ในอดีตกาล
พระเจ้าทสรถเสวยราชย์ในกรุงพาราณสี ทรงมีพระโอรสองค์ใหญ่ทรงพระนามว่า
รามบัณฑิต พระโอรสองค์น้องทรงพระนามว่า ลักขณกุมาร พระธิดาทรงพระนามว่า
สีดาเทวี
ต่อมา
พระอัครมเหสีสิ้นพระชนม์ พระราชาทรงตั้งสตรีอื่นเป็นพระอัครมเหสี
พระนางได้ประสูติพระโอรสทรงพระนามว่า ภรตกุมาร พระราชาทรง
เสน่หาในพระโอรส จึงประทานพรแก่พระนาง พระนางทรงอาศัยพระพรนั้นทูลขอราชสมบัติให้พระโอรสของพระนาง
เมื่อพระราชาไม่ประทานให้ ก็ทูลขอ อยู่เนืองๆ
พระราชาทรงเกรงว่าพระนางจะประทุษร้ายพระโอรสทั้งสอง
จึงให้พระโอรส ทั้งสองหลบหนีไปอยู่ที่อื่น แล้วค่อยกลับมาครองราชย์เมื่อพระราชาสวรรคตแล้ว
พระโอรสทั้งสองรวมทั้งพระนางสีดา ได้เสด็จไปสร้างอาศรมอยู่ในป่า
ทรงเลี้ยง พระชนมชีพด้วยผลไม้ต่างๆ
เมื่อพระราชาสวรรคต
พระเทวีมีพระดำรัสให้ถวายเศวตฉัตรแด่พระภรต แต่พวกอำมาตย์ต้องการถวายให้พระรามบัณฑิต
พระภรตจึงเสด็จไปป่า เชิญพระรามบัณฑิตมาครองราชย์ เมื่อไปถึงทรงแจ้งข่าวการสวรรคตของ
พระราชบิดาให้ทรงทราบ
พระลักขณะและพระนางสีดา
พอได้สดับข่าวพระราชบิดาสวรรคตก็ทรง สลบไป แต่พระรามบัณฑิตมิได้ทรงเศร้าโศกเลย
พระภรตจึงตรัสถามถึงสาเหตุ ที่พระรามบัณฑิตไม่ทรงเศร้าโศก
พระรามบัณฑิตตรัสตอบว่า
คนเราไม่สามารถจะรักษาชีวิตที่คนเป็นอันมาก พร่ำเพ้อถึง
นักปราชญ์ผู้รู้แจ้งจะทำตนให้เดือดร้อนทำไม
ทั้งเด็ก
ผู้ใหญ่ คนพาล บัณฑิต คนมั่งมี คนยากจน ล้วนบ่ายหน้าไปหา
มฤตยูทั้งนั้น
เวลาเช้าเห็นกันอยู่มากคน พอถึงเวลาเย็น
บางคนก็ไม่เห็นกัน เวลาเย็น เห็นกันอยู่มากคน พอถึงเวลาเช้า
บางคนก็ไม่เห็นกัน
ผลไม้ที่สุกแล้ว
ต้องหล่นลงเป็นแน่ ฉันใด สัตว์ทั้งหลายเกิดมาแล้ว ต้องตายเป็นแน่
ฉันนั้น
ถ้าผู้ที่คร่ำครวญหลงเบียดเบียนตนอยู่
จะพึงได้รับประโยชน์สักเล็กน้อยไซร้ บัณฑิตผู้มีปรีชาก็จะพึงทำเช่นนั้นบ้าง
ผู้เบียดเบียนตนเองอยู่
ย่อมซูบผอมผิวพรรณเศร้าหมอง ผู้ที่ตายไปแล้ว ไม่ได้ช่วยคุ้มครองรักษาด้วยการร่ำไห้นั้นเลย
การร่ำไห้ไร้ประโยชน์
คนฉลาดพึงดับไฟที่ไหม้เรือนด้วยน้ำ
ฉันใด นักปราชญ์ผู้ได้รับการศึกษามาดี มีปัญญาเฉลียวฉลาด
พึงรีบกำจัดความโศกที่เกิดขึ้นโดยพลันเหมือนลมพัดปุยนุ่น
ฉะนั้น
คนๆ
เดียวเท่านั้นตายไป คนๆ เดียวเท่านั้นเกิดในตระกูล ส่วนการคบหากันของสรรพสัตว์
มีการเกี่ยวข้องกันเป็นอย่างยิ่ง
เพราะเหตุนั้นแล
ความเศร้าโศกแม้จะมากมาย ก็ไม่ทำให้จิตใจของนักปราชญ์ผู้เป็นพหูสูต
(เล่าเรียนมาก) มองเห็นโลกนี้และโลกหน้า รู้ทั่วถึงธรรม
ให้เร่าร้อนได้
เมื่อฝูงชนฟังธรรมเทศนาอันประกาศความไม่เที่ยงนี้แล้วก็พากันคลายโศก
ต่อจากนั้น พระภรตกุมารทูลเชิญพระรามบัณฑิตไปครองราชสมบัติในกรุงพาราณสี
(ทสรถชาดก ๒๗/๑๕๖๕-๑๕๗๔)
ในเรื่องนี้
พระรามบัณฑิตทรงเตือนสติฝูงชนให้คลายโศก โดยตรัสว่า ทุกคน
เกิดมาแล้วต้องตาย เปรียบเหมือนผลไม้สุกต้องร่วงหล่นจากต้น
แต่ไม่รู้ว่าเวลาใด นี้เป็นกฎธรรมดาที่ทุกคนต้องรับรู้และยอมรับ
ผู้ใดไม่ยอมรับความจริงนี้ ย่อมทุกข์ใจเปล่าๆ การร้องไห้คร่ำครวญไม่อาจทำประโยชน์หรือความเจริญให้แก่ผู้ที่ยังอยู่และผู้ที่จากไป
ดังนั้นคนที่ฉลาดก็ควรรีบกำจัดความโศกเสีย
อันความตาย ชายนารี หนีไม่พ้น |
ถึงมีจน ก็ต้องตาย วายเป็นผี |
ถึงแสนรัก ก็ต้องร้าง ห่างทันท |
ไม่วันนี้ ก็วันหน้า จริงหนาเรา |
|
|
ชีวิตคนเราเปรียบเหมือนเมล็ดพืชที่ตั้งอยู่บนปลายเหล็กแหลม
จะร่วงหล่น ลงมาแสนจะง่ายดาย เราจะต้องจากกัน ทิ้งกันไปอย่างแน่นอน
เขาไม่ทิ้งเรา เราก็ต้องทิ้งเขาไปก่อน ทั้งๆ ที่เราไม่อยากทิ้งก็ต้องทิ้ง
ทิ้งร่างที่ไร้วิญญาณดุจขอนไม้ ให้เขาเอาใส่โลงแล้วเผาให้เหลือแต่ขี้เถ้า
เราจะต้องหวงต้องห่วงอะไรกันมากมายไปอีกเล่า
|