วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 06:24  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 23 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ส.ค. 2009, 18:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2008, 02:11
โพสต์: 80

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีค่ะคุณกรัชกาย

วิหารธรรมแปลว่า "เครื่องอยู่" ถูกหรือเปล่าคะ หรือว่าเราจำผิดคะ

.....................................................
ความสุขอยู่ใกล้ๆ แค่ปลายจมูก


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ส.ค. 2009, 20:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




02.jpg
02.jpg [ 62.84 KiB | เปิดดู 2634 ครั้ง ]
กตัญญุตา เขียน:
สวัสดีค่ะคุณกรัชกาย

วิหารธรรมแปลว่า "เครื่องอยู่" ถูกหรือเปล่าคะ หรือว่าเราจำผิดคะ



คำว่า "วิหารธรรม" ความหมายเดิมที่ท่านใช้ ท่านหมายเอาสมาธิที่ถึงระดับฌาน ไม่ใช่แค่ลมหายใจ
ว่าเป็นวิหารธรรม

ในขั้นนี้ท่านยึดลมหายใจ หรือ ท้องที่พองขึ้นยุบลง เป็นกรรมฐาน (ขั้นตอนหนึ่ง)

ดูความหมาย "กรรมฐาน" ลิงค์นี้ครับ

viewtopic.php?f=2&t=23002


ขั้นตอนนี้เปรียบให้เห็นง่ายๆเหมือนใช้กสิณมีปฐวีกสิณ (อารมณ์ภายนอก) เป็นต้น กรรมฐาน
แต่มีความต่างกับใช้ลมหายใจ หรือ พองยุบเป็นกรรมฐานซึ่งเป็นอารมณ์ภายใน ซึ่งมีความพิสดารกว่าใช้อารมณ์ภายนอก อย่างที่เห็นๆ (เท่านี้นะครับ รายละเอียดยังมีอีกมาก)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 08 ต.ค. 2009, 08:55, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ส.ค. 2009, 20:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.พ. 2009, 20:42
โพสต์: 699


 ข้อมูลส่วนตัว


เกิดอาการอะไร ก็ให้ติดตามดูอาการนั้น ถ้าอะไรหายไป ก็ปล่อยให้หาย คำภาวนาหายไป ก็ปล่อยให้หายไป ตัวเบาก็ให้ตามดูว่า เออ มันเบาแบบนี้ ตัวลอยก็ให้ดูว่า ลอยแฮะ แต่พยายามอย่าไป อยาก ให้ลอยไปถึงนั่นถึงนี่ คือให้ดูไปเรื่อยๆ ย้ำว่า อะไรหายไป ก็ปล่อยให้หายไป ให้อยู่กับปัจจุบัน
ถึงจุดๆ หนึ่ง มันจะหายไปจนหมด...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ส.ค. 2009, 21:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


กตัญญุตา เขียน:
ขอบคุณทุกท่านที่มาตอบค่ะ คือเรามั่นใจนะคะว่าเวลานั่งสมาธิเรารู้สึกตัวทุกอย่าง ไม่ได้เคลิ้ม แต่เหมือนว่าเราเห็นอาการที่เกิดขึ้น เราเป็นแค่ผู้ดู บางครั้งจิตก็ไปสนใจอยากรู้ว่ามันคืออะไร แต่บางครั้งก็ไม่ได้สนใจภาวนาพุทโธต่อไป อาการปิติที่เกิดขึ้นนี้เหมือนตอนภาวนาใหม่ๆ (จำได้ไหมคะคุณกรัชกายที่เราเคยมาถามในบอร์ดเมื่อปีที่แล้ว) ช่วงนั้นเราภาวนาแบบกำหนด รูปแบบยุบหนอ ทำทุกวันจนประมาณสามเดือนกว่าได้ รู้สึกสติตั้งมั่นอยู่สองครั้ง รู้สึกตัวทั่วพร้อม แต่หลังจากนั้นไม่เกิดอีกเลย แล้วเราก็เริ่มเจริญสติไปด้วย ตามดูตามรู้แล้วแต่จะระลึกรู้กายก็รู้กาย ระลึกรู้ใจก็รู้ใจ รู้สึกตัวเวลาที่ทำอะไร เผลอไปคิดก็ตามรู้ เวลาโกรธก็เห็นสภาวะที่เกิดอะไรอย่างนี้ ช่วงนั้นนั่งสมาธิ เดินจงกรมไม่กำหนดเลยนานหลายเดือน อาศัยเดินรู้สึกตัว นั่งรู้สึกตัว ปรับเวลาเหลือสวดมนต์ นั่ง เดิน ที่อย่างละ 30 นาที คิดว่าเหมาะกับตัวเองที่สุด แล้วเวลานั่งก็ไม่เคยเกิดปิติ ไม่เกิดเวทนา และไม่เคยเกิดอาการอย่างที่ว่าเมื่อสองสามวันที่ผ่านมา คิดว่าอาจเพราะนั่งน้อยไป เวทนาไม่เกิดด้วยหรือเปล่า(อันนี้คิดเอาเองนะคะ) แล้วก็เลยลองมานั่งสมาธิให้นานกว่าเดิมดู แล้วมันก็เกิดสภาวะอย่างที่ว่านี้แหล่ะค่ะ เลยสงสัยเล็กน้อยว่าเอ๊ะ มันเกิดอะไร แล้วที่มันเกิดทำไมต่างกับทุกๆวัน (ช่วงนี้เปลี่ยนมาภาวนาพุทโธค่ะ)




สมาธิล้ำหน้าสติแบบที่บอกไปแหละค่ะ แล้วอีกอย่าง สภาวะเขาจะแปรเปลี่ยนตลอดเวลา

เขามาแสดงไตรลักษณ์ แสดงถึงความไม่เที่ยงให้เราเห็น เพียงแต่เรายังไม่สามารถเห็น

ตามความเป็นจริงได้เท่านั้นแหละ วันใดเห็นก็จะหายสงสัยไปเอง มันจะค่อยๆเข้าใจมากขึ้น

ทำให้ความยึดมั่นถือมั่นในสิ่งต่างๆลดน้อยลงไป แม้แต่ตัวตนของเรามันก็ยึดน้อยลง

จากเคยรักสวยรักงาม พยายามตบแต่งให้ดูดีตลอดเวลา จะหันเข้าหาธรรมชาติมากขึ้น

จากที่เคยชอบเฮฮาปาตี้ ชอบเข้าสังคม จะเริ่มลดน้อยลงไปจนกระทั่งไม่ไปไหนอีก

จะมีโลกส่วนตัวมากขึ้น จะชอบอยู่ตัวคนเดียวมากขึ้น จะชอบดูแต่กายและใจ

ว่างไม่ได้ จะจดจ่ออยู่กับภายในตลอดเวลา ดูพองยุบมั่ง ดูลมหายใจมั่ง

ดูสิ่งที่มากระทบมั่ง ดูไปทีละขณะๆ มันจะเป็นของมันเอง ...

คุณทำถูกแล้วค่ะ ทำตัวไหนถนัด ทำตัวนั้นไป แล้วการปฏิบัติจะพัฒนาขึ้นไปเรื่อยๆ

รูปแบบก็จะเริ่มปรับเปลี่ยนไปเอง ไม่มายึดติดในรูปแบบว่าจะต้องทำแบบนี้ๆ

อยากให้เพิ่มเวลาเดินกับนั่งน่ะค่ะ เพิ่มเดินเป็น 40 นาที นั่ง 40 นาที

แล้วให้ทำอย่างที่บอกน่ะค่ะ คำบริกรรมหาย ลมหายใจหาย ให้เอาจิตมาจดจ่อ

ที่อาการพองยุบของท้องแทน ไม่ต้องบริกรรมภาวนาใดๆทั้งสิ้น

พอคำบริกรรมเกิด ลมหายใจเกิด ให้กลับไปจับคำบริกรรม จับที่ลมหายใจ

ทำสลับไปมานี่แหละค่ะ เอาจิตผูกกับกรรมฐานไว้ สติ สัมปชัญญะจะได้เกิดอย่างต่อเนื่อง

สมาธิจะแนบแน่นขึ้น คำเรียกใดๆ ไม่ต้องไปยึดมั่นหรอกค่ะ แค่รู้พอ ว่า อาการแบบนี้มีคำเรียก

เพราะพอปฏิบัติถึงจุดๆหนึ่งแล้ว เรามาศึกษาเพิ่มเติมแบบจริงจังได้

ตอนนี้เอาตัวให้รอดก่อน ตำราน่ะแค่รู้พอ อย่าไปยึดติดกับคำเรียก เดี๋ยวจะพาลฟุ้งเอา

สิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นนั้นเป็นเพียงแค่สภาวะเท่านั้นเอง ถ้าจะเรียก เรียกว่าสภาวะดีกว่าค่ะ

จะได้ไม่ไปสงสัยว่านี่คืออะไร นั่นคืออะไร เรียกว่าอะไร

ลองดูนะคะ :b12:

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ส.ค. 2009, 22:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2008, 02:11
โพสต์: 80

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณกรัชกาย ตอนแรกงง ๆนะคะที่คุณถามมา แต่ตอนนี้เข้าใจแล้วค่ะ ขอบคุณสำหรับลิงค์นะคะ และขออนุโมทนากับทุกท่านที่มาตอบให้เราด้วยค่ะ

.....................................................
ความสุขอยู่ใกล้ๆ แค่ปลายจมูก


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ย. 2009, 19:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 10
สมาชิก ระดับ 10
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 พ.ย. 2008, 12:29
โพสต์: 814

ที่อยู่: กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


โปรดดูตามลิ้งค์นี้
http://www.luangta.com/thamma_forum/forum_detail.php?cgiForumID=1078

อ้างคำพูด:
หลวงตา : ที่ทำนี้ถูกต้องแล้ว ที่จะแนะนำสั่งสอนก็คือ ให้พยายามทำไปอย่าขี้เกียจ มันจะสงบไปเรื่อยๆ และง่ายเข้าๆ ให้พยายามทำเสมอด้วยความมีสติ เรื่องสตินี่สำคัญมาก ก็มีเท่านั้น ภาวนานี่ทำถูกต้อง จิตบางทีวูบลงไปเหมือนตกเหวตกบ่อก็มี บางทีค่อยสงบเข้าไปๆ แล้วสงบเงียบไปเลยก็มี เป็นไปตามจริตนิสัย ในจริตนิสัยนั้นบางทีมันวูบลงไปเลยก็มี บางทีค่อยสงบลงไปก็มี ในคนๆ เดียวกันนั้นแหละ อย่าไปตื่นเต้นกับมัน อาการของจิตเป็นไปได้ทุกอย่าง เราอยากเห็นความพิสดารให้ทำตามแบบพระพุทธเจ้า ไม่มีใครเหมือนเลยแบบพระพุทธเจ้า เข้าไปจิตนั่นซีที่ว่าไม่มีใครเหมือน ภาวนาเข้าไปหาจิต จิตนี้คือมหาเหตุดังเคยพูดแล้ว กิเลสสั่งสมตัวอยู่เต็มทับธรรมอยู่ในนั้น ธรรมก็อยู่ในจิตแต่แสดงตัวออกไม่ได้เมื่อไม่มีผู้เปิดทาง คือ ความเพียร สติ อุบายวิธีการต่างๆ ทำจิตตภาวนาดูใจตัวเอง แล้วจะได้เริ่มเห็นเรื่องของกิเลส เรื่องของธรรมจะเริ่มเห็น เพราะอยู่ในจุดเดียวกัน เป็นแต่เพียงว่ากิเลสหนาแน่นมากกว่า ในเบื้องต้นเป็นอย่างนั้น ธรรมแทบจะไม่มี ถูกปิด


อย่างที่ท่านว่าโลกสูญหมด นั่นเป็นยังไง คือไม่มีในหัวใจเลย ว่างไปหมดเลย ทั้งๆ ที่โลกก็มีอยู่อย่างนี้ ก็คือใจไปหมายว่าสิ่งนั้นมีสิ่งนี้มี เวลาใจทำตัวของตัวให้ละเอียดลงไปแล้ว มันก็ลบล้างตัวของมันเองนั้นแหละ สิ่งเหล่านั้นเขาก็มีอยู่ตามเดิม ต้นไม้ ภูเขา ดินฟ้าอากาศ มีอยู่ตามเดิม จิตเปลี่ยนแปลงตัวเองไปในอาการต่างๆ เวลาเข้าไปดูจิตแล้วจะเห็นเรื่องของตัวอย่างนั้น


จิตบริสุทธิ์ เป็นอย่างนั้น ไม่มีอะไรเกี่ยวข้องเลย แต่ก่อนเป็นมหาเหตุอยู่ในนั้นหมด ปราบลงไปได้หมด สิ่งที่ก่อกวนที่สุดมหาเหตุก็คือกิเลส ธรรมก็เป็นมหาเหตุฝ่ายดับฝ่ายระงับ น้ำดับไฟ ระงับลงไปจนกระทั่งหมดโดยสิ้นเชิงแล้ว โลกที่ว่าจิตไปวาดนู้นวาดนี้หดตัวเข้ามาหมด เขาก็มีอยู่อย่างนั้นละโลกแต่ไม่ไปยุ่งกับเขา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ย. 2009, 22:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ก.ย. 2009, 21:17
โพสต์: 83

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตอบเจ้าของกระทู้...

ผมเองก็ภาวนาอาณาปาณสติ แบบจับลมหายใจ ....
สภาวะที่คุณเป็นอยู่ในขณะนั่งสมาธิ...ผมขอตอบในฐานะเคยผ่านมีประสบการณ์สภาวะนั้นมาก่อน..
ไม่ใช่ตอบแบบคาดคะเน..คิดเดาตามความรู้สึก...อนุมานประมาณว่า..จะเป้นอย่างนั้น..อย่างนี้..

ที่รู้สึกว่า...ลมหายใจสั้นลงๆ เบาลง ๆ จนเหมือนเกือบจะไม่หายใจ
เมื่อเริ่มต้นจับลมหายใจ..ลักษณะของลมจะเป็นลมหยาบ เมื่อจิตของเราเริ่มมีสมาธิและสติตั้งมั่นมากขึ้นตามลำดับ ลมหายใจจะละเอียดขึ้น เปรียบเสมือนจิตที่ละเอียดตามลมหายใจ..ดังนั้นลมหายใจจึงเป็นเครื่องมือวัดสติและสมาธิ ถ้าลมหายใจหยาบสติและสมาธิยังหยาบ ถ้าลมหายใจละเอียดสติและสมาธิละเอียด...

ที่รู้สึกว่า...เสียงรอบตัวที่ได้ยินเกือบจะไม่ได้ยิน มีอาการหมือนหูจะดับ..
เมื่อจับลมหายใจแล้ว..รู้สึกลมหายใจละเอียด..การรับรู้อายนะภายนอกที่เป็นรูป รส กลิ่น เสียง..ทั้งหมดจะดับหมด...เรียกว่า กาย และเวทนาดับ

ที่รู้สึกว่า... รู้สึกเหมือนหลับแต่ไม่ได้หลับ ระหว่างที่หลับตาก็เหมือนเห็นสีขาวนวลๆ เกิดความสุขขึ้นมา เวทนาที่เกิดแรงกล้าก็หายไป ระหว่างหลับตาเหมือนเราเห็นสภาวะอะไรสักอย่างแต่ไม่รู้จะอธิบายยังไง จะว่าเหมือนดิ่ง คำภาวนาพุทโธก็หายไปด้วย ทั้งที่มีขณะนั้นสติทุกอย่าง...เหมือนวันก่อนนะคะ ตัวเอนตัวโยก
เมื่อการรับรู้อายนะภายนอกที่เป็นรูป รส กลิ่น เสียง..ดับหมด...เวทนาที่เกิดแรงกล้าทางกายก็จะดับไป
เหลือแต่เวทนาทางจิต ที่เป็นความสุข เรียกว่า..สุขเวทนา..
ในระหว่างหลับตาเหมือนคุณเห็นสภาวะอะไรสักอย่าง..เป็นปัจจัตตัง เรียกว่า..นิมิต
นิมิตนี้จะมี 2 แบบ
1.นิมิตภายใน ได้แก่ ร่างกาย อวัยวะ 32 จะเป็นคุณไม่มีโทษ นำมาพิจารณาเป็นอสุภกรรมฐานได้
2.นิมิตภายนอก ได้แก่ สิ่งอื่นนอกจากร่างกาย เช่น วิมาน นรกสวรรค์ จะเป็นโทษมากว่าคุณ...
เพราะทำให้เนิ่นช้าและไม่ได้แก้กามกิเลสแต่อย่างใด

ดังนั้นนิมิต จึงมีทั้งคุณและโทษ อยู่ที่สติปัญญาของเราจะนำมาพิจารณาใช้ประโยชน์ให้เกิดความรู้ในนิมิตนั้น
นิมิต คือ นิมิต เป็นความรู้ในสมาธิ...ถ้าคุณไม่ยึดหลงในนิมิต..วางจิตเป็นอุเบกขา..


ขั้นตอนที่คุณจะต้องเดินต่อไป....
จิตกำหนดรุ้อยู่ที่จิต ไม่ไปสำคัญหมายมั่นสิ่งอื่นใด..
จิตจะดิ่งลงสู่ฐานของจิต คือ ความสงบของใจ เรียกว่า ได้หลักใจ
ตรงนี้..เรียกว่า สัมมาสมาธิ เพราะจิตผุ้รู้ กำหนดรู้ มีสติเป็นอุเบกขา..
จะเกิดแสงสว่างที่จิต เรียกว่าแสงสว่างของปัญญาที่ส่องรูปนาม...
จะเห็นความจริงของกาย เวทนา จิต และธรรม เป็นอันหนึ่งอันเดียว

ที่เรียกว่า..กายสักแต่ว่า กาย เพราะเห็นกายดับ กายไม่มีตัวตน
เวทนาสักแต่ว่าเวทนา เพราะเห็นเวทนากายและเวทนาจิตดับ
จิตสักแต่ว่าจิต เพราะเห็นจิตไม่มีตัวตน มีแต่ผู้รู้ ไม่สำคัญในผู้รู้
ธรรมสักแต่ว่าธรรม เพราะเห็นสภาวะธรรมนั้นไม่มีตัวตน ไม่สำคัญยึดมั่นในสภาวะธรรมนั้น
เพราะสภาวะธรรมนั้นก็ดับไป เพราะกฏพระไตรลักษณ์ ..เรียกว่า..ไตรลักษณ์ญาณ


แก้ไขล่าสุดโดย วิสุทโธ เมื่อ 19 ก.ย. 2009, 19:35, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ย. 2009, 21:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปัญญาเพียงดังแผ่นดินย่อมเกิด เพราะความประกอบโดยแท้

ความสิ้นไปแห่งปัญญาเพียงดังแผ่นดิน เพราะความไม่ประกอบ

บัณฑิตรู้ทางสองแพร่งแห่งความเจริญและความเสื่อมนี้แล้ว

พึงตั้งตนไว้โดยอาการที่ปัญญาเพียงดังแผ่นดิน จะเจริญขึ้นได้



เจริญในธรรมครับ
...................................................................................................

สมาธินั้น มีความไม่ฟุ้งซ่านเป็นลักษณะ
มีความกำจัดความฟุ้งซ่านเป็นรส
มีความไม่หวั่นไหวเป็นเครื่องปรากฏ
มีความสุขความเจริญเป็นปทัฏฐาน


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 23 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร