วันเวลาปัจจุบัน 04 พ.ค. 2025, 10:59  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 41 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 มี.ค. 2009, 13:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ประเด็นเกิดจากข้อความสองข้อดังยกมานะขอรับ เกาะประเด็นไว้
อาจลำดับข้อความทีโพสยากนิดหนึ่ง เพราะลงไม่ติดต่อกัน แต่ก็อธิบายสาระ "มัชเฌนธรรมเทศนา" กับ "มัชฌิมาปฏิปทา”
ทบทวนอีกครั้งนะขอรับ :b1:

ลักษณะทั่วไปของพุทธธรรมนั้น สรุปได้ 2 อย่าง คือ


1. แสดงหลักความจริงสายกลาง ที่เรียกว่า "มัชเฌนธรรม” หรือ เรียกเต็มว่า “”
ว่าด้วยความจริงตามแนวของเหตุผลบริสุทธิ์ตามกระบวนการของธรรมชาติ นำมาแสดงเพื่อประโยชน์ในทางปฏิบัติในชีวิตจริงเท่านั้น ไม่ส่งเสริมความพยายามที่จะเข้าถึงสัจธรรม ด้วยวิธีถกเถียงสร้างทฤษฎีต่างๆ
ขึ้น แล้วยึดมั่นปกป้องทฤษฎีนั้น ๆ ด้วยการเก็งความจริงทางปรัชญา

2. แสดงข้อ ปฏิบัติสายกลาง ที่เรียกว่า “มัชฌิมาปฏิปทา” อันเป็นหลักการครองชีวิตของผู้ฝึกอบรมตน ผู้รู้เท่าทันชีวิต ไม่หลงงมงาย มุ่งผลสำเร็จ คือ ความสุข สะอาด สว่าง สงบ เป็นอิสระ ที่สามารถมองเห็นได้ในชีวิตนี้
ในทางปฏิบัติ ความเป็นสายกลางนี้ เป็นไปโดยสัมพันธ์กับองค์ประกอบอื่นๆ เช่น สภาพชีวิตของบรรพชิต
หรือ คฤหัสถ์ เป็นต้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 22 มี.ค. 2009, 14:02, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 มี.ค. 2009, 14:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 มิ.ย. 2008, 22:48
โพสต์: 1173


 ข้อมูลส่วนตัว


Buddha เขียน:
คุณจะปฏิบัติ หรือมีข้อปฏิบัติ อะไรก็ตามแต่ คุณต้องมีปัจจัยที่สำคัญ คือ
๑. อัตตา คือ ตัวตน อันได้แก่ ขันธ์ ๕ คือ จิตวิญญาณ,รูป,สัญญา,เวทนา,สังขาร(การปรุงแต่ง
๒.คุณต้องมีปัจจัยอื่นๆ ตามธรรมชาติ เช่นสภาพสิ่งแวดล้อมต่างๆ เช่น พฤติกรรม ของคน สัตว์ สิ่งของ อันเป็นธรรมชาติที่แท้จริง และเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น ประกอบกันเพื่อทำให้เกิด ข้อปฏิบัติ หรือการปฏิบัติ

ชัดเจนไหมละคุณผู้เขลาเบาปัญญา อันชื่อว่า "กรัชกาย"



1. คุณBuddhaผู้เขลาเบาปัญญา เต็มไปด้วยมิจฉาทิฏฐิ กลับไปกล่าวหาคุณ"กรัชกาย"ว่า เป็นผู้เขลาเบาปัญญา ผมจะชี้แนะให้ อัตตาที่คุณบอกว่า คือ ตัวตน อันได้แก่ ขันธ์ ๕ คือ จิตวิญญาณ,รูป,สัญญา,เวทนา,สังขาร นั่นมั่วแล้วครับ รู้ไม่จริง ที่คุณบอกนั่นคือ อัตตาทิฏฐิ (อัตตานุทิฏฐิ) หรือ อัตตาอุปทาน (อัตตวาทุปาทาน ) พระพุทธองค์เรียกสิ่งนี้ว่า "อนัตตา"

2. ผมจะถอดส่วนที่เป็นขันธ์ 5 (รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) ที่เป็นอนัตตาออกนะครับ คุณจะได้รู้ความหมายของ "อัตตา" ที่พระพุทธเจ้าพูดถึงในอนัตตลักขณะสูตร

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้ารูปนี้จักได้เป็นอัตตา(มีตัวตน หรือเป็นของตัวตน อย่างแท้จริง)แล้ว รูปนี้ไม่พึงเป็นเพื่ออาพาธ(ความเสื่อม ความเจ็บไข้ ความแปรปรวน) และบุคคลพึงได้(หมายถึง ย่อมบังคับบัญชาได้ตามปรารถนา)ในรูปว่า รูปของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด รูปของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเวทนานี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว เวทนานี้ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในเวทนาว่า เวทนาของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด เวทนาของ เราจงอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าสัญญานี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว สัญญานี้ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในสัญญาว่า สัญญาของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด สัญญาของเรา อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าสังขารเหล่านี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว สังขารเหล่านี้ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในสังขารทั้งหลายว่า สังขารทั้งหลายของ เราจงเป็นอย่างนี้เถิด สังขารทั้งหลายของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าวิญญาณนี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว วิญญาณนี้ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในวิญญาณว่าวิญญาณของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด วิญญาณของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย

จะเห็นว่า สิ่งที่จะเป็นอัตตาได้ไมว่าจะเป็นรูป เวทนา สังขาร สัญญา วิญญาณ สิ่งนั้นต้องไม่อาพาธ (เสื่อม เจ็บไข้ ความแปรปรวน) และสามารถบังคับบัญชาสิ่งนั้นได้ตามปรารถนา

นั่นคือ สิ่งที่จะเป็น
อัตตา สิ่งนั้นต้องไม่เกิดแก่เจ็บตาย(อาพาธ) และสามารถบังคับบัญชาสิ่งนั้นได้ตามปรารถนานั่นเอง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 มี.ค. 2009, 14:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(ต่อ)

ทางสายกลางที่แท้จริงมีหลักที่แน่นอน ความแน่นอนของทางสายกลางนั้น อยู่ที่ความมีจุดหมายหรือเป้าหมายที่แน่ชัด เมื่อมีเป้าหมายหรือจุดหมายที่แน่นอนแล้ว ทางที่นำไปสู่จุดหมายนั้น หรือ การกระทำที่ตรงจุด พอเหมาะพอดีที่จะให้ผลตามเป้าหมาย นั้นแหละคือทางสายกลาง

เปรียบเหมือนการยิงลูกศรหรือยิงปืนอย่างมีเป้าหมาย จำเป็นต้องมีจุดที่เป็นเป้า การยิงถูกคือการกระทำที่พอเหมาะพอดีให้ลูกปืนหรือลูกศรพุ่งไปสู่จุดที่เป็นเป้า ความเป็นทางสายกลาง ย่อมอยู่ที่การยิงตรงพอดีสู่จุดที่เป็นเป้านั้น
การยิงที่เฉ คลาดพลาดออกไปข้างๆ ย่อมไม่ถูกต้องทั้งหมด

เมื่อเทียบกับการยิงที่ผิดเฉคลาดพลาดออกไปข้างๆ ทั้งหมดแล้ว จะเห็นว่าจุดหมายที่ถูกต้องมีจุดเดียวและเป็นจุดกลาง เป็นจุดที่แน่นอน
ส่วนจุดที่ผิดพลาดมีมากมายและไม่แน่นอน ล้วนเขวออกไปเสียข้างๆ และเส้นทางที่เข้าสู่จุดหมายนั้น
ก็เป็นเส้นทางกลางเช่นเดียวกัน
ทางที่ถูกต้อง มีจุดหมายมีหลักที่แน่นอนของมันเอง มิใช่รอกำหนดวัดเอาจากทางที่ผิดพลาด

ทางสายกลางที่เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา นี้ มีจุดหมายที่แน่นอน คือ ความดับทุกข์ หรือ ภาวะหลุดพ้นเป็นอิสระไร้ปัญหา

มรรค คือ ระบบความคิด และ การกระทำ หรือ การดำเนินชีวิตที่ตรงจุดพอเหมาะพอดีให้ได้ผลสำเร็จ
ตามเป้า คือ ความดับทุกข์ จึงเป็นทางสายกลาง หรือ มัชฌิมาปฏิปทา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 มี.ค. 2009, 20:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เหตุที่ทางสายกลางเป็นทางที่มีจุดหมายแน่ชัด หรือ ความเป็นทางสายกลางขึ้นอยู่กับความมีเป้าหมายที่แน่ชัด
ผู้ปฏิบัติจึงต้องรู้จุดหมายจึงจะเดินทางได้ คือ เมื่อจะเดินทางก็ต้องรู้ว่าตนจะไปไหน ด้วยเหตุนี้ ทางสายกลาง
จึงเป็นทางแห่งปัญญา และจึงเริ่มต้นด้วยสัมมาทิฏฐิ คือ เริ่มด้วยเข้าใจปัญหาของตนและรู้จุดหมายที่จะเดิน
ทางไป


โดยนัยนี้ทางสายกลาง จึงเป็นทางแห่งความรู้และความมีเหตุผล เป็นทางแห่งการรู้เข้าใจ ยอมรับและ
กล้าเผชิญหน้ากับความจริง
เมื่อมนุษย์ มีความรู้ความเข้าใจและกล้าเผชิญหน้ากับความจริงของโลกและชีวิตแล้ว
มนุษย์จึงจะสามารถจัดการกับชีวิตด้วยมือของตนเอง หรือ สามารถดำเนินชีวิตให้ถูกต้องดีงามกันได้เอง
โดยไม่ต้องคอยหวังพึ่งอำนาจศักดิ์สิทธิ์ฤทธานุภาพดลบันดาลจากภายนอก และเมื่อมนุษย์มีความมั่นใจด้วย
อาศัยปัญญาเช่นนี้แล้ว มนุษย์ก็จะไม่ต้องไปหมกมุ่นวุ่นวายอยู่กับสิ่งที่ห่วงกังวลว่า จะมีอยู่นอกเหนือวิสัย
ของมนุษย์ ท่าที่แห่งความมั่นใจเช่นนี้แหละ คือ ลักษณะอย่างหนึ่งของความเป็นทางสายกลาง

ผู้เดินทางสายกลาง เมื่อเข้าใจปัญหาและกำหนดรู้แนวแห่งจุดหมายแล้ว ก็จะมีความรู้ความเข้าใจตามมา
อีกด้วยว่า ทางสายกลางสู่จุดหมายนั้น คือ ทางดำเนินชีวิตที่ไม่ดีราคาค่าตัวต่ำถึงกับยอมสยบจมลง
ในกระแสโลก ปล่อยชีวิตให้เป็นทาสแห่งอามิสที่เป็นเหยื่อล่อของโลก เป็นอยู่ด้วยความหวังที่จะได้เสพรส
อร่อยของโลกถ่ายเดียว โดยยอมให้สุขทุกข์ ความดีงาม และคุณค่าแห่งชีวิตของตนขึ้นต่อวัตถุ และความ
ผันผวนปรวนแปรของเหตุปัจจัยต่างๆ ในภายนอกอย่างสิ้นเชิง ไม่ให้ชีวิตมีอิสรภาพเป็นตัวของตัวเอง มีคุณ
ค่าในตัวของมันเอง โดยไม่ต้องขึ้นต่อโลกร่ำไปเสียบ้างเลย

ทางดำเนินชีวิตที่เป็นสายกลางนั้น นอกจากไม่เอียงสุดทางวัตถุ จนเป็นทาสของวัตถุหรือขึ้นต่อวัตถุสิ้นเชิง
แล้ว ก็ไม่เอียงสุดทางด้านจิตด้วย คือ มิได้เห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างขึ้นต่อการบำเพ็ญเพียรและผลสำเร็จทางจิต
ฝ่ายเดียว จนปล่อยปละละเลยไม่เอาใจใส่สภาพทางวัตถุและร่างกาย กลายเป็นการประกอบความลำบาก
เดือดร้อนแก่ตนเอง

ทางดำเนินชีวิตนี้ มีลักษณะไม่เบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อื่น เป็นไปด้วยการรู้เข้าใจสภาพที่เป็นอยู่ตาม
ที่เป็นจริง ทั้งทางวัตถุและทางจิตใจ แล้วปฏิบัติด้วยความรู้เท่าทัน พอสมแก่เหตุปัจจัย และสอดคล้อง
พอเหมาะพอดี ที่จะให้ได้ผลตามจุดหมาย มิใช่ทำพอสักว่า จะให้ได้เสพเสวยเวทนาอันอร่อยของอามิส
หรือสักว่าถือตามๆกันมา โดยสำคัญมั่นหมาย ว่าจะต้องเป็นอย่างนั้นอย่างนี้โดยงมงาย * ทางสายกลาง
มีลักษณะบางอย่างที่พึงทราบ ดังที่กล่าวมานี้

หากผู้ใด จะกล่าวอ้างถึงทางสายกลาง หรือเดินสายกลาง อย่างหนึ่งอย่างใด ก็พึงถามท่านผู้นั้นว่า
เขาได้เข้าใจสภาพปัญหาที่มีอยู่ และ จุดหมายของทางสายกลางที่จะเดินนั้นแล้วหรือไม่

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 22 มี.ค. 2009, 21:20, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 มี.ค. 2009, 21:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(ขยายความเครื่องหมายดอกจัน คห.บน)


* พุทธพจน์ใน องฺ.ติก.20/596-7/308-1 และ ขุ.อุ.25/144/1944 อาจช่วยขยายความหมาย
ที่สุดสองอย่างนี้ได้อีก

แห่งแรกทรงเรียกกามสุขัลลิกานุโยคว่า อาคาฬหปฏิปทา (ทางกร้าน หรือ ทางหยาบกร้าน)
ได้แก่ คนพวกที่เห็นว่ากามไม่มีโทษ แล้วดื่มด่ำหมกตัวอยู่ในกาม

ทรงเรียกอัตตกิลมถานุโยคว่า นิชฌามปฏิปทา (ทางเกรียม หรือ ทางแห้งเกรียม)
ได้แก่วัตรปฏิบัติต่างๆของพวกอเจลก คือ ชีเปลือย (พึงถือว่า ทรงยกเป็นตัวอย่าง)


ส่วนมัชฌิมาปฏิปทา ทรงไขความว่า ได้แก่ ธรรมหมวดใดก็ได้ ในโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ
(สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ มรรคมีองค์ ๘)


แห่งที่สองมีความว่า คนพวกที่ถือเอาการเล่าเรียนเป็นสาระ ถือเอาศีล วัตร การหาเลี้ยงชีพ
การถือพรหมจรรย์ และการบำรุงบำเรอ (เทพเจ้า) เป็นสาระ นี่เป็นที่สุดข้างหนึ่ง
และคนพวกที่ถือวาทะว่า โทษในกามไม่มี นี้ก็เป็นที่สุดข้างหนึ่ง
ที่สุดสองอย่างนี้ เป็นเครื่องพอกพูนอวิชชาตัณหา อวิชชาตัณหา ก็พอกพูนทิฏฐิ

คนทั้งหลายไม่รู้จักที่สุดสองอย่างเหล่านั้น พวกหนึ่งก็ติดล้าอยู่ พวกหนึ่งก็วิ่งเลยไป
ส่วนคนรู้จักที่สุดสองอย่างเหล่านั้นแล้ว เขาไม่ติดอยู่ในที่สุดทั้งสองนั้น และไม่ถือดี เพราะการที่ไม่ติด
อยู่นั้นด้วย

สำหรับคนเหล่านั้น วัฏฏะที่จะบัญญัติเขา ย่อมไม่มี
(อรรถกถา คือ อุทาน อ. 446 อธิบายคำว่า หาเลี้ยงชีพว่า หมายถึงการเลี้ยงชีวิตแบบนักบำเพ็ญตบะ
และ ว่าอัตตกิลมถานุโยค ก็คือ สีลัพพตปรามาสนั่นเอง)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มี.ค. 2009, 09:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


มีแต่น้ำไม่มีเนื้อ อ่านแล้ว ไม่มีสาระแก่นธรรม ที่จะยังบุคคลให้บรรลุธรรมได้ เพ้อเจ้อ
เหมือนคนบ้า
บอกให้รู้ตัวแล้วยังไม่แก้ไขตัวเอง
คุณผู้ใช้ชื่อว่า กรัชกาย คุณ เป็นผู้มีความคิดอ่านต่ำ
สิ่งที่คุณเขียนมาทั้งหมด มันเป้นเพียง บทเกริ่น บทนำ วนเวียน อยู่รอบนอก ไม่ได้มีเนื้อหาสาระแห่งธรรม ทางพุทธศาสนาอะไรเลย
สิ่งที่ข้าพเจ้าอธิบายไป ชัดเจน ชัดแจ้งอยุ่แล้ว อ่านแล้วคิด ตามหลักความจริงในธรรมชาติ ปํญญา ก็เกิด ขอรับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มี.ค. 2009, 09:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Buddha เขียน:
มีแต่น้ำไม่มีเนื้อ อ่านแล้ว ไม่มีสาระแก่นธรรม ที่จะยังบุคคลให้บรรลุธรรมได้ เพ้อเจ้อ
เหมือนคนบ้า
บอกให้รู้ตัวแล้วยังไม่แก้ไขตัวเอง
คุณผู้ใช้ชื่อว่า กรัชกาย คุณ เป็นผู้มีความคิดอ่านต่ำ
สิ่งที่คุณเขียนมาทั้งหมด มันเป้นเพียง บทเกริ่น บทนำ วนเวียน อยู่รอบนอก ไม่ได้มีเนื้อหาสาระแห่งธรรม ทางพุทธศาสนาอะไรเลย
สิ่งที่ข้าพเจ้าอธิบายไป ชัดเจน ชัดแจ้งอยุ่แล้ว อ่านแล้วคิด ตามหลักความจริงในธรรมชาติ ปํญญา ก็เกิด ขอรับ



ไว้มีเวลากรัชกายจะเรียงข้อความที่โพสต์ๆที่กระทู้นี้ให้ใหม่ เพราะเราสนทนากันหลายคน คห.จึงข้ามไปข้ามมา

ไม่ได้มีเนื้อหาสาระแห่งธรรม ทางพุทธศาสนาอะไรเลย

จะสรุปสาระให้พอเห็นเค้านะขอรับ

เริ่มจากคำว่า ชีวิต (เราท่านทั้งหลายนี่แหละ) เป็นธรรมชาติ (ธรรม) หน้าที่เราคือต้องรู้จักตามข้อธรรม "มัชเฌนธรรมเทศนา" ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้
เมื่อรู้แล้วก็ลงมือปฏิบัติให้สอดคล้องกับธรรมชาตินั้น (มัชฌิมาปฏิปทา) สรุปสั้นๆก็เท่านี้

แต่เบื้องต้น เรารู้จักชีวิตหรือยังว่า เป็นอะไร หรือเป็นเขาเป็นเรา หรือ เป็นธรรมชาติ
แล้วปฏิบัติสอดคล้องกับธรรมชาตินั้น หรือ ยัง หรือ ปฏิบัติฝืนกระแสธรรม :b1:

พูดน่าง่ายขอรับ ทำนะไม่ง่ายเหมือนปากพูดหรอก :b12:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 23 มี.ค. 2009, 09:51, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มี.ค. 2009, 09:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


งั้นหรือ ยังหลงตัวเองอีกหรือ แล้ว
คำว่า "มัชฌิมธรรมเทศนา" มีกี่ข้อ อะไรบ้างละ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มี.ค. 2009, 10:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Buddha เขียน:
งั้นหรือ ยังหลงตัวเองอีกหรือ แล้ว
คำว่า "มัชฌิมธรรมเทศนา" มีกี่ข้อ อะไรบ้างละ



ข้อความหรือหัวข้อใดๆ ที่มีการโต้แย้งกัน หัวข้อนั้นๆ ผู้อ่านจะให้ความสนใจและจดจำได้ดีกว่ากระทู้ธรรมดา
ขอขอบคุณที่สนทนาด้วยนะรับ :b8:

มัชเฌนธรรมก็ดี มัชฌิมาปฏิปทาก็ดี กล่าวมาชัดแล้ว จะไม่หยิบขึ้นมากล่าวซ้ำที่กระทู้นี้อีก แต่จะหาโอกาสเรียงให้ติดต่อกัน แล้วนำไปตั้งเป็นกระทู้ใหม่ให้ศึกษากันเองอีกครั้งหนึ่งนะขอรับ :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มี.ค. 2009, 10:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
Buddha เขียน:
งั้นหรือ ยังหลงตัวเองอีกหรือ แล้ว
คำว่า "มัชฌิมธรรมเทศนา" มีกี่ข้อ อะไรบ้างละ



ข้อความหรือหัวข้อใดๆ ที่มีการโต้แย้งกัน หัวข้อนั้นๆ ผู้อ่านจะให้ความสนใจและจดจำได้ดีกว่ากระทู้ธรรมดา
ขอขอบคุณที่สนทนาด้วยนะรับ :b8:

มัชเฌนธรรมก็ดี มัชฌิมาปฏิปทาก็ดี กล่าวมาชัดแล้ว จะไม่หยิบขึ้นมากล่าวซ้ำที่กระทู้นี้อีก แต่จะหาโอกาสเรียงให้ติดต่อกัน แล้วนำไปตั้งเป็นกระทู้ใหม่ให้ศึกษากันเองอีกครั้งหนึ่งนะขอรับ :b1:


อ้าว ก็คุณยังไม่ได้ตอบ แล้วทำไม่ถึงกล่าวว่า จะเป็นการซ้ำกระทู้ อื่น
ก็ตอบมาซิว่า
มันมีกี่ข้อ อะไรบ้าง เกี่ยวข้อง กับ อัตตาอย่างไร
โธ่เอ๋ย มีแต่ราคาคุย เท่านั้น ตอบไม่ได้ ไม่รู้ ก็บอกตามตรงเลย ไม่มีใครว่าดอกนะคุณ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มี.ค. 2009, 10:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


พลศักดิ์ วังวิวัฒน์ เขียน:
Buddha เขียน:
คุณจะปฏิบัติ หรือมีข้อปฏิบัติ อะไรก็ตามแต่ คุณต้องมีปัจจัยที่สำคัญ คือ
๑. อัตตา คือ ตัวตน อันได้แก่ ขันธ์ ๕ คือ จิตวิญญาณ,รูป,สัญญา,เวทนา,สังขาร(การปรุงแต่ง
๒.คุณต้องมีปัจจัยอื่นๆ ตามธรรมชาติ เช่นสภาพสิ่งแวดล้อมต่างๆ เช่น พฤติกรรม ของคน สัตว์ สิ่งของ อันเป็นธรรมชาติที่แท้จริง และเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น ประกอบกันเพื่อทำให้เกิด ข้อปฏิบัติ หรือการปฏิบัติ

ชัดเจนไหมละคุณผู้เขลาเบาปัญญา อันชื่อว่า "กรัชกาย"


Buddha เขียน......
ขอให้ท่านทั้งหลาย อ่านตัวอย่างของบุคคลที่เขลาเบาปัญญา อย่างเจ้าจัณฑาลผู้ใช้ชื่อว่า "พลศักดิ์ อวดรู้ อวดฉลาด อวดดี อยากเด่น ความจริงแล้วเขาไม่ได้รู้เรื่อง รู้จริง รู้แจ้งอะไรเลย แถมยังนำเอา ความในพระไตรปิฎก มาทำความเสื่อมเสีย เพราะความรู้ไม่จริง รู้ไม่แจ้ง ในความของพระไตรปิฎก กล่าวง่ายๆ มันประเภทจัณฑาล สติเฟือง แค่นั้นเองขอรับ
อนึ่ง
ข้าพเจ้าแนะนำท่านทั้งหลายไว้ว่า ให้อ่าน กระทู้" จงทำความเข้าใจในพระไตรปิฎก"ประกอบ เพื่อจะได้ทำความเข้าใจให้เกิด และปัญญาย่อมเกิด ง่ายๆ ขอรับ เส้นผมบังภูเขาขอรับ

เจ้าจัณฑาลผู้ใช้ชื่อว่า "พลศักดิ์"เขียน.....
1. คุณBuddhaผู้เขลาเบาปัญญา เต็มไปด้วยมิจฉาทิฏฐิ กลับไปกล่าวหาคุณ"กรัชกาย"ว่า เป็นผู้เขลาเบาปัญญา ผมจะชี้แนะให้ อัตตาที่คุณบอกว่า คือ ตัวตน อันได้แก่ ขันธ์ ๕ คือ จิตวิญญาณ,รูป,สัญญา,เวทนา,สังขาร นั่นมั่วแล้วครับ รู้ไม่จริง ที่คุณบอกนั่นคือ อัตตาทิฏฐิ (อัตตานุทิฏฐิ) หรือ อัตตาอุปทาน (อัตตวาทุปาทาน ) พระพุทธองค์เรียกสิ่งนี้ว่า "อนัตตา"

2. ผมจะถอดส่วนที่เป็นขันธ์ 5 (รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) ที่เป็นอนัตตาออกนะครับ คุณจะได้รู้ความหมายของ "อัตตา" ที่พระพุทธเจ้าพูดถึงในอนัตตลักขณะสูตร

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้ารูปนี้จักได้เป็นอัตตา(มีตัวตน หรือเป็นของตัวตน อย่างแท้จริง)แล้ว รูปนี้ไม่พึงเป็นเพื่ออาพาธ(ความเสื่อม ความเจ็บไข้ ความแปรปรวน) และบุคคลพึงได้(หมายถึง ย่อมบังคับบัญชาได้ตามปรารถนา)ในรูปว่า รูปของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด รูปของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเวทนานี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว เวทนานี้ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในเวทนาว่า เวทนาของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด เวทนาของ เราจงอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าสัญญานี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว สัญญานี้ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในสัญญาว่า สัญญาของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด สัญญาของเรา อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าสังขารเหล่านี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว สังขารเหล่านี้ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในสังขารทั้งหลายว่า สังขารทั้งหลายของ เราจงเป็นอย่างนี้เถิด สังขารทั้งหลายของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าวิญญาณนี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว วิญญาณนี้ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในวิญญาณว่าวิญญาณของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด วิญญาณของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย

จะเห็นว่า สิ่งที่จะเป็นอัตตาได้ไมว่าจะเป็นรูป เวทนา สังขาร สัญญา วิญญาณ สิ่งนั้นต้องไม่อาพาธ (เสื่อม เจ็บไข้ ความแปรปรวน) และสามารถบังคับบัญชาสิ่งนั้นได้ตามปรารถนา

นั่นคือ สิ่งที่จะเป็น
อัตตา สิ่งนั้นต้องไม่เกิดแก่เจ็บตาย(อาพาธ) และสามารถบังคับบัญชาสิ่งนั้นได้ตามปรารถนานั่นเอง


Buddha ตอบ....
ท่านทั้งหลาย เมื่อได้อ่านข้อความของบุคคลที่เขลาเบาปัญญา อย่างเจ้าจัณฑาลผู้ใช้ชื่อว่า "พลศักดิ์ อวดรู้ อวดฉลาด อวดดี อยากเด่น ความจริงแล้วเขาไม่ได้รู้เรื่อง รู้จริง รู้แจ้งอะไรเลย แถมยังนำเอา ความในพระไตรปิฎก มาทำความเสื่อมเสีย เพราะความรู้ไม่จริง รู้ไม่แจ้ง ในความของพระไตรปิฎก กล่าวง่ายๆ มันประเภทจัณฑาล สติเฟือง แค่นั้นเองขอรับ
[/b]
ข้าพเจ้าแนะนำท่านทั้งหลายไว้ว่า ให้อ่าน กระทู้" จงทำความเข้าใจในพระไตรปิฎก"ประกอบ เพื่อจะได้ทำความเข้าใจให้เกิด และปัญญาย่อมเกิด ง่ายๆ ขอรับ เส้นผมบังภูเขาขอรับ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 41 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร