เว็บบอร์ด สนทนาธรรม สอบถามห้องแชดสนทนาธรรมสมุดเยี่ยม ฝากข้อความ ติชมรวมเว็บพระพุทธศาสนารวมรูปภาพ พุทธศิลป์ พระพุทธเจ้า พระพุทธรูป พระเจดีย์ พระสงฆ์
  ตั้งเป็นหน้าแรก   เก็บเข้า Favorites   สั่งพิมพ์   แจ้งปัญหา
   
 
 
 
สารบัญหลัก
  หน้าหลัก
  หนังสือธรรมะ
  บทสวดมนต์
  เสียงธรรม mp3
  เสียงสวดมนต์ mp3
  ห้องสวดมนต์ออนไลน์
  สมาธิ
  กฎแห่งกรรม
  วัดป่า-พระป่า
  วันสำคัญทางศาสนา
  ดาวน์โหลด e-book
  คำสอนจากครูบาอาจารย์
  บทความ..ธรรมจักร
  รูปภาพ
  กระดานสนทนา
  ห้องสนทนา
  สมุดเยี่ยม
  รวมเว็บ
  ติดต่อทีมงาน
ขึ้นบน
 
เว็บบอร์ด
  สนทนาธรรม
  ข่าวกิจกรรม
  สติปัฏฐาน
  สมาธิ
  กฎแห่งกรรม
  นิทานธรรมะ
  หนังสือธรรมะ
  บทความธรรมะ
  กวีธรรม
  นานาสาระ
  วิทยุธรรมะ
  สถานที่ปฏิบัติธรรม
  เสียงธรรมออนไลน์
  เสียงสวดมนต์ออนไลน์
  พระพุทธเจ้า
  ประวัติอสีติมหาสาวก
  ประวัติเอตทัคคะ
  ประวัติครูบาอาจารย์
 
 
^-^ มาฝึกสมาธิกันดีกว่า ^-^
 
@ อยากรู้  ประวัติศาสตร์ วงล้อมธรรมจักร ลัญลักษณ์ของพุทธศาสนา  คลิกอ่าน @
 
รวมเว็บพระพุทธศาสนา แบ่งออกเป็นหมวดหมู่ ง่ายต่อการค้นคว้าหาข้อมูล
 
คำสอนของครูบาอาจารย์ เช่นหลวงปู่ดูลย์,หลวงปู่เทสก์,หลวงพ่อชา,หลวงพ่อพุธ,หลวงพ่อจรัญ,พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) เป็นต้น
 
อัลบั้มภาพพระพุทธศาสนา
 
เรือนธรรม - บ้านพักผ่อนทางจิตใจด้วยธรรมะ
 
ขอเชิญเข้ามาร่วมสนทนาธรรมด้วยกันครับ
 
ดูซิ ! ว่ามีใครอยู่ในห้องบ้าง
 
ฝากข้อความติชมของท่านได้ที่นี่ครับ
 
 
 
 
   หน้าแรกธรรมจักร   หนังสือธรรมะ   พุทธวิธีคลายโศก ปรับขนาดตัวอักษร เพิ่มขนาด ลดขนาด ขนาดปกติ  
 
 
ยากกว่ากลืนดาบ
 

           ในอดีตกาล พระเจ้าพรหมทัตเสวยราชย์ในนครพาราณสี ครั้งนั้น บุตรของปุโรหิตมาเฝ้าพระราชา เห็นพระอัครมเหสีทรงรูปโฉมงดงาม มีจิตปฏิพัทธ์ ไปบ้านแล้วนอนอดอาหาร ถูกเพื่อนฝูงถามจึงเล่าให้ฟัง พระราชาทรงทราบข่าว จึงประทานพระอัครมเหสีให้ ๗ วัน ทั้งสองอยู่ร่วมกันที่บ้านแล้วบังเกิดความรัก ต่อกัน จึงแอบหนีไปอยู่ในแคว้นอื่น

           พระราชารับสั่งให้ค้นหาโดยประการต่างๆ ก็ไม่พบ ทำให้พระองค์เศร้าโศก มาก พระหทัยร้อน พระโลหิตไหลออก ได้มีพระพยาธิขนาดหนัก หมอหลวง ตั้งมากมายก็เยียวยาไม่ได้ เสนกบัณฑิต ซึ่งเป็นอำมาตย์ของพระราชา และอายุรบัณฑิต ปุกกุสบัณฑิต จึงร่วมมือกันหาอุบายแก้ไข

           บัณฑิตทั้ง ๓ ไปที่ราชสำนัก กราบทูลชวนให้ทอดพระเนตรดูการเล่น ที่พระลานหลวงทางช่องพระแกล ชายคนหนึ่งกำลังกลืนดาบแก้วที่มีคมกล้า พระราชาทอดพระเนตรชายคนนั้นแล้ว จึงตรัสถามอายุรบัณฑิตว่า มีอยู่หรือไม่ การเล่นอย่างอื่นที่ทำได้ยากกว่าการกลืนดาบ

           อายุรบัณฑิตกราบทูลว่า การกลืนดาบของชายผู้นั้นทำไปเพราะความโลภ ก็ผู้ใดพูดว่าจะให้สิ่งนั้นสิ่งนี้ การพูดเช่นนั้นทำได้ยากกว่าการกลืนดาบ

           เมื่อพระราชาทรงสดับคำของอายุรบัณฑิตแล้ว ทรงดำริว่า เราได้พูด ไปแล้วว่า เราจักให้พระเทวีแก่บุตรปุโรหิต เราทำกรรมที่ทำได้ยากแล้วหนอ ความโศกในพระหทัยบรรเทาไปหน่อยหนึ่ง จากนั้นก็ตรัสถามปุกกุสบัณฑิตว่า สิ่งที่ทำได้ยากกว่าการบอกว่าเราจะให้นั้น ยังมีอยู่หรือไม่

           ปุกกุสบัณฑิตกราบทูลว่า คนทั้งหลายไม่รักษาคำพูด คำที่พูดนั้นก็ไร้ผล ผู้ใดให้ปฏิญญาว่า เราจะให้ แล้วให้ตามสัญญา ให้แล้วไม่อยากได้คืน การพูดและทำเช่นนั้นทำได้ยากกว่าการกลืนดาบ ยากกว่าการพูดว่าจะให้สิ่งนั้นสิ่งนี้

           พระราชาทรงสดับแล้วดำริว่า เราพูดว่าจะให้พระเทวีแก่บุตรปุโรหิต แล้วก็ให้พระเทวีตามที่พูด เราได้ทำกรรมที่ทำได้ยากแล้วหนอ ความโศกก็เบาบาง ลงอีก จากนั้นก็ตรัสถามเสนกบัณฑิตว่า สิ่งที่ทำได้ยากกว่าการให้สิ่งของแล้วไม่อยากได้คืน ยังมีอยู่หรือไม่

           เสนกบัณฑิตกราบทูลว่า คนควรให้ทาน จะมากหรือน้อยก็ตาม แต่ผู้ใดให้ของรักของตนแล้วไม่ร้อนใจภายหลัง ข้อนั้นทำได้ยากกว่าการกลืนดาบ ยากกว่าการพูดว่าจะให้ ยากกว่าการให้ของรักตามที่ได้สัญญาไว้แต่ให้แล้วร้อนใจภายหลัง เรื่องอื่นทั้งหมดทำได้ง่าย

           พระราชาสดับคำของเสนกบัณฑิตแล้ว ทรงกำหนดว่า เราให้พระเทวีแก่บุตรปุโรหิตด้วยดวงใจของตน แต่ไม่อาจจะทรงไว้ซึ่งดวงใจของตนได้ เศร้าใจ ลำบากใจอยู่ ข้อนี้ไม่สมควรแก่เรา ถ้าพระเทวีมีความรักในเรา เธอคงไม่ทอดทิ้งเราไป แต่เมื่อเธอไม่รักเรา หนีไปแล้ว เราเศร้าโศกถึงเธอจักมีประโยชน์ อะไร

           ดำริแล้วก็ทรงคลายความโศกได้หมด จากนั้นทรงสดุดีเสนกบัณฑิต และพระราชทานทรัพย์ให้เป็นอันมาก
                                                       (ทสัณณกชาดก ๒๗/๑๐๐๗-๑๐๑๓)

           ในเรื่องนี้พระราชาทรงเศร้าโศกมาก เสนกบัณฑิต จึงใช้การแสดงกลืนดาบ ดึงดูดให้พระราชาสนพระทัยเสียก่อน จากนั้นบัณฑิตทั้งสามก็ผลัดกันพูดสรรเสริญเพื่อให้พระราชาภาคภูมิพระทัยว่า ทรงกระทำสิ่งที่ทำได้ยาก ทำให้ความโศกคลายไปเป็นลำดับ ประกอบกับทรงคลายความเสน่หาในพระเทวี เหตุสองอย่างนี้ทำให้พระราชาคลายโศก

           อนึ่ง การพูดว่าจะให้ทำได้ยากกว่าการกลืนดาบ เพราะเหตุว่า การพูดว่าจะให้เป็นไปเพื่อละความโลภ การฝืนกิเลสย่อมทำได้ยาก ส่วนการกลืนดาบ ซึ่งเป็นมายากลนั้นทำไปเพราะความโลภในค่าจ้างรางวัล การทำตามอำนาจกิเลสย่อมทำได้ง่ายกว่า

สิ่งที่ผ่าน นานแล้ว ให้แล้วไป ถึงเศร้าใจ ไม่ฝืน คืนมาหา
อีกความสุข ทั้งหลาย ที่หมายตา ใช่ได้มา ด้วยความเศร้า จงเข้าใจ
 
(ธมฺมวฑฺโฒ ภิกฺขุ)

           ทุกคนต้องการความสุขทุกขณะจิต ความสุขนั้นต่างก็เคยพบเห็น เคยมีมาแล้วทุกคนมิใช่หรือ เมื่อรู้ว่าความสุขเป็นของดี ทำไมจึงไม่ยึดถือเอาความสุข นั้นไว้ประจำสันดานจนตลอดชีวิต เนื่องจากความไม่เที่ยงอันเป็นความจริงของโลกนี้เองมาตัดรอนไป
                                                                             (พระบุญนาค โฆโส)

........................
 
 
สารบัญ
๑. พุทธวิธีคลายโศก ๑๑. สิ้นสุดที่ความตาย
๒. วัคซีนป้องกันโรคคิดสั้น ๑๒. ทีใครทีมัน
๓. ใครบ้ากันแน่ ๑๓. โชคในเคราะห์
๔. เมล็ดผักกาดชุบชีวิต ๑๔. ฐานะที่ไม่มีใครพึงได้
๕. ทุกข์นักรักนี้ ๑๕. มากรักมักโศก
๖. ยากกว่ากลืนดาบ ๑๖. พรหมทัตองค์ไหน
๗. ชุมนุมน้ำตา ๑๗. บทสรุป
๘. มาแล้วก็ไป ๑๘. ภาษิตและคติเตือนใจ
๙. โศกไปไย  
๑๐. ผู้เขลาต่อโลกธรรม  
   
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
  หน้าหลัก l หนังสือธรรมะ l เสียงสวดมนต์ mp3 l เสียงธรรม mp3 l บทสวดมนต์ l สมาธิ l รูปภาพ
ดาวน์โหลด e-book l ห้องสวดมนต์ออนไลน์  l กระดานสนทนา l ห้องสนทนา chat  l สมุดเยี่ยม lรวมเว็บ
 
จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
ขึ้นบน