึ้นมากลางหน้าอก ในขณะเดียวกันจิตมันวิ่งเข้า
มาดูความโกรธที่เกิดขึ้น แต่ไม่มีคำพูดหลุดออกไปทางปาก
ใจหนึ่งบอกให้เดินหนีไป ใจหนึ่งบอกว่า ดีแล้วเธอจงดูความโกรธ
นี้ เป็นบทเรียน สุดท้ายก็ยืนดูความโกรธของตัวเอง ขณะที่ดู
ความโกรธของตัวเอง อยู่นั้นสังเกตุได้ว่าจิตไม่ได้สนใจเนื้อหา
คำพูด และคนพูด แต่สนใจสภาวะความโกรธที่ผุดขึ้น จนมันสลาย
ตัวไปเหมือนเดิม

:b47: มีอีกเหตุการณ์ แบบทำให้ใจเสพสุข มีคนมาสร้างความรู้สึก
ที่ดีๆ เอาอกเอาใจ สามารถทำให้เคลิ้บเคลิ้มได้ และจิตก็วิ่งเข้าไป
ดูหัวใจที่พองโต ด้วยเห็นว่ากำลังพอใจ ใจก็ไม่ได้เดูเนื้อหาและคน
ที่สร้างผัสสะ เมื่อมองดูจิตอยู่ ปรากฏเป็นความว่างๆ อยู่เป็นฉากหลัง
ความรู้ึสึกพอใจก็ดับไป ใจตอนนี้ก็เป็นลักษณะ จะพอใจใครแบบจะยึด
ไว้ไม่มี มันจืด ๆ ไป รู้สึกด้วยว่าความทะยานอยากแบบเดิม ๆไม่มี

:b47: ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญา

:b47: สำหรับทั้ง 5 ข้อนี้ คนไร้สาระขอพิจารณาดูเป็นข้อ ๆดังนี้

ศรัทธา คือ ความเชื่อมั่น ว่าเป็นหนทางพ้นทุกข์แบบไม่มีใจหันเหไปทางไหน
วิริยะ คือ ความพากเพียร ศึกษาพัฒนาทั้ง สมถะ และวิปัสสนา รู้สึกว่า ทั้งสอง
อย่างนี้ต้องควบคู่กันไป
สติ คือ การรู้สึกตัว รู้กระบวนการทำงานทางใจ
สมาธิคือ ความสงบภายใน ใจตั้งมั่น
ปัญญา คือ การมองเห็นตามความเป็นจริง ทะลุสมมุติ ไปเห็นสัจจะธรรม

:b47: คนไร้สาระก็ไม่เคยพิจารณา องค์คุณทั้ง 5 ข้อนี้ค่ะ แต่เมื่อคุณ
กรัชกาย โพสต์มาให้ดู ก็สังเกตุได้ว่า ทั้ง 5 ข้อนั้นมีความเกี่ยวโยงกัน
เป็นเหตุและปัจจัยเกื้อหนุนกันและกัน ได้อย่างสมดุลย์และลงตัว
และก็รู้ได้ว่า จิตที่ดำเนินมา ณ ขณะนี้ก็พอจะมีองค์คุณเช่นนี้อยู่บ้าง
ในชีวิตปัจจุบันจึงมองเห็นแต่ความเป็นเหตุและผล ซึ่งกันและกัน
สืบเนื่องกันไป รู้สึกว่าร่างกายนี้เหมือนเป็นส่วนย่อ ๆ ของธรรมชาติ
และเป็นสถานปฏิบัติธรรมที่มี ธรรมะมากมายให้ศึกษาได้ตลอดเวลา

:b47: อาจจะ...มีวันหนึ่งข้างหน้า คนไร้สาระจะหมดคำถามก็ได้ค่ะ :b8:

:b8: ขอกราบเรียนถามมาด้วยความเคารพยิ่ง

.....................................................
...นฺตถิตัณหา สมานที...
ห้วงน้ำใหญ่โต เสมอด้วยตัณหาไม่มี


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 73 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร