วันเวลาปัจจุบัน 04 พ.ค. 2025, 12:56  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มี.ค. 2009, 18:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ม.ค. 2009, 18:57
โพสต์: 159


 ข้อมูลส่วนตัว


อัสสสูตรที่ ๓
[๕๘๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงม้าอาชาไนยตัวเจริญ ๓ จำพวก และบุรุษอาชาไนยผู้เจริญ ๓ จำพวก เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดีเราจักกล่าว

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ม้าอาชาไนยตัวเจริญ ๓ จำพวกเป็นไฉน คือ
ม้าอาชาไนยตัวเจริญบางตัวในโลกนี้ เป็นสัตว์สมบูรณ์ด้วยกำลังเป็นเครื่องวิ่งเร็ว แต่ไม่สมบูรณ์ด้วยสี ไม่สมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่ ๑
ม้าอาชาไนย ตัวเจริญบางตัวในโลกนี้ เป็นสัตว์สมบูรณ์ด้วยกำลังเครื่องวิ่งเร็ว และสมบูรณ์ด้วยสี แต่ไม่สมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่ ๑
ม้าอาชาไนยตัวเจริญบางตัวในโลกนี้ เป็นสัตว์สมบูรณ์ด้วยกำลังเครื่องวิ่งเร็ว สมบูรณ์ด้วยสี และสมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่ ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ม้าอาชาไนยตัวเจริญ ๓ จำพวกนี้แล

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุรุษอาชาไนยผู้เจริญ ๓ จำพวกเป็นไฉน คือ
บุรุษอาชาไนยผู้เจริญบางคนในโลกนี้ เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยเชาวน์ แต่ไม่สมบูรณ์ด้วยวรรณะ ไม่สมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่ ๑
บุรุษอาชาไนยผู้เจริญบางคนในโลกนี้ เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยเชาวน์ และสมบูรณ์ด้วยวรรณะ แต่ไม่สมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่ ๑
บุรุษอาชาไนยผู้เจริญบางคนในโลกนี้ เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยเชาวน์ สมบูรณ์ด้วยวรรณะ และสมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่ ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุรุษอาชาไนยผู้เจริญเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยเชาวน์ แต่ไม่สมบูรณ์ด้วยวรรณะ ไม่สมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่อย่างไร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ เรากล่าวว่า นี้เป็นเชาวน์ของเขา แต่เมื่อเขาถูกถามปัญหาในอภิธรรม อภิวินัย ก็จนปัญญา วิสัชนาไม่ได้ เรากล่าวว่านี้ไม่ใช่วรรณะของเขา และเขาไม่ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เรากล่าวว่า นี้ไม่ใช่ความสูงและความใหญ่ของเขา
ดูกรภิกษุทั้งหลายบุรุษอาชาไนยผู้เจริญเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยเชาวน์ แต่ไม่สมบูรณ์ด้วยวรรณะ ไม่สมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่อย่างนี้แล

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุรุษอาชาไนยผู้เจริญเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยเชาวน์ และสมบูรณ์ด้วยวรรณะ แต่ไม่สมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่อย่างไร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้
เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ เรากล่าวว่า นี้เป็นเชาวน์ของเขา
และเมื่อเขาถูกถามปัญหาในอภิธรรม อภิวินัย ก็วิสัชนาได้ ไม่จนปัญญา เรากล่าวว่านี้เป็นวรรณะของเขา
แต่เขาไม่ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เรากล่าวว่า นี้ไม่ใช่ความสูงและความใหญ่ของเขา
ดูกรภิกษุทั้งหลายบุรุษอาชาไนยผู้เจริญเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยเชาวน์ และสมบูรณ์ด้วยวรรณะ แต่ไม่สมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่อย่างนี้แล

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุรุษอาชาไนยผู้เจริญเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยเชาวน์ สมบูรณ์ด้วยวรรณะ และสมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่อย่างไร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ เรากล่าวว่า นี้เป็นเชาวน์ของเขา
และเมื่อเขาถูกถามปัญหาในอภิธรรม อภิวินัย ก็วิสัชนาได้ ไม่จนปัญญา เรากล่าวว่า นี้เป็นวรรณะของเขา และเขามักได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เรากล่าวว่า นี้เป็นความสูงและความใหญ่ของเขา
ดูกรภิกษุทั้งหลายบุรุษอาชาไนยผู้เจริญเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยเชาวน์ สมบูรณ์ด้วยวรรณะ และสมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่อย่างนี้แล
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุรุษอาชาไนยผู้เจริญ ๓ จำพวกนี้แล ฯ

พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๑๒ อังคุตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาท - หน้าที่ 278-9
:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มี.ค. 2009, 19:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


ตอบ ตาม หัวข้อกระทู้ว่า

สำเร็จอรหันต์แล้ว ย่อมรู้แจ้งในอภิธรรม แต่อาจรู้ไม่หมดไม่ทั่ว เพราะมีมาก และเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน จะรู้และแตกฉานในสิ่งที่ได้ใช้เท่านั้น ส่วนเรื่อง อภิวินัย ไม่ตอบขอรับ
เพราะข้าพเจ้าไม่ใช่พระภิกษุ จึงไม่จำเป็นต้องใช้ แต่การจะรู้หรือไม่รู้ ไม่ใช่เรื่องสำคัญเพราะ ถ้า บรรลุอรหันต์ หรือ สำเร็จ อรหันต์ แล้ว ย่อมไม่ผูกติดกับสิ่งใด อย่างไรก็ได้ถ้าใช้ได้ เกิดประโยชน์ และทำให้สามารถขจัดอาสวะแห่งกิเลส ตั้งแต่ระดับ ปุถุชน ไปจนถึง ชั้นขับคลื่นแห่งกิเลสออกจากร่างกายได้

อนึ่ง สำคัญมาก ความจริงแล้ว อยากจะตั้งเป็นกระทู้ด้วยซ้ำ แต่เกรงใจเขา มีแต่กระทู้ข้าพเจ้าไม่สนุก อาจจะสร้างความเบื่อ จึงบอกไว้ในนี้ว่า
ท่านทั้งหลายที่ มักอ้างอิงในพระไตรปิฎก ให้คิดพิจารณาให้ดีว่า สิ่งที่มีอยู่ในพระไตรปิฎกนั้น ใช้สอน หรืออธิบาย กับผู้ครองเรือนเยี่ยงใด ให้พิจารณาให้ดี นำมาทั้งตอนไม่เป็นไร ไอ้ประเภท นำมาเพียงประโยค หรือวรรคหนึ่ง แล้วก็สาธยายมั่ว อย่างนั้นไม่ควร
ก็เป็นดังที่ข้าพเจ้าเคยบอกว่า ความในพระไตรปิฎกนั้น ถ้าไม่บรรลุมรรคผล ก็อ่าน หรือศึกษา แล้ว เกิดความรู้ ความเข้าใจได้อยากขอรับ

สุดท้ายที่ข้าพเจ้าตอบไป อย่าคิดว่าข้าพเจ้าตอบมั่วเอาเองนะขอรับ ข้าพเจ้าตอบตามประสบการณ์ของข้าพเจ้า และเป็นหลักความจริง ของมนุษย์ทุกคน ไม่ว่าจะปฏิบัติธรรมบรรลุธรรมระดับใดใดก็ตาม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 มี.ค. 2009, 12:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ม.ค. 2009, 18:57
โพสต์: 159


 ข้อมูลส่วนตัว


วลาหกสูตรที่ ๒

[๑๐๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย วลาหก ๔ อย่างนี้ ๔ อย่างเป็นไฉน คือ
วลาหกคำราม แต่ไม่ให้ฝนตกอย่าง ๑
ให้ฝนตก แต่ไม่คำรามอย่าง ๑
ทั้งไม่คำรามทั้งไม่ให้ฝนตกอย่าง ๑
คำรามด้วยให้ฝนตกด้วยอย่าง ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลายวลาหก ๔ อย่างนี้แล

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน บุคคลเปรียบด้วยวลาหก ๔ จำพวกนี้ มีปรากฏอยูในโลก ๔ จำพวกเป็นไฉน คือ
บุคคลดุจวลาหกคำราม แต่ไม่ให้ฝนตกจำพวก ๑
ดุจวลาหกไม่คำราม แต่ให้ฝนตกจำพวก ๑
ดุจวลาหกทั้งไม่คำรามทั้งไม่ให้ฝนตกจำพวก ๑
ดุจวลาหกคำรามด้วยให้ฝนตกด้วยจำพวก ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลเป็นดุจวลาหกคำราม แต่ไม่ให้ฝนตกอย่างไรบุคคลบางคนในโลกนี้ เล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ เคยยะ ไวยากรณ์ คาถาอุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ เขาไม่รู้ทั่วถึงตามความเป็นจริงว่านี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา บุคคลเป็นดุจวลาหกคำราม แต่ไม่ให้ฝนตกอย่างนี้แล
ดูกรภิกษุทั้งหลาย วลาหกคำราม แต่ไม่ให้ฝนตก แม้ฉันใด เรากล่าวบุคคลนี้เปรียบฉันนั้น

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลเป็นดุจวลาหกให้ฝนตก แต่ไม่คำรามอย่างไร บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่ได้เล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ ... เวทัลละ แต่เขารู้ทั่วถึงตามความเป็นจริงว่านี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา บุคคลเป็นดุจวลาหกให้ฝนตก แต่ไม่คำรามอย่างนี้แล
ดูกรภิกษุทั้งหลาย วลาหกให้ฝนตกแต่ไม่คำราม แม้ฉันใด เรากล่าวบุคคลนี้เปรียบฉันนั้น

ดูกรภิกษุทั้งหลายบุคคลเป็นดุจวลาหกทั้งไม่คำรามทั้งไม่ให้ฝนตกอย่างไร
บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่ได้เล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ ... เวทัลละ ทั้งเขาไม่รู้ทั่วถึงตามความเป็นจริงว่านี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา บุคคลเป็นดุจวลาหกทั้งไม่คำรามทั้งไม่ให้ฝนตกอย่างนี้แล
ดูกรภิกษุทั้งหลาย วลาหกทั้งไม่คำรามทั้งไม่ให้ฝนตก แม้ฉันใด เรากล่าวบุคคลนี้เปรียบฉันนั้น

ดูกรภิกษุทั้งหลายบุคคลเป็นดุจวลาหกคำรามด้วยให้ฝนตกด้วยอย่างไร บุคคล
บางคนในโลกนี้เล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ ... เวทัลละ ทั้งเขารู้ทั่วถึงตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา บุคคลเป็นดุจวลาหกคำรามด้วยให้ฝนตกด้วยอย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย วลาหกคำรามด้วยให้ฝนตกด้วย แม้ฉันใด เรากล่าวบุคคลนี้เปรียบฉัน

นั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเปรียบด้วยวลาหก ๔ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก ฯ
จบสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๑๓ อังคุตรนิกาย จตุกกนิบาต - หน้าที่ 103
:b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร