วันเวลาปัจจุบัน 04 พ.ค. 2025, 10:59  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 41 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสต์ เมื่อ: 18 มี.ค. 2009, 20:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


ท่านทั้งหลาย อัตตา คือ ธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต เจ้าตัวอัตตานี้ จะสร้างหรือแตกแยกออกเป็นความคิด ความรู้สึก และอารมณ์ ได้อีกมากมาย
ถ้าท่านทั้งหลาย ทำความเข้าใจในอัตตาให้ดีแล้ว ทุกคนจะรู้ว่า ทุกคนย่อมต้องยึดติดกับอัตตา เพราะอัตตา คือ ขันธ์ 5 ได้แก่ จิตวิญญาณ, รูป,สัญญา,เวทนา,สังขาร(การปรุงแต่ง)
คำว่ายึดติดในอัตตานั้น หมายความว่า ท่านทั้งหลายต้องปฏิบัติ หรือมีพฤติกรรมไปโดยอัตโนมัติตามธรรมชาติ คือ ต้องอาศัย ปัจจัย 4 ในทางพุทธศาสนา คือ อาหาร,เครื่องนุ่งห่ม,ที่อยู่อาศัย,และยารักษาโรค


ท่านทั้งหลาย ลองทำความเข้าใจ กับปัจจัยสี่ดูซิว่า ท่านทั้งหลายจะมีความคิดคัดค้านในข้อใดหรือไม่ ถ้าไม่มีข้อคัดค้าน ก็จะกล่าวถึง "สามัญลักษณะ" ของสรรพสิ่งเที่มีชีวิต

"สามัญลักษณะ" หมายถึง ลักษณะที่เสมอกันแก่สังขารทั้งปวง ได้แก่ ๑.อนิจจตา ความเป็นของไม่เที่ยง ๒.ทุกขตา ความเป็นทุกข์หรือความเป็นของคงทนอยู่มิได้ ๓.อนัตตตา ความเป็นของไม่ใช่ตัวตน
แสดงความตามบาลีดังนี้ ๑.สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ๒.สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขา สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ๓.สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา ธรรมทั้งปวงมิใช่ตัวตน; ลักษณะเหล่านี้มี ๓ อย่าง จึงเรียกว่า ไตรลักษณ์, ลักษณะเหล่านี้เป็นของแน่นอน เป็นกฎธรรมดา จึงเรียกว่า ธรรมนิยาม (คัดความจากพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับพระธรรมปิฏก)


ขอให้่ท่านทั้งหลายพิจารณา ความหมายของคำว่า "สามัญลักษณะ"ให้ดี อย่างช้าๆ ข้าพเจ้าจะแนะแนวทางไว้หน่อยหนึ่งว่า ในความหมายของคำว่า สามัญลักษณะนั้น นับได้ว่า เป็นหลักเหตุและผล อันได้พิสูจน์แล้ว

อนึ่ง สามัญลักษณะ ใช้อธิบาย ความเป็นไป แห่งขันธ์ทั้ง 5 แห่งสิ่งมีชีวิต(ในที่นี้หมายเอาเฉพาะมนุษย์ เพราะง่ายต่อการค้นหา และพิสูจน์ได้ด้วยตัวเอง

แต่ สามัญลักษณะ เป็นลักษณะแห่ง อดีต ปัจจุบัน และ อนาคต
อดีต บางอย่าง ควรจดจำ และระลึกนึกถึง อดีต บางอย่างไม่ควรจดจำ และไม่ควรระลึกนึกถึง
ปัจจุบัน บางอย่าง ควรจดจำ สนใจ และประพฤติปฏิบัติ แต่ปัจจุบันบางอย่าง ก็ไม่ควรจดจำ ไม่ควรสนใจ และไม่ควรประพฤติ ปฏิบัติ
อนาคต เป็นสิ่งที่ยังมาไม่ถึง บางอย่าง อาจเป็นจริง หรือเป็นไปตามที่ได้วางแผนเอาไว้ หรืออนาคต ย่อมเป็นจริง ตามธรรมชาติทั้งปวง อันไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ เช่นร่างกายของคน ย่อมต้อง มีเจ็บ มีแก่ มีตาย และ ณ.จุดนี้ เขาถึงสร้างความคิดที่ว่า "๑.อนิจจตา ความเป็นของไม่เที่ยง ๒.ทุกขตา ความเป็นทุกข์หรือความเป็นของคงทนอยู่มิได้ ๓.อนัตตตา ความเป็นของไม่ใช่ตัวตน
แต่เป็นเพียงการสร้างความคิด สำหรับชีวิตของมนุษย์ มิได้ให้มนุษย์คิดจนไม่ต้องทำมาหากิน หมองเศร้า โดยไม่รู้ตัว
ดังนั้น บุคคลย่อมต้อง ยึดถือปัจจุบัน และระลึกถึงอดีตในบางเรื่องบางอย่าง เพื่อสร้างให้ตัวเอง หลุดพ้น หรือขจัดอาสวะแห่งกิเลส
บุคคลจึงต้องมี อัตตา ต้องยึดติดในอัตตา คือ ยึดติด ในร่างกาย ในความรู้ ความจำ ความรู้สึกต่างๆที่มีมาตามธรรมชาติ และต้องยึดติดในการปรุงแต่ง เพราะธรรมชาติของระบบการทำงานของสรีระร่างกายมนุษย์จะมีการปรุงแต่งอยู่เสมอ เพื่อใช้ในการประกอบกิจกรรมหน้าที่การงานต่างๆ รวมไปถึง การบรรลุธรรมทุกชนิด
อธิบายมาพอสมควร คงทำความเข้าใจให้ท่านทั้งหลายได้บ้าง ตามแต่กำลังสมองสติปัญญาของท่านทั้งหลาย


โพสต์ เมื่อ: 19 มี.ค. 2009, 19:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อได้อธิบายในเรื่อง ของการบรรลุธรรม กับการยึดติดอัตตาไปแล้ว แน่นอน ก็ย่อมต้องเขียนถึง

สังโยชน์ 10 ในข้อ สักกายทิฎฐิ
ท่านทั้งหลาย
คำว่า " สักกายทิฐิ นั้น มีความหมาย ตามพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับพระธรรมปิฏก ว่า " ความเห็นว่าเป็นตัวของตน, ความเห็นเป็นเหตุถือตัวตน เช่น เห็นรูปเป็นตน เห็นเวทนาเป็นตน เป็นต้น (ข้อ ๑ ในสังโยชน์ ๑๐)

และสังโยชน์ 10 หมายถึง " กิเลสที่ผูกมัดใจสัตว์, ธรรมที่มัดสัตว์ไว้กับทุกข์ มี ๑๐ อย่าง คือ ก.โอรัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ได้แก่ ๑.สักกายทิฏฐิ ความเห็นว่าเป็นตัวของตน ๒.วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย ๓.สีลัพพตปรามาส ความถือมั่นศีลพรต ๔.กามราคะ ความติดใจในกามคุณ ๕.ปฏิฆะ ความกระทบกระทั่งในใจ ข.อุทธัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องสูง ๕ ได้แก่ ๖.รูปราคะ ความติดใจในรูปธรรมอันประณีต ๗.อรูปราคะ ความติดใจในอรูปธรรม ๘.มานะ ความถือว่าตนเป็นนั่นเป็นนี่ ๙.อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน ๑๐.อวิชชา ความไม่รู้จริง; พระโสดาบัน ละสังโยชน์ ๓ ข้อต้นได้, พระสกิทาคามี ทำสังโยชน์ข้อ ๔ และ ๕ ให้เบาบางลงด้วย, พระอนาคามี ละสังโยชน์ ๕ ข้อต้นได้หมด, พระอรหันต์ ละสังโยชน์ทั้ง ๑๐ ข้อ; ในพระอภิธรรมท่านแสดงสังโยชน์อีกหมวดหนึ่ง คือ ๑.กามราคะ ๒.ปฏิฆะ ๓.มานะ ๔.ทิฏฐิ (ความเห็นผิด) ๕.วิจิกิจฉา ๖.สีลัพพตปรามาส ๗.ภวราคะ (ความติดใจในภพ) ๘.อิสสา (ความริษยา) ๙.มัจฉริยะ (ความตระหนี่) ๑๐.อวิชชา " (คัดความจากพจนานุกรม พุทธศาสน์ ฉบับ พระธรรมปิฎก)

ดังนั้น ทั้ง สักกายทิฐิ หรือ สังโยชน์ 10 นั้น เป็นเพียง คำอธิบาย ถึง ลักษณะ ของ ความโลภ ความโกรธ ความหลง หรือเรียกรวมกันว่า กิเลส หากจะอธิบายให้เกิดความเข้าใจง่ายขึ้น ก็คือ สังโยชน์ 10 นั้น คือ รายละเอียด หรือ เป็นผลแห่งการได้สัมผัส ทางอายตนะ ฯลฯ แล้วเกิด ความคิด กลายเป็น อารมณ์ ความรู้สึก หรือ สภาพสภาวะจิตใจ
จะนำมาพิจารณาก็ดี ไม่นำมาพิจารณา ก็ดี หากนำมาพิจารณา ก็จักสามารถเกิดความเข้าใจว่า ความโลภ ความโกรธ ความหลง เป็นอย่างไรบ้าง แต่ก็ต้องคิดพิจารณาว่า อันไหน เป็น ความหลง อันไหนเป็นความโลภ อันได้ เป็นความโกรธ หรือ อันไหน ผสมรวมกัน คือเป็น ทั้ง ความโลภ ความหลง หรือ รวมกันทั้ง 3 อย่าง

การจะละกิเลสได้ หรือจะขจัดกิเลสได้ ต้องมีความรู้ ความเข้าใจ ในหลายๆเรื่อง หลายปัจจัย ไม่ใช่จะมาอธิบายกันเพียงไม่กี่บรรทัดแล้วจะเกิดความเข้าใจได้ ยกเว้น ท่านทั้งหลาย ได้เรียนรุ้ หลักธรรมคำสอน และเกิดความเข้าใจดีแล้ว นั่นแหละ ไม่ต้องอธิบายอะไรเลย เพราะหลักธรรม คำสอน หรือตัวหลักการ ชัดเจน ชัดแจ้ง อยู่แล้วว่า เป็นทั้ง ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และ มรรค ไปพร้อมกัน
ธรรมชาติ ของสรรพสิ่งที่มีชีวิต ล้วนย่อมยึดถือความเป็นตัวตน เป็นธรรมดา การยึดถือ ความคิด ความรู้สึก หรือยึดถือตัวตัวว่าเป็นของตนนั้น เป็นหลักการอันหนึ่ง ที่จักทำให้เกิดทุกข์ ได้ แต่ก็ย่อมทำให้เกิดความหลุดพ้นจากทุกข์ได้เช่นกัน และในแง่ปุถุชนคนทั่วไป หากไม่ยึดถือตัวตน ความทุกข์ อาจเกิดขึ้นมากกว่าการยึดถือตัวตนด้วยซ้ำ ทั้งนี้ก็เพราะความจำเป็นในการดำรงชีวิต ในสังคมสิ่งแวดล้อม นั่นเอง
ดังนั้น การจะละกิเลสในข้อสักกายทิฐินี้ มีวิธีเดียว คือ ขจัดความคิด ขจัดกิเลส อันเป็นการปฏิบัติ ตั้งแต่ชั้น โสดาบัน เป็นต้นไปจึงจะกระทำได้
อนึ่งต้องทำความเข้าใจว่า การขจัดกิเลส ต่างจากการละกิเลส เพราะการละกิเลสนั้น เป็นเพียง ชั้นปุถุชน ซึ่งกิเลสเหล่านั้น จะถูกเก็บกดไว้ ข่มไว้ แต่การขจัดกิเลส จะเป็นการขับเอาคลื่นความคิด ความจำ อารมณ์ ความรู้สึก ออกจากร่างกาย
ดังนั้น การที่บุคคลจะต้องการละหรือขจัด สักกายทิฐิ จึงไม่มีความจำเป็นแต่อย่างใดเลย

แต่หากจะต้องการละสักกายทฎฐิให้เบาบางลงหรือต้องการให้เกิดความสักกายทิฐิ พอประมาณ หรือ ให้เป็นไปตามปกติ ก็เพียงแค่ เรามีหลักธรรม พรหมวิหารสี่ ก็สามารถข่ม ละ ความถือตัวตน ลงได้ ฉะนี้


โพสต์ เมื่อ: 20 มี.ค. 2009, 09:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ท่านบุดฯ หรือ ท่านลุงใหญ่ขอรับ :b1:
หากจะพูดหรืออธิบายเกี่ยวกับ "อัตตา" นะขอรับ ควรแยกพูดเป็นสองความหมาย อัตตาในความหมายจริยธรรมส่วนหนึ่ง
อัตตา ที่เป็นความยึดถือส่วนหนึง จึงจะลงตัวไม่สับสนปนเปกัน
อย่างที่ลุงใหญ่พูดนั่นพูดปนกันขอรับ

เคยได้ยินพุทธพจน์ที่ว่า อัตตา หิ อัตตโน นาโถ ตนแลเป็นที่พึงแห่งตน ไหมขอรับ
นี้พระพุทธองค์ตรัส อัตตาแนวจริยธรรม หรือในแง่สมมุติ ตามภาษาชาวบ้าน ที่รู้ๆกัน

ส่วนอัตตาที่จับคู่กับอนัตตานั่นเป็นเพียงความยึดถือโดยอำนาจตัณหาอุปาทานว่า รูปนามขันธ์ ๕ นี้ว่าเป็นอัตตา
ตัวตน เรา เขา
หรือ ยึดขันธ์ใดขันธ์หนึ่งว่าเป็นอัตตา


ข้อสำคัญคือจะต้องรู้เท่าทัน แยกสมมุติกับสภาวะออกจากกันได้ ของอันเดียวกันนั่นแหละ เมื่อใดจะพูด
ถึงสภาวะ ก็พูดไปตามสภาวะ
เมื่อใดจะใช้สมมุติ ก็พูดไปตามสมมุติ อย่าไขว้เขว อย่าสับสนปะปนกัน และต้องมีความเข้าใจสภาวะ
เป็นความรู้เท่าทันรับรองยืนเป็นพื้นอยู่

ทั้งตัวสภาวะ และสมมุติ เป็นสิ่งจำเป็น ตัวสภาวะ (ปรมัตถ์) เป็นเรื่องของธรรมชาติ
ส่วนสมมุติเป็นเรื่องของประโยชน์สำหรับความเป็นอยู่ของมนุษย์ แต่ปัญหาเกิดขึ้นเพราะมนุษย์เอาสภาวะกับสมมุติมาสับสนกัน คือ เข้าไปยึดเอาตัวสภาวะจะให้เป็นตามสมมุติ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสต์ เมื่อ: 20 มี.ค. 2009, 15:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปัจจุบันมีความสับสนเกิดขึ้นในการใช้ศัพท์ที่มีความหมายเกี่ยวกับตัวตน คำที่เป็นปัญหาในกรณีนี้ คือ อัตตา
อัตตา เป็นคำบาลี รูปสันสกฤตเป็น อาตมัน แปลว่า ตน ตัว หรือ ตัวตน

พุทธธรรมสอนว่า ตัวตน หรือ อัตตานี้ ไม่มีอยู่จริง แต่เป็นสิ่งที่สมมุติขึ้น เพื่อสะดวก ในการสื่อสาร เพื่อความหมายรู้ร่วมกันของมนุษย์ในความเป็นอยู่ประจำวัน กำหนดตามชื่อที่บัญญัติขึ้น หรือ ตั้งขึ้นสำหรับเรียกหน่วยรวมหรือภาพรวมหนึ่งๆ

อัตตานี้จะเกิดเป็นปัญหาขึ้น ก็ต่อเมื่อคนหลงผิดเกิดความยึดถือขึ้นมา ว่ามีตัวตนจริงๆ หรือ เป็นตัวตนจริงๆ เรียกว่า รู้ไม่ทันความเป็นจริง หรือหลงสมมุติ

ในการแก้ปัญหาเกี่ยวกับอัตตานี้ พึงทราบว่า อัตตามิใช่เป็นกิเลส มิใช่สิ่งที่จะต้องละ เพราะอัตตาไม่มี
อยู่จริง จึงไม่มีอัตตาที่ใครจะละได้

อัตตา มีอยู่เพียงในความยึดถือ สิ่งที่จะต้องทำก็มีเพียงการรู้เท่าทันตามเป็นจริงว่า ไม่มีอัตตา หรือไม่เป็นอัตตา อย่างที่เรียกว่า รู้ทันสมมุติเท่านั้น

พูดอีกนัยหนึ่งว่า ละความยึดถือในอัตตา หรือ ถอนความหลงผิดในภาพของอัตตา หรือ ในบัญญัติแห่งอัตตาเสียเท่านั้น
เรื่องอัตตาและการปฏิบัติต่ออัตตาในความหมายที่ใช้ทั่วไปมีเพียงเท่านี้

(นำมาพอได้ใจความ จากพุทธธรรม หน้า70/34)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสต์ เมื่อ: 21 มี.ค. 2009, 09:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกายได้นำหัวข้อธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสรวบยอดไว้สองอย่าง คือ มัชเฌนธรรม กับ มัขฌิมาปฏิปทา
ที่ลิงค์นี้

viewtopic.php?f=1&t=21130&st=0&sk=t&sd=a

ลอกมาจากหนังสือพุทธธรรม เช่นว่า


ลักษณะทั่วไปของพุทธธรรมนั้น สรุปได้ 2 อย่าง คือ

1. แสดงหลักความจริงสายกลาง ที่เรียกว่า "มัชเฌนธรรม” หรือ เรียกเต็มว่า “มัชเฌนธรรมเทศนา” ว่าด้วยความจริงตามแนวของเหตุผลบริสุทธิ์ตามกระบวนการของธรรมชาติ นำมาแสดงเพื่อประโยชน์ ในทางปฏิบัติในชีวิตจริงเท่านั้น ไม่ส่งเสริมความพยายามที่จะเข้าถึงสัจธรรม ด้วยวิธีถกเถียงสร้างทฤษฎีต่างๆ ขึ้น แล้วยึดมั่นปกป้องทฤษฎีนั้น ๆ ด้วยการเก็งความจริงทางปรัชญา

2. แสดงข้อปฏิบัติสายกลาง ที่เรียกว่า “มัชฌิมาปฏิปทา” อันเป็นหลักการครองชีวิตของผู้ฝึกอบรมตน ผู้รู้เท่าทันชีวิต ไม่หลงงมงาย มุ่งผลสำเร็จ คือ ความสุข สะอาด สว่าง สงบ เป็นอิสระ ที่สามารถมองเห็นได้ในชีวิตนี้
ในทางปฏิบัติ ความเป็นสายกลางนี้ เป็นไปโดยสัมพันธ์กับองค์ประกอบอื่นๆ เช่น สภาพชีวิต
ของบรรพชิต หรือ คฤหัสถ์ เป็นต้น


แต่ท่านบุด ฯ หรือ คุณลุงใหญ่กล่าวว่า


คุณผู้ใช่ชื่อว่า "กรัชกาย" อย่างคุณนะหรือจะรู้ลักษณะของพุทธธรรม ที่แท้จริง
แค่ความคิดของคุณ ก็ต่ำอยู่แล้วนะคุณ ไปพิจารณาตัวเองให้มากๆ
แล้วที่ว่า หลักความจริง ทางสายกลาง กับ ข้อปฏิบัติทางสายกลาง นั้นมันมีอะไรบ้างละขอรับ คุณรู้หรือไม่
รู้แล้วทำได้หรือไม่ หรือว่า อวดอุตริฯ แสดงภูมิความรู้เท่านั้น



เหตุผลที่นำข้อธรรมดังกล่าว ซึ่งดูเหมือนเราเห็นแย้งกันมาตรงนี้ ก็เพราะว่าหัวข้อธรรมนั้น เนื่องอยู่กับกระทู้ของคุณลุงใหญ่นี้พอดี ก็เรื่องชีวิต หรือ รูปนามนี่แหละ
จึงโพสข้อความนำร่อง 2 คห. ข้างบน

รอคุณลุงใหญ่สนทนาประเด็นดังกล่าวด้วย ให้เรื่องนี้จบๆไป
ด้วยว่า มัชเฌนธรรมก็ดี มัชฌิมาปฏิปทาก็ดี ชาวพุทธคงเคยได้ยินมาบ้าง
แต่อะไรล่ะ มัชเฌนธรรม แค่ไหนเพียงใดเป็นล่ะ มัชฌิมาปฏิปทา รายละเอียดเป็นยังไง
เชื่อว่าสมาชิกหลายท่านต้องการรู้
แต่ถ้าขาดลุงใหญ่ ก็ขาดสิ่งเร้า :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสต์ เมื่อ: 21 มี.ค. 2009, 09:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
ปัจจุบันมีความสับสนเกิดขึ้นในการใช้ศัพท์ที่มีความหมายเกี่ยวกับตัวตน คำที่เป็นปัญหาในกรณีนี้ คือ อัตตา
อัตตา เป็นคำบาลี รูปสันสกฤตเป็น อาตมัน แปลว่า ตน ตัว หรือ ตัวตน

Buddha ตอบ.....
ความสับสนที่เกิดจากการใช้ภาษา เพราะบุคคล ไม่เข้าใจในเรื่องของภาษา ไม่เข้าใจความหมายของภาษา และไม่เข้าใจในบริบทของภาษา
คำว่า "อัตตา" เป็นภาษา บาลี เมื่อ บุคคล นำมาใช้ในภาษาไทย ก็ต้อง คิดพิจารณา และเขียนในรูปแบบ และหลักภาษาไทย เพราะเราเป็นคนไทย เมื่อกล่าวหรือพูดหรืออธิบายในภาษาไทย ก็ต้องใช้หลักการทางภาษาไทย ไม่ใช่ไปใช้หลักการทางภาษาอื่น


กรัชกานเขียน.....
พุทธธรรมสอนว่า ตัวตน หรือ อัตตานี้ ไม่มีอยู่จริง แต่เป็นสิ่งที่สมมุติขึ้น เพื่อสะดวก ในการสื่อสาร เพื่อความหมายรู้ร่วมกันของมนุษย์ในความเป็นอยู่ประจำวัน กำหนดตามชื่อที่บัญญัติขึ้น หรือ ตั้งขึ้นสำหรับเรียกหน่วยรวมหรือภาพรวมหนึ่งๆ

Buddha ตอบ....
คุณขอรับ คุณไปเอาหลักการที่ว่านั้นมาจากไหน ทำไมคุณไม่ใช้สมองสติปัญญาอันน้อยนิดของคุณคิดพิจารณาว่า เขาสื่อถึงอะไร หมายถึงอะไร แล้วคุณทำไมไม่คิดพิจารณาตามหลักความจริง คำว่า "สมมุติ " หมายถึง สิ่งที่ไม่มีอยู่จริง ไม่ได้เกิดขึ้นจริง ไม่มีจำนวนนับจริง หรือนับไม่ได้, หรือตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานให้ไว้ว่า "สิ่งที่ยอมรับ หรือตกลงกันเองโดยปริยาย โดยที่ไม่ได้คำนึง ถึงสภาพที่แท้จริง "
ขอถาม ผู้ที่ใช้ชื่อว่า กรัชกาย ว่า "ถ้าคุณคิดว่า อัตตา หรือตัวตนนี้ไม่มีอยู่จริง แล้วคุณผู้ใช้ชื่อว่ากรัชกาย มานั่งเขียนนั่งพิมพ์ เรื่องไร้สาระ มั่วเอาเอง ได้อย่างไรกัน แล้ว บิดา มารดาของคุณ ญาติ สนิท มิตร สหาย ของคุณ เป็นสิ่งสมมุติ คือ ไม่มีอยู่จริงกระนั้นหรือ ปัญญาต่ำ และ ความคิดต่ำ นะคุณ


กรัชกาย เขียน.......
อัตตานี้จะเกิดเป็นปัญหาขึ้น ก็ต่อเมื่อคนหลงผิดเกิดความยึดถือขึ้นมา ว่ามีตัวตนจริงๆ หรือ เป็นตัวตนจริงๆ เรียกว่า รู้ไม่ทันความเป็นจริง หรือหลงสมมุติ

Buddha ตอบ.....
อัตตา หรือตัวตน ของเรา และของใครก็ตาม ย่อมมีปัญหาอยู่แล้ว ไม่ว่าบุคคลนั้น จะหลงผิด เกิดความยึดติด หรือไม่ยึดติด (ในที่นี้หมายถึงความคิด) เพราะเป็นธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต ปัญหาที่เกิดกับ ตัวตนนั้น บ้างก็แก้ไขได้ บ้างก็ต้องอาศัยผู้อื่นแก้ไข ฯลฯ เป็นเรื่องธรรมดา
คุณขอรับ คนที่ไม่รู้ทันความจริง คือ คุณนั่นแหละ ทำเป็นโอ้อวด อวดอุตริ ทำให้ศาสนามัวหมอง ด้วยความไม่รู้จริง ไม่รู้แจ้ง ถ้ายังคิดว่า หลงสมมุติ คุณจะมานั่งหน้าคอมฯพิมพ์โน่นพิมพ์นี้หาพระแสงอะไร ใช้สมองคิดดูเถิด ผู้เขลาเบาปัญญาเอ๋ย


กรัชกาย เขียน......
ในการแก้ปัญหาเกี่ยวกับอัตตานี้ พึงทราบว่า อัตตามิใช่เป็นกิเลส มิใช่สิ่งที่จะต้องละ เพราะอัตตาไม่มี
อยู่จริง จึงไม่มีอัตตาที่ใครจะละได้

Buddha ตอบ.....
คุณผู้เขลาเบาปัญญา อันใช้ชื่อว่า กรัชกาย อย่าอวดฉลาดเลยขอรับ ตามหลักการของข้าพเจ้า ก็ยืนยันว่า อัตตา หรือ ตัวตน เป็นกิเลสอย่างละเอียด หรืออย่างบาง ในพระไตรปิฎก ก็กล่าวไว้ว่า อัตตา เป็นเหตุแห่งกิเลส ทำให้เกิด หมวดธรรม "สังโยชย์ ๑๐ "
ถ้าคุณไม่มีอัตตา คุณจะหาทางหลุดพ้น เล่าเรียน ศึกษา หรือเสาะแสวงหา ปัจจัยสี่ ตามหลักพุทธศาสนา ทำไมกันละ ปัญญาแค่นั้น ยังสะเออะ เที่ยวสอนใครต่อใครให้หลงผิดตาม ทำลายพุทธศาสนา นะคุณผู้ใช้ชื่อว่า กรัชกาย
แล้วก็ไปเปลี่ยนความคิดซะใหม่นะ


กรัชกาย เขียน.......
อัตตา มีอยู่เพียงในความยึดถือ สิ่งที่จะต้องทำก็มีเพียงการรู้เท่าทันตามเป็นจริงว่า ไม่มีอัตตา หรือไม่เป็นอัตตา อย่างที่เรียกว่า รู้ทันสมมุติเท่านั้น

พูดอีกนัยหนึ่งว่า ละความยึดถือในอัตตา หรือ ถอนความหลงผิดในภาพของอัตตา หรือ ในบัญญัติแห่งอัตตาเสียเท่านั้น
เรื่องอัตตาและการปฏิบัติต่ออัตตาในความหมายที่ใช้ทั่วไปมีเพียงเท่านี้

(นำมาพอได้ใจความ จากพุทธธรรม หน้า70/34)


Buddha ตอบ......
คุณกลับไปอ่าน บทความที่ข้าพเจ้าเขียนให้ดี แล้วทำความเข้าใจตามหลักความเป็นจริง คุณผู้ใช้ชื่อว่า กรัชกาย สามารถพิสูจน์ได้ด้วยตัวเอง รวมไปถึงท่านทั้งหลายผู้ใฝ่ศึกษา ก็ย่อมสามารถพิสูจน์ได้ด้วยตัวเองเช่นกันว่า
อัตตา หรือ ตัวตน นั้น บุคคล ย่อมยึดถือว่าเป็นตัวของตัว ตามธรรมชาติ การที่บุคคล ยึดถือความมีตัวตนเป็นธรรมชาติ นั่นเอง จึงก่อให้เกิดได้ทั้ง ทุกข์ อันหมายถึง กิเลสทั้งหลาย ซึ่ง ก่อให้เกิดผล หรือการกระทำ และการกระทำ ย่อมก่อให้เกิดผลทาง ร่างกาย จิตใจ ความคิด อารมณ์ ความรู้สึก
แต่การที่บุคคลยึดถือความมีตัวตน เป็นธรรมชาติ นั้น ก็ย่อมก่อให้เกิด การขจัด หรือบังคับ ควบคุม หรือดิ้นรน เพื่อให้หลุดพ้นจาก ความทุกข์ ซึ่ง ก็ย่อมหมายถึง ดิ้นรน ให้หลุดพ้นจากกิเลสทั้งหลาย ซึ่งก่อให้เกิดผล หรือการกระทำ และ การกระทำ ย่อมก่อให้เกิดผลทาง ร่างกาย จิตใจ ความคิด อารมณ์ ความรู้สึก ฉะนี้
ท่านทั้งหลาย อ่านแล้ว ใช้สมองสติปัญญา พิจารณาให้ดี ย่อมเกิดความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง อันเป็นการพัฒนาทั้งตนเอง และพัฒนาพุทธศาสนา ไปพร้อมๆกัน ฉะนี้


แก้ไขล่าสุดโดย จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ เมื่อ 21 มี.ค. 2009, 09:51, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสต์ เมื่อ: 21 มี.ค. 2009, 09:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ถามคุณลุงใหญ่ที่เป้าใหญ่เลย :b1:

รูปขันธ์
เวทนาขันธ์
สัญญาขันธ์
สังขารขันธ์
วิญญาณขันธ์

ทั้งหมดนั้นข้อไหนเป็น อัตตา ในความหมายสภาวธรรม หรือ ปรมัตถธรรม
ข้อไหนเป็นอัตตา ตามพุทธพจน์ว่า อัตตา หิ อัตตโน นาโถ ตนแลเป็นที่พึงแห่งตน ครับ :b12:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสต์ เมื่อ: 21 มี.ค. 2009, 10:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


Buddha ตอบ......
คุณกลับไปอ่าน บทความที่ข้าพเจ้าเขียนให้ดี แล้วทำความเข้าใจตามหลักความเป็นจริง คุณผู้ใช้ชื่อว่า กรัชกาย สามารถพิสูจน์ได้ด้วยตัวเอง รวมไปถึงท่านทั้งหลายผู้ใฝ่ศึกษา ก็ย่อมสามารถพิสูจน์ได้ด้วยตัวเองเช่นกันว่า
อัตตา หรือ ตัวตน นั้น บุคคล ย่อมยึดถือว่าเป็นตัวของตัว ตามธรรมชาติ การที่บุคคล ยึดถือความมีตัวตนเป็นธรรมชาติ นั่นเอง จึงก่อให้เกิดได้ทั้ง ทุกข์ อันหมายถึง กิเลสทั้งหลาย ซึ่ง ก่อให้เกิดผล หรือการกระทำ และการกระทำ ย่อมก่อให้เกิดผลทาง ร่างกาย จิตใจ ความคิด อารมณ์ ความรู้สึก
แต่การ ที่บุคคลยึดถือความมีตัวตน เป็นธรรมชาติ นั้น ก็ย่อมก่อให้เกิด การขจัด หรือบังคับ ควบคุม หรือดิ้นรน เพื่อให้หลุดพ้นจาก ความทุกข์ ซึ่ง ก็ย่อมหมายถึง ดิ้นรน ให้หลุดพ้นจากกิเลสทั้งหลาย ซึ่งก่อให้เกิดผล หรือการกระทำ และ การกระทำ ย่อมก่อให้เกิดผลทาง ร่างกาย จิตใจ ความคิด อารมณ์ ความรู้สึก ฉะนี้
ท่านทั้งหลาย อ่านแล้ว ใช้สมองสติปัญญา พิจารณาให้ดี ย่อมเกิดความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง อันเป็นการพัฒนาทั้งตนเอง และพัฒนาพุทธศาสนา ไปพร้อมๆกัน ฉะนี้

อนึ่ง ที่ข้าพเจ้าไม่ตอบสิ่งที่คุณมาแบบตรงๆ ก็เพราะ ในหลักการของข้าพเจ้า สรรพสิ่ง ล้วนเป็นปัจจัย หรือเครื่องมือในการทำให้บุคคลถึงซึ่ง การหลุดพ้น ถึงซึ่ง การขจัดอาสวะแห่งกิเลส
หมายความว่า สรรพสิ่ง ย่อมเป็นธรรมดา ตามธรรมชาติของสรรพสิ่งเหล่านั้น และสรรพสิ่งย่อมสามารถยังให้บุคคล หลุดพ้นจากกิเลส ขจัดอาสวะแห่งกิเลสได้ เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับ สถานที่ เวลา โอกาส และสถานะการณ์ สิ่งแวดล้อม
ในที่นี้จะไม่อธิบาย ในเรื่องของ จิต เจตสิก รูป นิพพาน เพราะแท้จริงแล้ว ก็มีรากฐานมาจาก ขันธ์ ๕ ถ้าไม่มีขันธ์ ๕ แล้ว ก็ย่อมไม่ จิต เจตสิก รูป นิพพาน เช่นกัน (ซตพ.)


โพสต์ เมื่อ: 21 มี.ค. 2009, 10:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
อนึ่ง ที่ข้าพเจ้าไม่ตอบสิ่งที่คุณมาแบบตรงๆ ก็เพราะ ในหลักการของข้าพเจ้า สรรพสิ่ง ล้วนเป็นปัจจัย หรือเครื่องมือในการทำให้บุคคลถึงซึ่ง การหลุดพ้น ถึงซึ่ง การขจัดอาสวะแห่งกิเลส


ติดใจความคิดนี้ครับ (ข้าพเจ้าไม่ตอบสิ่งที่คุณมาแบบตรงๆ ก็เพราะ ในหลักการของข้าพเจ้า)

คิดเหมือนประหนึ่งว่า คุณไม่ได้คิดแบบพุทธธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า แต่คิดเอง เออเองตามหลักการของคุณลุงใหญ่

ที่กรัชกายถาม ว่า "ชีวิต" หรือ "ขันธ์ ๕" ส่วนที่เรียกว่า รูป หรือ ร่างกาย (สองแขน สองขา หนึ่ง ปุ่ม ที่เรียกว่า ปัญจสาขา) ของมนุษย์ทุกผู้ทุกนาม
ตรงไหนที่เป็น อัตตา หิ อัตตโน นาโถ -(อัตตา) ตนแลเป็นที่พึงแห่งตน
ส่วนไหนที่ตรัสว่า อัตตา ที่มีอยุ่แต่ในความยึดถือ ถามแค่นี้เองนะขอรับ :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสต์ เมื่อ: 21 มี.ค. 2009, 10:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


ที่ข้าพเจ้าไม่ตอบสิ่งที่คุณมาแบบตรงๆ ก็เพราะ ในหลักการของข้าพเจ้า สรรพสิ่ง ล้วนเป็นปัจจัย หรือเครื่องมือในการทำให้บุคคลถึงซึ่ง การหลุดพ้น ถึงซึ่ง การขจัดอาสวะแห่งกิเลส
หมายความว่า สรรพสิ่ง ย่อมเป็นธรรมดา ตามธรรมชาติของสรรพสิ่งเหล่านั้น และสรรพสิ่งย่อมสามารถยังให้บุคคล หลุดพ้นจากกิเลส ขจัดอาสวะแห่งกิเลสได้ เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับ สถานที่ เวลา โอกาส และสถานะการณ์ สิ่งแวดล้อม
ในที่นี้จะไม่อธิบาย ในเรื่องของ จิต เจตสิก รูป นิพพาน เพราะแท้จริงแล้ว ก็มีรากฐานมาจาก ขันธ์ ๕ ถ้าไม่มีขันธ์ ๕ แล้ว ก็ย่อมไม่ จิต เจตสิก รูป นิพพาน เช่นกัน (ซตพ.)

คุณผู้เขลาเบาปัญญา ผู้ใช้ชื่อว่า กรัชกาย

ข้อความด้านบนนั้น ก็คือ คำตอบทึ่คุณถามมานั่นแหละ เพียงแต่ข้าพเจ้าใช้ศัพท์ภาษาไทยทั้งหมด ไม่ใช่ภาษาบาลี และหลักการของข้าพเจ้าไม่มีการแบ่งแยก อย่างที่คุณคิดว่า ในหลักธรรมของพุทธศาสนาแบ่งแยก ความคิดอย่างนั้น มันเป็นความคิด ระดับปุถุชน ที่อยากจะโอ้อวดภูมิความรู้ จะเรียกว่า เป็นสุนัข แต่อยากเอาขนราชสีห์มาห่ม ก็ว่าได้นะคุณ


โพสต์ เมื่อ: 21 มี.ค. 2009, 10:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ดูหลักการแสวงหาปัจจัยสี่ และการบริโภคปัจจัยสี่ ตามนัยพุทธศาสนา

พึงเข้าใจคำว่า “ปริเยสนา” หรือ แสวงหา (ปัจจัยสี่...) เป็นคำที่ใช้อย่างศัพท์เฉพาะเพื่อแยก
ความหมายให้ต่างจากคำว่า “กระทำ” โดยให้หมายถึงวิธีการต่างๆที่จะให้ได้สิ่งที่ต้องการมา อันเป็นความหมายที่กว้าง จะมีการกระทำหรือไม่ก็ได้
แต่ในกรณีใด การแสวงหาเป็นเหตุโดยตรงของผลที่จะเกิดขึ้น
ในกรณีนั้น การแสวงหาก็เป็นเพียงการกระทำอย่างหนึ่งในความหมายอย่างปกติธรรมดา เหมือนอย่าง
ในกรณี ร่างกายต้องการอาหาร จะต้องกินอาหารจึงจะดำรงชีวิตอยู่ หรือ มีสุขภาพดีได้
การแสวงหาเป็นเหตุโดยตรงแห่งการเกิดมีของอาหารที่จะต้องกินนั้น การแสวงหาจึงเป็นการกระทำเพื่อแสวงหาของมัน

จุดที่จะตัดสินความแตกต่างว่า เป็นอะไรแน่ อยู่ที่ว่ากินเพื่ออะไร

ถ้ากินเพื่อเสพรส คือ การกินเป็นเงื่อนไขสำหรับการได้เสพรสอร่อย ระบบแห่งความเป็นเหตุเป็นผล
ก็คลาดเคลื่อนเสียไป
แต่ถ้ากินเพื่อสนองความต้องการของร่างกาย ความเป็นเหตุเป็นผลก็ต่อเนื่องกันไปตลอดระบบ

ผู้ที่ไม่ปฏิบัติการด้วยตัณหา เริ่มต้นพฤติกรรมในกรณีอย่างนี้ ด้วยความคิด ด้วยความเข้าใจ หรือ ความสำนึกเหตุผลว่า อาหารเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับชีวิต- (ที่จะดำรงอยู่ด้วยดี สามารถทำกิจหน้าที่บำเพ็ญคุณประโยชน์ต่างๆ ได้) จึงจะต้องหาอาหารมากินเพื่อสนองความต้องการของร่างกาย

ถ้าความเป็นเหตุเป็นผลดำเนินไปโดยมีความคิด หรือ ความสำนึกอย่างนี้เป็นฐาน ทางธรรมถึงกับกำหนดให้การแสวงหาอาหารโดยทางชอบธรรม เป็นหน้าที่อย่างหนึ่งที่จะต้องทำทีเดียว และให้เพียรพยายามในการแสวงหานั้นด้วย

แม้แต่พระภิกษุ ซึ่งควรมีชีวิตที่ขึ้นต่ออาหารน้อยที่สุด ท่านก็ให้มีอุตสาหะในการแสวงหาตามวิธีที่เป็นแบบแผนของตน (ดู วินย. 4/87/106; 143/193 เรื่องในที่มานี้ อาจช่วยให้เห็นความต่างอีกแง่หนึ่ง ระหว่างการแสวงหา ที่เป็นการกระทำ และ เป็นหน้าที่ กับการแสวงหา ที่เป็นเพียง
การหาทางให้ได้มาเสพเสวย โดยไม่ต้องทำ)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสต์ เมื่อ: 21 มี.ค. 2009, 10:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 มิ.ย. 2008, 22:48
โพสต์: 1173


 ข้อมูลส่วนตัว


คุณbuddha ครับ

อัตตา คือ อะไร? ช่วยให้นิยามหน่อย

พระพุทธเจ้าให้นิยามว่า อัตตา หรือตัวตน คือ ธรรม นะครับ


โพสต์ เมื่อ: 21 มี.ค. 2009, 11:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 มิ.ย. 2008, 22:48
โพสต์: 1173


 ข้อมูลส่วนตัว


คุณbuddha ครับ


ในจักกวัตติสูตร ๑๑/๘๔ ขันธสังยุต ๑๗/๕๓๓๓๓. มหาปรินิพพานสูตร ๑๐ พระพุทธเจ้าแสงเรื่องอัตตา:

(๑) “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! พวกเธอจงมีตนเป็นที่พึ่งเถิด อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งเลย จงมีธรรมเป็นที่พึงเถิด อย่างมีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งเลย

ย้ำ! ! พวกเธอจงมี [color=red]ตน เป็นที่พึ่งเถิด อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่ถึงเลย จงมี ธรรม เป็นที่พึงเถิด อย่างมีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งเลย[/color]

หลักฐานนี้ชัดครับ

อัตตา = ตน ที่พระพุทธเจ้าหมายถึง คือ ธรรม ตน(อัตตา) กับ ธรรม จึงเป็นสิ่งเดียวกัน เรามีอัตตา(ธรรม)เป็นที่พึ่ง

เบญจขันธ์(กาย) = อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

ธรรมขันธ์(ธรรมกาย) = นิจจัง สุขขัง อัตตา นี่คือ ตัวตนแท้จริงของเรา

สิ่งที่ทำให้พวกเราเป็นอนัตตา คือ ความโลภ โกรธ หลง และความยึดมั่นถือมั่น ถ้าเราทิ้งความโลภ โกรธ หลง ไปหมด เราจะได้อัตตา


โพสต์ เมื่อ: 21 มี.ค. 2009, 13:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว



กรัชกายจะพูดว่า ชีวิต หรือ กายกับใจเนี้ย ซึ่งเดินโต๋เต๋ๆ อยู่เนีย คือ ธรรมชาติ หรือ เป็นส่วนหนึ่ง
ในธรรมชาตินั้น
คุณลุงใหญ่ว่า กรัชกายพูดถูกไหมขอรับ :b1:


ขอคำตอบสั้นๆ "ถูก" "ไม่ถูก" ก็พอนะขอรับ เพื่อจะได้ข้อสรุปปัญหาที่นำมาข้างต้น :b16:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสต์ เมื่อ: 21 มี.ค. 2009, 15:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ม.ค. 2009, 02:20
โพสต์: 1387

ที่อยู่: สัพพะโลก

 ข้อมูลส่วนตัว


อ่านะ :b8:

.....................................................
ผู้มีจิตเมตตาจะไม่มีศัตรู ผู้มีสติปัญญาจะไม่เกิดทุกข์.


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 41 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร