วันเวลาปัจจุบัน 04 พ.ค. 2025, 12:47  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มี.ค. 2009, 09:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ม.ค. 2009, 18:57
โพสต์: 159


 ข้อมูลส่วนตัว


อย่ากล่าวทุ่มเถียงแก่งแย่งกัน จงกล่าวเรื่องความพ้นทุกข์

ภิกษุ ท.! พวกเธออย่ากล่าวถ้อยคำที่ยึดถือเอาแตกต่างกันว่า
"ท่านไม่รู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้, ข้าพเจ้ารู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้,
ท่านจักรู้ทั่วถึงธรรมวินัยได้อย่างไร ท่านปฏิบัติผิด, ข้าพเจ้าซิปฏิบัติชอบ,
คำควรกล่าวก่อน ท่านกล่าวทีหลัง คำควรกล่าวทีหลัง ท่านมากล่าวก่อน
คำพูดของท่านจึงไม่เป็นประโยชน์คำพูดของข้าพเจ้าเป็นประโยชน์.
ข้อที่ท่านเคยถนัด มาแปรปรวนไปเสียแล้ว.
ข้าพเจ้าแย้งคำพูดของท่านแหลกหมดแล้ว, ท่านถูกข้าพเจ้าข่มแล้ว
เพื่อให้ถอนคำพูดผิด ๆ นั้นเสียหรือท่านสามารถก็จงค้านมาเถิด:" ดังนี้.
พวกเธอไม่พึงกล่าวถ้อยคำเช่นนั้นเพราะเหตุไรเล่า?
เพราะการกล่าวนั้น ๆ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่เป็นเงื่อนต้นของพรหมจรรย์
ไม่เป็นไปพร้อมเพื่อความหน่ายทุกข์ความคลายกำหนัด ความดับ
ความรำงับ ความรู้ยิ่ง ความรู้พร้อม และนิพพาน.

ภิกษุ ท.! เมื่อพวกเธอจะกล่าว จงกล่าวว่า "เช่นนี้ ๆ เป็นความทุกข์,
เช่นนี้ ๆ เป็นเหตุให้เกิดทุกข์, เช่นนี้ ๆ เป็นความดับไม่เหลือของทุกข์,
และเช่นนี้ ๆ เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์;" ดังนี้.
เพราะเหตุไรจึงควรกล่าวเล่า ?
เพราะการกล่าวนั้น ๆ ย่อมประกอบด้วยประโยชน์ เป็นเงื่อนต้นของพรหมจรรย์
เป็นไปพร้อมเพื่อความหน่ายทุกข์ ความคลายกำหนัด ความดับ
ความรำงับ ความรู้ยิ่ง ความรู้พร้อม และนิพพาน.
ภิกษุ ท.! เพราะเหตุนั้น ในกรณีนี้ พวกเธอพึง ทำความเพียรเพื่อให้รู้ตามเป็นจริงว่า
"นี้เป็นทุกข์, นี้เป็นเหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์, นี้เป็นความดับไม่เหลือแห่งทุกข์,
นี้เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์," ดังนี้เถิด.
- มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๒๕/๑๖๖๒.

:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มี.ค. 2009, 09:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 10
สมาชิก ระดับ 10
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 ก.พ. 2009, 02:06
โพสต์: 811

อายุ: 0
ที่อยู่: มหานคร

 ข้อมูลส่วนตัว


มุนีมีฤทธิ์กล้า.................โดยญาณ
สงบอยู่ในอาการ.............จิตตั้ง
ช่างสลดซึ่งคนพาล..........อวดเบ่ง กายา
โอ้อวดมิหยุดยั้ง..............แต่ล้วนคำพาล


ผู้แต่ง : ไม่ทราบ

สวัสดีครับคุณ BlackHospital
โมทนาครับ

.....................................................
ทุกสิ่งทุกอย่างในโลก มันถูกต้องอยู่แล้ว มีแต่ความเห็นของเราเท่านั้นที่ผิด (หลวงพ่อชา สุภัทโท)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มี.ค. 2009, 10:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ม.ค. 2009, 18:57
โพสต์: 159


 ข้อมูลส่วนตัว


การมีสติในการพูด

อานนท์ ! ถ้าเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ จิตน้อมไปเพื่อการพูด ,
เธอก็พูดด้วยการตั้งจิตว่า "เราจักไม่พูดเรื่องเลวทราม
เรื่องของชาวบ้าน เรื่องของบุถุชน ไม่ใช่เรื่องของพระอริยเจ้า ไม่ใช่เรื่องประกอบด้วยประโยชน์
ไม่เป็นไปเพื่อเบื่อหน่าย คลายกำหนัด เพื่อดับ ไม่เป็นไปเพื่อสงบรำงับ เพื่อรู้ยิ่งรู้พร้อม
เพื่อนิพพาน เห็นปานนั้น ; เช่นเรื่องพระราชา เรื่องโจร เรื่องมหาอำมาตย์ เรื่องกองทัพ
เรื่องน่ากลัว เรื่องการรบพุ่ง เรื่องข้าว น้ำ ผ้า ที่นอน ระเบียบดอกไม้ ของหอม ญาติ
ยานพาหนะ หมู่บ้านจังหวัด เมืองหลวง บ้านนอก เรื่องหญิงชาย เรื่องคนกล้า เรื่องตรอกทางเดิน
เรื่องท่าน้ำเรื่องคนที่ตายไปแล้ว ดังนี้ :
ในกรณีอย่างนี้ นี้ ภิกษุนั้น ชื่อว่าเป็นผู้มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อมในกรณีแห่งเรื่องไม่ควรพูดนั้น

แต่ถ้ากถาใด เป็นเรื่องขูดเกลากิเลสอย่างยิ่ง เป็นที่สบายแก่การ วิจารณญาณแห่งจิต
เป็นไปเพื่อหน่ายโดยส่วนเดียว เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง
เพื่อรู้พร้อม เพื่อนิพพาน, กล่าวคือ อัปปิจฉกถา สันตุฏฐิกถา ปวิเวกกถา อสังสัคคกถา
วิริยารัมภกถา สีลกถา สมาธิกถา ปัญญากถา วิมุตติกถา วิมุตติญาณทัสสนกถา
ดังนี้ ,
เธอ ตั้งจิตคิดว่า "เราจักกล่าวกถาเห็นปานนั้น" ดังนั้น :
ในกรณีอย่างนี้ นี้ ภิกษุนั้น ชื่อว่าเป็นผู้มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อมในกรณีแห่งกถาที่ควรพูดนั้น.

อุปริ. ม. ๑๔/๒๓๖-๒๔๐/๓๔๗-๓๕๐
:b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร